Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๔) เจริญสติ

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๔) เจริญสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอะไรมันก็ภาวนาได้นะ ยกเว้นเวลาที่ทำงานที่ต้องคิด กับเวลานอนหลับ นี่เรียกว่าเรามีความเพียรแล้ว เราปรารภความเพียรไปเรื่อย เราไม่ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลสไป ปรารภความเพียรแล้วเราก็ต้องมีสติ พัฒนาต่อไป พยายามมีสติให้มาก อะไรเกิดขึ้นในร่างกาย คอยรู้สึก อะไรเกิดขึ้นในจิตใจ คอยรู้สึก เนี่ยทางดำเนินต่อ

อันแรกมักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร แล้วก็มีสติ คอยรู้สึกอยู่ในกาย คอยรู้สึกอยู่ในใจ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ รู้สึกบ่อยๆ ดูสิ ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก จิตใจเคลื่อนไหว รู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวเช่น เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เดี๋ยววิ่งไปทางตา เดี๋ยววิ่งไปทางหู เดี๋ยววิ่งไปทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางใจก็วิ่งไปคิดบ้าง วิ่งไปเพ่งบ้าง

เพราะฉะนั้นจิตเคลื่อนไป เรารู้ทัน อย่างนี้ก็เรียกว่า เรามีสติอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหว เราก็รู้ทัน จิตใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เราก็รู้ทัน หัดให้มีสติมากๆ อย่าทอดทิ้ง สติสำคัญมาก พระพุทธเจ้ายกย่องว่าสติเป็นหนึ่งในสองของธรรมที่มีอุปการะมาก สติและสัมปชัญญะ สองตัวนี้ มีอุปการะมาก

สัมปชัญญะเป็นปัญญาเบื้องต้น ที่ทำให้เรารู้ว่า อะไรมีสาระ อะไรไม่มีสาระ ในบรรดาสิ่งที่มีสาระนั้น อะไรมีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์ ในสิ่งที่มีประโยชน์นั้น อะไรสมควรแก่เรา อะไรไม่สมควรแก่เรา พอรู้ว่าอะไรควรแก่เรา เช่น เราควรทำสมถะด้วยอานาปานสติ เราไม่หลงลืมอานาปานสติ เนี่ยเรียกว่ามีสัมปชัญญะ เราควรเจริญปัญญาด้วยการดูจิต สมมุติว่าต้องดูจิต เหมาะกับจริต เรารู้ว่าการดูจิตนี้สมควรแก่เรา เราไม่หลงลืมการดูจิต นี้ก็เรียกว่ามีสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ ๔ อย่าง รู้ว่าอะไรมีสาระ อะไรไม่มีสาระ ในบรรดาสิ่งที่สาระนั้น บางอย่างมีประโยชน์ บางอย่างไม่มีประโยชน์ ในบรรดาสิ่งที่มีประโยชน์ บางอย่างสมควรแก่เรา บางอย่างไม่จำเป็นกับเรา ยกตัวอย่างกรรมฐาน ๔๐ ไม่จำเป็นต้องทำทั้ง ๔๐ สติปัฏฐาน ๔ ไม่จำเป็นต้องทำทั้ง ๔ แต่ละคนมีจริตนิสัยที่แตกต่างกัน อะไรสมควรแก่เรา แล้วเราไม่หลงลืม เราทำสิ่งนั้นไปเรื่อย จิตใจไม่หลงลืมสิ่งนั้น เรียกว่า สัมปชัญญะ

สติเป็นตัวรู้ทันไป สัมปชัญญะก็คือไม่หลงลืมงานที่เราทำอยู่ นี่เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก หัดเจริญสติให้เยอะ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง การเจริญสตินั้นจำเป็นมาก เรามีสติรู้สภาวะทั้งหลายไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การดูจิตที่ไหลไปคิด

การดูจิตที่ไหลไปคิด

ถาม : เวลาดูจิตผมจะเห็นจิตไหลไปคิดตลอดเวลา เลยอยากถามว่า พอรู้ว่าจิตคิดแล้วต้องหยุดคิดรึเปล่าครับ หรือปล่อยให้จิตเขาคิดต่อไปเรื่อย ๆ แล้วเราก็ตามดูจิตเขาคิดไป คิดเรื่องอะไรก็ตามรู้ไป เช่นจิตกำลังคิดถึงสาว ๆ พอเราเห็นว่าจิตคิดแล้วเราต้องหยุดคิดเรื่องสาว ๆ แล้วมาเริ่มต้นใหม่ รึเปล่าครับ หรือแค่รู้ว่าจิตคิดก็พอ แล้วจิตเขาจะคิดต่อก็เรื่องของเขา

ตอบ : ลักษณะแบบนี้ ผมเข้าใจว่า
จิตยังไม่มีกำลังที่จะเกิดสติหรือรู้สึกตัวขึ้นมาได้ แม้จะเห็นว่าจิตไหลไปคิด
ซึ่งตามหลักแล้ว พอรู้ว่าจิตไหลไปคิด ก็ควรที่จะเกิดสตหรือรู้สึกตัว
แล้วจะรู้สึกได้ว่าความคิดดับไปเองหรือขาดช่วงไปเองได้

คุณ น่าจะลองหาอะไรมาเป็นสิ่งให้จิตรู้ไว้เป็นหลักสักอย่างก่อน
เช่น อาจใช้ร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว
มาเป็นสิ่งที่ให้จิตรู้สึกว่ามีร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหวอยู่
แล้วใช้เป็นเครื่องสังเกตว่า ขณะที่เห็นจิตไหลไปคิด
จะไม่รู้สึกหรอกว่า มีร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหวอยู่ (ลืมตัวไป)
ถ้าสังเกตได้ว่าลืมตัวไปแล้ว จิตจะเกิดสติกลับมารู้สึกตัวได้
พร้อมๆกับเห็นว่า ความคิดดับหรือขาดช่วงไป

ซึ่งเมื่อเห็นว่าความคิดดับหรือขาดช่วงไปแล้ว
ก็ไม่ต้องไปแทรกแซงอะไรกับการคิด
รู้แล้วจะคิดต่อหรือไม่คิดต่อ จะคิดเรื่องเดิมหรือเรื่องใหม่
ก็ให้เป็นไปตามที่จะเป็นเอง ส่วนเราก็มารู้สึกอยู่กับร่างกายไปสบายๆ
แล้วค่อยไปรู้เอาใหม่ว่า เมื่อกี้หลงลืมตัวไป

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๓) ปรารภความเพียร

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๓) ปรารภความเพียร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่คลุกคลีแล้วไปทำอะไรต่อ หลักการวางตัวของเรา ขั้นต่อไปก็คือ ต้องปรารภความเพียร มีความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร คิดถึงการปฏิบัติ ปรารภความเพียร ถ้าจะปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม ก็คือ ปฏิบัติตั้งแต่ตื่นจนหลับ ถึงจะเรียกว่ามีความเพียรดี ถ้าทำบ้างไม่ทำบ้างไม่เรียกว่าปรารภความเพียร

แต่ว่าพวกเราอินทรีย์เบื้องต้นยังไม่เข้มแข็ง ให้ปฏิบัติตั้งแต่ตื่นจนหลับ ฟังแล้วก็ท้อใจละ แต่ขั้นสุดท้ายมันจะเป็นอย่างนั้นนะ ไม่ถึงขั้นของขั้นพระอรหันต์หรอก หมายถึงภาวนาไปเรื่อย จนกระทั่ง สติ สมาธิ ปัญญา มันอัตโนมัติขึ้นมา จะภาวนาทั้งวันแล้ว ภาวนาทั้งวันไม่มีแบ่งว่าเวลานี้เวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ต้องปฏิบัติ ไม่มีเลย มีแต่ว่าทุกเวลาคือเวลาปฏิบัติ แต่บางเวลานั้นจำเป็น ปฏิบัติไม่ได้ จะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่มีเวลาที่ไม่ต้องปฏิบัติ

นี่เราปรารภความเพียรนะ เรารู้เลยว่าชีวิตของเราเนี่ย ต้องปฏิบัติธรรม ในโลกก็มีของดึงดูดความสนใจเยอะแยะ แต่มันของชั่วครั้งชั่วคราว ธรรมะนั้นแหละ คือยกระดับจิตวิญญาณเรา ขึ้นไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นเป็นลำดับๆไป

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ อะไรมีสาระ อะไรไม่มีสาระ ถ้ารู้ว่าธรรมะมีสาระแล้ว ปฎิบัติแล้วนำความพ้นทุกข์มาให้จริงๆนะ พ้นทุกข์ได้จริงๆ เริ่มปฏิบัตินิดหน่อยก็เริ่มเห็นผลแล้ว ถ้าปฏิบัติถูกนะ นิดเดียวก็เห็นผล เดือน สองเดือน ก็เริ่มเห็นผลแล้ว นี่ขยันนะ นี่ปรารภความเพียร

พวกเรา คนไหนยังมีความรู้สึกบ้างว่า เวลาปฏิบัติก็คือเวลาที่เราไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม เวลานอกนั้นไม่ต้องปฏิบัติ ถ้ายังมีความรู้สึกชนิดนี้อยู่นะ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราไม่แบ่งแยกนะว่า ชีวิตเรามีสองส่วน ชีวิตที่ปฏิบัติกับชีวิตที่เถลไถล

เราตื่นมาเราก็รู้สึกตัวเลย ตั้งแต่ตื่นจนหลับคือเวลาปฏิบัติ เวลาหลับไปแล้วยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติ เพราะปฏิบัติไม่ได้ แต่ถ้าฝึกจนชำนาญนะ ตื่นหรือหลับนะ ภาวนาทั้งวันทั้งคืนเลยนะ อัตโนมัติไปหมดเลย เพราะฉะนั้นเวลานักปฏิบัติจริงๆเนี่ย ทั้งชีวิต เวลาทั้งชีวิต ทั้งวันเนี่ย เป็นเวลาปฏิบัติ ยกเว้นเวลาหลับ กับเวลาที่ต้องทำงานที่ต้องคิด ถ้าทำงานที่ใช้ร่างกายทำงานเนี่ย ก็เป็นเวลาปฏิบัติ

ยกตัวอย่างอยู่โรงงาน วันๆไม่ทำอะไรนะ หมุนอยู่แค่นี้ ขยับอยู่แค่นี้ รู้สึกตัวไปเรื่อยนะ เห็นร่างกายมันทำงานไปเรื่อย เมื่อก่อน หลายสิบปีไปแล้วนะ หลวงพ่อเคยดูหนัง ชาลี แชปลิน พูดถึงตอนปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ๆ คนนะกลายเป็นเครื่องจักร มีหน้าที่ขันน็อตนะ ไขอยู่อย่างนี้ ทั้งวันเลยนะ คนออกจากโรงงานมาก็เดินกันอย่างนี้นะ คนเป็นหุ่นยนต์ไปแล้ว เสียความเป็นมนุษย์ไป เนี่ย ถ้า ชาลี แชปลิน เจริญสติเป็นนะ จะเป็นพระอรหันต์คาโรงงานคาเครื่องจักรเลยนะนั่นน่ะ มันเห็นเลยร่างกายมันเคลื่อนไหวใจเป็นคนดู ขี้เกียจรู้ว่าขี้เกียจ ขยับ

เพราะฉะนั้นถ้าทำงานที่ใช้ความเคลื่อนไหวของร่างกายเนี่ย ปฏิบัติธรรมได้ แต่ถ้าทำงานที่ต้องคิดเนี่ยปฏิบัติไม่ได้ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องไปจดจ่ออยู่กับงาน ยกตัวอย่างนั่งเขียนซอฟต์แวร์นะ แล้วก็ตามองเห็นสักว่ามองเห็น นิ้วสัมผัสคีย์บอร์ดสักว่าสัมผัส เขียนอะไรไม่ได้หรอก

เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมก็คือ ปฏิบัติตั้งแต่ตื่นจนหลับ ยกเว้นเวลาที่ต้องคิด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : อกุศลจิตชอบคิดไม่ดีควรทำอย่างไร?

อกุศลจิตชอบคิดไม่ดีควรทำอย่างไร?

อกุศลจิตที่เกิดขึ้นแบบนี้ ถ้าเรามีสติรู้ทัน ไม่หลงไปทำอะไรที่ไม่ดีออกไป
ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นบาปหรอกครับ
แล้วก็ไม่ต้องดิ้นรนที่จะทำให้ความคิดอกุศลดับหายไป
แค่ให้มีสติรู้ทันจิตที่ชอบหลงไปคิดเรื่องอกุศลก็พอแล้วครับ
เมื่อรู้ทันมากขึ้น อาการที่จิตชอบหลงไปคิดอกุศลนี้จะค่อยๆหายไปเอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๑ สิงหาคม ๒๕๕๕)

    New Files Updated ประจำวันพุธที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ (สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕)

  • 550519B: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕
  • 550519A: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๒) ไม่คลุกคลี

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๒) ไม่คลุกคลี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การประพฤติปฏิบัติอีกตัวหนึ่ง ตัวที่สาม ไม่คลุกคลี วันๆหนึ่งรวมกลุ่มกัน เฮๆ ฮาๆ จะได้เรื่องอะไร บางคนก็รวมกลุ่มกันไปวัดนะ แต่เข้าวัดนี้ แล้วก็ออกจากวัดนี้ไปต่อวัดโน้น สนุกมากเลยวันๆนะ วันหนึ่งไปได้เก้าวัดยิ่งปลื้มใจ รวมกลุ่มกันไป บางทีก็ไปนั่งสมาธิรวมกัน ออกจากสมาธิแล้วก็เล่ากัน คนไหนเห็นอะไรบ้าง อะไรอย่างนี้ นี่คลุกคลีกัน

กระทั่งคลุกคลีกับนักปฏิบัติก็ต้องระวังนะ พากันเฮๆฮาๆ ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า ไม่วิเวก คลุกคลีมากไป เส้นทางนี้เป็นเส้นทางของคนกล้า เส้นทางของคนเดินคนเดียวได้ ถ้าเดินคนเดียวไม่กล้าไป กลัว ไม่กล้า หรือเหงา ไม่กล้าไป ไม่กล้าปฏิบัติ เนี่ยอ่อนแอมาก

การคลุกคลีกับหมู่คณะ ต้องเลือกคลุกคลี ท่านสอนเรื่องกัลยาณมิตร ท่านสอนไว้หลายอย่างนะ ให้คบบัณฑิต คบบัณฑิตก็ให้เสวนากับบัณฑิต เสวนาไม่ใช่แปลว่าคลุกคลี เข้าไปเรียนเข้าไปรู้นะ หรือเรามีหมู่เพื่อนปฏิบัติ สนทนากันเรื่องปฏิบัติ พอให้มีกำลังใจ ปลุกปลอบใจซึ่งกันและกัน แล้วต่างคนต่างลงมือปฏิบัติ ไม่คลุกคลีกัน

หลวงพ่อสมัยก่อน ไปเรียนจากครูบาอาจารย์ หาหลวงปู่ดูลย์ หาหลวงปู่อะไรก็ตามเถอะ พอเรียนธรรมะเสร็จปุ๊บ ไม่พิรี้พิไรเลย ไม่ขอนั่งชมบารมีนานๆ กราบเลย ผมจะกลับละ จะรีบไปปฏิบัติละ ไม่คลุกคลี มีกัลยาณมิตรนะ เพราะฉะนั้นมีกัลยาณมิตร เราเข้าไปเรียน เข้าไปศึกษา พอรู้แล้วเราก็ไม่ไปวุ่นวายอยู่กับใคร รีบภาวนา ถ้าประเภทตกเย็น ตกบ่าย ก็รีบนัดเพื่อน เฮๆฮาๆ ทุกวันๆ พวกคลุกคลี


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 5 of 512345