Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๓)

แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๓)

๓. การเจริญสติปัฏฐาน

 เมื่อพวกเรามีเครื่องมือ หรืออาวุธในการปฏิบัติธรรมแล้ว

ขั้นตอนต่อไปผมจะแนะนำให้พวกเราเจริญสติปัฏฐาน

คือมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ กาย  เวทนา จิต และ/หรือ ธรรม

ตามความถนัดของแต่ละบุคคล

 

เช่นให้รู้อิริยาบถ รู้ความเคลื่อนไหวระหว่างการเดินจงกรม รู้ลมหายใจเข้าออก

เบื้องต้นถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ก็ให้รู้ไปอย่างสมถะ

คือเอาสติจดจ่อสบายๆ ลงในกายที่ถูกรู้นั้น

เมื่อจิตมีกำลังขึ้นแล้ว ก็ให้เห็นว่า อิริยาบถ ความเคลื่อนไหวกาย หรือลมหายใจนั้น

เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น ไม่ใช่จิต

มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานั้นเอง

 

เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว จิตจะมีกำลังสติสัมปชัญญะมากขึ้นอีก

หากนามธรรมใดปรากฏกับจิต ก็สามารถจะรู้เท่าทันได้

เช่นเกิดความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เกิดกุศล อกุศล ต่างๆ

ก็ให้รู้ทันนามธรรมนั้น ในลักษณะสิ่งที่ถูกรู้ เช่นเดียวกับการรู้รูปนั่นเอง

 

อนึ่ง คนไหนมีกำลังรู้นามธรรมได้เลย ผมมักแนะให้รู้นามธรรมไปเลย

หรือผู้ไม่ถนัดจะระลึกรู้นามธรรม

สมัครใจจะรู้รูปธรรมอย่างเดียว ก็ได้

 

เมื่อจิตรู้ รูปธรรม หรือนามธรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว

พอมีกำลังสติปัญญามากขึ้น ก็จะเห็นว่า

เมื่อจิตไปรู้รูปธรรมหรือนามธรรมต่างๆ แล้ว

จิตจะมีความยินดี ยินร้าย หรือเป็นกลางขึ้นมา

ผมมักแนะนำหมู่เพื่อน ให้ระลึกรู้ความยินดี ยินร้าย หรือความเป็นกลางนั้น

เมื่อจิตรู้ความเป็นยินดี ยินร้ายแล้ว ก็จะเห็นความยินดี ยินร้ายนั้น

เกิดดับเช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวงนั้นเอง

แล้วจิตปล่อยวางความยินดียินร้าย เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิต

 

ตอนแรกความเป็นกลางๆ จะมีสั้นๆ แล้วก็มีความยินดี ยินร้ายเกิดขึ้นอีก

ต่อมาชำนิชำนาญขึ้น จิตจะเป็นกลางมากขึ้นตามลำดับ

ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้อยู่ที่ความเป็นกลางของจิต

เมื่อจิตมีกำลังขึ้น ก็จะสามารถจำแนกขันธ์ละเอียดต่อไปจนเข้าถึง ใจ ได้

 

ในขั้นที่จิตเฝ้าระลึกรู้ความเป็นกลางนั้น

ปัญญาชนจะเกิดโรคประจำตัว  2 ประการเป็นส่วนมาก

คือ (1) เกิดความเบื่อหน่าย แล้วเลิกปฏิบัติ

หรือ (2) เกิดความลังเลสงสัย ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปอีกหรือไม่

แล้วเลิกปฏิบัติโดยการ รู้

หันมาคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วยการคิดเอา

 

แท้จริงเมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ที่ความเป็นกลางแล้ว ก็ให้รู้อยู่อย่างนั้น

แล้วจิตเขาจะพัฒนาของเขาไปเองเมื่อกำลังของ สติ สมาธิ ปัญญาสมบูรณ์เต็มที่

 

นี้เป็นข้อสรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมโดยสังเขป

ที่ขอฝากไว้ให้กับหมู่เพื่อนเพื่อประกอบการพิจารณาปฏิบัติต่อไป

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน ศุกร์ ที่ 7 มกราคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : จุดที่ยากลำบากของการปฏิบัติธรรม (๒)

จุดที่ยากลำบากของการปฏิบัติธรรม (๒)

เครื่องมือเดียวที่จะช่วยให้ จิตตื่น อย่างต่อเนื่อง

คือการเจริญสติปัฏฐาน

 

ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือสิ่งบางสิ่ง

เป็น เครื่องรู้ เครื่องอยู่ของจิต หรือเป็นวิหารธรรม

เพื่อกระตุ้นความรู้ตัวของจิตให้ต่อเนื่อง

จะใช้อะไรก็ได้ ตามความถนัดของแต่ละบุคคล

เพื่อให้รู้เท่าทันกายใจของตน อย่างเป็นธรรมชาติธรรมดาที่สุด

 

วิหารธรรมของจิต จะเป็นอะไรก็ได้ ในกาย เวทนา จิต ธรรม

เพราะจุดสำคัญของการเจริญสติปัฏฐาน

ไม่ได้อยู่ที่ว่า รู้สิ่งใด

หากแต่อยู่ที่ว่า รู้อย่างไร

หากรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ด้วยจิตที่เป็นกลาง ปราศจากความยินดียินร้าย ก็ใช้ได้ทั้งนั้น

เพราะทำให้มีสติสัมปชัญญะต่อเนื่อง พร้อมทั้งเจริญปัญญาไปด้วย

 

ฝากให้พวกเราสังเกตจิตใจของตนให้ดี

ว่าการทำความรู้ตัวอยู่นั้น มี 2 ลักษณะด้วยกัน

อย่างหนึ่งรู้ตัวแล้ว จิตนิ่งๆ รวมเข้ามา อัดเข้ามา หยุดอยู่ที่รู้

ลักษณะเช่นนี้จะเหมือนมีความรู้ตัวชัดเจน

โดยไม่เห็นความจงใจ หรือความตั้งใจ ที่จะรู้ตัวให้ชัดๆ

เหมือนมี รู้ อยู่ในรู้ อีกชั้นหนึ่ง

ความรู้ตัวชนิดนี้ยังใช้ไม่ได้

เพราะจิตล็อคตัวเองให้หยุดนิ่ง หรือเป็นการเพ่งจิตนั่นเอง

ไม่สามารถเจริญปัญญาได้จริง

 

ไม่เหมือนความรู้ตัวที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดา ไม่ได้จงใจจะรู้ตัว

หากแต่เจริญสติปัฏฐานไปเรื่อยๆ ไม่คาดหวังผล

เป็นลักษณะ รู้ อยู่ที่รู้ ไม่ใช่การเพ่งจ้องจิตผู้รู้

คือรู้ไปอย่างสบายๆ ถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ

แล้วหากจิตเกิดปฏิกิริยายินดียินร้ายขึ้นมา ก็รู้เท่าทันจิตตนเองไปเรื่อยๆ

ความรู้ตัวชนิดหลังนี้แหละครับ ที่จะเป็นทางแห่งปัญญาได้จริง

 

ใครที่รู้ตัวเป็นแล้ว ขอให้เจริญสติปัฏฐานกันเข้านะครับ

จะรู้การกระทบทางกาย เช่นเท้ากระทบพื้น หลังกระทบพนักเก้าอี้

มือกระทบเม้าส์ นิ้วกระทบคีย์บอร์ด นิ้วกระทบนิ้ว นิ้วกระทบก้อนกรวด

การกระพริบตา เอี้ยวตัว กลืนน้ำลาย

ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ขับถ่าย

การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้รส การได้สัมผัส

การไหวกายทั้งกาย การไหวกายบางส่วน

การเฝ้ารู้เวทนาทางกาย การเฝ้ารู้เวทนาทางใจ

การเฝ้ารู้ความเกิดดับของกุศลและอกุศลในจิต

การเฝ้ารู้ทันกลไกการทำงานของจิต ฯลฯ

 

เพียรรู้ให้เป็นปัจจุบัน ด้วยจิตที่สบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดาที่สุด

ลองดูให้ต่อเนื่องสัก 7 วัน ถ้าไม่ได้ผลก็ลองสัก 7 เดือน

ถ้ายังไม่ได้ผลอีก ก็ลองสัก 7 ปี

แล้วค่อยมาดูว่า

จะไม่ได้ผลอะไรดีงาม ขึ้นมาบ้างทีเดียวหรือ

 

7 ปีนั้นสั้นนิดเดียว สั้นกว่าฟ้าแลบเสียอีก

เมื่อเทียบกับเวลาที่เราเป็นเด็กจรจัด หลงทางในสังสารวัฏนี้

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อ วัน อังคาร ที่ 23 พฤษภาคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : จุดที่ยากลำบากของการปฏิบัติธรรม (๑)

จุดที่ยากลำบากของการปฏิบัติธรรม (๑)

การปฏิบัตินั้น เท่าที่ผมสังเกตมา

พบว่ามีจุดที่ยากลำบากอยู่ 2 จุดด้วยกัน

ใครผ่าน 2 จุดนี้ได้ การปฏิบัติก็จะค่อนข้างง่าย

เพราะจิตจะพัฒนาไปได้เอง

แต่ถ้าผ่านไม่ได้

ถึงปฏิบัตินานเพียงใด ก็ยากที่จะได้ผลอันน่าเย็นใจ

 

จุดแรกที่ยากลำบากมากก็คือ

จุดที่จะเปลี่ยนจากผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ

ให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ หรือรู้จักสติสัมปชัญญะ

จุดนี้ยากมาก เข้าขั้นยากแสนเข็ญทีเดียว

เพราะเท่ากับการปลุก จิตที่หลับไม่รู้ตื่นมาชั่วกัปป์กัลป์

ให้ลืมตาตื่นขึ้นมา

 

นักปฏิบัติเกือบทั้งหมด ในทุกๆ สำนัก

จะปฏิบัติไปด้วยจิตที่หลับฝัน

นั่งก็นั่งฝัน ยืนก็ยืนฝัน เดินก็เดินฝัน

เพราะอำนาจของโมหะครอบงำจิต

ซึ่งไม่ให้อะไรมากไปกว่าความสงบ

หรือปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกิดจากความสงบ

 

พระป่า ท่านจะปลุกจิตให้ตื่นด้วยการบริกรรมพุทโธ

หรือกำหนดลมหายใจ หรือการทำสมถกรรมฐานอื่นๆ

จนจิตรวมเป็นหนึ่ง

แล้วจับเอาจิตผู้รู้ ที่พ้นจากการครอบงำของโมหะออกมาได้

ซึ่งการจะสังเกตเอาจิตผู้รู้ออกมาได้นั้น

ไม่ใช่ทุกคนที่ทำสมถะจะทำได้

แต่จะต้องเป็นสมถะที่มีปัญญาสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องชี้นำเท่านั้น

สมาธิที่มีสัมมาทิฏฐิชี้นำ จึงจะเป็นสัมมาสมาธิ

หรือเป็นสมาธิที่เป็นไปเพื่อความมีสติสัมปชัญญะนั่นเอง

คือจิตจะมีสติรู้อารมณ์

และมีสัมปชัญญะรู้ตัวไม่เผลอตามอารมณ์ไป

ผลก็คือจะสามารถจำแนกอารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรู้

ออกจากจิตผู้รู้ได้ในที่สุด

อันจะเป็นฐานของการจำแนกรูปนามเพื่อการเจริญวิปัสสนาต่อไป

 

พวกเราชาวเมืองทำสมาธิยาก

ก็ยังมีวิธีที่จะปลุกจิตให้ตื่นด้วยปัญญา

คือใช้ความสังเกตกายใจของตนไปเลย

จนพบว่า กายก็ถูกรู้ เวทนา สัญญา สังขาร ก็ถูกรู้

หรืออย่างที่ผมพยายามไล่จี้พวกเรานั้น

วัตถุประสงค์ก็เพื่อกระตุ้นให้จิตตื่น

และรู้จักสติสัมปชัญญะนั่นเอง

 

เมื่อมีจิตที่ตื่น รู้ตัว มีสติและสัมปชัญญะแล้ว

ก็จะมาถึงจุดที่ยากลำบากที่สุดอีกจุดหนึ่ง

คือ ทำอย่างไร จิตที่ตื่นเป็นแล้ว

จะตื่นได้ต่อเนื่อง ไม่หลงหลับฝันอีก

 

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อ วัน อังคาร ที่ 23 พฤษภาคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : อาการของจิต

อาการของจิต

ทุกคราวที่มีอารมณ์มากระทบตา หู จมูก ลิ้น และกาย

แล้วส่งทอดความรู้สึกเข้าถึงใจ

หรือบางคราว แม้ไม่มีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

หากสัญญาผุดขึ้นทางใจ ความคิดนึกปรุงแต่งทางใจก็เกิดขึ้น

ซึ่งผู้ปฏิบัติสามารถรู้ได้ชัดเหมือนตาเห็นรูปทีเดียว

เมื่ออารมณ์เข้าสัมผัสใจแล้ว

จิตจะมีปฏิกิริยาอาการขึ้นมาเป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบ

นักดูจิตที่ชำนาญ จะรู้ทันปฏิกิริยา หรืออาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้น

 

ปฏิกิริยามีอยู่ 3 รูปแบบเท่านั้น คือเกิดความยินดีต่ออารมณ์นั้น

เกิดความยินร้ายต่ออารมณ์นั้น

หรือเกิดความรู้สึกเป็นกลางวางเฉยต่ออารมณ์นั้น

 

ขอให้ผู้ปฏิบัติ รู้อารมณ์และปฏิกิริยาของจิต ถ้ารู้ได้

แต่ถ้ายังรู้ไม่ได้ ก็ขอให้รู้อารมณ์อย่างเดียวไปก่อน

 

บรรดาความยินดี ยินร้ายนั้น เมื่อจิตไปรู้เข้าแล้ว

จะเห็นมันมีสภาพเป็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกับอารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 นั่นเอง

ถ้ารู้ด้วยความเป็นกลางจริงๆ ไม่ช้ามันก็จะดับไป

จิตจะเข้าถึงความเป็นกลาง

คราวนี้ ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้ความรู้สึกที่เป็นกลางนั้นต่อไป

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อ วัน พุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : จิตคิด กับ จิตรู้

จิตคิด กับ จิตรู้

เรื่อง “จิตคิด” กับ “จิตรู้”

ที่จริงถ้าเราแยกนามธรรมได้ชำนาญ เราจะไม่กล่าวถึง “จิตคิด” กับ “จิตรู้”

เพราะจิตนั้น มันมีคุณสมบัติหลายอย่าง ตั้งแต่ รู้สึก จำ คิด รับรู้ และเสพย์ อารมณ์

หากเราแยกนามได้ชำนาญ เราจะพบว่า คุณสมบัติแต่ละอย่างของจิตนั้น

ก็คือนามขันธ์ แต่ละตัวนั่นเอง

คือความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็คือเวทนา ไม่ใช่จิต

ความจำก็คือสัญญา ไม่ใช่จิต

ความคิดนึกปรุงแต่งก็คือสังขาร ไม่ใช่จิต

ความรับรู้ก็คือวิญญาณ ไม่ใช่จิต

เอาเข้าจริง สิ่งที่เราเรียกว่าจิต ก็ไม่ใช่จิต

 

แต่เพราะเราไม่รู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้ขันธ์แต่ละขันธ์เขาทำหน้าที่ของเขา

จึงไปยึดเอานามธรรมว่าเป็นจิตเรา แล้วให้มันร่วมมือกันทำงานจนหลอกเราได้

เช่นพอรู้ว่ามีความสุข ก็ยึดเอาว่า จิตสุข หรือเราสุข

ไม่ได้เห็นว่าความสุข ก็เป็นสิ่งภายนอก เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา

พอมีความจำได้หมายรู้ ก็ยึดว่าเราจำได้หมายรู้

ไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา

พอมีความคิดนึกปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นอกุศล กุศล และเป็นกลาง

ก็ว่าจิตเราดี จิตเราชั่ว จิตเราเป็นกลาง

ไม่เห็นว่าความคิดนึกปรุงแต่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา

พอมีความรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ว่าจิตเรารับรู้

ไม่เห็นว่าความรับรู้เป็นสภาพธรรมที่เป็นอิสระอยู่นอกเหนือการบังคับบัญชาของเรา

 

จิตนั้นอาศัย “จิตสังขาร” คือเวทนา สัญญา และสังขาร จึงรู้สึกว่าเป็นจิต

ขอเพียงปล่อยวาง นามขันธ์เสียให้หมด ไม่เห็นว่าเป็นเรา

ธรรมชาติรับรู้ล้วนๆ ก็จะปรากฏขึ้น

และธรรมชาติอันนั้น จะไม่มีความรู้สึกแม้แต่นิดเดียวว่า เป็นตัวเรา หรือจิตเรา

 

อย่าไปสำคัญว่า นี่คือจิตรู้ จิตคิด จิตจำ จิตเห็น

สิ่งเหล่านั้น เป็นการประกอบกันขึ้นของนามขันธ์เท่านั้นเองครับ

รักษาสติ สัมปชัญญะไว้ให้แจ่มใส ต่อเนื่อง

รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง

รูป และนาม เขาจะทำหน้าที่ของเขาไปตามเหตุปัจจัย ให้ดูต่อหน้าต่อตาทีเดียว

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

นโม วิมุตฺตานํ   นโม วิมุตฺติยา

ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

 

พระปริตต์คาถาทั้งสองวรรคข้างต้นนี้

พระป่าท่านรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี

และส่วนมากท่านจะบริกรรมกันเสมอ

เนื่องจากมีผลให้จิตใจอ่อนน้อม สงบ เยือกเย็น และกล้าหาญ

และเป็นพระปริตต์คาถาที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ นิยมบริกรรม

เพียงแต่คนวงนอกไม่ค่อยทราบกัน

จะทราบก็แต่ว่า พระป่าท่านนิยมบริกรรม พุทโธ เท่านั้น

 

พระปริตต์คาถานี้ไม่เกี่ยวกับไสยศาสตร์เวทย์มนต์คาถา

แต่เป็นการน้อมระลึกถึงท่านที่หลุดพ้นแล้ว

คือพระพุทธเจ้าตลอดถึงพระอรหันตสาวก รวมทั้งพระธรรม

ทำนองเดียวกับได้ระลึก พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ รวมกัน

 

ที่มาของพระปริตต์คาถาสองวรรคนี้มาจาก

โมรชาดก ทุกนิบาตชาดก พระสุตตันตปิฎก เล่ม 19

ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 มีเนื้อความดังนี้

 

                     ว่าด้วยนกยูงเจริญพระปริตต์

       [167] พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก

             เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก

             กำลังอุทัยขึ้นมาทอแสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพี

             เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

           ซึ่งทอแสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพี

           ข้าพเจ้าอันท่านช่วยคุ้มกันแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน

           พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึงฝั่งแห่งเวทในธรรมทั้งปวง

           ขอพราหมณ์เหล่านั้น   จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า

           และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

           นกยูงนั้น เจริญพระปริตต์นี้แล้วจึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร.

       [168] พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก

             เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก

             ส่องแสงสว่างไปทั่วปฐพีแล้วอัสดงคตไป

             เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

             ซึ่งส่องสว่างไปทั่วปฐพี

             ข้าพเจ้าอันท่านช่วยคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน

             พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึงฝั่งแห่งเวทในธรรมทั้งปวง

             ขอพราหมณ์เหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า

             และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

           ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

           นกยูงนั้นเจริญพระปริตต์นี้แล้วจึงสำเร็จการอยู่.

                       จบ โมรชาดกที่ 9.

 

คาถานกยูงนี้ สะท้อนสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างคือ

นกยูงเห็นพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกแล้ว

ระลึกถึงคุณของพระอาทิตย์ที่ให้แสงสว่าง

ขึ้นชื่อว่าพระอาทิตย์แล้ว มีชื่อว่า สุริยะ แปลว่ากล้าหาญ

เพราะแสงอาทิตย์นั้น ทำให้มนุษย์(และสัตว์กลางวัน) กล้าหาญ

ส่วน จันทะ หรือพระจันทร์ ทำให้เบิกบานใจ

 

ไม่เพียงระลึกถึงคุณของพระอาทิตย์

นกยูงยังนอบน้อมพราหมณ์ คือผู้ลอยบาปทั้งปวง

นอบน้อมพระพุทธเจ้าและพระโพธิญาณ

นอบน้อมผู้ถึงความหลุดพ้นแล้ว

และนอบน้อมต่อธรรมแห่งความหลุดพ้นด้วย

 

นกยูงแม้จะเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ก็ยังไม่รู้ธรรมและไม่มีโอกาสฟังธรรม

จึงไม่สามารถไตร่ตรองในธรรมเพื่อความหลุดพ้นได้

แต่นกยูงก็เจริญในธรรมอันหนึ่ง คือความนอบน้อมในสิ่งที่ควรนอบน้อม

ได้แก่นอบน้อมต่อธรรมชาติที่ทรงคุณ

นอบน้อมต่อบุคคลที่ทรงคุณ

และนอบน้อมต่อธรรม ทั้งที่ตนยังไม่มีส่วนแห่งธรรมนั้น

 

หลวงปู่มั่น ท่านเห็นความสำคัญของความนอบน้อมมาก

ท่านสอนว่า สมัยก่อนคนเราจะทำอะไร ก็ต้องตั้ง นโม เสียก่อน

นโม คือความนอบน้อม

โบราณถือว่าอักระ น + ม นี้ เป็นสัญลักษณ์ธาตุดินและน้ำ

อันเป็นธาตุของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดร่างกายของเรานี้ ให้มา

เมื่อมีกายแล้ว ก็ต้องมีใจ

คือเมื่อแผลง นโม ออกไป ก็จะเป็น มโน คือใจ

ซึ่งก็เป็นใหญ่ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง

เหมือนเป็นพ่อแม่ของธรรมทั้งปวงนั่นเอง

 

พึงทำใจของพวกเราให้มีความนอบน้อมในธรรม

แล้วน้อมสติสัมปชัญญะลงมาที่จิตใจของเราแต่ละคน

ระลึกถึงธรรมในจิตใจของตนอยู่เสมอ

จนใจกับธรรม เป็นสิ่งเดียวกัน

เพราะแม้แต่พระศาสดาของเรา

ท่านก็ยังมีธรรมในพระทัยของท่าน เป็นสรณะ เช่นกัน

 

นโม วิมุตฺตานํ   นโม วิมุตฺติยา

นโม วิมุตฺตานํ   นโม วิมุตฺติยา

นโม วิมุตฺตานํ   นโม วิมุตฺติยา

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน เสาร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง

จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง

เป็นการดีทีเดียว ที่พวกเรามีธรรมเป็นที่พึ่ง

อย่ายึดตัวบุคคลเป็นที่พึ่ง เพราะบุคคลนั้น อยู่กับเราตลอดไปไม่ได้

ส่วนพระธรรมนั้นแสดงตัวอยู่แล้วในจิตใจของเราเองทั้งวันทั้งคืน

ทั้งที่เป็นอกุศล ที่แสดงแล้วก่อทุกข์ก่อโทษให้เห็น ทั้งกุศล ที่แสดงแล้วก่อความสุขความสงบให้ ทั้งที่เป็นกลางๆ ไม่มีคุณไม่มีโทษ

ถ้ามีสติสัมปชัญญะก็สามารถเรียนรู้ธรรมแท้เหล่านี้ได้แล้ว ที่ผมแนะนำให้นั้น ก็คือการฝึกสติสัมปชัญญะ

 เป็นการให้เครื่องมือเอาไว้ฟังธรรมแท้ในใจตนเอง แล้วก็บอกทางว่า ให้เอาสติสัมปชัญญะเรียนรู้เข้ามาในกายในใจตนเองนี้แหละ ขณะนี้หมดหน้าที่ของผมแล้ว

 เป็นเรื่องที่พวกเราจะต้องฟังธรรมของจริงกันเองแล้วครับ ไม่มีใครจะมาทำกิจอันนี้แทนได้เลย นอกจากทำเอาเอง

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันวัน พุธ ที่ 22 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ธรรมอันมีอุปการะมาก

ธรรมอันมีอุปการะมาก

สติสัมปชัญญะ เป็นธรรมมีอุปการะมาก

เพราะเป็นเครื่องมือ ให้ได้สมบัติในสุคติและ นิพพาน

เสียดายแต่ผู้ปฏิบัติส่วนมาก ไม่มีสัมมาสติ

และไม่มีสัมปชัญญะคือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นตัวปัญญา

พูดง่ายๆ ก็คือขาดสติปัญญาในการปฏิบัติธรรม

จึงได้เพียงปฏิบัติตามๆ กันไป และไม่เห็นผลประจักษ์แก่ตนเอง

ว่าทุกข์น้อยลง และกิเลสตัณหาเบาบางลง

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เทคนิคในการรู้ตามความเป็นจริง

เทคนิคในการรู้ตามความเป็นจริง

ให้รู้ตามความเป็นจริงเท่าที่รู้ได้

ไม่ใช่ เจตนา และอยาก จะรู้ให้เกินกว่าที่สติปัญญาจะรู้ได้จริง

ให้ฝึกฝนพัฒนาสติสัมปชัญญะให้มาก

  แล้วก็จะรู้ได้ว่องไว รู้ได้ละเอียด

และรู้ความจริงของจริงได้มากขึ้น โดยไม่ต้องฝืน

 

ขณะที่รู้อารมณ์ จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือธัมมารมณ์จริงๆ

ตรงนั้นจิตเพียงแต่รู้เท่านั้น ยังไม่เสพย์อารมณ์

จิตตรงนี้ยังเป็นอุเบกขาหรือเป็นกลางอยู่ตามธรรมชาติ

 

อย่าพยายามไปกำหนดจิตให้หยุดนิ่งลงตรงนี้เพื่อจะรู้แต่ปรมัตถ์นะครับ

เพราะกำหนดไม่ได้จริงหรอก

ตอนที่คิดจะกำหนดนั้น

จิตมันขึ้นวิถีใหม่ หรือขึ้นกระบวนการของจิตรอบใหม่แล้ว

ตรงนี้แหละที่ผู้เรียนตำราชั้นหลังปฏิบัติผิดกันมาก

กลายเป็นหลงคิดตามสัญญาเท่านั้น

 

จึงควรปล่อยให้จิตเขาทำงานไปตามธรรมชาติธรรมดา

คือเมื่อถัดจากรู้รูป เสียง .. ธัมมารมณ์ นั้น

จิตจะอาศัยความจำรูปได้ ความจำเสียง .. ธัมมารมณ์ได้

เอามาเป็นปัจจัยสนับสนุนความคิดนึกปรุงแต่ง

แล้วเกิดกิเลสตัณหาอุปาทานขึ้นตรงช่วงหลังนี้

ตามตำรารุ่นหลังเขาเรียกว่า “ชวนะ”

จิตก็จะเกิดกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกลางๆ บ้าง

 

แต่ตัวความคิดนึกปรุงแต่ง เช่นกิเลสตัณหา

และกลไกที่จิตแล่นไปก่อทุกข์ (ไม่ใช่เรื่องหรือเนื้อหาที่คิดนะครับ)

มันก็เป็นความจริงหรือปรมัตถ์ในฝ่ายนามธรรมของมันเหมือนกัน

ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้มันไปด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางไปเลย

อันนี้ก็เป็นวิปัสสนาเหมือนกัน ในหมวดของ เวทนา จิต และธรรม

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน พุธ ที่ 13 กันยายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : จิตที่ถูกอาสวะห่อหุ้มเอาไว้

จิตที่ถูกอาสวะห่อหุ้มเอาไว้

จิตที่ถูกห่อหุ้ม จมแช่อยู่ในก้อนทุกข์นั้น ยังเป็นจิตที่เกิดในอบายภูมิ

จิตที่พ้นออกจากการจมแช่นั้น ก็คือจิตที่เกิดในสุคติภูมิระดับมนุษย์และเทวดา

จิตที่ลอยตัวขึ้นนั้น ก็คือจิตที่เกิดในพรหมโลก

ในขั้นแรกที่ปฏิบัตินั้น จิตยังผลุบโผล่อยู่ระหว่างอบายและมนุษย์/เทวดา

พอทำมากเข้า จิตก็ไม่ไปอบาย แต่มาอยู่ในภูมิมนุษย์/เทวดา

ทำมากเข้าอีก จิตก็ผลุบโผล่อีก

แต่เป็นการผลุบโผล่ระหว่างภูมิมนุษย์/เทวดากับพรหมโลก

ทำมากเข้าอีก ก็จะอยู่ในภูมิของพรหมโลก

ไม่กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์และเทวดา

 

การพัฒนาจิตไปตามลำดับนี้

จะพัฒนาไปด้วยการทำทาน รักษาศีล และทำสมถะก็ได้

แต่ทำแล้วยังเวียนลงได้อีก

แต่ถ้าจิตพัฒนาไปด้วยวิปัสสนา

ก็มีแต่จะเขยิบขึ้นไปตามลำดับ ไม่มีลงครับ

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน พุธ ที่ 22 พฤศจิกายน 2543

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : วิปัสสนาในอานาปานสติ

วิปัสสนาในอานาปานสติ

เมื่อแยกลมหายใจอันเป็นรูป ออกจากนามคือจิตผู้รู้แล้ว

ก็ให้ทำจิตใจให้สบาย รู้ลมหายใจไปเรื่อยๆ โดยไม่เผลอและไม่เพ่ง

ทำอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ถ้ามีสิ่งใดแปลกปลอมเข้ามาในจิต

เช่นขี้เกียจรู้ลมหายใจ หรือสงสัยว่าจะต้องรู้ลมหายใจไปถึงไหน

ก็ให้รู้ทันสิ่งแปลกปลอมนั้น จนมันดับไป

แล้วก็มารู้ความเกิดดับของลมหายใจต่อไปด้วยจิตที่สบายๆ เป็นกลางๆ ต่อไปอีก

 

ทำมากเข้า บางคราวจิตก็พักสงบ รู้ อยู่เฉยๆ บ้าง

บางคราวจิตจะเกิดปัญญา พิจารณาธรรมไปเองบ้าง

เช่นเห็นลมเข้าออกไปช่วงหนึ่ง จิตก็เฉลียวใจว่า

ชีวิตมันก็แค่นี้เอง ลมเข้าแล้วไม่ออกก็ตาย ลมออกแล้วไม่เข้าก็ตาย

หรือเห็นว่าชีวิตเป็นของเปราะบาง กว่าจะเกิดมาแล้วตัวโตเท่านี้ใช้เวลาตั้งนาน

แต่พอหยุดหายใจไม่กี่ชั่วโมงก็ตัวแข็งและเน่าเสียแล้ว ฯลฯ

ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ รู้แล้ววางเสีย คือรู้แล้วก็ไม่ต้องไปคิดต่อ

ให้กลับมารู้ลมหายใจด้วยความมีสติสัมปชัญญะต่อไป

 

ปฏิบัติธรรมอย่าเอาหลายอย่างครับ จะรู้ลมหายใจ ก็ให้รู้เรื่อยไป

ไม่ใช่วันนี้รู้ลมหายใจ พรุ่งนี้ไปรู้เวทนา มะรืนไปรู้การไหวกาย

เอาให้รู้กรรมฐานอันเดียวคือลมหายใจยืนพื้นไว้

แต่หากจิตเขาจะไปรู้สิ่งอื่นเป็นครั้งคราวก็แล้วแต่เขา

เพียงแต่เราอย่าจงใจพาเขาสัญจรไปทำกรรมฐานอย่างนั้นที อย่างนี้ที

เมื่อเขาไปรู้สิ่งใดแล้วก็แล้วกันไป

สุดท้ายก็กลับมารู้ลมหายใจต่อไปอีก

เพราะเราจะใช้ลมหายใจเป็นวิหารธรรมของเรา

 

เมื่อเจริญสติสัมปชัญญะด้วยจิตที่เป็นกลางมากเข้าๆ

วิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้จงใจ

ตรงจุดนี้ก็สำคัญครับ บางคนปฏิบัติไปแล้ว จู่ๆ ก็สรุปเอาว่า

เวลานี้เราน่าจะรู้ธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว เพราะปฏิบัติมาพอสมควรแล้ว

และก็ได้ฟังธรรมจนเข้าใจแล้วว่า ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์

 

จิตที่เกิดมรรคเกิดผลนั้น มันมีสภาวะของมันอยู่ครับ

คือจิตจะตัดกระแสการเจริญปัญญาเข้าสู่ภวังค์

แล้วจึงเกิดอริยมรรคซึ่งเป็นปัญญาญาณอันประกอบด้วยฌานขั้นหนึ่งอันใด

เป็นเส้นแบ่งแดนระหว่างปุถุชนกับพระอริยบุคคลที่ชัดเจน

 

เราต้องระวังอย่าให้เป็น พระอริยะน้อม พระอริยะนึก ขึ้นได้นะครับ

เพราะถ้าไม่ได้เป็นแล้วคิดว่าเป็น

ถ้าไม่มีใครแก้ให้ บางทีก็สำคัญผิดอยู่จนตลอดชีวิตก็มี

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน อังคาร ที่ 28 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : จิตเหมือนเด็กที่ชอบหนีเที่ยว

จิตเหมือนเด็กที่ชอบหนีเที่ยว

จิตก็เหมือนเด็กซนๆ นั่นเอง เวลาที่ผู้ใหญ่(มีสติ)คอยดูอยู่ ก็ไม่หนีไปไหน
ถ้าผู้ใหญ่มีงานยุ่ง หรือเจ็บไข้ได้ป่วย เด็กมันก็หนีเที่ยวเป็นธรรมดา
บางทีเด็กก็ไปเล่นคลุกฝุ่นมอมแมม
เล่นไปเล่นมา บางทีก็เจ็บตัวกลับมาบ้าน

จิตที่มันชอบหนีเที่ยวนั้น
ถ้าวันหนึ่งมันรู้ว่าไปแล้วจะเป็นทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง
แต่วันนี้ปัญญาของจิตยังไม่พอที่จะเห็นทุกข์
จิตก็ยังพอใจที่จะไปเที่ยวอยู่

การจะจัดการกับจิตนั้น ก็เหมือนจัดการกับเด็ก
คือจะหักหาญกับเขาด้วยกำลังไม่ได้
ต้องรู้จักขู่ ต้องรู้จักปลอบ ต้องรู้จักชม ต้องรู้จักให้รางวัล
ตรงนี้มีอุบายสารพัดที่จะจัดการได้

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน พุธ ที่ 22 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เล่าเรื่องพระอาจารย์สิงห์

เล่าเรื่องพระอาจารย์สิงห์

หลวงปู่ดูลย์ ท่านเคยเล่าเรื่องเกี่ยวกับ ท่านอาจารย์สิงห์ ไว้หลายเรื่องครับ

ท่านทั้งสององค์ได้พบกันที่จังหวัดอุบลราชธานี

  ซึ่งยุคนั้นเป็นสำนักเรียนสำคัญของสงฆ์ทางอีสาน

  และท่านอาจารย์สิงห์ เป็นครูสอนเด็กนักเรียนด้วยทั้งที่ท่านเป็นพระ

 

ต่อมาท่านได้ข่าวท่านพระอาจารย์มั่น กลับมาจังหวัดอุบลฯ

จึงพากันไปฟังธรรม แล้วลงมือปฏิบัติกัน

ไม่นานนัก วันหนึ่งขณะที่หลวงปู่สิงห์สอนนักเรียนอยู่

ท่านเกิดมองเห็นนักเรียนทั้งชั้นเป็นโครงกระดูกนั่งกันเต็มห้อง

จิตท่านเกิดความสลดสังเวช และกล่าวอำลานักเรียน ลาออกจากการเป็นครู

จากนั้นทั้งหลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ดูลย์ก็พากันออกธุดงค์ไปเลย

มีคณะที่ออกธุดงค์เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นรุ่นแรก

รวมทั้งหมด 5 องค์ด้วยกัน

 

ท่านอาจารย์สิงห์ เป็นผู้มีกำลังความสามารถในการสั่งสอนกว้างขวางมาก

เป็นกำลังหลักช่วยท่านพระอาจารย์มั่น จนพระป่าเรียกท่านว่า

“ท่านอาจารย์ใหญ่สิงห์”

(เหมือนที่เรียก “ท่านอาจารย์ใหญ่เสาร์” “ท่านอาจารย์ใหญ่มั่น”

  แต่บางทีท่านเรียก “พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น”)

ทั้งนี้เพราะท่านอาจารย์สิงห์สร้างบารมีมาในทางเป็นผู้นำเวไนยสัตว์ข้ามภพข้ามชาติ

จึงมีบารมีในทางสั่งสอนมาก

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่  6 ส.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเราอยู่กับธรรมะ ธรรมะก็อยู่กับเรา

mp 3 (for download) : ถ้าเราอยู่กับธรรมะ ธรรมะก็อยู่กับเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาฟังธรรมนะ ฟังธรรมมันก็มีแรงขึ้นมาอีกช่วงนึง ห่างครูบาอาจารย์ไปไม่เกินอาทิตย์นึงหรอกโดยปกติ ก็หมดแรงไป เพราะโลกมันดึงดูดไป

แต่ถ้าเรามีข้อวัตรปฏิบัติของเรานะ มีระเบียบวินัย ทุกวันเราทำในรูปแบบบ้าง ไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิเดินจงกรมอะไรนี้ แบ็ตเราก็เสื่อมช้าหน่อย

แต่ถ้าเราห่างธรรมะนะ เหมือนมือถืออยู่ห่างเบสมากเลย ใช้พลังงานเยอะ แป๊บเดียวก็แบ็ตหมด ถ้าเราอยู่ใกล้กับธรรมะนะ เหมือนเราถือเครื่องมือถืออยู่ติดกับเสามันเลย ใช้พลังงานน้อย อายุยืนขึ้น

งั้นเราอยู่กับธรรมะนะ ธรรมะก็อยู่กับเราได้ยาวหน่อย ถ้าเราทิ้งเลย เราไปอยู่กับโลก ธรรมะก็หายไปอย่างรวดเร็ว พอโลกมาธรรมะก็ไป พอโลกไปแล้วนะ ธรรมะมา

ความจริงนึกว่าธรรมะวิ่งไปวิ่งมา พอปัญญาแก่รอบนะ พบว่าธรรมะอยู่คงที่ แต่เราไม่เห็น ธรรมะอยู่ต่อหน้าต่อตาตลอดเวลา ไม่เคยไปไหนเลย แต่เราไม่เคยเห็น ค่อยฝึกนะ เราก็ลืมตาตื่นขึ้นกับปัจจุบัน เห็นธรรมะที่อยู่ต่อหน้าต่อตา ซึ่งไม่เคยหายไปไหนเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๘
File: 510427B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เพียรรู้ผัสสะเพื่อพ้นทุกข์

เพียรรู้ผัสสะเพื่อพ้นทุกข์

การปฏิบัตินั้น ในช่วงแรกจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก

เพราะเรายังไม่เคยรู้เห็นว่า ปฏิบัติแล้วจะมีประโยชน์อย่างไร

ต่อเมื่อเริ่มเห็นผลบ้างแล้ว เช่นสติในชีวิตประจำวันดีขึ้น

เห็นกิเลสตัณหาได้ไว และละเอียดยิ่งขึ้น

ปล่อยวางความอยากและความยึดได้เร็วขึ้น ทำให้ทุกข์น้อยและสั้นลง

สิ่งเหล่านี้ จะเสริมกำลังใจในการปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเป็นลำดับ

 

การที่เราคอยรู้ ความรู้สึก ที่เท้ากระทบ(ผัสสะ)พื้น

หรือหลังกระทบพนักเก้าอี้

ตัวความรู้สึก หรือความรับรู้การกระทบ นั่นแหละ คือ วิญญาณทางกาย

มันเป็นวิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่หยาบที่สุด

คือการกระทบ(ผัสสะ)ของกายกับวัตถุภายนอก สังเกตได้ง่ายที่สุด

และเอื้อที่จะให้เรารู้ทันจิตใจตนเองต่อไปได้ง่ายๆ

เพราะจิตกับวิญญาณ นั้น ทางปริยัติท่านก็จัดว่าเป็นสิ่งเดียวกันอยู่แล้ว

แต่ในทางปฏิบัติ เราจัดว่า วิญญาณ เป็นตัวรู้การกระทบ

ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ส่วนจิต เป็นตัวที่รู้แล้วเสพย์อารมณ์

เกิดกิเลสตัณหา เกิดความยินดียินร้าย ต่อจากการกระทบ

เมื่อจับต้นทาง คือความรู้สึกที่กระทบได้แล้ว

ก็ไม่ยากที่จะสังเกตเห็นการทำงานของจิตในลำดับต่อไปได้

จนรู้ชัดว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดกับจิต ล้วนแต่เป็นไตรลักษณ์

จิตเองก็เป็นไตรลักษณ์

และรู้ชัดว่า จิตอยากก็ทุกข์ ไม่อยากก็ไม่ทุกข์

จิตที่อบรมจนฉลาดแล้วนั้นเอง จะถอดถอนตนเองออกจากกองทุกข์ได้

 

ในทางปฏิบัตินั้น เบื้องต้นเราอาศัยการกระทบ(ผัสสะ)

เป็นเครื่องกระตุ้นสติสัมปชัญญะของตนให้เข้มแข็งขึ้น

เพราะการที่จิตรู้การกระทบอย่างเดียวโดยต่อเนื่อง

ก็คือการเจริญสัมมาสมาธิอย่างหนึ่ง

เมื่อเรามีสติรู้การกระทบ มีสัมปชัญญะรู้ตัวไม่เผลอ ดีแล้ว

การกระทบต่อไปนั้น ก็คือการเจริญสติปัฏฐาน

คือการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง

จะเห็นชัดว่ากายไม่ใช่เรา อารมณ์ต่างๆ ไม่ใช่เรา

ถึงจุดหนึ่งก็จะเห็นชัดว่า จิตเองก็ไม่ใช่เรา

 

การปฏิบัติไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ใช่เรื่องลึกลับ

ในเบื้องต้นที่ศึกษา อาจจะยากลำบากบ้าง เพราะเป็นเรื่องไม่เคยชิน

ต้องอดทนต่อการเคี่ยวเข็น และความผิดหวังบ้าง

แต่ความผิดพลาด แล้วพยายามใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำอีกนั้นเอง

จะเปิดใจของผู้ปฏิบัติที่อดทนได้ ให้ปฏิบัติถูกและมองเห็น ธรรม

ธรรม ซึ่งมีอยู่แต่ไหนแต่ไรแล้ว

เพียงแต่เราไม่เคยเห็นเท่านั้นเอง

 

พยายามต่อไปครับ แต่อย่าอยาก

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันจันทร์ ที่ 15 พฤษภาคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : การปฎิบัติในรูปแบบ

การปฎิบัติในรูปแบบ

การนั่งสมาธิ เดินจงกรม ทำวัตรสวดมนต์

ไม่จำเป็นนักกับคนที่มีสมาธิ และมีสติสัมปชัญญะต่อเนื่องอยู่ในชีวิตประจำวัน

แต่คนส่วนมาก ไม่ได้มีสมาธิและสติสัมปชัญญะจริงนะครับเจื้อย

การปฏิบัติธรรมตามรูปแบบ จึงจำเป็นสำหรับคนบางคน

แต่ก็เป็นเครื่องรุงรังสำหรับคนบางคน ที่เขาพร้อมมากแล้ว

 

อาจะยกตัวอย่างให้ฟังท่านหนึ่ง คือหลวงพ่อทูล

ในขณะที่ท่านเข้าถึงธรรมนั้น ท่านได้ฌาน 8 โดยอัตโนมัติด้วย

เพราะท่านอบรมสมาธิจิตมาดีแล้วตั้งแต่อดีต

เพียงทำความสงบนิดหน่อย ท่านก็สามารถมีสติปัญญาอยู่ในชีวิตประจำวัน

แล้วพัฒนาจิตใจไปได้อย่างน่าอัศจรรย์

แต่คนอื่นที่จะเอาอย่างท่านนั้น ลำบากสักหน่อยครับ

เพราะแทนที่จะเป็นการเจริญปัญญาจริงๆ ในชีวิตประจำวัน

ก็อาจจะกลายเป็นการคิดๆ เอา แล้วกิเลสหลบในอยู่เฉยๆ ได้ง่ายๆ

 

สมาธินั้นจำเป็นสำหรับการบรรลุมรรคผลครับ

ถ้ายังไม่มีก็ต้องทำให้มี

ถ้ามีแล้วก็ต้องรู้จักใช้ประโยชน์เพื่อหนุนปัญญา

ให้ฉลาดแหลมคมขึ้นไปเป็นลำดับๆ

แต่การทำสมาธิหรือปฏิบัติธรรมตามรูปแบบ

สำหรับคนที่หลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงได้แล้ว

ก็ไม่มีความสำคัญมากนัก

เพราะในขณะที่เจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น

หากจิตฟุ้งซ่าน หรือต้องการพักในสมาธิ

ผู้ปฏิบัติก็สามารถกำหนดจิตเข้าพักในความสงบได้เป็นระยะๆ ไป

ซึ่งก็คือการทำสมาธินั่นเอง แต่ไม่ได้ทำให้คนอื่นเห็นได้เป็นรูปธรรม

เพราะเป็นงานภายในล้วนๆ ทีเดียว

 

อาเคยอ่านธรรมะของคุณ XXXX แล้วรู้สึกถึงใจมาก

จึงนำมาให้ได้อ่านด้วย ดังนี้

ขอทุกย่างก้าว จงเป็นโอกาสแห่งการเดินจงกรม

ขอทุกลมหายใจ จงเป็นโอกาสแห่งการเจริญสติ

ขอทุกคำพูด จงเป็นโอกาสแห่งเมตตาและสัจจะ

ขอทุกความคิดและการกระทำ จงเป็นสัมมาทิฏฐิ

 

ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็ไม่ต้องพูดถึงการปฏิบัติตามรูปแบบ

ถ้ายังไม่ได้อย่างนี้ การทนๆ ทำตามรูปแบบ ก็มีประโยชน์มากเช่นกัน

อาจึงไม่อาจสรุปชี้ขาดไปทางใดทางหนึ่งตามที่ต้องการได้

ว่าการปฏิบัติตามรูปแบบ จำเป็นหรือไม่

อย่างพระหนุ่มเณรน้อยตามวัดป่านั้น

ถ้าไม่มีกิจวัตรต้องทำวัดสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม

ก็อาจจะไม่ปฏิบัติเลยก็ได้

เพราะยังไม่มีฉันทะที่จะปฏิบัติเองโดยไม่ถูกบังคับ

 

หรืออย่างพวกเราส่วนมาก มีสิ่งดึงดูดไปทางโลกมาก

ถ้าบังคับตนเองให้ทำกิจวัตรหรือปฏิบัติตามรูปแบบไว้บ้าง

จะช่วยเสริมกำลังใจได้มากครับ

มิฉะนั้นก็จะขี้เกียจปฏิบัติ

แต่ปลอบใจตนเองว่า เราปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน

 

เราหลอกตนเองได้ แต่หลอกกิเลสไม่ได้หรอกครับ

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน จันทร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : แก่นของการปฎิบัติธรรม

แก่นของการปฎิบัติธรรม

การทำสมาธิ จะนั่งท่าไหนก็ได้ จะลืมตาหรือหลับตาก็ได้

แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล ไม่ใช่ต้องนั่งท่านั้น หันไปทิศนี้ ฯลฯ

หรือการเดินจงกรม ก็คือการก้าวไปอย่างมีสติ

ให้เราสนใจแก่นคือการมีสติขณะที่เดินอยู่ทุกย่างก้าว

เพราะการเดินจงกรม ไม่ได้หมายถึงการเดินเหม่อกลับไปกลับมา

แต่ทุกย่างก้าวจะต้องมีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่เสมอ

ถึงอยู่ในอิริยาบถอื่น ก็ต้องมีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่เสมอเช่นกัน

ส่วนการสวดมนต์ไหว้พระ ก็ต้องไหว้ให้ถึงใจ

คือระลึกถึงพระรัตนตรัยด้วยความมีสติ มีความสงบเบิกบาน

ไม่ใช่นั่งท่องปาวๆ ไปเฉยๆ แบบเด็กท่องอาขยาน

 (ไม่ทราบว่าเด็กเดี๋ยวนี้ยังท่องกันหรือเปล่า)

 

 แล้วการปฏิบัติธรรมก็ไม่ได้อาศัยลูกฟลุ้ค

เช่นปล่อยตามใจชอบ นึกได้เมื่อไรก็ทำเมื่อนั้น

แต่จำเป็นจะต้องปลูกฉันทะคือความพอใจที่จะมีสติสัมปชัญญะไว้ในใจ

พอมีฉันทะแล้ว วิริยะคือความเพียรก็จะเกิดขึ้น

เราจะขยันเจริญสติสัมปชัญญะโดยอัตโนมัติ

ไม่ใช่รีบมาดูเอาตอนที่กำลังจะได้พบครูบาอาจารย์เท่านั้น

แล้วจิตก็จะเกิดความใส่ใจ เกิดความใคร่ครวญในธรรม

มีความเบิกบานบันเทิงใจในการปฏิบัติธรรมไปได้ตลอดสาย

ไม่รู้สึกฝืดหรือฝืนใจที่จะปฏิบัติ แต่สนุกที่จะปฏิบัติ

 

พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนเสมอในเรื่องการมีความเพียร

แต่การเพียรนั้น ไม่ใช่เอาแรงเข้าแลกอย่างเดียว

และก็ไม่ได้สู้แบบมวยวัด ไม่รู้เหนือรู้ใต้

แต่ให้มีสติสัมปชัญญะรู้ของจริงในกายในจิตไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ

เพราะแก่นของการปฏิบัติอยู่ที่การเจริญสติสัมปชัญญะให้ถูกต้องและต่อเนื่อง

ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ พิธีการ อันเป็นเพียงเปลือกนอก

ของการทำสมาธิ สวดมนต์ เดินจงกรม ฯลฯ

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน จันทร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : การปฎิบัติธรรมเป็นเรื่องง่าย

การปฎิบัติธรรมเป็นเรื่องง่าย

การปฏิบัติจะยากอะไรกันครับ

เพียงลืมตาตื่น สัจจธรรมก็ปรากฏอยู่ตรงหน้าแล้ว

เพราะธรรมะก็คือธรรมชาติแท้ๆ แต่ถูกความคิดปิดบังเอาไว้จนมิดชิด

เช่นความเกิดแก่เจ็บตาย มันเป็นเรื่องธรรมดาแท้ๆ เรารู้จักกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว

แต่จิตยอมรับความจริงไม่ได้

คอยคิดแต่เรื่องไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย

บางบ้านถึงกับสั่งสอนกันไม่ให้คิด ไม่ให้พูดเรื่องความตาย หรือโรคร้ายแรง

ก็เพราะเกลียดกลัวความจริงเสียเหลือเกิน

 

การปฏิบัติธรรมก็เป็นเพียงการหันกลับมาเผชิญหน้ากับความจริง

เอาของจริงๆ มายืนยันให้จิตเห็นจนสุดปัญญาที่จะคิดดีดดิ้นไปทางอื่นได้

แล้วยอมจำนนต่อความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างของสังขาร

เมื่อปล่อยวางเลิกดิ้นรนแล้ว

ก็จะเข้าใจถึงธรรมชาติที่เหนือความคิดนึกปรุงแต่งได้

 

ธรรมแท้ซุกซ่อนอยู่ในกายในจิตนี้ เหมือนเพชรที่ซ่อนอยู่ในกองขยะ

ถ้าเอาแต่เบือนหน้าหนีกองขยะ ไม่อยากรับรู้ ไม่อยากสนใจ

เพราะอยากรู้เห็นแต่ของสวยงามลวงโลกทั้งหลาย

เมื่อไรจะค้นพบเพชรงามเม็ดนี้ได้

ส่วนคนที่ตั้งใจปฏิบัติ เจริญสติรู้ลงมาในกายในจิตอันสกปรกโสโครกนี้

ค่อยคุ้ยค่อยเขี่ยสิ่งที่ปกปิดออก เขาก็ค้นพบเพชรงามได้ไม่ยากอะไรนัก

 

เมื่อวานนี้ผมก็บอกกับพวกเราหลายคน เหมือนที่บอกมาตลอดว่า

การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย

เพียงแต่คอยรู้ความจริงที่กำลังปรากฏเรื่อยไปเท่านั้นเอง

แต่คนเราไม่ชอบของง่าย เพราะรู้สึกว่ามันง่ายเกินไปจนไม่น่าเชื่อถือ

ก็พยายามปฏิบัติธรรมให้ยุ่งยาก ด้วยการใช้ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ นานา

สร้างกระบวนการปฏิบัติที่มากมายซับซ้อนขึ้นมา

เช่นต้องกำหนดอย่างนั้น ต้องทำท่าอย่างนี้ ต้องมีข้อวัตรต่างๆ อย่างนั้นๆ

แทนที่จะมีสติสัมปชัญญะรู้เข้ามาในกายในจิตตนเองอย่างซื่อๆ ตรงๆ

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน จันทร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หน้าที่ของศีล สมาธิ ปัญญา

mp 3 (for download) : หน้าที่ของศีล สมาธิ ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ต้องสู้มากกว่าคนสมัยก่อนนะ พยายามสำรวม สำรวมอินทรีย์ ธรรมะดีๆต้องพยายามทำให้เยอะๆไว้ ไม่งั้นสู้มันไม่ไหวหรอก กิเลสมันรุนแรงเหลือเกินยุคนี้ สิ่งยั่วยวนมันรุนแรงเหลือเกิน หรือการที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เลวๆ ถ่ายทอดวัฒนธรรมเลวๆออกมานะ ให้คนยอมรับ ว่าความเลวเป็นเรื่องปกติ โอ้นี่เรื่องเลวร้ายมากนะในสังคมเรา อย่างบอกว่าผัวใครก็ช่าง มีเพลงอะไรนะ แฟนใครไม่มีป้ายแขวนคออะไรนี้ ฉันรักเมียเขาอะไรนี้ โอ้ เลวร้ายมากเลยนะ มันถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เลว

ให้เรายอมรับความเลวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือถ่ายทอดว่าคอร์รัปชั่นก็ได้นะ ขอให้มีผลงาน เนี่ยถ่ายทอดสิ่งที่ไม่ถูกต้องนะ ผลงานดีนะ ดีอยู่แล้วนะ แต่วิธีที่จะได้มาซึ่งผลงาน ต้องดีด้วย สำหรับชาวพุทธเรานะ ไม่ใช่ดีแต่ปลายทาง วิธีการต้องดีด้วย ไม่ใช่วิธีอะไรก็ได้ แล้วประสบความสำเร็จ แล้วถือว่าสำเร็จ อันนั้นไม่ใช่วิถีของชาวพุทธเลย

เนี่ยสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้นะ เป็นพิษเป็นภัย เต็มไปหมดเลยนะ เพราะนั้นเราต้องดำรงชีวิต ด้วยสติ ด้วยปัญญา อย่างแท้จริง ต้องเอาหลักธรรมของพระพุทธเจ้า มาตรวจสอบตลอดเลย กิเลสมันจะลากเราไปอย่างรวดเร็วเลย คนเค้ามายั่วกิเลสเรานะ แล้วเราก็พร้อมจะตามกิเลสอยู่แล้วด้วย ก็ต้องสู้ให้มากเลย ต้องอดทนให้มากเลย รักษาศีลเอาไว้ให้ได้ ตั้งใจรักษาศีลให้ดี แล้วก็มีสติ มีปัญญา รักษากายรักษาใจของตัวนะ รักษาจิตใจไว้ มีศีลรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ข่มใจไม่ยอมให้ทำตามกิเลส มีสมาธิบ้าง เพื่อจะข่มกิเลส ไม่ให้มาย้อมใจ

ศีลกับสมาธิไม่เหมือนกันนะ ศีลเนี่ยข่มใจ ไม่ให้ทำตามกิเลส สมาธิเนี่ยข่มกิเลส ไม่ให้มาย้อมใจ ถ้ากิเลสมันเบาหน่อยนะ ก็ข่มมันไหว ทำสมาธิสู้ไหว กิเลสระดับกลางๆไม่รุนแรงมาก เราก็ใช้สมาธิสู้ได้ ข่มกิเลสไปเลย ปัญญาเนี่ย ขุดรากถอนโคนกิเลส ปัญญาก็คือการเห็นความจริง ของรูปนามกายใจของเราเรื่อยไป

เพราะงั้นเฝ้ารู้เฝ้าดูนะ จนปัญญามันแจ้งขึ้นมา ปัญญามันแจ่มแจ้งขึ้นมา เราก็จะพ้นจากความทุกข์ เป็นลำดับๆไป เราจะพบว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้านะ เป็นของดีของวิเศษ เป็นแสงสว่างของโลกนะ เป็นความร่มเย็นเป็นสุขของโลก ซึ่ง(โลก)มันไม่มีเลย โลกนี้มันมืดมันบอดเต็มที มันหาความสุขความสงบอะไรไม่ได้เลยนะ ทุกหัวระแหง มีแต่เรื่องเบียดเบียน เข่นฆ่าล้างผลาญ แย่งชิงทำร้ายซึ่งกันและกัน เต็มไปหมดเลย ธรรมชาติก็รุนแรง มนุษย์ก็รุนแรงต่อมนุษย์ ธรรมชาติก็รุนแรง

งั้นเราไม่มีทางเลือกนะ เราชาวพุทธเนี่ย พยายามภาวนาเข้า เรียนรู้ทันตัวเองนะ เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้มากๆๆ ต่อไปถึงโลกจะแตกนะ ใจเราไม่กระเทือนเลยนะ โลกจะแตกก็เรื่องของโลก ไม่ใช่เรื่องของเรา  ขนาดร่างกายเราจะแตก เรายังไม่เดือดร้อนเลย ค่อยฝึกไปเรื่อยๆนะ เราจะได้ไม่จมลงไปในโลกที่สกปรก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
Track: ๑๔
File: 551014A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๗ ถึง ๒๘ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : วางใจไม่ให้ทุกข์เพราะแฟนทิ้ง

วางใจไม่ให้ทุกข์เพราะแฟนทิ้ง

 

จะหาคนที่ไม่ทุกข์เพราะเรื่องแฟนนี่ หายากมากๆ เลยครับ

ฉะนั้นคิดซะว่า มันเป็นกรรมที่เราชดใช้นะครับ จะได้สบายใจขึ้นบ้าง

 

แล้วก็ให้อดทนต่อสภาพที่กำลังเจออยู่นะครับ

เอาใจไปคิดถึงเรื่องความสุขจากการปฏิบัติภาวนามาโดยตลอด

ถ้าทุกข์มากๆ ก็ลุกไปทำบุญ ให้ทาน ทำสิ่งที่เป็นกุศล

ให้จิตได้ผ่อนคลายลงไปบ้างตามสมควร

 

หรือจะลองใช้วิธีเพ่งเบาๆลงไปที่ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกเศร้าก็ได้ครับ

การเพ่งเบาๆ นิ่งๆ ตรงความรู้สึกนั้น ก็พอช่วยให้ความรู้สึกนั้นเบาลงได้

 

อาศัยการปฏิบัติภาวนาเป็นเครื่องอยู่ไว้

ก็จะทุกข์แค่พอทนได้ไม่ยากนัก

แล้วไม่นานหรอกครับ อาการทุกข์ ซึม เศร้า ก็จะค่อยๆ หายไปเอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 2 of 712345...Last »