Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: จิตที่ฉลาดแล้ว

จิตที่ฉลาดแล้ว

ความจำของเราก็ยังไม่เที่ยง จำได้ก็ยังลืมได้ครับ
เพราะฉะนั้นจะเอาจิตที่ฉลาดแล้ว (สามารถละสังโยชน์ได้แล้ว)
มาเทียบกับความจำก็คงไม่อาจจะเทียบกันได้
เพราะจิตที่ละสังโยชน์ได้แล้ว เพราะมีปัญญารู้แจ้งไตรลักษณ์ของรูปนาม
จะละแล้วละได้ขาดไปเลย ไม่กลับมายึดติดสังโยชน์นั้นได้อีก
แต่ถ้ายังละสังโยชน์ไม่ได้ขาด แม้จะเข้าใจว่ารูปนามเป็นไตรลักษณ์
ก็ยังลืมยังหลงว่ารูปนามเที่ยง เป็นทุกข์ เป็นตัวตนได้อีกครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาแล้วสงสัย ควรทำอย่างไร?

mp 3 (for download) : ภาวนาแล้วสงสัย ควรทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาวนาแล้วสงสัย ควรทำอย่างไร?

หลวงพ่อปราโมทย์: ธรรมะจริงๆ ไม่ควรถามมากหรอก คำถามทั้งหลายนะ เกิดจากความคิด พอเราคิดมากเราก็มีเรื่องสงสัยมาก มีเรื่องสงสัยมากก็ต้องถามมาก

ถ้าหากจิตมันเกิดความสงสัยขึ้นมานะ รู้..ว่าสงสัย แล้วก็จะเห็นเลย ความสงสัยเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราไม่ได้เจตนาจะสงสัย มันสงสัยของมันเอง นะ เราตามดูความสงสัย ความสงสัยก็ดับไปได้ เนี่ย ถ้าเราคอยดูนะ สภาวะทั้งหลายทั้งปวงก็จะเกิดดับให้ดู

เราภาวนา เราไม่ได้ต้องการความรู้ความฉลาด เพราะฉะนั้นไม่ต้องถามเยอะ เราไม่ได้ต้องการความรู้ความฉลาด เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจเราเอง ความจริงในกายในใจ มันเป็นอย่างไร คอยดูไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเราก็เห็น

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๖
File: 501216.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๕๕ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: หัดดูกาย

หัดดูกาย

ขณะกำลังเดิน รู้สึกหรือเปล่าครับว่า มีร่างกายตัวเองกำลังเดินอยู่ในโลกใบนี้
แล้วบางช่วงก็ลืมไปเลยว่าตัวเองกำลังเดินอยู่
เช่น ช่วงที่ไปสนใจคิดเรื่องอะไรบางเรื่องอยู่
จิตจะไปสนใจเรื่องที่คิด จนลืมไปเลยว่ากำลังเดิน
พอนึดได้ ก็จะกลับมารู้สึกได้ว่า มีร่างกายกำลังเดินอยู่บนโลกใบนี้
หัดรู้กายบ้าง รู้ว่าเมื่อลืมกายไปบ้าง แบบนี้แหละครับ
ไม่ต้องรู้กายให้ได้ตลอดเวลาหรอกนะครับ
แต่เวลาที่มารู้กาย ต้องรู้แบบไปสบายๆ ไม่เคร่งเครียด เท่านั้นพอแล้วครับ

ถ้าไม่จำเป็นต้องอยู่นิ่งๆ ก็ให้เคลื่อนไหวกายไปตามสมควร
กายที่เคลื่อนไหวจะช่วยให้จิตกลับมามีสติรู้กายได้ง่ายขึ้นครับ
:D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา แต่มีทางขึ้นได้หลายทางสำหรับแต่ละบุคคล

mp3 (for download) : สติปัฎฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา แต่มีทางขึ้นได้หลายทาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติปัฏฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา

สติปัฏฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เป็นแต่ทางปฎิบัติไม่มีทางที่สอง มีทางเดียวแค่นี้เอง ที่นี้ทางแต่ละคนเนี่ย ทาง main (หลัก) นี้มีอันเดียวนะ อย่างสมมุติว่าเราจะขึ้นยอดเขา ขึ้นภูเขา ทางมีทางเดียวต้องสูงขึ้นไป ไม่ใช่ลงมาต่ำ แต่ทางขึ้นภูเขามีรอบทิศทางเลย ทางเดินเฉพาะของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เลียนแบบกันไม่ได้

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเลยสอนธรรมะเอาไว้เยอะแยะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพราะคนมันเยอะ จริตนิสัยต่างๆกัน บางคนต้องรู้กาย บางคนต้องรู้เวทนา บางคนต้องรู้จิต บางคนรู้ธรรม

ทิศทางใหญ่ๆจะขึ้นเขาเนี่ย ทิศทางใหญ่ๆมันก็ ๔ ทิศ เวลาเดินจริงๆไม่ได้เดินทีละทิศหรอกนะ เดินสะเปะสะปะ เดี๋ยวก็ขยับหลบซ้าย เดี๋ยวหลบขวา เดี๋ยวหมดแรงก็นั่งพัก ขึ้นเขาไปเหนื่อยนั่งพัก นั่งพักคือสมถะ มีแรงแล้วเดินขึ้นไปอีก อย่าท้อถอย วันหนึ่งก็ถึงยอดเขา

แต่ถ้าทิศทางไม่ถูกต้อง ไม่รู้ว่าเราจะต้องรู้กายรู้ใจตนเองนะ คิดแต่ว่าจะต้องทำจิตให้ดี ทำจิตให้สงบ เรียกว่าไม่รู้จักเป้าหมายละ ยิ่งเดินยิ่งไปไกลนะ ไปพรหมโลก เพราะฉะนั้นรู้ทิศทาง ว่าเราปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ทุกข์ก็คือกายกับใจนี่แหละตัวทุกข์ เรียนรู้กายรู้ใจ หันหน้ามาเผชิญความจริงของกายของใจ เรียนรู้มัน จนเข้าใจมัน เข้าใจมันแล้วจิตเขาปล่อยวางของเขาเอง


CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๓
File: 480618A
นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๐ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๐๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: ความคิดกับการปฏิบัติธรรม โดย คุณสันตินันท์

ความคิดกับการปฏิบัติธรรม

ความคิดกับการปฏิบัติธรรม

ผมได้ฟังผู้ปฏิบัติธรรมหลายท่าน
ปรารภกันถึงเรื่อง “ความคิดกับการปฏิบัติธรรม”
บ้างก็สนใจในจุดที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะดับความคิดเสียได้
เพราะความคิดเป็นสิ่งตรงข้ามกับ “รู้” เมื่อหมดความคิดจะได้เหลือแต่ “รู้”
บางท่านถึงกับตราหน้าความคิด ว่าเป็นตัววิปัสสนึก ไม่ใช่วิปัสสนา
เมื่ออยากจะทำวิปัสสนา จึงต้องดับความคิดเสียให้ได้
อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติอีกกลุ่มหนึ่งกลับกลัวว่า
ปฏิบัติแล้ว จะเหลือแต่ “รู้” ไม่มีความคิด
แล้วจะทำให้กลายเป็นคนโง่เขลา หรือสมองฝ่อในภายหลัง…

คุณสันตินันท์ เขียนไว้เมื่อ วันอังคารที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๕ นาฬิกา ๕๘ นาที ๑๔ วินาที

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จากดูกายสู่ดูจิต

จากดูกายสู่ดูจิต

ถ้าดูกายได้ถูกต้อง ก็จะเห็นจิตหรือดูจิตไปจนดูเวทนาดูธรรมได้ด้วยครับ
เช่นดูกายอยู่แล้วจิตเกิดมีกิเลสขึ้น ก็จะเห็นจิตที่มีกิเลสได้
การดูกายจึงหมายถึงดูกายเป็นส่วนมาก ไม่ใช่ดูแต่กายอย่างเดียวครับ
หรืออย่างเช่นตอนที่ออกกำลังกายแล้วใช้กายเป็นเครื่องอยู่
ขณะที่รู้กายก็คือการดูกายนั่นเอง แล้วพอจิตเผลอลืมกายแล้วนึกได้
ขณะที่รู้ว่าจิตเผลอลืมกาย ก็เป็นการดูจิตนั่นเอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

mp 3 (for download) : จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

โยม: ช่วงนี้ก็หลงเยอะ แล้วก็นานด้วย แล้วก็จิต จิตแกว่งง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ บวกขี้เกียจ แล้วพอจะรู้ตัวขึ้นมา เหมือนจะรู้นิดนึง ก็จะพยามข่มไว้นิดๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดีนะ ดีที่รู้ว่า มันทำยังไง ดีที่รู้ว่าไปทำอะไรมัน สังเกตมั้ย มี ๒ อันนะ อันหนึ่งจิตมันทำงานไปนะ มันปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ไป อันนี้อันหนึ่ง อีกอันคือเราเข้าไปทำมัน เช่น เราเข้าไปข่มมันไว้ เราคล้อยตามมันไป

ตรงที่จิตปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ไม่มีปัญหานะ ยังไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ตรงที่พอเราไปรู้มันแล้ว ใจเราไปทำงานเข้า ไปปรุงต่อเข้าไปอีก ปัญหาไปอยู่ตรงนั้นเอง

อย่างความโกรธเกิดขึ้นนะ จิตมันจะโกรธ ห้ามมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่มีหน้าที่ไปห้าม พอความโกรธเกิดขึ้นแล้วอยากให้หาย พออยากให้หายเนี่ย หาทางแก้ไขความโกรธ ตัวนี้เป็นปัญหาล่ะ นี่คือความปรุงแต่ง ปรุงแต่งใหม่ เป็นกรรมใหม่

ตรงที่จิตมันโกรธขึ้นมา มันโกรธไปตามความเคยชินเดิมๆ ของมัน มันเคยโกรธ มันก็โกรธ พอมันโกรธขึ้นมา ใจเราไม่ชอบมัน หาทางแก้ ตรงที่ใจหาทางแก้หาทางทำนี่ล่ะ เป็นกรรมใหม่ ตรงนี้ต้องรู้ทันนะ ถ้ารู้ไม่ทันความทุกข์จะเกิด ใจจะแน่นขึ้นมา

เพราะฉะนั้น ถ้าสภาวะใดๆ เกิดขึ้นเนี่ยไม่ใช่ปัญหา ภาวะใดๆ เกิดขึ้นนะ เราสักว่ารู้สักว่าเห็นได้นี่ใช้ได้เลย ถ้าสภาวะใดๆ เกิดขึ้นเราไม่เข้าใจ เราพยามเข้าไปแทรกแซงแก้ไข อันนี้ใช้ไม่ได้ ที่ใช้ไม่ได้ ไม่ใด้ใช้ไม่ได้ตรงที่มีสภาวะเกิดขึ้นนะ ใช้ไม่ได้ตรงที่เข้าไปแทรกแซง ไปคล้อยตามบ้าง ไปต่อต้านบ้าง

สภาวะใดๆ เกิดขึ้นนะ ปล่อยให้เขาเกิดขึ้น ขันธ์ ๕ เนี่ยเป็น ‘สังขตธรรม’ เป็นธรรมะฝ่ายปรุงแต่งนะ เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๕ ต้องปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เราไม่ได้ไปห้ามมัน อย่างจิตมีหน้าที่คิดนะ ก็คิดทั้งวันทั้งคืน ไม่ต้องไปห้ามมัน แต่พอคิดแล้วเกิดสุขเกิดทุกข์เกิดดีเกิดชั่ว เราก็ไม่ต้องไปห้ามมัน เพราะว่ามันต้องเกิด มันมีเหตุ มันไปคิดอย่างนี้เข้า มันไปกระทบอารมณ์อย่างนี้เข้า มันมีนิสัยเคยขี้โมโห มันก็เลยโมโหขึ้นมา อันนี้ห้ามไม่ได้

พอมันโกรธขึ้นมาแล้วเราไม่ชอบความโกรธ ตรงนี้ปัญหาอยู่ตรงนี้ล่ะ ตรงที่เราพอใจ เราไม่พอใจ ต่อสภาวะนั้น พอเราพอใจเราก็หาทางรักษา เราไม่พอใจเราก็หาทางผลักหาทางทำลายแก้ไขมันออกไป ตรงที่เราทำงานขึ้นมานี้แหละ เรียกว่าเราสร้างกรรมใหม่ เราสร้างภพอันใหม่ขึ้นมา จิตจะมีความทุกข์เกิดขึ้นทันทีเลย

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเห็นสภาวธรรม เห็นรูปเห็นนาม เห็นกายเห็นใจ เขาปรุงของเขาไปเรื่อยนะ เราไม่ปรุงอะไรเราไม่ทุกข์นะ ขันธ์ต่างหากล่ะมันเป็นตัวทุกข์ มันก็ทุกข์ มันก็ทำงาน ดิ้นรนของมันตามหน้าที่ของมัน เพราะเป็นธรรมะฝ่ายปรุงแต่ง เป็นสังขตธรรม เราห้ามมันไม่ได้ มันก็ปรุงของมันไปเรื่อยๆ เราไม่เกี่ยวข้องนี้เราไม่ทุกข์นะ

แต่พอเรายินดียินร้ายกับมันขึ้นมา มันปรุงอย่างนี้เราชอบ มันปรุงอย่างนี้เราไม่ชอบ ไปยินดียินร้ายขึ้นมาเนี่ย ใจก็ดิ้นรน ใจก็มีความทุกข์ ให้คอยรู้เรื่อยๆ ง่ายๆ

จิตจะมีความสุขก็ได้ จิตจะมีความทุกข์ก็ได้ จิตจะเป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน เมื่อไหร่เข้าไปยุ่งเมื่อนั้นก็จะมีความทุกข์อันใหม่เกิดขึ้น จิตใจมีความทุกข์ขึ้นมา ตัวนี้คือตัวที่เราต้องรู้ทัน ถ้ารู้ไม่ทันเราจะปรุงทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมา ขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว มันต้องดิ้นรนไปเรื่อยๆ ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เพราะมันเป็นตัวทุกข์น่ะ ต้องดิ้นรนปรุงแต่งไปเรื่อยๆ แต่เราไม่พอใจขึ้นมา เราพอใจขึ้นมา ใจเราปรุงแต่งซ้อนขึ้นมาอีกที คราวนี้เราจะทุกข์แล้ว

ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ก็ปรุงแต่งนะ ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ไม่ปรุงแต่ง ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ปรุงแต่ง แต่จิตของพระอรหันต์นั้นไม่มีอะไรปรุงแต่งได้เลย ด้วยเหตุขันธ์มันทำงานไปโดยจิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่งจิต ไม่ทำงานต่อ ที่เรียกบอกว่า หมด หมดกิจแล้ว จบกิจแล้ว คือใจไม่ต้องทำงานแล้ว เห็นแต่ขันธ์มันทำงาน ใจไม่ต้องทำอะไร ขันธ์ก็ทำงานไปตามหน้าที่ของขันธ์ จนวันหนึ่งก็สิ้นขันธ์ ตรงที่ใจมันพรากออกจากขันธ์ จิตมันพรากออกจากขันธ์ ขันธ์ไม่กระเทือนเข้าถึงจิต เรียกว่า ‘สอุปาทิเสสนิพพาน’ จิตถึงสอุปาทิเสสนิพพาน ตรงที่สิ้นขันธ์ไปแล้ว อันนี้เรียก ‘อนุปาทิเสสนิพพาน’

ค่อยๆ ฝึกนะ เราไม่ได้ฝึกเพื่อให้ขันธ์ผิดปกตินะ บางคนพยายามฝึกให้ขันธ์ผิดปกติ เช่น ไม่ให้คิดนะ ไม่ให้คิด ไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง เนี่ยฝึกให้ขันธ์ผิดปกติ ให้มันคิดไป ให้มันโลภ ให้มันโกรธ ให้มันหลงไป แล้วตามรู้มันไป ตามรู้แล้วอย่าไปหลงยินดีกับมัน อย่าไปหลงยินร้ายกับมัน


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
Track: ๖
File: 500106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จิตชอบพูดธรรมะให้ฟัง

จิตชอบพูดธรรมะให้ฟัง

ให้หัดดูไปเลยครับดูให้เห็นว่า จิตที่พูดกับจิตที่ฟังเป็นจิตคนละขณะกัน
จิตดวงหนึ่งดับไปก็เกิดจิตอีกดวงขึ้น จิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Download Now! CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖ (๒)

ดาวน์โหลดพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

Download Now

Download Now

ดาวน์โหลดพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

    uploaded:๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันวันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK

*หมายเหตุ THAI-1 กับ THAI-2 เป็น Server คนละเครื่อง แต่ไฟล์สำหรับ Download นั้นเหมือนกันทุกไฟล์ค่ะ

ท่านที่สนใจจะ Download ไฟล์อื่นๆ ท่านสามารถเข้าไป Download ได้ที่หน้า Download นะคะ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนจริงถึงจะได้ของจริง คนใจเสาะไม่ได้ของจริงหรอก

mp3 (for download) : คนจริงถึงจะได้ของจริง คนใจเสาะไม่ได้ของจริงหรอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คนจริง ถึงจะได้ของจริง

คนจริง ถึงจะได้ของจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก่อนนี้ไปเรียน ต้องเรียนเอาเองนะ อยากเรียน ครูบาอาจารย์ถึงสอน เดี๋ยวนี้ต้องอ้อนวอน ฝึกไปเถอะ ฝึกแล้วมีความสุขนะ พูดหยาบๆ บอกว่า “ห่วยแตก” นะ ใจถึงๆ หน่อย ธรรมะของจริงนะ คนจริงถึงจะได้ของจริง คนใจเสาะไม่ได้ของจริงหรอก


CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๓
File: 480618A
นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๑๙ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: บทบาทและหน้าที่ของจิตต่อการเจริญสติปัฎฐาน4 กับการไม่ปรุงแต่งของจิต

บทบาทและหน้าที่ของจิตต่อการเจริญสติปัฎฐาน4 กับการไม่ปรุงแต่งของจิต

จิตทำหน้าที่ “รู้อารมณ์”
บทบาทของจิตในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คงเป็นการ
“มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม
เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม มีความเกิดขึ้น เสื่อมไปเป็นธรรมดา
ละยึดมั่นถือมั่น ละความยินดียินร้ายในโลก”
แต่ต้องฝึกให้จิตคุ้นเคยที่จะมาเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้ได้ครับ

ปัจจุบันขณะใดที่จิตมีสติ มีความตั้งมั่น จิตก็จะไม่ดิ้นรนปรุงแต่งแล้วครับ
เหลือแต่สังขารความปรุงแต่งที่ทำหน้าที่ไปตามปกติ
เมื่อจิตรู้เห็นความปรุงแต่ง โดยไม่กระโจนไปดิ้นรนปรุงแต่งซ้อนลงไป
ก็จะค่อยๆ เห็นไตรลักษณ์ของรูปนามได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิต เมื่อดูไม่ชัด

mp3 for download: ดูจิต เมื่อดูไม่ชัด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูจิต เมื่อดูไม่ชัด

ดูจิต เมื่อดูไม่ชัด

โยม: กราบนมัสการค่ะ ส่งการบ้านครั้งสุดท้ายเมื่อประกันสังคมโน่นน่ะค่ะ แล้วก็ล้มลุกคลุกคลานมากเลยค่ะ แล้วก็ก่อนหน้าที่จะมาวัดเนี่ย รู้สึกว่าตัวเองติดสภาวะอยู่แต่ไม่แน่ใจค่ะว่า เป็นสมถะหรือว่าเป็นหมูกระดาษ ซึ่งมันจะเฉยๆ ไปหมดเลยน่ะค่ะ แล้วก็ พอวันก่อน เมื่อวานนี้ก่อนที่จะมาได้ฟังซีดีแผ่นล่าสุด ได้ฟังหลวงพ่อตอบคนหนึ่ง ซึ่งสภาวะคล้ายๆ กัน มันก็ค่อยๆ คลายออกมาค่ะ วันนี้ก็รู้สึกโปร่งโล่งเบาขึ้น ไม่ทราบว่าเห็นถูกมั้ย

หลวงพ่อปราโมทย์: ดีแล้ว ถูกแล้ว สังเกตมั้ย ไม่เจอกันนานเท่าไหร่ เดี๋ยว

โยม: หกเดือน..ได้ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: สังเกตมั้ย จิตเราเปลี่ยนไปแล้ว

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดี

โยม: เห็นมันรู้สึก เห็นอะไร มันเบื่อๆ เฉยๆ ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ เขารู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่ายนะ เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด คือ คลายความผูกพันยึดถือ คลายกำหนัดจึงหลุดพ้น

โยม: อันนี้คือ คือเป็นเฉยที่จริงใช่มั้ยคะ ไม่ใช่เฉยแบบโลกๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่ แต่ยังไม่ร้อยเปอร์เซนต์นะ บางทียังมีโทสะเจือ เป็นคราวๆ

โยม: เยอะด้วยค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: รู้ไป

โยม: แล้วก็ บางที เวลาอดนอนแล้วมันมักจะมองไม่ค่อยเห็นน่ะค่ะ ชัดๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลามองไม่ชัด นะ อย่างอดนอน หรือเวลาไม่สบาย เวลาโดนกินยาอะไรเข้าไป เบลอๆ เวลาใกล้จะตายแล้วเบลอๆเนี่ย วิธีดู ดูยังไง ไม่ใช่ดูให้ชัด ไม่ใช่ไปฝืนเพื่อทำให้ชัดนะ รู้ว่าไม่ชัด ใจอยากชัดรู้ว่าอยาก นั่นเรียกว่าเรายังรู้อยู่ เพราะฉะนั้นมันจะชัดก็ได้ มันจะไม่ชัดก็ได้ แต่เรารู้ทันทุกอย่างด้วยจิตที่เป็นกลาง ตัวนี้ใช้ได้ เวลาที่พวกเราใกล้จะตาย บางทีเบลอนะ เบลอไม่รู้เรื่อง ซึมกระทือไปแล้วเนี่ย ถ้าจะไปหวังให้ ปิ๊ง.. ใสปิ๊ง ปิ๊ง อยู่ มันไม่ปิ๊งละ ให้รู้สภาวะอย่างที่มันเป็น รู้ว่ากำลังเป็นอย่างนี้อยู่ รู้ด้วยใจที่เป็นกลางไว้ นะ

โยม: งั้นจิตโยมยัง.. ครั้งที่แล้วยังออกนอกอยู่ คราวนี้ยังเข้ามาได้บ้างมั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เข้ามานะ แต่ว่ายังเพ่งอยู่

โยม: ค่ะ ยังติด ยังรู้ตัวว่ายังติดอยู่ บางทีไปจ้องรอ จ้อง..

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ.. อย่ารอดูนะ ก่อนดูไม่รอดู ให้สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้ ระหว่างรู้อย่าอยากรู้ให้ชัดแล้วถลำลงไปจ้อง ดูห่างๆ รู้แล้วยินดีให้รู้ทัน ยินร้ายให้รู้ทัน

โยม: โยมควรจะฝึกสมถะเพิ่มมั้ยค่ะ หรือว่าไม่ควร..

หลวงพ่อปราโมทย์: สมถะทำเพื่อพักผ่อนทุกวัน ทำไป แต่ไม่ได้ทำเยอะ ทำพอให้ใจมีแรง ถ้าไม่มีสมถะใจจะไม่มีกำลัง

โยม: ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: แต่ถ้าถามหลวงพ่อเมื่อ ๖ เดือนก่อน หลวงพ่อจะบอกให้หยุดสมถะไว้ก่อน เพราะอะไร เพราะติดเพ่งอย่างรุนแรง เราต้องให้คลายการเพ่ง คลายการเพ่งแล้วเริ่มเห็นสภาวะทำงานแล้ว คราวนี้เราก็ทำสมถะเพื่อพักผ่อนเป็นคราวๆ นะ

โยม: ขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เนี่ยบางคนได้ยินหลวงพ่อพูดประโยคหนึ่งแล้วก็เอาไปแล้ว “หลวงพ่อปราโมทย์บอกให้เลิกทำสมถะ” เนี่ย นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๙
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิต กับความเครียด

mp3 for download: ดูจิต กับความเครียด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูจิต กับความเครียด

ดูจิต กับความเครียด

หลวงพ่อปราโมทย์: เอ้า.. ต่อไป เชิญยกมือ.. เชิญยกป้าย เอาอย่างนี้ก่อนนะ ขออย่างนี้ก่อน ยกเยอะๆ หลวงพ่อเวียนหัว ใครที่ยังไม่เคยส่งการบ้านเลย แล้วอยากส่ง มีมั้ย เบอร์ ๔๐ เบอร์ ๔๐ เชิญ

โยม:
กราบนมัสการหลวงพ่อค่ะ คือหนูมาส่งการบ้านครั้งแรกค่ะ ก็ฟังซีดีหลวงพ่อบ้าง แล้วก็ปฏิบัติมาอยู่เรื่อยๆค่ะ คือ มี ดูเป็นอยู่สองอย่างก็คือ อย่างแรกก็คือ บางทีเห็นจิตหงุดหงิดอะไรอย่างนี้ค่ะ แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือ เหมือนมีลมมันวืดๆ อยู่ในตัวค่ะ อันนี้หนูดูถูกหรือเปล่าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถูกสิ ถ้ามันมีจริงๆ ดูแล้วเห็นอย่างนั้น ก็ถูกสิ เพราะฉะนั้นต่อไปนะ เริ่มไปดู จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ทันนะ จิตหายโกรธก็รู้ทัน ดูจิตไป เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็เฉยๆ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็เฉยๆ ดูอย่างนี้บ่อยๆ นะ ส่วนอะไรจะวูบๆ วาบๆ ก็แค่รู้เท่านั้นล่ะ ทีนี้พอรู้แล้วเกิดสงสัยว่ามันคืออะไร รู้..ว่าสงสัย นะ รู้ รู้ทันใจตัวเองแบบนี้เรื่อยๆ

โยม: ค่ะ แล้วก็มีอีกคำถาม คือว่า เวลา เคียด เวลาทำงานหรือคิดมาก..

หลวงพ่อปราโมทย์: เครียด เครียด ถ้าเคียดนี่แปลว่าแค้น เอ้า..เวลาเครียด เอ้า..

โยม:
ค่ะ เวลาเครียดน่ะค่ะ แล้วแบบว่า เหมือนจิต จะ เหมือนจะเข้าไปอยู่ในความเครียด แล้วก็..

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่

โยม:
ออกมาได้แป๊บนึง แล้วก็เข้าไปอีก แล้วเหมือนมันจะเหนื่อยๆ อันนี้จะมีวิธียังไงคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าอยากออกมา จิตเข้าไปรวมอยู่กับความเครียด รู้ว่าจิตรวมอยู่กับความเครียด อยากหลุดออกมา รู้ว่าอยาก เนี่ยถึงจะเรียกว่า “รู้ทันจิต” เราไม่มีหน้าที่ไปดึงจิตให้หลุดออกจากอารมณ์นะ จิตเข้าไปเกาะอยู่ก็รู้ จิตแยกออกมาก็รู้ สังเกตมั้ยเดี๋ยวก็เกาะเดี๋ยวก็แยก สั่งไม่ได้หรอกนะ อย่าไปสั่งมัน ค่อยๆฝึกไป ต่อไปมันไม่เข้าไปหรอก ถ้าจิตฉลาดแล้วมันไม่เข้าไป จิตเข้าไปคลุกอารมณ์เพราะว่ามันยังโง่ นะ ถ้าต่อไปเราฝึกมากเข้า มากเข้า จิตฉลาด จิตรู้ว่าถ้ามีความอยากเมื่อไร ถ้ามีความยึดเมื่อไร จิตจะทุกข์ จิตก็เลยไม่อยาก ไม่ยึดนะ จิตก็ไม่เข้าไปคลุกกับอารมณ์อีก ต่างคนต่างอยู่ ค่อยๆฝึกไปแล้วมันจะดีขึ้นนะ ใช้ได้

โยม:
ขอบคุณค่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑๘

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จิตที่ไม่ใช่ของเรา แล้ว เรา เป็นใคร อยู่ที่ไหน?

จิตที่ไม่ใช่ของเรา แล้ว “เรา”เป็นใคร อยู่ที่ไหน?

ธรรมะในระดับของการปฏิบัตินั้น
เบื้องต้นจะมุ่งไปที่การมีความเห็นถูกว่า
ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ไม่ใช่ตัวตน(ไม่ใช่ตัวเรา) ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเป็นไปตามที่ต้องการได้อย่างถาวร
เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ไม่มีสิ่งใดในขันธ์ ๕ ที่จะเป็นตัวตน(เป็นตัวเรา)เลย
ไม่มีตัวตน(ไม่มีตัวตน)ใดๆอยู่ในขันธ์ ๕ เลย
ความเห็นว่ามีตัวเราที่ถาวรตลอดกาลอยู่ จึงเป็นเพียงความเห็นผิดเท่านั้น
ตัวตนหรือตัวเราที่ว่าจึงไม่ใช่อะไรที่มีอยู่จริงๆ
มีเพียงสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น
แต่ความเข้าใจตรงนี้ จะเข้าใจได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อ
ได้หัดปฏิบัติภาวนาไปจนกว่าจะละ ความเห็นผิดว่ามีตัวตนลงได้(ละสักกายทิฏฐิลงได้)
ตอนนี้ก็ต้องหัดดูไปเลยว่า ตัวเราที่เห็นอยู่มันเป็นตัวเราจริงๆ
หรือเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อไรรู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นปฏิบัติอยู่

mp3 for download: เมื่อไรรู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นปฏิบัติอยู่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เมื่อไรรู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นปฏิบัติอยู่

เมื่อไรรู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นปฏิบัติอยู่

โยม: นมัสการหลวงพ่อครับ ก็ ส่งการบ้านเหมือนกันครับ ก็ เมื่อตะกี้ก็ รู้สึกอิจฉาเพื่อนครับ แต่ว่ามันขึ้นมานิดเดียว เห็นได้ชัดมาก ก็

หลวงพ่อปราโมทย์: มีแต่อิจฉาเฉยๆ หรือมีเราอิจฉาด้วย

โยม: เราอิจฉาด้วยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์:
เออ.. มีเราอิจฉาด้วย ดีที่เห็น..

โยม: คือ หลังจากที่ มาวัดครั้งที่แล้ว กลับไปก็ เหมือนกับจิตมันเสื่อมลงไปครับ มันรู้ตัวได้ไม่เหมือนเดิม เหมือนกับตอนที่อยู่ที่ ตอนที่มาที่วัดน่ะครับ ก็พยายามดูไปครับ พอดีได้คำแนะนำจากอาจารย์สุรวัฒน์ ว่ามัน มัน เดี๋ยวมันก็พลิกกลับมาเจริญครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ.. นะ ก็ไม่ได้ภาวนาเอาเจริญอย่างเดียวหรอก แต่เราภาวนาให้เห็นว่ามันไม่คงที่หรอก เจริญแล้วก็เสื่อม เจริญแล้วก็เสื่อม ในที่สุดใจเป็นกลาง ตัวที่ดีคือตัวเป็นกลาง

โยม: แล้วก็ เหมือนกับว่า มันก็เลยเกิด เหมือนกังวลครับ ว่า ว่า ไม่รู้ว่ามันปฏิบัติอยู่หรือเปล่า หรือว่ารู้..

หลวงพ่อปราโมทย์: กังวลรู้ว่ากังวล สงสัยรู้ว่าสงสัย ถ้ากังวลรู้ว่ากังวล สงสัยรู้ว่าสงสัย ขณะนั้นปฏิบัติอยู่ นะ เมื่อไรรู้สภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นปฏิบัติอยู่

โยม: ครับ อยากให้หลวงพ่อ เหมือนกับว่า..

หลวงพ่อปราโมทย์: อยากแล้วรู้มั้ย?

โยม: อยากแล้วรู้ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ..นะ เลยเงียบไปเลย ที่ฝึกอยู่น่ะ ใช้ได้แล้ว ไปฝึกอีก มันเจริญแล้วมันก็เสื่อม ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายเป็นอย่างนั้นแหละ สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นก็เสื่อมไปดับไป เป็นธรรมดา ไม่ใช่ไปเอาดีตลอดนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: แนวทางปฏิบัติธรรมในพระสูตร 2 : จากนิวรณ์ ถึงสมาธิ โดย คุณสันตินันท์

พรหมชาลสูตร

พรหมชาลสูตร

เพียงพระสูตรแรกที่ยกมานี้เราก็จะพบว่า
กระบวนการปฏิบัติธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงในพระสูตรนี้
แตกต่างออกไปบ้างจากตำราที่เราได้ยินได้ฟังกันจนคุ้นหู
คือในตำราที่เราได้ยินกันในปัจจุบันนี้
มักจะสอนกันว่า ให้ทำสมาธิเพื่อข่มนิวรณ์
จากนั้นจึงใช้จิตที่ปราศจากนิวรณ์ไปเจริญวิปัสสนา…

คุณสันตินันท์ เขียนไว้เมื่อ วันอังคารที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๑ นาฬิกา ๑๑ นาที ๓ วินาที

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราเกิดมาทำไม?

mp 3 (for download) : เราเกิดมาทำไม?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ชาวพุทธมีบุญนะ ชาวพุทธนั้นเป็นคนมีบุญ เรารู้ว่า อะไรเป็นสาระแก่นสารของชีวิต อะไรเป็นสาระ อะไรไม่ใช่สาระ อะไรมีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์ อะไรอยู่ในลู่ในทาง อะไรนอกลู่นอกทาง ชาวพุทธที่ดีจะรู้สิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นเราจะไม่ได้มีชีวิตแบบตามยถากรรม

คนซึ่งไม่มีหลักของทางจิตใจนั้น เหมือนมีชีวิตตามยถากรรม อยู่ไปวันๆหนึ่ง เกิดมาก็โตไป กินข้าวแล้วก็โตไป ตามยถากรรมนะ เรียนหนังสือตามยถากรรม ออกมาทำงาน มีครอบครัว มีลูกมีเมีย แย่งชิงกันไป แล้วก็แก่ไปตายไป ตามยถากรรม ไม่มีอะไร นะ ไม่มีอะไรในชีวิตเลย ไร้สาระ

พวกเราได้ฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้าสอน เรารู้ว่าอะไรเป็นสาระเป็นแก่นสาร ทุกคนเกิดมา เรามีเป้าหมายในชีวิต เรารู้ว่าเราเกิดมาทำไม เรารู้กระทั่งว่า “ทำไมถึงเกิดมา” รู้ลึกซึ้งนะ

หลวงพ่อเคย คราวหนึ่งไปนั่งอยู่กับหลวงปู่เทสก์ ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งนะ สงสัยชีวิตจะมีความทุกข์มาก ร้องไห้นะ ร้องโฮ โฮ โฮ มา มาหาหลวงปู่

“หลวงปู่.. ทำไมหนูต้องเกิดมา..”

“เพราะไม่รู้.. เพราะไม่รู้”

“ทำไมหนูต้องเกิดมา..” ซ้ำอีก หลวงปู่ก็บอก “เพราะไม่รู้..”

“หลวงปู่ไม่รู้แล้วใครจะรู้..” ว่าอย่างนี้

ความจริงท่านตอบให้เรียบร้อยแล้วนะ เพราะความไม่รู้ ถึงเกิดมานะ เกิดอะไร เกิดทุกข์นั่นแหละ จะเกิดอะไร

คนไหนความจำดีๆ เกิดระลึกชาติได้ บางคนระลึกชาติได้ ความจำดีๆ แล้วจะรู้สึกเลยว่า ชาติไหนที่ไม่ได้เจอพระพุทธศาสนานะ ชีวิตมันวังเวง มันรู้สึกวังเวงนะ มันไม่ได้ชั่วนะ จะชั่วจะดีมันก็แต่ละคนมันก็อบรมของตัวเองมา กระทั่งคนดีๆนั้นแหละ ชาติใดไม่ได้เจอพระพุทธศาสนา มันรู้สึกวังเวง ไม่รู้ว่าอยู่ไปทำอะไร ก็ทำคุณงามความดีไปนั้นแหละ แต่ไม่รู้เป้าหมายของชีวิต

พระพุทธเจ้ามาสอนเรานะ ให้เรารู้ว่าเป้าหมายของชีวิตเรานี้คืออะไร บางคนก็ถาม เกิดมาทำไม เกิดมาทำอะไรก็ช่างมันเถิดนะ แต่ว่าจริงๆ ทุกคนมีเป้าหมายของชีวิตที่จะต้องพัฒนาจิตใจของตัวเองไปสู่ความพ้นทุกข์ให้ได้

ทำไมเราต้องมีชีวิตที่อมอยู่กับความทุกข์ เหมือนคนอมโรค เรื่องอะไรต้องทำอย่างนั้น เราสามารถมีชีวิตที่มีความสุขได้ คนไหนได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้านะ จะได้รับประโยชน์ ได้รับความสุข

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า เวลาท่านจะส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาเนี่ย ท่านก็บอกพระสาวก มอบหมายหน้าที่ให้ บอกว่า ให้ไปประกาศธรรมะ ที่งามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ของมหาชนจำนวนมาก

เห็นมั้ย สิ่งที่จะได้จากการฟังธรรมนะ คือ ประโยชน์ ความสุข ประโยชน์หมายถึงว่าอะไร หมายถึงต้องมีชีวิตที่ดีขึ้น แล้วก็ไม่ใช่มีชีวิตที่ดีขึ้นแบบเป็นทุกข์ด้วย ต้องมีความสุขด้วย

บางคนเข้าใจผิด เห็นศาสนาพุทธสอนเรื่องความทุกข์เยอะ ก็เลยว่าศาสนาพุทธเนี่ย มองโลกแง่ร้าย ความจริงไม่ได้มองโลกแง่ร้าย ท่านให้เรียนรู้ปัญหา ชีวิตมันมีปัญหานะ เรียนรู้ลงมา เรียนรู้ลงมา ชีวิตมีความทุกข์ ก็เรียนรู้ลงมา ความทุกข์อยู่ในกายในใจ รู้อยู่ที่กายที่ใจนี้ เรียนรู้ไปเรื่อยๆนะ แล้วก็ความทุกข์มันจะค่อยๆ หายไป

แต่เดิมหลวงพ่อพูดอย่างนี้นะ พูดแล้วก็ ต้องออมๆหน่อย พูดมากไม่ได้ ถึงวันนี้หลวงพ่อกล้าพูดเต็มปากเต็มคำ เพราะหลวงพ่อมีพยานเยอะแยะเลย ว่าถ้าศึกษาปฏิบัติธรรมแล้วจะมีความสุข มีความสุขมากที่สุดเลย

อย่างคนที่ได้ศึกษาได้ฟังธรรมกับหลวงพ่อนะ สักพักเดียว ไม่นานหรอกนะ บางคนฟังครั้งเดียว สองครั้ง บางคนปฏิบัติตามดูจิตดูใจสักเดือนหนึ่ง บางคนแค่ฟังซีดีนะ แล้วก็คอยสังเกตจิตใจตนเองไปเรื่อยๆ ก็มาบอกหลวงพ่อเรื่อยๆเลยว่า จิตใจของเขาเปลี่ยนไป เคยมีความทุกข์มากก็ทุกข์น้อยนะ เคยทุกข์นานๆก็ทุกข์สั้นๆ เนี่ย หลวงพ่อมีพยานเยอะนะ ว่าปฏิบัติธรรมแล้วมันพ้นทุกข์จริงๆ ไม่ใช่หลับหูหลับตาทำไปเถอะ ทุรนทุรายลำบากไปสารพัดนะ แล้วหวังว่าชาติหน้ามันจะสบายกว่านี้ ตายแล้วมันจะดีกว่านี้

ศาสนาพุทธไม่ได้อนาถาถึงขนาดที่ว่า ต้องตายก่อนแล้วถึงจะดี เราสามารถดีได้ในปัจจุบัน สามารถมีความสุขได้ในปัจจุบัน พิสูจน์ได้ด้วยตัวเองเลยเห็นมั้ย ถ้าหากบอกว่า เอ้า..ทำดีไปนะ สร้างคุณงามความดีสารพัดไป เดี๋ยวชาติหน้าจะดี พิสูจน์ยาก ใช่มั้ย พิสูจน์ยาก

แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้านะ ผู้ปฎิบัติสามารถเห็นได้ด้วยตัวเอง ในชีวิตนี้แหละ เห็นในปัจจุบันนี้แหละ บางคนศึกษาธรรมะเพียงเดือน สองเดือน ก็เปลี่ยน ตัวเองเปลี่ยนแปลง ที่วัดหลวงพ่อนี้มีมารายงานเยอะแยะเลย ชีวิตจิตใจนี้เปลี่ยน ตัวเองรู้สึกได้ คนในบ้านรู้สึกได้

มีผู้หญิงคนหนึ่งนะมาเรียนสองสามครั้งมั้ง เสร็จแล้วก็ วันหนึ่ง พาพี่สาวมาด้วย พี่สาวตามมา แล้วไปเล่าให้แม่ชีนุชฟัง พี่สาวก็บอกเลยเนี่ย คนนี้เหรอ เมื่อก่อนร้าย เห็นแก่ตัว ไม่ดีอย่างโน้น ไม่ดีอย่างนี้นะ แหมบรรยายต่อหน้าเลยนะ ไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ดีขึ้น ก็เลยต้องมาฟังธรรมบ้าง เพราะว่ามันเปลี่ยนจริงๆ เปลี่ยนคนได้นะ ธรรมะของพระพุทธเจ้านะเปลี่ยนคนได้ และคนที่จะเปลี่ยนได้คือคนซึ่งลงมือศึกษาปฎิบัตินี่ล่ะ เปลี่ยนจริงๆ

พวกศาสนาอื่นนะ สมัยพุทธกาล ถึงกับเตือนกันว่าอย่ามาฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีมนต์เปลี่ยนใจ ถ้ามาพบพระพุทธเจ้าแล้วเปลี่ยนใจ เลิกนับถือศาสนาเก่าๆ

ทำไมล่ะ เพราะว่าศาสนาพุทธนี้สมบูรณ์ด้วยเหตุด้วยผล พิสูจน์ได้ด้วยตัวของเราเอง เส้นทางที่จะพิสูจน์ก็ไม่ได้ยากลำบากเกินไป แค่มีสติขึ้นมาแล้วรู้สึกกายรู้สึกใจไป กายเป็นอย่างไรก็รู้ว่าเป็นอย่างนั้น จิตเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ตามรู้ตามดูอย่างนี้เรื่อยๆ รู้สึกตัวไปแล้วคอยรู้ไปเรื่อยๆ ชีวิตจิตใจจะเปลี่ยน แล้วก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วด้วย


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๓
File: 510817.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: แนวทางปฏิบัติธรรมในพระสูตร : ตอนที่ 1 ธรรมแท้ที่ถูกมองข้าม โดย คุณสันตินันท์

ธรรมแท้ที่ถูกมองข้าม

ธรรมแท้ที่ถูกมองข้าม

นักวิชาการทางศาสนาบางท่านเปรียบเทียบพระไตรปิฎกกับวิทยาการปัจจุบัน
โดยเปรียบเทียบว่า พระวินัย คือวิชานิติศาสตร์
พระสูตร คือวิชาประวัติศาสตร์
และพระอภิธรรม คือวิชาวิทยาศาสตร์

การมองว่าพระสูตรเหมือนวิชาประวัติศาสตร์ก็มีเหตุผลพอประมาณ
เนื่องจากพระสูตรเป็นเสมือนบันทึกเหตุการณ์ในครั้งพุทธกาล
เล่าถึงเรื่องราวก่อนการตรัสรู้
จนถึงเรื่องราวและกิจกรรมตลอดพระชนม์ชีพของพระศาสดา
อย่างไรก็ตาม หากผู้ใดเห็นคุณค่าของพระสูตรเพียงในด้านประวัติศาสตร์
ก็ย่อมเป็นการลดค่าของพระสูตรลงอย่างมหาศาล
เนื่องจากโดยแท้จริงแล้ว พระศาสดาทรงระบุไว้
ใน มหานิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎกเล่มที่ 10 ดังนี้…

คุณสันตินันท์ เขียนไว้เมื่อ วันจันทร์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๑ นาฬิกา ๓ นาที ๓๖ วินาที

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่กับพระ ธรรมะอยู่ที่ตัวของเราเอง

mp3 (for download) : ธรรมะไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่กับพระ ธรรมะอยู่ที่ตัวของเราเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมะอยู่ที่ตัวเราเอง

ธรรมะอยู่ที่ตัวเราเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : จริงๆ การปฎิบัติ มันไม่ใช่อะไรลึกลับหรอกนะ เราชอบไปวาดภาพการปฎิบัติธรรม คือ การต้องทำอะไรยากๆ ทำอะไรแปลกๆ อะไรอย่างนี้ ต้องไปอยู่วัด ต้องอดข้าว ต้องอะไรต่ออะไร เราวาดภาพเยอะไปนิดนึงนะ

การปฏิบัติธรรมจริงๆ ก็คือ การที่เราคอยรู้ตัวไว้ รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ เพราะกายกับใจนี้จะสอนธรรมะเรา ธรรมะไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่กับพระ ธรรมะอยู่ที่ตัวเราเอง เราเรียนเรื่องตัวเราเอง จนกระทั่งเราสามารถมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ อย่างทุกข์น้อยๆ วัตถุประสงค์ คือ จะเรียนเพื่อให้มันทุกข์น้อยๆ หรือจะเรียนเพื่อให้มันไม่ทุกข์ ไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร นี่เราจะเรียนเพื่อพ้นทุกข์ ความทุกข์ก็อยู่ที่กายกับใจเรานี่เอง ให้เราเรียนลงที่กายที่ใจ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ
หนองตากยา ท่ามวง กาญจนบุรี
เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘
CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๑๕
File: 480821A
นาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๓๕ ถึงนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๑
 
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

mp3 (for download) : อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักของการปฎิบัติ อันแรกสุดเลย ท่านบอกให้รู้ทุกขฺ์ หลักของอริยสัจจ์ ความจริงของพระอริยะทั้งหลาย ความจริงข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ให้รู้ อะไรคือทุกข์ ขันธ์ ๕ คือ ทุกข์ คือ กายกับใจเราเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นรู้ลงที่กายที่ใจนี้

รู้ไปเพื่ออะไร เพื่อวันหนึ่งเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ เรารู้เลยกายกับใจนี้จริงๆ เป็นของโลกนะ เป็นสมบัติของโลก ยกตัวอย่างร่างกายของเรานี้เป็นแค่วัตถุธาตุเท่านั้นเอง อาศัยธาตุของพ่อแม่เป็นจุดเริ่มต้น อาศัยอาหาร อาศัยน้ำ อาศัยอากาศ อะไรอย่างนี้ หล่อเลี้ยง ตัวโตขึ้นมา แต่ละวันก็มีธาตุไหลเข้าไหลออก กินอาหารแล้วขับถ่าย หายใจเข้าแล้วหายใจออก อะไรอย่างนี้ เฝ้ารู้เฝ้าดู

วันหนึ่งแจ่มแจ้ง ร่างกายของเรานี่กับวัตถุทั้งหลายนี่ อันเดียวกันนั่นแหละ ความไม่รู้มันทำให้เราแบ่งแยกเอา มาเป็นกายของเรา นี่เป็นใจของเรา มันมีตัวเราขึ้นมา มันก็อยากหาความสุขให้ตัวเรา อยากจะสุขถาวร อยากจะอย่างโน้น อยากอย่างนี้ เกิดการดิ้นรน เกิดการปรุงแต่งตั้งมากมาย เพื่อที่จะหาความสุขมาให้ต้วเรา

ถ้าเฝ้ารู้ ลงไปที่กาย เฝ้ารู้ลงไปที่ใจ วันหนึ่งเห็น ตัวเราไม่มี ตัวเราไม่มี การที่ ถ้ามันมีตัวเรานี่คือ ‘อวิชชา’ นั่นเอง ความไม่รู้ทุกข์ อวิชชาข้อที่ ๑ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวเราจริงๆเป็นแค่ รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ หรือเป็นวิญญาณธาตุ เป็นธาตุรู้ เป็นของโลก ไม่ใช่ของเรา

เนี่ย เฝ้ารู้กาย เฝ้ารู้ใจ มันจะเห็นความจริงนะ มันจะสลัดคืนความยึดถือกาย ยึดถือใจ มันหวง มันรัก มันอยากให้ดี อยากให้สุขถาวร เฝ้ารู้ พอไม่ใช่ของเรา เห็น เบื้องต้นเห็นไม่ใช่ของเราก่อน ไม่ใช่ของเรานี้เรียกว่าพระโสดาบัน พระโสดาบันเห็น กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เป็นของโลก แต่ว่า คล้ายๆเป็นสมบัติคนอื่นนะ แต่งกนะ ไม่คืนหรอก

มาเฝ้ารู้เฝ้าดู เราคิดว่าเป็นของดีของวิเศษ กายนี้ ใจนี้ เป็นของดีของวิเศษ เฝ้ารู้เฝ้าดู นานไป นานไป ปัญญาแจ้งนะ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย กายนี้หาความสุขตรงไหนก็ไม่เจอ จิตนี้หาความเที่ยง หาการบังคับได้สักนิดหนึ่งก็ไม่มี มีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย พอเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย เห็นตรงที่พระพุทธเจ้าบอกล่ะ เห็นทุกข์ละ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

พวกเราไม่มีทางเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เลย เราเห็นว่ามันทุกข์บ้าง สุขบ้าง กายนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง จิตนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ถ้าเจริญสติเข้มข้นขึ้นจริงๆ เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆ แล้วมันจะสลัดคืน มันจะเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันคล้ายๆเรา หยิบของมาอันหนึ่ง เรานึกว่านี่ของวิเศษเลย วันหนึ่งมาหัดสังเกตมัน อ้าว.. มันไม่ใช่ของดีหรอกนี่ นะ อาจจะเป็นจิ้งจก ตุ๊กแก อะไรนี่ มันเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันจะสลัดทิ้ง

คำว่า ‘สลัดทิ้ง’ ภาษาบาลีเรียกว่า ‘ปฏินิสสัคคะ’ การสลัดคืน จะสลัด ใจเราจะหมดภาระทางใจนะ มันจะโล่งไปหมดเลย ความทุกข์มันจะเข้ามาไม่ถึงใจอีกแล้ว คือความอยาก การดิ้นรนทางใจทั้งหลายไปหมดเลย เป็นเพราะรู้ความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราจริงๆนะ แบกเอาไว้ก็เป็นทุกข์ล้วนๆ

ท่านจึงสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คนทั้งหลายนี้แบกภาระ แบกทุกข์นี้ไปเรื่อยๆ คนยังต้องแบกของหนัก ไม่พ้นจากความทุกข์ แต่พระอริยะเจ้าทั้งหลายเนี่ย วางภาระ วางของหนักลงแล้ว คือวางความยึดถือกายยึดถือใจลงแล้ว แล้วไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงอยู่ที่ตรงนี้

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งนะ ก็จะละสมุทัยไปโดยอัตโนมัติ ที่ท่านสอนอริยสัจจ์ บอกว่า ให้รู้ทุกข์ ให้ละสมุทัย ถ้าเรารู้ทุกขฺ์แจ่มแจ้งเลย เห็นกายเห็นใจนี้ เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ นะ มันปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความดิ้นรน ความทะยานอยากของใจ ที่จะอยากให้จิตใจเรามีความสุข จิตใจเราดี อย่างโน้นอย่างนี้นะ ความดิ้นรน ความทะยานอยาก พวกนี้ถูกทำลายไปหมด จิตใจมันจะมีอิสรภาพ ทุกวันนี้เราตกเป็นทาสของความอยาก ความอยากเป็นเจ้านายตัวจริง สั่งให้เราทำอะไรต่ออะไรทั้งวันเลย เพื่อจะให้มันมีความสุข เพื่อจะหาความสุข

เฝ้ารู้ลงมาเห็นจริง จิตใจนี้ทุกข์ ไม่ใช่ตัวดี ปล่อยวางได้ ความอยากที่จะให้จิตใจนี้ดี อยากให้จิตใจนี้สุข ก็หมดไป สมุทัยเป็นอันถูกละไป การดิ้นรนต่างๆก็หมดไป ภาระทางใจ การงานทางใจ ก็หมดไปเลย จิตใจเข้าถึงภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง พ้นจากภาระ ภาวะแห่งความพ้นความปรุงแต่งนั้นแหละเรียกว่านิโรธ นิโรธ หรือ นิพพาน

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยก็เป็นอันถูกละไป นิโรธก็แจ้งขึ้นตรงนั้นเลย เพราะฉะนั้นการรู้ทุกข์นี้แหละ คือการเจริญอริยมรรค นี่คืออริยสัจจ์ ๔ นะ อริยสัจจ์ ๔

รู้ทุกข์ รู้กาย รู้ใจ รู้จนเห็นความจริง กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวดี เป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความอยากจะให้กายนี้ ใจนี้ มีความสุขถาวร ก็หมดไป หมดการดิ้นรน หมดความอยาก สมุทัยถูกละ จิตใจเข้าถึงความสงบสุข พ้นจากการดิ้นรน แผดเผา ของความอยาก พ้นจากการยึดถือทุกข์ เรียกว่า ‘นิโรธ’ หรือ ‘นิพพาน’

นิพพานมีหลายนัยยะ อันหนึ่งก็คือ ‘วิสังขาร’ พ้นการปรุงแต่ง พ้นจากรูปนาม พ้นจากตัวทุกข์ อีกอันหนึ่งคือ ‘วิราคะ’ พ้นจากความอยาก ก็คือ พ้นจากตัณหา พ้นจากตัวสมุทัย

เพราะฉะนั้น การรู้ทุกข์ สำคัญที่สุด ถ้าพวกเราละเลย เราไม่เรียน เรื่องการรู้ทุกข์ หรือ การรู้กาย รู้ใจ จะห่างไกลจากศาสนาพุทธมากเลยนะ

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๑๕
File: 480821A
นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 2 of 41234