Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น

mp3 for download : ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาจะมีลักษณะที่เบา มีลักษณะที่นุ่มนวลอ่อนโยน มีลักษณะที่ปราดเปรียวว่องไว ไม่หนักไม่แน่นไม่แข็งไม่ซึมไม่ทื่อ

ถ้านั่งสมาธิแล้วจิตแน่นจิตแข็งจิตซึมจิตทื่อ ให้รู้เลยว่าเป็นมิจฉาสมาธิแล้วล่ะนะ นอกรีตนอกรอยแล้ว ไม่ใช่สมาธิในทางศาสนาพุทธแล้ว หรือนั่งแล้วเคลิ้มง่อกๆแง่กๆขาดสตินะ ใช้ไม่ได้เลย จิตไม่ได้มีความคล่องแคล่วว่องไวควรแก่การงาน จิตสะลึมสะลือ หรือจิตเที่ยวเห็นโน้นเห็นนี่ออกข้างนอกไป จิตไม่อยู่กับฐาน สิ่งเหล่านี้ใช้ไม่ได้ทั้งสิ้นเลย

ถ้าเรามีสมาธิที่ถูกต้องเนี่ย จิตจะมีความตั้งมั่นอยู่กับตัวเอง จิตตั้งมั่นอยู่กับจิต เรียกว่าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ จิตหนีไปเมื่อไหร่มันก็ลืมกายลืมใจ มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ แต่ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จิตจะเบาสบาย นุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว มีความสุขความสงบอยู่ในตัวเอง จิตจะถอยตัวออกมาจากรูปธรรมนามธรรม เพราะไม่ไหลเข้าไปในปรากฏการณ์ทั้งหลาย จิตจะถอยตัวออกมาเป็นคนดู

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอรหันต์ส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลนะ ก่อนที่จะบรรลุพระอรหันต์ ก่อนที่จะบรรลุพระโสดาฯอะไรอย่างนี้ ก็ทำฌานไม่ได้เหมือนพวกเรานี้เอง ยกตัวอย่างเมื่อวานนี้ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟัง พวกที่ไม่ได้มา เล่าย่อๆนิดนึง

พระพุทธเจ้าท่านอยู่กับพระ หมู่สงฆ์จำนวนมากนะ แล้วท่านก็อธิบายให้สงฆ์ฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เนี่ย เป็นพระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ๖๐ องค์ อภิญญา ๖ อีก ๖๐ องค์ ได้อุภโตภาควิมุตติ ๖๐ องค์ พระอรหันต์ ๓ จำพวกนี้ต้องทรงฌาน รวมแล้ว ๑๘๐ องค์ อีก ๓๒๐ องค์ คือคนอย่างพวกเรานี่เอง

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราเข้าฌานไม่ได้เราจะสิ้นหวังเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ เราก็ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติที่พอเหมาะพอควรกับสิ่งที่เราเป็นสิ่งที่เรามีอยู่ เรามีความฟุ้งซ่านมาก เราไม่ได้มีสมาธิมาก เข้าฌานไม่เป็น เราก็มาฝึกให้ได้สมาธิชนิดตั้งมั่น แต่มันจะตั้งอยู่ชั่วขณะเท่านั้นเอง ไม่ตั้งนาน ไม่ใช่อัปนาสมาธิ แต่จะตั้งเป็นขณะๆเรียกว่า ขณิกสมาธิ จิตตั้งเป็นขณะๆนะ

ขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสมาธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน

เพราะฉะนั้นๆเราหัดพุทโธๆนะ จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เราหัดรู้ลมหายใจนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา รู้ลมหายใจอยู่ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ถ้ารู้ทันว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นจะต้องทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเสียก่อนนะ ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน เดี๋ยวก็ไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ดูไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นเบื้องต้นทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่งก่อน พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็รู้นะ จิตเคลื่อนไปเมื่อไหร่ให้รู้ทัน

ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เจตนาให้ตั้ง มันตั้งของมันเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๙ ถึงนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๒/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๒/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในพระไตรปิฎกจะพูดถึงสภาวะชนิดหนึ่งเรียกชื่อว่า “เอโกทิภาวะ” เอโกทิภาวะเนี่ยเกิดขึ้นในฌานที่ ๒ เอโกทิภาวะก็คือความตั้งมั่นของจิตนั่นเอง จิตละวิตกวิจารณ์ ละการตรึกการตรองในอารมณ์นั้น ก็ทวนกระแสเข้ามาตั้งมั่นอยู่ที่จิตได้ ถ้าเราได้สมาธิชนิดตั้งมั่นด้วยการเข้าฌานมานะ สมาธิชนิดนี้จะทรงกำลังอยู่ได้นาน แต่ก็ไม่เกิน ๗ วันนะ ก็เสื่อม เวลาที่มันตั้งมั่นเด่นดวงอยู่นี่ มันจะเห็นรูปธรรมและนามธรรมนี้ทำงานอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่นด้วยซ้ำไป ใจมันจะตั้งมั่นเด่นดวง

แต่ถ้าเราทำฌานไม่ได้เนี่ย เราก็ไม่สิ้นหวังเสียทีเดียว คนส่วนใหญ่ แม้กระทั่งในสมัยพุทธกาล ก็ทำฌานไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๘ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ความจริงของกายของใจได้ด้วยการรู้ด้วยความเป็นกลาง

mp3 for download : รู้ความจริงของกายของใจได้ด้วยการรู้ด้วยความเป็นกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สำหรับชาวพุทธเรา มาสังเกตการณ์ร่างกาย มาสังเกตการณ์จิตใจ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย ว่ามันเป็นอย่างไร มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตา อันนี้ไม่ต้องไปคิดถึงมัน ถึงเวลามันจะเห็นเองหรอก เพราะว่าความจริงมันไม่เที่ยง ความจริงมันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เราไปดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร

แต่จะไปดูได้นะ ใจต้องถอยออกมาเป็นคนดู ไม่มี Bias (อคติ – ผู้ถอด) ไม่มี Bias เพราะว่าชอบมัน ไม่มี Bias เพราะว่าเกลียดมัน ไม่มี Bias เพราะว่ามีความเชื่อเก่าๆแฝงอยู่ในใจของตัวเองแล้วนำความเชื่อเก่าๆนั้นไปตัดสิน แต่ต้องถอยตัวออกมาเป็นคนดู มาเป็นกรรมการ คล้ายเราเป็นผู้พิพากษานะ เราไม่ชี้ผิดชี้ถูกใคร (หมายถึง เป็นผู้พิพากษาในช่วงที่ฟังการไต่สวนคดีความ – ไม่มี Bias แต่ไม่ต้องถึงกับชี้ถูกชี้ผิดใคร – ผู้ถอด) แต่ใจเราต้องเป็นกลางจริงๆ หรือเป็นกรรมการห้ามมวยนะ ใจต้องเป็นกลางจริง แต่ถ้าหากไปเล่นมวยไว้ข้างหนึ่งนะ มันไม่เป็นกลางแล้ว มีส่วนได้เสียแล้ว

เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่มีส่วนได้เสียกับกายกับใจของเราเองนะ เราถึงจะเห็นความจริงของกายของใจได้ วิธีการก็คือ ต้องมาฝึกจิตให้ได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่นออกมา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อวิปัสสนา

mp3 for download : สมาธิเพื่อวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิยังมีอีกชนิดหนึ่ง สมาธิที่ใช้ในการเจริญปัญญา สมาธิชนิดนี้ไม่ใช่อารัมณูปนิชฌาน แต่เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน” ลักขณูคือเห็นลักขณะ คำว่าลักขณะนี้คนไทยเรียกว่า “ลักษณะ” ลักขณะเป็นภาษาบาลี แต่คนไทยยืมศัพท์นี้มาใช้นะ ยืมภาษาสันสกฤตมาใช้ เรียกว่า “ลักษณะ” เคยได้ยินคำว่า “ไตรลักษณ์” มั้ย “ไตรลักษณะ” นะ ถ้าเป็นภาษาบาลีก็จะเป็น “ลักขณะ” กอไก่แล้วก็ต่อด้วยขอไข่

สมาธิที่เห็นไตรลักษณ์ ลักษณะของสมาธิชนิดนี้นะ จิตใจเป็นคนดู เป็นสภาวะที่เรียกว่า “ความตั้งมั่น” พวกเราไปเปิดพจนานุกรมดูให้ดีนะ สมาธิไม่ได้แปลว่าสงบ เนี่ยพวกมักง่ายแปลเอาเองว่าสมาธิแปลว่าสงบ ในพจนานุกรมทั้งหลาย ไปดูนะ คำว่า “สมาธิ” จริงๆแล้วแปลว่าความตั้งมั่นของจิต

ความตั้งมั่นของจิตหมายถึงอะไร หมายถึงจิตไม่แส่ส่ายไหลเพลินไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตั้งมั่นอยู่ที่ตัวเอง ไม่ใช่ไปตั้งอยู่ที่ตัวอารมณ์ ถ้าจิตของเราไหลไปตั้งนิ่งอยู่ที่ตัวอารมณ์ เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” เพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ใช้ทำสมถกรรมฐาน ถ้าจิตตั้งมั่นอยู่กับจิต ไม่ใช่ไปตั้งอยู่ที่อารมณ์นะ ตั้งอยู่กับความรู้สึกตัว รู้สึกกาย รู้สึกใจ ของตัวเอง ใจของเราจะมีความรู้สึกว่า มันเหมือนเป็นคนดูคนหนึ่ง

ร่างกายเดินอยู่ มีใจที่ตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นร่างกายเดินใจเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในร่างกาย ใจเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ความเฉยๆเกิดขึ้นในจิตใจ ใจเป็นคนดู เห็นกิเลสเกิดขึ้นในใจ ใจเป็นคนดู ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นแค่คนดู ตัวนี้แหละเอาไว้ทำวิปัสสนากรรมฐาน

งานวิปัสสนากรรมฐานคืองานวิจัยภาคสนามล่ะ ตัว Object ที่เราจะเรียน ในการวิจัยภาคสนาม ก็คือรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวเรา เราจะเรียนเพื่อให้เห็นความจริงของรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา ความจริงของรูปธรรมและนามธรรมอันนี้ ก็คือ “ไตรลักษณ์” นั่นเอง ร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เป็นทุกข์ ร่างกายนี้เป็นอนัตตา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

mp3 for download : เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อความมักน้อย(สมถะ – ผู้ถอด) เพื่อความสันโดษ(พอเพียง ยินดีในสิ่งที่ตนมี ในสิ่งที่ตนได้มาตามความชอบธรรม ประกอบด้วยศีลด้วยธรรม ตามกฎหมาย – ผู้ถอด) เพื่อความไม่คลุกคลี(วิเวก – ไม่คลุกคลีด้วยอกุศล ด้วยกิเลส เว้นแต่ทำตามหน้าที่อันสมควรแก่ธรรม สมควรตามความรับผิดชอบ – ผู้ถอด) เป็นเพื่อความพัฒนาของศีล เป็นไปเพื่อความมีสมาธิ

สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ จิตสงบในอารมณ์อันเดียว จิตใจของเราโดยปกตินี้ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา มันวิ่งไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ วิ่งไปหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง อยากจะมีความสุขวิ่งไปดูหนัง ดูแล้วยังไม่หายกลุ้มวิ่งไปฟังเพลง ฟังเพลงแล้วหิวอีกแล้วก็วิ่งไปหาอะไรกินอีก จิตใจนี้จะวิ่งพล่าน พล่าน พล่าน พล่าน ไปตลอดเวลาเลย เรียกว่าใจฟุ้งซ่าน

ถ้าต้องการฝึกสมาธิให้ใจสงบนะ เรามารู้จักเลือกอารมณ์ ถ้าจิตของเราอยู่ในอารมณ์ชนิดไหนที่มันไม่ยั่วกิเลส เป็นอารมณ์ที่ดี อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นแล้วมีความสุข จุดสำคัญอยู่ที่ว่า เลือกอารมณ์ที่มีความสุขมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต เมื่อจิตได้อยู่ในอารมณ์ที่มีความสุขอันเดียวนะ จิตจะไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นๆ จิตก็สงบ นี่คือหลักของสมถกรรมฐาน เคล็ดลับมีเท่านี้เอง ที่นั่งสมาธิกันปางตาย ทำแล้วยังไงก็ไม่สงบ ก็เพราะไม่รู้เคล็ดลับ หลวงพ่อนั่งสมาธิเป็นตั้งแต่ ๗ ขวบ นะ ก็เลยสรุปเคล็ดลับได้ว่าเราต้องอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข

อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กๆเนี่ย หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ อยู่กับลมหายใจนะ มีความสุข หายใจแล้วมีความสุข หายใจแล้วมีความสุข ใจก็ไม่ฟุ้งไปที่อื่นเลย ใจก็จะอยู่สงบอยู่กับลมหายใจ ลมหายใจกลายเป็นแสงไป ลมก็สว่างกลายเป็นแสงสว่าง เป็นดวงสว่างขึ้นมา ก็สงบอยู่กับแสง นี่คือหลักของการทำสมาธิ (หมายถึง สมถกรรมฐษน – ผู้ถอด)

สมาธิบางอย่างไม่มีแสงนะ ไม่มีดวงนิมิตร อย่างการเจริญเมตตาเนี่ย เราแผ่เมตตาไปเรื่อย จะไม่มีดวงปฏิภาคนิมิตรเกิดขึ้น จิตก็ทำความสงบปราณีตได้ คนไหนขึ้โมโห ก็แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ เวลาที่แผ่เมตตาไม่ต้องไปเค้นเมตตาออกจากใจ แผ่ๆอย่างนี้นะ ไม่ไปหรอก เมตตานะ แต่ถ้าจะแผ่ก็นั่งนึกเอา นั่งนึกเอา “สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้สัตว์ทั้งหลายได้รับส่วนบุญที่เราทำแล้วทั้งหมดด้วยเถิด ทุกๆคน ทุกๆคน เลย” เนี่ยนึกไปเรื่อยนะ นึกอย่างนี้เรื่อยๆ บริกรรมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆเย็นขึ้นมา ใจค่อยสงบสบาย พวกขี้โมโหนะ แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ แผ่ทั้งวันเลยก็ได้ ใจมันจะค่อยเย็นๆมีความสุขขึ้นมา

คนขี้โลภ พวกราคะมากอะไรอย่างนี้ จะพิจารณาร่างกาย ดูร่างกายเป็นส่วนๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ของไม่สวยไม่งาม พิจารณาไปเรื่อย ใจก็สงบจากราคะ ไม่ฟุ้งไป

ใจโกรธก็คือใจมันฟุ้งไป กระทบอารมณ์แล้วไม่พอใจ ในโลภก็คือมันฟุ้งไป ไปกระทบอารมณ์แล้วพอใจ ใจหลงก็คือใจมันฟุ้งไปตามอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้นหากว่าคนไหนขี้หลง ใจลอยบ่อยอะไรบ่อยนะ หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป พอจิตหนีไปแล้วก็รู้เอา ใจก็ค่อยสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขได้ล่ะก็ สมาธิก็เกิด ได้สมาธิชนิดที่ ๑

สมาธิชนิดที่ ๑ เป็นสมาธิที่จิตสงบในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” อารัมณะ ก็คือคำว่า อารมณ์นั่นเอง คนไทยไปตัดไม้หันอากาศออก ถ้าภาษาที่ถูกก็คือ อารัมณะ ยกตัวอย่างพระอานนท์นะ คนไทยเรียกพระอานนท์เนี่ย ถ้าเราย้อนขึ้นไทม์แมชชีนไปวัดเชตวัน ไปถามหาพระอานนท์ จะไม่มีใครรู้จักเลย ต้องถามหาพระอานันท์ เนี่ยเขาตัดไม้หันอากาศออกไป คนไทย

เพราะฉะนั้นอารัมณูปนิชฌานนะ ให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวได้เพราะจิตรู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข ถ้าทำได้นะ จิตใจก็มีความสุข ร่มเย็นเป็นสุข ไม่เครียด ไม่เครียดเลย แต่ว่าไม่เดินปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

mp3 (for download) : มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราพยายามตั้งใจรักษาศีล ๕ ใครมันจะหัวเราะก็ช่างมัน ตั้งใจฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนั้นแหละ คือสภาวะที่จิตทรงสมาธิที่ถูกต้องอยู่ ความรู้เนื้อรู้ตัวนี่ขาดไม่ได้เด็ดขาดเลย บางคนนั่งสมาธิจนกระทั่งโลกธาตุดับนะ ร่างกายหายไป โลกหายไป เหลือจิตดวงเดียว ก็ยังไม่ขาดความรู้สึกตัว จิตไม่ขาดสติ มีสติรักษาจิตอยู่ เพราะฉะนั้นสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ ขาดสติเคลิ้มไป เป็นมิจฉาสมาธิทันทีเลย

มีศีล ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา มาฝึกจิตให้อยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิที่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ทรงสมาธิอยู่เฉยๆ ต้องน้อมจิต มีสติระลึกรู้ เห็นความเปลี่ยนแปลงของกาย เห็นความเปลี่ยนแปลงของใจเรื่อยไป มาดูความเปลี่ยนแปลง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระโสดาบันยังมีอินทรีย์ที่ต่างกัน

mp3 (for download) : พระโสดาบันยังมีอินทรีย์ที่ต่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ใช่พระโสดาบันทุกองค์ต้อง ๗ ชาตินะ อยู่ที่กำลัง เวลาบรรลุโสดาปัตติมรรค ถ้าปัญญาแก่กล้า ก็เหลือชาติเดียว สมาธิกล้าๆจะเหลือ ๓ ชาติ ถ้าทั่วๆไป อินทรีย์ไม่แกกล้า ก็จะไม่เกิน ๗ ชาติ (อ่านเรื่อง อินทรีย์ เพิ่มเติมตามลิงก์ในหมายเหตุ – ผู้ถอด)

เวลาบรรลุ ก็จะเห็นภาวธรรมเกิดดับ ๒ ขณะนะ แล้วก็เกิดอริยมรรค เกิดอริยผล เกิดอริยมรรค ๑ ขณะ แล้วเกิดอริยผล ๓ ขณะ ตรงนี้เป็นพวกปัญญากล้า ไม่ถึง ๗ ชาติหรอก

แต่ถ้าพวกปัญญาไม่แก่กล้า เกิดสภาวะเกิดดับให้ดูภายใน ๓ ขณะ แล้วทวนเข้ามาหาจิต ๑ ขณะ เข้ามาถึงตัวรู้ เข้ามาถึงธาตุรู้ แหวกธาตุรู้ออก เกิดอริยมรรค ๑ ขณะจิต เกิดอริยผล ๒ ขณะจิต สัมผัสพระนิพพาน ๒ ขณะ พวกนี้ปัญญาไม่กล้า พวกนี้อาจจะ ๓ ชาติ ๗ ชาติ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เข้าฌานไม่ได้ ก็อาศัยสมาธิทีละขณะ เจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เข้าฌานไม่ได้ ก็อาศัยสมาธิทีละขณะ เจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ในความเป็นจริงแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พระอรหันต์ส่วนใหญ่นี่แหละ ไม่ได้มีฤทธิ์มีเดชอะไร ไม่ได้มีฌานสมาบัติยอดเยี่ยม เข้าฌานคล่องแคล่วว่องไว ส่วนน้อยเท่านั้นแหละที่ทำฌานได้ ส่วนใหญ่ก็คือคนอย่างพวกเรานี่แหละ

ในสมัยพุทธกาลมีครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านนั่งอยู่ ก็มีพระกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่กับท่าน และมีพระอีก ๕๐๐ องค์ แล้วท่านก็ชี้ให้พระ ท่านก็บอกพวกพระว่า ในพวกพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มีพระอรหันต์ที่ได้วิชาสาม ระลึกชาติได้ รู้ว่าคนไหนตายแล้วไปเกิดที่ไหน แล้วก็ล้างกิเลสได้ เรียกว่าวิชา ๓ มีอยู่ ๖๐ องค์ จาก ๕๐๐ องค์ คือ ๑๒% พวกที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ต้องทรงฌาน

อีก ๖๐ องค์ คืออีก ๑๒% ได้อภิญญา ๖ แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ มีตาทิพย์ มีเจโตปริยายญาณรู้จิตผู้อื่นได้ ทำอะไรได้หลายอย่าง นี่ก็แค่ ๑๒% คนที่ได้อภิญญา ๖ เนี่ย ต้องได้ฌาน อีกพวกหนึ่ง ๖๐ องค์ เป็นอุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุติเนี่ย คือท่านผู้บรรลุพระอรหันต์ด้วยการที่เข้าถึงอรูปฌาน พระอรหันต์ส่วนใหญ่ที่บรรลุเนี่ย ไม่ใช่อุภโตภาควิมุติ แต่เข้าฌานในระดับรูปฌาน ฌาน ๑ – ๒ – ๓ – ๔ แล้วไปบรรลุพระอรหันต์ในฌาน ๑ – ๒ – ๓ – ๔ มีพระอรหันต์เพียง ๖๐ องค์เท่านั้นที่เข้าถึงอรูป จาก ๕๐๐ องค์ ก็ ๑๒% เหมือนกัน

ทำไมเรียกว่าอุภโตภาควิมุติ อุภโตภาควิมุติแปลว่าหลุดโดยส่วนทั้งสอง หลุดจากรูปธรรมด้วยการเข้าอรูปฌาน หลุดจากนามธรรม ปล่อยวางนามธรรม ได้ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้นเป็นพระอรหันต์ที่แปลกออกไปอีกพวกหนึ่ง พวกนี้มีฌานเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นพวกที่มีฌาน คือพวกวิชาสาม ๖๐ องค์ พวกอภิญญา ๖ ๖๐ องค์ แล้วก็พวกอุภโตภาควิมุติอีก ๖๐ องค์ รวมเป็น ๑๘๐ องค์ คือ ๓๖% ที่เหลือคือคนอย่างพวกเรานี่แหละ อีกเท่าไหร่ ๖๔ %

ถ้ามาถึงวันนี้นะ คนที่ทรงฌานได้มีไม่ถึง ๓๐ กว่าเปอร์เซนต์หรอก ยิ่งน้อยหนักเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าได้น้อยเนื้อต่ำใจว่าเราเข้าฌานไม่เป็น กระทั่งในสมัยพุทธกาล พระอรหันต์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทรงฌานขนาดนั้น มาได้ฌานทีหลีงเมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว อย่างน้อยก็ได้ปฐมฌานเป็นของแถม

เพราะฉะนั้นพวกเราอาศัยสมาธิที่เรามีเล็กๆน้อยๆนี่ล่ะ อย่าดูถูกมัน น้ำหยดทีละหยดก็เต็มตุ่มได้ เราก็มีสมาธิทีละขณะ ทีละขณะ นี้แหละ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รูปนามเกาะกลุ่มด้วยกรรม ทำกรรมใหม่

mp3 for download : รูปนามเกาะกลุ่มด้วยกรรม ทำกรรมใหม่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมย์ : พอจับแยกออกไปแล้วด้วยสติด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ก็พบว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรมนามธรรมจำนวนมาก มาประชุมร่วมกันมาทำงานร่วมกัน มีกรรมเป็นตัวผลักดันให้รูปธรรมและนามธรรมเหล่านี้มาเกาะกลุ่มกัน

เมื่อได้รูปธรรมนามธรรมมาแล้วก็ไปทำกรรมใหม่ ทำกรรมดีบ้าง ทำกรรมชั่วบ้าง ก็ส่งเสริมและเป็นปัจจัยให้เกิดรูปธรรมนามธรรมใหม่ในอนาคตต่อไปอีก ดีบ้างร้ายบ้าง ก็หมุนไปอย่างนี้เรื่อยๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๙ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนา ต้องเดินปัญญาให้ได้

mp3 for download : 550701.00m00-01m37

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ตอนนี้เห็นทุกข์มากขึ้นมั้ย หรือภาวนามีแต่ความสุข การภาวนามี ๒ ขั้นนะ ขั้นแรก ทำให้จิตตั้งมั่นก่อน เรียกว่าจิตตสิกขา จิตตั้งมั่นมีสมาธิ มีความสุข ไม่ได้ทำอะไร แค่รู้สึกตัวขึ้นมา จิตมันไหลไป เรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตก็ตั้งมั่น ก็มีความสุขผุดขึ้นมา

เพราะฉะนั้นหัดกับหลวงพ่อใหม่ๆนะ จะมีความสุขเยอะมากนะ ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุข มีความสุขผุดขึ้นมา ตรงนั้นเราฝึกในขั้นที่เรียกว่า จิตตสิกขา เรารู้ทันจิต ในการภาวนาเนี่ย ถ้าไม่รู้ทันจิต ใช้ไม่ได้จริง

เพราะฉะนั้นเรื่องจิตตสิกขาเป็นเรื่องใหญ่ ก็เรียนจนกระทั่งจิตมันตั้งมั่น ถึงฐานของมันจริงๆ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยไม่ได้เจตนา ยังเจตนาอยู่ ยังไม่ใช่ของจริง

เพราะฉะนั้นบางที เราหัดใหม่ๆ จิตเราไหลไปเผลอไป เรารู้ทัน เรารู้สึกตัว จิตตั้งมั่นขึ้นมา จิตตื่นขึ้นมา ก็มีความสุข เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ดีๆก็มีความสุขโชยขึ้นมาเป็นระยะๆ ทั้งวันเลย มีความสุขเยอะเลย

แต่ทีนี้การภาวนาไม่ได้ไปหยุดอยู่แค่การทำสมาธิ ต้องเดินปัญญาให้ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การฝึกสมาธิเต็มภูมิ เพื่อเตรียมความพร้อมเจริญวิปัสสนา

mp3 for download : 540710.11m30-14m39

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในพระไตรปิฎกก็พูดถึงจิตที่เหมาะสมกับการเจริญปัญญาไว้ แต่ท่านพูดเต็มภูมิตามทฤษฎีนะ แล้วก็เต็มภูมิเลยของผู้ปฏิบัติชั้นเลิศ คือหัดเข้าฌานเสียก่อน พอเข้าฌานนะ ถึงฌานที่ ๒ วิตกวิจารดับไป สติไม่ดับนะ มีสติและมีใจเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ตรงที่ใจเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้ต้องมีมาตลอด ต้องฝึกมา ค่อยๆฝึก

ยกตัวอย่างหายใจอยู่ ค่อยๆฝึก หายใจอยู่ค่อยๆรู้สึก อย่าให้เคลิ้มไป อย่าให้ขาดสติ ลมหายใจค่อยสั้นเข้าๆ ในที่สุดลมหายใจแปรสภาพมาหยุดนิ่ง กลายเป็นแสงสว่าง มีสติรู้แสงสว่างนั้นแทนลมหายใจ ตัวลมหายใจเรียกว่าบริกรรมนิมิตร ตัวแสงสว่างเรียกว่าอุคหนิมิตร เมื่ออุคหนิมิตรเกิดขึ้นก็ทิ้งบริกรรมนิมิตรไป มารู้แสงสว่าง ฝึกไปเรื่อยนะ มันจะเล็กก็ได้ใหญ่ก็ได้ ทำให้มันเต็มโลกเลยก็ได้ แสงนี้น่ะ จะให้เล็กเท่าปลายเข็มเลยก็ได้ เล่นเข้าเล่นออกนะ จิตจะสนุก มีปีติซาบซ่าขึ้นมามันสะใจดี มีความสุขขึ้นมา

จิตมีวิตก คือตรึกอยู่ในแสงสว่าง จิตมีวิจาร คือเคล้าเคลียอยู่กับแสงสว่าง จิตมีปีติ มีความสุข ที่ได้รู้ได้เล่นกับแสงสว่างนั้น จิตเป็นหนึ่งไม่หลงไปที่อื่น ปฐมฌานก็เกิดขึ้น พอปฐมฌานเกิดขึ้น จิตมีปีติจิตมีความสุขเนี่ย ถ้าสติรู้ทันนะ ความตรึกความตรองในแสงสว่างจะหายไป ตัวนี้เป็นภาระของจิต พอจิตทิ้งการตรึกการตรองนะ จิตผู้รู้แท้ๆก็จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่คิดอยู่นะ เมื่อนั้นไม่รู้หรอก เมื่อไหร่ตรึกอยู่เมื่อนั้นไม่รู้หรอกนะ ยังไม่ใช่ตัวรู้ ตัวรู้จะไปเกิดในฌานที่ ๒ ในพระไตรปิฎกจะพูดอย่างนี้

ตัวรู้เป็นตัวรู้เกิดขึ้นมาแล้วนะ เห็นปีติ สุข พอเห็นปีติ ปีติจะดับ เพราะปีติเป็นความหวือหวาของจิต เป็นภาระของจิต ก็ดับไป เห็นความสุขเด่นดวงขึ้นมา สติระลึกลงไปในความสุข จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ความสุขก็จะดับเพราะความสุขเป็นภาระของจิต เป็นส่วนเกิน หวือหวาไป จิตก็เป็นอุเบกขา กับเอกัคคตา จิตทรงตัวเป็นผู้รู้ รู้อยู่นะ มีเอกัคคตา

พอออกจากสมาธิชนิดนี้แล้ว ท่านจะพูดเลยว่า มีจิตเบา มีจิตอ่อน มีจิตนุ่มนวล คล่องแคล่วว่องไว ควรแก่การงาน โน้มน้อมจิตชนิดนี้นะ ไปเพื่อญาณทัสนะ เห็นมั้ยท่านเตรียมความพร้อมของจิตนะ ก่อนที่จะเจริญปัญญา เพราะฉะนั้นอยู่ๆจะไปเจริญปัญญาโดยที่ไม่เตรียมความพร้อมของจิต ทำไม่ได้ แต่ไม่ใช่ให้เข้าฌานทุกคนนะ คนที่เข้าฌานได้มีน้อยกว่าคนที่เข้าฌานไม่ได้ ตั้งแต่พุทธกาลแล้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๐ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการฝึกฝนจิต

mp3 for download : วิธีการฝึกฝนจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตเป็นเด็กซุกซนนะ แต่ขี้อาย เวลาเผลอเมื่อไหร่มันหนีไปเที่ยว ถ้ารู้ทันมันนะ มันไม่ซนนะ มันเข้ามาอยู่ที่บ้าน ไม่ซนไปที่อื่น แต่เราอย่าเอาโซ่ไปล่ามมัน เอาโซ่ไปล่ามคือเอาไปเพ่งไว้ มันหนีไปแล้วไม่รู้ทันนี่คือมันหลงไป อย่าให้มันสุดโต่งไปข้างมันหนีไปมันหลงไปโดยไม่รู้ทัน และไม่ใช่ว่ามันไม่หนีไปเพราะถูกบังคับอยู่

ตรงที่มันหนีไปแล้วรู้ไม่ทันนะ เรียกว่ากามสุขัลลิกานุโยค สุดโต่งไปข้างตามใจกิเลส ตรงที่บังคับไว้ไม่ให้หนีเลยเป็นการสุดโต่งมาข้างบังคับตัวเอง เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค สองอันนี้แหละที่ทำให้เราพลาดจากทางสายกลาง คือทางแห่งการรู้

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ให้เป็น ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิตไปเรื่อยๆ จิตไหลไปแล้วรู้ ไหลไปดู ไหลไปฟัง ไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง รู้ทันเรื่อยๆ นี่แหละเรียกว่าเรียนเรื่องจิต ถ้าเราเรียนเรื่องจิต จิตจะค่อยๆตั้งมั่นขึ้นมา โดยเฉพาะจิตที่หลงไปคิดนะ ถ้าเรารู้ทันจิตที่หลงไปคิดนะ จิตผู้รู้จะเกิดขึ้นในฉับพลันนั้นเลย เพราะรู้กับคิดนั้นกลับข้างกัน เหมือนเหรียญอันเดียวกันนะ แต่ด้านหัวด้านก้อยกลับข้างกัน เมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจิตรู้ก็เกิดขึ้น อันนี้ดีที่สุดเลย

แต่รู้ว่าจิตเพ่งจะไม่ค่อยหายเพ่ง รู้ว่าเพ่งก็ยังเพ่งไปเรื่อยๆ เพราะดูไม่ออกว่าโลภ เบื้องหลังการเพ่งคือความโลภ อยากรู้อยากเห็นอยากเป็นอยากได้อยากดีอยากเด่น มีอยากซ่อนอยู่ ทำให้มานั่งคอยจ้องไม่ให้คลาดสายตา อันนั้นดูด้วยความโลภ ใช้ไม่ได้ทำไปด้วยกิเลส มีกิเลสแล้วเกิดการกระทำกรรม เกิดการเพ่งการจ้อง มีความโลภแล้วก็ไปเพ่งไปจ้อง

ในตำราสอนนะว่า กิเลสเป็นสหชาตปัจจัยของกรรม กิเลสทำให้เกิดการกระทำกรรมทางใจ โลภขึ้นมาแล้วอยากจ้อง อยากจ้องแล้วไปจ้อง เกิดความอยากจ้องนี่ล่ะความโลภ ก็ไปจ้องเอาไว้ไม่ให้คลาดสายตา นี่คือการกระทำกรรม ในขณะที่เรากระทำกรรมด้วยความอยาก ความอยากก็ยังดำรงอยู่

เพราะฉะนั้นตลอดเวลาที่เราจ้องอยู่ด้วยความโลภอยากรู้ให้ชัดนะ ความอยากรู้นั้นยังดำรงอยู่ สติจะไม่เกิดเลย สติจะเกิดร่วมกับอกุศลไม่ได้เด็ดขาดเลย ถ้าเมื่อไหร่สติเกิดเมื่อนั้นจะไม่มีอกุศลนะ เมื่อไหร่สติหายไปเมื่อนั้นมีอกุศลได้ แต่บางทีก็มีวิบาก จิตบางดวงก็เป็นอกุศลจิต จิตบางดวงเป็นวิบากเฉยๆ ไม่ต้องมีสติ แต่มีสติเมื่อไหร่จิตจะเป็นกุศลทันที จะเป็นอกุศลไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นในขณะที่เราปฏิบัติแล้วเราจ้องเอาๆนั้น สติตัวจริงไม่เกิดนะ เพราะความโลภมันเกิดอยู่ ไม่มีพื้นที่เหลือให้สติเกิด ให้เรารู้ทัน ถ้าเกิดว่าเราไปจ้องอยู่เนี่ย วิธีแก้จ้องนะ ให้รู้ทันว่ามันอยาก อยากรู้ให้ชัด อยากรู้ให้ไม่คลาดสายตา อยากรู้ตลอดเวลา อยากรู้ให้ทัน เป็นการดักดู ไปคอยดักดู ดักดูเมื่อไหร่ก็คือเพ่งเมื่อนั้นแหละ ถ้าเรารู้ทันใจที่โลภใจที่อยากนะ มันก็ไม่เพ่ง ถ้ารู้ไม่ทันมันก็เพ่ง

เราค่อยๆสังเกตนะ จนใจของเรา สังเกตจิตบ่อยๆ ในที่สุดเราจะได้สมาธิที่ดีขึ้นมา คือจิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนะ จะมีความเบานะ ถ้าหนักๆจะไม่ใช่ของจริง จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานจะมีความอ่อนโยนนุ่มนวล ถ้าแข็งกระด้าง ไม่ใช่ของจริง อย่างที่พวกเราชอบนั่งสมาธิ รู้สึกมั้ย จิตหนักๆ บางทีจิตแน่นๆแข็งๆ นั่นเป็นสมาธิชั้นเลวนะ ไม่ใช่สมาธิที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนะ เป็นสมาธิชั้นเลว ใช้ไม่ได้ เอาจิตอย่างนั้นไปเจริญปัญญาไม่ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตสิกขา สิกขาที่มักถูกละเลย

mp3 for download : จิตตสิกขา สิกขาที่มักถูกละเลย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้แล้วรู้ทันจิต บทเรียนอันนี้ชื่อว่าจิตตสิกขา บทเรียนของพระพุทธเจ้า ๓ บท บทที่อาภัพที่สุดนั้นคือจิตตสิกขา พวกหนึ่งทำสมาธิแต่ไม่เรียนเรื่องจิต อันนี้ก็น้อม..จิตไปเกิดนิมิตเกิดอะไรอุตลุดไป อีกพวกหนึ่งดูถูกการทำสมาธิ ไม่เอาสมาธิจะเอาแต่ปัญญา ไม่รู้หรอกว่า ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด แต่ไม่ใช่สมาธิชนิดเซื่องซึม ไม่ใช่สมาธิชนิดนิ่งๆ

สมาธิโดยตัวศัพท์ของสมาธินั้นแปลว่าความตั้งมั่น เราชอบไปแปลว่าสงบนะ ชอบไปแปลสมาธิว่าสงบ ความจริงสมาธิแปลว่าความตั้งมั่น ถ้าจิตมีความตั้งมั่น จิตจะเป็นผู้รู้ผู้ดู ไม่หลงไปคิดแล้วก็ไม่เพ่งเอาไว้ ถ้ายังสุดโต่งไปข้างหลงไป หลงไปในโลกของความคิดเนี่ยเป็นหลักเลย แล้วก็หลงไปเพ่ง..คอยจ้องเพ่งๆอยู่ ก็ไม่ใช่ผู้รู้

เนี่ยคอยรู้ไป หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน หรือหายใจแล้วจิตไหลไปเพ่งลมหายใจ หายใจแล้วจิตไหลลงไปอยู่ที่ท้อง ก็รู้ทันจิต จะขยับมือก็ได้ตามอย่างหลวงพ่อเทียน ขยับก็ไม่ใช่เพื่อบังคับจิต แต่จะขยับมือเพื่อรู้ทันจิต นี่คือบทเรียนชื่อจิตตสิกขา สิ่งที่จะได้มาก็คือสมาธิ

ถ้าไม่มีสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นแล้ว อย่ามาคุยเรื่องเดินปัญญา ไม่มีทางเลย สมาธิต้องฝึกนะ ฝึกให้จิตใจตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว นั่นแหละเรียกว่า มันมีสมาธิขึ้นมา

คนในโลกลืมตัวทั้งวัน หลงไปอยู่ในความคิดทั้งวัน เดี๋ยวคิดไปในอดีต เดี๋ยวคิดไปในอนาคต ร่างกายมีอยู่ในปัจจุบันก็ไม่เคยรู้สึกถึงมัน จิตใจมีอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างมันสุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างร้ายบ้าง ไม่เคยรู้ทันมันเลย หรือบางทีจิตวิ่งไปดู เดี๋ยวจิตวิ่งไปฟัง บางทีจิตวิ่งไปคิด ก็ไม่เคยรู้ทันมันเลย

เพราะฉะนั้นเราคอยมารู้ทันจิตนะ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แล้วมาคอยรู้ทันจิตไว้ สิ่งที่ได้ขึ้นมาก็คือความตั้งมั่นของจิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๓) ให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง จิตผู้เพ่ง กับ จิตผู้รู้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๓) ให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง จิตผู้เพ่ง กับ จิตผู้รู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นร่างกายของตัวเองได้ ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นจิตใจของตนเองได้ ถ้าใจไม่ตั้งมั่น ใจไหลไปทางตา เราจะไปเห็นรูปภายนอก ถ้าใจไหลไปทางหู เราจะไปได้ยินเสียง ถ้าใจไหลไปทางจมูก เราจะไปได้กลิ่น ถ้าใจไหลไปที่ลิ้น เราจะได้รส ถ้าใจไหลไปตามผิวกาย เราจะรู้สึกสัมผัสภายนอก เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวอะไรข้างนอกได้ ข้างในก็รู้สึกได้ แต่จิตมันเคลื่อนทั้งสิ้นเลย เช่น รู้สึกท้อง ที่กระเพื่อมไปกระเพื่อมมา จิตเคลื่อนไปที่ท้องนั่นเอง

เพราะนั้น ถ้าจิตเคลื่อนไปนะ มันจะรู้ออกนอก และถ้าจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูเนี่ย มันจะย้อนเข้ามา ดูกายดูใจของตนเอง โดยที่จิตนั้น”เป็นผู้รู้ ผู้ดู” ตัวนี้แหล่ะ ตัวแตกหัก ถ้าเราสามารถพัฒนาจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูได้ เรียกว่าเราได้ “ลักขณูปนิชฌาน”

ลักขณูปนิชฌานเนี่ย เป็นสมาธิที่สำคัญที่สุดเลย แต่อาภัพ คนไม่รู้จัก คนรู้จักแต่”อารัมมณูปนิชฌาน” สมาธิมี ๒ ชนิดนะ สมาธิชนิดที่ ๑ ชื่อ “อารัมมณูปนิชฌาน” จิตไปเพ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียว เช่น ไปเพ่งอยู่ที่พุทโธ ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ไปเพ่งอยู่ที่ท้องพองยุบ ไปเพ่งอยู่ที่มือที่เท้า อันนั้นจิตออกนอก “ลักขณูปนิชฌาน” จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูขึ้นมา แล้วมันจะเห็นเลย ร่างกายมันแสดงไตรลักษณ์ได้ จิตใจแสดงไตรลักษณ์ได้

งั้นถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน จิตออกนอกเนี่ย หลายสำนวนนะ อันเดียวกันนั่นแหล่ะ คือจิตมันส่งไปข้างนอก ทางตาหูจมูกลิ้นกาย หรือส่งไปคิดไปนึก มันจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ เราต้องมาฝึกนะ ตัวนี้เป็นตัวแตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลหรือไม่ ถ้าเราไม่มี”ลักขณูปนิชฌาน” ไม่มีจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ละก็ เรายังไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้

อารัมณูปนิชฌานคือ สมาธิเพ่งอารมณ์นี้ ใช้ทำสมถะกรรมฐาน แล้วก็ใช้สำหรับมีชีวิตอยู่กับโลก อย่างเป็นต้นว่า เราจะเขียนซอฟท์แวร์อะไรเนี่ยนะ ซักอันนึงนะ สมาธิเราต้องออกนอก ไปอยู่ที่ความคิดใช่ไหม เราถึงจะเขียนซอฟท์แวร์ได้ อันนี้เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” นั่งเพ่งไฟ นั่งเพ่งลมหายใจ นั่งเพ่งท้อง อันนี้เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ไปเพ่งตัวอารมณ์

ส่วน“ลักขณูปนิชฌาน”เนี่ย ใช้ตอนไหนบ้าง ลักขณูปนิชฌานใช้ในขณะแห่งวิปัสสนากรรมฐาน ใช้ในขณะที่เกิดอริยมรรค ใช้ในขณะที่เกิดอริยผล ใช้ในขณะที่พระอริยเจ้าเข้าผลสมาบัติ ผลสมาบัติก็คือ เกิดผลจิต จิตในขณะที่บรรลุโสดาฯ สกทาคาฯนั่นแหล่ะ จะเกิดผลอย่างนั้นซ้ำขึ้นมา แต่ว่าไม่ล้างกิเลส เพราะมีแต่ผล ไม่มีมรรค งั้นเป็นสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ใช้ลักขณูปนิชฌาน จิตตั้งมั่นถึงฐานเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สัมมาสมาธิ

mp 3 (for download) : สัมมาสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ตัวสัมมาสมาธิเนี่ย เป็นสิ่งที่หลวงพ่อเห็นว่าพวกเราพลาดมากที่สุดเลย สติอีกตัวนึงพลาดมาก นี้สติยังไปเพ่งๆอะไรขึ้นมา สติยังเกิดได้นะ แต่สัมมาสมาธินี่เกิดยากมากเลย

เพราะพวกเราคุ้นเคยกับมิจฉาสมาธิ สมาธิที่เพ่งเอา เราไม่คุ้นเคยกับสมาธิที่จิตตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ เราคุ้นเคยแต่สมาธิที่จิตเข้าไปตั้งแช่อยู่ในตัวอารมณ์ จิตที่ไปตั้งแช่นิ่งอยู่กับอารมณ์นะ เรียกว่า “อารัมมณูปนิชฌาน” เป็นจิตที่ใช้ทำสมถะนะ มีการทำสมถะ เพราะงั้นเราไปดูท้องพองยุบ แล้วเราเพ่งจิตไปเกาะที่ท้องเนี่ย สมถะ รู้ลมหายใจแล้วจิตไปเกาะนิ่งอยู่กับลมหายใจนี่ สมถะ ค่อยๆฟังนะ ฟัง ค่อยๆเรียน ค่อยๆฟังไป

จิตที่เป็นสัมมาสมาธิเกิดแล้วเนี่ย ปัญญาถึงจะเกิดได้ เพราะปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ปัญญาไม่ใช่เกิดจากการคิดนะ ปัญญาที่เกิดจากการคิดเรียก “จินตามยปัญญา” ไม่ใช่  “ภาวนามยปัญญา” ภาวนามยปัญญาเนี่ย เกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ เป็นแค่ผู้รู้ ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ปรากฏขึ้นมา เกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป เห็นสภาวะธรรมทั้งหลายในแต่ละปรากฎการณ์ ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเราทั้งสิ้น ใจมันจะเห็นอย่างนี้นะ มันถึงมีปัญญา

งั้นตัวนี้ต้องเรียนนะ หลวงพ่อก่อนจะบวชเนี่ย หลวงพ่อตระเวนไปตามสำนักต่างๆมากมาย หลวงพ่อไปดูว่าเราจะไปบวชสำนักไหนดี บางแห่งสำนักดีนะ ครูบาอาจารย์ดี แต่ครูบาอาจารย์ไม่มีเวลาเลย ครูบาอาจารย์ไม่อยู่วัดน่ะ รับนิมนต์ไปทุกวันๆนะ หายไปเลย หรือบางแห่งมีแต่รูปแบบ หลายแห่งเพ่งลูกเดียว กระทั่งในสำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนานะ จริงๆแล้วติดสมถะ เกือบทั้งหมดน่ะติดสมถะ นักปฏิบัติ

เพราะว่าอะไร เพราะว่าเวลาเราเรียนธรรมะ เราเรียนข้ามขั้น เราถือศีล พอเรามีศีลสิกขาใช่มั้ย แล้วเราก็ไปกำหนดรูปนามเลย เราไปเจริญปัญญาสิกขา เราข้ามจิตสิกขาไปบทเรียนนึง

เพราะงั้นถ้าเราไม่ได้เรียนจิตสิกขาให้ถ่องแท้ซะก่อนเนี่ย จิตจะไม่มีสัมมาสมาธิ งั้นจิตจะไปเพ่ง ไปรู้ท้องก็เพ่งท้อง รู้เท้าเพ่งเท้า รู้ลมเพ่งลม รู้มือเพ่งมือ รู้อะไรก็เพ่งอันนั้น จะไม่สักว่ารู้สักว่าเห็น พวกเราเรียนข้ามขั้นนะ

เนี่ยเที่ยวตระเวนไปนะ บางที่ก็ส่วนใหญ่จะไปแอบดูเค้านะ ถ้าไปนั่งเรียนเนี่ยมันยาวใช่มั้ย หลายชั่วโมงหลายวัน ส่วนมากหลวงพ่อเป็นคนใจเราว่องไวหน่อย เราไปแอบดู ดูตัวอาจารย์นั่นแหล่ะดีที่สุดเลย ดูเวลาอาจารย์เค้าภาวนานะ ก็จะโอ้ เข้าใจรวดเร็ว

นี้ไปเห็นหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อเทียนนี้เนี้ยบจริงๆ ลูกศิษย์หลวงพ่อเทียนที่เยี่ยมมากๆก็หลวงพ่อคำเขียนนี่แหล่ะ

งั้นถ้าใจเรามีสัมมาสมาธิ มันจะตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าเห็น ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นเลย ทุกอย่างเนี่ยไม่ใช่ตัวเรา แต่ถ้าใจเราไม่มีสัมมาสมาธิ ไม่ตั่งมั่น ไปดูอะไรมันก็จะเป็นเราไปหมดเลย เห็นความโกรธเกิดขึ้น มันก็เป็นเราโกรธ เห็นขามันเมื่อย ก็เป็นขาของเราเมื่อย จะเป็นอย่างนี้ตลอด

เพราะนั้นเวลาที่เราใจเราไม่ตั้งมั่น ไปรู้สิ่งต่างๆนะ เราจะสะสมความรู้สึกผิดๆ ความเห็นผิดๆตลอดเวลาเลย สะสมว่ามันมีตัวเรา มันมีตัวเรา แต่ถ้าเรามีสติถูกต้องที่เรียกว่า”สัมมาสติ” มีสมาธิถูกต้องเรียกว่า”สัมมาสมาธิ”นี่ ปัญญาที่เกิดขึ้นจะเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นปัญญาที่ถูกต้อง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันวันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๑
File: 500520.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บุญที่ใหญ่ที่สุดคืออะไร?

mp 3 (for download) : บุญที่ใหญ่ที่สุดคืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
ขอขอบคุณ ภาพจากงาน “ธรรมะกลางเมือง”

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความดีทั้งหลายนะ มีหลายระดับ การทำทานก็เป็นความดี รักษาศีลก็เป็นความดีนะ เห็นคนอื่นเขาทำดีแล้วดีใจกับเขาก็เป็นความดี เรียกว่าอนุโมทนา อนุโมทนาดีตรงไหน ดีตรงแก้ริษยาได้ เห็นเขาดีแล้วอิจฉาเขา แต่ถ้าดีใจกับเขาด้วยเขาดี อะไรอย่างนี้ เป็นบุญ

ฟังธรรมก็เป็นบุญนะ ฟังธรรมก็เป็นบุญ แสดงธรรมก็เป็นบุญ อุทิศส่วนบุญก็เป็นบุญ อนุโมทนาส่วนบุญของคนอื่นก็เป็นบุญ บุญนั้นมี ๑๐ อย่างนะ มีชื่อเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง มีทาน มีศีล มีอะไรอย่างนี้เป็นบุญทั้งนั้นนะ ทำสมาธิอะไรอย่างนี้นะ

แต่บุญที่เหนือบุญธรรมดานะ บุญที่เลิศที่สุดเลย คือบุญที่ประกอบด้วยสติปัญญา เป็นบุญใหญ่ บุญที่ไม่ประกอบด้วยสติปัญญาเนี่ย เป็นบุญธรรมดา พาเราเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิที่ดี แต่บุญจากการเจริญสติปัญญานั้นน่ะ จะพาเราข้ามภพข้ามชาติได้ นั่นเป็นบุญที่ใหญ่ที่สุด

เพราะฉะนั้นการที่เราจะมาฝึกวิปัสสนากรรมฐานนั้น มาแยกรูปแยกนาม เห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม นี่คือบุญที่ใหญ่ที่สุดเลยนะ ที่มนุษย์อย่างพวกเราจะทำได้

บางคนหวังว่าวันหนึ่งจะมีพระเข้านิโรธสมาบัติ ใครเคยคิดเรื่องนี้บ้าง ถ้าพระเข้านิโรธนะ ออกจากนิโรธเราจะมาดักทำบุญ ดีมั้ย ดี ผลบุญจะให้ผลเร็วมากเลย ในวันนั้นจะให้ผลรวดเร็วเลย แต่บุญอย่างนั้นนะเป็นบุญอยู่กับโลก เราต้องมาทำบุญข้ามโลกให้ได้ เหนือโลกให้ได้ โลกนี้มันทุกข์ เราต้องเจริญสติเจริญปัญญาให้มาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
Track: ๖
File: 550909B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๑๓ ถึง ๘ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พละ ๕ (๕) เราต้องพัฒนากำลังให้แก่กล้าพอ จึงจะล้างกิเลสได้

mp 3 (for download) : พละ ๕ (๕) เราต้องพัฒนากำลังให้แก่กล้าพอ จึงจะล้างกิเลสได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
ขอขอบคุณ ภาพจากงาน “ธรรมะกลางเมือง”

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าพวกเราทำในรูปแบบนะ เราค่อยๆพัฒนาไปเรื่อย กำลังของศรัทธาเราก็จะแก่กล้าขึ้น กำลังของวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะแก่กล้าขึ้น ถ้ากำลังของเราแก่กล้าพอเนี่ย มันจะล้างกิเลส มันจะมีพลังไปล้างกิเลสได้ ถ้าเรา มัวแต่ท้อแท้ หดหู่ ท้อถอยนะ ป้อๆแป้ๆไปวันหนึ่งๆ เราสู้กิเลสไม่ไหวหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย ๑๔
หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๖
File: 560120.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๕ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พละ ๕ (๔) สติ สมาธิ ปัญญา

mp 3 (for download) : พละ ๕ (๔) สติ สมาธิ ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
ขอขอบคุณ ภาพจากงาน “ธรรมะกลางเมือง”

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติก็เหมือนกันต้องซ้อมทุกวัน ที่หลวงพ่อบอกให้ทำในรูปแบบนะ ไม่ใช่แค่ได้ศรัทธาได้วิริยะนะ จะได้สติด้วย หายใจเข้า”พุท” หายใจออก”โธ” อะไรก็ทำไปนะ ถ้าจิตไหลไปแล้วรู้ รู้ทันจิตใจของเราไปเรื่อย เกิดสุขก็รู้ เกิดทุกข์ก็รู้ เกิดกุศลก็รู้ เกิดอกุศลก็รู้ ร่างกายหายใจออกก็รู้ ร่างกายหายใจเข้าก็รู้ ร่างกายเดินไปก็รู้ ร่างกายหยุดนิ่งก็รู้ ดูอยู่ในกาย ดูอยู่ในใจ ระลึกรู้กาย ระลึกรู้ใจให้มาก สติของเราก็จะแก่กล้าขึ้น

ถ้าเราไม่ทำในรูปแบบเลย เดินไปรู้สึกบ้าง เผลอไปบ้างนะ เผลอนานกว่ารู้สึกอีก กำลังของสติก็พัฒนายาก งั้นการทำในรูปแบบเนี่ย ไม่ใช่เรื่องเล็กๆนะ เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเราทำได้นะ ศรัทธาของเราก็จะเพิ่มขึ้น วิริยะก็จะเพิ่มขึ้น สติก็จะเพิ่มขึ้น

หรือเราเดินจงกรมนั่งสมาธิ แล้วจิตเราเคลื่อน เราเห็น สมาธิของเราจะเพิ่มขึ้น จิตใจจะกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว

แล้วการปฏิบัติในรูปแบบ ถ้าวันไหนกำลังของเราพอ จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ เราก็ดูธาตุดูขันธ์เลย แยกกายส่วนกาย จิตส่วนจิต ความสุขความทุกข์ก็แยกออกไป กุศลอกุศลก็แยกออกไป จิตเป็นคนดู สุดท้ายมันก็เกิดปัญญานะ เห็นเลยร่างกายที่หายใจออกนะ ร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน มีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเลย นั่งอยู่ก็ทุกข์ ยืนอยู่ก็ทุกข์ เดินอยู่ก็ทุกข์ นอนอยู่ก็ทุกข์ มันปวดมันเมื่อยตลอดเวลา ส่วนจิตใจก็เต็มไปด้วยความไม่เที่ยงนะ ความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง กุศลก็ไม่เที่ยง อกุศลก็ไม่เที่ยง จิตใจบังคับไม่ได้ จะสุขหรือจะทุกข์ จะดีหรือจะชั่ว สั่งไม่ได้ บังคับไม่ได้ เนี่ยคือการเจริญปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย ๑๔
หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๖
File: 560120.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พละ ๕ (๓) วิริยะ

mp 3 (for download) : พละ ๕ (๓) วิริยะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
ขอขอบคุณ ภาพจากงาน “ธรรมะกลางเมือง”

หลวงพ่อปราโมทย์ : ต้องทำทุกวันในรูปแบบ ถ้าเราอดทนอดกลั้นทำทุกวัน เหน็ดเหนื่อยแค่ไหนนะ ถึงเวลาก็ต้องปฏิบัติ ถึงเวลาต้องภาวนา ภาวนาตอนค่ำทำไม่ไหวจริงๆนะ ทำมันตั้งแต่ตื่นนอน ทำวันละหลายๆรอบ เช้าสายบ่ายเย็น ไม่มีใครมาว่าเราหรอก ทำทีละเล็กทีละน้อยก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย พากเพียรเข้านะ อดทน

ทีแรกการลงมือปฏิบัตินะ จะไปนั่งสมาธิ ไปทำอะไรต่ออะไรนะ มันฝืนความรู้สึก ฝืนความขี้เกียจขี้คร้าน ฝืนความท้อแท้ท้อถอยของเรา พอเราทำมากขึ้นๆ ใจเรามีกำลังขึ้นพัฒนาขึ้น เราจะขยันมากขึ้น เพราะเราเห็นคุณเห็นประโยชน์ของการปฏิบัติ วิริยะมันจะมากขึ้นๆ

เพราะงั้นเบื้องต้นบางทีหลวงพ่อขอ บอกขอ ๑๐ นาที ถ้า ๑๐ นาทีพวกเราทำได้นะ ต่อไปจิตของเรามีความสุข มีความสงบ มีเรี่ยวมีแรงนะ มันจะเพิ่มของมันเอง มันอยากเพิ่ม หลวงพ่อขอ ๑๐ นาที ขอแถมให้อีกชั่วโมงนึงนะ อย่างนี้มีเยอะเลยเดี๋ยวนี้ บางคนภาวนาตั้งหลายชั่วโมงนะวันนึง อันนั้นถ้าเค้ามีเวลานะ ถ้าไม่มีเวลา (ทำ) ๑๐ นาทีอย่าให้ขาด ถ้าทำได้ทุกวันเนี่ย วิริยะ พลังของความเพียรของเรา จะแก่กล้าขึ้น เวลาตั้งใจจะทำอะไรแล้วเนี่ย ถ้าเป็นสิ่งที่ดีงามนะ ไม่ท้อถอย ลำบากแค่ไหนก็ทำ ถึงจะเจ็บจะป่วยก็ทำ

หลวงพ่อพุธเคยเล่าให้หลวงพ่อฟังนะ ว่ามีพระองค์นึง พระเนี่ยปกติท่านมีข้อวัตรที่ต้องทำ อย่างไปกวาดวัด ต้องกวาดวัด ต้องทำความสะอาดกุฎิเสนาสนะอะไรเนี่ย พระต้องทำ พระปล่อยให้กุฎิสกปรกเนี่ย ปล่อยวัดสกปรกเนี่ยผิดมากเลย ไม่/ถือว่าไม่เคารพพระธรรมวินัย เนี่ยมีพระอยู่องค์นึง ท่านก็รักษาข้อวัตรอย่างดี รักษากุฎิวิหารศาลาอะไร รักษาถนนหนทางสะอาด นี่ท่านป่วยจนลุกไม่ขึ้นนะ ป่วยจนลุกไม่ขึ้นเนี่ย ท่านนอนอยู่ กระดิกตัวก็จะไม่ไหวอยู่แล้ว ใกล้จะมรณภาพแล้ว พอถึงเวลากวาดวัดเนี่ย ท่านลุกขึ้นมาไม่ได้ ท่านกำหนดจิตของท่าน ท่านลูบข้างๆที่นอนของท่าน ท่านเคลื่อนไปได้แค่นี้แล้วนะ ท่านกำหนดจิต ว่าเนี่ยท่านกำลังทำข้อวัตรอยู่ กำลังทำความสะอาด สุดกำลังที่จะทำแล้วนะ ได้แค่นี้ แล้วยังรักษาข้อวัตรไว้เลย นี่วิริยะสูงนะ เนี่ยหลวงพ่อพุธเคยเล่าให้ฟัง โอ้โห บอกใจเด็ด

อย่างมีสมัยพุทธกาลก็มีนะ เป็นตัวอย่าง ท่านเดินจงกรม เดินจนเท้าแตก เดินไม่ได้ท่านคลาน คลานจนหัวเข่าแตก ไม่ทิ้งข้อวัตรนะ หัวเข่าแตกคลานไม่ได้ ท่านต้องลงไปนอน ท่านก็นอนพลิกซ้ายพลิกขวาไปเรื่อยนะ ถือว่ากำลังเดินจงกรมอยู่ เห็นมั่ยท่านไม่ยอมท้อถอยเลยนะ มีวิริยะมาก

ถ้าเป็นพวกเรา เดินจนเท้าแตก เราก็ไม่เอาแล้วเนอะ เท้าแตกไม่ได้เท้าของเราเจ็บนี่ ให้ไปคลานหัวเข่าแตก ยิ่งไม่เอาใหญ่ เดี๋ยวหัวเข่าด้านไม่สวย ไปโน่นซะอีก เนี่ยความเพียรนะ ถ้าเราตั้งใจทำ แล้วเราทำสม่ำเสมอ กำลังของความเพียรจะมากขึ้นๆ ถ้าเราท้อแท้หดหู่เมื่อไหร่ กำลังจะตก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย ๑๔
หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๖
File: 560120.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 2 of 3123