Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ไม่รู้แจ้งในทุกข์จึงมีความอยาก เมื่อมีความอยากก็มีความทุกข์

mp3 for download : ไม่รู้แจ้งในทุกข์จึงมีความอยาก เมื่อมีความอยากก็มีความทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :นี่ถ้าเราเห็นความจริงอย่างที่พระพุทธเจ้าเห็น อย่างที่พระอรหันต์ท่านเห็น กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรดับไป ความยึดถือในกายในใจก็จะไม่มี ความอยากให้กายเป็นสุขก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะกายกับใจจะเป็นสุขไปไม่ได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ ความอยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นตัวทุกข์ ยังไงมันก็ทุกข์ ไม่ทุกข์มากก็ทุกข์น้อย เท่านั้นเอง

ถ้าเห็นความจริงอย่างนี้นี่ ความดิ้นรนของจิตก็จะไม่เกิดขึ้น ความอยาก ความยึด (ความยึดถือ – ผู้ถอด) ความดิ้นรน ก็จะไม่เกิดขึ้น ความอยากก็คือตัณหา ความยึดก็คืออุปาทาน ความดิ้นรนของจิต เรียกว่าภพ

เมื่อมีผัสสะ การกระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ทำให้เกิดความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ เกิดเวทนา พอมีเวทนาขึ้นมาก็เกิดความอยาก มีความสุขก็อยากให้มันอยู่ ความสุขหายไปก็อยากให้มันกลับมา มีความทุกข์ก็อยากให้มันหายไป ความทุกข์หายไปแล้วก็ไม่อยากให้มันมาอีก มันจะมีความอยากอย่างนี้เกิดขึ้น เวทนาจึงเป็นปัจจัยให้เกิดความอยาก พอมีความอยากก็เลยทำให้เกิดความยึดถือ มีความยึดถือก็จะมีความดิ้นรนของจิต นี่ก็คือการสร้างภพ แล้วจะไปหยิบฉวยเอารูปนามขันธ์ ๕ ตาหูจมูกลิ้นกายใจนั้นมาครอบครองไว้ เรียกว่าไปหยิบเอาตัวทุกข์นั้นมาครอบครองไว้ การได้มาซึ่งตาหูจมูกลิ้นกายใจขันธ์ ๕ เรียกว่าชาติ คือความเกิด มีความเกิดเมื่อไหร่ก็มีความทุกข์ทุกที เพราะตัวรูปตัวนามนั้น ในความเป็นจริง เป็นตัวทุกข์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
File: 551208B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๓๘ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกันด้วยความบริสุทธิ์

mp 3 (for download) : พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกันด้วยความบริสุทธิ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกันด้วยความบริสุทธิ์

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกันด้วยความบริสุทธิ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตเป็นหนึ่งนะ จิตกับธรรมเป็นอันเดียวกัน อันนั้นเกิดในสภาวะที่สิ้นตัณหาแล้ว แจ้งพระนิพพาน

จิตจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ ธรรมะก็เป็นความบริสุทธิ์ จิตก็เป็นความบริสุทธิ์ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็คือความบริสุทธิ์ เป็นความบริสุทธิ์อันเดียวกันแล้วเสมอกัน

ระหว่างสาวกกับพระพุทธเจ้านะมีสิ่งเดียวที่เสมอกันนะคือความบริสุทธิ์ ส่วนปัญญานะไม่เท่าท่าน กรุณาไม่เท่าท่าน แต่ว่าความบริสุทธิ์นั้นเป็นอันเดียวกัน เพราะงั้นจะกลืนเป็นอันเดียวกันนะ ไม่แบ่งแยกหรอก จะรู้สึกเป็นอันเดียว

ตรงที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กับจิตรวมเป็นอันเดียวกันนะ จะแจ้งพระนิพพานอยู่นะ จิตกับพระนิพพาน จิตจะสลายตัวลง ไม่มีขอบไม่มีเขต ไม่มีจุดไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง สลายตัวรวมเข้ากับพระนิพพานเข้ากับความว่างของจักรวาล เป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน

เพราะงั้นไอ้ที่ว่าน้อมใจให้ว่างโดยที่มีจิตเป็นคู่ ไม่ใช่หรอกนะ หลงทางแล้ว จะแจ้งพระนิพพานได้ต้องรู้รูปนามตามความเป็นจริง จนกระทั่งละความยึดถือในรูปนามได้ ก็จะละความอยากในรูปนาม หมดความอยากได้ก็จะแจ้งพระนิพพาน แจ้งพระนิพพานนะ จิตกับพระนิพพาน จิตจะรวมเข้ากับพระนิพพานเป็นหนึ่ง รวมเข้ากับความว่าง ไม่ยึดถืออะไร ว่างอยู่อย่างนั้นแหล่ะตัวนั้นแหล่ะ

ภาวนาตัวนี้บางทีท่านเรียกว่าธรรมธาตุ ครูบาอาจารย์บางองค์นะ ท่านเรียกสภาวะที่จิตที่สัมผัสพระนิพพานเนี่ยว่าธรรมธาตุ อาจารย์มหาบัวเรียกธรรมธาตุ หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตหนึ่ง สมเด็จพระญาณสังวรฯท่านไม่ธรรมดานะ ถ้าฟังธรรมะเป็นจะรู้ว่าท่านสุดยอดเลย ท่านเรียกสภาวะอันนี้ว่าวิญญาณธาตุ อาจารย์พุทธทาสท่านเรียกสภาวะนี้ว่าจิตเดิมแท้ หลวงปู่เทสก์ท่านเรียกสภาวะนี้ว่าใจ หลวงปู่บุุดดาท่านเรียกว่าจิตเดียวหรือใจเดียวจำไม่ได้แล้ว แต่ละองค์ๆเนี่ยท่านพูดถึงสภาวะอันเดียวกัน แต่โดยสมมติบัญญัติที่แตกต่างกัน

แต่ถ้าเราไม่ได้ภาวนาเราไม่เข้าใจเรา(จะ)รู้สึกแต่ละองค์พูดไม่เหมือนกัน ไปติดอยู่ที่คำพูด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๑๘
File: 541118B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

mp3 for download : ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนน่ะแยกละเอียดยิบเลย อย่างร่างกายก็แยกเป็นธาตุต่อไปอีก ตัวรูปขันธ์ก็แยกออกเป็นธาตุอีก ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุน้ำดูยากที่สุด ธาตุน้ำรู้ด้วยใจ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม รู้ด้วยร่างกาย

อย่างเราคิดพิจารณาผมเป็นดิน นี้รู้ธาตุดินมั้ย คิดพิจารณาผมว่าเป็นดินน่ะ ถือว่าเป็นการรู้ธาตุดินมั้ย เป็นมั้ยเอ่ย ไม่เป็น เพราะธาตุดินรู้ด้วยร่างกาย คิดพิจารณารู้ด้วยใจ คิดพิจารณาธาตุดิน ผมเป็นธาตุดินอย่างนี้เป็นสมถกรรมฐาน รู้ไม่ได้ด้วยสภาวะแท้ๆ อายตนะแท้ๆที่จะใช้รู้ธาตุดินคือกายนะ

นี่บางคนละเอียด แต่บางคนก็ไม่ต้องละเอียดขนาดนี้ก็ได้ ส่วนใหญ่ไม่ได้ละเอียดถึงขนาดนี้หรอก ที่ภาวนากันจริงๆ พ้นทุกข์พ้นร้อนกันจริงๆ แค่เห็นเส้นผมไม่ใช่ตัวเรา ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ไม่ใช่ตัวเรา ดูลงเป็นอนัตตาไป เห็นมันไม่มีไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวเรา แค่นั้นก็ยังได้เลย

ดูความไม่เที่ยง ดูยากหน่อย ตัวรูปมันอายุยืน จะดูว่าเส้นผมไม่เที่ยง จะไม่ให้เจือด้วยการคิดน่ะยาก ถ้าเจือด้วยการคิดนะ ผมแต่ก่อนดำเดี๋ยวขาวอะไรอย่างนี้ ผมแต่ก่อนสั้นเดี๋ยวนี้ยาว เจือด้วยการคิด ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา

เพราะฉะนั้นดูรูปให้เห็นอนิจจังดูยาก รูปมันอายุยืนกว่าจิต ส่วนมาก็จะเบี่ยงไปดูรูปข้างเคียง อย่างรูปยืนรูปเดินรูปนั่งรูปนอน รูปยืนเดินนั่งนอน รูปหายใจออกหายใจเข้า อันนี้ไม่จัดว่าเป็นรูปแท้ รูปแท้เป็นธาตุดินน้ำไฟลม มีสี มีกลิ่น อะไรพวกนี้เป็นรูปแท้ รูปข้างเคียง เช่นรูปยืนเดินนั่งนอน ไม่จัดเป็นรูปแท้ ในตำราบอกว่า เอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้ จะไปดูรูปไม่ได้ ไม่ได้จริง

แต่พลิกอีกมุมหนึ่งนะ ดูเป็นอนัตตาได้มั้ย ได้ ดูเป็นอนัตตาได้ จะเห็นเลย ตัวที่เคลื่อนไหวอยู่ ไม่ใช่ตัวเรา ตัวที่นั่งอยู่ไม่ใช่ตัวเรา

540805.00m56-03m40


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 41
File: 540805.mp3
นาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิพพานคืออะไร

mp3 (for download): นิพพานคืออะไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

นิพพานคืออะไร

นิพพานคืออะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราชาวพุทธ เราต้องมีความเชื่อมั่นอยู่เรื่องหนึ่ง ว่ามรรคผลนิพพานมีจริงๆ ไม่ใช่สภาวะอุดมคติ เลื่อนๆลอยๆ สภาวะหลอกเด็ก ไม่ใช่ มีอยู่จริงๆ มรรคผลมีจริงๆนะ ทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดมรรคเกิดผลมีจริงๆ ยังไม่ล้าสมัยนะ นิพพานไม่เคยหายไปไหน นิพพานไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย นิพพานอยู่กับเราตลอด แต่เราไม่เคยเห็น เพราะใจเราไม่มีคุณภาพพอ

พระพุทธเจ้าท่านมาตรัสรู้ ท่านก็มาบอกทางให้ ทางที่เราจะเจริญสติเจริญปัญญา จนเราสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้ นิพพานมีอยู่แล้ว มีอยู่ต่อหน้าต่อตานี้เอง แต่เราไม่เคยเห็นหรอก เพราะใจไม่มีคุณภาพ

เรามาพัฒนาคุณภาพของใจของตัวเอง ถ้าใจเรามีคุณภาพพอนะ เราจะเห็นนิพพาน คนที่เห็นนิพพานแล้วจะมีความสุขอย่างไม่มีอะไรเปรียบ ไม่ใช่สภาวะที่ตั้งขึ้นมาลอยๆ หลอกเด็กนะ ว่าทำดีแล้ววันหนึ่งไปนิพพาน ไม่ใช่

พระพุทธเจ้าท่านบอกชัดเจนถึงสภาวะของพระนิพพาน ท่านบอกชัดเจนถึงเส้นทางไปสู่พระนิพพาน ให้ประจักษ์พระนิพพาน ความจริงจะใช้คำว่า ไปสู่พระนิพพานก็ไม่เชิงนะ จะเข้าไปประจักษ์นิพพาน เพราะนิพพานอยู่ต่อหน้าเรานี่แหละ เราไม่เห็นเอง ไม่ใช่ว่านิพพานอยู่ไกลๆ เราต้องไปสู่พระนิพพาน ไม่ใช่นะ

ใครจะนึก ใครจะฝัน ว่านิพพานอยู่กับตัวเราเอง แค่นี้เอง ถ้าคนใดภาวนา จิตใจมีคุณภาพพอ เห็นพระนิพพานแจ่มแจ้งต่อหน้าต่อตา จะรู้ว่าชีวิตนี้ ที่สุดของความทุกข์อยู่ตรงนี้เองนะ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่มีความสงบสุข

พระนิพพานมีลักษณะเฉพาะของตัวเองนะ ลักษณะเฉพาะของพระนิพพานเรียกว่า สันติ หมายถึงสงบ ลักษณะของพระนิพพานคือสงบ สงบจากอะไรบ้าง สงบจากกิเลส สงบจากความปรุงแต่ง ทั้งปรุงรูปธรรมนามธรรม ทั้งปรุงดีปรุงชั่ว ปรุงสุขปรุงทุกข์ สงบจากกิเลส แต่ไม่ใช่สงบจากทุกสิ่งทุกอย่าง นิพพานยังมีอยู่ ไม่ใช่ว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย

เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเข้าใจผิดว่านิพพานว่างๆ ว่างๆแล้วเป็นนิพพาน คำว่าว่างๆจะตรงกับคำว่า อากาสานัญจายตนะ ว่างๆ ช่องว่าง ไม่มีอะไรเลย ตรงกับคำว่า อากิญจัญญายตนะ ยังไม่ใช่พระนิพพาน

นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี นิพพานว่างจากอะไร นิพพานว่างจากกิเลส ว่างจากความปรุงแต่ง ว่างจากทุกข์ ว่างจากขันธ์ แต่ไม่ใช่ว่างไม่มีอะไรเลย มีอยู่นะ มีความสงบ มีความสุข ไม่มีอะไรเสมอเหมือนกับพระนิพพาน ท่านบอกว่า นิพพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นบรมสุข นิพพานํ ปรมํ สุญฺญํ นิพพานว่างอย่างยิ่ง

ว่างอย่างยิ่งไม่ใช่ว่างไม่มีอะไรนะ ถ้าว่างไม่มีอะไรเป็นมิจฉาทิฎฐิ ถ้าว่างแล้วมีตัวมีตน นิพพานมีตัวมีตนก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ ความจริงว่างจากกิเลส ว่างจากความปรุงแต่ง ว่างจากทุกข์ ว่างจากขันธ์ ว่างจากทุกข์

เรามาสังเกตใจของเรา ใจของเราไม่เคยว่างจากกิเลส นึกออกมั้ย ทั้งวันกิเลสเกิดทั้งวัน ดูออกหรือยัง กิเลสเกิดขึ้นมานะ ใจไม่ว่างจากกิเลส ไม่เห็นนิพพานสิ ใจเราหยุดปรุงแต่งมั้ย คิดนึกปรุงแต่งทั้งวันทั้งคืน นึกออกมั้ย ใจที่ไม่มีคุณภาพเนี่ย คือใจที่มีกิเลส ใจที่ไม่มีคุณภาพจะคิดนึกปรุงแต่งทั้งวันทั้งคืน เราก็เลยไม่เห็นสภาวะที่พ้นจากกิเลส สภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง คือไม่เห็นนิพพาน แล้วก็คิดว่านิพพานอยู่ไกล๊ไกล อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ เป็นสภาวะอุดมคติที่พระพุทธเจ้าตั้งมาหลอกเด็ก ให้คนทำดี บางคนคิดร้ายกว่านั้นอีกนะ หาว่าพระสร้างเรื่องนิพพานมาหลอกให้คนทำบุญ ไปกันใหญ่นะ

เราดูใจของเรา ใจเราไม่เคยว่างจากกิเลส ใจเราไม่เคยว่างจากความปรุงแต่ง ไม่ปรุงชั่วก็ปรุงดี ไม่ปรุงดีก็ปรุงว่างๆ ปรุงชั่วเรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงดีเรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงว่างๆชื่อ อเนญชาภิสังขาร เพราะฉะนั้นเมื่อเราเริ่มต้นไปภาวนา น้อมจิตไปหาความว่าง อันนี้ถูกมั้ย ไม่ถูกหรอก มันคือความปรุงแต่งชนิดที่ ๓ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้น้อมจิตไปหาความว่าง

นิพพานั้นพ้นจากขันธ์ จิตของพวกเรายึดถือขันธ์ เรารู้สึกมั้ย กายนี้คือตัวเรา ใจนี้คือตัวเรา ตราบใดที่ยังรู้สึกกายเป็นเราใจเป็นเรา แล้วจิตไปหยิบฉวยเอากายขึ้นมา ไปหยิบฉวยเอาใจขึ้นมา ก็ไม่เห็นนิพพานสิ เพราะนิพพานมันว่างจากรูปนาม ว่างจากธาตุจากขันธ์ นิพพานว่างจากทุกข์

ทีนี้จะพ้นจากทุกข์ได้ต้องว่างจากกิเลส ว่างจากความปรุงแต่ง ว่างจากขันธ์ ตัวขันธ์นั้นแหละตัวทุกข์ ตราบใดที่จิตใจของเราไปหยิบฉวยเอาขันธ์ ๕ มาเป็นของเราอยู่นะ มาเป็นตัวเรา มาเป็นของเราอยู่ ก็เท่ากับหยิบฉวยตัวทุกข์เอาไว้ ก็จะต้องทุกข์ต่อไป ไม่เห็นนิพพาน เพราะนิพพานนั้นเลยตัวขันธ์ไป

ถ้าจิตใจของเราเข้าถึงพระนิพพานนะ ล้างกิเลสได้ ใจพ้นจากความปรุงแต่ง ความปรุงแต่งมีมั้ย ความปรุงแต่งมี ขันธ์ยังทำงานอยู่ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นะ ขันธ์ยังทำงานอยู่ มันยังปรุงแต่งอยู่ แต่จิตนี้มันแยกออกไปจากความปรุงแต่ง จิตมันพรากออกจากขันธ์ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์ จิตอยู่ส่วนจิตนะ ไม่เกี่ยวกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองไป

ส่วนของเราไม่หรอก ขันธ์ทำงานไปนะ จิตเข้าไปตะครุบว่าขันธ์นี้เป็นตัวเรา เพราะฉะนั้นเราก็เข้าไปหยิบเอาตัวขันธ์ขึ้นมาถือไว้ ก็เท่ากับหยิบเอาตัวทุกข์มาถือไว้

ยกตัวอย่างนะ สมมุติขันธ์เหมือนถ้วยน้ำนี้ ถ้วยน้ำไปวางอยู่ตรงโน้น เราไม่หยิบขึ้นมา เราไม่หนักนะ ถ้าเราไปหยิบขึ้นมา ถือไว้เรื่อยๆ หนักนะ เพราะฉะนั้นขันธ์ ๕ เป็นภาระ เป็นของหนัก พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า คนทั้งหลายแบกของหนักไป แบกของหนัก แบกภาระไป ไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง พระอริยเจ้าวางของนักลงแล้ว แล้วก็ไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ของหนักก็คือตัวขันธ์นั่นเอง พระอริยเจ้าท่านวางของหนักลงแล้วไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ท่านเลยพ้นจากทุกข์ นั่นคือประจักษ์แจ้งพระนิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่บริษัท ดอกบัวคู่
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดอกบัวคู่
File: 540409A
ระหว่างนาทีที่  ๐ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร

mp3 for download: จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร

จิตทุกชนิดเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร

หลวงพ่อปราโมทย์: ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ลองสังเกตง่ายๆ อย่างความรับรู้ทางตา เอ้า..ทุกคนช่วยกันมอง มองพัด มองมาแล้วรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆที่ตา มีมั้ย ความรู้สึกที่ตาเป็นความรู้สึกแบบไหน ไม่มีเลย.. น่าสงสาร ความรับรู้ทางตาเนี่ยนะ มีเวทนาเหมือนกัน แต่เป็นเวทนาเฉยๆ ความรับรู้ทางหูล่ะ จิตที่รู้เสียงน่ะ มีสุข มีทุกข์ หรือเฉยๆ ก็คือเฉยๆนะ ก็ค่อยๆสังเกตเอานะ อย่านึกเอา ค่อยๆไปดูเอา

จิตที่ได้กลิ่นน่ะ มีสุขหรือมีทุกข์ หรือเฉยๆ สมมุติว่าเดินๆไป อยู่ๆได้กลิ่น ขณะแรกที่ได้กลิ่นใช่มั้ย จิตเฉยๆใช่มั้ย ต่อมาจิตจำได้ สัญญามันทำงานแล้ว อู๊ว์นี่กลิ่นหมาเน่า ความนี้ใจไม่เฉยๆแล้วใช่มั้ย ใจเป็นทุกข์แล้ว ใช่มั้ย จมูกได้กลิ่นจมูกไม่ทุกข์นะ หรือจิตที่ไปรู้กลิ่น จิตตัวนั้นไม่ทุกข์ แต่พอจิตคิดนะ มันเกิดทุกข์ทางใจ มันเป็นจิตอีกดวงหนึ่งนะที่ทุกข์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นการรับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นเนี่ย จิตเหล่านี้เป็นอุเบกขาทั้งหมดเลย ไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์หรอก เฉยๆ แล้วมันค่อยมาสุขมาทุกข์ตอนให้ค่าที่ใจ

จิตที่รู้สัมผัสทางกาย มีสุขมีทุกข์มั้ย.. มี ไม่เหมือนกับทางตานะ ตามองเห็นรูป เป็นอุเบกขา แต่การกระทบทางกายมีสุขมีทุกข์ได้ จิตที่รับรู้อารมณ์สดๆร้อนๆเนี่ย จิตตัวนี้รู้ไม่ทุกข์ รู้นะ

เนี่ยจิตก็ทำหน้าที่ของจิตนะ คือทำหน้าที่รู้อารมณ์ไป บางทีรู้อารมณ์อย่างนี้ รู้ทางทวารนี้มันเฉยๆ รู้ทางทวารนี้มันสุขมันทุกข์ได้ รู้ทางทวารนี้มันสุขมันทุกข์มันเฉยๆได้ นี่ มีหลายแบบแน่ะ รู้ทางใจ มีสุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ เฉยๆก็ได้ ใช่มั้ย

เพราะฉะนั้นจิตก็ทำหน้าที่ของจิตนะ ทำหน้าที่รู้ไป บางทีก็ประกอบด้วยความสุข บางทีก็ประกอบด้วยความทุกข์ บางทีก็ประกอบด้วยความเฉยๆ

จิตที่ประกอบด้วยความสุข ก็เป็นจิตคนละดวงกับจิตที่ประกอบด้วยความทุกข์ ไม่เกิดร่วมกัน จิตที่มีความทุกข์กับจิตเฉยๆ ก็คนละแบบคนละดวงกัน จิตเองก็เกิดดับไปเรื่อยๆนะ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ จิตบางดวงสุข บางดวงทุกข์ บางดวงเฉยๆ จิตบางดวงก็เป็นกุศล จิตบางดวงก็เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นตัวจิตเองแปรปรวนตลอดนะ จิตนี้มีเยอะแยะมากเลย

ในทางตำรานะ จำแนกจิตเอาไว้ตั้ง ๘๙ ดวง แต่ของเราไม่มี ๘๙ ดวงนะ ของเรามีไม่มากเท่าไหร่ เราตัดโลกุตระจิตออกไป ไม่มีนะ มี ๘๑ ดวง ทั้ง ๘๑ ดวงเนี่ย ของคนทำฌานได้อีกส่วนหนึ่ง คนทำฌานไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจิตที่เรามีจริง มีไม่ถึง ๘๑ หรอกนะ เราดูจิตที่เรามีจริงๆนะ ไม่ต้องไปดูจิตที่ไม่มีนะ

จิตโลภเรามีมั้ย จิตโกรธมีมั้ย จิตหลงมีมั้ย จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ พวกนี้มี จิตสุข จิตทุกข์ มีมั้ย จิตมีสติมีมั้ย จิตมีสติและปัญญามีมั้ย เนี่ยไม่ค่อยมีแล้ว ทำมาพยักหน้านะ ไม่ค่อยมีแล้วอันนี้

แล้วดูของมัน ดูของจริงนะ จิตทุกชนิดมันเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นเมื่อจิตทุกชนิดเกิดแล้วดับนะ ไม่มีจิตที่เที่ยง เป็นตัวตนถาวร เนี่ยเราดูความจริงลงในรูปในนาม ในขันธ์ ๕ ในกายในใจ ดูลงไปเรื่อย เพื่อถอนความเห็นผิดว่ามีเรา

เพราะฉะนั้นงานหลักในทางพระพุทธศาสนา งานหลักในการปฏิบัติธรรมเนี่ย ไม่ได้ทำเพื่ออันอื่นหรอก ทำเพื่อล้างความเห็นผิด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 530103.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนทั้งหลายเคยชินกับสมมุติ จนไม่เห็นความจริง

mp3 for download: คนทั้งหลายเคยชินกับสมมุติ จนไม่เห็นความจริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คนทั้งหลายเคยชินกับสมมุติ จนไม่เห็นความจริง

คนทั้งหลายเคยชินกับสมมุติ จนไม่เห็นความจริง

หลวงพ่อปราโมทย์: สมมุติจะคู่กับอะไร ตรงกันข้ามกับอะไร ‘สมมุติบัญญัติ’ ตรงข้ามกับ ‘สภาวะ’ หรือตรงข้ามกับ ‘ปรมัตถ์’ ทีนี้พวกเราบางคนก็มั่วๆนะ บอกว่าสมมุติตรงข้ามกับวิมุตติ คนละเรื่องเลยนะสมมุติกับวิมุตติน่ะ ไม่มีอะไรสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันนะ เห็นมันมุติเหมือนกัน

สมมุตินะ มุติตัวนี้ คือ มติ “สมมุติ” ก็คือ มติร่วมกัน ความเห็นร่วมกัน ความเข้าใจร่วมกัน ความรู้ร่วมกัน เช่น สมมุติร่วมกันขึ้นมาอย่างที่เรียกว่า ผู้หญิง ผู้ชาย เรียกหมา เรียกแมว เรียกคน สมมุติขึ้นมา มุติตัวนั้นแปลว่าความรู้

“วิมุตติ”นะ มุตติ แปลว่าหลุดพ้น คนละรากศัพท์กันนะ มติ กับมุตติ คนละรากศัพท์ เนี่ยบางทีเราก็มั่วๆเอา พ้นสมมุติก็ถึงวิมุตติ สมมุติพ้นไม่ได้นะ พ้นสมมุติล่ะบ้าเลย ยกตัวอย่าง ไม่รู้ว่านี่ผู้หญิง นี่ผู้ชาย ชักเพี้ยนแล้วใช่มั้ย พระอยู่กับสมมุติมั้ย ถ้าไม่มีสมมุตินะ ลูบหัวผู้หญิงก็ได้ ลูบหัวผู้ชายก็ได้ สมมุติไม่ได้มีเอาไว้พ้นนะ สมมุติมีเอาไว้เข้าใจ มีไว้ใช้สื่อสารกับคนอื่น

ส่วนอารมณ์ปรมัตถ์หรือสภาวธรรมเนี่ย เราต้องเรียนรู้มัน เรียนรู้จนเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งลึกลงไปแล้วมันก็คือ สภาวธรรม เนี่ยความคิดมันขึ้นมาปิดบัง เราสร้างสมมุติขึ้นมาปิดบัง ยกตัวอย่าง เราไม่เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่าตัวเราจริงๆมันไม่มี มันเป็นขันธ์ ๕ ตัวขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นี่เอง

ตัว ‘รูป’ ก็คือ ตัวรูปขันธ์ ‘เจตสิก’ ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร ตัว ‘จิต’ ก็คือตัววิญญาณ ในขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นแหละ หน้าที่ของเราคือเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไปจนเห็นว่า จริงๆไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่คน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา แต่บัญญัติขึ้นเป็นสัตว์ เป็นคน เป็นเรา เป็นเขา โดยสมมุติเอา

นี่คนทั้งหลายเคยชินกับสมมุติ จนไม่เห็นความจริง เรามาเรียนเพื่อให้เห็นความจริง เรียนก็ต้องเรียนให้ถึงตัวสภาวะจริงๆ ไม่ใช่นั่งคิดเอานะ ว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีคน ไม่มีเรา ไม่มีเขา บางทีก็คิดถึงนิพพาน นิพพานเป็นความว่าง ความว่างที่พวกเรารู้จัก ความว่างที่ไม่ใช่พระอริยะเห็นเนี่ยนะ เป็นความว่างที่ไม่ใช่ของจริงหรอก เป็นความว่างที่คู่กับความวุ่น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 530103.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่