Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เงินถวายพระ และเงินติดกัณฑ์เทศน์ เป็นของใคร?


พระพุทธรูป ณ.สวนสันติธรรม

พระพุทธรูป ณ.สวนสันติธรรม

ตามที่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ ถึงเงินที่มีการบริจาคให้กับหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี ในกรณีที่มีการไปแสดงธรรมในที่ต่างๆ หรือที่มีคำพูดแบบไทยๆว่า “เงินติดกัณฑ์เทศน์” หายไปไหน การที่เงินหายไปเป็นการยักยอกทรัพย์หรือไม่? ทางเว็บธรรมดาขอเสนอในแง่มุมทางกฎหมาย ซึ่งได้มีนักกฎหมายได้ระบุชัดเจนแล้วว่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเป็นพระภิกษุนั้น ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระ ยังไม่ใช่ทรัพย์สินของวัดแต่อย่างใด แต่เมื่อใดที่มรณภาพลงแล้ว หากมิได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ให้เป็นอย่างอื่น ทรัพย์สินเล่านั้นย่อมตกเป็นของวัด ซึ่งมีการเขียนอธิบายไว้ในที่หลายแห่ง และทางเว็บธรรมดาได้ค้นพบหลายแห่ง แต่จะขอนำมาแสดงไว้ที่นี้ เพียง 1 แห่งก่อน

กฎหมายใกล้วัด:ทรัพย์สินของพระ หรือพระมีทรัพย์สิน จะเป็นของใคร (โดย นายประพันธ์ ว่องไว : นิติกร)

อ้างถึง: เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

คำว่า “พระ” หมายถึง ผู้ชายซึ่งอุปสมบทในพระพุทธศาสนาประพฤติปฏิบัติ ตามหลักพระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

คำว่า “ทรัพย์สิน” หมายถึง ที่ดิน เงิน ทอง ของมีค่า รถยนต์และสิทธิต่างๆ ที่กฎหมายรับรอง เช่น เป็นเจ้าของที่ดิน

พระ ราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช ๒๕๓๕ ปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย พ.ศ.๒๕๔๗ มิได้บัญญัติเรื่องทรัพย์สินของพระแต่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มี ๓ มาตรา คือ

๑. มาตรา ๑๖๒๒ บัญญัติว่า “พระ ภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา ๑๗๔๕ แต่พระภิกษุนั้นอาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้”

คำว่า “เรียกร้อง” หมายถึง เรียกร้องหรือฟ้องคดีขอให้แบ่งทรัพย์มรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรม

คำว่า “มรดก” หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายรวมถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ

คำว่า “ทายาท” หมายถึง บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม และบุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม

ทายาทโดยธรรมมี ๖ ลำดับ คือ

๑. ผู้สืบสันดาน (บุตร)

๒. บิดามารดา

๓. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

๔. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

๕. ปู่ ย่า ตา ยาย

๖. ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่จัดเป็นทายาทโดยธรรม

ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม มีประเภทเดียว เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม

ตัวอย่างที่ ๑. นาย ก. เป็นเจ้าของที่ดิน ๒ ไร่ มีบุตร ๒ คน คือ นายหวาน กับนายเปรี้ยว ภรรยานาย ก. ตายไปแล้ว ต่อมานายหวานบวชเป็นพระระหว่างบวชเป็นพระ นาย ก.บิดาตาย ที่ดิน ๑ ไร่เป็นของพระหวาน อีก ๑ ไร่เป็นของนายเปรี้ยว แต่เผอิญนายเปรี้ยวครอบครองทำประโยชน์ที่ดินทั้ง ๒ ไร่ และไม่ยอมแบ่งให้พระหวาน แถมเอ๊ะอ๊ะโวยวายว่า พระมายุ่งอะไรกับที่ดิน กรณีนี้ ถ้าพระหวานจะฟ้องศาลขอให้นายเปรี้ยวตัวแสบแบ่งที่ดิน ๑ ไร่ ต้องสึกจากพระก่อนจึงจะฟ้องได้

ตัวอย่างที่ ๒. บังเอิญ นาย ก. เป็นผู้มีตาทิพย์มองเห็นว่านายเปรี้ยวโกงแน่ จึงทำพินัยถวายที่ดิน ๒ ไร่ ให้พระหวาน พระหวานไม่ต้องสึก เพราะกฎหมายอนุญาตให้พระรับทรัพย์สินตามที่เขียนไว้ในพินัยกรรมได้โดยไม่ ต้องสึก

๒. มาตรา ๑๖๒๓ บัญญัติว่า ทรัพย์สิน ของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

หมาย ความว่า ทรัพย์สินทุกชนิดที่พระได้มาระหว่างบวช โดยมีผู้นำมาถวายหรือทำพินัยกรรมยกให้ เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินตกเป็นสมบัติของวัดที่สังกัดอยู่ แต่ถ้าได้ขาย ให้ โอนหรือทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นก่อนมรณภาพ ทรัพย์สินไม่ตกเป็นสมบัติของวัด

ตัวอย่างที่ ๑. พระตี๋ บวชเป็นพระอยู่วัดเปรียญธรรม ขณะบวช นางกุศล นามสกุล ใจดี มีจิตศรัทธาถวายที่ดิน ๑๐ ไร่ โอนใส่ชื่อพระเป็นเจ้าของ ต่อมาพระตี๋มรณภาพที่ดิน ๑๐ ไร่ ตกเป็นสมบัติของวัดเปรียญธรรม

ตัวอย่างที่ ๒. ก่อนมรณภาพ พระตี๋ขายที่ดิน ๑๐ ไร่ ให้นายรวยเป็นเงิน ๑๐ ล้านบาท แล้วมอบเงินให้นายวาสนาดีไปทั้งหมด ต่อมาพระตี๋มรณภาพ เงิน ๑๐ ล้านบาทไม่ตกเป็นสมบัติของวัด เพราะพระตี๋ได้ขายที่ดินและมอบเงินให้นายวาสนาดีไปก่อนมรณภาพ

ตัวอย่างที่ ๓. พระ ตี๋ เมื่อนางกุศล ถวายที่ดิน ๑๐ ไร่ให้แล้วเกิดเบื่อทางธรรมจึงสึกจากพระ กรณีเช่นนี้ ที่ดิน ๑๐ ไร่ไม่ตกเป็นสมบัติของวัดแต่จะเป็นกรรมสิทธิ์ของนายตี๋ที่สึกจากพระ…อมิ ตตพุทธ

กรณีทำพินัยกรรมยกให้ก่อนมรณภาพ

ตัวอย่าง พระตี๋ทำพินัยกรรม ยกที่ดิน ๑๐ ไร่ ให้นายโชคดี ต่อมาพระตี๋มรณภาพ ที่ดิน ๑๐ ไร่ ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด เพราะพระตี๋ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้นายโชคดีไปก่อนมรณภาพ

๓. มาตรา ๑๖๒๔ บัญญัติว่า ทรัพย์สิน ใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

ตัวอย่างที่ ๑. ก่อน บวชนาย ก. มีเงินฝากไว้กับธนาคาร ๕ ล้านบาท มีบุตร ๑ คน คือ นายแดง ภรรยาเสียชีวิตไปแล้ว ต่อมานาย ก.บวชเป็นพระอยู่วัดเปรียญธรรม และมรณภาพ เงิน ๕ ล้านบาท ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด เพราะเป็นเงินที่ได้มาก่อนบวช แต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่นายแดงทั้งหมดซึ่งเป็นทายาท

ตัวอย่างที่ ๒. ในระหว่างบวชเป็นพระ พระ ก.จะมอบเงิน ๕ ล้านบาทให้ใครก็ได้ เพราะเป็นเงินที่ได้มาก่อนบวชไม่เป็นสมบัติของวัด

กรณี บุคคลบวชแล้วสึก สึกแล้วบวช เบื่อๆ อยากๆ ผู้เขียนว่าเองนะครับ เช่น พระ ก. บวชอยู่วัดเปรียญธรรมระหว่างบวชครั้งแรก ผู้มีจิตศรัทธาถวายพระพุทธรูปทองคำ ๑ องค์ จากนั้นก็สึกจากพระ และนำพระพุทธรูปทองคำเก็บไว้ที่บ้าน ต่อมาบวชใหม่เป็นครั้งที่ ๒ มีผู้ถวายเงิน ๒ แสนบาท จึงนำเงินไปเก็บไว้ที่บ้านโยมพ่อ เพราะกลัวคนขับรถตุ๊กๆ จะมาขโมย ต่อมามรณภาพ ดังนี้ พระพุทธรูปทองคำเป็นของทายาท ส่วนเงิน ๒ แสนบาท ตกเป็นสมบัติของวัดเปรียญธรรม เพราะเป็นเงินที่ได้มาระหว่างบวชครั้งที่ ๒ (บวชหลายครั้ง ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างบวชครั้งสุดท้ายตกเป็นสมบัติของวัด ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างบวชในครั้งก่อนๆ เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท)

สวัสดีครับ.

เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2551 | อ่าน 307
เขียนโดย เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย

อนึ่งเงินติดกัณฑ์เทศน์นั้น มีผู้รู้ให้ความเห็นไว้ว่า ถือเป็นปาฏิบุคคลิกทาน มิใช่สังฆทาน เพราะเป็นการให้แบบเจาะจงเฉพาะแก่พระผู้เทศน์จึงถือว่าเป็นทรัพย์สินของพระมิใช่ของวัดหรือคณะสงฆ์ ซึ่งพระสามารถมีสิทธิ์จัดการแจกจ่ายได้ตามอัธยาศัย ตราบจนกว่าพระมรณะภาพเงินดังกล่าวจึงจะถือเป็นของวัด ดังที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า “ติดกัณฑ์เทศน์ไว้ว่า”

กัณฑ์เทศน์

ความหมาย

น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือสิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.

ดังนั้นหากเงินติดกัณฑ์เทศน์จะถูกแยกออกจากบัญชีของวัด อาทิกรณีสวนสันติธรรมเป็นตัวอย่าง ก็เป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายและกฎสงฆ์ ที่ได้ชี้แจงตามประกาศสวนสันติธรรมมาดังนี้

“….ปัจจัยบูชาธรรมที่สาธุชนผู้ไปฟังหลวงพ่อปราโมทย์บรรยายธรรมตามสถานที่ต่างๆ นั้น เป็นปัจจัยที่สาธุชนเจาะจงถวายหลวงพ่อปราโมทย์เป็นการส่วนตัว ไม่ใช่ปัจจัยที่บริจาคแด่สวนสันติธรรม จึงไม่มีการโอนเงินเข้าบัญชีของสวนสันติธรรมและปัจจัยบูชาธรรมเหล่านั้น ก็ไม่ได้มากถึงรายละ 3 – 4 แสนบาท หรือถึงล้านกว่าบาทตามที่มีการปล่อยข่าวเพื่อให้ดูมากจนน่าตกใจ…”

อนึ่งเงินติดกัณฑ์เทศณ์ส่วนใหญ่หลวงพ่อฯ ก็จะทำการมอบให้กับเจ้าของสถานที่ตามหลักฐานอ้างอิงที่นี่ >>>

Dhammada News: ตอบข้อสงสัยทุกท่าน…เรื่องเงินติดกัณฑ์เทศน์นอกสถานที่

ภาพต้นฉบับจาก เว็บไซต์

กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระ 1 (คลิ้กเพื่อดูภาพใหญ่)

กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระ 1 (คลิ้กเพื่อดูภาพใหญ่)

กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระ 2 (คลิ้กเพื่อดูภาพใหญ่)

กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระ 2 (คลิ้กเพื่อดูภาพใหญ่)

กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระ 3 (คลิ้กเพื่อดูภาพใหญ่)

กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระ 3 (คลิ้กเพื่อดูภาพใหญ่)

ท่านสามารถชมวีดิทัศน์ ในความเห็นของนักกฎหมาย ในกรณีทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเป็นพระ จากNational Channel รายการ ชาวกรุง ได้ ที่นี่

ข่าวโดย Nation Channel วันที่ 28 กันยายน 2553


กรุณาดู/ฟังให้จบส่วนที่ท่านผู้ว่าชี้แจง และฟังความเห็นของนักกฎหมายต่อจากนั้น จะได้ใจความโดยสมบูรณ์ครับ

อ้างอิง: บทเรียนทางกฏหมาย พระปราโมทย์ สวนสันติธรรม

อ้างอิง: ประกาศสวนสันติธรรม เรื่องข้อกล่าวหาหลวงพ่อฯ เกี่ยวกับปัจจัยการเทศน์นอกสถานที่

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 2,139 times, 1 visits today)

Comments are closed.