Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

สู้กิเลสอย่างละเอียดด้วยวิปัสสนา


mp3 (for download): วิธีรับมือกิเลสอย่างละเอียด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สู้กิเลสอย่างละเอียดด้วยวิปัสสนา

สู้กิเลสอย่างละเอียดด้วยวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ทำอย่างไรเราจะเกิดปัญญาเห็นความจริงของขันธ์ เนี่ยเป็นเรื่องแตกหักแล้วนะ เรื่องสำคัญมากเลยในทางพระพุทธศาสนา การทำทาน รักษาศีล ทำสมาธินี้ มีมาก่อนพระพุทธเจ้า การสู้กิเลสอย่างหยาบ สู้กิเลสอย่างกลาง มีมาก่อนพระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้าท่านมาต่อยอดให้นักปราชญ์ทั้งหลายนั่นเอง

พวกนักปราชญ์ทั้งหลายเขาก็สอนให้คนถือศีล นักปราชญ์ทั้งหลายสอนให้คนทำสมาธิ จิตสงบ แต่ว่าพระพุทธเจ้ามาต่อยอด สงบอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเกิดปัญญาด้วย ปัญญาคืออะไร ปัญญาคือการเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม ของกายของใจ ถ้าเราไม่เห็นความเป็นจริงของรูปนามกายใจ เรียกว่าไม่มีปัญญา เห็นความจริงนะ ไม่ใช่คิดเอา

เพราะฉะนั้นทำอย่างไรเราจะเห็นความจริงได้ เราต้องดูว่า จริงๆแล้วกายเป็นอย่างไร จริงๆจิตใจเป็นอย่างไร การดูความจริงของกายของใจนะ เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐานไม่ใช่เรื่องกำหนดอย่างโน้นอย่างนี้นะ หลักของวิปัสสนากรรมฐานแท้ๆเลยคือ มีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจนี่ รู้อย่างที่มันเป็น มันเป็นอะไร กายนี้เป็นอะไร กายนี้เป็นของไม่เที่ยง กายนี้เป็นของเป็นทุกข์ กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นอนัตตา นี่คือความจริงของกาย ความจริงของใจก็คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน ความจริงของขันธ์ ๕ ก็คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน

ถ้าเราเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของขันธ์ ๕ ของกายของใจ ของรูปของนามได้ นั่นแหละคือการทำวิปัสสนากรรมฐาน พวกเราบางคนเรียนไม่พอนะ เราไปคิดว่า แค่รู้กายรู้ใจคือวิปัสสนากรรมฐาน รู้รูปรู้นาม เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ไม่เป็นหรอก ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ต้องเห็นความจริงของรูปของนาม นะ ถึงจะเป็นวิปัสสนากรรมฐานนะ

เพราะฉะนั้นยกตัวอย่างเรานั่งอยู่ เห็นร่างกายนั่งอยู่เนี่ย เป็นวิปัสสนามั้ย ไม่เป็น ไม่เป็น ถ้าเห็นว่าร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา อย่างนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนานะ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาต้องเห็นไตรลักษณ์ ของกายของใจ

ตรงนี้ต้องแม่นนะ พวกเรา ถ้าเราไม่รู้หลักของวิปัสสนากรรมฐาน เราก็จะพูดแต่ว่าเราจะทำวิปัสสนา เอาเข้าจริงหาคนทำวิปัสสนาได้น้อยเต็มทีเลยนะ กระทั่งบอกว่าทำวิปัสสนาอยู่นั้น เอาเข้าจริงกลับทำสมถะ รู้เพ่งกายอยู่เรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก เพ่งนิ่งๆอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่วิปัสสนา เห็นท้องพอง เห็นท้องยุบอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่วิปัสสนา นะ เห็นร่างกายยกเท้าย่างเท้า ไม่ใช่วิปัสสนา

วิปัสสนาต้องเห็นร่างกายนั้นน่ะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ทั้งหลายนะ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนา ต้องเห็นไตรลักษณ์

ต้องแม่นนะ ถ้าหลักไม่แม่นแล้วทำผิดน่ะ ทำผิดแล้วจะมาบอกว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ดีจริง ทำมาตั้งหลายปี ๒๐-๓๐ปี ไม่เห็นนิพพานเสียที ก็ยังไม่เคยทำเส้นทางที่จะเข้าสู่พระนิพพานเลย คือไม่ได้เจริญปัญญาที่แท้จริงนะ

การเจริญปัญญา ปัญญาคือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ของกายของใจ ตรงนี้ต้องแม่นนะ หลวงพ่อย้ำทุกวันเลย เรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องแตกหักเลย ว่าเราจะเป็นชาวพุทธแท้หรือไม่แท้ ลำพังทำทาน รักษาศีล ทำสมาธินั้น ไม่ใช่ชาวพุทธเขาก็ทำกัน

ศาสนาอื่นก็มีนะ บางศาสนาเนี่ย หลวงพ่อยังรู้สึกยกย่องเลย ยกตัวอย่างมุสลิมเขาละหมาดวันละ ๕ ครั้งนะ เขาคิดถึงพระเจ้าวันละ ๕ ครั้ง นั่นก็คือการทำสมาธิวันละ ๕ ครั้ง ชาวพุทธเราให้ไหว้พระวันละครั้งยังทำแทบไมได้เลย น่าเกลียดที่สุดนะ ว่าน่าเกลียดแต่หัวเราะ มันเอ็นดูนะ ไม่ได้โกรธเกลียดหรอก รู้สึกน่าเอ็นดูดี ทุกข์ไปก่อน

เพราะฉะนั้นเราจะทำวิปัสสนา ต้องรู้ ต้องเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ของกายของใจ ของธาตุของขันธ์นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่บริษัท ดอกบัวคู่
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดอกบัวคู่
File: 540409A
ระหว่างนาทีที่  ๒๕ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 428 times, 1 visits today)

Comments are closed.