Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เหตุใดทำไมถึงไม่ใช้อารมณ์พระกรรมฐานที่เป็นคู่ปรับกับอารมณ์กระทบ เข้ามาอบรมจิตในทันที


การรู้จิตที่เกิดดับ สักว่ารู้ สิ่งใดเข้ามากระทบ สักว่ารู้ เมื่อรู้แล้วปล่อยวาง เหตุใดทำไมถึงไม่ใช้

อารมณ์พระกรรมฐานที่เป็นคู่ปรับกับอารมณ์กระทบ เข้ามาอบรมจิตในทันที?

การปฏิบัติภาวนานั้น มีอยู่ ๒ ฝ่ายคือ
ฝ่ายสมถะและฝ่ายวิปัสสนา
ฝ่ายสมถะนั้น มุ่งหมายเอาความสงบเป็นสำคัญ
จึงสามารถที่จะใช้ธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือใช้อุบายอื่น
มาทำให้จิตสงบจากอารมณ์ที่เป็นฝ่ายอกุศลได้
แต่การที่มุ่งทำอะไรบางอย่างเพื่อให้จิตสงบนั้น
จิตจะไม่สามารถเห็นประจักษ์แจ้งได้ว่า สิ่งใดมีเกิดสิ่งนั้นมีดับเป็นธรรมดาได้
หากจะให้จิตเห็นประจักษ์แจ้งได้ว่า สิ่งใดมีเกิดสิ่งนั้นมีดับเป็นธรรมดาได้
ต้องหัดรู้อารมณ์หรือสภาวธรรมต่างๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู
ไม่ใช่เป็นผู้เข้าไปจัดการต่อสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ
ซึ่งการหัดรู้อารมณ์เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์นี้
ก็คือการปฏิบัติภาวนาในฝ่าย วิปัสสนา

การปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลาจะต้องเข้าใจและรู้อยู่ว่า
ควรปฏิบัติภาวนาในฝ่ายของสมถะหรือวิปัสสนา
จึงเป็นการเหมาะเป็นการควรในขณะนั้น
โดยถ้ายังสามารถที่จะมีศีลสำรวมกายวาจาอยู่ได้ และมีกำลังจิตที่ตั้งมั่นพอ
แม้จะเกิดสภาวะที่เป็นอกุศล ก็ควรที่จะปฏิบัติวิปัสสนา
เพื่อให้จิตได้เจริญปัญญาไปสู่ความพ้นทุกข์ที่แท้จริง
แต่ถ้าขณะใดอกุศลรุนแรง จนไม่มั่นใจว่าจะรักษาศีลสำรวมกายวาจาอยู่ได้
หรือเห็นว่าจิตขาดกำลังตั้งมั่นพอ ขณะนั้นก็ควรทำสมถะเพื่อให้จิตสงบลงก่อนครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 177 times, 1 visits today)

Comments are closed.