Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๔) เจริญสติ


Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอะไรมันก็ภาวนาได้นะ ยกเว้นเวลาที่ทำงานที่ต้องคิด กับเวลานอนหลับ นี่เรียกว่าเรามีความเพียรแล้ว เราปรารภความเพียรไปเรื่อย เราไม่ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลสไป ปรารภความเพียรแล้วเราก็ต้องมีสติ พัฒนาต่อไป พยายามมีสติให้มาก อะไรเกิดขึ้นในร่างกาย คอยรู้สึก อะไรเกิดขึ้นในจิตใจ คอยรู้สึก เนี่ยทางดำเนินต่อ

อันแรกมักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร แล้วก็มีสติ คอยรู้สึกอยู่ในกาย คอยรู้สึกอยู่ในใจ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ รู้สึกบ่อยๆ ดูสิ ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก จิตใจเคลื่อนไหว รู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวเช่น เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เดี๋ยววิ่งไปทางตา เดี๋ยววิ่งไปทางหู เดี๋ยววิ่งไปทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางใจก็วิ่งไปคิดบ้าง วิ่งไปเพ่งบ้าง

เพราะฉะนั้นจิตเคลื่อนไป เรารู้ทัน อย่างนี้ก็เรียกว่า เรามีสติอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหว เราก็รู้ทัน จิตใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เราก็รู้ทัน หัดให้มีสติมากๆ อย่าทอดทิ้ง สติสำคัญมาก พระพุทธเจ้ายกย่องว่าสติเป็นหนึ่งในสองของธรรมที่มีอุปการะมาก สติและสัมปชัญญะ สองตัวนี้ มีอุปการะมาก

สัมปชัญญะเป็นปัญญาเบื้องต้น ที่ทำให้เรารู้ว่า อะไรมีสาระ อะไรไม่มีสาระ ในบรรดาสิ่งที่มีสาระนั้น อะไรมีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์ ในสิ่งที่มีประโยชน์นั้น อะไรสมควรแก่เรา อะไรไม่สมควรแก่เรา พอรู้ว่าอะไรควรแก่เรา เช่น เราควรทำสมถะด้วยอานาปานสติ เราไม่หลงลืมอานาปานสติ เนี่ยเรียกว่ามีสัมปชัญญะ เราควรเจริญปัญญาด้วยการดูจิต สมมุติว่าต้องดูจิต เหมาะกับจริต เรารู้ว่าการดูจิตนี้สมควรแก่เรา เราไม่หลงลืมการดูจิต นี้ก็เรียกว่ามีสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ ๔ อย่าง รู้ว่าอะไรมีสาระ อะไรไม่มีสาระ ในบรรดาสิ่งที่สาระนั้น บางอย่างมีประโยชน์ บางอย่างไม่มีประโยชน์ ในบรรดาสิ่งที่มีประโยชน์ บางอย่างสมควรแก่เรา บางอย่างไม่จำเป็นกับเรา ยกตัวอย่างกรรมฐาน ๔๐ ไม่จำเป็นต้องทำทั้ง ๔๐ สติปัฏฐาน ๔ ไม่จำเป็นต้องทำทั้ง ๔ แต่ละคนมีจริตนิสัยที่แตกต่างกัน อะไรสมควรแก่เรา แล้วเราไม่หลงลืม เราทำสิ่งนั้นไปเรื่อย จิตใจไม่หลงลืมสิ่งนั้น เรียกว่า สัมปชัญญะ

สติเป็นตัวรู้ทันไป สัมปชัญญะก็คือไม่หลงลืมงานที่เราทำอยู่ นี่เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก หัดเจริญสติให้เยอะ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง การเจริญสตินั้นจำเป็นมาก เรามีสติรู้สภาวะทั้งหลายไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 143 times, 1 visits today)

Comments are closed.