Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : กามราคะกับการพิจารณาธาตุ ๔


กามราคะกับการพิจารณาธาตุ ๔

ถาม : อยากทราบว่าการภาวนาในแบบที่จะเด็ดขาดในเรื่องกามราคะนี่
เราจำเป็นต้องพิจารณากายลงเป็นธาตุ ๔ เสมอไหมครับ ?

ตอบ : ผู้ที่จะละกามราคะได้เด็ดขาด มีแต่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นครับ
ซึ่งการจะละกามราคะได้ มีเพียงทางเดียวคือ
เพียรมีสติ มีสัมปชัญญะ ที่จะเจริญสติปัฏฐาน ๔
ไปจนเกิดมรรคผลไปตามลำดับ
ซึ่งผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็จะมีปัญญาเห็นรูป เวทนา จิต ธรรม
ล้วนแต่มีความเกิดขึ้น เสื่อมดับไปเป็นธรรมดา เป็นเบื้องต้น
หรือจะเห็นตามจริงว่า รู้นาม(กายใจ-ขันธ์ ๕)นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
จนสามารถละความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามลงได้

การพิจารณาธาตุ ๔ นั้น หากทำเพียงเพื่อให้จิตสงบ
ก็ยังไม่อาจจะละกามราคะได้เด็ดขาด
จนกว่าจะมามีสติเห็นกายเป็นไตรลักษณ์อย่างแจ่มแจ้ง
มีปัญญาพอที่จะละความยึดมั่นถือมั่นในกายลงได้ครับ
เพราะฉะนั้นการภาวนาด้วยอุบายวิถีหรือรูปแบบใด
นอกจากจะทำเพื่อให้จิตสงบแล้ว
ก็ต้องทำเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ของรูปนามด้วยครับ

กรณีที่คุณพิจารณากายเป็นธาตุ ๔ ก็ดีแล้วนะครับ
ส่วนที่ยังเห็นว่าจิตมักมีกามราคะนั้นก็เป็นปกติ
และเมื่อใดที่เห็นจิตมีการาคะปรากฏขึ้น
ก็ให้มาหัดรู้จิตที่กามราคะด้วยนะครับ

หัดดูจิตที่มีราคะอย่างมีสติ มีความตั้งมั่น เป็นกลาง
เพื่อจะให้เห็นว่า แม้จะไม่ได้แทรกแซงจัดการอะไร
จิตที่กามราคะที่เกิดแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อเห็นความเกิดดับ(เห็นไตรลักษณ์)ของจิตได้บ่อยๆ
ต่อไปก็จะเกิดปัญญาละความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามลงได้ตามลำดับ
วันใดสามารถละความยึดมั่นในกายได้อย่างเด็ดขาด
วันนั้นก็จะละกามราคะได้เด็ดขาดครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 153 times, 1 visits today)

Comments are closed.