Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ไตรสิกขา: บทเรียนในศาสนาพุทธและการภาวนา


MP3: ไตรสิกขา: บทเรียนในศาสนาพุทธและการภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : รูปเคลื่อนไหวก็รู้สึกไป ไม่ใช่ว่าต้องเคลื่อนไหวแบบไหน ตัวที่สำคัญไม่ใช่อยู่ที่ตัวกริยาอาการ ตัวที่สำคัญอยู่ที่ว่ามีสติมีปัญญาที่จะไปรู้มั้ย เพราะฉะนั้นเราอย่าไปให้ความสำคัญกับเปลือก ต้องให้ความสำคัญกับสติปัญญาที่เป็นเนื้อหา เป็นสาระแก่นสารจริงๆ

มีสติจริงหรือเปล่า หรือว่ามีสติจอมปลอม กำหนดไว้ เพ่งไว้ บังคับไว้ มีปัญญาเห็นความจริงคือไตรลักษณ์หรือเปล่า หรือว่าคิดๆเอาเอง ถ้าคิดเอาเองไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง เพราะฉะนั้นตัวสำคัญอยู่ที่ว่าเรามีสติมีปัญญามั้ย ปัญญาจะเกิดจากอะไร เกิดจากจิตมีสัมมาสมาธิ จิตที่มีสัมมาสมาธิเป็นจิตที่ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ไม่ไหลเข้าไปอยู่ที่ตัวอารมณ์ ตัวนี้ก็ต้องเรียน

พวกนักปฏิบัติทั้งหลายที่ล้มลุกคลุกคลานไม่เลิกนะ ทำมานานแล้วไม่บรรลุมรรคผล หรือบางคนบรรลุมรรคผลเหมือนกันแต่คิดเอาเอง ไม่บรรลุจริงหรอก ชอบคิดว่าบรรลุทั้งๆที่ไม่บรรลุหรอก ส่วนใหญ่ที่ทำแล้วไม่สำเร็จเพราะขาดสัมมาสมาธิ ตัวที่ทำให้เรามีสัมมาสมาธินะ คือบทเรียนในศาสนาพุทธที่ชื่อว่าจิตตสิกขา การเรียนเรื่องจิต

บทเรียนในศาสนาพุทธจึงมี ๓ บท มีเรื่องศีลสิกขา ทำอย่างไรกายวาจาของเราจะเป็นธรรมชาติธรรมดา ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียดเบียนตนเอง มีจิตตสิกขา เรียนไปจนรู้ว่าจิตชนิดไหนเป็นจิตที่เป็นกุศลชนิดไหนเป็นอกุศล ชนิดไหนใช้ทำสมถะชนิดไหนใช้ทำวิปัสสนา ตัวที่ใช้ทำสมถะนั้นจิตจะไหลเข้าไป เช่นไปดูท้องพองยุบจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกรมจิตจะไหลไปอยู่ที่เท้า ไปรู้ลมหายใจจิตจะไหลไปอยู่ที่ลม

แต่ถ้าเป็นตัวที่เป็นสัมมาสมาธิจะตั้งมั่นอยู่ เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวใจเป็นคนดู เห็นร่างกายมันนั่ง ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู มันจะแยกกันอยู่ ใจจะตั้งมั่น ใจจะไม่ไหลเข้าไปในอารมณ์ เรียกว่าจิตตั้งมั่นคือไม่ไหลเข้าไป ตัวนี้พวกเราอาภัพมากเลย พวกเราไม่เรียนกัน เวลาเราเรียนจิตตสิกขาก็คิดว่าเป็นการเข้าฌาน ไม่ตื้นขนาดนั้นหรอกนะ ถ้าเข้าฌานแล้วเป็นจิตตสิกขานะ พวกฤๅษีชีไพรก็เกิดปัญญาหมดแล้ว เพราะถ้ามีสัมมาสมาธิปัญญจะเกิด ฤๅษีชีไพรจะบรรลุพระอรหันต์ก่อนพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นจิตตสิกขาไม่ได้ตื้นแค่ว่าเข้าฌาน จิตตสิกขาเราเรียนจนกระทั่งเราเข้าใจลักษณะของจิตที่เป็นกุศลและอกุศล ที่จะใช้ทำสมถะและใช้ทำวิปัสสนา ไม่เหมือนกัน

พอจิตตั้งมั่นขึ้นอย่างแท้จริงเนี่ย ถึงจะไปเจริญปัญญาสิกขา เห็นมั้ยบทเรียนที่ ๓ ศีลสิกขา จิตตสิกขา บทสุดท้ายคือปัญญาสิกขา มีสติ รู้รูปนาม รูปที่กำลังปรากฎ นามที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ นี่ รู้ก็ไม่เหมือนกัน เวลารู้รูปนะ มีสติรู้รูปที่กำลังปรากฎ แต่รู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆด้วยจิตที่ตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิจิตจะไม่ไหลเข้าไป จิตจะตั้งมั่นอยู่ต่างหากโดยที่ไม่ได้ประคองไว้ จิตจะตั้งมั่น จิตจะเบา จิตจะอ่อน จิตจะนุ่มนวล จิตจะคล่องแคล่วว่องไว ควรแก่การงาน จิตชนิดนี้แหละคือจิตที่จะใช้เดินปัญญา

ในพระไตรปิฎกก็พูดเรื่อยๆนะ พระทั้งหลายท่านทำสมาบัติทำสมาธิ เข้าอัปนา พอถอยออกมาแล้วมีจิตที่เบา จิตที่อ่อน จิตที่นุ่มนวล คล่องแคล่วว่องไว ควรแก่การงาน และโน้มน้อมจิตนี้ให้เกิดญาณทัสนะ คือมีสติ ไปรู้กายรู้ใจ ก็จะเกิดญาณทัสนะคือเกิดปัญญา

เพราะฉะนั้นพอจิตตั้งมั่นนะ สติระลึกรู้กาย จะเห็นกายไม่ใช่เรา เมื่อมีจิตตั้งมั่นอยู่และมีสติรู้เวทนา ก็เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ สติไประลึกรู้กุศล-อกุศลนะ ก็เห็นกุศล-อกุศลไม่ใช่เรา เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่แล้วสติระลึกรู้จิตดวงก่อน ก็จะเห็นว่าตัวจิตก็ไม่ใช่เรานะ ตัวจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา

เนี่ยภาวนาอย่างนี้นะ มีสติ มีสัมมาสมาธิคือมีใจที่ตั้งมั่น ก็จะเกิดปัญญา เห็นทั้งกายทั้งใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ใดเห็นกายเห็นใจไม่ใช่เรา เรียกว่าพระโสดาบัน ดูต่อไปอีกจนปัญญาแจ้ง กายนี้ทุกข์ล้วนๆจิตนี้ทุกข์ล้วนๆ สลัดคืนกายคืนจิตให้โลก เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 262 times, 1 visits today)

Comments are closed.