Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เทคนิคการรู้


เทคนิคการรู้

ให้รู้ตามความเป็นจริงเท่าที่รู้ได้
ไม่ใช่ เจตนา และอยาก จะรู้ให้เกินกว่าที่สติปัญญาจะรู้ได้จริง
ให้ฝึกฝนพัฒนาสติสัมปชัญญะให้มาก
แล้วก็จะรู้ได้ว่องไว รู้ได้ละเอียด
และรู้ความจริงของจริงได้มากขึ้น โดยไม่ต้องฝืน

ขณะที่รู้อารมณ์ จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือธัมมารมณ์จริงๆ
ตรงนั้นจิตเพียงแต่รู้เท่านั้น ยังไม่เสพย์อารมณ์
จิตตรงนี้ยังเป็นอุเบกขาหรือเป็นกลางอยู่ตามธรรมชาติ

อย่าพยายามไปกำหนดจิตให้หยุดนิ่งลงตรงนี้เพื่อจะรู้แต่ปรมัตถ์นะครับ
เพราะกำหนดไม่ได้จริงหรอก
ตอนที่คิดจะกำหนดนั้น
จิตมันขึ้นวิถีใหม่ หรือขึ้นกระบวนการของจิตรอบใหม่แล้ว
ตรงนี้แหละที่ผู้เรียนตำราชั้นหลังปฏิบัติผิดกันมาก
กลายเป็นหลงคิดตามสัญญาเท่านั้น

จึงควรปล่อยให้จิตเขาทำงานไปตามธรรมชาติธรรมดา
คือเมื่อถัดจากรู้รูป เสียง .. ธัมมารมณ์ นั้น
จิตจะอาศัยความจำรูปได้ ความจำเสียง .. ธัมมารมณ์ได้
เอามาเป็นปัจจัยสนับสนุนความคิดนึกปรุงแต่ง
แล้วเกิดกิเลสตัณหาอุปาทานขึ้นตรงช่วงหลังนี้
ตามตำรารุ่นหลังเขาเรียกว่า “ชวนะ”
จิตก็จะเกิดกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกลางๆ บ้าง

แต่ตัวความคิดนึกปรุงแต่ง เช่นกิเลสตัณหา
และกลไกที่จิตแล่นไปก่อทุกข์ (ไม่ใช่เรื่องหรือเนื้อหาที่คิดนะครับ)
มันก็เป็นความจริงหรือปรมัตถ์ในฝ่ายนามธรรมของมันเหมือนกัน
ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้มันไปด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางไปเลย
 อันนี้ก็เป็นวิปัสสนาเหมือนกัน ในหมวดของ เวทนา จิต และธรรม

โดยคุณ สันตินันท์  (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันพุธ ที่ 13 กันยายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 73 times, 1 visits today)

Comments are closed.