Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จิตจะเสื่อมหรือเจริญก็ต้องภาวนาไปเรื่อย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: 451117B_decay2

หลวงพ่อปราโมทย์: พยายามจะให้มันดีทุกวัน กะว่าถ้ามันดีตลอดยาวๆ วันนึงเราจะรู้ธรรม ไม่รู้หรอก คนละเรื่องเลย ถ้าขืนมันดีตลอดนี่ซวยตายเลย ต้องใช้คำนี้ เพราะเราจะเกิดความหลงผิดว่าจิตนี้เป็นตัวตนของเรา บังคับได้ แต่งเอาได้ตามใจชอบ

แต่จิตมันไม่ยอมแมว (โยมผู้ส่งการบ้านหลวงพ่อ – ผู้เรียบเรียง) หรอก มันก็จะเป็นไปตามที่มันเป็นน่ะ คือเจริญแล้วเสื่อมๆ ผู้ปฏิบัติก็ตกใจ พอเสื่อมแล้วตกใจ ดิ้นใหญ่ ดิ้นพราดๆๆๆ หาทางแก้ใหญ่ แก้ไปแก้มามันดีขึ้นมาอีก โอ๊ย ฉันแก้เก่ง ความจริงไม่ต้องแก้มันก็ดีเองแหละ เพราะว่าไอ้เสื่อมมันก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน พอมันดี โอ๊ยรักษาๆ รักษายังไงก็เสื่อมอีก เพราะมันของเสื่อม

เพราะฉะนั้นจับหลักให้ดี ทำความเข้าใจให้ดี เราจะเฝ้ารู้มันแต่ละวัน วันนี้จิตเจริญรู้ว่าเจริญ เจริญแล้วเกิดภูมิใจรู้ว่าภูมิใจนะ กิเลสหลอกต่อละ วันนี้จิตเสื่อม รู้ว่าจิตเสื่อม เสื่อมแล้วเศร้าหมองก็ถูกหลอกอีกละ

ทำไปเรื่อยเลย จะเห็นแต่เจริญแล้วเสื่อมๆ ถึงจุดนึงเนี่ย ใจเรายอมรับความจริงว่าขันธ์ห้าโดยเฉพาะตัวจิตเนี่ย เป็นของที่บังคับไม่ได้หรอก นั้นน่ะคือการเข้าใจธรรมะจะเกิดขึ้นมา ต้องทำความเข้าใจตัวนี้นะ ตัวนี้ตัวสัมมาทิฐิ ให้เห็นสภาพธรรมทั้งหลายเนี่ยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รวมทั้งจิตของเราด้วย

เพราะฉะนั้นแมวเดินจงกรมไป ทำแล้วเดินไป จิตเจริญก็เดิน เสื่อมก็เดิน เหมือนหลวงพ่อชาสอนน่ะขยันก็ปฏิบัติ ขี้เกียจก็ปฏิบัติ แต่บางคนเจ้าเล่ห์พอได้ยินหลวงพ่อสอนบอกว่าจิตเจริญแล้วเสื่อมๆนะ เขาก็เดินจงกรม 3 วัน เจริญละ ตอนนี้ไม่เดินขอไปเที่ยวก่อน เดี๋ยวมันต้องเสื่อมอีก ฉันจะดูว่ามันจะเสื่อมยังไง อย่างนี้ไม่ได้กินหรอก เพราะว่าจิตมันจะเกิดความสำคัญผิดเข้าไปอีกว่าถ้าเราทำมันก็เจริญ มันเสื่อมเพราะเราไม่ทำต่างหากล่ะ เพราะฉะนั้นมีหน้าที่ทำให้สม่ำเสมอนะ เดินไปเรื่อยๆ เดินไป จะเดินจะยืนจะนั่งอะไรก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันมันไปเรื่อย มันมีความสุข มันมีความทุกข์ มันเจริญมันเสื่อมรู้มันไปเรื่อยๆ เจริญกะเสื่อมมันเป็นธรรมะที่เท่าเทียมกันนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑
File: 451117B
ระหว่างนาทีที่ ๘วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเก่งแค่ไหนจิตก็ต้องเสื่อม (เป็นอกุศล)

Mp3 for download: 451117B_decay

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: มาเล่าบอกกรรมฐานมันเสื่อม  เคาะๆไปแล้วจิตมันเสื่อมไปเนี่ยนะ หาทางแก้มาเป็นปีๆ แก้ไม่ตกหรอก บอกอ๋อ แก้ยังไงก็ไม่ตกหรอก ที่จริงเนี่ยเคาะไปเนี่ยนะ เคาะกระทบๆไป จิตตื่นขึ้นมาละ ต่อมากระทบอยู่อย่างเก่าเนี่ย จิตเสื่อม จิตแสดงธรรมะให้ดูแล้วว่าจิตเป็นของที่บังคับไม่ได้ เจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ว่าเราไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง พอเจริญแล้วเราก็ดีใจใช่มั้ย ทั้งๆที่ทำอย่างเดิมมันเสื่อมได้นี่ เสื่อมคราวนี้ไม่พอใจละ หาทางแก้ไขจะไม่ให้เสื่อม นี่กำลังทำอะไร เหมือนคนที่หาทางจะไม่ตายน่ะ เกิดแล้วจะไม่ตายน่ะ พอมันแก่ลง ตีนกาขึ้น โอ๊ยทำยังไง  ทำอะไรไม่ได้ก็ไปหลอก ดึงเอา แก้จากข้างในไม่ได้แล้วนี่

จิตก็เหมือนกัน มันเจริญได้ก็เสื่อมได้ ถ้าเข้าใจธรรมชาติตรงนี้ปั๊บนะ ไม่ยึดมั่นในความเสื่อม จิตก็ผ่านไปเลย ง่ายนิดเดียว ทีนี้พอมาเสื่อม ตกใจ ตกใจหาทางแก้กรรมฐานใหญ่ ยิ่งแก้ยิ่งไปสิ เพราะยิ่งปรุงแทนที่จะรู้ ก็เลยไม่ตื่นเลย เพราะฉะนั้นนักปฏิบัตินะ ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนนะ จิตก็ต้องเสื่อม

รู้จักหลวงตามหาบัวมั้ย เรอะ เป็นเพื่อนกับท่านเรอะถึงรู้จัก หรือว่าแค่เคยเห็น อ้อเคยเห็นท่าน บอกว่ารู้จัก หึๆ หลวงตานะ ท่านจะเป็นพระอรหันต์หรือไม่เป็นอะไรนี่ก็เรื่องของท่าน ไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ เดี๋ยวท่านเป็นจะเดือดร้อน ท่านบอกว่าตอนที่ท่านอาจารย์มั่นสิ้นเนี่ย  ท่านไม่มีอาจารย์ละต้องช่วยตัวเอง ท่านก็ไปปฏิบัติอยู่บนดอยธรรมเจดีย์

จิตของท่านเนี่ยเป็นผู้รู้ รู้ตัวอยู่ได้ตลอดเลย ท่านก็พยายามรักษาความรู้สึกตัวนี้้ไว้ รักษาตัวรู้ไว้ รู้ตัวไปเรื่อยไม่ให้เผลอไม่ให้หลงน่ะ จิตใจไม่เศร้าหมองเลย รู้หมด อะไรกิเลสอะไรมา เห็นหมดเลย รู้มาแล้วดับไปหมด ท่านก็พยายามจะรักษาจิตผู้รู้ให้มันอยู่ตลอดไป

วันหนึ่งท่านเริ่มสังเกตว่าจิตผู้รู้มันไม่เที่ยง มันหมองๆได้อีก พยายามทำยังไงมันก็ยังเสื่อมได้ พอรู้ว่ามันเสื่อมได้นะ หาทางแก้ยังไงก็ไม่สำเร็จนะ วันนึงก็เฉลียวใจขึ้นมาว่า โอ้ จิตมันเป็นอนัตตานี่ บังคับมันไม่ได้นี่ พอเห็นว่าจิตเป็นของบังคับไม่ได้ เลิกคิดที่จะบังคับมัน เลิกคิดที่จะให้มันดีตลอด มันจะเป็นยังไงเรื่องของมันต่างหากล่ะ ท่านปล่อยวางจิตนะ ท่านบอกว่า ตอนนั้นท่านหลุดพ้นเลย

เพราะฉะนั้น ความหลุดพ้นเนี่ยไม่ได้เกิดจากการที่เราฝึกจิตของเราให้ดี ดีจนเที่ยง ดีถาวร ไม่ใช่ แต่เกิดจากการที่เราเข้าไปเห็นความจริงของธรรมชาติ ของขันธ์น่ะ ขันธ์ห้าทั้งหมด รวมทั้งจิตด้วย มันอยู่ในวิญญาณขันธ์น่ะ ว่ามันเจริญแล้วเสื่อมๆ พอเห็นความจริงแล้วปล่อยวาง แล้วถึงจะหลุดพ้น ความหลุดพ้นเกิดจากการปล่อยวาง ความหลุดพ้นไม่ได้เกิดจากการทำสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เที่ยง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑

File: 451117B
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

mp3 (for download): ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

โยม : กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ จิตของหนูมันกลัวหลวงพ่อมาก เมื่อตะกี้นี้หลวงพ่อเทศน์ มันสั่นกลัวไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ได้กลัวหลวงพ่อหรอก กลัวต้องส่งการบ้าน

โยม : หนูไปภาวนาที่เชียงดาวมา 6 อาทิตย์ เพิ่งกลับมาค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้หนูเห็นแล้วว่า ถ้าเกิดเมื่อไหร่เรามีความคิด เมื่อนั้นเรามีตัวตน เมื่อไหร่ที่เราอยู่กับ.. มันจะเป็นว่างหลังจากที่เราคิดแล้ว ตรงนั้นไม่มีตัวตน ไม่มีสุขทุกข์ มันไม่มีเราอยู่ในนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าไปเอา ว่างตัวนี้ไม่เอานะ ว่างตัวนี้ยังใช้ไม่ได้ มันเป็นว่างที่คู่กับวุ่น ว่างได้ก็ยังวุ่นได้อีก เป็นภพๆหนึ่งที่จิตของเราไปสร้างขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปติดอยู่ในภพนี้นะ ถ้าสติปัญญาไม่พอเราจะรู้สึกมีความสุขนะ แต่จริงๆแล้วไม่ดีหรอก

เราต้องอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมกันนะ จิตปรุงแต่งเราก็อยู่ได้เท่าเทียมกันกับจิตว่างๆ ว่างก็ปรุงแต่งอีกแบบหนึ่ง ความปรุงแต่งมี 3 แบบนะ ปรุงแต่งฝ่ายชั่วเรียกว่าอปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่ฝ่ายดีเรียกว่าปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งว่างๆเนี่ยเรียกอเนญชาภิสังขาร รากเหง้าอันเดียวกันเลยคืออวิชา อย่าเอาตัวนี้เป็นที่พึ่งที่อาศัยนะ ไม่งั้นจะหนีโลก

โยม : แล้วเวลาที่จิตของเราเข้าไปอยู่ตรงนั้นสักพักหนึ่ง แล้วมันก็ถอยออกมา คือเหมือนกับว่า มันจะมีความคิดแทรกเข้ามาอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละ จิตมีหน้าที่คิดนะ กระทั่งจิตพระอรหันต์ก็คิด ทำไมไม่มีตัวตนล่ะ ทำไมไม่มีความทุกข์ล่ะ เพราะฉะนั้นตัวที่ชี้ขาดว่าจะทุกข์หรือไม่ทุกข์นี้ ไม่ใช่คิดหรือไม่คิดหรอก แต่เข้าใจหรือไม่เข้าใจต่างหาก

โยม : คือเรารู้มันลงไปว่าตรงนั้นมันเป็นแค่ภพๆหนึ่งหรือคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ๆ หนูรู้ ดูไปนะ ว่างๆนั้นเป็นภพๆหนึ่งเท่านั้น เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้นะ ภพตัวนี้ชื่อ อากาสานัญจายตนะ ภพตัวนี้ แล้วสังเกตดูภพตัวนี้มีจิตเป็นคนดู ถ้ามาสังเกตที่สิ่งที่ถูกรู้เนี่ย จะเป็นความว่าง ถ้ามาสังเกตที่จิต มีจิตเป็นคนดู ถ้าจงใจอยู่ในว่าง ติดอยู่ในว่าง ก็ติดอยู่ในอากาสานัญจายตนะ ถ้าจงใจมาจับเอาตัวจิตตัวผู้รู้นี้ เป็น วิญญาณัญจายตนะ ถ้ายังเห็นว่า ว่างเอาไว้ก็ทุกข์ จิตเอาไว้ก็ทุกข์ ทิ้งสองตัวนี้ จงใจนะทิ้งสองตัวนี้ ชื่ออากิญจัญญายตนะ

โยม : มันยากหมดเลยหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงอยู่ตรงนั้น ใครมาเรียนกับหลวงพ่อแล้วว่างๆก็เสร็จหลวงพ่อหมดน่ะ เราไม่เอา ครูบาอาจารย์สั่งนะ ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย หลวงปู่ดูลย์ก็สอนนะ สอนบอกว่า เพิกรูปถอดก็ถึงความว่าง เพิกความว่างถึงจะถึงมหาสุญญตา ต้องไม่ติดความว่างนี้อีก ถ้าติดความว่างนี้ก็ปล่อยมันไม่ได้

โยม : ถ้าอย่างนั้น เวลาที่เราเข้าไปเห็นตัวนี้ เราควรทำอย่างไรคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็เหมือนเราเห็นหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่ง

โยม : ไม่ต้องให้ค่ามัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตให้ค่า รู้ว่า(จิต)ให้ค่า ไม่มีคำว่า “ต้อง” ให้รู้อย่างที่มันเป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๐๘ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

mp 3 (for download) : ภาวนาแล้วติดว่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

โยม : ทุกครั้งที่ทำก็จะมี รู้สึก เหมือนเจอแต่ที่ว่างน่ะครับ แบบไม่ได้รู้สึกอะไรมากเท่าไหร่

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าอยู่ๆดูลงไปทีไรก็ว่าง ยังจงใจดูอยู่ เลิกปฏิบัติซะ แล้วให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา พอกระทบแล้วปล่อยให้จิตใจเกิดความรู้สึก ปฏิกริยาทั้งหลายเนี่ย รู้สึกขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน อย่าไปจงใจปฏิบัติด้วยการทำความรู้สึกตัวไว้ตลอดเวลา ถ้าจงใจทำความรู้สึกตัว มันจะเหมือนแกล้งรู้สึกนะ จะรู้สึกๆตลอดเวลาเลย จะกลายเป็นการเพ่งเอาไว้ จะโล่งๆ ใจมันจะโล่งๆไม่มีอะไร แต่ถ้าเราไม่ได้เจตนาจะรู้สึกเนี่ย เผลอๆไป เห็นคนนี้ก็ดีใจ เดินๆอยู่งูเลื้อยผ่านมาแล้วตกใจ มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา

ของคุณมันเป็นประคองไว้นิดนึง มันก็เลยเฉย คอยดูนะ สังเกตมั้ย เรายังจงใจรักษาจิตไว้ อย่ารักษามัน เราไม่มีหน้าที่รักษาจิตนะ หน้าที่ของการรักษาจิตเป็นหน้าที่ของสติ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ทันทีที่สติเกิดเนี่ย สติจะรักษาจิตโดยอัตโนมัติ รักษาอย่างไร ถ้าจิตในขณะนั้นเป็นอกุศลอยู่ อกุศลจะดับ รักษาอย่างไร อกุศลจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ในขณะที่มีสติ รักษาอย่างไร ทันทีที่มีสติ จิตก็เกิดกุศลเรียบร้อยแล้ว แล้วก็กุศลจะเกิดมากขึ้นๆ สติจะเกิดได้เร็วขึ้นๆนะ

เพราะฉะนั้นสตินั่นแหละมีหน้าที่รักษาจิต เราไม่มีหน้าที่รักษา ถ้าเมื่อไหร่เราคิดจะรักษาจิต อยากรู้สึกตัวตลอดเวลาเนี่ย เราจะไปเพ่งจิต มันเลยกลายเป็นการเพ่ง ไม่ใช่การรักษาจิตอะไรหรอก กลายเป็นการเพ่งให้จิตนิ่งๆ อย่าไปรักษามันอย่างนั้น ให้หัดฝึกไปจนสติเกิด แล้วสติก็รักษาจิตของเขาเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๔
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตพระอรหันต์ไม่ไหลไป โดยที่ไม่ต้องบังคับไว้

mp3 for download: จิตพระอรหันต์ไม่ไหลไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราหัดสังเกตการปฏิบัติ มันไม่มีอะไรมากหรอกนะ ให้สังเกตใจของเราไว้ให้ดี ใจของเราทำงานสองแบบ แบบหนึ่งคือไหลไป ไหลไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไหลไปหาอารมณ์ตลอดเวลา คนทั้งโลกและก็สัตว์ทั้งหลาย ยกเว้นพวกพระพรหมณ์นะ คนทั้งโลกและสัตว์ทั้งหลายยกเว้นพระพรหมณ์ จิตมันไหลไป เดี๋ยวก็หลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกาย หลงไปรู้อารมณ์ทางใจ หลงไปคิด ไปนึก ไปปรุง ไปแต่ง นี่ คนทั่วๆไป สัตว์ทั่วไปเป็นอย่างนี้ เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น ทำไมมันต้องไหลไป เพราะมันหิว มันหิวอารมณ์ มันอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย สัมผัสทางใจ อยากได้สิ่งเหล่านี้ ได้มาเป็นอาหารหล่อเลี้ยงความเป็นตัวเป็นตน เรากลัวว่าตัวเราจะหายไปจากโลก ออกไปสัมผัสสิ่งต่างๆนะเป็นอาหารมาหล่อเลี้ยงความเป็นตัวเป็นตน เหมือนร่างกายนี้กินข้าว ใจก็เที่ยวหิวอารมณ์ ร่างกายกินอาหารนะใจก็กินอารมณ์เพื่อจะหล่อเลี้ยงตัวเองไว้ มันกลัวตัวเองหายไป เพราะอย่างนั้นถ้าเราสังเกตให้ดีไม่ว่าเราจะทำอะไร เราจะคิด เราจะทำ เราจะพูดนะ เบื้องลึกที่อยู่ข้างหลังก็คือ เพื่อเสริฟ (Serve) อัตตาตัวตัน ส่งเสริมอัตตาตัวตน รักษาอัตตาตัวตน เราหวงตัวเอง นี่คนทั้งโลกเป็นอย่างนี้ สัตว์ทั้งโลกเป็นอย่างนี้ งั้นจิตใจจะแส่ส่ายตลอดเวลา มันส่ายไปก็มีแรงผลักดันที่เรียกว่า ตัณหา ผลักดันใจให้วิ่งไปที่โน้น วิ่งไปทางนี้ วิ่งไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิ่งไปเพราะมันหิว มันก็เลยอยากวิ่ง อยากได้ มันหิวอารมณ์ อยากจะเสพเวทนานั่นแหละ มันก็เลยเกิดตัณหา มันอยากได้เวทนา อยากเสพอารมณ์ อารมณ์นั้นนำความสุขมาให้ ก็อยากได้สุข จิตใจก็เกิดตัณหา เกิดแรงดิ้น ทะยานออกไป จิตใจอยากจะหนีความทุกข์นะจิตใจก็ดิ้นออกไป ดิ้นออกไปเรื่อยๆ มีความสุขเพื่อตัวเราจะได้มีความสุข หนีความทุกข์เพื่อตัวเราจะได้พ้นทุกข์ ลึกๆเลยตัวเรา

อีกพวกหนึ่งเห็นว่าจิตดิ้นไปเรื่อยๆไม่ดี ก็เลยเพ่งเอาไว้ ไม่อยากให้มันไหลไปก็เพ่งเอาไว้นะ จิตพระอรหันต์นะไม่ไหลไปโดยที่ไม่ต้องเพ่งเอาไว้ นี่ ความประหลาดอยู่ตรงนี้ จิตของคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์นะ มันจะไหลไป ถ้าจะไม่อยากให้ไหลไปก็ต้องเพ่งเอาไว้ กดมันไว้ให้นิ่งๆ ไม่ให้มันไหล คล้ายมันยังมีแรงดิ้น เมื่อมันมีแรงดิ้นนะก็ไปกดมันเอาไว้ ไม่ให้มันกระดุกกระดิก กดมันเอาไว้ ถ้าดิ้นแล้วมันไปหาอารมณ์มามันไม่ชอบเดี๋ยวกลัวว่ามันจะมีความทุกข์ สู้ใจนิ่งๆไม่ได้ นี่พวกนักปฏิบัติทั้งหลายก็คือพวกนักกดจิตกดใจ กดกาย ไม่กดใจก็กดกาย เพ่งกายเพ่งใจ บังคับกายบังคับใจเพราะกลัวจิตมันไหลไป หาความทุกข์มาใส่ตัวเอง อยากให้มันนิ่ง นี่โดยสัญชาตญานเลย ทันทีที่คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไรนะก็บังคับตัวเองให้นิ่งเมื่อนั้น อย่างคุณที่อยู่วัดนี่ ก็บังคับตัวเองให้นิ่ง เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายนะจิตมันไหลไปอย่างเดียว ส่วนผู้ปฏิบัตินี่เห็นว่าจิตมันไหลไปแล้วก็ไปบังคับให้มันนิ่ง งั้นจิตมันเลยมีสองแบบ ไม่ไหลไปก็นิ่งๆ กดเอาไว้ ถ้าไม่ไหลก็ต้องกด ไม่ไหลก็ต้องกด แต่สำหรับพระอรหันต์แล้วจิตไม่ไหลไปโดยที่ไม่ต้องกด ไม่มีงานต้องทำ ไม่มีงานต้องระวัง ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องเจริญสติ ถ้าจิตมันไม่ไหลไปเอง ทำไมจิตมันไม่ไหลไป เพราะจิตมันฉลาด จิตมันมีปัญญามันรู้รูป รู้นาม รู้กาย รู้ใจ รู้อายตนะภายในภายนอก รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแต่ทุกข์ล้วนๆ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของเป็นทุกข์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของเป็นทุกข์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ บางคนเค้าแบ่งอย่างนี้ก็เป็นทุกข์อีก อะไรๆ ก็ทุกข์หมดเลย ฐาตุ 18 ก็เป็นทุกข์ แล้วแต่จะมองนะ แต่แจ่มแจ้งในกองทุกข์นั่นเอง คนที่เป็นพระอรหันต์นะคือคนที่แจ่มแจ้งในกองทุกข์ รู้เลย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ ความรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหมดนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวทุกข์ นี่อย่างนี้ ไม่มีอย่างอื่นนอกจากตัวทุกข์ เมื่อเห็นมันเป็นตัวทุกข์ ไม่มีตัวดี ตัววิเศษ ไม่มีช่องโหว่ที่จะรอดจากความทุกข์เลย ใจก็หมดแรงดิ้น หมดความหิวโหย ไม่รู้จะหิวทำไมมีแต่ทุกข์ เหมือนเรารู้ว่านี่เป็นยาพิษ เห็นว่านี่มันคือยาพิษ เราไม่ไปกินมัน คนทั้งหลายกินอารมณ์เข้าไป เพราะไม่รู้ว่ามันเป็นยาพิษ เพราะฉะนั้นกินอารมณ์เข้าไปที่เป็นยาพิษเข้าไป มันเลยต้องตายแล้วตายอีก เวียนว่ายตายเกิด แต่พระอรหันต์นะมีปัญญา เห็นความจริงของรูปธรรม นามธรรม เห็นความจริงของขันธ์ห้า เห็นความจริงของอายตนะภายในภายนอก เห็นความจริงของธาตุทั้ง 18 ธาตุ ธาตุ 18 มันก็คือ อายตนะภายในภายนอก และก็ความรับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมแล้วอย่างละ 6 อย่างละ 6 นะรวมกันเป็น 18 นี่ ธาตุ 18 นะ เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆนะ ทุกข์ล้วนๆนะไม่รู้จะบำรุงรักษามันไว้ทำไม ตัวจิตเองก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่เห็นจะต้องไปบำรุงรักษา ไม่เห็นจะต้องไปหวงแหนมันเลย ก็ปัดมันทิ้งไปหมดนะ สลัดมันทิ้ง ไม่ยึดถือมัน เมื่อไม่ยึดถือมันนะไม่ต้องระวังรักษามันด้วย มีปัญญาเห็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย จิตจะไม่มีการไหลไปนะ จิตไม่มีการไหลไป ไหลมานะ จิตเสถียร จิตเสถียร ไม่ไหลไป ไม่ไหลมา รู้ตื่นเบิกบาน ไม่มีงาน คือไม่ต้องไปกด ไม่ต้องไปบังคับ ไม่ต้องไปควบคุมไม่มีงานทำ ก็สบายนะ สบาย

เพราะอย่างนั้น จิตพระอรหันต์นะ ไม่ไหลไปโดยที่ไม่ต้องบังคับไว้ ส่วนจิตของผู้ปฏิบัตินะ ถ้าไม่บังคับไว้ก็ไหลไป นี่เราคิดว่าเราบังคับไว้เราจะเป็นพระอรหันต์รึ ไม่มีทางเลย ทางที่จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้ ก็คือต้องรู้ความจริงลงมาในขันธ์ห้า อายตนะ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่รู้ด้วยใจ โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มากระทบร่างกายได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นถ้ารู้แจ้งสิ่งเหล่านี้นะ เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ล้วนๆเลยมีปัญญาแจ้งนะ ใจมันจะหมดแรงดิ้น หมดการไหลไป มันจะไหลไปทางตาทำไมในเมื่อรูปไม่ใช่ของดีของวิเศษ ในเมื่อตาก็ไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันจะไหลไปทางหูทำไมในเมื่อเสียงไม่ใช่ของดีของวิเศษ หูไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันจะไหลทางใจในเมื่อ ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ใจไม่ใช่ของดีของวิเศษ เพราะฉะนั้น มันจะไม่ไหลไปเพราะมันมีปัญญาว่ามันมีแต่ทุกข์นะ ไหลไปทีไรก็มีแต่ทุกข์ ไหลไปทีไรก็มีแต่ทุกข์ ตัวขันธ์ห้า เองก็เป็นทุกข์ ไหลออกไปเสพอารมณ์ อารมณ์ทั้งหลายก็เป็นทุกข์อีก เห็นอย่างนี้ เลยไม่ดิ้นเลยหมดแรงดิ้น ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องรักษานะ เคยมีคนนึงมาถามหลวงพ่อ บอกว่า พระอรหันต์นี่คือคนที่มีสติรักษาจิตตลอดเวลาใช่มั้ย ไม่ใช่พระอรหันต์ไม่รักษาจิตต่างหาก เค้าถามอีกทีว่า พระอรหันต์ขาดสติใช่มั้ย ไม่ต้องมีสติรักษาจิตแล้วนี่ พระอรหันต์ขาดสติใช่มั้ย ไม่ใช่อีก ถ้าขาดสติมันเป็นกิเลสนะ พระอรหันต์ไม่ได้มีกิเลสนี่ พระอรหันต์ไม่ได้ขาดสติ แต่พระอรหันต์ไม่ได้เอาสติไปรักษาจิต เพราะว่าปล่อยวางจิต ไม่ต้องรักษามันทิ้งมันไปแล้ว แต่ขาดสติมั้ย ไม่ขาดสตินะ ยืน เดิน นั่ง นอน รู้สึกตลอดเลย

กระทั่งกลางคืนนี่ คนทั้งหลายฝันแต่พระอรหันต์คิด ไม่เหมือนกัน คนทั้งหลายฝันเพราะว่าเวลาใจของเราคิดนี่มันจะสร้าง อิมเมจขึ้นมาตลอดเวลา จะมีอิมเมจ มีภาพในใจขึ้นมา สังเกตมั้ยเวลาเราคิดเราจะสร้างภาพในใจขึ้นมา เวลาพระอรหันต์คิดมันจะไม่มีอิมเมจ อันนี้หลวงพ่อก็ไม่ใช่คนสังเกตเห็นคนแรกนะ นายตุลย์ ดังตฤณนะ วันหนึ่งมาคุยกับหลวงพ่อบอกว่า ผมเที่ยวสังเกตจิต ไม่บอกนะว่าจิตใคร เวลาคิดไม่มีอิมเมจ แต่สังเกตจิตอาจารย์มหาบัวก็ไม่มีอิมเมจ สังเกตจิตพระบางองค์ก็ไม่มีอิมเมจ คิดเฉยๆ คิดจากความว่าง คิดแล้วก็ว่างอยู่อย่างนั้นเอง เมื่อมันไม่มีอิมเมจแล้วก็คือ มันเหลือแต่ความคิดล้วนๆ ไม่สร้างอะไรที่เกินจากการคิดขึ้นมา ไม่มีความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีภาพใดๆ เกิดขึ้น เวลาที่คนเราฝันนั้นก็คือเวลาที่คนเราคิดนั่นเอง แต่คนเราคิดทั่วๆไปนะ เราคิดอย่างมีอิมเมจอยู่ มันก็เลยเป็นตุเป็นตะเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เวลาพระอรหันต์นอนหลับนี่ บางทีจิตก็คิด รู้ว่าจิตคิดนะ แต่ไม่มีภาพแห่งความเป็นตัวเป็นตนใดๆผุดขึ้นมาเลย คิดไม่มีรูปนะ คิดไม่มีรูป ไม่มีนาม คิดอยู่ในความว่างๆ มันไม่ทุกข์นะเพราะมันไม่ได้ยึดอะไร มันไม่ปรุงอะไร เพราะฉะนั้นพวกเรา นี่หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะ วันหนึ่งพวกเราจะเจอสิ่งที่เล่านี้ วันนี้ยังไม่เจอ แต่วันหนึ่งข้างหน้าจะเจอ ถ้าอดทนถ้าพากเพียร เจริญสติปัฏฐานไปเรื่อย มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ทำไมมีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อย ต่อไปก็จะแจ่มแจ้งเอง ทั้งกายทั้งใจทั้งรูปทั้งนาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ล้วนแต่เป็นรูปเป็นนามทั้งสิ้นเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เป็นรูปธรรม ใจเป็นนามธรรม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นรูปธรรม ธรรมารมณ์มีทั้งรูปธรรมและนามธรรม นี่มีแต่รูปธรรม นามธรรมทั้งหมดเลย เพราะงั้นแจ่มแจ้งในกองรูป กองนาม แจ่มแจ้งเพราะไม่ยึดถือมัน บางทีท่านก็เรียกรูปนามว่า โลก คำว่าโลกนะโลก ถามว่าโลกคืออะไร โลกคือรูปกับนาม บางทีท่านบอกโลกคือหมู่สัตว์ หมู่สัตว์จริงๆ คืออะไร ก็คือ รูปกับนาม พระพุทธเจ้าเป็น โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก รู้แจ้งโลก คือรู้แจ้งรูปกับนาม ไม่ใช่รู้แจ้งภูมิศาสตร์นะ คนละเรื่องกัน รู้แจ้งโลก คือ รู้แจ้งรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้นว่านี้เป็นกองทุกข์ล้วนๆ เพราะอย่างนั้นใจท่านไม่ไหลไป โดยที่ไม่ต้องบังคับไว้ แล้วท่านก็มาสอนให้คนอื่นมารู้โลกตามท่าน มารู้รูป รู้นามตามท่าน จนรู้รูปรู้นามแจ่มแจ้งเป็นพระอรหันต์ ใจก็ไม่ไหลโดยที่ไม่ต้องบังคับไว้ ใจก็ไม่ปรุงไม่แต่งนะ คิดได้ คิดนึกได้ แต่ไม่สร้างอิมเมจ ไม่สร้างความเป็นตัวเป็นตนใดๆขึ้นมา ว่าง ว่าง

สังเกตมั้ย พอหลวงพ่อหยุดพูดใจก็ไหลไป สังเกตมั้ย พอหลวงพ่อหยุดพูดปุ๊ป ใจก็ไหล ความจริงตอนหลวงพ่อพูดว่าไหลนะ ก็ไหลมาฟัง สลับกับไหลไปคิด สลับกันไปเรื่อยๆ บางทีก็ไหลมามองหน้าหลวงพ่อหน่อย ตอนหลวงพ่อหยุดพูดทีแรกนะก็ไหลมามองหลวงพ่อว่าทำไมหลวงพ่อหยุดไป พอเห็นหลวงพ่อฉันน้ำนะ ตอนนี้ได้โอกาสแล้ว ไหลไปคิด เห็นมั้ย จิตจะไหลไปเรื่อยๆ ให้รู้ทันนะ ไม่ใช่ให้บังคับให้นิ่ง อย่าไปบังคับให้นิ่ง อย่าไปกำหนด ถ้ากำหนดนั้นแหละ คือการบังคับ กำหนดเป็นภาษาเขมร กำหนดไม่ใช่ภาษาบาลีนะ กำหนดเป็นภาษาเขมร แปลว่ากดเอาไว้ กด กดเอาไว้ ข่มเอาไว้ ไม่ใช่การเจริญสติ เพราะฉะนั้น เราชอบพูดกันติดปากนะ กำหนดรู้รูป กำหนดรู้นาม ไปกำหนดทำไม กำหนดแปลว่ากด ให้ระลึกรู้รูป ระลึกรู้นาม นี่ ระลึกรู้ไม่ใช่ให้กด ระลึกรู้คือสติมันทำหน้าที่ระลึก กดนี่ กดไว้ข่มไว้มันทำด้วยกิเลส เพราะอย่างนั้นเราระลึกรู้นะ เราระลึกรู้ไป ระลึกรู้รูปธรรม นามธรรม มีเงื่อนไขอันหนึ่ง ระลึกด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง สักว่ารู้สักว่าเห็น จิตมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่น ถ้าเรามีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ มีสัมมาสมาธิ ใจตั้งมั่นในการรู้การเห็น เราจะเห็นรูปอยู่ห่างๆ อย่างร่างกายนี้เราเห็นร่างกายอยู่ห่างๆนะ จิตอยู่ต่างหาก ร่างกายอยู่ต่างหาก มีช่องว่างมาคั่น นี่คนเห็นตรงนี้มีเป็นพันๆแล้วนะที่เรียนกับหลวงพ่อ เราจะเห็นว่าเวทนาทั้งหลายกับจิตนะมีช่องว่างมาคั่น เวทนากับจิตไม่ได้เข้าไปแนบกันนะ จิตก็ไม่ได้เข้าไปแนบในกาย จิตไม่ได้เข้าไปแนบในเวทนา จิตไม่แนบในกุศล อกุศล การที่จิตมันไม่เข้าไปแนบนะ โดยที่เราไม่ได้จงใจบังคับนี่เรียกว่าจิตมันมีความตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่น จิตที่เข้าไปแนบเข้าไปเกาะอารมณ์นี้ไม่เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ เรียกว่ามิจฉาสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ต.ท่าพระ
อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอังคารที่ ๒๒ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510422

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ ต่ออารมณ์

mp3 (for download) : ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม :นมัสการค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้ก็คือฝึกหัดตามดูอารมณ์นะคะ ก็คือส่วนใหญ่จะรู้ว่าหลงไปคิดค่ะ แต่อารมณ์อื่นจะเฉยๆ จะไม่ค่อยรู้สึกค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฉยเพราะเราไปประคองใจให้นิ่งหรือเปล่า?

โยม : ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้ามันเฉยเพราะว่าเรารักษาจิตเอาไว้นะ ใช้ไม่ได้  แต่ถ้าเฉยเพราะปัญญา ถึงจะใช้ได้ แต่เฉยเพราะปัญญาเนี่ย ต้องฝึกกันช่วงหนึ่ง เช่น มันเห็นว่าสุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วก็ชั่วคราว อะไรอย่างนี้ เห็นอย่างนี้บ่อยๆนะ ใจจะเป็นกลาง

ของคุณตอนนี้มันมีการกดอยู่นิดนึงนะ ถ้านิ่งถ้าเฉยเพราะตรงนี้ ละเพ่งเอา ยังเพ่งอยู่ แต่ว่ามาเพ่งเพราะว่ากลัวหลวงพ่อตอนนี้แหล่ะ อยู่ข้างนอกก็เพ่งน้อยกว่านี้

ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ แล้วตามดู การภาวนานะ ปลดปล่อยตัวเองออกมา  ปลดปล่อยตัวจริงของแต่ละคนออกมานะ ตัวจริงของแต่ละคนน่าเกลียดมาก ฉนั้นเราอย่าไปสร้างเปลือกที่สวยๆ แล้วหุ้มเอาไว้ หลอกตัวเองก่อน แล้วก็ไปหลอกคนอื่นทีหลัง

เราปลดปล่อยตัวแท้ๆ ของเรา ตัวชั่วร้ายในใจนะ อย่าไปกดมันไว้ อย่าไปเพ่งมันไว้นะ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไป แล้วเราไม่เพ่งอารมณ์ไว้เนี่ย แล้วตัวจริงๆ มันจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่เราถือศีลไว้ก่อน จิตใจจะชั่วร้ายยังไงนะ ก็ไม่ละเมิดไปถึงคนอื่น ต้องระวังตรงนี้

ต่อไปนี้ กิเลสใดๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ เรารู้ทัน รู้ทันไปเรื่อย มันจะค่อยสลายตัวไป

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

44.06 – 45.35

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ประคองใจไว้เพราะยึดถือ

mp3: (for download) ประคองใจไว้เพราะยึดถือ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ ศิษย์สวนสันติธรรม ศรีราชา

โยม: ใจมีความสุขมากกว่าเมื่อวานค่ะ แต่ว่ามันไปประคองค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ.. อย่าไปประคองนะ ให้มันดิ้นไปดิ้นมาอย่าไปรักษามันไว้ ทำไมเราต้องรักษาใจเราไว้ ไม่ยอมให้มันหนีไป เพราะเรายึดถืออย่างเหนียวแน่นว่ามันคือตัวเรา เพราะฉะนั้นเราเห็นจิตนี้ว่าคือตัวเรา เราก็อยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ ถ้าดีถาวร สุขถาวร สงบถาวรได้ยิ่งดีใหญ่ เพราะฉะนั้นภาวนาแทบเป็นแทบตายนะ อยากดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพื่ออะไร เพื่อตัวเราจะได้สบาย สุดท้ายนะ ภาวนาเพื่อตัวเรา ให้รู้ทันลงไปอีก รู้ทัน รู้ทัน ในที่สุดนะ กิเลสจะไม่มาแอบแฝงอยู่ในใจเรา ทนกำลังของสติปัญญาไม่ได้ มันจะว่องไวขึ้นเรื่อยๆ รู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ อะไรแอบแฝงเข้ามานะ สติระลึกปั๊บเลย ปัญญานี่สอดส่องเข้าไป ขาดสะบั้นหมด ความปรุงแต่งใดๆมาสร้างภพสร้างชาติขึ้นในหัวใจของเราไม่ได้อีกแล้ว ค่อยฝึกไป ดีชมพู

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510420.mp3
Time: นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่