สนทนากับลุงถนอม > คุยกัน ประสานักภาวนา

สงสัยในสภาวะ

(1/4) > >>

Aporn:
สวัสดีคะคุณลุง ...  ::) มีสภาวะสงสัยค่ะ อาการนี้เกิดขึ้นอาทิตย์ที่แล้ว
1. นั่งสมาธิไป จนลมหายใจละเอียดมาก มากจนลมหายใจหายไปเลยค่ะ อาการอย่างนี้เรียกสติตั้งมั่นหรือป่าวคะ
2. ในขณะที่ลมหายใจละเอียด จนเกือบไม่มีลมหายใจนั้น กลับมีสภาวะฟุ้งซ่านเกิดขึ้น
3. ในสภาวะที่ฟุ้งซ่านนั้น กลับเห็นอาการเกิด-ดับของจิต ตอนเกิดครั้งที่ 1 เห็นไม่ทัน ไปเห็นตอนดับ แล้วจิตดวงใหม่ก็ไปจับอารมณ์ใหม่ (ตามสภาวะฟุ้งซ๋าน) เกิด-ดับ อยู่อย่างนี้ เวลาที่เห็นนั้นไม่ได้รู้สึกตื่นเต้น วูบวาบ หรือมีอาการใดๆ ตอนนั้นแค่ดูเค้าเกิดๆ ดับๆ อย่างนั้น เหมือนเค้าช้าให้ดู.. แปลกใจที่ทำไมดูทัน
4. จึงเกิดความสงสัยว่า เหตุใด เมื่อเรานั่งจนลมหายใจละเอียดขนาดนั้น (เข้าใจว่าจิตเราน่าจะตั้งมั่น) แต่กลับเกิดภาวะฟุ้งซ่านให้ดู แล้วยังมีเกิดดับให้ดูตามมาติดๆ อีกค่ะ หรือจะเรียกว่าจิตเรายังไม่นิ่งพอ  รบกวนคุณลุงแก้ความสงสัยอีกทีนะคะ ขอบคุณค่า _/|\_

ลุงถนอม:

--- Quote ---สวัสดีคะคุณลุง
--- End quote ---
สวัสดีครับ


--- Quote ---นั่งสมาธิไป จนลมหายใจละเอียดมาก มากจนลมหายใจหายไปเลยค่ะ อาการอย่างนี้เรียกสติตั้งมั่นหรือป่าวคะ
--- End quote ---
ต้องสังเกตดูนะครับ ว่าในขณะนั้น มีความรู้เนื้อรู้ตัวอยู่หรือเปล่า หรือมีแต่ลมหายใจที่ละเอียดที่หายไป หรือว่ารู้อยู่ว่ากำลังรู้อยู่ ถ้าลมหายใจหายไป แล้วรู้อยู่ว่ากำลังรู้อยู่ แบบนี้ยังพอเรียกได้ว่าจิตตั้งมั่นครับ แต่ถ้าลมหายใจหายไป แล้วการรับรู้ก็หายไปด้วย แบบนี้จิตไม่ตั้งมั่นครับ หรือพอลมหายใจหายไป เกิดความสงสัย แล้วรู้ทันว่าเกิดความสงสัยผุดขึ้น แบบนี้ยังเรียกได้ว่า มีจิตตั้งมั่นครับ (ตั้งมั่นตรงที่รู้ทันจิตครับ)


--- Quote ---ในขณะที่ลมหายใจละเอียด จนเกือบไม่มีลมหายใจนั้น กลับมีสภาวะฟุ้งซ่านเกิดขึ้น
--- End quote ---
ครับ เพราะเป็นธรรมชาติแท้ๆของจิตปุถุชนครับ ไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่เป็นปัญหา ที่สำคัญก็คือ ทันเห็นสภาวะฟุ้งซ่านโดยที่สังเกตเห็นทันจิตที่ไหลเข้าไปรวมกับความฟุ้งซ่านหรือไม่ครับ ถ้าทันเห็นจิตที่ไหลเข้าไปรวม หรือเห็นความฟุ้งซ่านเป็นอีกสิ่งต่างหากจากจิต ก็ใช้ได้ครับ


--- Quote ---ในสภาวะที่ฟุ้งซ่านนั้น กลับเห็นอาการเกิด-ดับของจิต ตอนเกิดครั้งที่ 1 เห็นไม่ทัน ไปเห็นตอนดับ แล้วจิตดวงใหม่ก็ไปจับอารมณ์ใหม่ (ตามสภาวะฟุ้งซ๋าน) เกิด-ดับ อยู่อย่างนี้ เวลาที่เห็นนั้นไม่ได้รู้สึกตื่นเต้น วูบวาบ หรือมีอาการใดๆ ตอนนั้นแค่ดูเค้าเกิดๆ ดับๆ อย่างนั้น เหมือนเค้าช้าให้ดู.. แปลกใจที่ทำไมดูทัน
--- End quote ---
ดูทันเพราะสติไวอย่างไรล่ะครับ เรื่องราวต่างๆที่เคยดูไม่ทัน ก็เหมือนมีกล้องความเร็วสูงจับภาพแล้วมาฉายให้ช้าลง (แต่ความจริงเป็นเพราะจิตใจทำงานไวขึ้น เพราะไม่มีโมหะหนักๆเข้าครอบงำ)


--- Quote ---จึงเกิดความสงสัยว่า เหตุใด เมื่อเรานั่งจนลมหายใจละเอียดขนาดนั้น (เข้าใจว่าจิตเราน่าจะตั้งมั่น) แต่กลับเกิดภาวะฟุ้งซ่านให้ดู แล้วยังมีเกิดดับให้ดูตามมาติดๆ อีกค่ะ หรือจะเรียกว่าจิตเรายังไม่นิ่งพอ
--- End quote ---
ถ้าเกิดจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ก็จะเกิดอย่างนั้นแหละครับ เพียงแต่สภาวะที่ปรากฎนั้นมี 2 ประเภท ก็คือ

หากเป็นสมถะ ก็จะไม่มีอะไรให้ดู นอกจากความนิ่ง ความเฉยๆ (อาจเป็นความว่าง ความโล่ง หากว่ามารู้ที่นามธรรม แต่เพราะเป็นสมถะ นามธรรมก็พลอยไม่เปลี่ยนแปลงให้เห็น เลยเหมือนมีแต่ความนิ่งความว่างความโล่ง แต่หากเป็นรูปธรรม ก็จะเป็นความนิ่ง ความเฉย)

หากเป็นวิปัสสนา จะมีจิตผู้รู้ เกิดสลับกับจิตผู้ปรุงแต่ง จิตที่มีผู้รู้ตั้งมั่น จะว่องไว ปราดเปรียว และเห็นจิตที่ปรุงแต่ง ทำโน่นทำนี่ ซึ่งหากเป็นการเห็นจากการทำสมาธิ กระบวนการตรงนี้ก็อยู่นาน ไม่ได้เกิดขึ้นแว่บเดียวแล้วหายไป แต่จะได้ดูเหมือนดูหนังสั้น หรือการ์ตูนคั่นรายการ อย่างนั้นครับ

เรื่องนิ่ง หรือไม่นิ่ง เป็นเรื่องของสมถะล้วนๆ แต่หากจะทำสมาธิเพื่อวิปัสสนา ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่น แต่จิตที่ตั้งมั่นนั้นสังเกตยาก เราจึงต้องสังเกตว่า เราทันสังเกตเห็นจิตที่หลงไป ทันเห็นจิตที่เคลื่อนตัวออกไป(ซึ่งไปตามแรงตัณหา) ทันเห็นจิตที่ทำโน่นทำนี่หรือไม่ ถ้าเห็นอย่างที่คุณ aporn เห็น โดยไม่ได้มีความจงใจไว้ก่อน แต่เห็นเอง นั่นก็ต้องเรียกว่า มีจิตที่ตั้งมั่นแล้วครับ

*หมายเหตุ ภาวนาเก่งกว่าผมอีกนะครับเนี่ย ขออนุโมทนาจากใจจริงครับ  _/|\_ ^____^

Aporn:
ต้องสังเกตดูนะครับ ว่าในขณะนั้น มีความรู้เนื้อรู้ตัวอยู่หรือเปล่า หรือมีแต่ลมหายใจที่ละเอียดที่หายไป หรือว่ารู้อยู่ว่ากำลังรู้อยู่ ถ้าลมหายใจหายไป แล้วรู้อยู่ว่ากำลังรู้อยู่ แบบนี้ยังพอเรียกได้ว่าจิตตั้งมั่นครับ แต่ถ้าลมหายใจหายไป แล้วการรับรู้ก็หายไปด้วย แบบนี้จิตไม่ตั้งมั่นครับ หรือพอลมหายใจหายไป เกิดความสงสัย แล้วรู้ทันว่าเกิดความสงสัยผุดขึ้น แบบนี้ยังเรียกได้ว่า มีจิตตั้งมั่นครับ (ตั้งมั่นตรงที่รู้ทันจิตครับ) --------> ตอนลมหายใจละเอียด รู้ตัวเป็นอย่างดี พอลมหายใจหายไป ก็รู้ตัวอยู่ค่ะว่าลมหายไป แต่มาทันรู้ตอนหายไปแล้ว ตอนเริ่มหายดูไม่ทันค่ะ อาการตอนนั้นดูเฉยๆ ไม่รู้สึกสงสัยในสิ่งใดค่ะ 

ดูทันเพราะสติไวอย่างไรล่ะครับ เรื่องราวต่างๆที่เคยดูไม่ทัน ก็เหมือนมีกล้องความเร็วสูงจับภาพแล้วมาฉายให้ช้าลง (แต่ความจริงเป็นเพราะจิตใจทำงานไวขึ้น เพราะไม่มีโมหะหนักๆเข้าครอบงำ) -------> เป็นสภาวะนี้เลยค่ะ "เหมือนกล้องความเร็วสูงจับภาพแล้วมาฉายให้ช้าลง"  คุณลุงอธิบายได้ตรงกับที่เกิดขึ้นเป๊ะเลยค่ะ ว่าแต่ โมหะหนักๆ นี่มีอาการอย่างไรหรือคะ :-[

ด้วยอาการต่างๆ ที่คุณลุงอธิบาย หนูคิดว่า หนูคงเริ่มเข้าวิปัสสนาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ ....  :P

ขอบพระคุณ คุณลุงที่คอยแนะนำตลอดค่ะ
Pop

ลุงถนอม:

--- Quote ---ตอนลมหายใจละเอียด รู้ตัวเป็นอย่างดี พอลมหายใจหายไป ก็รู้ตัวอยู่ค่ะว่าลมหายไป แต่มาทันรู้ตอนหายไปแล้ว ตอนเริ่มหายดูไม่ทันค่ะ อาการตอนนั้นดูเฉยๆ ไม่รู้สึกสงสัยในสิ่งใดค่ะ 
--- End quote ---

ตอนเริ่มหาย ไม่ค่อยจะมีคนเห็นหรอกครับ ไม่แน่ใจด้วยซ้ำไปครับว่า ปุถุชนจะมีใครมองเห็นลมหายหายใจที่ "เริ่มหาย" ได้หรือเปล่า เหมือนกิเลสต่างๆที่เริ่มก่อตัวน่ะครับ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าปุถุชนจะมีโอกาสได้เห็นหรือเปล่า แต่ผมเองเชื่อว่าในระดับของพระอริยะชั้นสูงๆ จะเห็นกิเลสได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแค่เริ่มๆก็จะเห็นแล้ว เช่นพระอนาคามีเป็นต้น

แต่ในขั้นของปุถุชนนั้น ไม่จำเป็นต้องเห็นตอนเริ่มๆหรอกครับ เพราะศึกที่เรากำลังรบอยู่ คือตัว สักกายทิฎฐิ แค่เราเห็นว่า เคยมีแล้วก็ไม่มี เคยไม่มีแล้วก็กลับมีขึ้นมา มีขึ้นมาแล้วก็หายไป เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี แค่นี้ก็พอแล้ว ขอให้อยู่ในวงกรอบของกายและใจของเรา ก็พอแล้วครับ

สำหรับอาการที่อธิบายมานั้น ในขณะนั้น เป็นจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ และที่ตั้งมั่นได้นาน เพราะเป็นการเกิดจิตตั้งมั่น ผู้รู้ผู้ดู จากการทำสมถะนำมาก่อน (ต่างจากการเกิดจิตผู้รู้จากการตามรู้ตามดูสภาวะโดยตรงในชีวิตประจำวัน ตรงนั้นจะเห็นแว่บเดียวจนบางครั้งไม่เห็นมีจิตตั้งมั่นด้วยซ้ำไปครับ หากผลคือความเป็นกลางเฉยๆ ไม่ใช่ความสุขหรือความสว่าง ไม่หวือหวา ก็นึกว่าไม่มีอะไร ไม่มีจิตผู้รู้ จิตตั้งมั่น)

สำหรับที่เห็นตรงนั้น หากไม่เห็น(ด้วยความรู้สึก)ว่าลมหายใจไม่ใช่ตัวเรา หรือเห็นเป็นเพียงก้อนธาตุ เป็นเพียงสักว่าสภาวะ หรือเป็นสิ่งที่ถูกรู้่ (หรือรู้สึกว่ามีผู้รู้ผู้ดูอย่างต่างหาก) อย่างใดอย่างหนึ่ง การเห็นในขณะนี้ ยังต้องจัดว่าเป็นสมถะอยู่

แต่ขอย้ำว่า ไม่ต้องเป็นกังวลอะไร เพราะนี่คือได้ต้นทางของการปฏิบัติที่แท้จริงแล้วนะครับ อาศัยฟังธรรมเรื่องไตรลักษณ์ของกาย เรื่องธาตุ ๔ จิตจะเดินวิปัสสนาได้เองนะครับ ฟังบ่อยๆเข้าก็ใช้ได้ครับ (ก็ฟังซีดีหลวงพ่อเยอะๆ จิตจะน้อมไปเห็นไตรลักษณ์ได้เองครับ)


--- Quote ---โมหะหนักๆ นี่มีอาการอย่างไรหรือคะ
--- End quote ---

หากจิตมีโมหะ จิตจะไม่คล่องแคล่วว่องไว เหมือนคนแบกของเอาไว้ เคลื่อนตัวลำบาก จะรู้จะเห็นอะไร ก็ไม่ทัน แล้วยังมัวๆไม่ชัดอีกด้วย ซึ่งปกติหากใครมี แล้วสังเกตเห็นอาการทำนองนี้ ก็ให้เฉลียวใจ ดูสภาวะตรงนั้นไปเลยครับ เพราะเป็นสภาวะแท้ๆ (คือความไ่ม่ชัด คือความอืดอาดไม่ว่องไว) ไม่ต้องไปพยายามเห็นสภาวะที่ไม่ชัด ให้ชัด แค่รู้ทันว่ารู้สภาวะไม่ชัด จิตก็จะกลับมาตั้งมั่นได้อีกแว้บหนึ่ง

ส่วนจิตที่มีโมหะหนักๆ หากจะยกตัวอย่างคนทำงาน ก็ลองดูวันที่ประชุมกันทั้งวัน มีเรื่องถกเีถียงกันมากมาย มีเรื่องที่ยังขาดข้อเท็จจริงอีกมาก จนไม่อาจตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ เจอเข้าไปเยอะๆ จิตก็จะมีโมหะหนักเข้าครอบงำเอง อาการก็เหมือนคนหมดแรง คิดอะไรไม่ออก ความคิดเลื่อนเปื้อน บางคนมีอาการเวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะร่วมด้วย ช่วงนั้น โมหะจะรุมเร้ามาก หากใครมีอาการทางร่างกายร่วมด้วยล่ะก็ โมหะจะรุมเร้ายาวนาน เพราะจิตจะเกิดความไม่ชอบใจความไม่สบายกายร่วมด้วย ก็คล้ายๆคนสวมหมวกกันน็อคเลยล่ะครับ


--- Quote ---หนูคิดว่า หนูคงเริ่มเข้าวิปัสสนาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ ....  :P
--- End quote ---

บอกตามตรงเลยครับว่า ได้เวลาไปขอส่งการบ้านหลวงพ่อแล้วนะครับ จะได้คำตอบที่น่ามั่นใจมากกว่า ^____^

อนุโมทนาครับ _/|\_ ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_

Aporn:
ขอบพระคุณค่ะ ที่ไขข้อสงสัยให้บ่อยๆ   _/|\_ :-[

Navigation

[0] Message Index

[#] Next page

Go to full version