Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขา คือต้องรู้เท่าทันจิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขาคือต้องรู้เท่าทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสมาธินั้นมี ๒ ชนิด เราต้องเรียนให้ชัดเจนนะ ส่วนมากนะ คนที่ทำสมาธินะ รุ่นก่อนนี้นะ เกือบทั้งหมดเลย ทำสมาธิออกนอก ไปพุทโธ จิตไปอยู่ที่พุทโธ ไปรู้ลมหายใจ จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ จิตไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกลม จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่เคยรู้ทันจิตตนเองเลย การที่ไม่รู้ทันจิตตนเองนี่ เรียกว่า ข้ามบทเรียนสำคัญของพระพุทธเจ้าไปบทนึง ชื่อ “จิตตสิกขา” เราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา

เพราะงั้นต่อไปนี้ เราทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา เคยพุทโธก็ใช้พุทโธได้นะ เคยหายใจ ก็ใช้ลมหายใจได้ เคยดูท้องพองยุบ ก็ใช้ท้องพองยุบได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าทำแล้วมันสบายใจนะ เพียงแต่กลับนิดนึง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่กับพุทโธ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ท้อง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่มือ ที่เท้า “ให้คอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป” พุทโธๆจิตเคลื่อนไปที่อื่น เช่น เคลื่อนไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน

จิตมันจะเคลื่อนไปใน ๒ ลักษณะเท่านั้นเอง คือเคลื่อนหลงไปในโลกของความคิด กับเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ ถ้าจิตเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ นั่นคือ การทำสมถะกรรมฐาน จะได้ความสงบเฉยๆ จะไม่มีปัญญา ถ้าจิตเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด อันนั้นหลงไปเลย สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ ใช้ไม่ได้เลย เวลาที่จิตหลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การทำตามรูปแบบ ทำได้ ๓ อย่าง

mp 3 (for download) : การทำตามรูปแบบ ทำได้ ๓ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราปฏิบัติในรูปแบบนั้น ยังทำได้ ๓ อย่าง

  • อันที่ ๑ ถ้าจิตฟุ้งซ่านมาก ทำความสงบ ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว
  • อันที่ ๒ เมื่อจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป ไหลไปคิด เราจะได้สมาธิชนิดที่ ๒ คือจิตตั้งมั่น
  • เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วเวลาที่เราทำในรูปแบบเนี่ย หัดรู้สภาวะไป

สภาวะของร่างกาย สภาวะของเวทนาคือความสุขทุกข์ สภาวะของสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภความโกรธความหลง ความวิตกกังวลต่างๆนะ ให้รู้ทัน แล้วก็รู้สภาวะของจิต จิตเดี๋ยวก็วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง วิ่งไปคิด

แต่ตอนที่ทำในรูปแบบเนี่ย มันจะปิดทวารไปบางส่วน ถ้าเรานั่งสมาธิอยู่นะ มันก็ไม่วิ่งทางตา ไม่วิ่งทางหู เหลือแต่ทางใจ ก็เห็นจิตไหลไปทางใจ เคลื่อนไปเคลื่อนมา ก็รู้ทันอาการของจิต เป็นการหัดรู้สภาวะ การทำในรูปแบบนี้แหล่ะ ฝึกไว้ให้ชำนาญนะ ต่อไปเราจะขึ้นสู่การเจริญปัญญา เจริญปัญญาได้

เมื่อมีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสติรู้เท่าทันสภาวะที่เกิดขึ้น การที่หัดรู้สภาวะนั่นแหล่ะ จะทำให้เกิดสติ การที่รู้ทันว่าจิตไหลไป จิตหลงไป จะทำให้เกิดสมาธิชนิดตั้งมั่น อาศัยสติและความตั้งมั่นของจิต ๒ อย่างนี้เป็นตัวช่วยกัน จะทำให้เกิดปัญญา คือการเห็นความจริงของกายของใจ

เพราะฉะนั้นต้องมี ๒ สิ่งนี้ อาศัยการทำในรูปแบบนี้มาช่วย เพราะฉะนั้นทำในรูปแบบนะ ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ทำความสงบ พุทโธๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ให้จิตสงบ ถ้าจิตสงบแล้ว ก็ทำกรรมฐานเดิมนั้นแหล่ะ แต่รู้ทันเวลาจิตมันเคลื่อนไป จิตมันไหลไป ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปไหลไป จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู พอจิตตั้งมั่นเนี่ย เราได้สมาธิแล้ว

ต่อไปเราก็มาพัฒนาให้เกิดสติ โดยรู้สภาวะนะ เห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายเดิน จิตเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย จิตเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ความเฉยๆ เกิดขึ้นในจิต จิตเป็นคนดู เห็นกุศลอกุศลเกิดขึ้นในจิต จิตเป็นคนดู เห็นจิตเคลื่อนไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตเป็นคนดู

ถ้าดูได้อย่างนี้ชำนิชำนาญนะ พอร่างกายขยับกริ๊กเดียวนะ สติเกิดเอง จะรู้สึกตัวขึ้นเองเลย ความรู้สึกแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายนิดเดียว สติเกิดเองเลย ความรู้สึกหรือกุศลอกุศลแปลกปลอมเข้ามาในจิตนิดเดียวนะ สติระลึกได้เลย จิตเคลื่อนทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนิดเดียวนะ สติระลึกได้เลย เมื่อเราได้ทั้งสติ ได้ทั้งสมาธิคือความตั้งมั่นแล้วเนี่ย เราเจริญปัญญาได้แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๒
File: 550421.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้พวกเราที่ฝึกกันน่ะ ฝึกมั่วๆ ไปฝึกก็จะเอาแต่พุทโธๆจิตสงบไป หรือหายใจไปแล้วจิตสงบไป ดูท้องไปไปจิตสงบไป จิตสงบไปอยู่นิ่งๆเฉยๆอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตชนิดนี้ไม่เดินปัญญาหรอก จิตชนิดนี้จะไปนอนพักผ่อนอยู่เฉยๆ แล้วสดชื่นมีเรี่ยวมีแรงออกมา บางคนติดอยู่ในความสงบนาน ติดอยู่เป็นปีนะ พอหลุดออกจากความสงบแล้วร้ายกว่าเก่าอีกนะ ติดมันติดในความสงบพอออกมากระทบโลกข้างนอกมันทนไม่ได้มันคุ้มคลั่ง เพราะฉะนั้นพวกเข้าวัดบางคน พวกเราสังเกตคนที่เข้าวัดบางคนนะ ถ้าเขาติดสมาธินะอารมณ์เขาจะร้ายกว่าคนปกติอีก

แต่ถ้าฝึกสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นจะไม่เป็น จะไม่คุ้มคลั่งอย่างนั้นหรอก เพราะฉะนั้นเรามาฝึกสมาธิให้ได้สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น พุทโธไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน ใครหายใจก็หายใจไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับลมหายใจรู้ทัน จิตมันเคลื่อนไป จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจก็รู้ทัน ดูท้องพองยุบอยู่จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน การที่รู้ว่าจิตเคลื่อนไปนั้น จิตจะตั้งขึ้นเอง จิตจะไม่เคลื่อน จิตที่ไม่เคลื่อนจะตั้งมั่นเด่นดวงอยู่อย่างนั้น เราต้องฝึกตัวนี้ให้ได้ก่อน พอเรามีจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว คราวนี้ถึงขั้นของการเดินปัญญาที่แท้จริง

550409.20m04-21m28

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงนี้แหละที่เป็นข้อแตกต่างอย่างยิ่งนะ ระหว่างการทำสมาธิแบบเอาความสงบเป็นที่ตั้ง กับทำสมาธิชนิดที่จะทำให้จิตถอยยออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูเพื่อจะเดินปัญญา สมาธิมันมี ๒ ชนิด

สมาธิชนิดแรก สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตของเราปกติฟุ้งซ่าน หนีไปโน้นหนีไปนี้อยู่ตลอดเวลา เรามาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนี มาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย จิตสงบอยู่กับพุทโธ ได้สมถกรรมฐาน ได้ความสงบ เรารู้ลมหายใจไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เราได้ความสงบได้สมถกรรมฐาน

แต่จะฝึกให้จิตตั้งมั่น ไม่ลืมตัวเอง ต้องฝึกอีกแบบหนึ่ง ทำสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิที่จิตสงบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว มีชื่อทางวิชาการ ชื่อว่าอารัมณูปนิชฌาน อารัมณะคืออารมณ์นั่นเอง จิตนี้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นอยู่กับพุทโธอย่างเดียวไม่หนีไปไหน ไม่นึกไม่คิดอะไร อยู่กับพุทโธ หายใจก็สงบอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่คิดไม่นึกไม่หนีไปไหน อย่างนี้ได้ความสงบเฉยๆ

มีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ชื่อลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดนี้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู จิตไม่หลงไปในโลกของความคิด ไม่หลงเผลอไป ไม่ไหลไป แต่ตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกก็ใช้พุทโธ ใช้ลมหายใจ เหมือนที่ใช้ฝึกทำความสงบนั่นแหละ แต่ปรับวิธีนิดหนึ่ง ถ้าจะทำความสงบเราก็พุทโธให้จิตอยู่กับพุทโธ หายใจให้จิตอยู่กับลมหายใจ ดูท้องพองยุบให้จิตไปอยู่ที่ท้อง เนี่ยจิตได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกจิตให้ตั้งมั่นนะ หัดพุทโธไปแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ไม่ได้บังคับจิตว่าห้ามไปไหน ไม่ได้บังคับจิตว่าต้องอยู่ที่เดียวนิ่งๆ

550409.15m29-17m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติด้วยการขยับมือ

mp3 (for download) : เจริญสติด้วยการขยับมือ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราต้องคอยรู้สึกนะ หัดรู้สึก มาเรียนที่หลวงพ่อนี่ไม่ได้เรียนเรื่องอื่นหรอก ขั้นต้นเลยเรียนให้รู้สึกตัวก่อน พอรู้สึกตัวเป็นแล้วถึงจะมาเรียนรู้กายอย่างไรถึงจะถูกต้อง รู้จิตอย่างไรถูกต้อง มีสองอันเอง มีกายกับจิตเท่านั้นแหละ เราก็คอยรู้กายคอยรู้จิตอย่างถูกต้อง

ขั้นแรกเลยต้องรู้สึกตัวให้เป็น ต้องมีสตินั่นเอง สติไม่ได้เกิดจากการบังคับให้เกิด สติเป็นอนัตตา สั่งให้เกิดไม่ได้ ถ้ามีเหตุสติถึงจะเกิดนะ เหตุของสติคือจิตมันจำสภาวะได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นเราทำกรรมฐานอะไรซักอย่างหนึ่งก็ได้ อย่างถ้าสายหลวงพ่อเทียนก็ขยับมือ ดีนะ มันไม่หลับดี ขยับอย่างนี้ ถ้าหลับเมื่อไร เคลิ้มเมื่อไร มันขยับผิดนะ ยกเว้นพวกขยับจนไปเข้าไขสันหลังแล้ว ขยับถูกนะ ละเมอก็ขยับได้นะ ขยับเข้าไขสันหลังไปแล้ว จิตใจหนีไปไหนก็ยังขยับถูกอยู่ อย่างนั้นใช้ไม่ได้

เบื้องต้นที่ทำให้ถูก ขยับไปรู้สึกตัว ขยับไปแล้วหัดดูสภาวะ ไม่ใช่ขยับเพื่อจะขยับนะ ไม่ใช่ขยับเพื่อจะบรรลุมรรค ผล นิพพานนะ ขยับอย่างไรก็ไม่บรรลุมรรค ผล นิพพานหรอก ไม่อย่างนั้นจราจรไปก่อนเลยใช่ไหม ขยับทั้งวันน่ะ ไม่เห็นมันบรรลุอะไรเลย มันไม่ได้อยู่ที่การขยับ แต่มันอยู่ที่จิตต่างหาก จิตขยับไปนี่ จิตหนีไปเพ่งใส่มือก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้  จิตเป็นอย่างไรก็รู้ นี่รู้ทันจิตไปเรื่อยๆ ขยับแล้วรู้ทันจิตไปเรื่อยๆ

ถ้าจิตหนีไปคิด ขยับแล้วจิตหนีไปคิดปั๊บ รู้สึก โอ้ หนีไปแล้ว จิตจะตื่นขึ้นในฉับพลัน ทันทีที่จิตตื่นขึ้นจะเห็นเลย ร่างกายที่ขยับนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวที่กำลังเคลื่อนไหวนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นรูปธรรมอันหนึ่งที่จิตไปรู้เข้า ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วจิตเกิดไปเห็นสภาวะทางจิตใจเราจะเห็นเลย เช่น ความสุขเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยความสุขไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งแปลกปลอมมาชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าความทุกข์เกิดขึ้นแล้วเรามีสติ เราตื่นขึ้นมา เราจะเห็นเลย ความทุกข์ก็ของแปลกปลอมเข้ามาชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ตัวเรา กุศลหรืออกุศลก็แปลกปลอมเข้ามาเป็นคราวๆ ไม่ใช่ตัวเราอีก ความโลภ ความโกรธ ความหลง แปลกปลอมเข้ามาเป็นคราวๆ ไม่ใช่ตัวเรา ดูลงไปเรื่อยๆ นะ ทั้งกายทั้งใจไม่เห็นมีตัวเราตรงไหนเลย ดูซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างนี้แหละ เจ็ดวัน เจ็ดเดือน เจ็ดปีนี่ หลวงพ่อเทียนท่านเน้นสามวัน มีไหม หกวันใช่ไหม หกวัน หกเดือน หกปี ท่านมีลดลงปีหนึ่งด้วย

CD สวนสันติธรรม 19

500302

10.07 – 12.47

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา คือทางรอดจากสังสารวัฎ

mp3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา หนทางสู่พระโสดาบัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศีลก็สำคัญนะ คนที่ไม่มีศีลจิตจะไม่ตั้งมั่น สมาธิจะไม่เกิดหรอก หรือสมาธิเกิดมาแล้วนะ แล้วเสียศีลไปนะ สมาธิก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็วเลย เพราะฉะนั้น ศีลนี่เป็นเครื่องอบรมขัดเกลาให้จิตตั้งมั่นมีสมาธิ สมาธิเมื่อจิตตั้งมั่นแล้วนี่ขัดเกลาให้เกิดปัญญา เพราะฉะนั้นแต่ละตัวมีความสำคัญทั้งนั้นนะ ต้องค่อยๆ ฝึก

เบื้องต้นเลยรักษาศีลให้ดีไว้ก่อน อันที่สอง ฝึกจิตใจของเราให้มันตั้งมั่น ให้มันตื่นขึ้นมาก่อน ขยับมือไป จิตหนีไปก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตเป็นอย่างไรก็รู้ จิตมันจะตื่นขึ้นมา มันจะเกิดสัมมาสมาธิขึ้น จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู พอจิตมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิแล้ว จะเกิดปัญญา จะเห็นว่าตัวที่กำลังขยับมืออยู่นี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เหมือนหุ่นยนต์ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ เราจะเห็นเลยว่าจิตใจที่กำลังเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ทำงานของมันได้เอง ไม่ใช้ตัวเรา นี่รู้ลงไปอย่างนี้นะ ลงในกายในใจ เห็นไม่ใช่ตัวเรา จะได้พระโสดาบันนะ จะได้พระโสดาบัน

พระโสดาบัน คือผู้ละความเห็นผิดว่ามีตัวเรา คนทั้งหลายจะรู้สึกว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา รู้สึกไหมว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง มีเรา แต่พอมาเจริญสติดูออกไหม กายไม่ใช่เรา เห็นแล้ว พอมีสติขึ้นมาเห็นแล้วว่ากายไม่ใช่เรา เห็นไหมเวทนาไม่ใช่เรา สุข ทุกข์ ไม่ใช่เรา เห็นไหมกุศล อกุศลไม่ใช่เรา รู้สึกไหม พอมีสติ พอตื่นขึ้นมาจะเห็น ไม่มีเราหรอก แต่ใจยังไม่ยอมรับนะ ยังอยากให้มีอยู่ ต้องดูกันไปนานๆ นะ สามวัน สามเดือนอะไรก็ดูไป ดูไปเรื่อยๆ จนกว่าใจจะหายโง่ มันจะยอมรับความจริงว่าไม่มีเราหรอก นี่ทางรอดอยู่ตรงนี้นะ ทางรอด

CD สวนสันติธรรม 19

500302

15.53 – 17.50

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตล้วนๆไม่ไหว ทำอย่างไร?

mp3 (for download) : ดูจิตล้วนๆไม่ไหว ทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เอ้า ต่อไปตรวจการบ้าน พวกอยู่วัดทำไมเยอะมาก วันนี้ เอ้าเชิญ คนไหนก่อน พวกอยู่วัดนะ คนไหนไม่อยากส่งการบ้านไม่ส่งก็ได้นะ ไม่ว่า

โยม: นมัสการหลวงพ่อค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มาส่งการบ้านกับหลวงพ่อนะคะ แต่ได้ฟังซีดีของหลวงพ่อแล้วก็พยายามที่จะหัดดูจิตของตัวเองนะคะ สังเกตตัวเองว่า เวลาที่ตัวเองเดินจงกรมเนี่ยเราจะมีสติมากกว่า ในขณะที่เรา เวลานั่งปฎิบัติ เหมือนเราจะพยายามกด แล้วก็ข่มบังคับตัวเองน่ะค่ะ มันทำให้รู้สึกหนักๆแน่นๆที่กลางหน้าอก แล้วมันก็ไม่เดินปัญญา ก็อยากจะขอให้หลวงพ่อช่วยแนะนำด้วยน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: แนะนำนะ เดินให้เยอะๆเข้าไว้ ยังมีแรงเดินก็เดินเข้าไป เราภาวนาแบบไหนดีเราก็ทำอย่างนั้น แต่ถ้าเราเดินจนเมื่อยแล้วจะทำอย่างไร เราก็นั่งขยับ ไม่นั่งนิ่งๆนะ นั่งขยับไป ขยับอย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ เราไม่ถนัดกระบวนท่าของหลวงพ่อเทียน เราบัญญัติกระบวนท่าเองก็ได้ แต่อย่าให้น่าเกลียดมากนะ บางคนบัญญัติกระบวนท่าเขกหัวตัวเองป๊อกๆๆ ใครเขามาเห็น เขาก็ดูถูก(หมิ่น)ศาสนาพุทธไปเลย พอบรรลุพระอรหันต์ก็ปัญญาอ่อนพอดี ขับไม้ขยับมือไป ขยับนิ้ว อะไรอย่างนี้ เคลื่อนไหวไป เอากายมาช่วยให้รู้สึกไว้

เพราะฉะนั้น ถ้าเราภาวนานะ เราดูจิตล้วนๆไม่ไหว เราเอากายมาช่วย ดูกายที่เคลื่อนไหว อย่างดูกายนิ่งๆ…

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510451A
Time: นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถิรสัญญาและการฝึกให้เกิดสติตัวจริง

MP3(for download): ถิรสัญญาและการฝึกให้เกิดสติตัวจริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องฝึกให้สติแท้ๆ เกิดขึ้นมา วิธีที่จะให้สติเกิดก็ไม่ใช่บังคับให้เกิด ไม่ใช่กำหนดให้เกิดนะ พระอภิธรรมสอนไว้ชัดเลย เหตุใกล้ของสติคือ ถิรสัญญา คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น

ที่มาเรียนที่หลวงพ่อ ทำไมพวกเราพัฒนารวดเร็ว หลวงพ่อพาดูสภาวะ สอนให้หัดรู้จักสภาวะ สอนเข้าประเด็นเลยนะ ตรงกับที่อภิธรรมเป๊ะเลย

หัดดูสภาวะไป ความโลภเกิดขึ้นก็รู้สึก ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นรู้สึกนะ ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นรู้สึก อะไรๆ เกิดขึ้นรู้สึก ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก ร่างกายหยุดนิ่งรู้สึก

คอยรู้สึกไป ไม่ได้เพ่งไม่ได้กำหนดนะ คอยรู้สึก พอจิตจำสภาวะได้แม่นต่อไปสติจะเกิดเอง

เช่น เราคอยดูใจของเราเรื่อยๆ ใจเราแอบไปคิดแล้วรู้ ใจเราแอบไปคิดแล้วรู้ เราซ้อมทุกวันนะ

วิธีซ้อมก็เช่น ไหว้พระไป สวดมนต์ไป อรหังสัมมา สัมพุทโธ ภควา ใจแอบไปคิดแล้วรู้ทันว่าใจหนีไปคิด แล้วก็ พุทธัง ภควันตัง ยังไม่ทัน อภิวา เลย หนีไปคิดอีกแล้ว รู้อีกว่าหนีไปคิด ฝึกอย่างนี้ จิตมันจำได้ว่าหลงไปคิดเป็นยังไง

หรือคนไหนดูท้องพองยุบนะ ดูเล่นๆ อย่าให้ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูเล่นๆ ไป เห็นใจไหลไปที่ท้องก็รู้ทัน ใจแอบไปคิดก็รู้ทัน นี่คือการซ้อมรู้สภาวะ

คนไหนเคยฝึกลมหายใจก็รู้ลมหายใจไป เห็นร่างกายมันหายใจไป นี่ก็รู้สภาวะนะ เห็นร่างกายหายใจ ไม่ใช่เราหายใจแล้ว

หายใจไปๆ จิตไปเพ่งอยู่ที่ลม ก็รู้ว่าจิตไปเพ่งลมหายใจ นี่ก็เป็นการรู้สภาวะของจิต หายใจแล้วจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตไปคิด นี่ก็เป็นการรู้สภาวะของจิต 

หัดรู้สภาวะของกายของใจเรื่อยๆ ไปแล้วสติจะเกิดนะ

.

หลวงพ่อมีวันหนึ่งนะ หาหลวงพ่อเทียนเห็นท่านนั่งขยับมือก็ลองมาทำเล่นบ้าง วันหนึ่งเดินอยู่ริมถนนเห็นเพื่อนมันเดินอยู่อีกฝั่งถนนนะ ดีใจไม่เจอนานแล้ว

ก้าวขาจะไปคุยกับมัน ดีใจแล้วไม่เห็นว่าดีใจ พอเท้าเคลื่อนไหวนี่นะ เราเคยขยับมือแล้วรู้สึก คราวนี้มือยังไม่ทันขยับเลย ขาขยับนี่นะ รู้สึกตัวขึ้นมาเลย

หลุดออกจากโลกของความหลงรู้สึกตัวขึ้นมาได้ ดูกายก็รู้สึกตัวเป็นนะ ดูจิตใจไปก็รู้สึกตัวได้

เพราะฉะนั้น รู้ว่าใจเผลอไป รู้บ่อยๆ นะ พอใจเผลอไปเมื่อไหร่ สติเกิดเอง หัดดูสภาวะกายก็ได้ สภาวะของจิตก็ได้ สติที่เกิดขึ้นจะเหมือนกันเปี๊ยบเลย เป็นอันเดียวกัน

พอสติเกิดแล้ว มันจะรู้กายบ้าง รู้เวทนาบ้าง รู้จิตบ้าง เลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร มันรู้ของมันเอง ไม่มีแล้วนะสายกายสายจิต สายโน้นสายนี้ไม่มีอีกต่อไปแล้ว

มีแต่ว่าขณะนี้มีสติหรือขณะนี้ขาดสติเท่านั้นเอง ที่ว่าเริ่มต้นด้วยกาย เริ่มต้นด้วยเวทนา เริ่มต้นด้วยจิต อันนั้นแค่จุดเริ่มต้นเพื่อฝึกให้มีสติเท่านั้น

ทำไมต้องเริ่มต้นด้วยอันไหนอันหนึ่ง เพื่อจะได้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก จะได้จำสภาวะได้แม่น

ถ้าเริ่มต้นอย่างจับจด เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวรู้ลม เดี๋ยวรู้ท้อง เดี๋ยวรู้เท้า เดี๋ยวไปรู้ใจที่มีสุข ใจมีทุกข์ ใจหนัก ใจเบา เดี๋ยวรู้โลภโกรธหลง รู้ฟุ้งซ่าน เดี๋ยวรู้โน่นรู้นี่มั่วซั่วไป สติเกิดยากเพราะจิตจำสภาวะไม่แม่น

.

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอะไรมาทำซักอันหนึ่ง ทำเล่นๆ นะ อย่าทำด้วยความคาดหวังว่าจิตจะสงบ

รู้ลมหายใจก็รู้เล่นๆ ดูท้องพองยุบก็ดูเล่นๆ จะเดินจงกรมก็เดินเล่นๆ ทำอะไรทำเล่นๆ ไว้ ทำเล่นๆ ไปแล้วค่อยๆ ดูไป

ร่างกายมันเคลื่อนไหวก็รู้สึก ร่างกายมันหยุดนิ่งก็รู้สึกนะ แต่ไม่เพ่งนะ ต้องระวังอย่าไปเพ่งกายอย่าไปเพ่งจิต

หรือสวดมนต์ก็ได้อย่างที่ว่านะ อรหังสัมมา ใจลอยแว๊บ รู้สึก สัมพุทโธ ภควา ลอยอีกแว๊บ รู้สึก หัดไป เบื้องต้นเอาอันใดอันหนึ่งก่อน

หรือเดินจงกรมนะ เดินจงกรม เห็นร่างกายมันเดินไปเรื่อยๆ ใจเราเป็นคนดูสบายๆ เดินไปอย่างนี้ ดูไปสบายๆ เห็นรูปมันเคลื่อนไหวไป ใจเราอยู่ต่างหาก ต่อไปมันก็จะรู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต

เบื้องต้นนะ รู้อันใดอันหนึ่ง เช่น เห็นร่างกายมันเดินไป ถ้าดูได้ถูกต้องไม่ไปเพ่งกายนะ ต่อไปก็รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต

เห็นท้องมันพองท้องมันยุบ ถ้าไม่ไปเพ่งท้องนะ ต่อไปก็จะรู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต

หัดดูจิตที่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไปเรื่อย ต่อไปก็รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต มันรู้ทั้งหมดไม่ได้รู้อันเดียวหรอก

.

เวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเวลาเลย

เดี๋ยวครูยิ้มหวานมา เดี๋ยวครูหน้ายักษ์มา เดี๋ยวครูใจดี เดี๋ยวครูใจร้าย หมุนเวียนเข้ามาสอนเราทั้งวันเลย

สอนเรื่องเดียวกันคือสอนไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย สอนถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

โลภ โกรธ หลง ก็สอนไตรลักษณ์ มีโลภแล้วมันก็ไม่มี มีโกรธแล้วก็ไม่มี มีหลงแล้วก็มันไม่มี กุศลทั้งหลายก็สอนไตรลักษณ์ใช่ไหม

จิตมีสติขึ้นมาแล้วก็ขาดสติ มีปัญญาขึ้นมาบางทีก็ไม่มีปัญญา เอาแน่เอานอนไม่ได้

บางทีก็มีฉันทะ บางทีก็ขี้เกียจ บางทีก็มีศรัทธา บางทีก็เสื่อมศรัทธา มันหมุนเวียนอยู่ คอยรู้มันไปเรื่อย รู้มันไป

ทุกสิ่งทุกอย่างสอนไตรลักษณ์ทั้งสิ้นเลย สอนให้เห็นเลยว่า มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี

การที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนะ สอนไตรลักษณ์ไปเรื่อย มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี ถึงจุดหนึ่งจะได้พระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริง ผู้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดับทั้งสิ้นเลย สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา

เราฝึกให้มีสตินะ แล้วทุกอย่างมันจะไหลเข้ามา เราก็รู้ไปเรื่อยๆ อย่าไปเพ่งมัน มันจะแสดงไตรลักษณ์

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาด้วยการขยับทำอย่างไร?

MP3: ภาวนาด้วยการขยับทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ผมจะสังเกตยังไงว่า เวลาผมขยับแล้วมันจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

หลวงพ่อ : แรกๆไม่ถูกหรอก มันก็จงใจหน่อยๆ แต่ฝึกไปแล้วขยับเราก็รู้สึกนะ จิตไหลไปอยู่ในมือเราก็รู้สึก ขยับแล้วจิตหนีไปคิดเราก็รู้สึก ขยับแล้วคอยรู้จิตไปเรื่อยๆ ต่อไปเวลาเราเผลอ เราเกิดขยับตัว เราไม่ได้ขยับมือด้วยซ้ำไป เคยฝึกมือนี้  เกิดขยับคอขึ้นมาอย่างนี้ สติเกิดเองเลย มันจะรู้สึกขึ้นมาโดยที่ไม่ได้จงใจ

โยม: แต่ที่ผมขยับเล่นๆ ทุกครั้งที่ผมมาผมก็ขยับ อย่างนั้นถูกแล้วใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ: ไหนลองขยับโชว์ซิ

โยม: ถ้าขยับต่อหน้าหลวงพ่อมันจะทำไม่ได้สักที เพราะมันจะไปอัดไว้ แล้วให้สังเกตจิตตั้งมั่น จะสังเกตยังไงครับ?

หลวงพ่อ : เวลาขยับนะ รู้สึกไหมใจเรากระจายออกไปไหม ถ้าใจกระจายออกไปรู้ว่ากระจายไป-จิตไม่ตั้งมั่น

โยม: แล้วถ้าจิตตั้งมั่นจะต้องสังเกตยังไงครับ

หลวงพ่อ : จิตตั้งมั่นมันจะเห็นร่างกายเคลื่อนไหว จิตเป็นแค่คนดูอยู่ต่างหากเอง

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่