Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

mp 3 (for download) : พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

หลวงพ่อปราโมทย์: ครั้งหนึ่ง สมเด็จญาณฯ ( สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก )เคยเขียนนะ พระศรีนครินทร์ฯ ( สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ) ท่านอาราธนาให้เขียนว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร ท่านเขียนเอาไว้ดีแล้ว พระพุทธเจ้าสอนอะไร สอนอริยสัจจ์สิ สอนไปเพื่ออะไร เพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง สอนอะไร ถ้าตัวเนื้อหาธรรมะนะ พระพุทธเจ้าท่านสอนอริยสัจจ์ อริยสัจจ์เป็นธรรมที่ครอบคลุมธรรมะทั้งหมด

มีพระสูตรอันหนึ่งนะ ชื่อ รอยเท้าช้าง ชื่อ อัตถิปโทปมสูตร ( มหาหัตถิปโทปมสูตร อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง )ชื่อยาวมากนะ ท่านสอนบอกว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์บกนะ สัตว์น้ำมันก็มีรอยเท้าเหมือนกัน แต่ว่ามีไม่กี่ชนิดที่มีเท้า ในพระสูตรบอกว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายเนี่ย เหยียบลงไปได้ในรอยเท้าช้าง ที่เป็นอย่างนี้เพราะในสมัยพุทธกาลไม่มีไดโนเสาร์แล้ว

หมายถึงธรรมะทั้งหมดนี้นะ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน รวมลงอยู่ในอริยสัจจ์ ย่อๆก็คือ ท่านสอนเรื่องทุกข์ กับความพ้นทุกข์ ทุกข์ก็มีถึงเหตุของทุกข์ แล้วก็ตัวทุกข์ ความพ้นทุกข์ท่านก็สอนถึงวิธีปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์แล้วก็ตัวของความพ้นทุกข์ คือตัวนิพพาน สอนได้ ๒ กลุ่ม

ทีนี้ตัวมรรคเนี่ย ย่อๆลงมาก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเรียนนั่นเอง เรียนศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา จิตตสิกขาเรียนแล้วจะเกิดจิตที่ตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ

ย่อๆลงไปอีกนะ คือ ทำสมถะกับวิปัสสนา ตรงภาวนานี้น่ะ ภาวนาก็มี ๒ ส่วน สมถะกับวิปัสสนา ตรงวิปัสสนาเนี่ย ถ้าทำถูกต้องนะ มีสติ รู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบัน เห็นตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ไปเรื่อยๆ ในที่สุดจะเกิดปัญญา เกิดผล มีปัญญาขึ้นมา เบื้องต้นเป็นพระโสดาบันนะ เบื้องปลายเป็นพระอรหันต์

พระโสดาบันท่านจะเข้าใจว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เพราะฉะนั้นข้อที่ ๑ ที่จิรัฐถามนะ มันคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน เป็นผลแล้ว เป็นผลจากการเจริญสติ ไม่ใช่ให้ทำตัวมัน ไม่ใช่ให้ทำความรู้นี้ขึ้นมานะ เจริญสติไปแล้วผลที่เกิดขึ้นคือมีความรู้ความเข้าใจ ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป เนี่ยความรู้ความเข้าใจของพระโสดาบัน เพราะฉะนั้นพระโสดาบันรู้ว่า สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ

ส่วรพระอรหันต์เนี่ย ท่านจะแจ้งสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ สิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับคือนิพพาน พระโสดาฯ พระสกทาคาฯ พระอนาคาฯ ยังไม่แจ้ง(ในสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ) เห็นบ้าง แต่ว่าไม่แจ่มแจ้ง เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ ภาวนา จะเกิดปัญญาเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป เบื้องปลายก็จะเกิดปัญญาไปเห็นแจ้งสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะฉะนั้นธรรมะมีหลายระดับนะ มีหลายขั้น

อันแรกเลย วัตถุประสงค์ของธรรมะนะ ภาวนาไปเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง เบื้องต้นพ้นทุกข์ เบื้องปลายดับทุกข์ พ้นทุกข์เนี่ยเป็นพระอรหันต์ที่ยังดำรงค์ขันธ์อยู่ ดับทุกข์คือพระอรหันต์ที่ท่านดับขันธ์แล้ว พ้นทุกข์เนี่ยพระอรหันต์มีขันธ์มั้ย? มี แต่ว่าจิตของท่านพ้นจากขันธ์ เพราะฉะนั้นท่านพ้นจากทุกข์ เบื้องปลายนี้ดับขันธ์ ก็ดับทุกข์ ตัวขันธ์นั้นแหละตัวทุกข์

ธรรมะปราณีตนะ ค่อยๆเรียน ค่อยๆฟัง อย่านึกเอาเอง มั่ว เดี๋ยวมั่วเอา อย่าไปเอา ยกตัวอย่างวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งนะ สิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างหนึ่ง วิธีปฏิบัติอย่างหนึ่ง ผลของการปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง อย่าเอาไปปนกัน ถ้าปนกันแล้วยุ่งตายเลย

ยกตัวอย่าง ถามหลวงพ่อบอกว่า เราภาวนาเพื่ออะไร พระพุทธศาสนาสอนอะไรกันแน่ สอนให้เห็นว่าทุกอย่างผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อันนี้เป็นความรู้ความเข้าใจของพระโสดาบัน ทุกอย่างมาแล้วไป นี่เกิดแล้วดับ หรือข้อสอง สอนให้จิตสำเหนียกสภาพดั้งเดิมของจิตเดิมแท้ ไม่ได้สอนให้สำเหนียกนะ มันสำเหนียกเอง มันเป็นผลน่ะ ถ้าเห็นนิพพานก็จะเห็นจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ไปเห็นนิพพาน

คำว่าจิตเดิมแท้เนี่ย เป็นคำซึ่งไม่มีพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ฝ่ายเถรวาทพูดถึงจิตพระอรหันต์นี้ จะพูดถึงมหากริยาจิต แค่มหากริยาจิตเกิดแล้วดับ ทีนี้ทางฝ่ายเซนทางฝ่ายอะไรนี้ เขาพูดถึงจิตเดิมแท้ คือจิตที่พ้นการปรุงแต่ง ถ้าอนุโลมเอาก็คือ มหากริยาจิต แต่ว่ามันมีสภาวธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นธาตุ ธาตุรู้ จะเรียกว่าอะไรก็ได้ จิตเดิมแท้ก็ได้ อะไรก็ได้ เป็นธาตุรู้ ธาตุรู้มันเข้าคู่กับธรรมธาตุ คือ ธาตุของธรรม อันนี้ไม่มีในคำสอนของฝ่ายเถรวาทเรา ไม่พูดถึงสิ่งเหล่านี้หรอก แต่พูดถึงธาตุธรรม คือพระนิพพาน

เพราะฉะนั้นเวลาเราเรียน เรารู้นะ วัตถุประสงค์ของการเรียน เพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิงนะ

สิ่งที่เราต้องทำนะ เราก็พัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา หรือ ละชั่วทำดีทำจิตให้ผ่องแผ้วขึ้นมา พูดได้หลาย Dimensions หลายแง่ หลายมุม หลายมิติ รวมความก็คือ ทำอันใดอันหนึ่งครบ set ของมัน ก็คือทำทั้งหมดแหละ มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบ มันก็คือครบ ละชั่ว ทำดี ทำจิตผ่องแผ้วได้ ก็ครบเหมือนกัน

ทีนี้ก็เจริญไป วิธีที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์ ก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไป วิธีที่จะละชั่ว ทำดี ทำจิตผ่องแผ้วนะ ก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไป ถ้าเจริญสติ(ปัฏฐาน)ไม่ได้ ละชั่วไม่ได้จริงหรอก ได้แต่ข่มความชั่วเป็นคราวๆ ทำดีไม่ได้จริงหรอก ดีแป๊บเดียวนะ เดี๋ยวก็ชั่วแทรกเข้ามาแล้ว เช่นเห็นคนอื่นเขาได้ดิบได้ดีก็โมทนาๆ มันดีหลายที่ชักอิจฉาแล้ว มันทนไม่ได้หรอก หรือเห็นคนนี้ตกทุกข์ได้ยาก สงสารเขา ไปแนะนำ แนเะนำเขา เขาไม่ฟังก็โมโหแล้ว

กุศลเนี่ยพลิกเป็นอกุศลได้เสมอเลยถ้าขาดสติ เพราะงานของเรานะ มีสติไว้ มีสติไว้แล้ว แล้วก็ยังทำ ๒ อย่าง อันหนึ่งทำสมถะนะ สมถะก็ต้องมีสติ ถ้าสมถะขาดสติเป็นมิจฉาสมาธิไปเลย ใช้ไม่ได้ อย่างที่พวกเรานั่งเคลิ้มๆนี้ใช้ไม่ได้เลยนะ

เพราะฉะนั้นนั่งนี่ต้องรู้เนื้อรู้ตัว เดินรู้เนื้อรู้ตัว จิตสงบ จิตตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์อันเดียวโดยที่ไม่ได้บังคับไว้ มีความสุขอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างนั้น สงบแนบแน่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะ จิตยอมไปมีความสุขมีความสงบนะ ต้องเลือกอารมณ์ ถ้าเราเลือกอารมณ์กรรมฐานที่เราชอบ จิตมันชอบน่ะ ไม่ใช่เราชอบ ที่จิตมันชอบ

ยกตัวอย่าง บางคนนะ จิตชอบพิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะแล้วสงบ แต่เราไม่ชอบ เรากลัวผี ให้ไปนั่งป่าช้านี่ไม่ชอบเลยนะ ไปเห็นรดน้ำศพ บางคนยังไม่ชอบเลย แต่จิตมันชอบ พอเข้าใกล้แล้วสงบ อย่างนี้สมควรทำอย่างไรดี จิตมันชอบแบบนี้ จิตมันชอบอย่างนี้ก็เอาสิ เรากลัวผี ดูไปเรื่อยๆ เดี๋ยววันหลังก็ไม่กลัวเองแหละนะ แต่จิตมันเข้าใกล้ มันไปเห็นศพ อื๋อ… รถทับมาเละๆ พองๆ เวลาศพถูกรถทับนะ เน่าเร็วมากเลย เร็วกว่าศพธรรมดา แป๊บเดียวก็เน่า เราก็ไปดูได้จิตใจสงบ นี่ถ้าจิตมันชอบ

บางคนจิตมันชอบพุทโธ เราก็อยู่กับพุทโธ จิตมันชอบลมหายใจก็อยู่กับลมหายใจ จิตมันชอบท้องพองยุบก็อยู่กับท้องพองยุบไป อยู่กับอารมณ์ที่จิตชอบ จิตก็ไม่ร่อนเร่ไป จิตเสพอารมณ์ที่มันชอบนะ ก็ไม่หนีไปเที่ยว ได้สมถะนะ อย่างนี้ ก็มีสติอยู่กับอารมณ์นั้น

ถ้าทำวิปัสสนานะ ก็มีสติรู้กายรู้ใจไป รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่น ต้องดูอยู่ห่างๆนิดนึง แต่ตรงจิตตั้งมั่นก็มีอยู่ ๒ พวกนะ พวกหนึ่งตั้งทรงเด่นอยู่เลย พวกนี้ทางฌานอยู่ พอออกจากฌานแล้วจะทรงเด่นอยู่นาน อีกพวกหนึ่งไม่ได้ทรงฌาน ตั้งเป็นขณะๆ เรียก ขณิกสมาธิ เป็นขณะๆ แค่นี้ก็นิพพานได้ ถึงมรรคผลนิพพานได้ ถึงพระอรหันต์ได้

เวลาที่เราเจริญสตินะ เราอย่าดูถูก(ดูหมิ่น)สมาธิชั่วขณะนะ เวลาที่เราเจริญสติในชีวิตประจำวันจริงๆเนี่ย ส่วนใหญ่ใช้สมาธิชั่วขณะนี้เอง ทีละขณะๆ เดี๋ยวรู้สึกตัวขึ้นมา ใจตั้งมั่นได้แว้บ หลงไปอีกละ ไหลไป พอรู้ทัน สติระลึกรู้ใจไหลไปนะ ใจก็ตั้งขึ้นอีกแว้บ แว้บ แว้บ แว้บ ตลอดวันเลยนะ มีแต่ไหลไปแล้วก็ตั้ง ไหลแล้วก็ตั้ง แค่นี้พอแล้ว ถึงวันหนึ่งนะ ปัญญามันเกิดนะ มันจะเห็นเลย จิตไหลไปห้ามไม่ได้ จิตตั้งมั่นสั่งไม่ได้ มันสั่งไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ มีแต่เกิดแล้วดับ จิตหลงไปกับจิตที่ตั้งมั่นเท่าเทียมกันขึ้นมา เท่าเทียมกันโดยความเป็นไตรลักษณ์ นี่เวลาเดินวิปัสสนานะ ไม่ใช่จะเอาอันหนึ่ง จะเกลียดอีกอันหนึ่ง

เรามีสติ รู้สภาวะทั้งหลาย ที่มันเป็นคู่ๆ เช่น เผลอกับรู้ นี่คู่หนึ่ง ใช่มั้ย โกรธกับไม่โกรธคู่หนึ่ง โลภกับไม่โลภคู่หนึ่งเนี่ย เห็นเป็นคู่ๆไว้ มันจะพลิกไปพลิกมาในคู่ของมัน เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ฝึกอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง ไม่ใช่จะเอารู้สึกตัว เกลียดหลง จะเอาความไม่โกรธ เกลียดความโกรธ จะเอาความไม่โลภ เกลียดความโลภ

แต่การที่เห็นคู่ๆ มันจะทำให้เห็นว่า ความโลภ โกรธ หลง เห็นขึ้นมาแล้วก็ดับไป ความรู้สึกตัว รู้ตื่นเบิกบานเกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป ชีวิตเราขาดเป็นท่อน ท่อน ท่อน ท่อน ไม่ใช่มีชีวิตอันเดียวรวดเลย คนซึ่งภาวนาไม่เป็นนะ จะรู้สึกมีตัวเราอันเดียวรวด พวกเราจะรู้สึก ปุถุชนทั้งหลายจะรู้สึก หลายคนซึ่งยังเจริญวิปัสสนาไม่พอ จะรู้สึก รู้สึกมั้ย ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนนี้ กับเราตอนเด็กๆ เป็นเราคนเดียวกัน รู้สึกมั้ย หน้าตาหรอกที่เปลี่ยนไปนะ แต่ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนเดิมด้วย

เนี่ยถ้าหากทำวิปัสสนาถูกต้องนะ จะเห็นเลยว่า มันเกิดดับเป็นขณะๆ ชีวิตตะกี้นี้ กับชีวิตปัจจุบันนี้ เหมือนกับคนละคนกันเลย ขาดออกจากกัน จิตตะกี้นี้หลง จิตตอนนี้รู้สึก(ตัว) มันเหมือนคนละคนกันเลย เหมือนคนละคนเลย ถ้าดูเป็นนะก็จะเห็นเลย มีช่องว่างเล็กๆมาคั่น จิตดวงนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีช่องว่างมาคั่น ขาดออกจากกันนะ ไม่ใช่ตัวเดิม ไม่ใช่เหมือนร่างกายนี้คนเก่า เปลี่ยนแต่เสื้อไปเรื่อยๆ อันนั้นมิจฉาทิฎฐิ

ยกตัวอย่างพวกเราหลายคน คิดว่าในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง พอตายไปนะ เราตัวนี้ออกจากร่างนี้ ไปหาร่างใหม่เกิดอีก นี่มิจฉาทิฎฐิ เพราะว่าทำวิปัสสนาไม่เป็น ไม่เห็นว่าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ (อีก)ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับนะ

เพราะฉะนั้นการที่เราเห็นนะ จิตดวงหนึ่งเกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับไป จะเป็นกุศลก็ตาม เป็นอกุศลก็ตาม จะเป็นจิตที่รู้หรือเป็นจิตที่หลงก็ตาม ทั้งหมด มีสภาพอันเดียวกันหมดเลย เกิดแล้วดับเหมือนกัน ในที่สุดปัญญามันเกิดนะ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา นี่เป็นภูมิธรรมของพระโสดาบัน สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ก็จะเห็นอยู่นี่เองนะ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม มีแต่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ๆ ไปเรื่อยๆ

ทีนี้พอฝึกมากเข้าๆนะ ปัญญามันเริ่มแก่กล้าขึ้น มันเห็นเลย ตัวที่เกิดแล้วดับเนี่ย ตอนที่มันมีอยู่ มันก็ทุกข์นะ มันทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองนั้นแหละ พอปัญญามันแจ้งนะ มันรู้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมานี่ มันทุกข์หมดเลยนะ จิตมันสลัดทิ้งเลย หมดความยึดถือในรูปธรรมนามธรรม เมื่อจิตหมดความยึดถือในรูปธรรมนามธรรม จิตจะดูเมือนถอดตัวเองออกมา

แต่พูดแล้วไม่รู้ว่าภาษามันจะเป็นยังไงนะ บางทีจะพูดในมุมหนึ่งมันเหมือนจับมันข้างทิ้งไปเลยนะ มันโยนจิตทิ้งไป อีกมุมหนึ่งนะ เหมือนมันถอดออกมา มันหลุดออกจากกันนะ แต่เดิม มันหลุดออกจากกัน สมมุติมันรวมอยู่ด้วยกันอย่างนี้ จิตกับขันธ์มันรวมอยู่ด้วยกันอย่างนี้ พอภาวนาเห็นขันธ์เป็นทุกข์นะ เหมือนจิตมันถอดออกมา แต่พวกเราภาวนาเห็นจิตถอดออกมา แยกออกมาจากขันธ์เป็นสองส่วนใช่มั้ย อันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าขั้นสุดท้ายไม่ได้เป็นอย่างนั้น ถอดออกมาแล้วนะก็ทิ้งตัวนี้ด้วย ทิ้งไป ตัวนี้(อีกตัวหนึ่ง)ก็ทิ้งไปนะ แล้วปรากฎว่า มันมีธาตุอยู่ธาตุหนึ่ง คือธาตุรู้ ธาตุรู้นี้จะซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง

แต่เดิมจิตเรามีขอบมีเขต มีจุดมีดวง นี่คนดีมากแล้วนะ ดวงแค่นี้ พวกเทวดา รุกขเทวดา รัศมีนิดเดียว แค่นี้เอง เล็กเท่าดาวเอง บางคนภาวนามานานนะ เท่ากับล้อ ล้อเกวียน ล้อรถบดถนน รัศมีไม่เท่ากัน แต่มีขอบมีเขตอยู่ ตรงที่มันเข้าถึงธาตุรู้จริงๆเนี่ย ธาตุรู้นี้ซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง ธาตุรู้น่ะคล้ายๆอากาศธาตุ แต่อากาศธาตุไม่ใช่ธาตุรู้ อากาศธาตุเป็นช่องว่าง อากาศธาตุซึมซ่านเข้าไปได้ ในพัดนี้ก็มีอากาศธาตุ มันซึมซ่านเข้าไป ในแผ่นดินก็มีอากาศธาตุซึมซ่านอยู่ ธาตุรู้นี้ก็ซึมซ่านคล้ายๆกัน แต่ธาตุรู้เป็นธาตุรู้ จะเรียกว่าจิตมั้ย มันก็ไม่ใช่จิตที่เคยเห็น เป็นธาตุรู้ แล้วแต่จะเรียกชื่อ เป็นเจ้าของมั้ย ไม่มีเจ้าของ ไม่มีขอบ ไม่มีเขต ไม่มีจุด ไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง ถามว่าธาตุรู้ รู้อะไร ธาตุรู้รู้ธรรม รู้นิพพานนะ นิพพานเนี่ย ครอบโลกครอบจักรวาล ซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนกันเปี๊ยบเลย แต่เป็นอีกสภาวะหนึ่ง พูดแล้วฟังยาก พวกคิดมาก อยากเรียนเยอะๆ ไปภาวนาเอาเองนะ แล้วจะเห็น

เพราะฉะนั้นสรุปก็คือ พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเพื่อให้เราเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ไม่ได้สอนเพื่อให้เห็นจิตเดิมแท้ ท่านสอนเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง แล้วเราก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไปเรื่อยๆ ความรู้ความเข้าใจของเราก็พัฒนาเป็นลำดับๆไป

เบื้องต้นก็จะเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป ไม่ควรยึดมั่นหรอก แต่มันยังยึดมั่นอยู่นะ เบื้องปลายนี้แหละมันหมดความยึดมั่นจริงๆ แล้วมันก็จะไปเห็นจิตที่เป็นอิสระ เราอย่าไปพูดถึงจิตเดิมแท้เดิมเท้อเลย ฟังแล้วเวียนหัวนะ วาดภาพมันเหมือนมีอะไรลึกลับซ้อนขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ที่เรียนอยู่ทุกวันนี้ก็จะปางตายแล้ว ยังจะไปสร้างจิตเดิมแท้ขึ้นมาอีกดวงหนึ่ง ยุ่งตายเลย ไม่มีนะ สิ่งทีเป็นอมตะ มีแต่พระนิพพานเท่านั้นที่เป็นอมตะ อย่าไปวาดภาพว่ามีอะไรที่เป็นอมตะอยู่

สุดท้ายก็จะเห็นสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับคือเห็นพระนิพพาน เป็นผลหรอก เบื้องต้นเห็นสิ่งที่เกิดแล้วก็ดับ ได้เป็นพระโสดาบัน เบื้องปลายรู้แจ้งสิ่งที่ไม่เกิดแล้วก็ไม่ดับ คือพระนิพพาน หน้าที่ของเราตอนนี้ก็คือเจริญสติ(ปัฏฐาน)ไปเรื่อยๆ รู้กายรู้ใจไป สังเกตตัวเองไปเรื่อย อกุศลอะไรยังไม่ได้ละนะ ก็ละเสียบ้าง ขัดเกลาตัวเอง ไม่ใช่ตามใจอกุศลนะ กุศลใดยังไม่เจริญก็เจริญเสียบ้าง ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยๆนะ หวังว่ามันจะเจริญขึ้นมาตามยถากรรม

ยกตัวอย่าง เราต้องหัดให้อภัยคน ต้องฝึกเหมือนกันนะ ไม่ใช่ว่าฉันเจริญสติอย่างเดียวอะไรอย่างนี้ จะเอาแต่ปัญญา บางทีกิเลสเล็กกิเลสน้อย ไม่ยอมละนะ จะเอาแต่ปัญญา ในที่สุดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ศีลฉันจะไม่ถือหรอก ฉันจะมีแต่สติ มีแต่ปัญญา กลายเป็นมิจฉาทิฎฐิง่ายๆนะ

หลวงพ่อเคยรู้จักคนหนึ่ง ไม่ถือศีลนะ สอนลูกไม่ให้ถือศีลด้วย บอกว่าไม่จำเป็น เราดำรงค์ชีวิตอย่างมีเหตุผลก็พอแล้ว สอนลูกอย่างนี้ ดำรงค์ชีวิตอย่างมีเหตุผลตามใจกิเลสสิ วงเล็บไว้ด้วยน่ะ ไม่มีศีลน่ะ

เพราะฉะนั้น อกุศลเล็กๆน้อยๆนะ เราก็ต้องรู้ทัน อย่าไปเชื่อมัน อย่าไปตามใจมัน กุศลแม้แต่เล็กแต่น้อยนะ เราก็ต้องคอยดูแลรักษามัน คอยดูมันไป มีสติ พัฒนามันขึ้นไปเรื่อยๆ จิตใจเข้าไปคลุกคลี พัวพันอยู่กับอารมณ์ต่างๆ คอยรู้ทันจนมันถอดถอนออกมา มันเข้าถึงความผ่องแผ้วของมัน นี่คือละชั่วทำดีทำจิตผ่องแผ้ว มีศีลมีสมาธิมีปัญญา ค่อยๆพัฒนาไปนะ ค่อยฝึกของเราทุกวันๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
Track: ๙
File: 520508.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่แทรกแซงขันธ์

รู้ด้วยความเป็นกลาง

รู้ด้วยความเป็นกลาง

mp 3 (for download) : รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่แทรกแซงขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

 

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตใจนะเค้าทำงานของเค้าทั้งวัน เค้าปรุงดีบ้าง ปรุงร้ายบ้าง ไม่เป็นปัญหานะ จิตจะปรุงกุศล จิตจะปรุงอกุศล ไม่มีปัญหา ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าพวกเรานักปฏิบัติชอบเข้าไปปรุงแต่งจิต เช่น จิตมีอกุศลนะ หาทางละ จิตเป็นกุศลพยายามรักษาหรือพยายามทำให้กุศลเกิดขึ้นมา จิตปรุงแต่งไม่เป็นไร เราอย่าไปปรุงแต่งจิต เพราะฉะนั้นอย่างจิตของเรามีโมหะ มัว ให้รู้ด้วยความเป็นกลาง นี่…คีย์เวิร์ดของมันนะ คือรู้ด้วยความเป็นกลาง ถ้าเรารู้ด้วยความเป็นกลางไม่ได้ เราจะเข้าไปปรุงแต่ง เช่น จิตเป็นอกุศลนะ อยากให้ดี ไม่เป็นกลาง แล้วเราก็พยายามหาทางทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ การที่เราปรุงแต่ง การที่เราพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมานั่นแหละ มันปิดกั้นไว้ ปิดกั้นเอาไว้จากมรรคผลนิพพาน นิพพานคือความไม่ปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นตราบใดที่จิตยังปรุงแต่งอยู่นะ ตราบใดที่ไปหลง ปรุงแต่งจิต ไม่ใช่จิตปรุงแต่ง ตราบใดที่ยังไปหลงปรุงแต่งจิตอยู่จะเห็นนิพพานไม่ได้เลย แต่ถ้าเราเห็นจิตนี้ปรุงแต่งไปทั้งวันทั้งคืน เราไม่ปรุงแต่งจิต ถึงจุดหนึ่งมันจะเห็นเลย จิตมันก็ส่วนจิตนะ ก็ทำงานของมันไป ธรรมชาติที่เป็นคนไปรู้ ก็อยู่ต่างหาก ไม่เกี่ยวกัน ธรรมชาติที่ไปรู้ขันธ์โดยที่ไม่ไปยึดขันธ์นั่นแหละ ธรรมชาติอย่างนี้นะ ถึงจะไปเห็นนิพพานได้

       จริงๆมรรคผลนิพพานไม่ใช่เรื่องยากเลยนะ นิพพานไม่เคยหายไปไหนสักวันเดียวเลย นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรามาแต่ไหนแต่ไร ไม่ได้อยู่ไกลเลยนะ อยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง แต่เราไม่เห็น นิพพานคือความไม่ปรุงแต่ง นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิสังขาร” นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิราคะ” ไม่มีความอยาก ใจของเรามันมีความอยาก อยากปฏิบัติธรรม อยากดี อยากโน่นอยากนี่ขึ้นมา พอมันมีความอยากขึ้นมา มันก็ปรุง คนชั่วก็ปรุงชั่ว คนดีก็ปรุงดี นักปฏิบัติก็ปรุงดีขึ้นมา คอยควบคุมกายคอยควบคุมใจ หาทางทำอย่างนั้นหาทางทำอย่างนี้ การที่พยายามทำอยู่นั่นแหละทำให้ไม่เห็นนิพพาน ฉะนั้นขันธ์ ๕ นะ ขันธ์ ๕ เค้าเป็นธรรมะที่ปรุงแต่งเรียก“สังขตธรรม” ฉะนั้นขันธ์ ๕ ต้องปรุงแต่ง ขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เราไม่ได้ไปฝึกให้ขันธ์ ๕ ไม่ปรุงแต่งนะ เพราะฉะนั้นอย่างจิตเนี่ย จิตอยู่ในขันธ์ ๕ จิตมีหน้าที่คิดนึกปรุงแต่ง เราไม่ได้ฝึกให้มันไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แต่เมื่อเค้าทำงาน ขันธ์ ๕ เค้าทำงานแล้วเนี่ยอย่าหลงเข้าไปแทรกแซงขันธ์ ๕  พวกเรานักปฏิบัติชอบแทรกแซงขันธ์ ๕ นะ เช่น ร่างกายนี้มันจะหายใจ เราก็ไปแทรกแซงการหายใจ ไปเปลี่ยนจังหวะการหายใจ หายใจให้ผิดธรรมดา แล้วก็เหนื่อยนะ ร่างกายเคยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เคยยืน เคยเดิน เคยนั่ง เคยนอน ท่านั้นท่านี้ เราก็เริ่มไปจำกัดมัน ต้องอยู่ท่านั้นต้องอยู่ท่านี้ ต้องเดินอย่างนั้นถึงถูกต้องนั่งอย่างนี้ถึงจะถูก เดินท่านั้นผิดเดินท่านี้ผิด นี่เราพยายามเข้าไปแทรกแซงขันธ์ เวทนาเค้าก็เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง เดี๋ยวเค้าก็สุข เดี๋ยวเค้าก็ทุกข์ เดี๋ยวเค้าเฉยๆ พอเราเห็นทุกข์ขึ้นมาเราไม่ชอบนะ พยายามแทรกแซงให้หายไป ความสุขก็พยายามแทรกแซงให้มันเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วแทรกแซงจะรักษามันไว้ นี่เราเข้าไปหลงแทรกแซงขันธ์ ๕ สัญญามันจะจำได้มันจะหมายรู้ ก็ไปแทรกแซง ที่อู๊ดเคยพลาดเรื่องแทรกแซงสัญญา ตัวนั้น จำได้ใช่มั้ย เห็นโต๊ะไปเรียกว่าเก้าอี้อะไรอย่างนี้นะ ไปแทรกแซงทำให้มันสับสน เสร็จแล้วมันจะอยู่ในโลกสมมุตินี้ไม่ได้ เพราะว่าสัญญา ไม่ตรงกับใครเค้าเลย สังขารก็คือจิตมันต้องปรุงดีบ้างปรุงชั่วบ้าง เราไม่อยากให้ปรุงชั่ว เราอยากให้ปรุงดี เราแทรกแซงนะ อย่างจิตฟุ้งซ่านขึ้นมา เราก็มาพุทโธๆ มาฟุ้งซ่านหนอๆ ให้หายฟุ้งซ่าน นี่แทรกแซง จิตโกรธขึ้นมานะ ก็พยายามแผ่เมตตาใหญ่ แผ่เมตตาให้หายโกรธ อันนี้ก็แทรกแซง แต่ถามว่าดีมั้ย? ก็ดี   เหมือนกันนะ แต่ดีแบบสมถะไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนานี่เราจะให้ขันธ์ทำงานไป โดยเราไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ ใจที่มันสงบตั้งมั่นไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ เห็นขันธ์ไปตามความเป็นจริง ใจดวงนี้เนี่ยใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ที่อาจารย์วัฒนาถาม “สังขารุเปกขาญาณ” เมื่อเช้านี้ จิตที่มันตั้งมั่นด้วยปัญญานะ ตั้งมั่นมีปัญญาอยู่ เห็นขันธ์ทำงานไปส่วนของขันธ์ จิตไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ อย่างนี้เรียกว่า “สังขารุเปกขา” เป็นกลางกับขันธ์ เป็นกลางกับสังขาร กับความปรุงแต่งทั้งหลาย ภาวะแห่งการสักว่ารู้สักว่าเห็นก็จะเกิดขึ้น ใจจะไม่   ดิ้นรน เมื่อใจไม่ดิ้นรน ถึงจุดหนึ่งใจจะเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน ธรรมะที่ไม่มีความอยาก ธรรมะที่ไม่ดิ้นรน คือ “วิราคะ” กับ “วิสังขาร” หรือ “นิพพาน” นั่นเอง

       เพราะฉะนั้นไม่มีใครกีดกั้นเราไว้จากนิพพานเลย ไม่มีใครกีดกั้นเราจากมรรคผล เรากีดกั้นตัวเอง ด้วยความอยากจะได้มรรคผลนิพพานนั่นแหละ พออยากจะได้ขึ้นมาก็ดิ้นรนใหญ่เลย หาทางทำยังไงจะได้      ทำยังไงจะถูก เวลาเรียนธรรมะก็ชอบถามนะ “จะวางจิตไว้ตรงไหนถึงจะถูก?” “จะทำยังไงถึงจะดี? ” “ทำ ยังไงจะมีสติได้ทั้งวัน?” อะไรอย่างนี้ เราคิดแต่จะทำน่ะแทนที่เราจะรู้ทันการกระทำนะ แล้วหยุดการกระทำของใจเราเอง ส่วนขันธ์ไม่หยุดนะ ไม่ไปแทรกแซงให้ขันธ์หยุดการเคลื่อนไหวนะ หลายคนไปแทรกแซงขันธ์ เช่น ไม่ยอมเดิน นั่งอย่างเดียว นั่งไปเรื่อยๆนะ คิดว่าถ้ามันอยากกระดุกกระดิกขึ้นมาเนี่ย กิเลสมันจะแทรก ก็เลยทรมานนั่งอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน คือเราชอบทำอะไรที่เป็นการแทรกแซงขันธ์ นักปฏิบัติน่ะ  ไม่ได้ทำอย่างอื่นหรอก ชอบแทรกแซงขันธ์ แทรกแซงไปเรื่อยเลย บังคับไป กระทั่งทำสมถะนะ ก็คือพยายามบังคับให้ใจนิ่ง แต่ว่ามีประโยชน์นะ สมถะ ไม่ใช่หลวงพ่อว่าไม่ให้ทำนะ เพียงแต่ว่าทำสมถะ บังคับใจไปเรื่อยๆ ไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพพาน อยากได้มรรคผลนิพพานต้องปล่อยให้ขันธ์ ๕ ทำงานไป แล้วมีสติตามรู้ไปเรื่อยๆ จนเห็นความจริง ว่ามันทำงานของมันเอง มันไม่ใช่ตัวเรา ใจเป็นกลาง ใจไม่ดิ้นรน ตรงที่ใจไม่ดิ้นรนนั่นแหละ ใจจะเข้าไปถึงธรรมะ ไม่ใช่ทำให้ขันธ์สงบแล้วเข้าถึงธรรมะนะ ขันธ์ก็ต้องเป็นขันธ์ ขันธ์ก็ต้องปรุงแต่ง เพราะขันธ์เป็น “สังขตธรรม” ธรรมที่ต้องปรุงแต่ง

   ถ้าเราวางเป้าหมายของการปฏิบัติผิด เราจะเข้าถึงธรรมะไม่ได้ นักปฏิบัติเกือบทั้งหมดนะตั้ง         เป้าหมายของการปฏิบัติผิด อยากดี อยากดี อยากจะพ้นจากความชั่ว อยากจะดี  อยากได้รับความสุขนะ พ้นจากความทุกข์ อยากได้ความสงบ พ้นจากความฟุ้งซ่าน แท้จริงแล้วไม่มีใครทำขันธ์นี้ให้สุขถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้สงบถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้ดีถาวรได้ เพราะขันธ์เป็นของไม่ถาวร สุขได้ก็ทุกข์ได้ ดีได้ก็ชั่วได้นะ แต่ความพ้นจากขันธ์ต่างหากล่ะ คือความพ้นจากทุกข์ เราไม่เข้าใจนะ ว่าความพ้นจากขันธ์คือความพ้นจากทุกข์ พ้นจากขันธ์ไม่ต้องรอให้ตายก่อนนะ จิตนี้แหละมันไม่ยึดถือขันธ์ มันถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ เป็นอิสระจากขันธ์ เมื่อไรจิตเป็นอิสระจากขันธ์ ถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ ในพระไตรปิฎกมีคำหนึ่งด้วย สำรอกออกมา สำรอกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์นะ ขันธ์ก็เป็นทุกข์ตามธรรมดาของขันธ์ แต่จิตที่หลุดออกมาจากขันธ์ จิตที่พ้นจากขันธ์ ตัวนี้ต่างหากที่ไม่ทุกข์ ไม่ใช่พยายามไปปฏิบัติเพื่อให้ขันธ์เป็นสุขนะ พวกเราพยายามปฏิบัติจะให้ขันธ์เป็นสุข เช่น อยากให้จิตสุขถาวร ถ้าตั้งเป้าผิด การปฏิบัติผิดแน่นอนเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ ชาวพุทธทำเนี่ย ไม่ใช่ว่าทำยังไงจะดี ทำยังไงจะสุข ทำยังไงจะสงบ อันนั้นศาสนาอื่นเค้าก็ทำ สิ่งที่ชาวพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ ก็อยู่ที่ตัวปัญญานั่นเอง สิ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธต่างจากคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องศีล ไม่ใช่เรื่องสมาธินะ ศาสนาอื่นก็มีศีล มีสมาธิ แตกต่างก็แตกต่างในรายละเอียด อย่างคริสต์เนี่ยกินไวน์ได้ใช่มั้ย? ประเทศเค้าหนาวเค้าก็กินได้สิ แตกต่างกันไป ส่วนสมาธิก็หลักอันเดียวกันหมดล่ะ จะศาสนาไหนก็มีเรื่องของสมาธิ มุสลิมละหมาดวันละ ๕ ครั้ง เหมือนเราสวดมนต์นั่นเอง ใจจดจ่อ เค้าจดจ่อกับพระเจ้า จิตใจเค้าสงบ จิตใจเค้ามีความสุข เห็นมั้ย สมถะเป็นของสาธารณะนะ สมาธิเป็นของสาธารณะ ศีลก็เป็นของสาธารณะ นักปราชญ์ทั้งหลายยกย่องการมีศีลเหมือนๆกัน ศีลแตกต่างกันบ้างเล็กๆน้อยๆ แต่ปัญญาต่างหากที่ไม่เหมือนกัน คนอื่นเนี่ยสอนเพื่อมุ่งความสุขถาวรความเป็นอมตะ แต่พระพุทธเจ้าค้นพบว่าไม่มีทางทำขันธ์ให้เป็นสุขถาวรได้หรอก ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์

       เคยได้ยินอริยสัจ ๔ ใช่มั้ย? อริยสัจ ๔ ข้อแรกคือ ทุกข์ ทุกข์คืออะไร? ทุกข์คือขันธ์ ๕ นะ ขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ไม่มีใครทำขันธ์ ๕ ให้เป็นตัวสุขได้ แต่ว่าพวกเราที่ลงมือปฏิบัติเนี่ย มักจะมุ่งหวังให้ขันธ์ ๕ มีความสุข ตั้งเป้าผิดนะ ยังไงก็ผิด ทำไมเราอยากให้ขันธ์ ๕ มีสุข? เราคิดว่าขันธ์ ๕ นี้คือตัวเรา เราจะเสียดายมากเลยถ้าตัวเราหายไป เพราะเราจะรักเหนียวแน่นที่สุดเลยว่ามันคือตัวเรา พอมันเป็นตัวเรา เราก็อยากให้มันมีความสุข เพราะไม่รู้ความเป็นจริง คือมีอวิชชา ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ คิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวดี คิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวเรา ก็เกิดตัณหาเกิดความอยากจะให้ขันธ์ ๕ มีความสุข อยากให้ขันธ์ ๕ นี้พ้นจากทุกข์ พอมีความอยากขึ้นมาจิตใจก็ยิ่งดิ้นรน ดิ้นรนแสวงหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์ ที่ปฏิบัติธรรมกันแทบเป็นแทบตาย รู้สึกมั้ย? พอลงมือปฏิบัติแล้วความทุกข์เกิดขึ้นตั้งเยอะแยะเลย ความจริงต้องการพ้นทุกข์นะ แต่ยิ่งดิ้นมันยิ่งทุกข์ ยิ่งดิ้นมันยิ่งทุกข์ พอยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้นนะ นี่วัฏสงสารหมุนเวียนอยู่ตรงนี้เอง สังสารวัฏหมุนอยู่ตรงนี้เอง ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้น เวียนไปเรื่อยๆ ไม่มีทางสิ้นสุดเลย แล้วก็ดิ้นเลย ทำยังไงจะพ้นทุกข์ ทำยังไงจะพ้นทุกข์ ทำยังไงกายนี้ใจนี้จะพ้นทุกข์ พ้นไม่ได้เด็ดขาด แต่ถ้าปัญญาแก่กล้าขึ้นมานะ เห็นขันธ์ก็ส่วนขันธ์นะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย คืนขันธ์ให้กับโลกไป คืนขันธ์ให้ธรรมชาติไป คือคืนก้อนทุกข์ให้โลกไปนั่นเอง โลกนี้เป็นทุกข์นะ ขันธ์เป็นทุกข์ คำว่าโลกกับขันธ์ก็คำเดียวกันนั่นแหละ บางทีก็บอกโลกคือหมู่สัตว์ บางทีในพระไตรปิฎกบอก โลกคือขันธ์ ๕ คือรูปกับนาม ก็อันเดียวกัน มันเป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นหน้าที่เราเรียนรู้ทุกข์ รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจไปด้วยจิตใจที่เป็นกลาง นี่…คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้เอง คือรู้ด้วยความเป็นกลาง รู้แล้วไม่แทรกแซง พวกเราตั้งหน้าแทรกแซงลูกเดียวเลย แทรกแซง บังคับ เคี่ยวเข็ญ อยากให้ได้มรรคผลนิพพาน อยากให้ดี อยากให้สุข อยากให้สงบ มีแต่แทรกแซง พอแทรกแซงมันก็คือการกระทำกรรม ก็มีวิบากมีความทุกข์ขึ้นมาอีก มีกิเลสคืออยากพ้นทุกข์  เกิดการกระทำกรรม เรียกว่า “กรรมฐาน” เกิดวิบากมีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเรามีกิเลสอยากปฏิบัติ มีสติรู้ทัน รู้ทันความอยากดับลงไป ไม่มีความอยากปฏิบัติ แต่รูปเคลื่อนไหว รู้สึก จิตเคลื่อนไหวรู้สึก รู้สึกเองไม่ได้จงใจรู้สึก รู้สึกแล้วไม่ทำอะไร ไม่แทรกแซง ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่เข้าไปทำอะไรกับรูปกับนามกับกายกับใจ รู้ลูกเดียว รู้อย่างเป็นกลาง ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางก็ไม่ดิ้นรน ใจที่ไม่ดิ้นรนนี่แหละจะเห็นนิพพาน เพราะฉะนั้น พรากออกจากขันธ์เมื่อไหร่ ก็เห็นนิพพานเมื่อนั้น พรากออกจากขันธ์ไม่ใช่ตายนะ อยู่ต่อหน้าต่อตานี่

       ถ้าใครภาวนากับหลวงพ่อไปช่วงหนึ่งจะเห็น ตื่นเช้าขึ้นมานะสิ่งแรกที่พวกเรานักปฏิบัติทำนะ คือหยิบฉวยจิตขึ้นมาก่อน หยิบฉวยขึ้นมาก่อน ดูออกมั้ย พวกที่ฝึกมาช่วงหนึ่งแล้ว พอตื่นเช้าขึ้นมานะ คว้าปั๊บเลย กลัวไม่ได้ปฏิบัติ กลัวหาย กลัวจะหลงไป คว้าเอาไว้ แล้วก็มาดูใหญ่ ดู ศึกษา นี่นึกว่านี่คือการปฏิบัติธรรมนะ นี่กำลังหลงอยู่แท้ๆเลย และไม่ได้ดูเฉยๆนะ บีบด้วยนะ เค้นมันทั้งวันเลย เค้นมันทั้งวันเลย เวลาตัณหาเกิดทีหนึ่ง เค้นทีหนึ่ง ตัณหาเกิดทีหนึ่ง เค้นทีหนึ่ง ตัวมันเองก็เป็นตัวทุกข์อยู่แล้ว เป็นภาระ มันเป็นทุกข์เพราะมันเป็นภาระนะ ไปหยิบฉวยขึ้นมา มันก็เป็นภาระ เลยเป็นทุกข์ขึ้นมา แถมยังไปบีบไปเค้นมันด้วยตัณหาอีก มีทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงกลนะ ให้รู้ลงไป รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจตามที่เค้าเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง บางครั้งรู้แล้วใจไม่เป็นกลาง ห้ามไม่ได้ เพราะจิตใจก็เป็นอนัตตา เช่น พอมันเห็นความทุกข์เกิดขึ้น มันอยากให้หาย ไม่เป็นกลาง ก็ไม่ว่ามันนะ ไม่เป็นกลางให้รู้ว่าไม่เป็นกลาง ให้     รู้ทันความไม่เป็นกลางนะ ความไม่เป็นกลางดับไปมันจะเป็นกลางของมันเอง เราก็จะรู้ทุกข์ด้วยความเป็นกลาง หรือความโกรธเกิดขึ้นมา มันอยากหายโกรธ ให้รู้ทันความอยากหายโกรธ ตัวนี้ไม่เป็นกลาง พอรู้ทันนะ ความอยากนี้ดับไป ใจเป็นกลาง ท่านบอก “ให้รู้ทุกข์ ให้ละสมุทัย” ใช่มั้ย “รู้ทุกข์” ก็คือสภาวะของรูปธรรมนามธรรมปรากฏขึ้นมาให้รู้ ใจเราไม่เป็นกลาง มันอยากให้เป็นอย่างนั้นอยากให้เป็นอย่างนี้ ตัวนี้ให้ละเสีย ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ ละความอยากที่จะแทรกแซงขันธ์นั่นเอง แล้วใจก็จะเป็นกลางกับขันธ์ ดูขันธ์ทำงานไป ถึงวันหนึ่ง ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นความจริงเลย ขันธ์ส่วนขันธ์นะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา เราไม่มี มีแต่ธรรมชาติอันหนึ่งไปรู้ขันธ์เข้า ไม่มีความเป็นตัวเป็นตนตรงไหนเลย พอวางลงไปนะ มันจะวางเป็นลำดับๆไป ขั้นแรก มันวางกายก่อน วางความยึดถือกายก่อน เพราะว่ากายนี่ดูง่ายว่าเป็นตัวทุกข์ เห็นว่ากายนี้มันทุกข์ นี่ดูง่าย มันยอมวาง เวลาเจ็บหนักๆ เคยเห็นมั้ยตามโรงพยาบาล คนไข้เจ็บหนักนะอยากตาย เมื่อไหร่จะตายโว้ย เมื่อไหร่จะตายโว้ย เห็นไหม ไม่รักกายแล้วนะ เพราะกายนี้ทุกข์ อย่างนี้เห็น แต่ไม่รู้สึกว่าจิตเป็นทุกข์ มองไม่เห็น เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ พวกเราดูเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตัวเองนะ มันไม่อ้อมค้อม วันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราจะได้โสดาบัน วันใดไม่ยึดถือจิต วันนั้นแหละเป็นพระอรหันต์ เพราะสิ่งที่ยึดที่สุดเลยคือจิตนั่นเอง เพราะฉะนั้นเรียนรู้นะ เรียนรู้เข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตนเอง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๒
File: 491022B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๙
File: 510628.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิจจสมุปบาทและอริยสัจจ์

mp 3 (for download) : ปฎิจจสมุปบาท และอริยสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเราเห็นจิตใจตัวเองอยู่นะ เราจะเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจที่จะปรุงแต่งความทุกข์ขึ้นมา ไปเห็นปฏิจจสมุปบาท แต่โดยธรรมชาติของปุถุชนจะเห็นได้ไม่ตลอดสาย จะเห็นท่อนปลายๆก่อน เช่นว่าเห็นว่ามีผัสสะ แล้วก็เลยเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมาเพราะการกระทบอารมณ์ ถ้ากระทบทางตาหูจมูกลิ้น สี่ทวารนี้ กระทบแล้วเฉยๆ  ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ตรงที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์เนี่ย โมหะแทรกง่าย ตรงกระทบทางกายกับทางใจเนี่ย มีสุขมีทุกข์ขึ้นมา นะ พอมีความสุขเกิดขึ้นราคะก็แทรก มีความทุกข์เกิดขึ้นโทสะก็แทรก มันจะแทรกเข้ามา

พอราคะ โทสะ โมหะ มันแทรกตัวเข้ามาในจิตแล้วเนี่ย มันจะผลักดันให้จิตทำงาน นะ เช่น โทสะเกิดขึ้น มันก็อยากให้สภาวะอันนี้หายไป เกิดตัณหาขึ้นมา โลภะเกิดขึ้นก็อยากให้สภาวะนี้คงอยู่นานๆ โมหะเกิดขึ้นนะมันก็อยากรู้ให้ชัดๆ หรือถ้าจิตฟุ้งซ่านก็อยากให้สงบ ความอยากเกิดขึ้น ทันทีที่ความอยากเกิดขึ้นนะ ใจเกิดการดิ้นรน มันจะเข้าไปจับอารมณ์ให้มั่นๆ เข้าไปเกาะ

เพราะฉะนั้นเวลาใจเกิดความอยากขึ้นมานะ ใจจะทะยานเข้าไปเกาะอารมณ์ ไปเกาะอย่างแรงๆเลย ตรงที่จิตไปเกาะอารมณ์อย่างรุนแรงเรียกว่ามีตัณหา มีตัณหาอย่าแรงเนี่ย ตัณหาอย่างแรงนี่ล่ะเรียกว่าอุปาทาน เพราะฉะนั้นองค์ธรรมของอุปาทาน องค์ธรรมของตัณหาเป็นอันเดียวกัน คือโลภะ คือตัณหานั่นเอง แต่อุปาทานเป็นตัณหาที่มีกำลังแรงกล้า ไม่ใช่อยากเฉยๆหรอก แต่อยากแล้วกระโดดใส่เลย พอมันกระโดดเข้าไป จิตก็เกิดการทำงานขึ้นมา การทำงาน เช่น ไปดึงอันนี้ไว้ ไปผลักอันนี้ไว้ ไปค้นคว้าหาทางทำอย่างไรจะรู้ชัด ทำอย่างไรจิตจะตั้งมั่น นี่เรียกว่าการทำงานของจิต การทำงานของจิตนี่แหละเรียกว่าภพ ชื่อเต็มๆคือคำว่า “กรรมภพ”

เมื่อจิตมันทำกรรมขึ้นนะ มันจะรู้สึกว่า “เรามีอยู่” จะรู้สึกว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ นะ เพราะฉะนั้นอาศัยการทำกรรมนี้ก็เลยรู้สึกว่าเรามีอยู่ ตัวเรา เป็นความรู้สึก ตัวเราจริงๆไม่มี พอมันมีอยู่นะ มันก็รู้สึกว่า “กายนี้เป็นตัวเรา ใจนี้เป็นตัวเรา” ขึ้นมา มันก็เลยมีที่รองรับความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์มีที่ตั้งแล้ว เนี่ยเราจะเห็นอย่างเก่งที่สุดเห็นได้เท่านี้แหละ เราจะไม่สามารถทวนลงไปเห็น เช่นว่า วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป เริ่มดูยากแล้ว หลวงพ่อยังไม่เจอ ว่าปุถุชนเห็นตรงนี้ วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป เราจะคิดเรื่องแต่ว่า เกิดปฏิสนธิจิต ลงในภพใหม่ อันนี้ปุถุชนเห็นได้ แต่ว่าจิตที่หยั่งลงไป แล้วก็เกิดกายเกิดใจขึ้นมา มองไม่เห็น ตัวนี้ไม่เห็น จะเห็นตรงนี้ได้ต้องทำจิตเข้าไปอัปนาเลยนะ แล้วดับลงไปเลย ดับความรู้สึกลงไปให้ได้

หรืออย่างน้อยๆนะ เข้าไปถึงเนวสัญญา แล้วตอนที่จิตที่หยาบผุดขึ้นมานะ มันจะเห็น มันจะ ความปรุงแต่งผุดขึ้นมาก่อน พอความปรุงแต่งผุดขึ้นมาแล้ว ก็เกิดจิตขึ้นมา มีจิตขึ้นมา ที่ไปรับรู้ความปรุงแต่งนั้น ทีนี้ความปรุงแต่งนี้ พอปรุง ปรุงจิตขึ้นมา จริงๆมันเกิดร่วมกันแหละ พอจิตนี้หยั่งลงไปรู้กาย กายก็ปรากฏ หยั่งลงไปรู้จิต จิตก็ปรากฏ รู้นามธรรมที่ปรากฏขึ้นมา ตรงนี้เห็นยากมากแล้ว ตรงที่ยากสุดๆเลย อวิชา อวิชาเนี่ยสุดยอดแล้ว อย่าว่าแต่ปุถุชนไม่เห็นเลย พระอนาคามีก็ไม่เห็น เพราะถ้าเห็นถึงอวิชานะ วิชาก็เกิดขึ้นมา ก็ทำลายความปรุงแต่ง จิตจะไม่หยั่งลงในภพใดๆ จิตจะไม่ทำงานขึ้นมา

การภาวนาไม่ใช่ อย่างเราอ่านพุทธประวัตินะ ว่าพระพุทธเจ้าพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ก็นึกว่าท่านคิดๆเอา หลายคนคิดว่า คนอื่นคิดไม่ได้ ต้องพระพุทธเจ้าแล้วคิดแล้วบรรลุพระอรหันต์ได้ เข้าใจผิด ถ้าหากคิดเอาเองแล้วบรรลุพระอรหันต์ได้นะ ทางสายเอก ทางสายเดียวก็จะไม่มี มันจะมีทางสองสาย เป็นทางสำหรับคนทั่วๆไป สายหนึ่งคือการเจริญสติปัฏฐานกับทางเฉพาะพระพุทธเจ้า คือ คิดๆเอาเอง แท้จริงไม่ได้มีอย่างนั้นนะ ทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้นมีอยู่ทางเดียวเท่านั้น คือ สติปัฏฐาน

พระพุทธเจ้าบารมีแก่กล้า ท่านทำสติปัฏฐานในหมวดสุดท้าย ในบรรพสุดท้าย หมวดสุดท้ายเลยก็คือ ธรรมานุปัสสนา บรรพสุดท้ายเลยคือเรื่องอริยสัจจ์ ท่านเห็นอริยสัจจ์นั่นเอง ทีนี้กระบวนการเห็นอริยสัจจ์ของท่านนะ ท่านเห็นละเอียดละออ ท่านเห็นมาไล่มา มีสภาวะรองรับมาตั้งแต่ มีทุกข์ขึ้นมา มีทุกข์เพราะมีชาติ มีชาติเพราะมีภพ มีภพเพราะมีอุปาทาน มีอุปาทานเพราะมีตัณหา มีตัณหาเพราะมีเวทนา ความจริงนี่อย่างย่อนะ อย่างละเอียดอย่างที่หลวงพ่อกระจายให้ฟังตะกี้นี้  อย่างก่อนที่เวทนาจะแปรสภาพเป็นตัณหา มีกระบวนการทำงานตั้งเยอะแยะ มันจะมีกิเลสแทรกเข้าในเวทนาก่อน มีกิเลสแทรกเข้ามา  แล้วก็จิตนั้นแหละมันเลยเกิดความอยากไปด้วยอำนาจของกิเลส

นี้เราค่อยภาวนาไปนะ เท่าที่เห็นได้ก่อน ไม่จำเป็นต้องเห็นปฏิจจสมุปบาททั้งสาย พระโสดาบันเหมือนๆจะเห็นทั้งสายนะ พระโสดาบันรู้สึกว่าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทจริงๆไม่เข้าใจหรอก อย่างพระอานนท์นะเคยไปทูลพระพุทธเจ้า บอกว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นของตื้น เหมือนเป็นของตื้น ตรงนี้ก็เกิดตีความกันใหญ่ว่าทำไมพระอานนท์ว่าตื้น ก็บอกว่าพระอานนท์ Genious มาก ฉลาด ก็เลยรู้สึกตื้นๆ ถ้าพระอานนท์ท่านเห็นแจ่มแจ้งจริงๆ ท่านจะเป็นพระอรหันต์น่ะสิ พระพุทธเจ้าถึงห้ามบอกว่าอย่าพูดอย่างนั้นนะพระอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกนัก ตราบใดที่ไม่เห็นแจ้งปฎิจจสมุปบาทนี้ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก คำว่าเห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาทก็คือ เห็นลงมาถึงอวิชาเลย ไม่ใช่เห็นอยู่ผิวๆบนๆหรอก

พวกเราจะเห็นผิวๆ เห็นท่อนปลายๆ เห็นที่เป็นผลๆมาแล้วนะ เราไม่เห็นรากเห็นเหง้ามัน เพราะฉะนั้นอาศัยความพากเพียรรู้กาย พากเพียรรู้ใจไปเรื่อยนะ ไม่ท้อถอย รู้ทุกวี่ทุกวัน รู้ไปเรื่อยๆ เมื่อไรเข้าใจความเป็นจริงของกายแจ่มแจ้ง เข้าใจความเป็นจริงของจิตใจแจ่มแจ้ง นั่นแหละเรียกว่าวิชา จะละอวิชาลงไป

อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ไม่รู้ทุกข์เนี่ยตัวต้นตอ ไม่รู้ทุกข์คือ ไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษ พอไม่รู้ทุกข์อย่างนี้ก็เกิดสมุทัย เห็นมั้ย เนี่ย เพราะไม่รู้ทุกข์จึงเกิดสมุทัย ส่วนที่พวกเราเรียนกันได้เนี่ย เห็นภาวนาเบื้องต้นเราจะเห็นว่า ถ้ามีสมุทัยแล้วจะเกิดทุกข์ มีตัณหาขึ้นมาแล้วใจถึงจะมีความทุกข์ รู้สึกมั้ย เกิดความอยาก คนทั่วๆไปยังไม่เห็นด้วยนะ แค่นี้ยังไม่เห็นแล้ว คนทั่วๆไปเห็นว่า ไม่สมอยากถึงจะทุกข์ ส่วนนักภาวนาเนี่ยจะเห็นเลย แค่มีความอยากเกิดขึ้น จะสมอยากหรือไม่สมอยาก จิตก็ทุกข์แล้วเพราะจิตต้องทำงาน เนี่ยนึกว่าเข้าใจอริยสัจจ์ ไม่เข้าใจหรอก

ลำพังเห็นว่าเพราะมีสมุทัยจึงเกิดทุกข์นี้ยังตื้น ต้องเห็นว่า เพราะไม่รู้ทุกข์จึงเกิดสมุทัย นี่ถึงจะลึกซึ้งจริง ไม่รู้ทุกข์คือไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นก้อนทุกข์นะ เป็นตัวทุกข์ เป็นธาตุ ธาตุที่มันเป็นทุกข์ พอไม่รู้ว่าเป็นตัวทุกข์ เป็นตัวดีตัววิเศษ คิดว่ามันเป็นตัวเรา เนี่ย เพราะความไม่รู้แท้ๆเลย มันก็เกิดความอยาก ที่จะให้กายนี้ใจนี้มีความสุข อยากให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มีความอยากขึ้นมา

พอเกิดความอยากใจก็เกิดการดิ้นรน พอใจดิ้นรนเกิดความทุกข์อีกชนิดหนึ่งขึ้นมา ความทุกข์เพราะตัณหาไม่ใช่ความทุกข์เพราะขันธ์ ในขณะที่ตัวอริยสัจจ์นี้นะ ความทุกข์คือทุกข์ของขันธ์นะ ขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ ท่านถึงสอนว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ทำไมต้องมีคำว่า อุปาทาน ทำไม่บอกว่า ว่าโดยย่อขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ เพราะขันธ์ ๕ บางตัวไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ ๕ ยังมีสองส่วนนะ ส่วนที่เป็นตัวทุกข์กับส่วนที่ไม่ใช่ตัวทุกข์ ส่วนที่ไม่ใช่ตัวทุกข์คือบรรดาโลกุตรจิตทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจะไม่เอาโลกุตรจิตมาทำวิปัสสนานะ แล้วก็ไม่มีจะทำด้วย

ให้เราใช้จิตธรรมดนี่แหละ จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล จิตที่เป็นวิบากพื้นๆนี่แหละ ให้คอยรู้คอยดูมันเรื่อยๆไป แต่ถ้าภาวนาไปจนถึง เห็นมหากริยาจิต จิตของพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องทำวิปัสสนาอีก เพราะฉะนั้นวิปัสสนาเราใช้จิตพื้นๆนี่ล่ะ จิตมนุษย์ธรรมดานี่ล่ะ เพราะฉะนั้นการที่เป็นมนุษย์ถึงดีที่สุด วิเศษที่สุดเลย เพราะเรามีจิตที่เหมาะแก่การทำวิปัสสนามากเลย

จิตของพรหมไม่ค่อยเหมาะนะ มันนิ่งเกินไป มันคงที่มากไป แต่จิตมนุษย์เนี่ยกลับกลอกรวดเร็ว เปลี่ยนไปเปลี่ยนมารวดเร็วมากเลย แสดงไตรลักษณ์อย่างรวดเร็วเลย พอเราเห็นไตรลักษณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ตลอดเวลาอยู่นั้น ไม่นานใจก็ยอมรับความจริงได้ ว่าจิตนี้ก็ไม่ใช่เราหรอก ได้โสดาฯ แล้วก็ดูกายดูใจไปเรื่อยนะ ถึงวันหนึ่งแจ่มแจ้งเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ยึดกาย ได้พระอนาคาฯ ดูลงไปอีกนะ ถึงจิตถึงใจแล้วปล่อยวางจิตได้ ไม่ยึดจิตน่ะ ถึงจะจบกิจทางศาสนาแล้วยังไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว ใจจะร่อนอยู่ตลอดเวลาเลยนะ ใจจะไม่เข้าไปเกาะไปเกี่ยวอะไรโดยที่ไม่ต้องระวังรักษาเลย ทั้งหลับทั้งตื่นเลยนะ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน มันจะมีแต่ความเป็นอิสระ เบิกบาน อยู่ล้วนๆอยู่อย่างนั้นเอง

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ลงมานะ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ จนรู้แล้ว กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มันจะสลัดคืน ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจ คืนกายคืนใจให้โลกเขาไป ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจเนี่ย สมุทัยจะดับอัตโนมัติ เพราะสมุทัยมันคือความอยากให้กายให้ใจมีความสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ทำไมต้องอยาก อยากเพราะว่ามันเป็นตัวเรา พอมันไม่เป็นตัวเราแล้ว สลัดคืนสลัดทิ้งไปแล้วจะอยากทำไม เห็นมั้ย สมุทัยดับเองนะ เพราะว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยจะดับอัตโนมัติเลย

ทันทีที่สมุทัยดับเนี่ย นิโรธจะปรากฎในขณะนั้นเลย คือนิพพานจะปรากฎขึ้นต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่มีสภาวะที่ต้องเข้าๆออกๆ นิพพานที่ต้องเข้าๆออกๆไม่ใช่นิพพานตัวจริง อย่างต้องนั่งสมาธิแล้วก็เคลิ้มๆดับลงไป หมดความรู้สึก บอกว่าเข้านิพพาน ไม่ใช่ นิพพานไม่อนาถาอย่างนั้นนะ นิพพานไม่ได้เกิดไม่ได้ดับ นิพพานเต็มบริบูรณ์อยู่อย่างนี้เอง ครอบโลกธาตุทั้งหมดอยู่อย่างนี้เอง ไม่มีความเกิดไม่มีความดับ เที่ยง มีแต่สันติสุข มีความสุขมหาศาลนะ จิตที่ไปรู้นิพพาน ก็ได้รับความสุขของนิพพานนั้นมหาศาลเลย

เพราะฉะนั้นนิพพานไม่ใช่ว่าแปลว่าไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเลยเป็นมิจฉาทิฎฐิ เรียก นัฏฐิกทิฎฐิ ไม่มีอะไรเลย หรือสูญไปหมดเลย เรียก อุจเฉทิกทิฎฐิ แต่นิพพานไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าเป็นภพอันใดอันหนึ่ง ที่มีขันธ์อยู่ อันนั้นเป็นสัสสตทิฎฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกชนิดหนึ่ง

นิพพานเป็นอะไร นิพพานก็เป็นนิพพานน่ะสิ ถามว่านิพพานเที่ยงมั้ย เที่ยง นิพพานเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ นิพพานมีความสุข นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา เป็นอนัตตานะ ไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครจะเป็นเจ้าของครอบครองนิพพาน
นิพพานไม่เคยเต็มนะ หมายถึงว่าไม่เคยมีเจ้าของไปจับจองพื้นที่จนเต็มพื้นที่ได้ จริงๆนรกก็ไม่เต็มเหมือนกัน เพราะทุกคนสร้าง(นรก)ของตัวเองได้ พอนรกตรงนี้คับแคบแล้วนะ เราทำชั่วมากๆมันก็สร้างขึ้นมาอีก สร้างของตัวเองได้

การที่เรา รู้กายรู้ใจ จนเราเห็นความจริงของกายของใจ แล้วก็หมดความอยากให้กายให้ใจมีความสุข หมดความดิ้นรน เข้าถึงสันติสุขคือนิพพาน การรู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจชนิดนี้เรียกว่า การดำเนินอริยมรรค คืออริยมรรคนะ เพราะฉะนั้นอริยมรรค บอก พวกเราเจริญมรรค เจริญมรรค มรรคที่พวกเราเจริญ ยังมิใช่อริยมรรค มรรคที่พวกเราเจริญเรียกว่า บุพภาคมรรค มรรคเบื้องต้น ไม่ถือว่าเป็นอริยมรรค แต่อาศัยบุพภาคมรรค รู้กายรู้ใจมากเข้าๆเนี่ย วันหนึ่งอริยมรรคจะเกิดขึ้น เวลาที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ย รู้อริยสัจจ์ อริยสัจจ์ แต่รู้ตามชั้นตามภูมิ โสดาฯก็รู้เหมือนกัน รู้สิ่งเดียวกันนั่นเอง เสร็จแล้วก็ไปเห็นนิพพานอย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ความเข้าใจไม่เท่ากัน นี้ครูบาอาจารย์เคยสอนหลวงพ่อมานะ หลวงปู่สุวัจน์น่ะ เราภาวนาแล้วไปถามท่านนะ ท่านก็บอก สงสัยอะไร พระสกิทาคาฯ พระอนาคาฯ พระอรหันต์ นะ ก็เห็นของเดียวกัน เห็นสิ่งเดียวกัน แต่ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ไม่มีอะไรยิ่งกว่านี้แล้ว นะ ไม่มีอะไรยิ่งกว่านี้แล้ว

เพราะฉะนั้นสิ่งที่แตกต่างกันของพระอริยเจ้าแต่ละชั้นก็คือ ความเข้าใจ ไม่เท่ากัน แต่พระอริยเจ้าชั้นเดียวกันก็เข้าใจไม่เท่ากันนะ ถึงความบริสุทธิ์อย่างเดียวกัน แต่ความรู้ความเข้าใจความแตกฉานจะไม่เท่ากันแล้วแต่ว่าจะสร้างบารมีมาทางไหน

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
File:  500615A.mp3
ระหว่างนาที่ ๓ วินาทีที่ ๓ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้ามทะเลทั้งสี่ (โอฆะ) แล้วจะถึงจิตหนึ่ง

mp3 (for download) : ข้ามทะเลทั้งสี่ (โอฆะ) แล้วจะถึงจิตหนึ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: วันก่อนโน้น หลวงพ่อ ไม่ค่อยได้ฟังธรรมะที่สะใจมานานแล้ว ธรรมะที่สะใจครั้งสุดท้ายที่ได้ยินนะ คือ หลวงพ่อคำเขียน ไปหาท่าน ไปเยี่ยม ท่านไม่สบาย เมื่อเดือนพฤศจิกาฯ

ท่านบอกว่า โอ๊ย.. ผมไม่มีอะไรแล้ว ผมอยู่กับความไม่มีไม่เป็นอะไรหรอก อู๊ยสะใจ สะใจจริงๆ จริงๆเราอยู่กับความไม่มีไม่เป็น แต่ความสำคัญมั่นหมายของเราเพราะความเห็นผิดนั่นนะ ไปสำคัญว่ามันมีมันเป็นขึ้นมา มันมีเรามีเขาขึ้นมา

กว่าเราจะข้ามทิฎฐิ ที่ว่ามันมีเรามีเขาขึ้นมาได้นี้นะ ข้ามยาก อันนี้เป็นทะเลหรือเป็นมหาสมุทรอันแรกนะ ของผู้ปฎิบัติ เรียกว่าโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำห้วงมหาสมุทรอะไรอย่างนี้ มหาสมุทรในโลกมันมีกี่อัน จำไม่ได้แล้ว เคยเรียน แต่มหาสมุทรในการปฏิบัตินี้มันมี ๔ อันนะ ต้องข้ามให้ได้ให้หมดเลย มีทะเลอยู่ ๔ ทะเล ถ้าข้ามได้หมดก็จะเอาตัวรอดได้

มหาสมุทรอันแรกเลย คือ ทิฎฐิ ทะเลคือทิฎฐิ คือความเห็นผิดของเรานี้แหละ เราไปเห็นผิดในของที่ไม่มีตัวมีตน ว่ามีตัวมีตนขึ้นมา เวลาเรามองโลกแล้วสะดุดปั๊บขึ้นมาเลย เกิดเราเกิดเขา เกิดสัตว์เกิดคน เกิดต้นไม้ เกิดสิ่งโน้น เกิดสิ่งนี้ โลกนี้ลุ่มๆดอนๆ

ในทางมหายานนะเคยมีสูตรอยู่สูตรหนึ่ง พระสารีบุตร ไปบอกพระพุทธเจ้าบอกว่า พระองค์ สร้างบารมีไม่ค่อยดีเท่าไร พุทธเกษตรของ.. หรือโลกของพระองค์ดูลุ่มๆดอนๆ พวกพระโพธิสัตว์ก็เถียง บอกว่าไม่จริงหรอก พุทธเกษตรของพระพุทธเจ้าเนี่ยเรียบเลย ราบเรียบไปหมดเลย ไม่มีความเป็นลุ่มเป็นดอน ไม่มีอะไรสะดุดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนได้เลย มันว่างเปล่า แต่ไม่ใช่ว่างแบบไม่มีอะไร

จริงๆนี่ก็แต่งเกินไป พระสารีบุตรไม่ได้โง่ขนาดนั้นหรอก สาวกรุ่นหลังๆ ภาวนาไปยังเห็นโลกว่างได้เลย ทำไมพระสารีบุตรท่านจะไม่เห็น

มิจฉาทิฎฐิ เป็นสิ่งแรกที่พวกเราต้องภาวนา แล้วก็ข้ามมันให้ได้ คือเราสำคัญมั่นหมายว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา เราไปแบ่งแยกสมบัติของโลกส่วนหนึ่งออกมาเป็นตัวเราขึ้นมา ส่วนที่เหลือมันก็เป็นคนอื่น เป็นสิ่งอื่นๆ เป็นสิ่งที่แวดล้อมอยู่ ไปแบ่งตัวเองออกมา สำคัญมั่นหมายว่ามี ว่าเป็น เป็นโน่นเป็นนี่ด้วยนะ เป็นใหญ่เป็นโต เป็นคนดีเป็นคนเลว เป็นพวกทุศีลเป็นพวกมีศีล แบ่งตัวเองออกไปจากธรรมชาติ ซึ่งไม่มีอะไรอยู่แล้ว เสมอภาคกันทั้งหมด

พอมีตัวเราขึ้นมาก็มีมิจฉาทิฎฐิต่อไปอีก ถ้าตัวเราตายไป เราไปเกิดอีก ตัวเราเที่ยง จิตเรานี้เที่ยง ร่างกายแตกสลายไป จิตนี้ยังไม่เกิดได้อีก นี่ก็มิจฉาทิฎฐิแขนงหนึ่ง เรียกว่า สัสตทิฎฐิ อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตัวเรามีอยู่ แล้วตายไปก็หายไปเลย นี่ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอีก เรียกว่า อุจเฉทิกทิฎฐิ รากเหง้าของมันก็เริ่มมาจากความมีตัวเรานี่แหละ มีตัวเราแล้วก็มีตัวเราอย่างเที่ยงแท้ถาวร หรือมีตัวเราชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็หายสาบสูญไป

ทะเลทิฎฐินี้จะข้ามได้ต้องเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ๔ ทะเลนี้ พวกเรายังข้ามไม่ได้สักทะเลหนึ่งเลยนะ ข้ามได้แค่ริมทะเลอะไรอย่างนี้ เที่ยวๆไปอย่างนี้ จะข้ามทิฎฐิตัวนี้ได้ต้องมีสติ มีปัญญา มีสัมมาสมาธิ มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี่ มีใจที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ สักว่ารู้ สักว่าดู เวลาดูกายจะรู้สึกเหมือนว่ากายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เวลาดูเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ มันจะรู้สึกว่าเวทนาอยู่ส่วนหนึ่งจิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างนะ ไม่ ไม่เป็นอันเดียวกัน มีช่องว่างมาคั่น

เวลาดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล จะเห็นเลย อกุศลหรือกุศลทั้งหลายนะ กับจิตเนี่ยคนละอันกัน มีช่องว่างมาคั่น พวกเราดูออกแล้วใช่มั้ย เนี่ยเราดูไปเรื่อยนะ ใจเราตั้งมั่นจะสักว่ารู้สักว่าดูได้ เสร็จแล้วปัญญามันถึงจะเกิด มันจะเห็นเลย ทุกสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้าล้วนแต่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับไป บังคับไม่ได้สักอันเดียว ดูมาจนกระทั่งถึงจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูนี่เอง ก็เห็นมันเกิดดับ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เป็นผู้รู้บ้าง เป็นผู้หลงบ้าง ดูไปดูมาในขันธ์ ๕ นี้ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่มีตัวเราที่แท้จริง ให้มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี้นะ ถึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้

ข้ามทะเลตัวแรกได้ เหลืออีก ๓ ทะเล ข้ามยากนะ ทะเลหรือโอฆะตัวต่อไปคือกาม ข้ามยาก พวกเรา เห็นแต่กามคุณ เราไม่เห็นกามโทษ ทำให้เราข้ามไม่ได้ กามคืออะไร กามก็คืออารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ อย่างเราเห็นรูปที่สวยๆอย่างนี้ รูปนั้นเรียกว่ากาม หูเราได้ยินเสียงที่เพราะๆ ถูกอกถูกใจ เรียกว่ากาม กลิ่นหอมๆ ถูกอกถูกใจ นี่เขาเรียกว่ากาม รสอร่อยๆก็เรียกว่ากาม สัมผัสที่นุ่มนวล อบอุ่น สบาย อะไรอย่างนี้ ก็เรียกว่ากาม การคิดคำนึงถึงอารมณ์เหล่านี้ เป็นกามทางใจ เรียกว่า กามธรรม

พวกเราเกิดมา เราก็แสวงหาแต่อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจมาตลอดชีวิต เราเห็นว่าถ้าได้อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจได้แล้วเราจะมีความสุข งั้นเราเห็นว่ากามเนี่ยนำความสุขมาให้  ยากนักยากหนานะจะกล้าข้ามพ้นอำนาจของกามได้ ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีข้ามไม่ได้ ทีนี้ทำอย่างไรถึงจะข้ามพ้นทะเลอันที่สองคือทะเลกาม เคยได้ยินใช่มั้ย คนชอบพูดทะเลกาม แต่ไม่มีคนพูดทะเลทิฎฐิใช่มั้ย เพราะอะไร เพราะคนพูดเนี่ยยังมีทิฎฐิอยู่ ก็พูดไปอย่างนั้นแหละ ทะเลกาม ข้ามยาก ข้ามยาก

ต้องรู้ลงมาอีก รู้ลงมาในกายในใจนี้น่ะนะมากๆ จนวันใดเห็นนะว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ มันจะหมดความเพลิดเพลินยินดีพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลาย หมดความติดอกติดใจในกามคุณทั้งหลาย มันหมดของมันเองนะ ถ้ามันเห็นตัวนี้.. อย่างสังเกตมั้ย คนไหนเจ้าชู้มากๆนะ เกิดเจ็บหนักใกล้จะตายนะ หรือตัวเป็นแผลทั้งตัวแล้ว อะไรมาถูกนิดนึงก็แสบก็ปวดเนี่ย ให้มันไปกอดนางงามจักรวาลมันก็ไม่เอานะ เพราะมันไม่มีความสุขแล้ว

ถ้าเมื่อไรเราเห็นกายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆนะ มันจะไม่สนใจกามแล้ว จะไม่สนใจกามแล้ว ตาเห็นรูปจะสักว่าเห็นเลย ไม่ยินดีไม่ยินร้ายกับมันแล้ว หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส นะ จิตใจจะไม่ยินดียินร้าย มันไม่รักกายก็จะไม่รักกาม

ทะเลทิฏฐิเหมือนทะเลที่กว้างนะ ถ้าเทียบ เหมือนทะเลที่กว้างขวางไร้ขอบไร้เขต หลงเข้าไปแล้วไม่รู้จะไปทางไหนเลย ไม่รู้เหนือรู้ใต้ เพราะฉะนั้นปุถุชนทั้งหลาย หลงอยู่ในทะเลที่ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน มีพระพุทธเจ้ามาบอกทาง ทางนี้.. ทางนี้.. นะ คนที่รู้ทางเรียกว่าพระโสดาบัน รู้แล้ว ไปทางนี้แหละ ปลอดภัย งั้นจะข้ามทะเลทิฏฐิได้นะ ยาก เป็นทะเลที่กว้าง ไร้ขอบไร้เขต ดูอะไรดูไม่ออกหรอก ดูยาก แต่ข้ามได้ด้วยการที่เห็นลงมาในกายในใจว่าไม่ใช่เรา ทะเลกามนี้จะข้ามได้ เมื่อหมดความยึดถือกาย หมดความยึดถือในกาย

ถัดจากนั้นเหลืออีกสองทะเลนะ คือทะเลของภพ และทะเลของอวิชา เรียกว่า ภวะโอฆะ กับ อวิชาโอฆะ โอฆะคือภพ โอฆะคืออวิชา ห้วงน้ำ

ภพคืออะไร ภพคือการทำงานของจิต สังเกตมั้ยพวกเราภาวนา เห็นมั้ย จิตทำงานทั้งวันทั้งคืน หมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืน เห็นมั้ยจิตเดี๋ยวก็วิ่งพล่านๆไปทางตา เดี๋ยววิ่งพล่านๆไปทางหู วิ่งพล่าน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักนะ

จิตนี้สร้างภพสร้างชาติหมุนติ้วๆอยู่ภายในตลอดวันตลอดคืน จะข้ามมันไม่ใช่ง่ายนะ แค่เห็นมันยังยากเลย ภาวนากว่าจะเห็นจิตเข้าไปทำงานตรงนี้ยังยากแสนเข็ญเลย รู้สึกมั้ย นะ จะข้ามทะเลของภพได้นะ ภพนี้เหมือนทะเลที่น้ำเชี่ยว เพราะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืนนะ เดี๋ยวซัดไปทางโน้นซัดไปทางนี้ นะ กระแสน้ำนี้รุนแรง กระแสน้ำที่ซัดจิตใจเราวิ่งไปวิ่งมา พล่านๆทำงานไปในภพก็คือ ตัณหา นั่นเอง ตัณหาเป็นเหมือนคลื่นลูกใหญ่เลย เหมือนกระแสน้ำเชี่ยวที่ซัดเราไป ซัดไปไม่รู้ทิศทางเลยนะ สร้างภพไปเรื่อย เดี๋ยวไปเกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ จะข้ามภพข้ามชาติได้ ก็ต้องละตัณหาได้

ทีนี้ตัณหาเกิดจากอะไร ตัณหาเกิดจากอวิชา นี้ ทะเลตัวสุดท้ายนี้ ข้ามยากที่สุด ถ้าข้ามตัวนี้ได้นะ จะหลุดจากน้ำเชี่ยวนี้ได้ด้วย อวิชาเหมือนทะเลหมอก น้ำสงบนะ ไม่มีคลื่น ไม่มีลม สบายๆ แต่เหมือนมีหมอกปกคลุมจนไม่รู้อะไรเลย บางทีเราอยู่ห่างฝั่งใช่มั้ย ถูกคลื่นซัดตูมตาม ตูมตาม กระเสือกกระสนเข้ามา จนจะถึงฝั่งอยู่แล้ว เกือบถึงฝั่งแล้วนะ มันมีหมอกลง มันมองไม่เห็น ว่ายไปว่ายมา ว่ายออกทะเลลึกไปอีกแล้ว เพราะฉะนั้นข้ามอวิชานี้ยากที่สุดเลย ทะเลตัวนี้จะข้ามได้ต้องเห็นอริยสัจจ์ เห็นไม่เหมือนกันนะ เห็นมั้ย เห็นอริยสัจจ์ เห็นแจ้งอริยสัจจ์

อริยสัจจ์ที่ตัวลึกซึ้งที่สุดเลย คือการเห็นว่าจิตเป็นทุกข์นี่เอง นะ เราภาวนาไปนาน เราเห็นแต่จิตเป็นสุข เพราะจิตเริ่มสงบแล้ว ใช่มั้ย ข้ามทะเลโน้นทะเลนี้มาถึงภพที่สงบ ภพที่ไม่มีคลื่นมีลมแล้ว จิตใจก็พอใจ รักใคร่พอใจอยู่แค่นี้แหละ สบายใจแล้ว เสร็จแล้วก็ว่ายกลับไปกลับมาแล้ว ถูกคลื่นซัดออกไปอีกแล้ว

ถ้าเป็นปุถุชนเนี่ย ซัดไปหาทิฎฐิเลย เกิดมิจฉาทิฎฐิได้เรื่อยๆนะ ถ้าไม่ใช่พระอนาคาฯ ก็หลงไปในกามได้อีก เพราะฉะนั้นมันพร้อมจะถอยหลังได้ ทีนี้จะละอวิชาได้นะ ต้องรู้อริยสัจจ์ รู้ลงมานะ กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆเลย พวกเรามีแต่อวิชา เราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง นี่อวิชานะ อวิชาพาให้เห็น

ไหนสารภาพมา มีใครรู้สึกมั้ย กายนี้ เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง มีมั้ย สารภาพ มีผู้ร้ายปากแข็งครึ่งห้อง นะ ไม่ยอมสารภาพ นะ พวกเรารู้สึกมั้ย จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นอย่างนี้แหละ อวิชา

ถ้าเห็นอย่างมีวิชา ก็จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง เห็นยากนะ ถ้าสติ สมาธิ ปัญญา ไม่แก่กล้าพอ มันไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ โดยเฉพาะจิตเนี่ย จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้สงบ สะอาด สว่าง แหมฟังแล้วดีทั้งนั้นเลย ใช่มั้ย จะให้เห็นว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ง่ายนะ ปฎิบัติกันปางตายเลยล่ะ เหมือนเอาชีวิตเข้าแลกเลยนะ ถึงจะเห็น เพราะฉะนั้นทะเลตัวนี้ ทะเลอวิชา เป็นทะเลที่เรียบๆนะ แต่ยากสุดๆเลย ยากมากเลย จับต้นจับปลายไม่ถูก นะ มีแต่เรียนรู้นะ มาตามลำดับๆ รู้กาย รู้ใจมาตามลำดับ

พอรู้กายถูกต้องแจ่มแจ้งได้พระอนาคาฯ จิตใจก็จะสบายขึ้นเยอะเลย จะไม่แส่ส่ายไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเหลือแต่ความสงบสุขอยู่ภายใน เพลิดเพลินอยู่กับความสงบสุขภายในจิตในใจของเราเอง นี่เอง

ต่อมาสติปัญญาแก่รอบลงมาอีก เห็นเลย ตัวจิตตัวใจที่ว่าสุขว่าสงบเนี่ย เอาเข้าจริงก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ตัวนี้ไม่รู้ว่าจะพูดภาษามนุษย์ยังไงนะ ฟังเอาไว้ก็แล้วกัน มันเห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่นะ มันจะทิ้งแล้ว จะวาง แต่ถ้ายังเห็นทุกข์บ้างสุขบ้าง มันไม่วางหรอก มันทุกข์ล้วนๆ โอ้ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ตัณหาจะดับทันทีเลย เมื่อมันเป็นทุกข์ล้วนๆแล้วจะอยากให้มันสุขได้อย่างไร นะ ของเรามีตัณหาขึ้นมาเพราะอยากให้ขันธ์ ๕ มีความสุข รู้สึกมั้ย อยากให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์

แต่วันหนึ่งเรียนจนกระทั่งรู้ชัดเลย ขันธ์ ๕ นี่ทุกข์ล้วนๆน่ะ ไม่มีทางอยากให้มันมีความสุข ไม่มีทางอยากให้มันพ้นทุกข์อีกต่อไปแล้ว มันไม่สมหวัง มันทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ใจเข้าถึงตรงนี้ ใจยอมรับตรงนี้จริงๆแล้วจะสลัดคืนเลย จะหมดตัณหาแล้วก็สลัดคืนความยึดถือกายความยึดถือใจให้โลก คืนเจ้าของเดิมนั้นเอง จิตใจก็จะเข้าถึงความสงบ สันติ ที่แท้จริง คือ นิโรธ หรือ นิพพาน บางทีก็มีหลายชื่อนะ อุปสมะ ก็ได้ นะ มีหลายชื่อเยอะแยะเลย ชื่อ ความจริงก็คือ ความสงบ สันติ ซึ่งมันพ้นทุกข์ พ้นกิเลส พ้นความยึดถือในธาตุในขันธ์ ในกาย ในใจ นี้เอง

พอพ้นปั๊บเราจะเห็นโลกนี้ มี แต่ไม่มีอะไร โลกนี้มีอยู่ แต่ไม่มีอะไรเลย ว่างเปล่า ว่างเปล่าไม่ใช่แปลว่า ไม่มีอะไรเลย มันว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ว่างเปล่าจากกิเลส ว่างเปล่าจากขันธ์ ว่างเปล่าจากทุกข์ มันมีอยู่ของมันตามสภาพของมัน มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน แต่จิตใจที่ฝึกฝนอบรมจนกระทั่งไม่ยึดถือในจิตแล้วเนี่ย จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีก เห็นโลกนี้มีแต่ไม่มี ว่างเปล่าอยู่อย่างนั้นเอง จิตใจมีแต่ความสุขล้วนๆ สุขแบบนึกไม่ถึงนะ สุข สุขที่สุดเลย มีความสุขมาก ไม่รู้จะใช้ภาษาอะไร พระพุทธเจ้าท่านก็เลยใช้เอาง่ายๆ “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย ไม่รู้จะใช้คำอะไรแล้ว ท่านใช้คำว่า “ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย

ความสุขของโลกๆที่พวกเรารู้สึกน่ะนะ รู้จักกันนะ ความสุขลุ่มๆดอนๆ สุกๆดิบๆ เป็นความสุขร้อนๆ สุกๆ เผ็ดๆ นะ เผ็ดร้อนรุนแรง สุขชั่วครั้งชั่วคราวได้มาแล้วก็เสียไป ตะกายหาอีก จับได้ปั๊บหลุดมือไปอีกแล้ว อย่างนี้ตลอดชีวิตเลย เดินทางในสังสารวัฏฏ์นะ ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ ข้ามมหาสมุทรสี่อันนี้ไม่ได้ ก็ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ เพราะฉะนั้นตั้งอกตั้งใจนะ

อันแรก ต่อสู้กับมิจฉาทิฎฐิของตัวเองก่อน ทะเลอันที่หนึ่ง มิจฉาทิฎฐิ คือ ความเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ วิธีจะดูให้เห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ไม่ใช่ไปนั่งคิดเอาว่าตัวเราไม่มี คิดยังไงมันก็เชื่อว่า “ฉันมี” แต่ฉันแกล้งไม่มี นะ มันจะแกล้งทำ

ให้เรารู้ลงในกาย รู้ลงในใจ อะไรก็ได้ เริ่มจากกายก็ได้ ถ้าเริ่มจากกายถูกต้องก็จะรู้ใจ หรือจะเริ่มจากใจก่อนก็ได้ ถ้าเริ่มรู้ใจถูกต้องก็จะรู้กายด้วย นะ จะรู้สองอัน ไม่รู้อันเดียว ถ้าคนไหนภาวนาแล้วรู้อันเดียว ทำผิดแน่นอนนะ เพราะจริงๆมันมีสองอัน จะมารู้อันเดียว เลือกรู้อันเดียว ทำผิดแล้ว

เช่นบางคนจะดูแต่ลมหายใจอย่างเดียว ให้ลืมโลกไปเลย โลกนี้เหลือแต่ลมหายใจ เนี่ยสะสมมิจฉาทิฎฐินะ แทนที่จะละมิจฉาทิฎฐิ จะรู้สึก “กูเก่งๆ” “กูบังคับจิตให้อยู่กับลมได้” หรือ “กูบังคับจิตให้อยู่กับท้องพองยุบได้” จิตไม่หนีไปที่อื่นเลย “กูเก่งๆ”

ความจริงต้องรู้ ตามที่เขาเป็น ตามความเป็นจริง ของเราก็คือมันมีทั้งกายมีทั้งใจนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้ใจไป ถ้าจะรู้กาย เราก็เห็นร่างกายนี้ มันยืน มันเดิน มันนั่ง มันนอนไป ใจเป็นแค่คนรู้มัน ถ้าจะรู้จิตใจเราก็เห็นจิตใจเคลื่อนไหว ทำงานไป พอมีการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น ตามองเห็น จิตใจก็เคลื่อนไหวตาม หู ได้ยินเสียง เช่น เขาด่ามา ใจก็เคลื่อนไหว คือ โทสะเกิดขึ้น นะ มันเนื่องกัน ทั้งกายทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียวนะ ถ้าจงใจไปรู้อันเดียวเป็นสมถะ เป็นสมถกรรมฐาน ถ้ารู้ถูกต้อง มันรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ เห็นกายนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดูไป ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็จะเห็นเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้าเท่านั้นเอง เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ มันไม่บรรยายอย่างที่หลวงพ่อพูดนะ มันจะรู้สึกแค่ว่ามันไม่ใช่เราหรอก

ไม่ใช่ว่าต้องมาพร่ำรำพัน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นธาตุ เป็นขันธ์ มันไม่พูดนะ เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ รู้สึกถึงความไม่ใช่ตัวเรา ดูลงมาในเวทนา ในความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เราจะเห็นเลย ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จะเห็นอย่างนี้ นะ กุศล อกุศลทั้งหลาย นะ ที่เรียกว่าสังขาร กุศล อกุศลทั้งหลาย โลภ โกรธ หลง ทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ไม่ใช่เราอีก ดูไปอย่างนี้

ตัวจิตเองล่ะ จิตเดี๋ยวก็เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจ จิตเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น นะ ไม่ใช่มีจิตดวงเดียววิ่งไปวิ่งมา ถ้าเห็นว่าจิตมีดวงเดียววิ่งไปวิ่งมาเป็นมิจฉาทิฏฐินะ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ ท่านสอนดี ท่านบอกว่า ถ้าใครเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ ตัวผู้รู้เองก็ไม่เที่ยง เป็นผู้รู้แล้วก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็หลงไปทางตา หลงไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เนี่ยดูลงมาในกายในใจบ่อยๆ ดูจนเห็นความจริงเลย มันไม่ใช่ตัวเราสักอันเดียวเลยนะ ร่างกายมันก็เป็นแค่วัตถุ

พวกเราลองทดสอบนะ เอ้า แก้ง่วงไปด้วย เอามือของตัวเองมา แล้วลองลูบดู ลองสัมผัสดูไปรู้สึกมั้ย มันเป็นท่อนๆแข็งๆรู้สึกมั้ย เนี่ย รู้สึกนะ รู้สึกไว้ แล้วลองตั้งใจฟังมันบอกมั้ยว่ามันเป็นตัวเรา มันเงียบๆ รู้สึกมั้ย มันไม่พูดหรอก จริงๆเราไปขี้ตู่ว่ามันเป็นตัวเรานะ จริงๆ เนี่ย ลองจับลงไปสิ เป็นก้อนแข็งๆอะไรก้อนหนึ่ง

ถ้าเราจับไปนะเราจะรู้สึก มันไม่มีตัวเราในก้อนนี้แล้ว เวลาความสุขความทุกข์เกิดขึ้นเราก็รู้ไปตรงๆ เหมือนที่เรารู้สัมผัสมืออย่างนี้ กุศล อกุศล เกิดขึ้นก็รู้มันเข้าไปตรงๆนั้นแหละ แล้วมันจะบอกเรามั้ยว่าเป็นตัวเรา ไม่มีพูดสักคำหนึ่ง ความเป็นตัวเราจริงๆไม่มี ความเป็นตัวเราเกิดจากความคิดล้วนๆเลย คิดเอาเองว่าเป็นเรา

ถ้าไม่ไปหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา เนี่ย พอเราเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ นะ ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะรวมเข้ามา มันจะเข้าสมาธิ รวมเอง ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จิตมี ปีติ  สุข เอกัคคตา มีวิตกวิจารณ์คือการตรึกถึงอารมณ์ การตรองเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์นั้น อารมณ์อะไร อารมณ์นิพพาน จิตจะรวมเข้ามานะ ขั้นแรกพอรวมเข้ามาปั๊บ มันจะเห็นสภาวธรรม อะไรก็ไม่รู้ นะ ไม่รู้ว่าคืออะไร นะ ถ้ายังรู้ว่าคืออะไรนี่ยังเจือด้วยสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ของจริง จิตจะเห็นสภาวธรรมบางอย่าง เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ ขึ้นมา บางคนเห็นสองครั้ง บางคนเห็นสามครั้ง

เห็นสองทีเนี่ย จิตก็วางการรับรู้อารมณ์นั้นแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ทวนกระแสเข้ากลับมาหาธาตุรู้ จากนั้นสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังธาตุรู้ไว้ จะถูกแหวกถูกทำลายออกชั่วขณะ จะแหวกออก จิตที่เป็นอิสระล้วนๆเลยที่สัมผัสกับธรรมะคือนิพพานล้วนๆเลยจะปรากฎขึ้นมา

เสร็จแล้วจิตจะถอยออกมานะ ตรงนี้ไม่มีคำพูดนะ แว้บเดียวเอง แต่มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา  พร้อมอยู่ตรงนี้เลย พอถอยออกมากลับมาสู่โลกภายนอก จิตจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่า อ้อ..เมื่อตะกี้นี้เกิดอริยมรรคขึ้นแล้ว สังโยชน์เบื้องต้นถูกละไปแล้ว ความเห็นผิดถูกละไปแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ดูยังไงก็ไม่เป็นเราอีกต่อไปแล้ว จะละความเห็นผิดได้ จะหมดความลังเลสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรายังลังเล รู้สึกมั้ย ฝึกๆไปช่วงหนึ่งก็รู้สึก เอ้อ.. จริง ไม่จริงว้า.. จริง ไม่จริงว้า.. อั้นนั้นเป็นธรรมชาตินะ ต้องมี ไม่ต้องแกล้งทำเป็นไม่มี

หรือเราเคยงมงาย เห็นว่าต้องปฎิบัติอย่างนี้แล้วจะดี ปฏิบัติแล้วจะดี ต้องทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี จะหมดความงมงายอย่างนี้เลย รู้แต่ว่ามีแต่การเจริญสติรู้กายรู้ใจทางสายเดียว ทางสายเอก มีอันนี้อันเดียว ไม่มีอันอื่นอีกแล้ว เนี่ย พระโสดาบันละสิ่งเหล่านี้ได้ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ละความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยได้ ละการถือศีลบำเพ็ญพรตแบบงมงาย ลูบๆคลำๆ ว่าทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี รู้แล้วว่าไม่มีทางอื่นเลยนอกจากการมีสติรู้กายรู้ใจ หรือสติปัฏฐานนั่นเอง

เพราะฉะนั้นเวลาที่บรรลุพระโสดาบันไม่ใช่จิตดับนะ ทุกวันนี้มีคำสอนเรื่องจิตดับมากมาย คิดว่าภาวนาไปเรื่อย กำหนดไปเรื่อยนะ อย่างจะหยิบอะไรสักอันหนึ่ง กำหนดไปเรื่อยให้จิตมันแนบอยู่ที่มือเนี่ย เพ่งมากๆนะ จิตจะดับลงไป จิตดับแล้วสำคัญมั่นหมายว่าบรรลุธรรมแล้ว ดับ ๔ หน ก็เป็นพระอรหันต์นะ ออกมาจากพระอรหันต์ก็มาทะเลาะกับเมียเหมือนเดิมแหละ นะ ละกิเลสไม่ได้จริง

ในขณะที่บรรลุ มรรค ผล นิพพาน มีจิตนะ ไม่ใช่ไม่มีจิต ขณะที่บรรลุอริยมรรค นะ ก็มี มรรคจิต ขณะที่บรรลุอริยผล มีผลจิต มรรคจิตมี ๔ ดวง ผลจิตอีก ๔ ดวง นี่เรียก มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ คนโบราณชอบพูด

ถ้าพูดอย่างละเอียด ก็มี ๒๐ อย่างละ ๒๐ เพราะว่ามันเจือด้วยฌานเข้าไปในแต่ละชนิด ฌานมันไม่เท่ากัน มีฌาน ๕ อย่าง เพราะฉะนั้นจิตที่บรรลุมรรคผลเนี่ย รวมแล้วมีจิตตั้ง ๔๐ ดวงแหน่ะ ทีนี้พวกเรารุ่นหลังๆนะ เชื่อคำสอนของอาจารย์มากไป เลยคิดว่าเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน จิตดับวูบลงไปหมดสติ พอรู้สึกตัวขึ้นใหม่ บอกบรรลุไปแล้ว ตรงที่จิตดับลงไปนั้น คือ อสัญญสัตตาภูมิ คือ พรหมลูกฟักนะ

มีองค์หนึ่งท่านเล่น เมื่อไม่กี่วันมานี้ ท่านอนุสรณ์ เนี่ย ท่านลองเล่นๆของท่านนะ ดับปั๊บเลย และท่านรู้ว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ เพราะมันขาดสติ ออกมาแล้วไม่เห็นจะละกิเลสอะไรเลย ดับไปเฉยๆ ฝึกไม่กี่วันก็เป็นแล้ว นี่คือการเพ่งกาย เพ่งกายแล้วลืมจิต จนจิตดับลงไป เหลือแต่กายอันเดียวล้วนๆ

เพราะฉะนั้นเวลาบรรลุมรรคผลนิพพานมีจิต ไม่ใช่ไม่มี ถ้าไม่มีจิตแล้วใครจะรู้นิพพาน นิพพานเป็นอารมณ์นะ มีอารมณ์ต้องมีจิต เป็นกฎนะ กฏของธรรมะ ชื่อภาษาแขกเพราะๆเรียกว่า “ธรรมนิยาม” กฎของธรรมะ

ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด

เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง

เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย

ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ

ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ  สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
File:  500408B.mp3
Time: นาทีที่ ๓ วินาทีที่ -๙ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

mp 3 (for download) : สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลักของการเจริญสติปัฏฐาน การทำวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ถ้าสรุปง่ายๆ ภาษาไทยนะ มีสติรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏในปัจจุบันด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ยาวไปไหม ถ้ายาวไปนะ ก็ไปหาหนังสือ วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๒ อ่านเอานะ เอาเวอร์ชั่น ๒ นะ เวอร์ชั่น ๑ ตอนเขียนความรู้ยังไม่แจ่มแจ้ง ไปอ่านตอนเวอร์ชั่น ๒ ให้มีสติรู้กายรู้ใจนะ รู้ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจที่กำลังมีอยู่จริงๆ แล้วรู้มันตามที่มันเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าฝึกอย่างนี้ได้แล้วก็ไม่นาน ไม่นานนะจะรู้แจ้งในความเป็นจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือมันเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันเป็นของเป็นทุกข์ คือมันถูกบีบคั้น ถูกเสียดแทงตลอดเวลา อย่างร่างกายนี่ถูกเวทนาบีบคั้นตลอดเวลา นั่งอยู่ก็เมื่อย เดินก็เมื่อย นอนก็เมื่อย ใช่ไหม ทำอะไรก็ถูกบีบคั้น หายใจออกก็ทุกข์ หายใจเข้าก็ทุกข์ กินเข้าไปก็ทุกข์ ไม่กินก็ทุกข์นะ ขับถ่ายมากไปก็ทุกข์ ไม่ขับถ่ายก็ทุกข์อีก นี่มันถูกบีบคั้น ร่างกาย จิตใจก็ถูกกิเลสตัณหาบีบคั้นตลอดเวลา มันมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นเลย ในกายในใจ นี่ความจริงของเขา

ความจริงของเขาอีกอย่างหนึ่งคือ เขาไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ตอนนี้คนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริงมีเยอะแยะเลย มีเยอะแยะนับไม่ถูกแล้วนะ ถ้าแจกปริญญาคงแจกไม่ทันแล้ว ที่นี้ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราอย่างแท้จริง จะเป็นพระโสดาบันวันนั้นล่ะ

ทีนี้ วิธีการนะ บอกแล้ว ให้มีสติรู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง มีสติรู้กาย รู้ใจ ไม่ใช่มีสติไปรู้อย่างอื่น สติ พูดมาทุกวันที่เจอหน้ากันว่า สติ คือความระลึกได้ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติเป็นความระลึกได้ หลวงพ่อจะไม่ลงรายละเอียดเรื่องสติมากนัก สติเป็นความระลึกได้ สติเกิดจากถิรสัญญา คือจิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นถ้าเราหัดดูบ่อยๆ หัดรู้สึกบ่อยๆ ใจโกรธไปก็คอยรู้สึก ใจโลภก็คอยรู้สึก ใจฟุ้งซ่าน ใจหดหู่ คอยรู้สึกไปเรื่อยนะ รู้สึกไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งสติจะเกิด ตรงที่สติเกิดนี่ เวลาใจลอยไปนะ สติก็ระลึกได้เองว่า ใจลอยไปแล้ว เวลาโกรธขึ้นมา สติก็ระลึกได้ว่า โกรธไปแล้ว มันเป็นเอง หรือสติมันระลึกรู้ กำลังอาบน้ำถูสบู่อยู่นะ ระลึกปั๊บลงไป ระลึกถึงตัวรูป แต่เห็นเป็นท่อนๆ นะ เห็นเป็นท่อนๆ เป็นแท่งๆ เป็นแข็งๆ อ่อนๆ เป็นเย็นเป็นร้อน ไม่มีตัวมีตนอะไร

สติต้องเกิดเองจากการที่จิตจำสภาวะได้แม่น สติที่เจริญวิปัสสนาต้องเป็นสติที่รู้กายรู้ใจตัวเอง ถ้าไปรู้ของอื่นทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะวิปัสสนาทำไปเพื่อถอดถอนความเห็นผิดว่า กายนี้ใจนี้คือตัวเรา วิปัสสนาทำไปเพื่อให้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรม มีแต่นามธรรม ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ถาวรนั้นไม่มี วิปัสสนามุ่งมาตรงนี้ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาต้องคอยรู้กายรู้ใจ อย่างบางคนไปเดินจงกรม เท้ากระทบพื้นนะ พื้นเย็นพื้นร้อน พื้นอ่อนพื้นแข็ง รู้หมดเลย รู้เรื่องพื้น ไม่มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเราอยู่แล้ว มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเรา ที่กำลังนั่งทับนี่ เรากำลังโดนนั่งทับ มีใครรู้สึกไหม มีแต่เราไปนั่งทับมันใช่ไหม

เรารู้สึกกายนี้ใจนี้คือตัวเรา เพราะฉะนั้นดูลงมาในกายในใจนี้ ตัวเราอยู่ที่ไหน ดูลงไปที่นั่น ความรู้สึกว่าตัวเราอยู่ที่ไหน รู้ลงไป ตัวเราอยู่ที่กาย รู้ลงที่กาย ตัวเราอยู่ในใจ นี่ รู้ลงไปที่ใจ ดูลงไปซิ จริงๆ มีตัวเราไหม กายกับใจที่เราจะใช้รู้ ก็ต้องกายกับใจในปัจจุบันด้วย ไม่ใช่กายกับใจในอดีต เพราะกายกับใจในอดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความจำ และก็ไม่ใช่กายกับใจในอนาคต กายในอนาคต ใจในอนาคตยังไม่มี เป็นแค่ความคิด ในอดีตก็เป็นแค่ความจำ อนาคตก็เป็นแค่ความคิด ไม่ใช่ความจริง ความจริงอยู่กับปัจจุบันต่อหน้าต่อตานี่

เพราะฉะนั้น พยายามอยู่กับปัจจุบันนะ รู้สึกกาย รู้สึกใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน รู้ต้องรู้ตามความเป็นจริงของเขา ไม่ใช่รู้แล้วเข้าไปแทรกแซง พวกเราเวลารู้กายก็แทรกแซง รู้ใจก็แทรกแซง เช่น เวลาจะเดินตงกรม เราเคยเดินสบายๆ เดินทั้งวัน เดินทุกวันอยู่แล้ว เดินมาตั้งแต่เดินได้ จะว่าเดินแต่เกิดไม่ได้ใช่ไหม เพราะคนเกิดมามันยังไม่เดิน ไม่ใช่ลูกวัวลูกควาย ลูกวัวควายนะ ชั่วโมงสองชั่วโมงมันเดินได้แล้ว ลูกคนนี่นอน เอาตั้งแต่เดินได้นี่ เราก็เดินอยู่ทุกวันๆ แต่เราเดินไม่เป็น เดินแล้วไม่มีสติ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติ รู้ลงปัจจุบันไป ยืน เดิน นั่ง นอน รู้ลงปัจจุบัน เห็นกายเห็นใจที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน รู้ไปเรื่อยๆ ของจริงมันอยู่ตรงนี้ก็ดูจากของจริง ไม่ได้ดูจากความคิดความฝันในอนาคต หรือความจำในอดีต เอาของจริงมาดู ดูซิ เป็นตัวเราจริงไหมนี่ ถ้าไปคิดถึงตัวตนในอดีต นั่งนึกถึงหน้าตาของเราตอน ๓ ขวบ เห็นไหมคนนั้นไม่มีแล้ว นี่ ไม่เที่ยง อย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนาต้องเห็นตัวนี้อยู่ทนโท่ อยู่นี่เลยนี่ เห็นตัวนี้ล่ะ มันไม่ใช่ตัวเรา ถึงจะเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นต้องดูลงปัจจุบัน

ดูตามความเป็นจริงด้วย มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันถูกบีบคั้นตลอดเวลา มันบังคับไม่ได้ หรือมันเป็นวัตถุ มันเป็นก้อนธาตุ ดูลงเป็นไตรลักษณ์ เรื่องนี้ก็พูดทุกครั้งที่เจอกัน ไปดูเอาเอง ไปฟังเอาเอง ถ้าเรารู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบันนี่ ตามความเป็นจริงคือเป็นไตรลักษณ์ ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่ใช่จะเดินจงกรมก็บังคับจิตให้นิ่ง จะนั่งสมาธิก็บังคับจิตให้นิ่ง หรือเดินจงกรมก็ต้องวางมาดใช่ไหม ต้องเดินท่านี้ จะนั่งก็ต้องวางมาด ต้องนั่งในสง่างาม ถึงจะเป็นนักปฏิบัติ นั่งท่านี้ปฏิบัติไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ อย่าเข้าใจผิด มันไม่ได้สำคัญอยู่ที่อิริยาบถอะไร กิริยาท่าทางอะไร มันสำคัญอยู่ที่คุณภาพของจิต ในการที่ไปรู้กายรู้ใจต่างหาก ถ้าเรารู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงนะ ตีลังกาอยู่ก็ได้

ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งคือ หลวงพ่อพุธ เมื่อก่อนท่านเคยมาสอนที่นี่ หลวงพ่อพุธนี่แหละท่านสั่งไว้นะ ว่าอย่าทิ้งศาลาลุงชินนะ เราเลยต้องอดทนมาที่นี่นะ เพราะครูบาอาจารย์ท่านสั่งไว้ แต่ท่านไม่ได้บอกนะว่า ให้ไม่ทิ้งนานแค่ไหน (โยมหัวเราะ) นี่ดูไปนะ ดูลงความจริง ความจริงคือไตรลักษณ์ ดูกายดูใจ ดูเป็นไตรลักษณ์ ไม่ไปแทรกแซง ไม่ใช่เวลาจะเดินจงกรมก็ต้องวางมาด ค่อยๆ เดิน อะไรอย่างนี้ หรือจะนั่งสมาธิต้องวางฟอร์ม วางฟอร์มทางกายไม่พอ ต้องวางฟอร์มทางใจด้วย รู้สึกไหม ต้องทำใจให้ซึมก่อนถึงจะดี นึกออกไหม มันแกล้งทำทั้งหมดเลยนะ มันไม่ใช่การรู้ตามความเป็นจริง แต่มันเป็นการแกล้งทำ เพราะฉะนั้น อย่าไปดัดแปลงกาย อย่าไปดัดแปลงใจ เราต้องการรู้กายที่เป็นจริง รู้จิตใจที่เป็นจริง เราอย่าไปดัดแปลงเขา อย่าไปบังคับเขา อย่าไปแทรกแซง รู้กายรู้ใจอย่างที่มันกำลังเป็นอยู่จริงๆ นะ รู้ไป

ที่นี้การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ลงปัจจุบันนี่ แค่นี้ยังไม่พอ จิตที่เป็นคนไปรู้ ต้องมีความตั่งมั่น และต้องมีความเป็นกลาง มี ๒ เงื่อนไข ต้องมีความตั้งมั่น ตั้งมันคือมีสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นไม่ใช่จิตที่ไหลไปหาอารมณ์ พวกเราที่ภาวนาล้มลุกคลุกคลานไม่เกิดมรรคผลนิพพานสักที เพราะอะไร เพราะว่าจิตไม่ตั้งมั่น ถึงมารู้กาย มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น มันจะเป็นการเพ่งกายเพ่งใจ จิตมันจะไหลไปเพ่งนิ่งๆ อยู่ที่กาย ไหลไปเพ่งอยู่ที่ใจ อย่างคนที่หัดอานาปานสติรู้ลมหายใจ สังเกตให้ดีเถอะ  เกือบร้อยละร้อยนะ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมที่แท้จริง เกือบร้อยละร้อยเลย จะไปเพ่งลมหายใจ จิตจะไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ คนที่ดูท้องพองยุบนะ เกือบร้อยละร้อย นี่พูดแบบเกรงใจที่สุดแล้วนะ เกือบร้อยละร้อย จิตจะไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาไปเดินจงกรมยกเท้า ย่างเท้า จิตก็ไหลไปอยู่ที่เท้า ไปรู้อิริยาบถ ๔ นะ ไปเพ่งมันทั้งตัวเลย ขยับมือ จิตก็ไปเพ่งอยู่ในมือ มันมีแต่เข้าไปเพ่ง จิตที่ไหลเข้าไปเพ่งตัวอารมณ์นี่ เป็นจิตที่ใช้ทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน จิตที่เพ่งอารมณ์นี่ มีภาษาแขก ชื่อว่า อารัมณูปนิชฌาน การเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐาน เพราะฉะนั้นที่พวกเราส่วนใหญ่ทำอยู่เป็นแค่สมถกรรมฐาน ใจไม่ตื่นจริงๆ หรอก

มีแม่ชีคนหนึ่ง โทรศัพท์มาหากรรมการวัดคนหนึ่ง คือ ชมพู เขามีเบอร์ของชมพูอยู่ เบอร์วัด เขามาเล่าให้ฟังบอกว่า แกเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานอยู่ที่สำนักแห่งหนึ่ง แต่สำนักนี้ไม่ยอมให้ไปไหนมาไหนง่ายๆ ก็เลยต้องใช้วิธีแอบโทรมา แกเล่าว่า แต่เดิมแกก็สอนกรรมฐาน แกก็ภาวนาของแกไปด้วย แกเครียดมากเลย หลังแกแข็งเป็นก้อนหินอย่างนั้นเลย ทรมานมาก ต่อมาคนซึ่งไปเข้าคอร์สกับแกเอาหนังสือหลวงพ่อไป แกก็ไปขอดูนะ แล้วก็สนใจเขียนจดหมายมาขอหนังสือไป เอาไปอ่าน คงต้องแอบอ่าน ซีดีฟังไม่ได้ เดี๋ยวคนอื่นได้ยิน เป็นอาจารย์นะ อ่านๆ ไป รู้สึก โอ้ เราทำผิด เราไปเพ่งอารมณ์ เราไม่ได้รู้ลักษณะความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ แกบอกพอแกรู้ตรงนี้ แกเห็นว่าจิตไปเพ่ง จิตก็คลายออก แกบอกว่าตอนนี้นะ แกมีความสุขขึ้นเยอะเลย การภาวนาของแกง่าย หลังแกก็ไม่แข็งเป็นก้อนแล้วนะ หน้าตาแกนี่คนมาบอกเลย แกหน้าใส หน้าตาแกผ่องใสผิดจากเดิม แต่เดิมเครียด ที่สำคัญนะ นี่เขียนเล่ามาอย่างละเอียดอีก แต่เดิมนะ ปีหนึ่ง ประจำเดือนมา ๒ ครั้งเอง เพราะเครียด ตั้งแต่มาภาวนาแนวหลวงพ่อปราโมทย์นะ ประจำเดือนมาตามกำหนด (โยมหัวเราะ) เออแน่ะ เราก็เพิ่งรู้นะ ว่าภาวนาแล้วประจำเดือนมาตามกำหนด เพราะอะไร เพราะไม่เครียด

พวกเราล่ะ ภาวนาจนกระทั่งเครียดนะ พิกลพิการไปเยอะแยะเลยนะ เพราะทำผิด ถ้าเข้าใจที่พระพุทธเจ้าสอนแล้วจะไม่เครียดหรอก เราจะรู้กาย เห็นกายมันเป็นทุกข์ แต่ร่าเริงนะ เห็นจิตดีบ้าง ร้ายบ้าง เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวสงสัย เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ แต่เราร่าเริงที่ได้เห็นความแปรปรวนของมัน นี่ความประหลาดอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นเราจะมีความสุขนะ มีความสงบแต่ร่าเริง ไม่ใช่สงบแบบเซื่องๆ ซึมๆ ซังกะตาย หรือเครียดๆ แข็งๆ อันนั้นเป็นเพราะการเพ่งตัวอารมณ์ทั้งสิ้น ไม่ใช่การรู้ลักษณะของอารมณ์

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้นะ เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นมันเป็นแค่คนดู เราจะเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นกุศล อกุศล โลภ โกรธ หลง ทั้งหลาย อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นจิตเกิดดับไปทางตา เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจ ดับที่ใจ นี่เห็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ อย่างนี้เรียกว่าเราเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่นนะ มันจะเห็นความจริงอย่างนี้

การที่มันเห็นว่ากายก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง มันได้แสดงปัญญาให้เราเห็นแล้วว่า มันไม่ใช่ตัวเรา กายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา สังขารทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศลทั้งหลายไม่ใช่เรา จิตก็เกิดดับไปทางทวารต่างๆ จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา เห็นไหม มันจะมีปัญญาขึ้นมา ถ้าใจเราตั้งมั่นได้ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขสำคัญว่าจะเกิดปัญญาหรือไม่นี่ อยู่ที่ว่าจิตตั้งมั่นหรือจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ถ้าจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์จะเป็นสมถะ อย่างบางคนเดินจงกรมแล้วเพ่งอยู่ที่เท้า ยกเท้า ย่างเท้า รู้หมดเลย แล้วก็ตัวลอย ตัวเบา ตัวโคลง ตัวเล็ก ตัวใหญ่ บางคนตัวลอย บางคนรู้สึกวูบวาบเหมือนฟ้าแลบ บางคนรู้สึกขนลุกขนพอง บางคนรู้สึกเหมือนแมลงมาไต่ร่างกาย นี่เป็นอาการของปิติทั้งสิ้นเลย เป็นเรื่องของสมถะ

ทำไมคิดว่าทำวิปัสสนาแล้วกลายเป็นสมถะ ก็เพราะจิตไม่ตั้งมั่น ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะเจริญปัญญาไม่ได้ เพราะว่าสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะไหลไปอยู่ในอารมณ์แล้วไปแช่ ไปเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะเพ่งอะไรก็เป็นสมถะทั้งหมด ถ้าจิตตั้งมั่นก็จะเดินวิปัสสนาได้ เห็นความเป็นจริง ทีนี้พอเห็นความจริงแล้วมาถึงตัวสุดท้ายใช่ไหม ทีแรกหลวงพ่อบอก “ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น” ประโยคสุดท้าย “และเป็นกลาง”

เวลาที่เราไปเห็นสภาวะแล้วบางทีจิตก็ยินดีขึ้นมา บางทีจิตก็ยินร้ายขึ้นมา เช่น เราเห็นจิตใจของเรามีความสุข เราก็พอใจ หลายคนภาวนานะ ดูจิตดูใจ ดูไปเรื่อยๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ ดับไป เกิดความปรุงแต่งละเอียด ที่เรียกว่า ความว่าง ขึ้นมา ความว่างๆ ที่เราภาวนาแล้วไปเห็นเข้านี่ เป็นแค่ความปรุงแต่งละเอียด ไม่ใช่นิพพานนะ นิพพานไม่ได้ว่างอนาถาแบบนั้น นิพพานไม่ได้ว่างแบบมีขอบ มีเขต มีจุด มีดวง มีวงแคบๆ อยู่ และว่างอยู่นิดๆ หน่อยๆ อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าช่องว่าง

เพราะฉะนั้นบางคนภาวนาจนใจว่างขึ้นมา พอใจว่างแล้ว ราคะเกิด พอใจในความว่าง พอใจในความนิ่ง ไม่ยอมเจริญปัญญาต่อ มีเยอะนะ ตอนนี้เริ่มมีเยอะขึ้น ภาวนาแล้วก็ใจสบาย มีความสุข พอมีความสุขแล้วพอใจแค่นี้แล้ว ไม่มารู้กาย ไม่มารู้ใจ จิตไม่สามารถทวนกระแสเข้ามารู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ที่หลวงพ่อพูดบ่อยๆ ว่า จิตไม่ถึงฐาน น่ะ จิตมันไหลตามอารมณ์ไปเพลินๆ ว่างๆ อยู่ข้างนอก นี่ รู้อย่างไม่เป็นกลาง รู้แล้วหลงยินดี บางทีเห็นกิเลสเกิดขึ้นก็เกลียดมันนะ หาทางต่อสู้ใหญ่เลย ทำอย่างไรจะเอาชนะกิเลส หรือเรานั่งสมาธิอยู่มันปวดมันเมื่อย ทำอย่างไรจะชนะความปวดความเมื่อย นี่คิดภาวนาเอาชนะนะ คิดภาวนาเอาชนะหรือคิดภาวนาแล้วท้อแท้ตามกิเลสไป นี่ก็คือความไม่เป็นกลางทั้งสิ้น ถ้าหากเรารู้ทันความไม่เป็นกลาง ให้รู้ทันนะ เช่น เราไปเห็นคนนี้ ใจเราชอบขึ้นมา เรารู้ทันว่าใจชอบ นี่ใจไม่เป็นกลางแล้ว ชอบขึ้นมา ต่อมาเรามีสติ รู้ทันว่าใจไปชอบเขา เราเกิดความไม่ชอบความชอบนี่ขึ้นมาอีกแล้ว นี่ไม่เป็นกลางอีกแล้ว เรารู้ทันว่าใจไม่ชอบ นี่รู้ความไม่เป็นกลาง แล้วมันจะเป็นกลางของมันเอง

ความเป็นกลางมีหลายระดับ อันนี้ก็เทศน์เรื่อยๆ นะ ความเป็นกลางด้วยสมถะก็มี ไปเพ่งเอาไว้แล้วมันก็เป็นกลาง เป็นกลางด้วยสติก็มี เป็นกลางด้วยปัญญาก็มี เป็นกลางด้วยสติคือพอไปรู้ทันความไม่เป็นกลาง ความไม่เป็นกลางดับไป อันนี้ก็ยังใช้ได้นะ แต่ว่าเป็นกลางที่แท้จริงจะเป็นกลางด้วยปัญญา คือเห็นความจริงซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา เห็นซ้ำไปซ้ำมานะ สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว กุศลทั้งหลายก็ชั่วคราว พอเห็นอย่างนี้ใจจะเป็นกลางเอง อันนี้เป็นกลางด้วยปัญญา ความเป็นกลางด้วยปัญญานี่แหละ คือประตูของการบรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อจิตเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว จิตจะหมดความดิ้นรน ถ้าจิตเป็นกลางด้วยวิธีอื่น จิตยังดิ้นรนเพื่อเข้าไปสู่วิธีนี้ จิตยังต้องดิ้นรนอีก เช่น เป็นกลางเพราะสมถะ วันไหนไม่เป็นกลาง ก็ต้องกลับไปทำสมถะเพื่อให้มันมาเป็นกลางอีก ถ้าเป็นกลางเพราะปัญญามันจะเลิกดิ้น มันจะรู้เลยว่าทุกอย่างในโลกนี้ของชั่วคราว ทุกอย่างเป็นภาพลวงตา ใจมันเห็นอย่างนี้นะ ใจมันไม่ดิ้นแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในกายในใจ ร่างกายจะแก่ จะเจ็บ จะตาย ใจก็ไม่ดิ้นรน จิตจะสุขหรือจิตจะทุกข์ จิตใจก็ไม่ดิ้นรน กระทั่งอกุศลเกิดขึ้น เช่น บางทีภาวนาแล้วมันมืดๆ มัวๆ ภาวนาแล้วมัว ดูไม่รู้เรื่องแล้ว นี่ ส่วนมากจะมาตายตอนนี้ก็มี พอดูไม่รู้เรื่องแล้วทุรนทุรายแล้วเห็นไหม อยากดูให้ชัด อยากรู้ให้ชัด นี่ใจไม่เป็นกลาง ถ้าดูไปแล้ววันนี้มันมัวๆ จิตมีแต่โมหะ มัวๆ รู้ว่ามีโมหะนะ อย่าไปเกลียดมัน รู้ด้วยความเป็นกลางซิ มันจะขาดสะบั้นต่อหน้าต่อตาเลย

เพราะฉะนั้นจำไว้นะ คีย์เวิร์ด (keyword) ทั้งหลาย ให้รู้กายรู้ใจ มีสติ สติที่แท้จริง รู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันด้วย ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต รู้ตามความเป็นจริง คืออย่าไปแทรกแซง อย่าไปบังคับเขา รู้ตามความเป็นจริง คือเป็นไตรลักษณ์ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ตั้งมั่นและก็เป็นกลาง ถ้าจิตไม่เป็นกลางให้รู้ทันว่าไม่เป็นกลาง นี่เป็นทางเดินที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกันมา เป็นหลักในสติปัฏฐาน ในวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง หลวงพ่อเอามาพูดใหม่ ด้วยภาษาใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่ๆ ฟัง

CD ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 25

File: 511116.mp3

Time: 13m38 – 32m06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัวใจการปฎิบัติและกุญแจสู่ความรู้แจ้ง

MP3 (for download): หัวใจการปฎิบัติและกุญแจสู่ความรู้แจ้ง (21.28น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 18 (16/03/51)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ

MP3 (for download):  ๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ (33.14 น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวพิเศษ จากการแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 30 (21/06/52)

1) หลวงปู่ดูลย์: ให้ดูจิตตัวเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ เพ่ง -> แล้วไปหาทางทำลายมัน คอยระวังให้อกุศลไม่เกิด หวงแหนจิตมากเลย

[ผิด] เพราะไป*แทรกแซงจิต* เราไม่ได้ดูจิตหรอก แต่ไปวุ่นวายอยู่กับอาการของจิต

จงใจปฎิบัติก็ผิดนะ ไปแทรกแซงอาการของจิต ..ให้รู้ตามความเป็นจริงต่างหาก ถึงจะถูก

—–#

ค่อยๆสังเกตนะ กิเลสหยาบๆเกิดมาจากกิเลศละเอียด ก่อนที่กิเลสจะตัวใหญ่เนี่ย กิเสสตัวเล็กมาก่อน

ก่อนจะโมโหแรงๆ ต้องขัดใจเล็กๆก่อน ทีนี้เราคอยดูเลย กิเลสมันมาจากไหน มันผุดขึ้นจากกลางหน้าอก

2) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่

[ผิด] ตรงเรา*ส่งใจเข้าไปดู* แทนที่จะดูด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง เราถลำลงไปดู ถลำไปดูนี่จิตไม่ตั้งมั่นในการรู้ในการดู

สำนวนครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า “ไม่มีจิตผู้รู้” มีแต่จิตผู้หลง ผู้เพ่ง

—–#

ราวปี 2526 ภาวนาแล้วมีอาการแปลกๆ ภาวนาแล้วหลับตลอดเลย จากที่ภาวนามาตั้งแต่ 7 ขวบไม่มีนั่งหลับหรอก ตอนนั้นไม่รู้เป็นอะไรมันหลับเอาหลับเอา

นั่งสมาธิก็หลับ ขัดสมาสเพชรก็หลับ เดินจงกลมก็เดินหลับนะ ทำไงก็หลับ แล้วหลับแบบไม่มีศิลปะเลย ..โอ้ย ไม่มีสภาพของนักปฎิบัติเหลือเลย ขาดสติอย่างร้ายแรง เกิดจากอะไร?

3) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ อย่างสงสัยเลย

ที่จริงไม่มีอะไร พอเราเจริญสติเจริญปัญญาไปมากนะ จิตมันเบื่อหน่าย มันเบื่อโลก เบื่อขันธ์ เบื่อธาตุอย่างร้ายแรงเลย เบื่ออายตนะ

พอมันเบื่อมันตัดการรับรู้ภายนอกออกไป หมดความรู้สึกไปเลยตัดออกไป ตัดลงไปรวมลงไป มันไปพัก

.. เพราะว่าแต่เด็กมาหัดสมาธิ พอเจอหลวงปู่ดูลย์มาหัดวิปัสสนาแล้วเบื่อสมาธิ *ทิ้งสมาถะไป*

[ไม่ถูกนะ] การทิ้งสมาถะไปไม่ถูกต้องเลย พอจิตมันไม่ได้เข้าไปพักในสมาธิ จิตมันก็หลบไปเลยดับไปเฉยๆ เข้าไปพักผ่อน พอมันมีแรงมันก็ถอนออกมา

5 สิงหา 2526 ไปกราบหลวงปู่สิมนะ ท่านบอกจะได้ของดีพรรษานี้แหละ

พอวันที่ 7 มาถึงกรุงเทพ จิตมันก็ถอนออกมาหมดแล้ว จิตใจเราก็เปลี่ยนไปหมดเลย ภาวนาสบาย ต่อไปนี้สบายละ สติมันทันกิเลสไปเรื่อย การภาวนาง๊ายง่ายตอนนี้

—–#

พอภาวนามาถึงจุดนี้จะดูตรงไหนมันชำนาญไปหมด ตัวจิตผู้รู้-สภาวะที่เกิดดับอยู่ในหน้าอกก็ได้ ..เอ๊ จะดูตัวไหนดี ชักสงสัยแล้วจะดูตัวไหนดี

เลยดูทั้งสองตัวกลับไปกลับมา ตัวไหนแน่ แล้วเอาใหม่ ไม่เอาทั้งสองตัว ดูซิจะเกิดอะไรขึ้น

พอเคลื่อนจะแตะ เราไม่เอา ไล่เข้าไล่ออกแล้วมันรวมลงตรงกลาง

หลวงปู่เทสก์: มันเป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่เพ่งรูป ไม่เพ่งอรูป

หลวงปู่ให้ไปซ้อมให้ชำนาญ หลวงพ่อบอกถ้าท่านติดเราจะแก้ให้

มีวันนึงไปเชียงใหม่จะไปเยี่ยมอาจารย์ทองอิ่ม แล้วมีพระท่านมาดักอยู่หน้าวัด แล้วบอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร ถ้ำผาผึ้งมาพักอยู่ที่วัดสันติธรรมนี้ ให้ไปหาท่านหน่อยสิ

4) ท่านอาจารย์บุญจันทร์: เฮ้ย ภาวนายังไง! เฮ่ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

เราเล่าให้ท่านฟังซ้ำ ท่านก็ตวาดซ้ำ นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

ทีนี้ ใจเราโล่งเลย .. ตรงนี้ไม่ใช่ทาง

เห็นไหมเราไปทำอะไรที่ [ผิด]? เราไป*ปรุงแต่งการปฎิบัติขึ้น* เราคิดว่าทำยังไงแล้วจะดี

เราไม่ได้รู้กายรู้ใจซื่อๆไง เราคิดว่าทำยังไงจะดี เอาตรงนี้ล่ะวะ อยู่ตรงโน้นดี ตรงนี้ดี หรืออยู่กลางๆดี หาไอ้ตรงที่ดี

ไม่ต้องหานะว่าตรงไหนถูก ไม่ต้องหาว่าตรงไหนดี สภาวะใดเกิดขึ้นตรงปัจจุบัน รู้อันนั้นแหละ แล้วไม่ผิด

เรามาอัศจรรย์ใจกับท่านอีกที ปี 46 ตอนนั้นบวชละ ลูกศิษย์ท่านมาหาเยอะเลยตอนนั้น บอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์สั่งให้มาหา

ให้วันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ให้มาหาพระชื่อนี้ๆ อยู่ตรงนี้ๆ ท่านสั่งละเอียดเลยนะ เราไม่เคยบอกท่านเลยนะ ตอนนั้นที่ท่านมรณะภาพเรายังไม่ได้บวชเลย

ดูท่านอุตส่าห์แก้ให้เรา ท่านกลัวเราจะไปติด สร้างสภาวะโล่งๆ ว่างๆ..แล้วเราก็จับเอาไว้

แต่นี่โล่งว่างคนละอย่างกับพวกเราที่หลังๆมาติดนะ อันนั้นไหนออกไปข้างนอก อันนี้ไม่มีข้างนอกข้างใน หูววดูปราณีต ดูลึกซึ้งกว่ากันเยอะเลย

—–#

ทีนี้ก็ภาวนาต่อไปนะ เห็นสภาวะทั้งหลายมัน ละเอียดเข้าๆ สบาย ใจมันโล่งมันว่าง เราก็ดูจิตอยู่ทุกวี่ทุกวันนะ แต่ดูมาตั้งหลายปีไม่ผ่านสักที

26533_397695631336_717481336_4768908_1463878_n.jpg

5) หลวงตามหาบัว: ที่ว่าดูจิตนั่นดูไม่ถึงจิตแล้ว

ต้องเชื่อเรานะตรงนี้สำคัญ เราผ่านมาด้วยตัวเราเอง อะไรๆก็สู้บริกรรมไม่ได้

[ผิด] มีกิเลสกุกกุจจะเกิดขึ้น ร้อนใจเมื่อไหร่จะได้สักทีวะ กิเลสเกิดแล้วเราไม่เห็น

..พอเราได้ไอเดีย เรามาพิจารณาดูว่าทำไมท่านให้บริกรรม ทำไมท่านว่าเราดูจิตแล้วไม่ถึงจิต

มาดูไปดูมา อ๋อ.. ใจเราไม่ตั้งมั่น ใจมันเคลื่อนออกไปข้างนอกนะ มันไปอยู่ในความโล่งความว่าง

พวกเรารุ่นหลังๆที่ไปดูจิต ไปติดอยู่ที่ตัวนี้เยอะแยะเลย เพราะว่าเวลาดูไปๆ แล้วไปเห็นสภาวะเกิดดับๆนะ

เช่น เห็นกิเลส เกิด-ดับ ๆ กิเลสมันหนีออกไปๆ ไม่เหมือนกับตอนที่ไปถามหลวงปู่สิม อันนั้นกิเลสหนีเข้าข้างใน อันนี้กิเลสหนีออกข้างนอก

เราฟุ้งก็คือ.. จิตไม่ตั้งมั่นเหมือนกัน จิตฟุ้งเข้าไปข้างใน จิตฟุ้งออกไปข้างนอก จิตไม่ตั้งมั่น

จิตไม่ตั้งมั่นแล้วจิตไปหลงในความโล่ง ความว่าง ความสุขความสบาย ..ตรงนี้แหละคือ วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โอภาส

” วิปัสสนู ” นี่เกิดในทุกขั้นตอนของการปฎิบัติ ขั้นพระโสดา สกทาคา อนาคา พระอรหันต์ เพียงแต่ขั้นที่เลยพระโสดา ไม่เรียกวิปัสสนู เค้าเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

ขั้นต้น ปุถุชน จะมีวิปัสสนู

(http://th.wikipedia.org/wiki/วิปัสสนูปกิเลส)

—–

- วิปัสสนูปกิเลส -

โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)

ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้

ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ

ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น

สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ

อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ

ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี

อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด

อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง

นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ

—–

ที่หลวงพ่อบอกพวกเรา จิตไม่ถึงฐาน พระอานนท์ สอนตรงนี้ไว้ว่า

สานุศิษย์ท่านที่พยากรณ์มรรคผลมี 4 จำพวก

พวกที่ 1 ใช้ สมาธินำปัญญา : คือทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน

พวกที่ 2 ใช้ ปัญญานำสมาธิ : คือเจริญสติในชีวิตประจำวันนี่แหละ แล้วจิตรวมเข้าสมาธิ

พวกที่ 3 ใช้ สมาธิและปัญญาควบกัน : พวกนี้ทำสมาธิอยู่ในชาญ (ไม่ใช่อย่างที่ครูบาอาจจารย์วัดป่าทำนะ ส่วนมากท่านทำความสงบก่อนแล้วถอนออกมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน อันนี้คือแบบที่ 1)

แบบที่ 3 มีเหมือนกันแต่มีน้อย ต้องชำนาญในชาญจริงๆ จะเห็นองค์ชาญเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ แต่ดูยาก ต้องชำนาญทั้งชาญ ต้องชำนาญทั้งการดูจิต จึงจะดูได้

พวกที่ 4 พระอานนท์บอกว่า : จิตมีความฟุ้งซ่านในธรรมะ ไปอยู่ในธรรมะ 10 ประการ (หลวงพ่อกล่าวถึงวิปัสสนูปกิเลส) มีโอภาสเป็นหมายเลข 1 ถ้าเมื่อไหร่รู้ทัน อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่านของจิตที่ไหลออกไป อุทธัจจะดับนะ ก็จะหลุดจากโอภาส

หลวงปูเทสก์เคยบอกว่า เวลาเกิดวิปัสสนูเกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้ยังไม่เก็ตนะ เวลามันเกิดจริงๆ ค่อยมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ความสบาย ความเย็น ..หลงไปสารพัดรูปแบบเลย

จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไหร่จิตมัน มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห้นมาด้วยการปฎิบัติอย่างนี้ เสร็จแล้วเพิ่งมาเจอพระสูตร เนี่ยที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย

วิปัสสนูมันเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไม่ถึงฐานนั่นแหละ หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน

เพราะงั้นพวกเราเวลาภาวนา ค่อยๆ สังเกต เวลาดูจิตดูใจ รึว่าดูกายก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไร เกิดวิปัสสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสสนู-ดูกายไม่มีวิปัสสนู เข้าใจผิด

หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ หรือเพิ่งเริ่มวิปัสสนา ยังไม่ชำนิชำนาญพอ สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับ แล้วก้ถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไปว๊าบ มันโล่งมันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็ไปค้างอยู่ตรงนี้ แล้วคิดว่านิพพาน คราวนี้คิดว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้วตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนาตรงนี้คิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์มีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้วบางคนก็แก้ไม่ได้ บางคนไม่ยอมมาเจอเราเลย

..

ทีนี้ มันเดินปัญญาต่อไปไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้น

แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานจะหลุดออกมาเลย

พวกนี้จะน่าสงสารแล้วน่ากลัว น่ากลัวตรงที่จะเที่ยวเผยแพร่คำสอนออกไปอีก ..จะไปบอกว่าไม่ต้องดูกายไม่ต้องดูใจ ไปดูความว่าง พวกนี้ผิดนะ! ต้องดูกายต้องดูใจ

—–#

เสร็จแล้วภาวนามาอีกหลายปีเลย ตอนนั้นใกล้จะบวชแล้ว ไปเจอหลวงพ่อพุธเข้า หลวงพ่อพุธกับหลวงพ่อนี่นะเคยมีข้อตกลงกันเมื่อปี 2526

หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์แล้วกลับมากราบหลวงพ่อพุธที่โคราช ท่านถามว่าหลวงปู่สอนอะไร กราบเรียนท่านว่าหลวงปู่สอนว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธ์อย่างแท้จริง

..บางคนภาวนาไม่มีผู้รู้นะ ถ้าคนไหนเดินมาทางสมถมันจะมีผู้รู้ ถ้าเดินมาทางวิปัสสนามันจะไม่ตั้งตัวผู้รู้..แค่รู้สึกแล้วก็ดับ รู้สึกแล้วก็ดับ เป็นขณะๆ คนละแบบกัน

คนไหนที่มีผู้รู้อยู่แล้วไปประคองรักษาตัวผู้รู้ตรงนี้ใช้ไม่ได้แล้ว พ้นทุกข์ไม่ได้จริงหรอก ไปเห็นว่าตัวผู้รู้เที่ยงผู้รู้เป็นสุข ตัวผู้รู้บังคับได้

หลวงพ่อพุธท่านก็บอกว่า ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มาเหมือนกันก่อนหน้าหลวงพ่อ 7 วัน หลวงปู่สอนอย่างเดียวกัน

..บอกเจ้าคุณ การปฎิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จจริง เนี่ย เราจะต้องทำลายผู้รู้ ท่านบอกอย่างนี้นะ

ทำลายผู้รู้คือไม่ยึดผู้รู้นั่นแหละ ท่านเฉลยมานิดนึง ..คุณกับอาตนามาตกลงกัน ใครทำลายได้ก่อนให้มาบอกกัน ท่านสั่งอย่างนี้ แล้วเราก็ไม่เจอท่านอีกเลยตั้งแต่นั้น

จนกระทั่งก่อนท่านมรณภาพไม่นานได้กราบท่าน บอกหลวงพ่อ เรายังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย

6) หลวงพ่อพุธ: จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง

[บทเรียน] ภาวนาอย่าใจร้อนนะ มีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าไม่คลาดเคลื่อนด้วยการมีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ล่ะก็อย่าใจร้อน เดินไปเรื่อยๆ วันนึงจิตใจมันเติบโตเต็มที่มันทำลายเปลือกออกมาเอง

นี่ 5 องค์แล้วนะครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อ แต่ 6 คำถาม

—–#

ก่อนไปกราบหลวงปู่สุวัฒน์ เราภาวนา เรายังไม่ได้บวชนะ จิตเราหลุดออกมา เรารู้สึกสบายเลยเราคิดว่าพระอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ จิตไม่เกาะอะไรจิตไม่เกาะขันธ์

เราไปหาท่าน ปรากฎว่าพอใกล้ถึงจิตดันเข้าไปเกาะกัน ดันเข้าไปยึด(ขันธ์)อีก เราก็เลยคิดนี่ล่ะน้าาา มันเป็นอนัตตา .. มันเป็นไตรลักษณ์

พอคิดว่าเป็นไตรลักษณ์นะ ใจเราไม่ดิ้น ก็หลุดออกมา

7) หลวงปู่สุวัฒน์: นี่แหละ บางทีจิตมันก็หลุดออกมา บางทีจิตมันก็เข้าไปจับอารมณ์ พอมันจับอารมณ์แล้วเราเห็นว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันก็หลุดออกมา

เราก็ อ๋อ..จิตนี่ก็เป็นไตรลักษณ์นะ เราจะไปบังคับให้จิตหลุดพ้นไม่ได้หรอก ถึงเวลาถ้าเค้าพอ เค้าหลุดเอง แต่เราไม่รู้ว่าเค้าขาดอะไรที่ยังไม่พอ

[เฉลย] คือ ขาดอริยสัจ ขาดความรู้แจ้งอริยสัจนะ ถ้าแจ้งอริยสัจก็คือพอ

ถ้าไม่แจ้งอริยสัจ ยังเห็นว่ากายนี้ ใจนี้เป็นตัว สุขบ้าง ทุกข์บ้างอยู่ ไม่มีทางเลย ยังไม่พอที่จะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

หลวงพ่อนี่นะเคยกราบครูบาอาจารย์มานับไม่ถ้วน หลายสิบองค์ แต่ครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อรวมทั้งหมด 7 ครั้งเท่านั้น

ถ้าคนไหนถามหลวงพ่อเกิน 7 ครั้งถือว่าเป็น อวชาตศิษย์ ..มากไป

ถ้าถาม 7 ครั้งเค้าเรียก อนุชาตศิษย์ ..พอๆกัน

ถ้าไม่ต้องถามเลยนะ แล้วก็ผ่านไปเลย เป็น อภิชาตศิษย์

..งั้นพวกไหนถามมากนะ พวกโหลยโท่ยนะ :D

อย่าถามเยอะเลย หัดรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง หลักมีเท่านี้เอง ที่ผิดน่ะผิดจากหลักนี้ทั้งสิ้นเลย

พวกที่ติดว่าง นี่ใช้ไม่ได้นะ มันติดหมด

บางคนก็ฟุ้งในธรรมะ อยากพูดธรรมะ ใครเป็นบ้าง? รู้ตัวไว้นะเป็น วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ..เจอใครอยากจะสะกิดมาฟังธรรมะก่อนนะ (55)

เคยมีพระองค์หนึ่งนะ ท่านติดฟุ้งในธรรมะนี่แหละ ท่านเกิดวิปัสสนูชนิดหนึ่งนะ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์นะ เคารพหลวงปู่ดูลย์มากเลย

ท่านเดินลุยป่ามากจากบุรีรัมย์(พนมรุ้ง) เดินมาสุรินทร์นะคิดดู (55) มาถึงวัดตอนดึก มาเรียกหลวงตาดูลย์มาฟังเทศน์ พระอรหันต์มาโปรดแล้ว ไปเคาะประตูเรียกพระทั้งวัดเลยนะ

ตอนเช้าขึ้นมา หลวงปู่ แก้ แก้ไม่ตกนะ สุดท้ายหลวงปู่ดูลย์ใช้ไม้ตายเลย ด่า สัตว์นรก ไอ้บ้า ไอ้สัตว์นรก ..โอ้โห พระอรหันต์นะโกรธ เลือดขึ้นหน้า.. ตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู กูไปแล้ว คว้าไม้กวาดได้นะเอาพาดบ่า นึกว่าเป็นกลดนะ เดินออกไป 3 ก.ม. แล้วเพิ่งนึกได้ เอ๊ะ เราขาดสติอย่างร้ายแรกเลย ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก

มันเกิดขึ้นได้เสมอนะ หากเราไม่ปราณีตพอ จิตมันฟุ้งซ่านไป ไปอยู่ในความว่าง ฟุ้งซ่านไปอยู่ในธรรมะ ฟุ้งซ่านไปอยู่ในปิติ ..ฟุ้งซ้านไปอยู่ในการขยันภาวนา ภาวนาได้ทั้งวันไม่เคยพักเลย เจริญสติอย่างเดียวไม่มีเบรคเลย เนี่ย เป็นอาการที่เพี้ยนๆ ทั้งสิ้นเลย

ถ้าภาวนาถูกต้องแล้วจะเจอนะ ถ้าภาวนาผิดแล้วจะไม่เจอ จะเจอนิมิตแทนนะ

งั้นวันนี้หลวงพ่อก็เทศน์เรื่องวิปัสสนูให้ฟังด้วย แล้วเทศน์ให้ฟัง สิ่งที่ทำผิดมาเนี่ยมีตั้งหลายแบบ

โดยสรุปเลยก็คือ เราไม่ได้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงนะ ไม่รู้ลงปัจจุบันตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าเราสามารถรู้กายรู้ใจที่ปรากฎในปัจจุบันเนี่ย..ต้องเป็นปัจจุบันนะมันถึงจะเป็นของจริง อดีตไม่ใช่ของจริง อนาคตไม่ใช่ของจริง

ต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ต้องเห็นไตรลักษณ์ของมัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเดี๋ยวจิตไหลออกไป จิตฟุ้งไปแช่กับอารมณ์ใช้ไม่ได้นะ จะเป็นวิปัสสนู และที่ผ่านมามันจะผิดอยู่ในหลักนี้ทั้งหมดเลย

เริ่มตั้งแต่ ไปหัดดูจิต แล้วก็ไปแก้อาการของจิต ใช่ไหม? นี่ไม่ใช่รู้ นี่เป็นการเข้าไปแก้ไข

หรือ ถลำลงไปดู นี่จิตไม่ตั้งมั่น หลวงปู่สิมท่านแก้ให้ จิตถลำลงไปดู

หรือ จิตเจริญสติไปรวดเลย ไม่ยอมทำความสงบ ไม่พักผ่อนเลยนะ จิตหมดเรี่ยวหมดแรงไป เห็นไหมจิตไม่มีแรง จิตไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลาง จิตหมดแรง

หรือ จิตไหลออกไปข้างนอก สว่างว่างออกไป แล้วไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง ..อย่างตอนนี้มีคนวิจารณ์บอกหลวงพ่อสอนผิด เพราะมีคนไปส่งการบ้านที่วัดอื่นนะ บอกว่า ไปเรียนดูจิตมา ..ท่านอาจารย์ท่านก็สอนถูกนะ ท่านบอกมันผิดนี่หว่า มันไปดูในความว่าง ..แต่ท่านเข้าใจผิด คิดว่าดูจิตแล้วจะเป็นอย่างนี้ทุกคน ไอ้นี่มันเป็นวิปัสสนูนะ งั้นไม่ใช่บางคน สงสัยทำไมหลวงพ่อไม่ไปทะเลาะกับองค์อื่น ไม่ทะเลาะหรอก นะ ท่านก็พูดของท่านก็ถูกของท่านแหละ พวกเราภาวนาโหลยโท่ยเองอ่ะ (ฮึฮึ) จิตไปติดในความว่าง ภาวนาผิดอ่ะ นะ งั้นถ้าจิตไม่ไปติดในความว่าง เรารู้ทันก็หลุดออกมา นะ งั้นการภาวนานะ ถ้าเข้าใจหลักปฎิบัติที่แท้จริงแล้วไม่มีปัญหาอะไรเลย ภาวนาของเราเองก็สะดวกสบาย เข้าไปหาครูบาอาจารย์ก็ไม่เคยมีปัญหาเลย

.. อย่างหลวงพ่อนะ มีพระทางอีสานลูกศิษย์หลวงพ่อทุย (วัดป่าด่านวิเวก) หลวงพ่อทุยที่ครูบาอาจารย์รับรองท่านนะ คุณธรรมท่านสูงมากเลย ลูกศิษย์ท่านมาเรียนที่หลวงพ่อ แล้วก็เอาหนังสือหลวงพ่อ เอาซีดีหลวงพ่อเนี่ยไปถวายท่านอาจารย์ทุย ท่านฟังจริงๆนะ ท่านฟังจนหมดเลย ท่านอ่านทั้งเล่มเลย อ่านทางเอกทั้งเล่มอ่ะ หน่ะ เสร็จแล้วท่านก็บอกกับลูกศิษย์ท่าน ที่อาจารย์ปราโมทย์สอนมาเนี่ยนะ เราเห็นด้วยทุกอย่างเลย เราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียวเอง ..เห็นมะ ความเห็นต่างได้ ..ท่านบอกเราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียว ข้ออื่นเห็นด้วยหมดอ่ะ อาจารย์ปราโมทย์บอกการภาวนาง่าย เราว่ามันยากนะ .. :D มันยาก ถูกของท่านนะ

มันยากที่คนทั่วๆไปเนี่ย จะตื่นขึ้นมา จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่ถ้าจิตของเราเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ไม่ยากหรอกที่จะบรรลุมรรผล นิพพานในชีวิตนี้ นะ ..งั้นพวกเราภาวนาไปนะ หัดดูกาย หัดดูใจ มีสติรู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบันเรื่อยไป นะ รู้ไปถึงจุดนึง นะ ต้องระวัง “วิปัสสนู” นะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่เป็นกลาง จิตไม่ถึงฐาน อย่างที่อาจารย์มหาบัวเคยบอกหลวงพ่อ ..ภาวะที่ว่าดูจิตดูไม่ถึงจิตแล้วลงอยู่ในว่างๆ ถ้าเรารู้ทันตรงนี้ก็ผ่านไปได้

ไม่ว่าจะทำวิปัสสนาด้วยวิธีใดนะ หนีวิปัสสนูไม่พ้นหรอก เจอทุกราย จะมากจะน้อยเท่านั้นเอง ..งั้นเราไม่ต้องกลัวนะ วิปัสสนูไม่ได้แปลว่าบ้า วิปัสสนูเป็นความที่ใจมันลำพองไป ทะยานไป หลงไปในธรรมะ ไม่ใช่หลงในอธรรมนะ หลงไปในธรรมะ เผลอเพลินไปในธรรมะ

ถ้ารู้ทัน จิตตั้งมั่นขึ้นมาก็หลุดเลย ไม่ยากเท่าไหร่หรอก อ่ะวันนี้เทศน์เท่านี้พอ

ขอบคุณ คุณ Supakorn Gift ผู้ถอดคลิปรับเชิญ

พระสูตรจากคลิป: ยุคนัทธสูตร

ส่วนที่อธิบายไว้ในอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 35  หน้าที่ 402

๑๐. ยุคนัทธสูตร

:- [๑๗๐]    สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ  โฆสิตารามกรุงโกสัมพี

ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมาฯลฯ  แสดงธรรมว่าอาวุโสทั้งหลาย

สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตามพยากรณ์การบรรลุ

พระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค  ๔  โดยประการทั้งปวงหรือว่าด้วย

มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔  นั้น  มรรค ๘ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็น

เบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น   เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ

ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่     มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก

ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้  อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้วสมัยนั้น

จิตนั้นย่อมตั้งมั่นหยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่

ภิกษุนั้น  เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ

กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น  ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อาวุโสทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตาม   มาพยากรณ์การ

บรรลุพระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ นี้    โดยประการทั้งปวง  หรือ

ด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน  ๔  มรรคนั้น.

จบยุคนันธสูตรที่  ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต

MP3 (for download): ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต (๓๓ นาที ๕๖ วินาที)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ ๒๒
File: 510615
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ก้าวแรกสู่การภาวนา

mp 3 (for download) : ก้าวแรกสู่การภาวนา (44.14 นาที)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

=== ธรรมบรรณาการ วันเปิดตัว Dhammada.net ===

หลวงพ่อปราโมทย์ :

พวกเราสนใจธรรมะดีที่สุด แต่ก่อนเข้าไปศึกษากับครูบาอาจารย์ ท่านจะบอกตลอดว่าธรรมะเป็นเรื่องง่าย การปฏิบัติจริงๆเป็นเรื่องง่าย ทำแล้วมีความสุข ถ้าเราปฏิบัติได้ถูกต้องชีวิตจะพบความสุขอย่างรวดเร็ว

ธรรมะของพระพุทธเจ้าอัศจรรย์จริงๆ ถ้าเราปฏิบัติได้ถูกต้องใช้เวลาไม่นาน ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องใช้เวลานาน ที่ไม่ถูกต้องคือไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ ท่านไม่ได้สอนให้พวกเราหนี ชาวพุทธจริงๆต้องเป็นนักต่อสู้ไม่ใช่คนขี้แพ้ ความทุกข์อยู่ที่ไหนท่านสอนให้เราเข้าไปเรียนรู้ที่นั่น

ความทุกข์อยู่ที่กายให้เข้าไปเรียนรู้ที่กาย

ความทุกข์อยู่ที่จิตใจให้เข้าไปเรียนรู้ที่จิตใจ

ที่จริงแล้วคนก็แสวงหาทางพ้นทุกข์มาตลอด ใครๆก็อยากพ้นทุกข์กันทั้งนั้น ก่อนพระพุทธเจ้าก็แสวงหาทางพ้นทุกข์ กระทั่งหมูเห็ดเป็ดไก่ก็แสวงหาทางพ้นทุกข์ของมัน แต่การแสวงหาทางพ้นทุกข์ที่มีมาตลอด แสวงหาได้ตามชั้นตามภูมิ ตามความเข้าใจ ตามสติปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านไม่เหมือนกัน

  • บางคนหาทางพ้นทุกข์ด้วยการเสพย์สุข แสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนังฟังเพลง ไปหาอะไรสวยๆดู ไปทัศนาจร ไปหาของอร่อยๆกินแก้กลุ้ม หรือคิดอะไรให้เผลอๆเพลินๆ นี่ก็เป็นวิธีหาความสุขหนึ่ง หาความสุขอย่างโลกๆ หาความสุขโดยอาศัยการกระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิธีการหาความสุขอย่างนี้ พวกสัตว์เดริฉานก็ทำเป็น เช่น เช่นมันหิวอะไรขึ้นมาก็ไปหาอะไรกิน พอกินอิ่มแล้วก็มีความสุข
  • ทีนี้บางคนมีสติปัญญามากขึ้น ลำพังวิ่งหาความสุขตาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ต้องเที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจไปเรื่อยๆ พึ่งสิ่งภายนอกมากเกินไป หลายคนเลยมาหาความสุขในจิตใจของตัวเอง โดยเฉพาะพวกเข้าวัดทั้งหลาย มีความรู้สึกขึ้นมาอยู่เรื่อยๆเลย ถ้าเราสามารถเข้าควบคุมจิตใจของเราให้อยู่ในอำนาจของเราได้ เราจะมีความสุข จึงเกิดการแสวงหาความสุข วิธีที่ ๒ ขึ้น คือการรักษาใจของเราให้ดี าร การแสวงหาความสุข ชนิดที่ วเอง โดยเฉพาะคนด่าใจเราก็เฉย คนชมใจเราก็เฉย วิธีการหาความสุขอย่างนี้ก็เพื่อให้ตัวเรามีความสุข นี่ก็ยังไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้าทีเดียว เป็นการปรุงแต่งฝ่ายกุศล ปรุงแต่ความดีขึ้นมา ชีวิตจะได้มีความสุขอย่างคนดีๆ มีความสุขอย่างคนดีๆได้ ก็มีความทุกข์อย่างคนดีได้นะ
  • บางคนฉลาดกว่านั้น ตราบใดที่เรายังต้องรักษาจิตใจเอาไว้ มีการกระทบกระเทือน ต้องคอยรักษาอยู่เรื่อยๆ ยังไม่สุขจริง อีกพวกหนึ่งจึงคิดพัฒนาขึ้นไป ถ้าเราไม่ต้องกระทบอารมณ์เลยจะมีความสุข พวกนี้จึงฝึกเข้าฌาน อรูปฌาน พรหมลูกฟัก ไม่รับรู้อารมณ์โลกภายนอก ไม่สนใจโลกภายนอก ไม่มีอะไรมากระเทือน ไม่มีสิ่งใดมากระทบ พอไม่มีอะไรมากระทบใจก็ไม่ต้องกระเทือน

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีวิธีการหาความสุขอยู่ ๓ แบบ

(๑) เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ ตอบสนองกิเลสไปเรื่อยๆ แล้วก็มีความสุข การหาความสุขแบบนี้เป็นการปรุงแต่งฝ่ายอกุศล หรืออปุญญาภิสังขา หรือเป็นความสุดโต่งในทางที่เรียกว่า กามสุขขัลลิกานุโยค ตามใจกิเลสแล้วมีความสุข (๒) คอยควบคุมคอยบังคับตัวเอง เป็นการปรุงแต่งฝ่ายกุศล เรียก ปุญญาภิสังขา หรือเรียก อัตตกิลมถานุโยค การบังคับควบคุมตัวเอง (๓) หลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เรียก อเนญชาภิสังขาร

ในโลกมีการปรุงแต่ง ๓ อย่างนี้ การปรุงแต่งทั้ง ๓ อย่างนี้ กระทำไปเพื่อตอบสนองอัตตาตัวตนทั้งสิ้น เพราะเราไม่รู้ความจริง ว่ากายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวเรา เพราะคิดว่า กายนี้ ใจนี้ เป็นตัวเรา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ ก็เลยต้องดิ้นรนปรุงแต่ง ๓ แบบนี้

พระพุทธเจ้าท่านฉลาดแหลมคม ท่านบอกว่าตราบใดที่ยังคิดปรุงแต่งอยู่อย่างนี้ ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด ไปแก้ปัญหาทางปลายทางเท่านั้น ตรงจุดจริงๆ คือ ตัวตนมีไหม เข้ามาศึกษากาย ศึกษาใจของเราเอง จนวันหนึ่งปัญญามันแจ้งว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา พอปล่อยว่างความยึดถือกายได้ ปล่อยวางความยึดถือใจได้

ละอวิชชา ( อวิชชา คือ ความไม่รู้อริยสัจ ความไม่รู้อริยสัจอย่างแรก คือ ไม่รู้ทุกข์ ) คือเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราคิดว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเรา เป็นตัวดีเป็นตัวดีเป็นตัววิเศษ เราก็ต้องดิ้นรนให้มันดีไปเรื่อยๆ ให้มันสุข อยากให้มันพ้นทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าเราสามารถเรียนรู้ รู้ลงเข้ามาที่กาย รู้ลงเข้ามาที่ใจ นี่วิธีการของพระพุทธเจ้า เรียนรู้ลงเข้ามาที่กายที่ใจตัวเอง จนเห็นความจริงเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ ความดิ้นรนหวงแหนในร่ายกายก็จะสลายไป หรือเรียนรู้ลงไปที่จิตใจ จะเห็นเลยจิตใจเป็นของไม่เที่ยง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สุขชั่วคราว ทุกข์ชั่วคราว ดีชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว ทุกอย่าที่ผ่านเข้ามาที่จิตที่ใจเราล้วนแต่เป็นของชั่วคราวทั้งนั้น กระทั่งตัวจิตตัวใจเองก็ของชั่วคราว จิตเกิดทางตาเดี๋ยวก็ดับไป เกิดทางหูเดี๋ยวก็ดับไป เกิดทางใจแล้วก็ดับไป มีแต่ของชั่วคราวทั้งหมด

พอเห็นอย่างนี้เห็นความจริงแล้ว จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราที่เที่ยงแท้ถาวรอะไร ความดิ้นรนที่จะให้จิตมีความสุข ความดิ้นรนที่จะให้จิตพ้นทุกข์มันก็จะสลายไป ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงเกิดจิตใจที่ฉลาด รู้ความจริงของกายของใจจนหมดความดิ้นรน การที่เรารู้กายรู้ใจ เขาเรียกว่า รู้ทุกข์

ครูบาอาจารย์ท่านสอนมานะ อย่างหลวงปู่เทสก์ท่านเคยสอน รู้ทุกข์นั่นแหละล้างสมุทัย ถ้าเรารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ละสมุทัยคือละความดิ้นรน ใจมันจะเลิกดิ้นรนเที่ยวหาความสุข ใจมันจะเลิกดิ้นรนเที่ยวหาความทุกข์ ใจที่มันเลิกดิ้นรนมันจะเข้าหาความสงบสุขที่แท้จริง อันนี้เรียกว่านิโรธ นิโรธหรือนิพพานนั่นเอง คือความสงบ ความระงับกิเลสจากตัณหา จากความวุ่นวาย หลุดพ้นออกไปจากขันธ์ จากกายจากใจนี้ มีกายมีใจสักแต่ว่าอาศัยอยู่แค่นั้นเอง

ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกตลอดเวลาเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ กายนี้เป็นของโลก ยืมโลกมาใช้ชั่วคราว จิตใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นนามธรรมตัวหนึ่ง เกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างนี้ใจจะพ้นทุกข์นะ ใจจะเข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง หน้าที่ของพวกเราคือ คอยรู้กายคอยรู้ใจของเรามากๆ จนมันเข้าใจความจริง เครื่องมือที่จะรู้กายรู้ใจของเรา เรียกว่า สติ การที่เข้าใจความจริง เรียกว่า ปัญญา หรือ สัมปชัญญะ สติเป็นตัวระลึกรู้ อะไรเกิดขึ้นในกายคอยรู้ อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้ รู้มากเข้าๆ ปัญญามันเกิด มันเกิดความเข้าใจ เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ พอเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจว่าไม่ใช่ตัวเรา ความดิ้นรนในใจจะหมดไป จิตที่หมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่งนั่นแหละ คือจิตที่เข้าสู่สันติสุขหรือนิพพาน

นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง ในพระอภิธรรมสอนชัดๆเลย ว่า นิพพานมีสันติลักษณะ มีลักษณะสงบสันติ สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไรสงบจากขันธ์ ขันธ์ก็คือกายกับใจเรานี่เอง เป็นเครื่องเสียดแทง หน้าที่ของพวกเราคอยรู้สึกที่กายคอยรู้สึกที่ใจ

กรรมฐาน ถ้าเลยกายเลยใจของเราแล้ว มันออกไป มันอ้อมค้อมออกไป เพราะฉะนั้นให้คอยรู้อยู่ที่กาย คอยรู้อยู่ที่ใจ ครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง เคยสอนหลวงพ่อ สอนหลวงพ่อตอนที่ยังไม่ได้บวช ท่านสรุปให้ฟังง่ายๆนะ การปฏิบัติให้มีสติ รู้ลงที่ใจอย่างเป็นกลาง เป็นปัจจุบัน มีเท่านี้เอง ครูบาอาจารย์รูปนี้ตอนนี้ท่านก็ยังอยู่นะ เป็นเสาหลักของสายวัดป่า

รู้อยู่ที่กายรู้อยู่ที่ใจ ทีนี้ทำอย่างไรเราจึงจะรู้กายรู้ใจได้ ตรงนี้สำคัญต้องค่อยๆเรียน ค่อยๆศึกษา เราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ในความเป็นจริงบนโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจของตัวเองหรอก มีแต่คนหลงมีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากเลยเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเราจะคิดเรื่องต่างๆไปทั้งวัน ใจมันไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ เราจะต้องค่อยๆฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกาย ตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั่นแหละ คือตัว พุทโธ ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่บนโลก เป็นผู้นึก ผู้คิด ผู้ปรุงแต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

สังเกตให้ดี ใจเราตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตนะ เวลาเราคิดอะไรไปเราจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิด เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มีนะ เช่น นั่งอยู่ก็ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูดๆ พยักหน้า ในใจไปที่อื่นนะ เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับกายเกี่ยวกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง

การที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่รู้กายรู้ใจนั่นแหละ เรียกว่า กายกับใจเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ ฟังแล้วน่ากลุ้มใจ เอาเป็นเรียกว่า กายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจไว้ คนในโลกมีแต่คนไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนหลง มีแต่คนคนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน

เวลาที่เราดูเราก็เผลอดู

เวลาที่เราฟังเราก็เผลอฟัง

เวลาที่เราเผลอคิดเราก็เผลอไปคิด

ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา

เมื่อเราลืมกายลืมใจตัวเองตลอด เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กายรู้ใจตัวเอง ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงคิดๆอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา นี่ทำยังไงเราจึงจะรู้กายรู้ใจได้

ศัตรูของการรู้กายรู้ใจมี สองอย่าง คือ (๑)การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรานั่นแหละ (๒) ถ้าเมื่อไรเรารู้ธรรม ว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน. เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ ถ้าเข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกนะ เราจะตื่นในฉับพลัน ธรรมะใครเข้าถึงแล้วจะอุทานว่า อัศจรรย์จริงๆ ดูในไตรปิฎกนะ เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทานนะว่า อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าค่ะ เห็นไหม ไม่ใช่สับสนนักพระเจ้าค่ะ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าค่ะ เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย

พระพุทธเจ้าก็เหมือนคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ ธรรมะจริงๆไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงไปอยู่ในโลกของความคิด เมื่อไรจะตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริงๆ ตัวนี้ที่ยากที่สุด ทางลัดที่ง่ายที่สุดนะ คือ รู้ทันใจที่หนีไปคิด

มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน ท่านสิ้นไปแล้วนะ ท่านสอนน่าฟังเหมือนกัน ธรรมะมันลงกันนะ สายไหนก็เหมือนกันแหละ ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า ถ้าเมื่อไรรู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องว่าจิตคิด สองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้นหน้าที่เรา คือ คอยศึกษา คอยสังเกตตัวเอง

ศึกษาอย่างไร สังเกตอย่างไร เอาตั้งแต่ตอนนี้เลย เรียนกับหลวงพ่อนะ ไม่ต้องเรียนแล้วฟังให้รู้เรื่อง เรียนแล้งหัดสังเกตสภาวะจริงๆไปเลย นั่งฟังหลวงพ่อพูดสังเกตไหม เดี๋ยวมองหน้าหลวงพ่อแวบหนึ่ง เดี๋ยวฟังหลวงพ่อพูดหน่อยหนึ่ง แล้วก็แอบไปคิด ดูออกไหม ฟังไปคิดไป ไม่ได้ฟังอย่างเดียว ฟังนิดนึงก็คิดตามไปนะ แล้วก็ฟังใหม่ ฟังอีกหน่อยหนึ่งก็คิดใหม่อีก บางทีเราก็ฟังไปคิดไป เนี่ยมองหน้าหลวงพ่อนิดนึง แล้วก็ฟัง ฟังแล้วก็คิด เราไม่เคยเห็นเลยว่ากระบวนการทำงานของใจเราเป็นแบบนี้ เดี๋ยวฟัง เดี๋ยวดู เดี๋ยวคิด ที่จริงมันก็ไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ที่ไปมากก็คือไปทางตา ไปทางหู ไปทางใจ ขณะที่เรานั่งอยู่นี่ สังเกตดูเดี๋ยวฟัง เดี๋ยวดู เดี๋ยวคิด สลับไปเรื่อยๆ ให้เราคอยรู้ทันนะถ้าเรารู้ทันใจที่หนีไปคิดครู่เดียว ขณะจิตนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะเราจะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความจริงอย่างฉับพลัน

ทันทีที่เราตื่นขึ้นมา เราอยู่ในโลกของความจริงแล้ว ถ้าสติระลึกรู้กาย เราจะเห็นทันทีว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ร่างกายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ ร่างกายนี้ไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ คนทั่วๆไปจะลืมตัวเองนะ จะลืมกายลืมใจ จะไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าหรอก

พระพุทธเจ้าสอนเรา ขันธ์ห้า เป็นทุกข์ กายกับใจเป็นทุกข์ คนทั่วๆไปไม่มีใครรู้สึกหรอก ว่ากายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ กระทั่งพวกเราในห้องนี้ สิ่งที่พวกเรารู้สึกคือ ร่างกายเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง จิตใจของเราเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง นี่เราไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน แต่เราเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง ทำอย่างไรจึงจะเห็นว่าเป็นทุกข์จริงๆ ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ถ้าไม่สามารถเห็นว่าเป็นทุกข์จริงๆ เห็นว่ามันทุกข์บ้างสุขบ้าง เราจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจไม่ได้ เพราะอะไร เพราะกายนี้ยังมีทางเลือก มันสุขก็ได้ มันทุกข์ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราขอเลือกเอาสุขไว้ก่อน ขอเลือกวิ่งหนีความทุกข์ไว้ก่อน จิตใจก็เหมือนกัน ถ้ายังมีสุขบ้างทุกข์บ้าง ก็จะเลือกเอาจิตใจที่มีความสุข หลีกหนีจิตใจที่มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นจะปล่อยวางความยึดถือกาย ยึดถือใจไม่ได้จริง

แต่ถ้าเมื่อไรสติปัญญาแกร่งกล้า เห็นเลยกายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป

ถ้าสติปัญญามันเห็นได้ถึงขนาดนี้ มันจะขว้างทิ้งเลยนะ มันจะปล่อยวางกายมันจะปล่อยวางใจ ไม่ต้องเชื้อเชิญ ไม่ต้องบังคับ มันจะสลัดทิ้งเอง เพราะมันรู้แล้วว่าเป็นของไม่ดี เป็นของเป็นทุกข์จะทิ้งเลย ฉะนั้นเห็นรู้เมื่อไรจึงจะเห็นธรรม

วิธีการที่เราจะเห็นกายเป็นทุกข์จะทำอย่างไร หลวงพ่อจะบอก

(๑)วิธีเห็นกายเป็นทุกข์ เรานั่งอยู่คอยรู้สึกไว้อย่าใจลอย อย่าเผลอไปคิดอะไรเรื่อยไป คอยรู้สึกตัวเองเป็นนัยๆ เราจะเห็นเลยว่าเรานั่งอย่างสบายๆประเดี๋ยวเดียวก็เมื่อยแล้ว พอเมื่อยแล้วเราก็ขยับตัว เราเปลี่ยนอิริยาบถนะ พอเมื่อยก็ขยับอัตโนมัติเลย

เพราะเราหนีความเมื่อยแบบนี้มาตลอดชีวิตแล้ว เราไม่เคยรู้สึกเลย พอเมื่อยมาเราก็ขยับตัว พอขยับตัวก็ไม่เห็นรู้สึกว่าทุกข์ตรงไหนเลย ประเดี๋ยวความเมื่อยตามมาทันอีก ก็ขยับตัวอีก นั่งอยู่ก็นั่งขยับไปเรื่อยๆ ยืนอยู่ก็ยืนขยับไปเรื่อยๆ เดินก็ขยับอยู่แล้ว เดินมากๆก็เมื่อย นอนอยู่ยังเมื่อยเลย กลางคืนคนเรานอนปกติ สมมตินอนแปดชั่วโมง จะนอนพลิกซ้ายพลิกขวาๆ ไม่ต่ำกว่า 50 ครั้ง ทำไมต้องนอนพลิก เพราะมันเป็นทุกข์นั่นเอง ความทุกข์มันบีบคั้นร่ายกาย มันทำให้ต้องคอยขยับหนีไปเรื่อยๆ

อิริยาบถคือการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวร่างกาย มันบิดบังทำให้เรามองเห็นความทุกข์ของกายไม่ได้ อย่างเรานั่งอยู่นั่งไปนั่งให้สบายๆนะ มีเงินมากๆไปซื้อเก้าอี้ตัวละแสนมานั่งก็ได้ ดูสิ! มันจะมีความสุขจริงไหม ถ้าไม่ขาดสตินั่งประเดี๋ยวเดียวก็จะเห็นแล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์จริงๆ มันทุกข์ล้วนๆ นั่งไม่ขยับทุกข์ตายเลย ยิ่งเป็นอัมพาตนะกระดุกกระดิกไม่ได้ยิ่งทุกข์มาก เราก็ดิ้นหนีความทุกข์ไปทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ หลับก็ดิ้นไปดิ้นมา ถ้าเรามีสติรู้กายอยู่เนืองๆ จะเห็นเลยกายนี้ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บอกสุขบ้าง

(๒)วิธีเห็นจิตเป็นทุกข์ คราวนี้มาดูจิตใจบ้าง ธรรมะก็มีเรื่องกายกับใจนี่แหละ ดูกายแล้วเห็นว่ากายเป็นทุกข์แล้วก็มาดูใจของเราบ้าง ใจของเรามันไม่เที่ยง ความสุขก็อยู่ชั่วคราวนะ ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว กุศลเกิดขึ้นก็อยู่ชั่วคราว เช่น เราเกิดความรู้สึกตัว เราจะรู้สึกตัว เราจะรู้สึกได้แวบเดียว เดี๋ยวก็จะเผลอ เดี๋ยวจะลืมตัวครั้งใหม่ เพราะฉะนั้นตัวกุศล ตัวความรู้สึก หรือตัวสติก็เกิดขึ้นเอง เกิดได้ชั่วคราว ไม่มีใครรักษาความรู้สึกตัวให้อยู่ต่อเนื่องยาวนานได้

สิ่งที่สามารถทำให้ต่อเนื่องยาวนานได้มีอย่างเดียว คือ สมาธิ ไม่ใช่ตัวสตินะ

ตัวสติไม่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน เกิดแล้วก็ดับๆ เป็นขณะๆไป อกุศลความโกรธ ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นเป็นขณะๆเหมือนกัน เช่นที่หลวงพ่อบอกให้หัดเมื่อครู่ นั่งฟังหลวงพ่อเดี๋ยวก็ดู ใจมันไปดู อาศัยตาเป็นทางผ่านไปดูรูป อาศัยหูเป็นทางผ่านไปฟังเสียง อาศัยใจเป็นทางผ่านไปคิด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำงานถี่ๆอยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็ดู เดี๋ยวก็ฟัง เดี๋ยวก็คิด สังเกตใจของเราหาความเที่ยงแท้อะไรไม่ได้ ใจเราวิ่งพล่านๆอยู่ตลอดเวลา ใจเราถูกความอยากบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากคิด เดี๋ยวก็อยากโน่นอยากนี่ รวมทั้งอยากปฏิบัติ อยากฟังธรรม อยากไปวัด อยากมาศาลาลุงชิน ความอยากนี่มันบงการเราตลอดเวลา ถ้าเรามารู้อยู่ที่ใจเรา เราจะเห็นเลยจิตใจเราไม่เคยเป็นอิสระเลย

จิตใจเราเป็นขี้ข้าของความอยากตลอดเวลา ถ้าพูดแบบหยาบๆ นะ เหมือนเป็นขี้ข้าเป็นทาสอยู่ตลอดเวลา มันสั่งเราทั้งวันนะ สั่งอย่างโน้น สั่งอย่างนี้ เราก็ต้องทำตามมัน เช่นมันสั่งให้ไปเที่ยว ตัณหามันสั่งให้เราไปเที่ยง เราไม่รู้ทันนะเราก็ไปเที่ยวสบายใจ ไม่รู้ทันของใจ

ตัณหาเป็นเจ้านายที่ฉลาดที่สุด มันจะให้คุณให้โทษ มันสั่งให้เราไปเที่ยว ถ้าเราไปเที่ยว มันจะให้รางวัลนิดนึงจะสบายใจ แต่สบายใจครู่เดียวนะ มันจะสั่งงานใหม่แล้ว ถ้ามันสั่งให้เราไปเที่ยวแล้วเราไม่ไปเที่ยว มันจะลงโทษเรา เราจะรู้สึกกลุ้มใจ อึดอัด มันสั่งให้ไปจีบสาวสักคนหนึ่งนะ ได้ไปจีบสาวหนึ่งคนมีความสุขแล้ว มันจะสั่งอีก มันจะสั่งไปจีบสาวสองคน ถ้าไม่จีบจะกลุ้มใจอีกแล้ว เนี่ยมันจะสั่งเราทั้งวัน เนี่ยคนที่ตกเป็นทาสมันจะมีความสุขที่ตรงไหน คอยดูอยู่ที่ใจเรา ใจเราจะถูกโขกถูกสับอยู่ทั้งวัน หาความสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยนะ ร่างกายของเรายังได้นอนพัก แต่จิตใจแทบจะไม่ได้พักผ่อน กลางคืนก็ฝันต่ออีก ทรมานมากมีความทุกข์มาก คอยดูอยู่ที่จิตใจเรา จะเห็นเลยจิตใจของเรามันทุกข์มาก จิตใจต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนไม่ได้พักผ่อน ถูกโขกสับตลอดเวลา เจ้านายมันโขกมันสับตลอดเวลา ทีนี้ก็เราไม่รู้เราไม่เคยเห็น

เราเป็นทาสที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นทาส เราจึงไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองเป็นอิสระได้ เพราะฉะนั้นคอยดูใจของเราไว้นะ เดี๋ยวก็อยากไปโน่นเดี๋ยวก็อยากไปนี่ เดี๋ยวอยากคุยกับคนนี้ เดี๋ยวอยากโน้นอยากนี้ไปเรื่อย คิดว่าอยากได้อย่างนี้นะ ถ้าได้มาแล้วจะมีความสุข กิเลสมันหลอกเรานะให้วิ่งหาความสุข วิ่งทั้งชาติก็ไม่ได้นะความสุขน่ะ อย่างตอนเด็กๆเลยเรามีความรู้สึกว่าถ้าเรียนจบแล้วจะมีความสุข พอเรียนปริญญาตรีจบนะมันบอกต่อเลยต้องเรียนปริญญาโทจึงจะมีความสุข ถ้าได้ปริญญาเอกยิ่งมีความสุขใหญ่ พอเรียนหนังสือจบแล้วก็อย่างนั้นๆเองนะ ไม่ได้มีความสุขตรงไหนเลย ในนี้ก็มีคนได้ปริญญาเอกหลายคนนะก็ไม่เห็นจะว่าจะมีความสุขเท่าไร มันหลอกเราต่ออีกนะ ถ้าได้งานดีๆจะมีความสุข ถ้าได้เงินเดือนเยอะๆจะมีความสุข มีคำว่า ถ้าตลอดเวลานะ ถ้าได้ตำแหน่งใหญ่ๆจะมีความสุข มีแต่คำว่า ถ้า เพราะฉะนั้นชีวิตวิ่งหาความสุขทั้งชาติเลยนะ ต่อไปถ้าได้ครอบครัวที่ดีๆจะมีความสุข มีลูกฉลาดๆจะมีความสุข ต่อไปถ้าแก่ๆนะ ไม่เจ็บไม่ไข้จะมีความสุข พอแก่มากเจ็บป่วยใกล้ตายมาก เราจะรู้สึกขึ้นมาอีกแล้วว่าถ้าตายได้จะมีความสุข ดูจนตายนะยังคิดได้อีกนะว่าถ้าตายแล้วจะมีความสุข เนี่ยนะวิ่งพล่านๆ ยิ่งกว่าหมาถูกน้ำร้อนนะ พูดแบบง่ายๆ วิ่งพล่านตลอดเวลาจะมีความสุขได้อย่างไร

ความสุขมันลอยอยู่ข้างหน้าตลอดเวลา ความสุขวิ่งหาตลอดชีวิตก็ไม่ได้มา วิ่งเหมือนจะหยิบได้นะ เหมือนจะคว้าได้ แล้วก็เลื่อนหายไป

หลุดมือไปแล้วก็ลอยไปอยู่ข้างหน้าอีก วิ่งไปเรื่อยๆ ถ้าเรามาดูใจเราจะเห็นเลยว่าน่าอเนจอนาถน้ำตาแทบล่วงเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆนะ มันดีตรงไหน เฝ้ารู้ไปเรื่อยๆนะ รู้กายไป กายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ มีความทุกข์บีบคั้นตลอดเวลา จิตใจมีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่ความไม่เป็นอิสระ ถูกกดขี่ถ้าเราสั่งให้ไปเที่ยวแล้วมันไม่ไปเที่ยวพอเร ถกบงคบอยตอ ถูกบังคับอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เจ้านายของตัวเองนะ ไม่ใช่อัตตาได้หรอก ไม่ได้มีเจ้าข้าวเจ้าของกับมันได้ เฝ้าดูเรื่อยๆนะ เราก็จะเริ่มเห็นความจริง ความจริงคือตัวปัญญา เราจะเห็นเป็นลำดับๆ ไป ปัญญาเบื้องต้นเลยเราจะเริ่มเห็นเลย ร่างกายนี้จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เริ่มต้นเลยจะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราก่อน ร่างกายดูง่ายว่าไม่ใช่ตัวเรา แต่จิตใจดูยากว่าไม่ใช่ตัวเรา

พระพุทธเจ้าถึงสอนว่าพระภิกษุทั้งหลายปุถุชนที่ไม่ได้สดับ หรือศาสนาอื่นก็ได้ สามารถเห็นกายที่ไม่ใช่ตัวเรา เพราะว่าเห็นคนโน้นตายเห็นคนนี้ตายนะ เห็นว่าหน้าตาวันนี้กับเมื่อวานไม่เหมือนกัน แต่ท่านบอกว่าปุถุชนที่ไม่ได้สดับไม่ได้ฟังธรรมของท่านจะไม่สามารถเห็นจิตที่ไม่ใช่ตัวเรา พวกเรารู้สึกไหมว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง เราตอนนี้กับเราตอนเด็กๆก็คือเราคนเดิม ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่งนะ เราเดี๋ยวนี้กับเราตอนเด็กๆก็ยังเป็นเราคนเดิม เพราะอะไรเพราะเราไม่เห็นความเกิดดับของจิตนี่เอง เราเลยคิดว่าจิตเที่ยง จิตของเราตอนเด็กกับตอนนี้คือคนเดียวกัน จิตของเราตอนนี้กับจิตของเราเย็นนี้เป็นคนคนเดียวกัน เรายังเป็นคนเดิมอยู่ จิตของเราปีนี้กับจิตของเราปีหน้ายังเป็นคนเดิม ตายไปแล้วเราก็ยังว่าอีกว่าจิตชาติหน้ากับจิตเดี๋ยวนี้เรายังเป็นคนคนเดิมอีก เพราะเราไม่เห็นความจริง เราไม่เห็นความจริงว่า จิตเราเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป พระพุทธเจ้าท่านสอน จิตอาศัยอยู่ในกาย ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ทั้งวันทั้งคืน แล้วก็วิ่งไปอย่างรวดเร็ว เราไม่เคยเห็น ถ้ามาคอยรู้มาคอยดู ดูใจของเรา ดูไปเรื่อยๆ ดูจิตใจนะ

ขั้นแรกง่ายที่สุด คอยรู้ความรู้สึกของตัวเองไว้ ความรู้สึกของเราเปลี่ยนแปลงทั้งวันนะ บางวันตื่นขึ้นมาก็สดชื่น บางวันตื่นขึ้นมาก็แห้งแล้ง จิตใจไม่เหมือนกัน ดูเป็นวันๆได้ ก็ดูเป็นเวลา ตอนเช้าบางคนจะรีบมาศาลาลุงชิน นัดเพื่อนไว้แล้วเพื่อนมาสายใจเลยกลุ้มใจหงุดหงิด หลวงพ่อมาใหม่ๆฟังใหม่ๆตื่นเต้น พอฟังมาหลายนาทีชักจะง่วงๆ นี่ดูใจของเรา ความรู้สึกของเรามันเปลี่ยนแปลง หัดดูไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หัดบังคับนะ ไม่ได้เรียนเพื่อที่จะบังคับกายบังคับใจ แต่หัดดูให้เห็นความเป็นจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ กายนี้ใจนี้บังคับไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ฝึกบังคับ ฝึกดูให้เห็นความจริง จิตใจนี้ไม่เที่ยงนะ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ล้วนเป็นของชั่วคราว ดูลงไปอย่างนี้จิตทุกชนิดเลยนะ จิตที่เป็นกุศลก็ชั่วคราว จิตที่เป็นอกุศลก็ชั่วคราว เนี่ยจิตมันเกิดดับๆไปเรื่อยๆ ต่อไปดูให้ละเอียดขึ้นไปอีก จิตที่เกิดทางตาก็ชั่วคราว จิตที่เกิดทางหูก็ชั่วคราว จิตที่ไปคิดก็ชั่วคราว หรืออย่างที่นั่งฟังหลวงพ่ออยู่นี่ เดี๋ยวมองหน้าหลวงพ่อชั่วคราว เดี๋ยวคิดสลับไปสลับมา จิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา หัดรู้หัดดูสิ มันทนสติทนปัญญาของเราไม่ได้หรอก

หัดรู้หัดดูเข้าจะเห็นว่าจิตนี้มันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จิตนี้เป็นอนัตตาบังคับมันไม่ได้ สั่งให้มันดีก็ไม่ได้ ห้ามมันไม่ให้ชั่วก็ไม่ได้ คอยดูไปเรื่อย เดี๋ยวก็เผลอๆนะ หัดดูไป เผลอแว้บไปก็รู้สึกๆ คอยรู้สึกไปเรื่อย จิตที่เผลอไปเป็นอกุศล เผลอขึ้นมาเกิดขึ้นมาห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัว รู้ทันว่าเมื่อครู่เผลอไป สั่งให้เกิดก็ไม่ได้นะ ถ้าจิตมันจำได้ว่าเผลอเป็นยังไงสติมันจะเกิดมันจะระลึกได้เลยว่าเผลอไปแล้วนะๆ รู้ตามหลังติดๆไปแบบนี้ตลอดเวลา การดูจิตดูตามหลังไปเรื่อยๆนะ ดูไปเมื่อครู่เผลอไปแล้วๆ รู้ไปเรื่อยๆเมื่อครู่โกรธ เมื่อครู่โลภ คอยรู้คอยดูตามหลังไปเรื่อยๆ เช่นเราขับรถอยู่คนปาดหน้าเรา มันโกรธขึ้นมา โกรธรู้ว่าโกรธ ถ้ารู้ถูกต้องความโกรธจะดับทันที เราก็รู้อีกความโกรธดับลงไปแล้ว ถ้ารู้ไม่ถูกต้อง ความโกรธเกิดขึ้นแล้วอยากให้หายโกรธ จิตมันมีโทสะขึ้นมาอีกแล้ว มีโทสะตัวที่สอง โทสะอันแรกโกรธคนที่ปาดหน้า โทสะที่สองโกรธตัวเองที่มีกิเลส โกรธความโกรธที่เกิดขึ้น เราก็รู้ตามไปทีละขณะๆ จิตใจตอนนี้กำลังเกิดความโกรธตอนแรกอยู่ รู้ทัน พอรู้ทันความโกรธจะดับลงไปเลย จิตจะตื่นขึ้นมาเต็มที่ คอยตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆนะไม่ใช่เรื่องยากอะไร

เพราะฉะนั้นธรรมะจริงๆง่ายนะ มันยากเพราะจริงๆเราไม่ค่อยได้ฟัง สิ่งที่พวกเราได้รับการอบรมสั่งสอนส่วนมาก คือ ปุญญาภิสังขา ความปรุงแต่งฝ่ายดี ทันทีที่เรานึกถึงการปฏิบัติเราก็จะบังคับกายบังคับใจตัวเอง บางคนกำหนดลมหายใจนะ หายใจตั้งแต่เกิดไม่เหนื่อยนะ พอกำหนดลมหายใจเหนื่อยจะตายแล้ว บางคนเดินช้อปปิ้งเช้ายันค่ำไม่เหนื่อย เดินจงกรมห้านาทีใกล้จะตายแล้วเหนื่อย ทำไมเป็นอย่างนั้น เพราะมันดัดแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา

รู้สึกไหมเวลามีคนมาหาพระ พวกเราไปดูคนเอาน้ำมาถวายพระ ขณะที่เราดูเขาเราลืมตัวเราเองเรียบร้อยแล้ว เนี่ย!จิตมันหลงไปทางตา รู้สึกไหมพอหลวงพ่อหยุดพูดใจเรามันเริ่มเคลื่อนไหว หัดดูมันลงปัจจุบันไป ง่ายๆ ง่ายมาก บางคนได้ยินหลวงพ่อบอกว่าง่ายมากเลยบอกว่ายากเยอะ ครูบาอาจารย์ทุกองค์ที่หลวงพ่อเคยสัมผัสมาส่วนใหญ่บอกว่าง่าย หลวงปู่ดูลย์ก็ว่าง่าย หลวงปู่เทศก์ก็ว่าง่าย หลวงปู่สิมก็ว่าง่าย หลวงปู่สุวัฒน์ก็ว่าง่าย แต่ท่านก็จะเงียบๆไปครู่หนึ่งนะ แล้วก็บอกว่ายากเหมือนกัน ทำไมมันถึงยากเหมือนกันแหละ เพราะเราไม่เคยเรียนไม่เคยรู้ เราเคยฝึกแต่จะบังคับตัวเอง บังคับกายบังคับใจ คือ อัตตกิลมถานุโยค คือความสุดโต่ง ขั้นบังคับตัวเอง ส่วนทางสายกลาง คือ การให้รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง จิตใจจะมีความสุข รู้กายจะเห็นเลยว่ากายไม่ใช่ตัวเรา รู้จิตจะเห็นเลยว่ามันไม่เที่ยง เราบังคับไม่ได้ไม่ใช่ตัวเราเหมือนกัน จบแล้วนะ ธรรมะจริงๆมีไม่มากหรอก ครูบาอาจารย์บางท่านตอบนิดเดียวนะ

อย่างหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่า อย่าส่งจิตออกนอก คือ อย่าหลงอย่าเผลอนั่นเอง คอยรู้สึกตัวไว้ หลวงพ่อเทียนท่านก็สอนนะ คิดเหมือนหนูรู้เหมือนแมว ครูบาอาจารย์จริงๆแต่ละองค์สอนนิดเดียว เวลาใจเราคิดก็หลงไป พอเรารู้สึกขึ้นมาก็ไม่หลงแล้ว หลงก็ตายไป เหมือนแมวมาจับหนูไปแล้ว

จริงๆไม่ได้ยากอะไรหรอก หลวงพ่อเทศน์ไม่เป็นนะ เทศน์ไม่เป็นหรอก ธรรมดาจะสอนกรรมฐาน สอนทีละคนสองคน สอนให้หัดดูสภาวะ เช่นขณะนี้ใจลอยก็หัดรู้ไว้นะ ขณะนี้เผลอไปแล้ว ขณะนี้สงสัยขึ้นมาแล้วรู้ไว้นะ หัดรู้ ขณะนี้ฟังแล้วไม่รู้เรื่องแล้วรำคาญก็รู้ว่ารำคาญ ขณะนี้ชักตื้บๆแล้วก็รู้ว่าตื้บๆ หลักจริงๆมีเท่านี้เอง นอกนั้นจะเป็นเรื่องพิธีการเป็นอุบายของแต่ละสำนักที่แตกต่างกัน

สำนักไหนก็ใช้ได้นะ จับหลักไว้ให้แม่น แล้วพอทำสมถะก็ใช้ได้ เช่น ใครหัดพุทโธ ก็พุทโธ ของเราต่อไป พุทโธแล้วก็หัดรู้สภาวะของเราไปนะ เช่น พุทโธ พุทโธ ใจเราแอบไปคิดแล้ว เรารู้ทันว่าใจแอบนี้ไปคิดแล้ว หัดรู้ทันใจตัวเอง หัดรู้สภาวะ พุทโธ พุทโธ ไปใจสงบก็รู้ว่สงบ พุทโธไปวันนี้ใจฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน หัดพุทโธแล้วก็คอยหัดรู้สภาวะในใจที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ใครรู้ลมหายใจก็รู้ลมหายใจต่อไปนะ ห้ามเลิกหายใจนะ ให้หายใจเข้าไว้ตลอดชีวิต หายใจเข้าไว้อย่าหยุด

หายใจไปๆจิตหนีไปคิดรู้ว่าจิตหนีไปคิด หายใจไปแล้วจิตไปเพ่งลมหายใจก็รู้ว่าไปเพ่งลมหายใจ หายใจแล้วมีปิติมีความสุขก็รู้ว่ามีปิติรู้ว่ามีความสุข เกิดวันนี้หายใจไปแล้วฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจแล้วรำคาญหงุดหงิดก็รู้ว่ารำคาญหงุดหงิด หายใจแล้วรู้ว่าจิตใจเป็นอย่างไรก็เป็นเช่นนั้น คนไหนหัดดูท้องพองยุบก็ดูไป หลวงพ่อไม่ได้ห้าม ดูท้องพองยุบเรื่อยๆใจหนีไปคิดอีกแล้ว ใจหนีไปคิดก็รู้ทัน ใจเข้าไปเพ่งที่ท้องก็รู้ทัน ใจเป็นสุขเป็นทุกข์ใจเกิดกุศลเกิดอกุศลก็รู้ทัน

หัดรู้สภาวะของใจไว้ คนไหนขยับมืออย่างสายหลวงพ่อเทียนนะ หัดจังหวะขยับมือ ก็ขยับมือต่อไปได้ไม่ได้ห้าม ขยับไปสักพักหนึ่งจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้จิตหนีไปคิด ขยับแล้วจิตเข้าไปเพ่งที่มือก็รู้ว่าไปเพ่งที่มือ ขยับไปแล้วจิตเป็นสุขเป็นทุกข์เป็นกุศลเป็นอกุศลก็รู้ ขยับไปแล้วก็คอยรู้สภาวะของจิตใจไปเรื่อยๆ ใครเดินจงกรมก็ดูไปๆ จิตไปคิดก็รู้ จิตเข้าไปเพ่งที่เท้าก็รู้ จิตเป็นสุขเป็นทุกข์เป็นกุศลเป็นอกุศลก็รู้ ฉะนั้นสรุปแล้วทำกรรมฐานอะไรก็ได้ในเบื้องต้น ทำสักอย่างหนึ่งก่อน ทำเพื่ออะไรทำเพื่อจะได้หัดรู้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเอง

มีรูปแบบการปฏิบัติสักอย่างหนึ่งเป็นตัวตั้ง ถนัดอะไรเอาอันนั้นแหละ ทำกรรมฐานอันนั้นแล้วจิตเป็นอย่างไรคอยรู้ไปเรื่อยๆ ในที่สุดเมื่อเราเห็นซ้ำๆไปนานนะ พอจิตเผลอแล้ว จิตเคยรู้จักแล้วว่าเผลอเป็นอย่างไร สติจะเกิดเอง สติเกิดจากการที่จิตจำสภาวะได้ สติไม่ได้เกิดจากการสั่งให้เกิด สั่งให้เกิดไม่ได้เพราะสติเองก็เป็นอนัตตา ถ้ามีเหตุสติจึงเกิด

เหตุของการเกิดสติ คือจิตจำสภาวะได้ เราจึงต้องหัดรู้กายเนืองๆ หัดรู้จิตเนืองๆ เพื่อให้จิตมันจำสภาวะได้ เช่น ขยับแล้วคอยรู้สึกๆ ต่อมาเราเผลอขยับเอง เราขยับตัวปั๊บ สติจะเกิดเองจะรู้สึกตัวขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ หัดดูใจใจวิ่งไป ใจเพ่ง ใจเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกุศลอกุศล หัดรู้ไปเรื่อยนะ ต่อมาเราเผลอๆ เช่น เราฟังข่าวโทรทัศน์เราไม่ชอบการเมืองฟังข่าวแล้วหงุดหงิด สติจะเกิดทันทีเลย ความหงุดหงิดเกิดขึ้นแล้วสติจะเห็นทันทีเห็นโดยไม่ได้เจตนาจะเห็น สติตัวจริงเกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนาให้เกิด

ทันทีที่สติตัวจริงเกิดขึ้นจิตจะเป็นกุศล จะมีความสุขในฉับพลัน จิตจะโปร่งใจจะโล่ง จะเบาในฉันพลัน จิตใจจะตั้งมั่นอยู่ที่เนื้อที่ตัวไม่ลืมเนื้อลืมตัว นี่สัมมาสมาธิเกิดเลย ทันทีที่สติเกิดจิตมีความสุข จิตมันเป็นกุศลมันมีความสุข จิตที่มีความสุขมันทำให้สมาธิเกิดขึ้น เช่นเรามีความสุขในการเล่นไพ่เราจะมีสมาธิในการเล่นไพ่ มีความสุขในการอ่านหนังสือจะมีสมาธิในการอ่านหนังสือ มีความสุขจากการที่ได้รู้กายรู้ใจเราจะมีสมาธิในการรู้กายรู้ใจ จิตใจจะตั้งมั่นอยู่กับกายกับใจ สมาธิจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา

พอเรามีสติรู้สึกอยู่ที่กายรู้อยู่ใจจิตใจตั้งมั่นมีสมาธิอยู่ที่กายอยู่ใจตั้งไปนานๆรู้ไปบ่อยๆในที่สุดเราจะเห็นความเป็นจริงของกายของใจ ปัญญาก็คือการเห็นความเป็นจริงของกายของใจนั่นเอง กายเป็นทุกข์ล้วนๆนะกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่เรียกว่าปัญญา

จิตใจไม่เที่ยงจิตใจเป็นของบังคับไม่ได้สั่งให้สุขไม่ได้สั่งให้ไม่ให้ทุกข์ก็ไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ห้ามชั่วก็ไม่ได้นี่เรียกว่าเห็นอนัตตา ดูกายดูใจไปในที่สุดก็เห็นกายกับใจมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตามันไม่ใช่ตัวเรา ผู้ใดเห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเราจะได้พระโสดาบัน จิตมันจะรวมเข้ามานะจิตมันจะรวมเอง รวมเข้าอัปปนาสมาธิเองแล้วมันจะตัด ไม่ใช่โมเมเป็นพระโสดาบันตามใจชอบนะ มันมีกระบวนการที่จิตจะตัด อันนี้พระอภิธรรมสอนไว้ชัดๆไม่ใช่หลวงพ่อสอนนะ

เบื้องต้นจะเห็นเลยกายกับใจไม่ใช่เรา เห็นเลยกายกับใจเป็นของที่ยืมโลกเขามาใช้ เราไปยืมเขามาแต่เรางกยืมมาแต่หวงนะไม่คืนเจ้าของ คล้ายๆเรายืมเสื้อสวยๆเขามาใส่นะ ยืมมาแล้วยืมเลยไม่ยอมคืนแต่รู้แล้วว่าไม่ใช่ของเรา พระโสดาบันนะรู้แล้วว่ากายกับใจไม่ใช่ของเราแต่หวง เพราะรู้ไปเรื่อยๆกายนี้มันทุกข์ล้วนๆนี่ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างจิตก็ปล่อยวางความยึดถือกายได้จิตจะมาตั้งมั่นทรงตัวเด่นอยู่สว่างไสวอยู่มีความสุขอยู่ที่จิตอันเดียวปล่อยวางกายได้นี่ภูมิของพระอนาคามี ต่อมาสติปัญญาแก่รอบจริงๆจิตจะเห็นว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆไม่ใช่ตัวสุขนะ แต่เดิมคิดว่าจิตผู้รู้เป็นตัวสุข จิตที่หลงตามกิเลสเป็นตัวทุกข์พระอนาคามีก็ยังรู้สึกอย่างนั้นพระอนาคามียังรู้สึกว่าจิตผู้รู้เป็นตัวสุข จิตตัวผู้รู้ยังเป็นตัวดี จิตที่หลงไปจากการรู้เป็นไม่ดีเป็นตัวทุกข์ จะเห็นเป็นสองอัน พอสติปัญญาแก่รอบจริงๆ จิตเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย ธาตุรู้ตัวผู้รู้ที่ว่าวิเศษวิโศมันไม่เที่ยงมันเศร้าหมองได้ มันผ่องใสได้มันก็เศร้าหมองได้ มันเศร้าหมองได้มันก็ผ่องใสได้อีกไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ ทุกข์ล้วนๆทุกข์ไม่มีอะไรเหมือนในทางโลกในทางร่างกายหลวงพ่อเคยได้ยินว่า (ผู้หญิงเขาเล่าว่า)เวลาออกลูกนี่ทุกข์ที่สุดในโลก หลวงพ่อไม่เคยออกลูกนะหลวงพ่อเลยไม่รู้ว่าทุกข์ที่สุดในโลกทางกายเป็นอย่างไร พวกเรามาหัดดูนะทุกข์ที่สุดในโลกทางใจคือตัวจิตผู้รู้เรานี่แหละจะทุกข์ที่สุดในโลกให้ดูพอเห็นว่าเป็นตัวทุกข์จริงๆแล้วจะปล่อยวางแล้วก็จะไม่ไปหยิบฉวยอะไรขึ้นมาอีก เพราะรู้แล้วว่าขนาดสิ่งที่ดีที่สุดสิ่งที่วิเศษที่สุดยังเป็นตัวทุกข์เลย

บางท่านสติปัญญากล้าเห็นเลยว่าจิตผู้รู้ไม่ใช่เราขว้างทิ้งเลยนะท่านปล่อยวางทิ้งเฉยๆเลย ปล่อยวางได้เห็นว่ามันว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนไม่ใช่ตัวเราไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วยสลัดทิ้งไป คราวนี้ปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้วมันไปอีกแบบหนึ่งแล้ว มีความสุขล้วนๆ ค่อยๆฝึกนะค่อยๆ

ธรรมะของพระพุทธเจ้าอัศจจรรย์เข้าใจนิดหน่อยก็มีความสุขแล้วแค่สติเกิดก็มีความสุขแล้ว สัมมาสมาธิเกิดก็ยิ่งมีความสุขเกิดขึ้นไปอีก ปัญญาเกิดก็มีความสุขอีก วิมุติเกิดก็มีความสุขมากนะ นิพพานยิ่งมีความสุขที่สุดเป็นลำดับๆไปเราศึกษาธรรมะเราจะมีแต่ความสุขทั้งๆที่เราเห็นแต่ทุกข์ล้วนๆมันอัศจรรย์ เรียนรู้แต่ทุกข์ก็สุขนะ เที่ยวแสวงหาความสุขเที่ยวหนีความทุกข์ไม่พ้นเลยทุกข์อย่างเดียวคอยรู้ไปนะไม่มีอะไรสอนเนาะหลวงพ่อก็พูดส่งเดชไปเรื่อยๆแหละ คนเคยฟังหลวงพ่อที่เมืองกาญจนฯมั่งที่เมืองชลฯมั่งนะก็ฟังซ้ำซากแบบนี้ไปทุกวัน ขี้เกียจมาฟังก็เอาซีดีไปฟังนะ

ธรรมะที่หลวงพ่อเทศน์แต่ละครั้งฟังครั้งเดียวก็พอแล้วล่ะ ใครอัดเทปไว้ก็ไปฟังล้วฟังอีกฟังจนเทปยืดจนตื่นขึ้นมา หลายคนฟังอยู่ม้วนเดียวนั่นแหละฟังจนตื่นขึ้นมา คนฟังซีดี ซีดีฟังก็นานหน่อยนะสิบกว่าชั่วโมง ฟังไปเรื่อยๆแล้วก็สังเกตใจตัวเองไปเรื่อย เดี๋ยวฟังไปเดี๋ยวก็สุขเดี๋ยวก็ทุกข์เดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวร้ายฟังไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ตื่นขึ้นมา คนที่ฟังแล้วตื่นขึ้นมาก็มีจำนวนมากมายนะไม่ใช่ร้อยเดียวแล้วมีจำนวนมาก พอตื่นขึ้นมาสติปัญญาจะหมุนกี่รอบตัวแล้วล่ะตามรู้กายไม่ใช่เราตามรู้จิตมันไม่ใช่เรา รู้สึกขึ้นมาไม่ใช่คิดเอานะ

วิปัสสนาไม่ใช่คิดเอาต้องรู้สึกเอา รู้สึกได้ถ้าใจเราไม่หลงไม่เผลอรู้กายรู้ใจขึ้นมา เพราะฉะนั้นให้การบ้านนะไปทำเอาเอง ส่วนหนังสืออ่านยากนะอ่านยาก ฟังซีดีก่อนง่ายกว่าฟังไปแล้วคอยสังเกตใจ ต่อไปสักพักหนึ่งไปอ่านหนังสือจะเกิดความเข้าใจนะ ซีดีหลวงพ่อกับหนังสือหลวงพ่อรับรองไม่เหมือนใครนะ ฟังแต่ละครั้งอ่านแต่ละครั้งเข้าใจไม่เหมือนกัน กล้าท้าเลยนะลองดูฟังสักรอบหนึ่งแล้วลองปฏิบัติแล้วก็มาฟังใหม่เข้าใจไม่เหมือนเดิมหรอกลองอ่านดูแล้วปฏิบัติแล้วมาอ่านใหม่รับรองไม่เหมือนเดิม มีเรื่องที่เราเคยอ่านแล้วก็ไม่สะดุดสะใจข้ามไปเยอะแยะเลยจะค่อยๆกระจ่างไปทีละจุดทีละจุด ค่อยๆฟังไปค่อยๆศึกษาไป ไม่ต้องรีบร้อนนะ

หลวงปู่เทสก์บอกว่าชีวิตเป็นของหาง่ายไม่ต้องรีบร้อนปฏิบัติเนี่ยปฏิบัติกันทั้งชีวิตเลย ค่อยๆทำค่อยๆดูค่อยๆรู้ แต่ไม่ขี้เกียจนะไม่ได้บอกให้ขี้เกียจนะต้องดูทุกวันยิ่งดูมากเท่าไรยิ่งดี แต่ไม่ใช่ดูแบบรุกรี้รุกรนอยากจะได้ความรู้ไวๆอยากจะหลุดพ้นไวๆ พวกนี้ไม่หลุดพ้นหรอก

คอยดูดูเล่นๆไปแต่ดูทุกวันต่อไปจะเข้าใจไม่อยากหรอก พอเข้าใจมันก็จะปล่อยวางได้ ปล่อยวางได้เพราะว่ามันเกิดความรู้ความเข้าใจเกิดปัญญาปล่อยวางได้ไม่ใช่เพราะว่าบังคับเอา หลายคนชอบบังคับตัวเอง บังคับปล่อยวางไม่ได้หรอกมันเก็บกดเฉยๆ ดูดีดูเรียบร้อยไม่ดีจริงหรอก

หลวงพ่อเคยสอนคนแค่ไม่กี่คนนะ คนเยอะๆไม่รู้จะพูดอย่างไร เห็นหน้าก็ตาลายแล้ว สังเกตเวลาหลวงพ่อพูดเล่นเราจะรู้สึกผ่อนคลายรู้สึกไหม รู้ทันความรู้สึกของตัวเอง นั่งฟังหลวงพ่อแล้วคิดมาก รับรองเลยไม่มีใครฟังหลวงพ่อรู้เรื่องหรอก เพราะธรรมะเรียนไม่ได้ด้วยการฟังเอาเอง อ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะ เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน ธรรมะตัวจริงเรียนได้ด้วยการเข้าไปสัมผัสการเข้าไปรู้สึกเอา รู้สึกอยู่ที่กายก็เข้าใจความเป็นจริงของกาย รู้สึกอยู่ที่ใจก็เข้าไปเข้าใจความเป็นจริงของจิตใจอ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะอาเอง่องหรอก

คราวนี้ปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้ว่วิเศายเป็นอย่างไร

อ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะอาเอง่องหรอก


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑
วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙
File: 490521.mp3

< ! [if gte mso 9]> Normal 0 false false false MicrosoftInternetExplorer4 < ![endif] >< ! [if gte mso 9]> < ![endif] >< ! /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} >< ! [if gte mso 10]> < ! /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} > < ! [endif] >

หลวงพ่อเคยสอนคนแค่ไม่กี่คนนะ คนเยอะๆไม่รู้จะพูดอย่างไร เห็นหน้าก็ตาลายแล้ว สังเกตเวลาหลวงพ่อพูดเล่นเราจะรู้สึกผ่อนคลายรู้สึกไหม รู้ทันความรู้สึกของตัวเอง นั่งฟังหลวงพ่อแล้วคิดมาก รับรองเลยไม่มีใครฟังหลวงพ่อรู้เรื่องหรอก เพราะธรรมะเรียนไม่ได้ด้วยการฟังเอาเอง อ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะ เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน ธรรมะตัวจริงเรียนได้ด้วยการเข้าไปสัมผัสการเข้าไปรู้สึกเอา รู้สึกอยู่ที่กายก็เข้าใจความเป็นจริงของกาย รู้สึกอยู่ที่ใจก็เข้าไปเข้าใจความเป็นจริงของจิตใจอ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะอาเอง่องหรอก

คราวนี้ปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้ว่วิเศายเป็นอย่างไร

<><><>< -->

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่