Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : จิตผู้แบกทุกข์


จิตผู้แบกทุกข์

ผมเองโดยจริตนิสัยเดิมก็เป็นพวกโทสจริตเหมือนคุณ
ไปไหนก็แบกความร้อนและความทุกข์ไปด้วย
แล้วนิสัยกังวลก็มีมากเหมือนกัน
จึงเข้าใจสภาวะของคุณได้เป็นอย่างดี
จุดที่ต่างกันมีเรื่องเดียวคือ
ตอนที่ลงมือปฏิบัติธรรมนั้น ผมทำโดยไม่กังวล ไม่หวังผล
แต่ทำไปด้วยเห็นว่าน่าสนใจ มีสิ่งแปลกใหม่ให้เรียนรู้อยู่เสมอ
การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องสนุก น่าสนใจ น่าติดตาม
มากกว่าจะเป็นภาระทางใจเหมือนเรื่องอื่นๆ

สิ่งที่เราแบกอยู่ แม้ว่าจะมีมากมาย
แต่รวมแล้วก็คือแบก “ตัวเรา” กับ “ของเรา” เท่านั้นเอง
และ “ของเรา” จะมีความหมายหรือถูกแบกไว้ ก็เพราะมี “ตัวเรา” เป็นแกนกลาง
ดังนั้น ผู้คนส่วนมากจึงพร้อมจะสละ “ของเรา” เพื่อรักษา “ตัวเรา”
เนื่องจาก “ตัวเรา” เป็นที่รักยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก
เช่นคนที่งกสุดๆ พอจะตายก็ยอมควักกระเป๋าเป็นค่ารักษาพยาบาล
หรืออย่างไฟไหม้บ้าน ยังไงก็ต้องทิ้งบ้านวิ่งหนีเอาตัวรอด
คงไม่มีใครห่วงบ้าน แล้วยอมตายอยู่กับบ้าน
(แต่ก็อาจจะมีข้อยกเว้นบ้าง เพราะสิ่งทั้งหลายมัน “ไม่แน่”)

“ของเรา” อาจจะเป็นครอบครัว ทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศ
ส่วน “ตัวเรา” ก็หนีไม่พ้นขันธ์ 5 นั่นเอง
และเมื่อพิจารณาละเอียดเข้าไปอีก
ขันธ์ 5 เว้นแต่จิตเสียแล้ว ก็ยังเป็น “ของเรา” อยู่อีก
เช่น กายของเรา ความทุกข์ความสุขของเรา
ความจำได้หมายรู้ของเรา ความคิดของเรา
คนที่เจ็บป่วย ยอมให้หมดตัดส่วนของร่างกายออก เพื่อให้ “เรา” รอดชีวิตอยู่
ดังนั้น เมื่อถึงคราวที่ยึดไม่ได้แล้ว กระทั่งขันธ์ของเราก็พอจะสละได้
ขอให้ “เรา” รอดก็แล้วกัน

“เรา” จริงๆ จึงอยู่ที่จิต นอกจากจิต ก็เป็น “ของเรา” ทั้งนั้น

แต่เมื่อปฏิบัติต่อไปอีก ก็จะพบว่า “จิตที่เป็นเรา” นั้น ยังสามารถจำแนกต่อไปได้อีก
คือ “ธรรมชาติรู้” อันหนึ่ง กับ “ความสำคัญหรือความเห็นว่าเป็นเรา” อีกอันหนึ่ง

ขณะที่เข้าถึง “ธรรมชาติรู้ หรือใจ” นั้น ยังไม่มีรถบรรทุก
แต่เมื่อใด นำ”ความสำคัญและความเห็นว่าเป็นเรา” บรรทุกเข้ามาในใจ
เมื่อนั้นแหละ รถบรรทุกข์ความทุกข์ ได้เกิดขึ้นแล้ว

จิตนี้เอง เป็นรถบรรทุก หรือเป็นภาชนะแบกหามความทุกข์
สิ่งแรกที่ยึดไว้ก็คือ “จิตเรา” ซึ่งก็คือ “ตัวเรา”
ถัดจากนั้นก็ยึด “ขันธ์ของเรา” ว่าเป็น “ตัวเรา” อีกอย่างหนึ่ง
แล้วขยายการยึดออกไปยังสิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ยิ่งแบกมากเท่าไร ทุกข์ก็ยิ่งหนักขึ้นเท่านั้น

ส่วนการจะปล่อยวางนั้น ไม่มีอะไรเกินกว่า “การเห็นตามความเป็นจริง”
และการที่พวกเราปฏิบัติธรรมกันนั้น ก็คือการฝึกให้เห็นตามความเป็นจริง
 เมื่อใดจิตเห็นความจริงแล้ว ถึงจะขอร้องให้แบกภาระไว้
จิตก็ไม่ยอมแบบไว้หรอกครับ
ดังนั้น เราปฏิบัติธรรม ก็ขอให้แค่ “รู้ ตามความเป็นจริง” ก็พอแล้ว
ไม่ต้องไปคิดถึงความปล่อยวาง หรือความหลุดพ้นใดๆ หรอกครับ

ที่คุณ เห็นว่า “โลกมันก็เป็นเท่านั้น   แม้ตัวเราเองมันก็เป็นเท่านั้น”
หรือ เห็นว่า “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป”
หรือใครจะเห็นอะไรก็ตาม ที่ทำให้จิตปล่อยวางได้
เอาเข้าจริง ก็คือ “การเห็นความจริงของไตรลักษณ์” นั่นเอง
ไม่หนีไปจากเรื่องของไตรลักษณ์หรอกครับ

โดยคุณ สันตินันท์  (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน อังคาร ที่ 25 มกราคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 230 times, 1 visits today)

Comments are closed.