Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : รู้ – เห็น – ดู ในการภาวนา


รู้ – เห็น – ดู ในการภาวนา

ถาม : คำว่ารู้กับคำว่าเห็น ต่างกับคำว่า เห็น ต่างกันอย่างไรคะ ?

ตอบ : คำว่า รู้ – เห็น – ดู นั้น มีความหมายเหมือนกันครับ
แล้วแต่จะเลือกใช้คำไหนเพื่อให้การสื่อความทำได้ชัดเจน
ซึ่งความหมายของสองคำนี้คือ
เป็นการ “รู้สึก” ต่อสิ่งต่างๆที่จิตกำลังรับรู้อยู่อย่างมีสติไม่เพ่งและไม่เผลอหลงไป
(ไม่ใช่ใช้สายตามองดูครับ)
เช่น ถ้าจิตไปรับรู้อารมณ์ทางใจที่เป็นโทสะ โดยไม่เพ่งไม่เผลอหลงไปกับโทสะ
ก็จะพูดว่า “รู้จิตที่มีโทสะ” หรือ “เห็นจิตที่มีโทสะ” หรือ “ดูจิตที่มีโทสะ”
ถ้าจิตกำลังมีสติรับรู้ว่ามีร่างกายเคลื่อนไหว โดยไม่เพ่งไม่เผลอหลงไปกับโทสะ
ก็จะพูดว่า “รู้กายเคลื่อนไหว” หรือ “เห็นกายเคลื่อนไหว” หรือ “ดูกายเคลื่อนไหว” ครับ

ถาม  : โมโหก็รู้ ดีใจก็รู้ เห็นร่างกายยืนนั่ง ใจเราเป็นคนดู(ดูอย่างไรคะ) ?

ตอบ : ก็ดูแบบที่ดูอยู่ตามที่เล่าไว้ว่า
“เวลาโกรธก็รู้สึกตัวว่าโกรธแล้วนะ แล้วต่อมาครู่เดียวมันก็จางหายไป
อย่างเวลาดิฉันเดิน เห็นขาก้าวไปข้างหน้า รู้สึกว่าตัวเองเคลื่อนไปตามจังหวะ
หรือเวลาขับรถยนต์ เห็นมือกำลังหมุนพวงมาลัยอยู่”
ดูแบบนี้แหละครับถูกแล้ว

ถาม : แต่ทำไมดิฉันยังเห็นว่ามันเป็นตัวเราอยู่คะ ?

ตอบ : เพราะยังมีปัญญาไม่มากพอที่จะละความเห็นผิดว่ามีตัวเราครับ
ต้องเพียรเจริญสติเจริญปัญญาต่อไปอีกจนมีปัญญามากพอที่จะละความเห็นผิดได้ครับ

และในเมื่อตั้งใจไว้ดีแล้วว่า
“จะมุ่งสู่ทางแห่งการรู้แจ้งจริงๆ”
ก็ขออนุโมทนาด้วยครับ
แล้วก็ขอให้รู้แจ้งได้ตามที่ตั้งใจไว้นะครับ :D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 95 times, 1 visits today)

Comments are closed.