Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : อิริยาบถกับกิเลส


อิริยาบถกับกิเลส

เรื่องอิริยาบถกับกิเลสมันก็สัมพันธ์กันจริงๆ ครับ
แล้วบางทีก็เป็นเหตุเป็นผลที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดเอาเอง
เช่นนั่งหลังงอแล้วโมหะมาก (เพราะเริ่มนั่งด้วยความเกียจคร้าน
นั่งไปแล้วโมหะครอบง่าย)
หรือโมหะมากเลยนั่งหลังงอ (เพราะใจห่อเหี่ยว หลังก็เลยงอไปด้วย)
นั่งหลังตรงแล้วโมหะคลาย (เพราะฮึดสู้ ไม่ยอมจมอยู่กับความหดหู่ซึมเซา)
หรือรู้ว่ามีโมหะ โมหะจึงคลายแล้วนั่งหลังตรง

บางอิริยาบถเช่นการเดินจงกรม พอจิตเป็นสมาธิ จะตั้งมั่นได้นาน
บางอิริยาบถเจริญสติยาก เช่นอิริยาบถนอน
ท่านจึงสอนเรื่องเนสัชชิก คือการไม่นอน
โดยไม่เคยสอนเรื่องการไม่ยืน ไม่เดิน ไม่นั่ง

ดังนั้น อิริยาบถ อย่างไรก็เกี่ยวข้องกับจิตใจและกิเลสเหมือนกัน

คราวนี้มาถึงปัญหาโลกแตกที่ คุณ ถาม
คือเมื่อรู้ว่ามีโมหะ(สังขาร)แล้วควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือไม่
หรือจะสู้ตายจนชนะอยู่ในอิริยาบถเดิม
คำถามนี้คล้ายๆ กับคำถามของผู้ที่นั่งภาวนานานๆ จนปวดขา
แล้วสงสัยว่า ควรนั่งดูความเจ็บปวด(เวทนา) หรือควรเปลี่ยนอิริยาบถ

คำตอบก็คือทำได้ทั้งสองอย่างครับ
จะเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดสังขารที่ไม่ดี หรือลดเวทนาที่เป็นทุกข์
หรือจะอดทนจนชนะ ก็แล้วแต่ถนัดครับ
แต่ถ้าทนแล้วไม่ชนะ(โมหะ) มีแต่จะถูกครอบงำหนักขึ้นเรื่อยๆ
การถอยเสียหน่อย โดยเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้จิตมีกำลังต่อสู้ใหม่
ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรือเสียศักดิ์ศรีของนักปฏิบัติหรอกครับ
ที่สำคัญคือ ให้มีสติตามรู้โมหะหรือทุกขเวทนานั้น
อยู่ตลอดเวลาในขณะที่เปลี่ยนอิริยาบถ

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของ หลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน พุธ ที่ 1 มีนาคม 2543 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 56 times, 1 visits today)

Comments are closed.