Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่เนื่องกันหมด

mp3 for download : ไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่เนื่องกันหมด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ :>พวกเรามาหัดดูสภาวะไป ในขั้นของการเจริญปัญญาเนี่ย ดูสภาวธรรม รูปธรรมก็ได้นามธรรมก็ได้ เราดูแล้วจะเห็น สภาวะทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอันเดียวกันนะ มันเนื่องกันหมดแหละ ของไม่เที่ยงก็คือ ของมันมีแล้วมันก็ไม่มี ของที่มันมีอยู่ ก็บีบคั้นให้สลายตัว นี่ล่ะเป็นทุกข์ สิ่งทั้งหลายจะมี จะตั้งอยู่ หรือว่าสลายตัวไป ล้วนแต่บังคับไม่ได้ เป็นอนัตตา มันเนื่องกันหมด

เวลาเราพูดถึงรูปนะ เวลาดูรูป ตัวทุกข์เนี่ยจะเด่น รูปธรรมนั้นตัวทุกข์จะเด่น นามธรรมนะ อนิจจัง อนัตตา จะเด่น คนที่ทำกรรมฐานที่เหมาะแก่การดูรูปเนี่ย พระพุทธเจ้าท่านจะสอนเรื่องอายตนะให้ คนที่ทำกรรมฐานที่เหมาะกับการดูนาม พระพุทธเจ้าท่านจะสอนเรื่องขันธ์ ๕ ให้ มันก็อันเดียวกันนะ เป็นการแยกสิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” ออกเป็นส่วนๆ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

mp 3 (for download) : การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

โยม : หลวงพ่อครับ รู้อย่างที่มันเป็น ครับ รู้อย่างที่มันเป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อกี๊ดี ตอนนี้ไม่ดี ตอนนี้กดแล้ว

โยม: แล้วก็ผมรู้สึกได้ว่าแต่ละส่วนของกายมันทำงานแตกต่างกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่

โยม : เวลาตาทำงานก็จะไม่เกี่ยวกับส่วนอื่น ท้องพองยุบก็จะไม่เกี่ยวกับแขนขา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงนี้ถึงเรียกว่าอินทรีย์ แต่ละตัวนะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตัวเอง ในขณะที่ทำงานด้วยตา ในขณะที่ตาดูตัวอื่นก็ไม่ใหญ่ ตาใหญ่ตัวเดียว ในขณะที่หูฟังใช่มั้ย หูก็เป็นใหญ่ ถึงเรียกว่าอินทรีย์มันเป็นใหญ่ในตัวของมันในกิจของมัน ขณะที่มันทำกิจของมันคนอื่นไม่เกี่ยว

โยม : แล้วมันก็แยกแต่ละส่วนออกไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูอย่างนั้นได้ การภาวนาน่ะนะจะแยกแบบไหนก็ได้ จะแยกเป็นขันธ์ก็ได้ เป็นธาตุก็ได้ เป็นอายตนะก็ได้ ของคุณมันจะแยกอายตนะ ตามันทำงานหูมันก็ทำงานใช่มั้ย จมูกลิ้นกายก็ทำงานอันนี้เราเรียกว่าแยกด้วยอายตนะ การทำวิปัสสนานะจะแยกเป็นขันธ์ก็ได้ เป็นธาตุก็ได้ เป็นอายตนะก็ได้คือแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นชิ้นๆ บางคนก็แยกเป็นขันธ์ เป็นขันธ์ ๕ เป็นรูป รูปนี่เป็นรูปเป็นตัววัตถุ เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเป็นฝ่ายนามธรรม มีรูปอยู่ ๑ อันแต่มีนามธรรม ๔ อัน งั้นคนไหนที่ชำนาญเรื่องดูจิตนะ มันจะไปแยกขันธ์ ๕ จะแยกสิ่งที่เป็นตัวเราออกมาเป็นลักษณะของขันธ์ ๕

โยม : แยกขันธ์ ๕ กับอายตนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนละอันกัน อายตนะมีตาหูจมูกลิ้นกาย อันนี้เป็นวัตถุใช่มั้ย มีใจเป็นนามธรรมอันเดียว อันนี้เหมาะกับพวกที่ถนัดที่จะรู้กาย มันจะไปแยกอายตนะออกมา ธรรมะแต่ละบทแต่ละบทท่านสอนคนที่แตกต่างกัน ขันธ์น่ะสอนกับพวกที่ชำนาญเรื่องดูจิต อายตนะสอนกับพวกชำนาญดูกาย มีอีกตัวนึงธาตุ ธาตุมี ๑๘ ธาตุ ตาหูจมูกลิ้นกายใจรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ ความรับรู้หรือจิตหรือวิญญาณทางตาวิญญาณทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจเห็นมั้ย มีอย่างละ ๖,๖,๖ รวมแล้วเป็น ๑๘ เรียกว่าธาตุ ธาตุ ๑๘ ถ้าลองดูสิ จะมีรูปธรรมจำนวนมาก รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะเป็นตัวรูปธรรมใช่มั้ย ธรรมารมณ์มีทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม ตาหูจมูกลิ้นกายเป็นตัวรูปธรรม ใจเป็นนามธรรม วิญญาณคือการรับรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ๖ อันนี้เป็นนามธรรม งั้นแยกด้วยธาตุเนี่ยนะจะมีรูปจำนวนมากมีนามจำนวนมากเหมาะกับพวกที่เรื่องมาก พวกที่อยากรู้เยอะๆ งั้นกรรมฐานขอให้เราแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆได้ก็ใช้ได้แล้วล่ะ จะแยกโดยขันธ์ จะแยกโดยความเป็นธาตุ จะแยกโดยความเป็นอายตนะก็ใช้ได้

โยม : เราไม่ได้สร้างขึ้นมาเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราไม่ได้สร้าง ของคุณจิตมันเห็นจริงๆ ให้คุณเดินต่อไปนะ แต่ว่าใจตอนนี้มันล็อกมากไป นิ่งเกินไปถ้าปล่อยกว่านี้ได้มันจะพอดีเป๊ะเลย ดูไปแล้ววันนึงก็เห็นแล้วมันไม่มีตัวเรา ตาหูจมูกลิ้นกายไม่ใช่เราเห็นมั้ย มันทำงานเอง รู้สึกมั้ย เวลาที่มันทำงานมันก็ข่มขี่คนอื่นหายไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗
Track: ๑๑
File: 511108B .mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๒ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

mp 3 (for download) : ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูอายตนะ ผิดได้ ๔ แบบ

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์: เราชอบตีความเพี้ยน ตีความเพี้ยนนะ ยกตัวอย่างบางคนหัดภาวนา เมื่อตามองเห็นรูป ท่านสอนอย่างนี้นะ เมื่อตามองเห็นรูป ความรู้สึกเกิดที่จิตน่ะ ความยินดียินร้ายเกิดที่จิต ให้มีสติรู้ทันนะ หน้าที่ของเราก็รู้ทันอย่างนี้นะ ไม่ใช่เมื่อตามองเห็นรูป เอาสติกำหนดไว้ที่จักษุประสาท จักขุประสาท เฉยๆ กำหนดอยู่ที่จักขุประสาท รู้จักมั้ย คือตัวที่รับภาพน่ะ ตัวเส้นประสาทที่รับภาพน่ะ

ถ้าจิตไปกำหนดไว้ที่จักขุประสาทเนี่ย ทุกอย่างจะนิ่งหมดเลย ไม่มีกิเลส เพราะอะไร เพราะจักขุประสาทเป็นรูป กิเลสไม่ได้อยู่ที่รูป แล้วก็จิตที่เกิดที่ตาที่เรียกว่าจักขุวิญญาณจิต จักขุวิญญาณจิตเป็นวิบากจิต เป็นจิตอัตโนมัติเกิดขึ้นธรรมดา หมาก็มี พระอรหันต์ก็มีนะ ไม่ได้ว่าท่านเทียบกับหมาหรอกนะ แต่หมายถึงว่าสัตว์ที่มีตาทั้งหมดน่ะ มันก็มีจักขุวิญญาณจิต แล้วจักขุวิญญาณจิตนี้ไม่มีกิเลสสักตัวเดียว ในขณะที่หมามองเห็นก็ไม่เกิดกิเลส ในขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมมองเห็นก็ไม่ได้เกิดกิเลส กิเลสเกิดตามหลังนั้นมาต่างหาก ถ้าเราเอาสติไปจ้องอยู่ที่ตานะ เอาสติไปจ้องอยู่ที่ประสาทหู จ้องอยู่ที่ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย กายะประสาท ทุกอย่างจะนิ่ง ไม่มีกิเลส

ไม่มีกิเลสไม่ใช่เพราะว่าไม่มีกิเลส ไม่ใช่เพราะว่าไม่มีอนุสัย แต่อนุสัยไม่มีโอกาสทำงาน เพราะไปเพ่งไว้เฉยๆ เพราะฉะนั้นมันคือการเพ่งรูปนะ มันคือการเพ่งรูป ถ้าเพ่งเข้าไปเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็ไม่มีกิเลสเกิดแล้วแหละ ในขณะที่เพ่งอยู่ไม่มีกิเลสหยาบๆขึ้นมาได้หรอก แต่มีกิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่ง กิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่งนั้นคือโลภะ และทิฏฐิ โลภะก็คือ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ ทิฎฐิก็คือคิดว่าทำอย่างนี้แล้วจะดี ทำอย่างนี้แล้วจะถูก เพราะฉะนั้นในขณะนั้นกิเลสครอบงำจิตอยู่แท้ๆเลย แต่ไม่รู้ไม่เห็นเลย

เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังมากนะในการเรียนกรรมฐานเนี่ย แค่ตามองเห็นรูปเนี่ยทำผิดได้ ๔ แบบ อย่างนี้จะมากกว่านี้ก็คงมีนะ แต่ภูมิปัญญาของหลวงพ่อรู้ได้แค่ ๔ แบบ ที่เห็นทำผิดอยู่

แบบที่ ๑ ไปกำหนดอยู่ที่รูป (ที่ตาเห็น) อันนี้ออกนอกเลย ไปกำหนดอยู่ที่รูป

อย่างที่ ๒ ไปกำหนดอยู่ที่จักขุประสาท ถามว่าตรงนี้จิตออกนอกมั้ย ออกนอกเรียบร้อยแล้ว จิตเคลื่อนไปที่จักขุประสาท จิตส่งออกนอกไปเรียบร้อยแล้ว ไปเพ่งจักขุประสาท

อย่างที่ ๓ นะ เอาสติไปจ่ออยู่ตรงผัสสะ ตรงที่มีการกระทบระหว่างตา รูป และความรู้สึก สิ่งที่เรียกว่าผัสสะนะ คือการประชุมกันของธรรมะ ๓ อย่าง คือ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน แล้วก็จิต เพราะฉะนั้นไปดักดูตรงการกระทบของสิ่งสามสิ่งนี้ ก็นิ่งเหมือนกัน

อย่างที่ ๔ ก็ไปเพ่งจิตที่เกิดขึ้นทางอายตนะ เพ่งจิตที่ไปเห็นรูป

เพราะฉะนั้นตรงนี้เพ่งได้ตั้ง ๔ แบบ เห็นมั้ย ทางที่ผิดนี้ละเอียดละออเลย ยิบยับไปหมดเลย ถ้าไม่เรียนให้ดีจะนึกว่าดี ว่าทำอยู่ตรงนี้แล้วเหมือนไม่มีกิเลส กิเลสไม่มีโอกาสเกิดต่างหาก แต่ว่ามันเกิดไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ส่งจิตไปดู แค่นั้นก็ส่งจิตออกนอกแล้ว คือเมื่อไรออกนอกจากการรู้นะ รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เมื่อนั้นออกนอกทั้งนั้นล่ะ แต่หลวงปู่ดูลย์ไม่ได้ห้าม

หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ธรรมดาจิตต้องออกนอกเพื่อจะไปรู้อารมณ์ เพียงแต่ออกนอกแล้วนะ พระอริยเจ้าทั้งหลายเนี่ย จิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ต่างกันตรงนี้เท่านั้นเอง ส่วน พระอริยเจ้า คำว่าพระอริยเจ้าของท่านเนี่ย หมายถึงพระอรหันต์ พระอนาคาฯก็ยังกระเพื่อมหวั่นไหวได้นะ หวั่นไหวในอะไรพระอนาคาฯ หวั่นไหวในรูปฌาน อรูปฌาน ยังยินดีพอใจในรูปฌาน อรูปฌาน ถ้าต่ำกว่าพระอนาคาฯนี้ จะยินดีในกาม ยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินดีในการคิดเรื่องกาม และก็ยินร้ายในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินร้ายในการคิดเรื่องกาม เพราะฉะนั้นจะมีความยินดียินร้ายเกิดขึ้นทั้งสิ้น

เพราะธรรมชาติของจิตต้องออกไปรู้อารมณ์ แต่เมื่อรู้อารมณ์แล้วเนี่ย เฉพาะพระอรหันต์จิตไม่ยินดียินร้ายไม่กระเพื่อมหวั่นไหว นอกนั้นกระเพื่อมหวั่นไหวอยู่ กระเพื่อมหวั่นไหวอยู่มีสติรู้ทันมัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ภาวนาดูจิตแล้วห้ามกระเพื่อมหวั่นไหวนะ เข้าใจผิดอย่างร้ายแรงเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๘
File: 530829B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

mp 3 (for download) : ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านสอนนะ รู้แล้วจบลงที่รู้นะ เราก็ฟังก็เพลินๆไปอย่างงั้นแหละ มันไม่จบหรอก รู้แล้วก็ปรุงแต่ง รู้แล้วหยุดไม่ได้หรอก มันยังไงก็ต้องปรุงแต่ง เพราะปัญญามันไม่พอ

บางคนก็อยากจะไม่ปรุงแต่งต่อ พอรู้อะไรแล้วก็รีบกำหนดลงไปเลย เช่น ตามองเห็นรูปกำหนดอยู่ที่ตาบ้าง กำหนดอยู่ที่รูปบ้าง กำหนดอยู่ที่ผัสสะบ้าง กำหนดอยู่ที่จิตทางตาบ้าง จิตก็นิ่งๆไปเลย เพราะจิตที่เกิดที่ตาก็เป็นอุเบกขา ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์อะไรอยู่แล้วโดยตัวมันเอง ก็คิดว่าดี จิตที่เกิดที่ตาเป็นวิบากจิต ไม่มีกุศล อกุศล ก็คิดว่าอยู่ตรงนี้แล้วดี ไปเพ่งอยู่ที่ตาบ้าง เพ่งอยู่ที่หูบ้าง เพ่งอยู่ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กายบ้าง เพ่งอยู่ จิตก็เฉยๆแล้วคิดว่าดี ตรงที่จงใจเพ่งนั่นแหละทำต่อเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่รู้แล้วจบลงที่รู้ รู้แล้วมีการแทรกแซง คือตามองเห็นรูปปุ๊บ เห็นหนอ นี่ แทรกแซงนะ คิดละ นี่คิดฟุ้งซ่านไปละ หรือไปเพ่งอยู่ที่จิตที่เกิดที่ตา ตอนที่ตากระทบรูปนี่เพ่งได้สี่แบบ นี่ไม่มีใครสอนนะ สอนเอง เพ่งอะไรได้บ้าง

อันหนึ่งเพ่งรูป อันที่หนึ่งนะ  เพ่งรูปที่ตาไปเห็น

อันที่สองเพ่งจักขุประสาท ประสาทตา เพ่งได้นะ เพ่งประสาทตา เพ่งรูปออกข้างนอก เพ่งประสาทตาอยู่ข้างใน เพ่งอายตนะ

เพ่งที่สามคือ จดจ่ออยู่ที่การกระทบ อยู่ตรงจุดกระทบ ตรงที่กระทบสัมผัสทางตา

อีกอันนึงเพ่งอยู่ที่จิตที่เกิดที่ตา ทำได้สี่แบบ

บรรดานักเพ่งทั้งหลายนะ หนีไม่รอดสี่อย่างเนี้ย  นี่หลวงพ่อสรุปมาจากการสังเกตตัวอย่างมากมายของผู้ปฏิบัติ มันก็ผิดอยู่อย่างนี้แหละ ซ้ำๆซากๆเหมือนๆกันหมดแหละ ตรงที่ไปเพ่งไว้นะก็คือแทรกแซงเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่รู้แล้วจบลงที่รู้ ถ้ารู้แล้วจบลงที่รู้ทำยังไง เช่น ตามองเห็นรูป ใจมันพิจารณาเลย ใจมันพิจารณารูปนี้ อุ๊ยนี่ผู้หญิงสวย จิตก็ทำงานตอนมีราคะ

นี่มันทำของมันเองนะ เราไม่ได้ทำ นี่แหละเรียกว่ารู้แล้วจบลงที่รู้ ไม่ใช่ตามองเห็นรูปปุ๊บ จ้องเลย ไม่รู้ว่ารูปอะไร นี่รูปเฉยๆ ไม่มีผู้หญิงผู้ชาย นี่แทรกแซง เพราะงั้นตามองเห็นรูป จิตรู้ว่านี่รูปผู้หญิงสวย จิตเกิดราคะ รู้ว่ามีราคะ รู้ว่ามีราคะแล้วทำยังไง ไม่ทำอะไร ก็ดูมันไปสิ ถ้าตามดูทุกอย่างที่กำลังปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตา นี่้แหละสักว่ารู้ ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง ถ้าเข้าไปแทรกแซงเมื่อไหร่ ไปพยายามล็อคมัน ไปพยายามห้ามมัน ไปพยายามรักษามัน

ผู้ปฏิบัตินะ อดแทรกแซงไม่ได้หรอก ชอบมาถามหลวงพ่อว่า “ทำยังไงแล้วหนูจะดี” ทำนั่นแหละแทรกแซง ทำไมไม่รู้เอาล่ะ “หนูควรจะยังไง ห้ามอะไรบ้าง อันไหนไม่ควร อันไหนควร” คิดมาก คิดมากยากนาน รู้ลงสิ รู้ลงปัจจุบันไป รู้ไปเรื่อยเลย จนปัญญามันแก่รอบขึ้นมา มันเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราว จิตมันเป็นกลางเอง

คราวนี้กระบวนการที่จิตทำงาน มันทำของมันเองนะ แต่พอตากระทบแล้วจิตพิจารณาแล้วแทนที่อกุศลจะเกิดนะ กุศลมันจะเกิดแทน สติปัญญามันจะเกิดขึ้นมาแทน ในชวนจิตมันจะกลายเป็นจิตที่เป็นกุศลขึ้นมา แต่บางทีก็อกุศลเกิด พออกุศลเกิดก็มีสติรู้ทันอีก จิตก็ขึ้นวิถีอันใหม่ ขึ้นวิถีใหม่ที่เป็นกุศล จิตก็หมุนๆๆๆไปเรื่อย

ดูเขาทำงานไปนะ ดูเขาทำงานไปเรื่อยๆ ดูเล่นๆไป วันนึงปัญญาก็แก่กล้าขึ้นมา เห็นทุกอย่างมันไหลไปเรื่อยๆ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไหลไปเรื่อยๆเหมือนดวงดาวโคจรอยู่ในท้องฟ้า ไหลไปเรื่อยๆ ไหลไปตามเหตุของมัน ไหลไปแง่ใดมุมใด ก็ไปตามหลักของมัน ตามกฎของมัน จิตใจก็ทำงานไปเคลื่อนไหวไป เราทำหน้าที่แค่รู้นะ รู้ไปเรื่อยไปวันนึงเห็นเลย มันไม่ใช่เราหรอก มันทำงานของมันได้เอง เห็นว่ามันไม่ใช่เราก็ได้โสดา เป็นพระโสดาบัน กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๙
Track: ๑
File: 520210A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

mp3 for download : ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นภาวนาไปนะ อย่าไปเพ่งใส่จิต ภาวนาแล้วก็รู้จิตแต่ละดวงๆนะ รู้โดยอาศัยรู้ผ่านเจตสิกบ้าง อาศัยผ่านอายตนะที่จิตมันเกิดดับอยู่บ้าง เราจะเห็นว่าจิตเองก็เกิดดับ ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ อาศัยรู้เจตสิก อาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ ก็จะเห็นจิตเกิดดับได้ ถึงวันหนึ่งก็จะแจ้ง จิตมันก็เกิดดับเหมือนกัน จิตก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน จิตก็เป็นทุกข์เหมือนกัน จิตก็เป็นอนัตตาเหมือนกัน

จิตจะเกิดที่ตา หรือเกิดที่หู หรือเกิดที่ใจ เราก็สั่งไม่ได้ ยกตัวอย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้สึกมั้ย บางทีมองหน้าหลวงพ่อ บางทีก็ตั้งใจฟัง บางทีก็สลับไปคิด ฟังไปคิดไปๆ เห็นมั้ยว่าจิตมันฟังบ้างจิตมันคิดบ้าง เลือกได้มั้ย เลือกไม่ได้ เนี่ยดูของจริงลงไปอย่างนี้ เห็นเลยมันเลือกไม่ได้ มันสั่งไม่ได้ จิตมันสุข หรือจิตมันทุกข์ ก็เลือกไม่ได้ใช่มั้ย จิตมันดีหรือจิตมันชั่วก็เลือกไม่ได้ ดูลงไปอย่างนี้ เราจะเห็นว่าแต่ละอันๆ มันเลือกไม่ได้เลย จิตมันเกิดดับ

เนี่ยเฝ้ารู้ลงไปนะ อย่างนี้เรียกว่าเราดูจิตตัวเองอยู่ ไม่ได้ดูลอยๆ เฉยๆ เป็นผู้รู้อยู่เฉยๆ แต่ดูโดยมันร่วมอยู่กับเจตสิก มันร่วมกับอายตนะ ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้มาช่วย ถึงจะเห็นว่าจิตแต่ละดวงนั้นเกิดแล้วดับทั้งสิ้น

เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ดูไปสบายๆ ดูไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็แจ้งขึ้นมานะ จิตไม่ใช่เรา ถ้าจิตไม่ใช่เรา จะไม่มีอะไรเป็นเราอีกแล้ว เพราะในบรรดาขันธ์ ๕ ทั้งหลายเนี่ย กายไม่ใช่เราดูง่ายที่สุดเลย ฝึกกับหลวงพ่อเดือนเดียวก็เริ่มเห็นแล้วว่า กายไม่ใช่เรา ฝึกว่าจิตไม่ใช่เรา ดูกันแรมปีนะ ดูกันไปเรื่อย อย่าไปท้อถอยนะ วันนี้ยังไม่เห็นไม่เป็นไร ดูไปเรื่อย

ต่อมามันจะเริ่มเห็นน่ะ บางวันก็เป็นเรา บางขณะเป็นเรา บางขณะไม่เป็นเรา เริ่มเห็นแว้บๆแล้ว ตัวเราเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วก็แว้บ..ก็หายไป แต่พอเผลอเมื่อไหร่นะ ก็รู้สึกว่าจิตเป็นเราขึ้นมาอีกนะ ต้องดูไปเรื่อยจนวันหนึ่งเกิดอริยมรรค โสดาปัตติมรรคตัดฉับเข้าให้ หลังจากนั้นจิตไม่เป็นเราอีกแล้ว ไม่มีเงาแห่งความเป็นเราเกิดขึ้นในจิตอีกต่อไป นี่ละแล้วเป็นสมุจฺเฉทปหานฺ* ฝึกเอานะ ฝึกเอา ไม่ได้ยากหรอก ง่ายสุดๆเลย ถูกเขาด่าแล้วโมโห รู้ว่าโมโหไป เห็นจิตมันโมโหไม่ใช่เราโมโห ดูอย่างนี้ เห็นร่างกายมันยืนไม่ใช่เรายืน แต่ไม่ใช่คิดเอานะ

หลวงพ่อพูดให้ฟังเนี่ยไม่ใช่พูดให้คิด แต่พูดนำร่องให้จิตของพวกเรา พวกเราเองมีหน้าที่ฝึกรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ อย่าเผลออย่าเพ่ง รู้สึกเรื่อยๆ รู้กายบ้างรู้ใจบ้าง รู้เล่นๆไป เดี๋ยววันหนึ่งจะเห็นเลย ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่เรายืนเดินนั่งนอน จิตที่สุขที่ทุกข์ที่ดีที่ชั่วไม่ใช่เราดีเราชั่วเราสุขเราทุกข์อะไร เห็นกายเห็นใจมันทำงาน

ที่พูดเนี่ยพูดนำร่องให้จิตมันฟัง มิใช่พูดให้พวกเราจำใส่สมองนะ จำใส่สมองไปแล้วกิเลสจะเอาไปกินหมดเลย พูดให้ฟังเล่นๆไปอย่างนั้นไม่ต้องซีเรียส ให้หัดมีสติรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ ดูมันทำงานไป ดูกายดูใจไป แล้วจิตที่มันเคยได้ยินธรรมะนำร่องไว้อย่างนี้ เดี๋ยววันหนึ่งมันจะเฉลียวมาเห็นเอง มันเฉลียวนะ ไม่ใช่ฉลาด มันเฉลียวมาเห็นเองว่า กายนี้ที่กำลังเคลื่อนไหวไม่ใช่เราหรอก จิตที่กำลังทำงานอยู่นี้ไม่ใช่เรา มันเห็นเองนะ

พวกเราก็มีหน้าที่รู้สึกตัว รู้กายรู้ใจ ไม่ลืมมันนาน ไม่เพ่งมันไว้ รู้สึกไป ส่วนธรรมะนี้หลวงพ่อก็พูดนำร่องให้จิตมันรู้ไว้นะ เดี๋ยววันหนึ่งมันจะเห็นด้วยตัวของเราเอง

เอ้า.. เชิญไปทานข้าว นิมนต์เลยครับ

*สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค
อ้างอิงจาก : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520418.mp3
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่