Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ถ้าไม่ทำในรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ กำลังจะไม่พอในการรู้สึกตัวระหว่างวัน

mp3 (for download) : ถ้าไม่ทำในรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ กำลังจะไม่พอในการเจริญสติระหว่างวัน 

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


 

สวดมนต์

สวดมนต์

 

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเรา มีเครื่องช่วยอันหนึ่ง ของนักปฏิบัตินะ คือการทำตามรูปแบบบ้าง ยกตัวอย่าง ถ้าเราปฏิบัติ ดูจิตดูใจเราทั้งวัน กำลังเราไม่พอ ใจจะเหมือนรู้ตัวอยู่ ความจริงไม่รู้แล้วนะ จะคล้ายๆรู้แต่ไม่รู้ บางทีก็ไปหลงเพ่งจิต 

เพราะฉะนั้นก่อนจะนอนนะ เราไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม อะไรอย่างนี้ เราทำทุกวัน สม่ำเสมอ ไม่ละเลย ก่อนนอน คล้ายๆ เราได้พักผ่อนจิตใจของเราก่อน แล้วก็พักผ่อนร่างกายทีหลัง ตื่นเช้าขึ้นมาจิตใจของเราแช่มชื่นเบิกบาน มีสติเกิดง่าย ตามรู้ตามดูได้บ่อยๆ แต่ถ้าเราดูลูกเดียว รู้ลูกเดียว ล่ะก็ ใจเราไม่เคยได้พักผ่อนเลย กำลังบางทีไม่พอ มันปฏิบัติแล้วมันไม่สดชื่น 

ในการปฎิบัตินะ อาศัยรูปแบบเหมือนกัน แต่ไม่ใช่การติดในรูปแบบหรอก ครูบาอาจารย์ แต่ก่อน สอนหลวงพ่อ ท่านเน้นเรื่องการรู้สึกตัวในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว ยกตัวอย่าง หลวงพ่อพุธสอนเลย ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด นะ ให้มีสติ รู้สึกตัวไป 

หลวงปู่ดูลย์ก็ให้ดูใจตัวเอง จิตชอบส่งออกนอก จิตส่งออกนอกคือจิตมันวิ่งไปทางตา วิ่งไปดูคนอื่นแล้วลืมตัวเอง จิตวิ่งไปทางหู วิ่งไปฟังเขาคุยกันแล้วก็ลืมตัวเอง รู้เรื่องที่เขาคุยแต่ลืมตัวเอง จิตวิ่งไปทางใจหนีไปคิด รู้เรื่องที่คิดบ้าง ไม่รู้บ้าง แล้วก็ลืมตัวเอง ท่านสอนบอกให้คอยรู้ทันเวลามันหลง 

แต่ว่าก่อนนอน หลวงพ่อไหว้พระ สวดมนต์ ทำมาตั้งแต่เด็กแล้ว ทำทุกวัน นั่งสมาธิ เดินจงกรม อะไรอย่างนี้ จิตใจเราได้แรง มีกำลัง ช่วงไหนละเลยไป เจริญสติในชีวิตประจำวันลูกเดียวเลย บางทีแห้งแล้งไป เหนื่อย แห้งแล้ง บางทีเห็นมันไหว ยิบยับ ยิบยับ นะ ไม่มีกำลังจะตัด ไม่มีกำลัง 


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ
หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘

  

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๑๕
File: 480821A
นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๘ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๐๗
 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เมื่อติดสมถะ

เมื่อติดสมถะ

ถ้าเห็นจิตกำลังเคลื่อนไปสู่สมถะ ก็ให้รู้ว่าจิตเคลื่อนไป (ไม่ต้องฝืนหรือห้ามจิตไว้)
ถ้าเห็นจิตมีความสงบตั้งมั่น (เป็นสมถะ) ก็ให้รู้ว่าสงบตั้งมั่น
แล้วพอจิตถอนออกจากสมถะ ก็ให้รู้ว่าจิตถอนออกมา
เพื่อจะได้เห็นว่า จิตที่เป็นสมถะสงบ ตั้งมั่น ก็ไม่เที่ยง
ซึ่งจะทำให้จิตไม่หลงไปติดสมถะ แล้วต่อไปการทำสมถะก็จะทำได้อย่างถูกต้อง
ช่วยให้จิตได้พักมีกำลังออกมาเจริญปัญญาต่อได้

ช่วงนี้ก็ลองหัด” รู้กายเคลื่อนไหวโดยมีใจเป็นคนดู” ให้บ่อยๆ
แล้วก็หัดดูจิตส่งไปหาภาพที่ตามองเห็น ส่งไปหาเสียงที่ได้ยิน
ส่งไปจมแช่อยู่ในความคิด หัดดูจิตที่ส่งไปให้บ่อยๆ ด้วยนะครับ :D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

mp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์: สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต วิธีฝึกมี ๒ วิธี วิธีหนึ่งทำฌานสำหรับคนที่ทำฌานได้ ทำฌานไปจนถึงฌานที่ ๒ ละวิตก ละวิจารณ์ได้ วิตกคือการตรึกถึงอารมณ์ วิจารณ์คือการตรอง เคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ มีความจงใจที่จะตรึกนะ แต่ตรงวิจารณ์มันเคล้าเคลียไม่ได้จงใจเคล้าแล้ว

แต่ตรงนี้ วิตกวิจารณ์นี้ ยังปนอยู่กับการคิดอยู่ ยังมีการหยิบยกอารมณ์ จงใจหยิบยกอารมณ์ขึ้นมา ใจไปจงใจเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์ ใจจะยังไม่ตื่น เพราะยังเพ่งเล็งอยู่ที่ตัวอารมณ์

พอพ้นจากฌานที่ ๑ ไปนะ ดับวิตกดับวิจารณ์ไป มีปีติ มีความสุข มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะมีสภาวธรรมตัวหนึ่ง เรียกว่า “เอโกทิภาวะ” ภาวะแห่งความตื่นเกิดขึ้น จิตจะเป็นผู้ตื่นขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้

เมื่อเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวความตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้ มันจะทรงอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ก็เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ แต่ว่าตอนที่ยังไม่เสื่อม ก็อาศัยมีใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา คอยรู้กายที่เคลื่อนไหวไป ดูกายไปเรื่อย อย่าไปดูจิตนะ ถ้าทำสมาธิออกมา แล้วก็จิตมันติดความนิ่งความเฉยนะ ต้องระวัง ถ้าไปดูจิตเดี๋ยวจะไปนิ่งใหญ่

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ชอบสอนว่า ออกจากสมาธิแล้วคอยรู้กาย แต่คนไหนถนัดดูจิต ออกจากสมาธิแล้วก็ดูจิตต่อไปได้เลย ก็ไม่มีข้อห้ามหรอก แต่ส่วนใหญ่แล้วควรจะมารู้กาย เห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นของถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเรา นี่ จิตมันแยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู เรียกว่ามีจิตผู้รู้

อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารมณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าจะให้เป็นสัมมาสมาธิ จิตต้องตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้อารมณ์ จิตอยู่ต่างหาก เห็นร่างกายอยู่ต่างหาก ร่างกายกับจิตมันแยกกัน เห็นเวทนากับจิตมันแยกกัน เห็นความปรุงแต่ง เช่นโลภ โกรธ หลง กับจิตเนี่ย มันแยกกัน

เห็นจิตเกิดดับไปทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ตาดับที่ตา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่ใจดับที่ใจ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็หลงไป มันเกิดดับให้ดู

แล้วถ้าใจเราคอยรู้นะ รู้ทันใจที่มันไหลไปไหลมาเนี่ย ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พอใจตั้งมั่นขึ้นเอง ที่หลวงพ่อชอบใช้คำว่า จิตมันถึงฐานแล้ว มันรู้ตัวเต็มที่แล้ว มันตื่นเต็มที่แล้ว ตรงนี้ ตรงนี้ จิตตรงนี้น่ะสำคัญ ถ้าจิตยังไหลตามอารมณ์ไปนะ ไม่สามารถทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงได้ แต่ถ้าจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะเห็นเลย ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีเลยนะ เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เห็นสังขาร โลภ โกรธ หลง อะไรพวกนี้ไม่ใช่เรา แล้วก็เห็นจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ นี้เป็นการเจริญปัญญา เพราะการเจริญปัญญาต้องเห็นไตรลักษณ์นะ ไม่ใช่เห็นอย่างอื่น


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๖
File: 511221.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

mp3 for download: วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าสอนให้รู้กาย พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ใจ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนกำหนดนะ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ “ทุกขัง อริยสัจจัง ปริญญาญัง” ทุกข์เป็นสิ่งควรรู้รอบ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรรู้รอบ รู้รอบ คือ รู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา

รู้ด้วยสติ คือ รู้ถึงตัวสภาวะของมัน รู้ด้วยปัญญาก็จะเห็นลักษณะของมัน รู้ด้วยสติก็คือ เห็นสภาวะ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น เห็นความโกรธโผล่ขึ้นมา รู้ด้วยปัญญาก็คือ เห็นว่าความโกรธนั้นไม่เที่ยง ความโกรธนั้นเป็นทุกข์ ความโกรธมิใช่ตัวเรา บังคับไม่ได้ ห้ามไม่ได้ รู้ด้วยปัญญาก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นแหละ ถ้ารู้ด้วยสติก็เห็นรูปนาม รู้ด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นต้องรู้ด้วยสติและปัญญา

รู้ด้วยสติอย่างเดียวไม่ได้ บางคนไปเดินจงกรมนะ เอาจิตไปจ่อไว้ที่เท้า เท้าเคลื่อนไหวอย่างไรรู้หมดเลย อันนั้นไม่มีปัญญา ถ้ารู้ด้วยปัญญาจะเห็นเลย ตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ตัวที่โกรธ ความโกรธนั้น ไม่ใช่ตัวเรา สภาวธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ว่าสภาวธรรมใดๆ จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเรา นี่อย่างนี้ถึงจะเรียกว่ามีปัญญา บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ถึงความบริสุทธิ์เป็นอย่างไร ถึงพระอรหันต์นั่นเอง

บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญานะ ปัญญาเกิดจากอะไร ปัญญาเกิดจากมีสติ รู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฎ แต่ปัญญามีสติรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญ ที่ให้เกิดปัญญา คือมีสัมมาสมาธิ

ในพระอภิธรรมถึงสอนว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิมิใช่มิจฉาสมาธิ สมาธิที่พวกเราฝึกอยู่เกือบทั้งหมดคือมิจฉาสมาธิ สมาธิเพ่ง สมาธิจ้อง สมาธิบังคับ สมาธิกำหนด สมาธิเครียดๆแข็งๆ สมาธิเคลิ้มๆ สมาธิลืมเนื้อลืมตัว สิ่งเหล่านี้เป็นมิจฉาสมาธิทั้งสิ้น

หรือสมาธิเข้าไปนอนแช่ รู้ลมหายใจก็ไปนอนอยู่กับลม แช่จิตลงไปแช่กับลม รู้ท้องพองยุบจิตไปแช่อยู่ที่ท้อง รู้เท้า ยกเท้า ย่างเท้า จิตไปแช่อยู่ที่เท้า ขยับมือ จิตไปไหลไปอยู่ในมือ อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าสัมมาสมาธิ ใจจะตั้งมั่น สักว่ารู้ สักว่าเห็นอยู่ ใจมันตั้งมั่นเป็นแค่คนดู สติระลึกไป แต่ใจเป็นคนรู้เฉยๆ ใจไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อ สติระลึกรู้ ใจไม่ปรุงแต่งต่อนะ ใจเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่อย่างนั้นเอง

พอใจมันไม่ปรุงแต่งต่อ มันจะเห็นความจริง ของสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งรูปธรรมนามธรรมที่เกิดขึ้น สภาวะทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวเราในสภาวะเหล่านั้น ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ อย่างนี้นะ เห็นไป วันหนึ่งก็จะแจ้งขึ้นมา


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
Track: ๑๑
File: 510202.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: จังหวะแห่งธรรม โดย คุณสันตินันท์

การขยับมือ แนวหลวงพ่อเทียน

การขยับมือ แนวหลวงพ่อเทียน

ที่จริงท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงพระป่าสายหลวงปู่มั่น
ยังมีท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในสายอื่นๆ อยู่อีก
เท่าที่ผมทราบแนวทางปฏิบัติของท่านก็เช่น
ท่าน ก.เขาสวนหลวง และหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ แห่งวัดสนามใน เป็นต้น

ผมเคยนำคำสอนของท่าน ก.เขาสวนหลวง มาแนะนำไว้ที่ลานธรรมแล้ว
คราวนี้จะขอนำวิธีปฏิบัติของหลวงพ่อเทียน มาเล่าสู่กันฟังบ้าง…

คุณสันตินันท์ เขียนไว้เมื่อ วันพุธที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ๑๔:๓๖:๔๒

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาแล้วเสื่อม

mp 3 (for download) : getting worse_500720B

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

 

ภาวนาแล้วเสื่อม

ภาวนาแล้วเสื่อม

โยม: รู้สึกว่า มันเคยรู้สึกตัวได้มากกว่านี้ 

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าอยากสิริน ถ้าเวลามันเสื่อมโดยธรรมชาติของการปฎิบัติเนี่ย เมื่อเจริญแล้วก็ต้องเสื่อม บางยุค บางสมัย บางวัน มันเสื่อม อย่าตกใจ ถ้าเสื่อมแล้วเราตกใจ เราจะยิ่งดิ้น ยิ่งเราดิ้นมันจะยิ่งเสื่อม 

เพราะฉะนั้นให้เรายอมรับสภาพที่จิตใจเรากำลังเป็นอยู่ อ้อ..มันหมองๆมัวๆ ไม่ค่อยจะรู้เนื้อรู้ตัว รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ อยากให้มันดีกว่านี้ รู้ว่าอยาก เอามันมาดูเลย แล้วรู้มันด้วยความเป็นกลาง รู้ความเสื่อมด้วยความเป็นกลางนะ ใจจะดีดผางขึ้นมาเลย ดีขึ้นฉับพลันเลย แต่ไม่ได้ฝึกเอาดีนะ ฝึกให้เห็นว่า ดีได้ก็เสื่อมได้ เสื่อมได้ก็ดีได้ ฝึกแค่ให้เห็นตรงนี้ ไม่ใช่ฝึกเอาดีตลอด ฝึกดีตลอด ดีตลอดไม่มีในสังสารวัฏฏ์นี้ มีก็ดีชั่วคราว สุขตลอดไม่มีในสังสารวัฏฏ์ มีแต่สุขชั่วคราว ครอบครองไว้ได้ ก็ได้ชั่วคราว ถึงวันหนึ่งก็หลุดไปหมดอีก 

โยม: คือ ฟังจากหลวงพ่อ หลวงพ่อก็พูดใช่มั้ยคะว่า มันจะมีเสื่อม มีดี แต่ใจมันก็เหมือนไม่ยอมรับน่ะค่ะ ว่ามันเสื่อมกับเรา 

หลวงพ่อ: อือ.. ใจมันไม่ยอมรับ นั่นแหละ พอใจมันไม่ยอมรับธรรมะนะ ใจก็ต้องมีความทุกข์นะ ยุติธรรมมั้ย ใจปฎิเสธธรรมะ ใจก็มีความทุกข์ ใจอ่อนน้อมยอมรับธรรมะนะ ยอมรับความจริง เจริญได้ก็เสื่อมได้ เกิดได้ก็แก่ได้ เจ็บได้ ตายได้ อะไรอย่างนี้ พอ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ขึ้นมา ก็ไม่สะทกสะท้าน ใจมันยอมรับ 

หรือทางจิตใจเนี่ย เจริญได้ก็เสื่อมได้ เพราะฉะนั้นตอนเสื่อมเนี่ยไม่กลุ้มใจ รู้ว่าเสื่อม เห็นความเป็นกลางของใจที่รู้ความเสื่อม พอใจเราเป็นกลางปั๊บ มันจะเจริญในฉับพลันนั้นเลย มันเจริญเพราะใจเราเป็นกลางนั้นแหละ ไม่ใช่เจริญเพราะไปทำให้มันดี ตรงนี้ get มั้ย ตรงนี้ เจริญเพราะใจเราเป็นกลางนะ 


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ หลังฉันเช้า
CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๒๑
ไฟล์ 500720B
ระหว่างนาที่ ๒๓ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: เรื่องของอาสวกิเลส โดย คุณสันตินันท์

อาสวกิเลส

อาสวกิเลส

ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่งว่า
พวกเรามักกล่าวถึง กิเลส และนิวรณ์กันบ่อยครั้ง
แต่ไม่ค่อยได้กล่าวถึง อาสวกิเลส กันมากนัก
แทบไม่เคยเห็นกล่าวถึงกันทีเดียว

แท้ที่จริง อาสวกิเลส เป็นเรื่องสำคัญมาก…

คุณสันตินันท์ เขียนไว้เมื่อ วันพุธที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๓ ๑๑:๒๑:๕๗

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราฝึกเพื่อให้เห็นความจริงว่าจิตใจบังคับไม่ได้ ไม่ถาวร

mp3 (for download) : เราฝึกเพื่อให้เห็นความจริงว่าจิตใจบังคับไม่ได้ ไม่ถาวร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตใจบังคับไม่ได้ถาวร

จิตใจบังคับไม่ได้ถาวร

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักของการปฏิบัตินี่ไม่ได้ฝึกเพื่อบังคับใจให้มันดีให้มันสุขถาวร คำว่าถาวรไม่มี คำว่าบังคับได้ไม่มี ‘ถาวร’ นี่ฝืนกับคำว่า ‘อนิจจัง’  ‘บังคับได้’ ฝืนกับคำว่า ‘อนัตตา’ เพราะฉะนั้นไม่ได้ฝึกให้จิตดีถาวรให้สุขถาวร แต่ฝึกเพื่อให้เห็นความจริงว่ามันไม่ถาวรหรอก บังคับมันไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเรา ฝึกเพื่อให้เห็นตรงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ
หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนาย พ.ศ.๒๕๔๘ ก่อนฉันเช้า

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๓
File: 480618A
นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๗ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Download Now! CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖

Download Now

Download Now

ดาวน์โหลดพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

    uploaded:๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK
  • แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK

*หมายเหตุ THAI-1 กับ THAI-2 เป็น Server คนละเครื่อง แต่ไฟล์สำหรับ Download นั้นเหมือนกันทุกประการครับ

ท่านสามารถ Download ไฟล์อื่นๆได้ที่หน้า Download ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ร่ำเรียนมาได้ความว่า…

ร่ำเรียนมาได้ความว่า …


(๑) แม้จะโง่เพราะเรียบเรียงธรรมะแจกแจงธรรมะอะไรไม่ได้
หรือได้นิดหน่อยไม่มากมาย ไม่ใช่คนที่แตกฉานในธรรมะ
แต่ถ้าฝึกที่จะเรียนรู้ดูขันธ์ อย่างมีสติ มีความตั้งมั่น เป็นกลางอยู่เนืองๆ
วันหนึ่งก็จะเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ได้จริงๆ ^_^


(๒) เมื่อ”รู้”ได้ว่าเผลอลืมตัวไป จิตก็จะมีสติรู้สึกตัว
จิตที่มีสติรู้สึกตัว จะมีความตั้งมั่นได้ชั่วขณะหนึ่ง
แต่ก็เพียงพอที่จะใช้ในการเรียนรู้ดูขันธ์ได้เป็นอย่างดี
และในชั่วขณะนั้นถ้าจิตมารู้กาย
ก็จะรู้สึกได้ว่ากายเป็นส่วนหนึ่งจิตที่รู้กายเป็นอีกส่วนหนึ่ง
หรือที่เรียกกันว่า แยกรูปแยกนาม นั่นเอง ^_^


(๓) ความตอนที่ ๒ กระโดดข้ามไปไกลเลย
ถอยกลับมาตรงนี้ก่อนว่า…

ก่อนจะลงมือหัดปฏิบัติธรรม
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า
จิตแบบไหนเอามาใช้เจริญสมถะ
จิตแบบไหนเอามาใช้เจริญวิปัสสนา
ไม่เช่นนั้นการปฏิบัติธรรมจะพลาดไปจากสมถะ
กลายเป็นฝืนใจข่มจิตจนเครียด
พลาดไปจากวิปัสสนา แทนที่จะเห็นลักษณะที่เป็นจริง
ก็กลายเป็นเห็นผิดไปจากที่เป็นจริง
แต่ถ้ายังไม่เข้าใจว่าจิตแบบไหนใช้เจริญอะไรได้
ก็ให้มา”ตั้งต้นทำความเข้าใจ จิตที่มีสติ รู้สึกตัว กันก่อน”
แล้วหนทางข้างหน้าจะสดใสไม่พลาดหลงไปง่ายๆ


(๔) จิตที่มีสติ รู้สึกตัว เป็นอย่างไร?
ก็เป็นจิตที่รู้สึกได้ว่ามีกาย มีใจตัวเองกำลังเป็นอย่างไร
เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว ก็อยู่ก็รู้สึกได้ว่า
มีร่างกายกำลังยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว
โดยมีจิตเป็นผู้ที่ทำหน้าที่รู้ไปสบายๆ ไม่เคร่งเครียด
หากอะไรปรากฏขึ้นที่จิตที่ใจ
เช่น มีกิเลสตัณหาเกิดขึ้น ก็รู้สึกตัวอยู่
ไม่หลงลืมตัวไปทำอะไรตามแรงขับของกิเลสตัณหานั้น
จิตที่มีสติ รู้สึกตัวอยู่ จึงเป็นจิตที่มีทั้งศีลและมีสมาธิตั้งมั่นอยู่นั่นเอง ^_^


(๕) จะฝึกให้จิตมีสติ รู้สึกตัวได้อย่างไร?
ก็ฝึกได้ด้วยการหมั่นสังเกต หมั่นรู้สึกอยู่กับตัวเอง
ให้รู้สึกได้ว่ามีตัวเองกำลังทำนั่นทำนี่อยู่ในโลกใบนี้
ร่างกายเป็นอย่างไรก็ให้รู้สึก จิตใจเป็นอย่างไรก็ให้รู้สึก
หากจิตใจเกิดมีกิเลสตัณหา ก็ให้สำรวมกายวาจา
ให้รักษาศีลเอาไว้ให้ดี แล้วก็หัดรู้หัดดูจิตไปแบบ แค่รู้แค่ดู
โดยไม่ต้องแทรกแซงการทำงานของจิตใจ
แต่ถ้ากิเลสตัณหารุนแรงเกินไปจนอาจทำผิดศีลได้
ก็ให้หลบไปทำใจให้สบายให้สงบก่อน
แล้วค่อยกลับมาเริ่มหัดรู้สึกร่างกาย หัดรู้สึกจิตใจ ต่อไปใหม่

อ้อ…แล้วก็ทุกวันต้องหาเวลามาฝึกกันเป็นการเฉพาะ
เช่นฝึกด้วยการสวดมนต์ เดินจงกรม หรือใช้รูปแบบอื่นๆ บ้าง
จะฝึกได้วันละกี่สิบนาทีก็ให้ฝึกไปเท่าที่สามารถฝึกได้สบายๆ
อย่าตั้งกำหนดเวลาไว้นานเกินกว่าจะทำได้อย่างสบายๆ ทุกวัน
เพราะถ้าทำไม่ได้ตามที่กำหนดเวลาไว้นานเกินไป
จะเป็นการบั่นทอนกำลังใจไปซะเปล่า ๆ


(๖) ไม่มีใครที่เพิ่งฝึกแล้วจะมีสติ รู้สึกตัวได้ตลอดเวลา
ใหม่ๆ ก็จะเผลอเพลินลืมตัวไปนานเลย
กว่าจะนึกได้ว่าต้องรู้สึกตัว ก็ผ่านไปเกือบวันหนึ่ง
จึงต้องตั้งเจตจำนงที่จะนึกให้ได้ว่าต้องมีสติ รู้สึกตัวเอาไว้
แล้วก็หัดสังเกตอะไรเป็นหลักเอาไว้สักอย่างสองอย่างก่อน
เช่น หัดสังเกตดูร่างกายตัวเองกำลังเคลื่อนไหวบ่อยๆ
กับหัดสังเกตอารมณ์ทางใจที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
หรือจะหัดรู้เอาเลยว่า เมื่อกี้เผลอลืมตัวไป ก็ได้


(๗) การฝึกสติ รู้สึกตัว ให้ฝึกไปสบายๆ
อย่าเคร่งเครียดอย่าฝืนที่จะไม่ให้เผลอลืมตัว
เพราะตอนนี้ยังไงก็ต้องเผลอลืมตัว
ดังนั้นเผลอลืมตัวจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ
ที่ต้องหัดเพิ่มเมื่อเกิดการเผลอลืมตัวไปแล้ว
ก็คือ ให้หัด”รู้”ว่าเมื่อกี้เผลอลืมตัวไป
หัดรู้ให้ได้บ่อยๆ แล้วจิตจะมีสติมีกำลังตั้งมั่นมากขึ้น
เมื่อจิตมีสติมีกำลังตั้งมั่นมากพอ
ก็จะเจริญปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามต่อไปได้


(๘) เมื่อจิตที่มีสติรู้สึกตัว รู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
ได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องฝืนบังคับไว้
จิตแบบนี้แหละที่กำลังเจริญสมถะอยู่
ผลของสมถะเบื้องต้นจะทำให้จิตมีความสงบ
เมื่อฝึกบ่อยๆ คนที่เก่งทางสมถะ
จิตก็จะสงบปราณีตได้มากขึ้นจนถึงสภาวะที่เรียกว่า ฌาน
แต่ถ้าใครฝึกแล้วไม่ถึง ฌาน ก็ไม่เป็นไรหรอกนะ
เพราะแค่จิตมีความสงบได้บ้างตามสมควร
ก็เพียงพอที่จะช่วยให้การเจริญวิปัสสนาดำเนินต่อไปได้แล้ว


(๙) ในส่วนของการเจริญวิปัสสนานั้น
จิตจะต้องมีสติ มีความตั้งมั่นและเป็นกลาง
(ไม่เอียงไปทางชอบ-ชัง)
เห็นร่างกายเป็นอีกส่วนหนึ่งถูกรู้ถูกดูอยู่
แล้วถ้ามารู้สึกต่อสภาวะทางใจ ก็จะรู้สึกว่า
จิตในขณะปัจจุบันกับจิตในขณะที่เพิ่งผ่านมาสดๆร้อนๆ
มีความแตกต่างกัน จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ของจิต
จะรู้สึกถึงการดับไปแบบสดๆร้อนๆของจิตที่เป็นอกุศล
จะรู้สึกว่าจิตจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มากระทบ
จะห้ามไม่ให้จิตเป็นอย่างที่ไม่ต้องการก็ห้ามไม่ได้
จะสั่งให้จิตเป็นไปตามต้องการก็สั่งไม่ได้
การเห็นสภาวะของจิตแบบนี้แหละ ที่เป็นการเห็นได้ว่า
จิตเป็นอนิจจัง (ไม่เที่ยง) เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน)
เมื่อจิตดวงหนึ่งดับไปแล้วก็เกิดจิตอีกดวงหนึ่งขึ้นมา
(ที่ว่าจิตเป็นดวงๆ หมายถึง จิตจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามสิ่งปรุงแต่งจิตนั่นเอง)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: สนทนาธรรมผ่านกระทู้ ระหว่าง คุณสันตินันท์ กับ อ.สุรวัฒน์

จิตตั้งมั่น

จิตตั้งมั่น

การที่เบื้องต้นต้องหัดรู้ตัว ก็เพื่อให้เรามีเครื่องมือคือสติสัมปชัญญะ
เพราะชาวพุทธเรามักปฏิบัติธรรมกันโดยไม่มีความรู้ตัว มีแต่เผลอกับเพ่งเอา
และเมื่อมีเครื่องมือแล้ว ก็ต้องเจริญสติปัฏฐานด้วยเครื่องมือนั้น
การจะเจริญสติปัฏฐาน ก็คือการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ
ด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลางจากความยินดียินร้าย…

คุณสันตินันท์ เขียนไว้เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๓ ๑๖:๒๐:๑๐

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มภาวนาที่ชอบฟุ้งซ่านหรือคิดมาก

คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มภาวนาที่ชอบฟุ้งซ่านหรือคิดมาก

ก่อนอื่นต้องหัดรู้สึกตัวก่อนครับ
วิธีหัดง่ายๆ ก็คือ ไม่ต้องพยายามฝืนจิตเพื่อไม่ให้คิดมากไม่ให้ฟุ้งซ่าน
แต่ให้มาหัดรู้สึกว่า เมื่อกี้เผลอไปคิด
โดยสังเกตจากความรู้สึกว่ามีร่างกายอยู่ หรือว่าลืมร่างกายตัวเองไป
เพราะถ้าเผลอไปคิด จิตจะทิ้งร่างกายแล้วไปอยู่ในโลกของความคิด
แต่ถ้าเกิดรู้ว่า เมื่อกี้เผลอไปคิด แวบตรงที่รู้ว่าเผลอไป จะรู้สึกว่าเมื่อกี้ลืมกาย(ลืมตัว)
พอรู้ว่าเผลอไปแล้วก็จะสามารถรู้สึกตัวได้อยู่

ให้หัดไปสบายๆ นะครับ ใหม่ๆ อาจรู้ได้วันละไม่กี่ครั้ง
แต่ให้หัดทุกวันแล้วจะรู้สึกตัวได้บ่อยขึ้น
แล้วก็ใช้หลักการเดียวกันในการสวดมนต์ เดินจงกรม ทุกวันด้วยนะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ต้องละความเป็นตัวตน แต่ให้ละความเห็นผิดว่ามีตัวตน

 mp 3 (for download) : ไม่ต้องละความเป็นตัวตน แต่ให้ละความเห็นผิดว่ามีตัวตน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราหัดรู้สภาวะไปเรื่อยนะ ถึงจุดหนึ่งจิตจะตื่นขึ้นมา จิตจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้ เมื่อจิตตื่นขึ้นมาแล้วอะไรจะเกิดขึ้น เราจะพบความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอกนะ กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ทุกสิ่งทุกอย่างนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้าเท่านั้น ก็ในความเป็นจริงตัวเราไม่มี

ตัวเราไม่มีมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่เรารู้สึกว่านี่คือตัวเรา ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรานี้เกิดจากการคิดเอาทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นไม่ต้องละความเป็นตัวตนนะ เพราะไม่มีความเป็นตัวตนจะให้ละ

เราละ’ความเห็นผิด’ว่ามีตัวตน ความเห็นผิดว่ามีตัวตนเกิดจาก’การคิด’นั่นแหละ เพราะฉะนั้นเมื่อไร จิตไหลไปคิด นะ เรารู้สึกตัวขึ้นมา เรารู้ทัน จิตหลุดออกมาจากความคิด ในขณะนั้นตัวตนจะไม่มี นี่ฝึกไปเรื่อยนะ จนเห็นว่าตัวตนไม่มี


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๖
File: 511221.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Download Now! หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เมื่ีอวันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓

Download Now

Download Now

ดาวน์โหลดพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

    uploaded:๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

  • แสดงธรรมที่วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐
    Click here THAI-1 THAI-2 USA UK

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใครก็สอนธรรมะเราไม่ได้ นอกจากกายกับใจของเราเอง

mp3 (for download) : ใครก็สอนธรรมะเราไม่ได้ นอกจากกายใจของเราเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในการปฎิบัติไม่มีอะไรเลย รู้สึกตัวไว้ อย่าใจลอยไป อย่าเอาแต่คิด อย่าใจลอยไป รู้สึกไว้ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้ใจอย่างที่เขาเป็น กายกับใจเท่านั้นแหละ ถึงจะเป็นครูสอนธรรมะเราได้ คนอื่นวิเศษแค่ไหน สอนธรรมะเราไม่ได้นะ จำไว้นะ หลวงพ่อก็สอนพวกเราไม่ได้นะ ธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว คนไหนทำคนนั้นเห็น

เพราะฉะนั้นธรรมะสอนกันไม่ได้ แบ่งกันไม่ได้ เป็นของเฉพาะตัว สิ่งที่ช่วยกันได้ก็คือบอกวิธีทำเท่านั้น บอกวิธีปฏิบัติเท่านั้น พระพุทธเจ้าท่านก็บอก ว่าท่านเป็นผู้บอกทาง ท่านบอกทางให้ บอกวิธีให้ บอกแล้วต้องเดินเอง ต้องทำเอง ทางที่ท่านบอก คือทางของการเจริญสตินั่นเอง สติปัฏฐาน

มีสตินะ รู้สึกตัวไว้ อย่าใจลอยไป รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้ใจอย่างที่เขาเป็น จนวันหนึ่งเห็นความเป็นจริงของกายของใจ เขาไม่ใช่ตัวเราหรอก เขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาไม่ใช่ตัวเรา ธรรมะอยู่ตรงนี้


CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๓
File: 480618A
นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สิ่งที่ทำให้หลวงพ่อปลาบปลื้ม

mp3 (for download) : สิ่งที่ทำให้หลวงพ่อปลาบปลื้ม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สิ่งที่ทำให้หลวงพ่อปลาบปลื้ัม

สิ่งที่ทำให้หลวงพ่อปลาบปลื้ัม

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทุกวันนี้สิ่งที่หลวงพ่อปลาบปลื้มมีอันเดียว มีลูกศิษย์ที่ปฏิบัติบูชา มีลูกศิษย์ที่ขยันภาวนา นอกนั้นไม่ได้ทำให้เราปลื้มสักอย่างเลย เฉยๆ เพราะฉะนั้น ขยันนะ ขยันภาวนาเข้า

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๒๓
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๑
File: 25510412
นาทีที่ ๓๐.๒๘ ถึงนาทีที่ ๓๐.๔๕



เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: อุบายสลายกาม โดย คุณสันตินันท์

อุบายสลายกาม

อุบายสลายกาม

กามนั้นจำแนกเป็นสองส่วนคือ วัตถุกาม กับกิเลสกาม
วัตถุกามได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่
และแม้จะไม่เจอของจริง หรือวัตถุจริงๆ
แต่บางทีจิตก็เข้าไปตั้งยึดอยู่ในกามสัญญา
เช่นมโนภาพเกี่ยวกับสาวงาม เป็นต้น
ส่วนกิเลสกาม หรือกามราคะ เป็นความกำเริบของจิต
ที่เข้าไปรักใคร่ ผูกพันกับวัตถุกาม…

คุณสันตินันท์ เขียนไว้เมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ๑๑:๓๕:๕๖

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เรื่องของอัตตา

เรื่องของอัตตา

อัตตา หรือตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ทรงอยู่โดยไม่ต้องอิงอาศัยเหตุอื่นปัจจัยอื่นนั้น
ไม่เคยมีอยู่มาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ
มีแต่จิตเองที่ไปหมายรู้ผิดๆ เกิดความเห็นผิด (สักกายทิฏฐิ) ว่า
กายเป็นอัตตา จิตเป็นอัตตา (ขันธ์ ๕ เป็นอัตตา)
ทั้งที่จริงแล้ว รูปนาม ขันธ์ ๕ ก็ล้วนแต่เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยเท่าน้น
การมาหัดศึกษาปฏิบัติธรรม เบื้องต้นก็เพื่อจะละความเห็นผิดหรือละสักกายทิฏฐินี่เอง
แต่พอศึกษาปฏิบัติได้ช่วงหนึ่ง จิตเองก็เริ่มจะเห็นความจริงได้บ้าง
แต่ด้วยเพราะปัญญายังไม่ถึงพร้อม ก็เลยเกิดกลัวว่าถ้าตัวตนไม่มีแล้วจะอยู่อย่างไร
ซึ่งวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดความกลัวนี้ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า
ให้ย้อนมาดูจิตที่กลัวไปนั่นเอง เมื่อเจริญสติปัญญาจนถึงพร้อม
ก็จะละความเห็นผิดว่ามีตัวตนลงได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระทู้เก่ามาเล่าใหม่: สัมมาสมาธิ โดย คุณสันตินันท์

สัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิ

ส่วนสัมมาสมาธิจะอยู่โดดๆ ไม่ได้
เพราะองค์มรรคทั้งหลาย ย่อมต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะขาดสัมมาทิฏฐิ(ปัญญา)และสัมมาสติไม่ได้เลย

การทำสัมมาสมาธิ จึงต้องทำไปเพื่อความรู้ตัว
ไม่ใช่เพื่อความสงบ หรือเพื่อคุณสมบัติพิเศษต่างๆ…

คุณสันตินันท์ เขียนตอบไว้ในกระทู้ สัมมาสมาธิ เมื่อ วันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ๐๙:๔๖:๕๕

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ CoffeeBreak

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จุดประสงค์ของการตรวจการบ้าน

mp3 for download: จุดประสงค์ของการตรวจการบ้าน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การบ้าน

การบ้าน

หลวงพ่อปราโมทย์: เอ้า ต่อไป ตรวจการบ้าน เวลาตรวจการบ้านเนี่ยนะ เป็นการทดสอบเรา ว่าเราเข้าใจหลักของการปฎิบัติแม่นหรือเปล่า หรือคลาดเคลื่อน สิ่งที่คลาดเคลื่อนนะ ถ้าไม่เผลอไปก็เพ่งเอาไว้ ส่วนใหญ่ก็มีแค่นั้น ไม่ก็ไปเกยตื้น ไปติดอยู่ในภาวะอันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นผลจากการเพ่ง เช่นไปติดในความว่าง เพราะฉะนั้นมันเป็นแค่การทดสอบว่าเรายังเดินอยู่ในทางสายกลางมั้ย สุดโต่งไปข้างบังคับตัวเอง หรือสุดโต่งไปในข้างหลงตามกิเลสมั้ย นี้อันหนึ่ง

อีกอันหนึ่งก็คือ สภาวะที่เรารู้เราเห็นเนี่ย ถูกต้องมั้ย เพราะฉะนั้นอย่ามาถามหลวงพ่อนะว่า จิตหนูเป็นยังไง ถ้าถามว่าจิตหนูเป็นยังไง ตัวเองไม่ได้บอกเลยว่า ตัวเห็นสภาวะยังไง ไม่มีประโยชน์อะไรเลย คำถามชนิดนี้เหลวไหลที่สุดเลย คำถามที่ไม่มีความรับผิดชอบนะ อย่าถามนะ “หนูเป็นยังไง” อะไรอย่างนี้ เฉิ่มมากเลย ส่วนมากผู้หญิง เพราะเห็นมั้ยว่าใช้คำว่าหนู บางคนงั่กเลยนะยัง “หนู” เลย หนูอย่างนั้น หนูอย่างนี้ อ้าว เดือดร้อน เดือดเนื้อร้อนใจ

ถ้าเรารู้ เราเห็น สภาวะอะไร บอกมา สภาวะที่เห็นอยู่นี้ ตอนนี้เป็นอย่างนี้ๆ นะ ถูกต้องหรือไม่ อย่างนี้เป็นการทดสอบว่าเราน่ะเห็นสภาวะมั้ย นี่อันหนึ่งนะ อีกอันหนึ่ง พอรู้สภาวะแล้ว รู้ถูกต้องมั้ย เผลอไปมั้ย เพ่งไปมั้ย ก็เดินอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้นคำถาม ควรเป็นคำถามที่เกิดประโยชน์ คำถามที่ไม่มีประโยชน์ไม่ต้องถาม

คำถามที่ไม่มีประโยชน์อีกอันหนึ่งนะ หนูมีจริตอย่างไร หรือผมมีจริตอย่างไร อันนี้เริ่มมีผู้ชายถามบ้าง จริตยังไง สอนหลักให้แล้วนะ เป็นพวกโลภมาก รักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ก็ให้ดูกายไป เพราะกายจะสอนว่า ไม่สุข ไม่สบาย ไม่สวย ไม่งาม

พวกคิดมาก วันหนึ่งก็คิดทั้งวันเลย วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ วิพากษ์ จนสุดท้ายวิกลจริต สารพัดวิ วิ วิ วิ พวกนี้ให้ดูจิต พวกดูจิตนี้เป็นพวกช่างคิด ถึงได้เกิดเรื่องมากมาย ใช่มั้ย พวกที่ทำสมาธิไม่ค่อยมีเรื่องหรอก วันหนึ่งๆไปยุ่งกับใครเขาล่ะ อยู่อย่างนี้ ไม่มีเรื่อง ไม่เดือดร้อนครูบาอาจารย์ ก็นั่งอยู่อย่างนั้น ส่วนพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมากเนี่ย มาเรียนที่นี่ มาเรียนที่นี่เยอะมาก พวกนี้แหละเจ้าความคิดเจ้าความเห็น เที่ยวไปวุ่นวายที่อื่น ไม่ดูตัวเอง นี่แหละจุดอ่อนของพวกที่ปัญญามาก พวกปัญญามากนะ ฟุ้งซ่าน จำไว้นะ ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นเราจะต้องพยายามควบคุมตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ฟุ้งไปเรื่อยๆ อยากคุยก็คุยไปเรื่อยๆ พยายามทำความสงบเข้ามาบ้าง แต่ไม่ใช่สงบจนกระทั่งซึมกระทือ สงบพอมีเรี่ยวมีแรง มาเดินปัญญาต่อ มารู้กาย มารู้ใจ มาแยกธาตุแยกขันธ์ไปเรื่อย อย่างนั้นถึงจะเรียกว่า”เดินปัญญา”

ส่วนพวกศรัทธามากก็จะงมงาย พวกสมาธิมากก็ช้านะ ซึมๆอยู่อย่างนั้น ติดในความสุขความสบายไป พวกความเพียรมากก็เคร่งเครียด พวกปัญญามากก็ฟุ้งซ่านนะ เนี่ย มันมีจุดอ่อนทั้งนั้นแหละ แต่ละคน เพราะฉะนั้นมีสติบ่อยๆนะ รู้ไป

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510427B.mp3
ลำดับที่ ๔
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 41234