Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เซ็นสอนอะไร?


เซ็นสอนอะไร?

เรามักได้ยินเสมอว่า ชาวเถรวาทบางคนชี้ว่า
เซ็นเน้นแต่ปัญญา ละเลยเรื่องศีลและสมาธิ

ความจริงเซ็นสอนให้เราเข้าถึง จิต หรือพุทธะภายในตัวเราเอง
ซึ่งผู้ที่ลืมตา ตื่น ต่อจิตของตนได้จริงๆ
จิตย่อมถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญา
เรียกว่ามีศีล โดยไม่ต้องรักษา
มีสมาธิ โดยไม่ต้องเข้าฌาน
และมีปัญญา โดยไม่ต้องคิด/อ่าน

ส่วนคนที่ยังเข้าไม่ถึง จิตอันเป็นพุทธะ
ยังจำเป็นต้องมีศีล เจริญสมาธิและปัญญา
ซึ่งถ้าเราศึกษาเรื่องในวัดเซ็น เราจะพบว่า
พระเซ็นมีการปฏิบัติไตรสิกขาเช่นกัน
แต่บางคราวภาพลักษณ์ของเซ็น ค่อนข้างเสียหาย
เพราะผู้ศึกษาเซ็นบางคน ศึกษาเซ็นเพื่อเอาไว้เป็นเครื่องมือของกิเลส
เช่นเมื่อจะทำกรรมชั่ว หลอกเด็กหลอกเล็ก หรือผิดลูกผิดเมียเขา
ก็อ้างว่า ตนทำด้วย “จิตว่าง”
คล้ายกับว่า ถ้าจิตว่างเสียอย่างเดียว ทำกรรมชั่วอย่างไรก็ได้
เพราะสักแต่ว่าเป็นกิริยา ไม่เป็นกรรม

ถ้าผู้ศึกษาเซ็นคนใด ทำผิดศีล ด้วย “จิตว่าง”
ก็แสดงว่า เขาไม่รู้จักจิตว่าง ไม่มีกระทั่งสติและสัมปชัญญะ
เพราะคนที่มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองจิตอยู่นั้น
จะทำกรรมชั่วในขั้นละเมิดศีล 5 ไม่ได้เลย
คนประเภทนี้ แม้จะอ้างว่าตนศึกษาหรือนิยมเซ็น เขายังไม่ใช่เซ็นที่แท้จริง
เพราะจิต ยังไม่ ตื่น จากอำนาจของกิเลสตัณหา

ถ้ามีสติสัมปชัญญะเป็นเครื่องปลุกจิตให้ ตื่นได้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเถรวาท หรือเซ็น ก็ย่อมมีศีล สมาธิและปัญญา
และทำชั่วไม่ได้ เหมือนๆ กันนั่นเอง

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน อังคาร ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 123 times, 1 visits today)

Comments are closed.