Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร


mp3 for download: จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร

จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร

หลวงพ่อปราโมทย์: ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ลองสังเกตง่ายๆ อย่างความรับรู้ทางตา เอ้า..ทุกคนช่วยกันมอง มองพัด มองมาแล้วรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆที่ตา มีมั้ย ความรู้สึกที่ตาเป็นความรู้สึกแบบไหน ไม่มีเลย.. น่าสงสาร ความรับรู้ทางตาเนี่ยนะ มีเวทนาเหมือนกัน แต่เป็นเวทนาเฉยๆ ความรับรู้ทางหูล่ะ จิตที่รู้เสียงน่ะ มีสุข มีทุกข์ หรือเฉยๆ ก็คือเฉยๆนะ ก็ค่อยๆสังเกตเอานะ อย่านึกเอา ค่อยๆไปดูเอา

จิตที่ได้กลิ่นน่ะ มีสุขหรือมีทุกข์ หรือเฉยๆ สมมุติว่าเดินๆไป อยู่ๆได้กลิ่น ขณะแรกที่ได้กลิ่นใช่มั้ย จิตเฉยๆใช่มั้ย ต่อมาจิตจำได้ สัญญามันทำงานแล้ว อู๊ว์นี่กลิ่นหมาเน่า ความนี้ใจไม่เฉยๆแล้วใช่มั้ย ใจเป็นทุกข์แล้ว ใช่มั้ย จมูกได้กลิ่นจมูกไม่ทุกข์นะ หรือจิตที่ไปรู้กลิ่น จิตตัวนั้นไม่ทุกข์ แต่พอจิตคิดนะ มันเกิดทุกข์ทางใจ มันเป็นจิตอีกดวงหนึ่งนะที่ทุกข์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นการรับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นเนี่ย จิตเหล่านี้เป็นอุเบกขาทั้งหมดเลย ไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์หรอก เฉยๆ แล้วมันค่อยมาสุขมาทุกข์ตอนให้ค่าที่ใจ

จิตที่รู้สัมผัสทางกาย มีสุขมีทุกข์มั้ย.. มี ไม่เหมือนกับทางตานะ ตามองเห็นรูป เป็นอุเบกขา แต่การกระทบทางกายมีสุขมีทุกข์ได้ จิตที่รับรู้อารมณ์สดๆร้อนๆเนี่ย จิตตัวนี้รู้ไม่ทุกข์ รู้นะ

เนี่ยจิตก็ทำหน้าที่ของจิตนะ คือทำหน้าที่รู้อารมณ์ไป บางทีรู้อารมณ์อย่างนี้ รู้ทางทวารนี้มันเฉยๆ รู้ทางทวารนี้มันสุขมันทุกข์ได้ รู้ทางทวารนี้มันสุขมันทุกข์มันเฉยๆได้ นี่ มีหลายแบบแน่ะ รู้ทางใจ มีสุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ เฉยๆก็ได้ ใช่มั้ย

เพราะฉะนั้นจิตก็ทำหน้าที่ของจิตนะ ทำหน้าที่รู้ไป บางทีก็ประกอบด้วยความสุข บางทีก็ประกอบด้วยความทุกข์ บางทีก็ประกอบด้วยความเฉยๆ

จิตที่ประกอบด้วยความสุข ก็เป็นจิตคนละดวงกับจิตที่ประกอบด้วยความทุกข์ ไม่เกิดร่วมกัน จิตที่มีความทุกข์กับจิตเฉยๆ ก็คนละแบบคนละดวงกัน จิตเองก็เกิดดับไปเรื่อยๆนะ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ จิตบางดวงสุข บางดวงทุกข์ บางดวงเฉยๆ จิตบางดวงก็เป็นกุศล จิตบางดวงก็เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นตัวจิตเองแปรปรวนตลอดนะ จิตนี้มีเยอะแยะมากเลย

ในทางตำรานะ จำแนกจิตเอาไว้ตั้ง ๘๙ ดวง แต่ของเราไม่มี ๘๙ ดวงนะ ของเรามีไม่มากเท่าไหร่ เราตัดโลกุตระจิตออกไป ไม่มีนะ มี ๘๑ ดวง ทั้ง ๘๑ ดวงเนี่ย ของคนทำฌานได้อีกส่วนหนึ่ง คนทำฌานไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจิตที่เรามีจริง มีไม่ถึง ๘๑ หรอกนะ เราดูจิตที่เรามีจริงๆนะ ไม่ต้องไปดูจิตที่ไม่มีนะ

จิตโลภเรามีมั้ย จิตโกรธมีมั้ย จิตหลงมีมั้ย จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ พวกนี้มี จิตสุข จิตทุกข์ มีมั้ย จิตมีสติมีมั้ย จิตมีสติและปัญญามีมั้ย เนี่ยไม่ค่อยมีแล้ว ทำมาพยักหน้านะ ไม่ค่อยมีแล้วอันนี้

แล้วดูของมัน ดูของจริงนะ จิตทุกชนิดมันเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นเมื่อจิตทุกชนิดเกิดแล้วดับนะ ไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร เนี่ยเราดูความจริงลงในรูปในนาม ในขันธ์ ๕ ในกายในใจ ดูลงไปเรื่อย เพื่อถอนความเห็นผิดว่ามีเรา

เพราะฉะนั้นงานหลักในทางพระพุทธศาสนา งานหลักในการปฏิบัติธรรมเนี่ย ไม่ได้ทำเพื่ออันอื่นหรอก ทำเพื่อล้างความเห็นผิด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 530103.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 155 times, 2 visits today)

Comments are closed.