Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

หาต้นทางได้ แล้วการปฎิบัติจะไม่ยาก

mp3 for download : หาต้นทางได้ แล้วการปฎิบัติจะไม่ยาก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หาต้นทางได้ แล้วการปฎิบัติจะไม่ยาก

หาต้นทางได้ แล้วการปฎิบัติจะไม่ยาก

หลวงพ่อปราโมทย์ : ฟังเหมือนยากนะ ไม่ยากเลย ทำต้นทางให้ได้ มันยาก กว่าที่คนๆหนึ่งจะขึ้นต้นทางได้ แต่คนที่เดินอยู่บนเส้นทางนี้ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ลัดสั้น เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมของมหาบุรุษ เป็นธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ลัดสั้น

สติปัฏฐานนั้น ผู้ใดทำถูกนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ต้องเห็นผล คนในครั้งพุทธกาลบารมีแก่กล้า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี นะ เป็นพระอรหันต์ หรือได้พระอนาคา ของเรารุ่นนี้ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ได้โสดาก็บุญนักหนาแล้วนะ เพราะอินทรีย์เราอ่อนกว่าคนยุคโน้นเขานะ เพราะฉะนั้นอดทนนะ พากเพียรไป รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจ อย่าลืมกายอย่าลืมใจ กายมีอยู่ก็คอยรู้สึกไว้ จิตใจมีอยู่คอยรู้สึกไว้
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันจันทร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๕
File: 510428B
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๐๓ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี วัดป่ามหาวัน (ภูหลง)

คณะศิษยานุศิษย์ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ และ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๕๔

ณ วัดป่ามหาวัน (ภูหลง)

บ้านตาดรินทอง ต.ธาตุทอง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ

ในวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔

๐๙.๐๐ น. ตั้งกองกฐินที่วัดป่ามหาวัน (ภูหลง)

๑๐.๐๐ น. ประกอบพิธีถวายผ้ากฐิน และร่วมฟังธรรมจากพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

๑๑.๐๐ น. ร่วมกันถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์

๑๒.๐๐ น. ญาติโยมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

คณะศิษยานุศิษย์จึงขอเรียนเชิญบอกบุญมายังผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน เพื่อร่วมทำบุญถวายผ้ากฐินครั้งนี้ โดยนำสิ่งของหรือปัจจัยมาร่วมทำบุญ ณ วัดป่ามหาวัน (ภูหลง) ตามกำหนดการข้างต้น

หรือหากไม่สะดวกในการเดินทาง ขอเชิญร่วมอนุโมทนา โดยโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝาก ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาแก้งคร้อ ชื่อบัญชี “โครงการวนาพิทักษ์ภูหลง” เลขที่บัญชี 307-2-11244-9 และโปรดแจ้งกลับที่เบอร์โทรสาร 02 515 4390 (ในเวลาราชการ)

(หากต้องการขอรับใบอนุโทนา โปรดแจ้งมาพร้อมกับโทรสารด้วย)

ศึกษาเส้นทางไปวัดได้ที่ www.visalo.org

• คำศัพท์เกี่ยวกับกฐิน

• “กราน” เป็นภาษาโบราณ มีความหมายว่า ขึงผ้าที่ไม้สะดึงเพื่อตัดเย็บ ในที่นี้ คือ เพื่อทำเป็นจีวร

• กรานกฐิน เป็นอานิสงส์ที่พระผู้จำพรรษาแล้วมีสิทธิ์ที่จะได้รับ พระทั้งหลายต้องหาผ้าที่จะทำจีวรมาผืนหนึ่ง เรียกว่าผ้ากฐิน เพื่อมอบให้กับพระองค์หนึ่งในหมู่พวกตนที่มีความประพฤติดี หรือมอบให้กับผู้ที่มีจีวรเก่าที่สุด องค์ที่ได้รับไป ก็อธิษฐานเป็นจีวรครอง ก็มาเข้าที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง บอกให้รู้ว่าทำจีวรเสร็จแล้ว นี่เรียกว่า กรานกฐิน

• กฐินที่แท้ คือ ผ้าผืนใดผืนหนึ่ง ในผ้าไตรจีวร โดยจะเป็นสังฆาฎิที่พระใช้พาดบ่า , อุตราสงค์ที่พระใช้ห่ม หรืออันตรวาสก ที่ใช้นุ่ง หรือภาษาไทยเรียกสบงก็ได้ ปัจจุบันหากถวายเป็นชุดไตรจีวร คณะสงฆ์จะเลือกใช้ผืนใดผืนหนึ่งในการทำพิธีกรานกฐิน

• บริวารกฐิน คือ ปัจจัย ข้าวของ ที่นำมาถวาย ร่วมกับกฐิน

• ข้อมูลเพิ่มเติม วัดป่ามหาวัน ” ภูหลง ” http://www.visalo.org/pulong/index_pulong2.htm

แผนที่วัดป่ามหาวัน ” ภูหลง ” จ.ชัยภูมิ http://www.visalo.org/map/index.htm

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: เรื่องของคนเรื่องของเทียน…

เรื่องของคนเรื่องของเทียน…

ขันธ์ ก็ดั่งเทียนเล่มน้อย
ที่ไม่นานถูกเผาไปจนหมดสิ้น…

ศีล ก็มีแค่นำตาเทียนที่หยดไว้ตั้งเทียนเล่มเล็กๆ
โดนอะไรกระทบนิดหน่อยเทียนก็ล้มแล้ว…

สมาธิ ก็มีแค่ประมาณเปลวเทียนเล่มเล็กๆ
แค่คนเดินผ่านก็หวั่นไหวไม่ตั้งมั่นแล้ว…

ปัญญา ก็มีแค่ประมาณแสงสว่างสัก 1 แรงเทียน
ต้องระมัดระวังมากๆ เวลาเดิน เพราะมองเห็นอะไรได้ใกล้นิดเดียว…

แม้จะมีคุณภาพเพียงเทียนเล็กๆ เล่มเดียว
แต่ถ้าใส่ใจจริง หมั่นดูแลเทียนนี้อย่างดี
ก็ยังมีหวังที่จะพ้นทุกข์ไปได้เช่นกัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใจดิ้นเพราะรักสุขเกลียดทุกข์

Mp3 for download: 460331B_1 over the other

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ใจดิ้นเพราะรักสุขเกลียดทุกข์

ใจดิ้นเพราะรักสุขเกลียดทุกข์

หลวงพ่อปราโมทย์: เราก็จะเอาด้านนึงไม่เอาด้านนึง เพราะว่าเราคิดว่าถ้าได้สิ่งนี้มาแล้วจะมีความสุข ถ้าไม่มีอย่างนึง ถ้าไปเจออีกอย่างนึงแล้วจะเป็นทุกข์ อย่างเนี้ย จิตใต้สำนึกก็คือความรักสุข เกลียดทุกข์นี่แหละ ก็พาให้ดิ้นไปเรื่อยๆ ทั้งในทางโลกในทางธรรมแหละ

เพราะฉะนั้นอุตส่าห์เรียนแทบตาย ไปทำมาหากินก็หวังว่าจะมีความสุข คนไปอยู่มีครอบครัวก็หวังว่าจะมีความสุข มีครอบครัวแล้วต้องมีลูกถึงจะมีความสุข หวังไปเรื่อยๆ มีทุกข์ไปเรื่อยๆ

นักปฏิบัติก็เหมือนกันแหละ ปฎิบัติไปแล้วชอบความสงบ ชอบความสุข วันไหนสงบก็ชอบ ดีใจว่าปฏิบัติดี ไม่สงบก็ไม่ชอบ กลุ้มใจ

ที่จริงแล้วธรรมะที่เป็นคู่ๆ เขาแสดงความจริงตลอดเลย แสดงว่าบังคับไม่ได้หรอกไม่เที่ยง มันทนไม่ได้ มีความสุขแล้วก็ไม่มี ไปแช่อยู่ในความสุขทั้งวันนั้นมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราปฏิบัติเนี่ยไม่ใช่เพื่อเอาด้านนึงไม่เอาอีกด้านนึง แต่ปฏิบัติจนกระทั่งเห็นว่าทั้งสองด้านนั้นน่ะ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา จิตใจปล่อยสองฝั่ง ปล่อยทั้งสองฝั่งเข้าไปสู่ความเป็นกลาง เป็นกลางต่อต่อสังขาร ฝึกไปจนใจเป็นกลางต่อสังขารเพราะปัญญา ไม่ใช่กลางด้วยการเพ่ง เป็นกลางด้วยปัญญาเรียกว่าสังขารุเบกขาญาณ เป็นวิปัสสนาญาณตัวท้ายๆ ละ ถัดจากนั้นจิตดำเนินเองละ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒
Track: ๑๑
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : หลวงพ่อปราโมทย์มาแสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน 18 ก.ย. 54

แจ้งข่าว หลวงพ่อปราโมทย์มาแสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน ถ.แจ้งวัฒนะ ในวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2554 นี้ครับ

ตั้งแต่เวลา 8.30 น. – 10.00 น.

แนะนำให้มาถึงศาลาก่อน 7.30 น. เพื่อจะได้มีที่นั่งครับ

>>> ท่านที่นำรถมา แนะนำให้นำรถจอดเข้าด้านในของทีจอดรถภายในบริเวณของศาลาฯ ที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น หากท่านไม่ต้องการนำรถเข้ามาจอดภายใน ก็ขอให้นำรถไปจอดที่ห้างโลตัส หรือ บิ๊กซี ทั้งนี้ขอความกรุณาอย่าจอดกีดขวางหน้าบ้านของชุมชนใกล้เคียงศาลาฯ <<<

แผนที่ศาลาลุงชิน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: การปฏิบัติวิปัสสนาดูเวทนา

การปฏิบัติวิปัสสนาดูเวทนา

ถาม : การพิจารณาเวทนาตามร่างกายตั้งแต่ศีรษะ จนถึงปลายเท้า กลับไป-มา ถือเป็นการเพ่งหรือเปล่าคะ?

ตอบ : ถ้ามีจิตเป็ยผู้รู้ผู้ดู เห็นเวทนาเป็นสิ่งที่ถูกรู้
หรือไม่ได้เกิดอาการเคร่งเครียด หนัก ตึง
ก็ไม่เป็นการเพ่งหรอกครับ
และถ้าทำแล้วจิตสงบมีความตั้งมั่นรู้อารมณ์เดียวต่อเนื่อง ก็เป็นสมถะ
ถ้าทำแล้วจิตตั้งมั่นเห็นเวทนาแสดงความเป็นไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนาครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ชม VDO หลวงพ่อ ปราโมทย์ แสดงธรรมที่ แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อวันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ อาคารอเนกนิทัศน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อวันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔

ส่วนที่ 1




ส่วนที่  2


^__^

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

mp3 for download : เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีอยู่คราวหนึ่ง ภาวนา มันเห็นสภาวะอยู่กลางหน้าอกนี่ มันไหวยิบยับๆ ใครเคยเห็น ไหวยิบยับในหน้าอก ยกมือสิๆ มีเยอะเหมือนกัน มันไหวยิบยับๆนี่น่ะ ดูแล้วไม่หาย อย่างถ้าความโลภความโกรธความหลงเกิดขึ้นมา ดูป๊บหายปั๊บ รู้สึกมั้ย โกรธขึ้นมาพอรู้ทันนั้นก็หาย โลภมารู้ทันมันหาย ไอ้ไหวยิบยับไม่ยอมหาย ไม่หาย ดูอยู่อย่างนั้นนะดู เสร็จแล้วสติมันไปจ่อมันไปดูอยู่ ดูอยู่เป็นเดือนเลย กลางวันก็ดู กลางคืนก็ดู ไม่ยอม(หยุด)เลย มันจะดูของมันตลอดเวลา เพราะมันสงสัยว่าตัวนี้มันคืออะไร

มันไหวยิบยับๆยิบยับๆขึ้นมาอยู่เดือนหนึ่งได้ โอ๊ยทุกข์มากเลย มันเหนื่อยแสนสาหัส เหนื่อยหนักเลย เอ๊… เราจะทำอย่างไรดี เราไม่ผ่านตัวนี้น้อ.. ไปถามครูบาอาจารย์ดีกว่า ไปหาหลวงพ่อพุธ ตอนนั้นท่านกำลังมีงาน เรียกว่างานบูรพาจารย์ ๑ – ๓ ธันวาคม ใช่มั้ย ชักจะจำไม่ได้แล้ว ไม่ได้ไปหลายปี ก็มีโยมมีพระมาเต็มวัดเลย ทีนี้หลวงพ่อไปแต่เช้าเลย หลวงพ่อพุธท่านยังไม่ได้ออกไปเทศน์ ก็ไปเล่าให้ท่านฟัง ว่ามันไหวอย่างนี้ จะทำอย่างไรครับ ทรมานมากเลย เห็นอยู่เดือนหนึ่งแล้ว

พวกเรา สมมุติ พวกเราดูหนังเรื่องเดิม ๑ เดือน ทุกข์หรือไม่ทุกข์ล่ะ ฟังเพลงประโยคเดียว ๑ เดือน ทุกข์มั้ยล่ะ ประโยคเดียว เนี่ยมันเห็นไหวยิบยับๆ ทู้ก..ทุกข์ บอกหลวงพ่อพุธว่าเนี่ยผมจะทำยังไงดี แต่เดิมสภาวะอะไรเกิดขึ้น ผมดูปุ๊บขาดหมดเลย นี้ไม่ขาด หลวงพ่อพุธบอกว่าการภาวนานี้ เมื่อถึงขั้นละเอียดนะ มันเหลือแต่ยิบยับๆ ยิบยับๆ ท่านว่าอย่างนี้ มันเหลือแต่ยิบยับๆให้ดูไปนะ ดูไป เนี่ยไม่มีทางปฏิบัติอื่นหรอก มันเป็นความปรุงละเอียด จิตมันปรุงละเอียด

ท่านพยายามสอนนะ ใจเราไม่ลง เฮ่อ.. ก็ปรุงละเอียดน่ะครับ แล้วทำอย่างไรจะผ่าน ใจมันไม่ลงแต่ไม่พูดนะ แต่ท่านรู้ว่าใจเรายังติดอยู่ นี่น่ะครูบาอาจารย์ท่านรู้หรอก ใจเรายังข้องนะ ใจเรายังติดอยู่ ท่านก็พยายามอธิบายใหญ่นะ วนไปวนมา ซ้ำไปซ้ำมา จะให้จิตเราคลายออก มันไม่คลาย สักครึ่งชั่วโมงแล้วพระมาตาม บอกว่าได้เวลาแล้ว คนเขารออยู่เต็มศาลาเลย ท่านบอกว่า เอาไว้ก่อนๆ อันนั้นไปเทศน์ตามธรรมเนียม ไม่สำคัญเท่าไหร่หรอก ตรงนี้สำคัญ ต้องแก้กรรมฐานก่อน นี่นะท่านพยายามแก้ให้หลวงพ่อนะ เกือบชั่วโมง ไม่ตกนะ แก้ไม่ตกนะ ในที่สุดเราก็ต้องบอกท่านว่า หลวงพ่อเหนื่อยเต็มทีแล้วครับ นิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์เถอะ เดี๋ยวผมค่อยไปหาทางจัดการเอาเอง สงสารท่านนะ แล้วเราก็ชักกลัวด้วย เขามาตามหลายรอบแล้ว เขาก็ชักตาขวางๆแล้ว

เสร็จแล้วกลับมาบ้าน แก้ไม่ตก เขียนจดหมายไปถามอาจารย์มหาบัว สมัยโน้นท่านยังตอบจดหมายอยู่ คนยังไม่ยุ่งกับท่านมาก ตอนนั้น เขียนไปถามท่านว่า มันยิบยับอย่างนี้ทำยังไง แล้วท่านก็ตอบมานะ ให้หนังสือธรรมเตรียมพร้อมมา บอกว่าเราเพิ่งไปทำตาใหม่ เราเขียนจดหมายยาวไม่ได้ ให้ไปอ่านเอาเอง โอ้โห..เล่มเบ้อเริ่มเลย ไม่รู้จะทำอย่างไร ท่านให้มานะ เอาหนังสือลงวางนะ บนโต๊ะกราบเลย กราบท่านเลย ไหนๆท่านก็ให้มาแล้ว ลองดูสักหน้าสองหน้าก็แล้วกัน พลิกออกมานะ กลางๆเล่มนะ ตอบเเรื่องนี้เป๊ะเลย ไม่ใช่ปาฏิหาริย์หรอก พอดีมือมันไปเปิดหน้านี้เข้า

ท่านก็บอกเหมือนที่หลวงพ่อพุธบอกเปิ๊ยบเลย การภาวนาพอถึงขั้นละเอียดจะเหลือแต่ยิบยับๆ แก้ไม่ตกน่ะ แก้ไม่ตก ตายแล้ว อาจารย์มหาบัวบอกมา ก็เหมือนที่หลวงพ่อพุธบอกนะ นี่ คิดอย่างนี้ ทำอย่างไรดี มันมีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย บอกจิต บอกกับจิตนะ หยุดซะ วันนี้อย่าดูมัน วันนี้อย่าดูมันเลยนะ ไปดูของอื่นนะ ไปดูหนังฟังเพลงก็ได้นะ ทำอะไรก็ได้ ให้มันไปที่อื่น อย่ามาดูอยู่ตรงนี้ กลางหน้าอกนี่ สั่งมันอย่างนี้ มันไม่ยอมนะ เปิดทีวีดูนะ มันก็เห็นไอ้นี่ยิบยับๆอยู่อย่างนั้นนะ แก้อย่างไรก็ไม่ตกน่ะ

ไปยืนรอรถเมล์อยู่ จะไปทำงาน ผู้คนก็เยอะแยะเลย ที่ป้ายรถเมล์ เพื่อนร่วมทางเยอะนะ เรียกว่าเพื่อนร่วมทุกข์ ไปรอรถเมล์อยู่ บอกมัน เลิกดูเหอะๆ มันไม่เลิก นึกขึ้นได้เอ๊ะเราไม่ได้ทำสมถะมานานแล้ว ทำเสียหน่อย พอเดินปัญญานี่นะ เป็นจุดอ่อนนะ พวกเราเป็นกันทุกคนน่ะ พอเดินปัญญาได้แล้วชอบทิ้งสมถะไปเลยนะ ไม่ทิ้ง ต้องไม่ทิ้ง เอาละวันนี้ทำสมถะเสียที หายใจเข้าพุทหายใจออกโธนับหนึ่งเข้าพุทออกโธนับสองอย่างนี้ นับไปๆได้ ๒๘ ครั้งนะ หายใจเข้าออกได้ ๒๘ ที จิตมันรวมลงมาปุ๊บ รวมลงไปนะ มันได้พักนิดนึงนะ พอมันถอนขึ้นมานะ ไอ้ยิบยับนะขาดไปนะ หายไป จิตหลุดออกไปจากไอ้ยิบยับ แต่ยิบยับมีอยู่นะ จะปรุงไปเรื่อยแหละนะ ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์มันปรุงอีก แต่จิตมันถอนออก มันไม่เข้าไปเพ่งไปเกาะมันนิ่งๆอยู่ตรงนั้น

เนี่ยดูจิตนะ สั่งมันไม่ได้หรอก สั่งมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ จับหลัก ทำความสงบเป็นช่วงๆไป แล้วก็ดูมันทำงานไป เป็นระยะๆ ระยะไป สลับไปสลับมา แล้วจิตจะได้มีเรี่ยวมีแรง เป็นของสั่งไม่ได้ห้ามไม่ได้บังคับไม่ได้ มันทำงานของมันได้เอง มันจะไปยิบยับ มันก็ยิบยับเอง มันจะไปดูยิบยับมันก็ไปดูของมันเอง ทำไม่ได้สักอย่าง เนี่ยเราค่อยฝึกๆนะ ค่อยหัดไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๑ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: การเริ่มต้นภาวนา สำหรับผู้มาใหม่

การเริ่มต้นภาวนา สำหรับผู้มาใหม่

การเริ่มต้นนั้น ให้เริ่มที่ ฝึกสติ ด้วยการหัดรู้สึกกาย หัดรู้สึกจิตใจตัวเองไป
เช่นจะเดินก็ให้รู้สึกกายที่เดินที่เคลื่อนไหวไปสบาย ๆ
ไม่ต้องจ้องกายไว้ แค่รู้สึกเบา ๆ สบาย ๆ
เดี๋ยวก็จะเผลอ จะลืมรู้สึกกาย เพราะจิตไปสนใจรู้อย่างอื่นเช่น เผลอไปคิด
จะเผลอ จะลืมไปก็ไม่เป็นไร ให้เผลอไปก่อน
แล้วค่อยไปตามสังเกตเอาว่า เมื่อกี้เผลอไป
พอรู้สึกได้ว่า เมื่อกี้เผลอไป ก็กลับมารู้สึกที่กายกำลังเดินใหม่อีก

ในกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ความคิด เช่น ทำงานบ้าน
ก็สามารถใช้การสังเกตรู้สึกกายที่เคลื่อนไหวไป สลับกับรู้ว่า เมื่อกี้เผลอไป ได้เช่นกันครับ

ทีนี้ในแต่ละวัน นอกจากเราจะหัดรู้สึกกายที่เคลื่อนไหว สลับกับรู้ว่าเผลอไป
จิตใจเราจะเกิดสภาวะต่าง ๆ มากกมาย เช่น โลภ โกรธ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ยินดี ฯลฯ
พอเรารู้สึกว่าจิตใจเรามีสภาวะเกิดขึ้น ก็ให้หัดรู้จิตใจเราไปสบาย ๆ
จิตจะโลภ จะโกรธ จะเป็นยังไง ก็หัดรู้จิตที่โลภ ที่โกรธ ที่เป็นอย่างนั้นไป
หัดรู้แบบเป็นคนดู ไม่ต้องจัดการอะไรกับจิตเพื่อให้หายโลถ หายโกรธ ฯลฯ
(แต่ภายนอกให้สำรวมกายวาจาไว้ อย่าทำผิดศีล ๕)
แค่เพียงรู้วึกไปว่าจิตกำลังเป็นอย่างนั้นเท่านั้น

เอาแค่นี้ก่อนนะครับ
หัดแล้วเป็นอย่างไรก็มาคุยกันใหม่นะครับ
:D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

mp3 for download : จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจนี่จิตส่งออกนอกนะจิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลม ให้รู้ทันเข้าไป จิตไหลไปแล้วจิตไม่ตั้งมั่น หรือเวลาเราดูท้องพองยุบนี่จิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ให้เรารู้ทัน อันนี้ก็จิตไม่ตั้งมั่น หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอกทั้งนั้นเลย จะเดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ให้รู้ทัน นี่หลวงปู่ดูลย์ก็เรียกจิตออกนอกเหมือนกัน จิตมันส่งไป จิตมันเคลื่อนไป

เพราะฉะนั้นไม่ว่าจิตมันจะเคลื่อนไปทางไหนคอยรู้ทัน ก็จะเคลื่อนไป ๒ อย่าง อันหนึ่งเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด ไปรู้เรื่องราวที่คิด เรียกว่าไปรู้อารมณ์บัญญัติ อีกอันหนึ่งเคลื่อนไปเพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งกายเพ่งใจ เพ่งลมหายใจ เพ่งท้องเพ่งมือเพ่งเท้า อันนี้ไปเพ่งรูปนะ เพ่งอารมณ์ปรมัตถ์นะ ตัวรูป แต่ก็เป็นสมถะอีก เพราะฉะนั้นมันมีจิตไหลไป ๒ อย่างนะ อันหนึ่งไหลไปในโลกของสมมุติบัญญัติคือหลงไปในโลกของความคิด อีกอันหนึ่งไปเพ่งรูปเพ่งนาม อันนี้ก็ไม่ใช่รู้เหมือนกันทั้งคู่แหละ จิตส่งออกนอกด้วยกันทั้งคู่เลยนะ ส่งไปอยู่ที่ลม ส่งไปอยู่ที่ท้อง ส่งไปอยู่ที่เท้า จิตออกนอกนะ นอกจากอะไร นอกจากรู้ คำว่าจิตส่งออกนอก คือนอกจากอะไร ไม่ใช่นอกร่างกายนะ จิตส่งออกนอกคือนอกจากการรู้ ตื่น เบิกบาน จิตที่ถึงฐานจริงๆน่ะ จิตไม่เคลื่อนไป โดยไม่ได้บังคับไว้ด้วยนะ

ให้เราคอยรู้ทันไป ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วรู้ทัน จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไปเพ่งก็รู้ทัน นี่จิตออกนอกหมดเลย จิตไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลางนะ พอเรารู้ทันว่าจิตมันไหลไป โดยเฉพาะไหลไปคิด ถ้าไหลไปคิดนะ ความไหลไปคิดจะดับทันทีเลย เพราะจิตที่ไหลไปคิดเนี่ยเป็นจิตมีโมหะ มีโมหะแทรกอยู่นะ มันมีความหลงแทรกอยู่ เป็นอกุศลนะจิตหลงไปคิดนะ

ทันทีที่สติระลึกรู้จิตที่หลงไปคิดปุ๊บ ความหลงคิดจะดับทันทีอัตโนมัติเลย เพราะมันเป็นอกุศล สติเกิดแล้วอกุศลอยู่ไม่ได้ ดับทันที แต่ตอนที่หลงไปเพ่งนะ ทั้งๆที่เพ่งอยู่นั้นแหละ จิตไม่ดับไม่ถอนออกมาจากการเพ่งนะ คนละแบบกัน เพราะการไปเพ่งรูปเพ่งนามนะ เป็นกุศลนะไม่ใช่อกุศลนะ เป็นการทำความดี บังคับตัวเอง ควบคุมตัวเอง เป็นการปรุงดี ส่วนหลงไปคิดนั้นเป็นการปรุงชั่วนะ เพราะฉะนั้นถ้ารู้ทันว่าหลงไปคิดปุ๊บนะ จะหายทันที แต่ถ้าเพ่งอยู่แล้วรู้ว่าเพ่งอยู่ ไม่หายหรอก ก็ต้องค่อยๆจงใจค่อยๆคลายออกๆ

ที่มันไปเพ่งนะเบื้องหลังมันคือโลภ อยากดี อยากรู้อยากเห็น อยากเป็นอยากได้ อยากปฏิบัติ อยากจะไม่ขาดสติ นี่มีความอยากซ่อนอยู่นะ ก็ไปนั่งเพ่งเอาๆ ถ้ารู้ทันใจที่อยากมันก็เลิกเพ่งไปเองน่ะ ทำลายต้นทางมันซะนะ มันก็ไม่เพ่ง ที่เพ่งเพราะอยาก เนี่ยรู้ทันเข้าไป ใจก็คลายการเพ่งออกนะ

ไม่เผลอไปหลงไปในโลกของความคิด ไม่ไปเพ่งไว้ ใจก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การปฎิบัติอย่างไรเป็นสมถะ อย่างไรเป็นวิปัสสนา?

การปฎิบัติอย่างไรเป็นสมถะ อย่างไรเป็นวิปัสสนา?

ถาม : การที่หนูเจริญสติเนื่องๆ ไปพร้อมกับการเดินจงกรม สวดมนต์ และนั่งสมาธิแบบดูลมหายใจตัวเอง(โดยไม่บริกรรมใดๆ) มีเพื่อนทางธรรมหลายท่านบอกว่าเป็นสมถกรรมฐาน เอาละซิแล้วหนูทำอย่างนี้ทุกวันๆแล้วมันจะมีพัฒนาการต่อไปหรือไม่ หรือจะยังวนเวียนอยู่แค่นี้ไม่ไปไหน แล้วจะทำอย่างไรถึงจะพัฒนาเป็นวิปัสนากรรมฐานคะ ?

ตอบ : ต้องเข้าใจก่อนครับว่าสมถกรรมฐานแตกต่างกับวิปัสสนากรรมฐานอย่างไร
เพราะทั้งสองอย่างอาศัยรูปแบบเหมือน ๆ กันคือ
สวดมนต์ เดินจงกรม ดูลม ดูท้องยุบพอง ทำจังหวะเคลื่อนไหว ฯลฯ

ที่แตกต่างกันจะอยู่ที่
สมถะ ทำเพื่อให้จิตสงบจากอกุศล เพื่อให้จิตได้พัก
โดยการตามรู้อารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง

วิปัสสนา ทำเพื่อให้เห็นความจริงหรือเห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม
ด้วยการมีสติตามรู้กายตามรู้จิตใจตัวเองในทุก ๆ กิจกรรม และในรูปแบบ

การปฏิบัติย่อมต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนา
เช่นในระหว่างสวดมนต์ หากสวดแล้วจิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน
อยู่กับการสวดมนต์ได้ต่อเนื่องนาน ๆ โดยไม่หลงลืมการสวดมนต์
แต่จิตจะเฉย ๆ ไม่เห็นว่ารูปนาม หรือกายใจ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
แบบนี้จะเป็นสมถะ

แต่ถ้าสวดมนต์แล้วเห็นจิตเผลอหลงลืมไป
สลับกับมีสติเห็นกายถูกรู้อยู่โดยมีจิตเป็นผู้รู้ชั่วขณะ
แบบนี้จะเป็นวิปัสสนาครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าภาวนาเป็นแล้ว การปฏิบัติก็ง่าย

mp3 for download : ถ้าภาวนาเป็นแล้ว การปฏิบัติก็ง่าย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าภาวนาเป็นแล้ว การปฏิบัติก็ง่าย

ถ้าภาวนาเป็นแล้ว การปฏิบัติก็ง่าย

หลวงพ่อปราโมทย์ : พอมีใจเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้ว มาดูกายทำงาน มาดูจิตทำงานต่อไป เห็นเขาทำงานไปเรื่อย.. ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก จิตใจเคลื่อนไหว รู้สึก ยากมั้ยๆ ไม่เห็นยากอะไรเลยนะ ถ้าทำได้แล้วไม่ยากหรอก ทำไม่ได้ก็ยาก ทำไม่ได้นั้นยากเพราะไม่เคย ไม่เคยทำ

นึกถึงเวลาที่เราหัดขับรถใหม่ๆ ใครขับรถเป็น มีมั้ย เป็นสิ เก่ง ขับรถเก่ง ขับรถทีแรก นึกออกมั้ย ขับรถทีแรกยากนะ ยากมั้ย อือ.. ขับเป็นแล้วไม่ยาก ใครขี่จักรยานเป็นบ้าง ยังมีมั้ย เอ้อ.. ยังมีเหรอ ดีนะ บางจังหวัดบางอำเภอเขารณรงค์ขี่จักรยานนะ ก็ดี ขี่จักรยานทีแรกยากมั้ย ยากใช่มั้ย จับแฮนด์เสียเต็มที่ยังล้มเลย นึกออกมั้ย มีใครหัดแล้วไม่ล้มเลย มีมั้ย ไม่มีนะ คงหายาก หัดยังไงก็ล้ม แต่ว่าพอขับเป็นแล้ว ขี่เป็นแล้ว ปล่อยมือยังไม่ล้มเลย

นี่น่ะ การปฏิบัติก็เหมือนกันนะ ตอนใหม่ๆรู้สึกย้ากยาก ล้มลุกคลุกคลาน แต่พอเราฝึกไปเรื่อย ฝึกไปเรื่อยนะ ชำนิชำนาญขึ้นมา สติมันอัตโนมัติขึ้นมา การภาวนาง่ายไปหมดเลย ใหม่ๆก็ยากไปก่อนนะ จิตที่หลงไปคิด มันคิดมานาน มันคุ้นเคย จิตรู้ไม่ค่อยมี ให้หัดรู้สึก หัดรู้สึกไปเรื่อย ต่อไปก็จะรู้ตัวได้เร็วขึ้นๆ นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : คนทำผิดศีลจะภาวนาได้หรือไม่ ?

คนทำผิดศีลจะภาวนาได้หรือไม่  ?

เรื่องการทำผิดศีลนี่ หากว่ากันจริง ๆ แล้ว
ไม่มีใครทำผิดศีลอยู่ตลอดเวลาหรอกครับ
จะมีบางช่วงเวลาก็ไม่ได้ทำผิดศีล เช่นขณะกำลังสวดมนต์เป็นต้น
ดังนั้นช่วงที่ไม่ได้ทำผิดศีล หากสามารถมาหัดรู้กายรู้ใจได้อย่างถูกต้อง
สติก็เกิดได้ พอเกิดสติได้บ่อย ๆ การทำผิดศีลก็จะลดลงไปได้ตามลำดับครับ
แต่การที่ต้องทำผิดศีลอยู่เนือง ๆ ก็ยากเหมือนกันครับที่จะมีใจมาภาวนาได้
เพราะใจจะเศร้าหมองมีเรื่องให้วิตกกังวลมากเกินไป

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

mp3 (for download): ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

โยม : คำว่ามัชฌิมาปฏิปทานี่นะฟังมาหลายแห่งเหลือเกิน หลวงพ่อว่ามันคืออะไรคะ ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป แล้วถ้าปฏิบัติไปๆ เกิดขี้เกียจขึ้นมาแล้วก็มาบอกว่า เฮ้ยวันนี้มันตึงเกินไป หรือว่าอะไรทำนองนี้นะคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง ครั้งหนึ่งมีเทวดาองค์หนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เทวดาองค์นี้น่ะแกคิดว่าแกเป็นพระโสดาบันแล้ว เวลาลงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วรัศมีของเทวดานี้สว่างไปหมดเลย คนมีบุญไปแล้วสว่าง ไปถึงก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า บอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะคือห้วงน้ำห้วงกิเลส คือพูดง่ายๆ พระองค์เป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าท่านก็พูดเพราะนะ ท่านบอกว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านผู้ไม่มีความทุกข์ เพราะกำลังหลงอยู่ในความสุขนั่นแหละ ท่านเลยพูดเอาใจเสียหน่อย ถ้าท่านบอกว่าสัตว์โลกผู้มีความทุกข์เทวดาคงไม่ฟังต่อละ อารมณ์ไม่ดี ท่านบอก “ดูก่อนท่านนิรทุกข์ ตถาคตข้ามโอฆะได้เพราะไม่พักอยู่และไม่เพียรอยู่ นี่เทวดาที่คิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์นะ คิดว่าตัวเองก็แน่เหมือนกัน ฟังแล้วสะอึกเลย

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านข้ามกิเลสได้โดยไม่พักและไม่เพียร ถ้าไม่พักนี่น่ะก็พอรู้เรื่องใช่มั้ย แต่ไม่เพียรนี่แปลก เทวดาก็เลยบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช่วยขยายความหน่อย ท่านก็สอนต่อ บอกว่า “ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเมื่อใดเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเมื่อไรเราเพียรเราจะฟูขึ้น” เราจะลอยขึ้น เทวดาก็ได้ธรรมะนะ ได้โสดาบัน เราได้หรือยัง ฟังเหมือนกันนะ ยังไม่ได้ ตรงนี้นะเทวดาเข้าใจ พวกเรายังไม่เข้าใจ ก็มีคำอธิบาย คำอธิบายธรรมะอธิบายพระไตรปิฎกเรียกว่าอรรถกถา

คำว่าพักอยู่นี่ก็คือ การปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส อันนี้มีอีกอันหนึ่ง มีอีกชื่อหนึ่งว่า “กามสุขัลลิกานุโยค” การปล่อยตัวให้ชุ่มด้วยกาม สิ่งที่เรียกว่ากามก็คือความเพลิดเพลินไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทั้งหลาย ฉะนั้นเมื่อไหร่เราหลงโลกเมื่อนั้นเราหย่อนไป เราหย่อนไป เราพักแล้ว เราไม่มีความเพียรเลย ใช้ไม่ได้ ข้ามฝั่งไม่ได้ ถ้าตรงที่ว่ามีความเพียรแล้วฟูขึ้น คำว่ามีความเพียรท่านอธิบายว่า หมายถึง “อัตตกิลมถานุโยค” การคอยควบคุมบังคับตัวเองตลอดเวลา

ดังนั้นถ้าปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลสก็สุดโต่งไปข้างกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าบังคับกายบังคับใจ ทำกายทำใจให้ลำบาก ก็สุดโต่งมาข้างทำความเพียรแบบทรมาณตัวเอง อัตตกิลมถานุโยค ทางสายกลางไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทางสายกลางก็คือทางของศีล ของสมาธิ ของปัญญา นั้นเอง คนมีศีล ถ้าถือศีลไม่เป็นนะก็จะสุดโต่งมาข้างบังคับตัวเอง ถ้าถือศีลแล้วไม่ฉลาดพอก็ถือศีลตามใจกิเลส มีสมาธิก็เหมือนกัน มีสมาธิก็ชอบบังคับจิตตัวเองให้นิ่ง นี่สุดโต่งไปข้างบังคับ อีกพวกนึงทำสมาธิแล้วก็มีความสุข เคลิบเคลิ้มไป นี่หลงตามกิเลส หรือเจริญปัญญา คอยคิดค้นคว้าพิจารณามาก จิตฟุ้งซ่านตามกิเลสไป ไปบังคับจิตให้นิ่งๆ ไม่ให้คิดพิจารณาเลย ข่มไว้เฉยๆ ก็ทรมานตัวเองไปอีก

ทางสายกลางอยู่ตรงไหน ทางสายกลางอยู่ตรงที่มีศีลก็ไม่สุดโต่งไปสองข้าง มีสมาธิก็ไม่สุดโต่ง มีปัญญาก็ไม่สุดโต่งสองข้าง พูดอธิบายยากนะ แต่ลงมือปฎิบัติไม่ยาก คอยรู้ทันใจตัวเองไว้ให้ได้ก็แล้วกัน ถ้ารู้ทันใจตัวเองไม่ได้นะ ไม่บังคับตัวเองก็ตามใจกิเลส ถ้ารู้ทันใจตัวเองได้นะก็ไม่เข้าไปติดสองฝั่งนี้ เช่นนั่งสมาธิอยู่ พอนั่งสมาธิอยู่พอเมื่อยหลังนะก็บอกตัวเองเลย อย่านั่งต่อไปเลยนอนดีกว่า ถ้านั่งต่อไปเป็นอัตตกิลมถานุโยค ทรมานตัวเอง นี่ถูกกิเลสหลอกแล้ว หรือเตลิดเปิดเปิงนะวันๆ นึง มีนะบางคนบอกว่าใช้ชีวิตให้เต็มอิ่มมีความสุขนะ แล้ววันนึงมันก็เบื่อไปเอง เสพสุขให้มากๆ เลยแล้ววันนึงก็เบื่อ นี่ไม่รู้จักธรรมะหรอก กิเลสนั้นเสพเท่าไหร่มันก็ไม่เบื่อ เบื่ออันนี้มันจะไปเอาอันอื่น ยากนะ ถ้าไม่รู้ทันใจตัวเอง

ถ้าเรารู้ทันใจตัวเองได้เราถึงจะเข้าทางสายกลางได้ รู้ว่าขณะนี้สุดโต่งไปแล้วในข้างตามใจกิเลส รู้ว่าขณะนี้สุดโต่งไปแล้วในข้างบังคับตัวเอง ต้องรู้ลงที่ใจให้ได้

โยม : คะ งั้นพอจะเข้าใจด้วยระดับปัญญานิดๆ ว่ามันต้องอยู่ที่การพิจารณาในลักษณะการปฎิบัติ คงไม่ใช่จะมาแปลว่ามัชชิมาหมายถึงกลาง คงไม่ใช่อย่างนั้นนะเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ใช่นะ ต้องดูสภาวะที่แท้จริง ถ้าเมื่อไหร่จิตยังโหยหาอาลัยอาวรณ์ในรูป ในเสียง ในรส ในกลิ่น ในสัมผัส เนี่ยนะ กามสุขัลลิกานุโยค ถ้าเมื่อไหร่บังคับกายบังคับใจ เมื่อนั้นอัตตกิลมถานุโยค

คนทั่วไปซึ่งไม่เคยภาวนาเนี่ยจะสุดโต่งไปในกามสุขัลลิกานุโยค พวกที่ไม่เคยภาวนานะ จะเตลิดไปด้านนี้เลย พวกนี้จะจมลง คือจมลงสู่อบาย ส่วนนักปฎิบัติเนี่ยชอบบังคับกายบังคับใจ คิดถึงการเดินจงกรมก็ต้องรีบตั้งท่าเดิน ถามว่าตอนท่าเดินจงกรมเนี่ย เดินธรรมชาติไหม ไม่นะ บังคับตัวเองนะ บังคับกาย บังคับกายต้องเริ่มต้นจาก..เข้าที่ก่อนนะ ถัดจากนั้นบังคับใจ..บังคับได้ที่ค่อยเดิน เนี่ยบังคับเรียบร้อยแล้วทั้งกายทั้งใจ เวลาที่เราจะนั่งสมาธิ เริ่มต้นบังคับกายก่อน ต้องงี้ เสร็จแล้วก็บังคับใจต่อ ดัดแปลงใจ สุดท้ายก็คือไม่บังคับกายก็บังคับใจ ถ้าทำได้ที่ก็บังคับทั้งกายทั้งใจ

แต่การปฎิบัติแบบไม่บังคับกายบังคับใจทำอย่างไร รู้สึกลงไป นั่งอยู่รู้ว่านั่งอยู่ หายใจอยู่รู้ว่าหายใจอยู่ ตามที่พระพุทธเจ้าสอนนะพอดี พระพุทธเจ้าสอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดินอยู่ให้รู้ว่าเดินอยู่ ไม่ใช่ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาเดินต้องทำท่าอย่างนี้ ไม่เคยพูดเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านสอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีราคะให้รู้ว่ามีราคะ เห็นไหม ง่ายๆ มีราคะรู้ว่ามีราคะ นี่แหละทางสายกลาง ท่านไม่เคยสอนนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้ามมีราคะ ห้ามได้ไหม ห้ามไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีราคะไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็เบื่อไปเอง ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้

เพราะงั้นเมื่อไหร่รู้ได้นะ “รู้นั้นแหละกลาง เกินจากรู้ไม่กลางหรอก”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลตำรวจ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ โรงพยาบาลตำรวจ
File: 540330
ระหว่างนาทีที่  ๔๓ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เพ่งผู้รู้

เพ่งผู้รู้

ถาม : ดิฉันดูจิตมาหลายปี เพิ่งจะมาสงสัยว่าดิฉันอาจจะหลงไปเพ่งตัวผู้รู้โดยไม่รู้ตัว เห็นกายใจแยกจากกัน และเห็นการเกิด ดับ สลับ กับหลงไปคิด ตลอดกัน ด้วย แต่ก็พยายามประคองตัวผู้รู้ รักษาตัวผู้รู้ด้วย บางทีก็ผู้รู้หายไป แต่บางทีก็มีตัวผู้รู้นิ่งๆอยู่ เห็นการเกิดดับชัดมาก บางทีก็เบิกบาน บางทีก็นิ่งๆ ไม่ทราบว่าทำอย่างนี้ เรียกว่าเพ่่งผู้รู้หรือป่าวค่ะ ?

ตอบ : ขณะที่มีผู้รู้ตั้งนิ่งๆ จะเป็นสมถะอยู่ ซึ่งอาจเพราะไปเพ่งผู้รู้หรือไม่ก็เป็นสมถะเองก็ได้ครับ แต่จะเพราะเพ่งหรือไม่เพ่งก็ตาม พอเห็นว่ามีผู้รู้นิ่งๆ ให้แค่รู้ไปว่ามีผู้รู้นิ่งๆ อย่าไปประคองรักษาผู้รู้ไว้แล้วก็ไม่ต้องพยายามจะจับตัวที่เผลอไปคิดนะครับ มันจะเผลอไปตอนไหนก็ไม่ต้องไปคอยดูมัน ไม่ต้องพยายามที่จะไม่ให้เผลอ เผลอไปแล้ว แค่รู้ได้ว่าเมื่อกี้เผลอไปก็พอแล้วครับ



เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

mp3 (for download): เลือกอารมณ์การปฎิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

โยม : มีคนถามอยู่บ่อยๆว่า ในการปฏิบัติธรรม เวลาทำในรูปแบบนี่น่ะครับ รูปแบบมันมีเยอะแยะไปหมดเลย นั่งสมาธิ บางคนก็พุทโธ บางคนก็ดูลมหายใจ ดูท้องพองยุบ อะไรกันอย่างนี้ครับ หรือกระทั่งบทสวดมนต์ก็มีเยอะแยะ เราจะเลือกอย่างไรครับ อันไหนเหมาะกับตัวเราหรือไม่เหมาะอย่างไรครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : รูปแบบของการปฏิบัตินั้นต้องดูก่อน ปฏิบัติมี ๒ ส่วนนะ ส่วนของสมถกรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้จิตสงบ แต่ส่วนของวิปัสสนากรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้เกิดปัญญา เราก็ดูเลือกอารมณ์เอา ถ้ายกตัวอย่างบางคนขี้โมโหนะ กรรมฐานที่เหมาะกับเราก็คือ จะให้จิตสงบก็เจริญเมตตานะ บางคนขี้โลภ โลภมาก ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะเจริญมรณสติก็ได้ ก็ใช้ได้ บางคนก็งก อยากตลอดเวลานะ หรือรักสวยรักงามมากนะ วันๆหนึ่งเสริมสวยลูกเดียวเลย เคยเห็นนกหงษ์หยกมั้ย สมัยก่อนเขาเลี้ยงกันเยอะนะ ต้องมีกระจกให้มันด้วยนะ มันจะเสริมสวย อย่างนี้อาจจะพิจารณาอสุภะนะ อย่างนี้ค่อยดูเอา คนไหนฟุ้งซ่านมากอาจทำอานาปานสติ อันนี้เป็นการเลือกสมถะนะ จิตสงบ

อีกอย่างหนึ่งก็ดู นิสัยของเราเป็นแบบไหน เป็นพวกรักสุขรักสบายรักสวยรักงามนะ หรือเป็นพวกคิดมาก ถ้าเรารักสุขรักสบายรักสวยรักงามนี่นะ ถ้าเราจะเจริญปัญญานะ เรามาดูกาย ร่างกายนี้ไม่สุขไม่สบายไม่สวยไม่งาม ถ้าเราเป็นพวกคิดมาก จิตใจว่อกแว่กๆตลอดเวลา คอยรู้ทันจิตไป

เพราะฉะนั้นเราก็เลือกเอานะ ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ ไม่มีดีไม่มีเลวแตกต่างกันหรอกนะ ใครถนัดพุทโธก็พุทโธไป พุทโธแล้วได้อะไร ถ้าพุทโธแล้วจิตสงบอยู่กับพุทโธก็ได้สมถะ ถ้าพุทโธแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทันก็จะได้จิตที่ตั้งมั่น

ก็จะดูลมหายใจก็ได้ ดูลมหายใจไป ถ้าจิตไปรวมเข้ากับลมหายใจนิ่งก็ได้ความสงบได้สมถะ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจรู้ทัน จะได้จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ขึ้นมา แล้วดูร่างกายหายใจต่อไปอีกก็ได้ เจริญปัญญาไปเลย เห็นเลยร่างกายที่หายใจอยู่นี้เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา นี่เดินวิปัสสนาเลยนะ อย่างนี้ก็ได้ อย่างอานาปานสตินี่น่ะทำได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาเลยนะ

ก็ดูเอาแต่ละคนไม่ดีไม่เลวแตกต่างกัน ชอบทะเลาะกันนะ แต่ละสำนักๆนะ แล้วก็ชอบเถียงกันว่าแบบไหนดีกว่าแบบไหน ไม่มีแบบอมตะถาวรสำหรับทุกๆคน ไม่มีหรอก ทางใครทางมัน ใครถนัดอะไรเอาอันนั้นแหละ แต่ถนัดนอนไม่เอานะ ยกเว้นสักอย่างเถอะ คนนอนบรรลุมรรคผลนิพพานมีมั้ย มี แต่ตามสถิติมีน้อยนะ เว้นไว้สักอิริยาบถหนึ่งก็แล้วกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๕๓ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : ขอเชิญร่วมบุญพิมพ์หนังสือ จันทร์ศรีผ่องเพ็ญ อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๘๐ พรรษา

หลวงปู่จันทร์ศรี

หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป

หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป กับครูบาอาจารย์

หลวงปู่จันทร์ศรี หลวงตามหาบัว

หลวงปู่จันทร์ศรี หลวงตามหาบัว

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญพิมพ์ หนังสือ “จันทร์ศรีผ่องเพ็ญ อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๘๐ พรรษา หลวงปู่จันทร์ศรี จันฺททีโป” วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เพื่อน้อมถวายเป็นอาจาริยบูชา และแจกเป็นธรรมบรรณาการ แด่ วัด พระสงฆ์ ห้องสมุด สถาบันการศึกษา รวมทั้งประชาชนผู้มีจิตศรัทธา เนื่องในโอกาสวันอายุวัฒนะครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

สามารถร่วมบุญได้โดยตรงกับทางวัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี หรือ

โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาอุดรธานี ชื่อบัญชี “กองทุนจัดพิมพ์หนังสืออนุสรณ์ 100 ปี หลวงปู่จันทรศรี จนฺททีโป” เลขที่ 401-3-16031-5 (ออมทรัพย์) ตั้งแต่วันนี้ – 10 ตุลาคมนี้

(สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนได้ โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ธนาคาร)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 042-242-914 , 08-9493-9230 เบอร์แฟกซ์ 042-211-558

รายละเอียดหนังสือ : หนังสือนี้เป็นการรวบรวมเนื้อหาที่สำคัญขององค์หลวงปู่ ได้แก่ ประวัติ ปฏิปทา ธรรมะ ผลงาน โดยจะมีขนาด A4 ความหนาประมาณ 500 หน้า

สำหรับผู้ที่อยากทราบประวัติโดยย่อของหลวงปู่ สามารถคลิกได้ที่ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20124

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ

(ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก dhammajak.net ครับ)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : ขอเชิญฟังธรรมเทศนาจาก พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ณ บ้านจิตสบาย ในวันที่ 11 ก.ย. 2554

ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังพระธรรมเทศนาจาก พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สำนักปฏิบัติธรรมสวนป่า จ.ชลบุรี

ในวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2554 เวลา 10.00-11.00 น.

ศาลาไตรสิกขา

ณ ศาลาไตรสิกขา บ้านจิตสบาย พุทธมณฑลสาย 2

รถประจำทางที่ผ่าน สาย 157, 123, ปอ.พ.79

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 02-448-3392 เวลาทำการ 9.00 – 18.00 น. หยุดวันพุธ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง, การเดินทางและแผนที่  >>

Dhammada News : แนะนำบ้านจิตสบาย แหล่งเรียนรู้และภาวนาโดยการเจริญสติ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ความคิดดับ-ไม่ดับ

ความคิดดับ-ไม่ดับ

ถาม : 1. ขณะตามรู้กายอยู่ จิตเผลอไปกับความคิด พอรู้สึกตัวก็ตามรู้ความคิดไป
ทำไมบางครั้งความคิดก็ดับไป แต่บางครั้งก็ไม่ดับครับ ?

ตอบ  : ถ้าความคิดไม่ดับ ก็ยังไม่เกิดสติครับ
แต่แม้จะดับเพราะเกิดสติแล้ว ก็อาจคิดต่อหรือหลงไปคิดเรื่องเดิมได้อีก

ถาม : 2. ต่อจากข้อ 1 ถ้าความคิดดับไป ผมควรทำอย่างไรต่อไปครับ?
และถ้าความคิดไม่ดับ ผมควรทำอย่างไรต่อไปครับ?

ตอบ : ถ้าความคิดดับ ขณะนั้นมีอะไรให้หัดรู้ได้ก็หัดรู้ต่อไป
ถ้าความคิดไม่ดับก็หัดดูจิตที่หลงคิดไป หรือถ้าจิตจะเปลี่ยนไปรู้อย่างอื่น
ก็ตามรู้สภาวะที่เป็นปัจจุบันไปครับ

ถาม : 3. ความคิดที่เราเผลอหลงไปทั้งหมด มีเหตุปัจจัยมาจากการกระทบทางอายตนะทั้ง 6 ใช่ไหมครับ ?

ตอบ : ที่เผลอหลงทั้งหมด เพราะจิตยังมีอวิชชาครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

mp3 (for download): รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

โยม : ถ้าเรารู้ สมมุติว่าเรารู้ว่าเราฟุ้งซ่านอยู่ เราโกรธอยู่ เราหงุดหงิดอยู่ เรารู้แล้วทำไมมันไม่หายไปสักทีล่ะคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : โอ้.. ถ้าอยากให้หาย ไม่หายหรอกนะ ความอยากเป็นต้นเหตุให้เกิดความทุกข์นะ ยิ่งอยากมากยิ่งทุกข์มาก ก็เอาอย่างที่หลวงพ่อสอนตะกี้นี้นะ ความโกรธเกิดขึ้นเราก็ดูไป ความโกรธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เราเป็นคนดูเฉยๆนะ ไม่ไปต่อต้านมัน ไม่ไปคล้อยตามมัน ต่อต้านมันก็คืออยากให้มันหายไป นี่สุดโต่งไปในข้างบังคับตัวเอง จะยิ่งเครียดหนักเลย ยกตัวอย่างโมโหขึ้นมาแล้วอยากหายโมโห มันไม่ยอมหายเลย โมโหตัวเองอีกที่มันโมโหไม่หาย เออ..นะ เลยยิ่งโมโหซ้อนโมโหไป อันนี้สุดโต่งไปในข้างทรมานตัวเองมากไป อีกพวกหนึ่งสุดโต่งตามใจกิเลส โมโหแล้วไปตีกับเขาเลย ลืมตัว ถูกกิเลสครอบเอา

เราเอาทางสายกลางนะ จิตมันโกรธก็เห็นเลย ความโกรธมันแยกขึ้นมา จิตเป็นคนดูนะ ความโกรธอยู่ต่างหาก ถ้าเห็นได้อย่างนี้นะ ความโกรธมันมาไม่ถึงจิตหรอก ศีล สมาธิ ปัญญา มันเกิดนะ ค่อยๆฝึกเอา ไม่ยากนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๔๙ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 41234