Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ภาวนาแบบสมถยานิกหรือสมาธินำปัญญา


Mp3: ภาวนาแบบสมถยานิกหรือสมาธินำปัญญา (พระป่า) เป็นเช่นไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันหนึ่งทำฌานไป ยกตัวอย่าง เรารู้ลมหายใจ ทีแรกลมหายใจนี้ เขาเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” รู้ตัวลมหายใจ เห็นลมนะ ลมกระทบ ดูเล่นๆ ดูแบบใจเป็นคนดู อย่าให้จิตไหลเข้าไปอยู่ที่ลมนะ จิตไหลไปอยู่ที่ลมจะเป็นการเพ่งลม ฌานไม่เกิดหรอก ให้รู้มัน ให้รู้ลม เห็นร่างกายมันหายใจ เห็นหายใจอย่างนี้ หายใจ ดูอย่างสบายๆ ดูอย่างผ่อนคลาย ถ้าไปเพ่งแล้วจะไม่ผ่อนคลาย ถ้าจิตไม่ผ่อนคลายจิตจะไม่มีความสุข จิตไม่มีความสุขสมาธิจะไม่เกิด จำไว้นะ มันมีกระบวนการของมันนะ มีเหตุ มีผล มีต้น มีปลาย ทั้งสิ้นเลย

เรารู้ เราเห็นร่างกายของเราไป รู้เล่นๆไปนะ ดูไปเรื่อยๆจิตใจมีความสุข มีความสบาย ลมหายใจค่อยๆแปรสภาพไปเป็นแสงสว่าง เราจะเห็นลมเป็นแสงเลย เป็นเส้น..เลยนะ การที่เรารู้แสงสว่างอันนี้ ตัวนี้ไม่ใช่บริกรรมนิมิต ไม่ใช่ลมตัวเดิมแล้ว ตัวนี้เขาเรียกว่า “อุคหนิมิต” เป็นอุคหนิมิตขึ้นมา เราดูเห็นแสงสว่าง ใจเราสบาย ดูเล่นๆไป ทีแรกมันจะยืดยาว เห็นเป็นแสงเป็นเกลียววิ่ง มันจะรวมขึ้นมาเป็นดวง พอเราเห็นดวงนี้ เรารู้อยู่ที่ดวงนี้นะ มีสติรู้อย่างสบายๆ ดวงนี้สวยงามนะ ผ่องใส เหมือนแก้วสวยงาม เห็นแล้วมีความสุข ตัวดวงสว่างนี้เรียกว่า “ปฎิภาคนิมิต” เห็นมั้ย ไม่ใช่ตัวลมแท้ๆแล้ว กลายเป็นรู้นิมิตแล้ว ทำฌานไม่ใช่รู้ตัวลมนะ ทำฌานสุดท้ายไปรู้ตัวนิมิต มีนิมิตขึ้นมาแล้วก็รู้นิมิตไป นิมิตนี้สวยงาม นิมิตนี้ย่อได้ขยายได้นะ เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ มีความสุข เห็นแล้วมีความสุข

เห็นแล้วมีความสุขจิตก็มีปีติขึ้นมา จิตนี้มีความสุขที่ได้รู้นิมิตนี้ เพราะฉะนั้นจิตนี้จะเกาะอยู่กับนิมิตนี้โดยที่ไม่ได้เจตนา เรียกว่ามันมี “วิตก” คือมันตรึกถึงตัวนิมิตนี้ จิตนี้จะเคล้าเคลียอยู่กับตัวนิมิตนี้ เรียกว่า “วิจาร” จิตจะมีปีติ มีความสุขขึ้นมา มีเอกัคตาขึ้นมา

ภาวนาต่อไปอีกนะ จิตจะเห็นเลยว่า จิตยังถลำไปเกาะอยู่กับนิมิตนี้ ไม่ค่อยได้อะไรขึ้นมา ก็สังเกตเห็นอีก นิมิตนี้เป็นของถูกรู้ถูกดูนะ จิตมันถอนออกจากนิมิต มันละวิตกละวิจารเสีย ม้นเข้ามารู้อยู่ที่ตัวรู้ ตัวรู้คือ “เอโกทิภาวะ” ถึงผุดขึ้นในฌานที่สอง เอโกทิภาวะ คือตัวสัมมาสมาธิแท้ๆนี่เอง เกิดในฌานที่สอง ตัวนี้ยังเป็นแค่ตัวรู้ เป็นธรรมชาติรู้

จะทำฌานสูงขึ้นไปก็ได้หรือจะทำอยู่แค่นี้ก็ได้ พอออกจากตรงนี้แล้วเนี่ย อำนาจของสมาธิที่เราทำนี้ยังทรงอยู่อีกช่วงหนึ่ง จิตของคนซึ่งเดินมาถึงตรงนี้ ถอยออกมาแล้วนะ มันจะมีตัวรู้อยู่ อยู่ได้เป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าคนไหนเกิน ๗ วัน ต้องรู้เลยว่า ไปประคองตัวรู้ไว้แล้ว ผิดอีกแล้ว มันอยู่ไม่นานหรอก อยู่วันสองวัน อะไรอย่างนี้ วันสองวันแล้วเสื่อมไป เราก็ทำเอาใหม่ อย่าอยากทำ ถ้าอยากให้ได้ดีอย่างเดิม มันจะไม่ได้ ทีนี้ฝึกไปเรื่อย จนจิตมันชำนาญนะ มันรู้จักตัวรู้ชำนาญ ต่อไปถึงไม่ทรงฌานอยู่นะ นึกถึงมันก็มีอยู่แล้ว นี่เป็นเพราะมันชำนาญแล้ว มันคือสภาวะที่ “รู้” นั่นเอง

ทีนี้พอมีสภาวะที่ “รู้” แล้วมาเดินปัญญาต่อ เห็นกายมันทำงาน ทำไมต้องดูกาย เพราะว่าถ้าดูจิตนะ มันจะนิ่งไปเลย เพราะว่าจิตนั้นมันทรงตัวอยู่ เป็นตัวรู้ไปแล้ว มันไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งอะไรแล้ว ถ้าอยู่ๆไปดูใส่ตัวจิต มันก็จะไม่มีอะไรให้ดู มีแต่ว่างๆ นิ่งๆ ไป เพราะฉะนั้นพอจิตทรงฌานะ แล้วถอยออกมาเนี่ย ควรจะมารู้กาย หรือรู้เวทนา อย่าไปดูจิต เพราะฉะนั้นรู้กายและเวทนาเนี่ย เหมาะกับสมถยานิก

พวกที่ไม่มีสมาธินะ ไปดูกายก็ไปเพ่งกาย ไม่มีจิตที่ทรงตัวเป็นคนดูอยู่ จิตกับกายจะไม่แยกออกจากกัน ถ้าจิตกับกายไม่แยกออกจากกัน เรียกว่าแยกรูปแยกนามไม่ได้ ถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ อย่ามาพูดเรื่องวิปัสสนา เพราะการเจริญปัญญานะ ญาณตัวแรกเลยชื่อ “นามรูปปริเฉทญาณ” แยกรูปแยกนามออกมา กายอยู่ส่วนกายนะ จิตอยู่ส่วนจิต จิตมันตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นกายมันทำงาน แต่ถ้าจิตเผลอไผลไปที่อื่นนะ สติก็ระลึกได้อีก รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิตนะ ไม่ใช่เพ่งอยู่แต่กายอย่างเดียว นี่สำหรับคนซึ่งทำสมาธิเต็มรูปแบบ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 684 times, 1 visits today)

Comments are closed.