Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ทางสายกลางของจิต


mp 3 (for download) : ทางสายกลางของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิที่จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ที่จิตนั้นแหละ เป็นสมาธิที่สำคัญ แต่เราต้องไม่บังคับมัน ไม่บังคับให้มันตั้งอยู่ที่จิตนะ เอาแค่ว่ารู้ทันว่ามันไหล แล้วมันจะกลับมาพอดีๆ ถ้าเราจงใจให้มันไปตั้งอยู่ที่จิต มันจะตึงเครียดเกินไป

พระโพธิสัตว์ได้ยินพระอินทร์ดีดพิณ ๓ สายนะ ในตำราว่าอย่างนั้น สายที่ ๑ ตึงเกินไป สายพิณก็ขาด สายที่ ๒ นั้นหย่อนไป หย่อนเกินไป ไม่ไพเราะ สายที่ ๓ นี่พอดี ดีดแล้วไพเราะ มันก็คือการดำเนินของจิตนั่นแหละ

จิตที่หย่อนเกินไป ก็คือจิตที่ไหลไปหาอารมณ์ ไปเพลินอยู่กับอารมณ์ ยกตัวอย่างกระทั่งเรานั่งสมาธินะ แล้วจิตเคลิ้มเพลินกับอารมณ์ อันนั้นย่อหย่อนเกินไป ตามใจกิเลสแล้ว เวลาจิตไหลไปเพลินอยู่กับอารมณ์อันเดียวนะ มันมีความสุข มีความเพลินดเพลิน มีความพอใจ มีราคะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่เห็นอะไรจะติดอยู่กับสมาธิอย่างนั้นน่ะ เมื่อไรที่สมาธิเสื่อมนะจะอารมณ์ร้ายกว่าคนปกติ เพราะว่ามันสงบมันสบายมานาน พอมันเคลื่อนออกมากระทบโลกข้างนอก มันทนไม่ไหวเลย มันร้อนแทบจะระเบิดเลย นี่อย่างนี้เรียกว่าหย่อนไปนะ มันไหลออกนอกไป เพลิดเพลินไป ตามใจกิเลสไป

ส่วนสายพิณที่ว่าตึงเกินไป ก็คือบังคับกายบังคับใจตัวเอง ยกตัวอย่างพวกเราจะนั่งสมาธิเนี่ย ส่วนมากชอบนั่งบังคับตัวเอง บังคับไม่ให้จิตคิด ไม่ให้จิตนึก ไม่ให้จิตปรุง ไม่ให้จิตแต่ง ไม่ให้จิตเคลื่อน จะรักษาจิตให้นิ่งให้ว่างอยู่ตลอดเวลา อันนั้นตึงเกินไปนะ

เราต้องพอดีๆเอาแค่ว่าจิตเคลื่อนแล้วรู้ทัน จิตเคลื่อนแล้วรู้ทัน มันจะเกิดสมาธิที่พอดีๆ สมาธิที่พอดีเนี่ยนะ สภาวะของจิตเนี่ยมันจะตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัว จิตจะเบา จิตจะอ่อนโยน นุ่มนวล จิตจะคล่องแคล่วว่องไวในการเจริญปัญญา ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง ไม่ซึม ไม่ทื่อ จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งหลาย ทั้งรูปธรรมนามธรรมอย่างที่มันเป็นโดยไม่เข้าไปแทรกแซง นั่นแหละคือสภาวะที่มันเป็นทางสายกลางจริงๆของจิต

คำว่าทางสายกลาง ทางสายกลาง ไม่ใช่ทางข้างนอกที่ร่างกายดำเนินไป แต่มันคือทางที่จิตดำเนินไป
จิตต้องไม่หย่อนเกินไป ถ้าจิตหย่อนเกินไป จิตก็ไหลตามกิเลส หลงไปหาอารมณ์ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ จิตต้องไม่ตึงเกินไป ถ้าจิตตึงเกินไปก็บังคับกายบังคับใจ เช่นบังคับจะต้องนั่งไม่กระดุกกระดิกเลยนะ บังคับมากๆอะไรอย่างนี้นะ หวังว่าไม่กระดุกกระดิกได้แล้วจะดี ไม่กินได้แล้วจะดี ไม่นอนได้แล้วจะดี อันนี้บังคับกายมากไป บังคับจิตมากไปก็จะบังคับไม่ให้จิตคิด ไม่ให้จิตนึก ไม่ให้จิตปรุง ไม่ให้จิตแต่ง ไม่ให้จิตเคลื่อน ถ้าคิดจะห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนไปเลย ตึงเกินไป เพราะฉะนั้นเราไม่ห้ามนะ จิตจะเคลื่อนก็ได้ แต่เคลื่อนแล้วเรามีสติรู้ทัน

ห็นมั้ยว่าถ้าเราไม่รู้ทันก็หย่อนไป ถ้าเราบังคับไม่ให้เคลื่อนก็ตึงไป แต่ถ้ามันเคลื่อนแล้วเรามีสติรู้ทัน ตรงนี้แหละกลางๆ พอดีๆ จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมานะ รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อจิตตั้งมั่นเด่นดวงรู้เนื้อรู้ตัวได้แล้วเนี่ย มันจะตั้งอยู่กับจิต จิตเคลื่อนนิดเดียวก็เห็น จิตเคลื่อนนิดเดียวก็เห็น สภาวะมันจะคล้ายๆอย่างนี้นะ สมมุตินิ้วนี้ นิ้วชี้อันนี้ เหมือนเป็นจิตนะ เนี่ยจิตมันจ่อนะ พอมันเคลื่อนนะ เคลื่อนนิดเดียว สติมันเห็น มันเหมือนตั้งบนปลายเข็มนิดเดียว จิตขยับตัวกริ๊กเดียวนะ หลุดออกจากความรู้สึกตัว หลุดออกจากฐานนะ จะเห็นละ มันจะกลับมาตั้งของมันเอง แต่ถ้าบังคับนะ ไม่ให้ไปไหนเลย จับไว้ให้แน่นนะ ตึงเกินไป ถ้าหนีไปแล้วไม่รู้ หย่อนเกินไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๓
File: 550916
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 2,539 times, 1 visits today)

Comments are closed.