Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ทุกข์มี 3 อย่าง


ทุกข์มี 3 อย่าง

ร่ำเรียนมาได้ความว่า … “ทุกข์” มีสามอย่าง
(ไม่ทราบว่าจะมีมากกว่านี้หรือเ​ปล่า)
.
อย่างแรก “ทุกขเวทนา” ทุกข์ทางกายทางใจ
ทุกขเวทนาทางกาย เช่นกายมีความเจ็บ ปวด เมื่อย
ทุกขเวทนาทางใจ เช่นใจมีความเศร้าโศก เสียใจ ฯลฯ
ทุกขเวทนาแบบนี้แม้คนที่ไม่ภาวน​าก็เห็นได้เหมือนๆกัน
.
อย่างที่สองคือ “ทุกขัง” เป็นทุกข์
เป็นลักษณะของความถูกบีบคั้นให้​ทนอยู่ไม่ได้
ทุกข์แบบนี้จะเห็นได้ต้องหัดเจร​ิญปัญญาเท่านั้น
ถ้าเห็นความเป็นทุกข์นี้ได้ก็จะ​เกิดปัญญา (เห็นไตรลักษณ์)
ปล่อยวางความยึดถือกายได้ ปล่อยวางความยึดถือจิตได้
.
อย่างที่สามคือ “ทุกขสัจ” หรือ “ทุกขอริยสัจ”
คือทุกข์ที่เป็นชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ (ทุกขเวทนา) โทมนัส อุปายาส
ความไม่ประจวบกับสิ่งที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้
สรุปโดยรวมหรือโดยย่อคือ อุปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์นี้ เรียกง่ายๆ ก็คือกายกับจิตนี่เองที่เป็นตัว​ทุกข์
เป็นที่ตั้งของอุปาทาน (เป็นที่ตั้งความยึดมั่นถือมั่น​)
.
ชาวพุทธจะมีเป้าหมายอยู่ที่ ความพ้นทุกข์
ซึ่งจะพ้นทุกข์ได้ ก็ต้องหัดรู้หัดดูทุกข์ให้ถูกให​้เป็นกันก่อน
การหัดรู้หัดดูทุกข์เพื่อให้พ้น​ทุกข์ ก็คือ
ให้หัดรู้หัดดูกาย เวทนา จิต ดูธรรม (ที่เป็นสติปัฏฐานสี่)
ตามที่จะเห็นอะไรได้ชัดในขณะปัจ​จุบัน
การหัดรู้หัดดูกาย เวทนา จิต ธรรม
ไปตามที่จะเห็นได้ชัดในขณะปัจจุ​บันนี่แหละ
คือการ หัดรู้ทุกขอริยสัจ เมื่อรู้จนเกิดปัญญา
เห็นแจ้งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้
เห็นขันธ์เป็นตัวทุกข์ได้
ก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น​ในขันธ์ห้าลงได้.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 373 times, 1 visits today)

Comments are closed.