Author Topic: บันทึก เมษายน 2555  (Read 12765 times)

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #15 on: Sat 7 Apr 12, 09:09:14 »
สิ่งที่น่ากลัวที่สุด หาใช่พญามาร หากแต่เป็นกิเลสของเราเอง

ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกหรอกนะ หากเราจะหวาดกลัวภัยที่มาจากผู้อื่น ภัยที่จะทำให้ตนเองต้องเดือนร้อน หวาดเกรงต่อผีต่อยักษ์ต่อมารและสัตว์ร้ายทั้งหลาย และทุกศาสนาก็ได้ให้หลักประกันว่าจะพ้นจากภัยเหล่านี้ทั้งนั้น

แต่พระพุทธศาสนานั้นได้ชี้ให้เห็นถึงภัยที่น่ากลัวยิ่งกว่า เป็นภัยอันเกิดจากสิ่งที่ใกล้ชิด สนิทแนบแน่น กับเราเสมอมา และได้สอนให้รู้ถึงวิธีที่จะรับมือรวมทั้งวิธีที่จะไปให้พ้นจากภัยใกล้ตัวที่น่าสะพึงกลัวยิ่งกว่า คือ กิเลสของตน

กิเลส จะชักนำพาให้เราทำในสิ่งที่ผิดๆได้ทุกอย่าง เอนกประการ และแน่นอนว่าจะนำพาเราไปสู่หายนะอย่างที่คาดไม่ถึง หลอกให้เรากระทำกรรมที่หนักหน่วงที่สุด จนไปถึงอเวจีมหานรก หรือโลกันตนรกได้ไม่ยากเลย ซึ่งผลของกรรมเหล่านี้ แม้แต่พญามารเองยังลากพาเราไปในที่นั้นๆยังไม่ได้ มีแต่กิเลสนี้แหละจะพาไป

พระพุทธศาสนาได้สอนวิธีง่ายๆให้เรารับมือกับกิเลส และไปพ้นจากอำนาจกิเลส ในเบื้องต้น ให้เราหัดรู้กาย หัดรู้ใจ รู้สภาวะต่างๆในใจ เพื่อทำให้เกิดสติ

อาศัยสติที่เราฝึกรู้กายรู้ใจบ่อยๆจนเป็นนิสัยแล้ว รู้ทันกิเลส รู้ทันจิตที่เผลอไป รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป รู้ทันจิตที่มีความโกรธ รู้ทันจิตที่มีความเกลียด รู้ทันจิตที่มีความโลภ รู้ทันจิตที่มีราคะ กิเลสก็ไม่อาจครอบงำจิตได้ ทำให้เกิดสมาธิ จิตตั้งมั่น

อาศัยสติ อาศัยสมาธิ จิตตั้งมั่น ที่รู้ทันกิเลสทั้งหลาย เห็นกิเลสเกิดแล้วก็ดับ แล้วรู้ทันความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้น หลังจากเห็นกิเลส และรู้ทันความยินดียินร้ายที่เกิดแล้วดับ เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของจิต

อาศัยสติ อาศัยสมาธิ อาศัยปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ จิตมารู้อยู่ที่จิต เสมอขอบเขตกับจิต ไม่นอก ไม่ใน เห็นจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ บ้างจะเห็นทุกสิ่งเกิดแล้วดับ โลกนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่เกิดแล้วไม่ดับ, บ้างจะเห็นทุกสิ่งเกิดแล้วดับ โลกนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่มั่นคงทนทานอยู่ได้, บ้างจะเห็นทุกสิ่งเกิดแล้วดับ โลกนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่ควบคุมบังคับได้

เห็นแล้วจิตจะเกิดความรู้รวบยอดในขณะจิตเดียว จิตเดินอริยมรรค

ที่สุด จิตจะเข้าถึงความพ้นทุกข์ เพราะอริยมรรค อริยผล...

เมื่อทำลายกิเลสลงไปได้หมดสิ้นแล้ว พญามารตนไหน เก่งกล้าสามารถเท่าใด ก็ไม่อาจทำให้ท่านนั้นเป็นทุกข์ได้อีกเลย
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #16 on: Sat 7 Apr 12, 09:10:38 »
"...สติระลึกอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม ท่านให้ชื่อว่า สติปัฏฐาน
เมื่อระลึกได้ธรรมดาเรียกว่าสติปัฏฐาน
เมื่อระลึกได้จนเป็นมหาสติปัฏฐานเรียกว่า สติใหญ่ ใหญ่จนไม่หลง อะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นในกายเวทนาจิตธรรม ย่อมรู้ได้เข้าใจว่า จิตยึดถือหรือไม่ยึดถือ จิตใจเลิกได้ละได้ หรือเลิกไม่ได้ละไม่ได้ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงหรือไม่ สติอันนี้ต้องระลึกให้มากที่สุด
ในทางมหาสติปัฎฐาน ท่านให้นึกอยู่จนกระทั่งว่าไม่พลั้งไม่เผลอ ไม่หลงไม่ลืม แม้ร่างกายจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอน ท่านก็ให้มีสติอยู่ทุกเวลา หลับตาลืมตา มือ เท้า เดินไปก็มีสติ มือจะแตะต้องที่ไหนก็มีสติระลึกอยู่ทุกเวลาเรียกว่าเป็นมหาสติปัฏฐาน เมื่อการระลึกได้อยู่ทั้งกายวาจาจิตทุกขณะ กายเวทนาจิตธรรมจะเคลื่อนไหวไปมาสงบระงับ ก็ระลึกได้อยู่ทุกเวลา ไม่หลงใหลไปอยู่ใต้อำนาจกิเลส มีสติอยู่ทุกขณะทุกเวลา ไม่ใช่เวลาพูดออกมาจึงมีสติ ไม่ว่าพร้อมทุกอย่างจะพูดจาปราศรัยก็มีสติ ก่อนจะพูดก็มีสติ พูดอยู่ก็มีสติ พูดจบไปแล้วก็มีสติ ก่อนที่เราจะทำอะไรร่างกายจะทำการงานใด ๆ ก็เรียกว่ามีสติความระลึกได้ เวลาทำอยู่ก็มีสติ เวลาทำแล้วไปก็มีสติระลึกอยู่ในตัวในกายจิตนี้ ในกายเวทนาจิตธรรมได้อยู่เสมอ"


คัดลอกบางส่วนจากพระธรรมเทศนาของ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๑
FB Nui Dhamdee
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #17 on: Sat 7 Apr 12, 09:11:41 »
ต้องมีสติ มีสมาธิ มีปัญญานะ
รักษาศีล มีศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา
มีเต็มแล้ว โอ้ย อยู่ไม่ได้หรอกโลกนี้

หลวงตาผนึก สิริมงฺคโล
FB Dhammacafe.com
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #18 on: Sat 7 Apr 12, 09:12:28 »
การปฏิบัตินี่ไม่ใช่ให้เราลงมือทำอะไร เราไม่ทำอะไรเกินจากการรู้ตามความเป็นจริงนะ รู้กายตามความเป็นจริง รู้ใจตามความเป็นจริง แค่นี้เรียกว่าปฏิบัติ ถ้าเกินจากนี้ไม่ใช่ละ เกินจากนี้เป็นการหลงความปรุงแต่งฝ่ายกุศลแล้ว

อยากจะดีก็ปรุงใหญ่เลยนะ กดข่มบังคับ เครียด เก็บกด มันทำของง่ายให้กลายเป็นของยาก สิ่งที่ทำของง่ายให้กลายเป็นของยากนะ ท่านเรียกว่า ‘ปปัญจธรรม’ ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า มีตัณหา อยากปฏิบัติมาก ก็ยิ่งดิ้นมาก มีทิฎฐิ คิดมาก ก็ยิ่งฟุ้งซ่านมาก เปรียบเทียบไปเรื่อย ไม่ยอมรู้กายรู้ใจ มีมานะมาก ถือว่ากูเก่ง กูรู้หมดแล้ว กูเลยเรียนอะไรไม่ได้เลย หรือกูโง่สุดๆ แล้ว กูก็เลยเรียนอะไรไม่ได้เหมือนกันเพราะใจฝ่อ เพราะฉะนั้นอย่าให้กิเลส ๓ ตัวนี้มาครอบงำ

ความอยากปฏิบัตินั้นแหละตัวดีเลย ทันทีที่อยากปฏิบัติมันจะเกิดการหมายรู้ มันจะหมายลงไป จะจงใจเข้าไปรู้ทันทีที่จงใจเข้าไปรู้เกิดการกระทำกรรมแล้ว การกระทำกรรมคือการจงใจเข้าไปรู้ เมื่อจงใจเข้าไปรู้ปุ๊บ วิบากคือความทุกข์ก็จะเกิดทันทีเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
FB หมอกใสในป่าพุทธ
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #19 on: Sat 7 Apr 12, 09:13:13 »
เวลาชีวิตตกต่ำ อย่ามัวเสียเวลาทุกข์ ปลุกใจเราให้มันเข้มแข็งขึ้นมา ปัญหาชีวิตเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่มีปัญหาโน้นก็ปัญหานี้ ชีวิตเราเป็นอย่างนี้จริงๆๆ ปัญหาเดิมยังไม่ทันหมด ปัญหาใหม่เตรียมรอไว้อีกแล้ว ดังนั้นเราต้อง"ฝึกสติ"นะ ทำให้เราอยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุข มีทุกข์น้อยๆ ปัญหา"มีอยู่แต่ใจไม่ทุกข์หรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
FB หมอกใสในป่าพุทธ
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #20 on: Sat 7 Apr 12, 09:13:49 »
การตำหนิติเตียนผู้อื่น
ถึงเขาจะผิดจริง
ก็เป็นการก่อกวนจิตใจ
ของตนเองให้มันขุ่นมัวไปด้วย

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
FB หมอกใสในป่าพุทธ
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #21 on: Sat 7 Apr 12, 09:14:26 »
ตามรู้ตามดูจิตในชีวิตประจำวัน ได้ปัญญา

หากเราตามรู้ตามดูจิตใจของตนเองโดยไม่แทรกแซง เราจะเห็นอยู่ตลอดเวลาว่า จิตใจของเรานี้ แปรปรวน เปลี่ยนแปลง ไม่ได้แตกต่างอะไรจากเกลียวคลื่นในท้องทะเล บางครั้งก็ดูราบเรียบ เป็นคลื่นน้อยๆ บางครั้งก็ดูกระแทกกระทั้นรุนแรง เป็นคลื่นใหญ่โหมกระหน่ำ ตามแต่สภาพการณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบ แบบเดียวกับเกลียวคลื่นในท้องทะเลที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตามแรงลมที่หนุนเนื่อง

หากเราตามรู้ตามดูจิต ด้วยความเป็นกลาง จิตถอดถอนออกมาเป็นคนดู นอกจากเราจะได้ความจริงอันแรก ว่าใจนี้แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาแล้ว เรายังได้ความจริงนี้อีกว่า ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา เพราะใจนี้เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู จิตใจจะสะสมความจริงจากการเห็นตามความเป็นจริงเรื่อยไป แม้ว่าการเห็นอย่างนี้ในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นเพียงแว่บเดียวในแต่ละครั้ง แต่การที่เราเห็นบ่อยๆเนืองๆนี่ล่ะสำคัญ

ใครจะบอกว่า นั่นมันแค่ขณิกสมาธิ ไม่เพียงพอหรอก ก็จะขอถามเถิดว่า เด็กเล็กๆเมื่อแรกคลอดออกมานั้นน่ะ มีสมาธิแค่ไหน ก็ได้อย่างมากขณิกสมาธิเท่านั้น แล้วตลอดชีวิตมาถึงปัจจุบันนี้ ที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตั้งแต่หัดพูด หัดคลาน หัดเดิน หัดเรียนหนังสือ จนมาเป็นผู้เป็นคนที่สามารถประกอบวิชาชีพเลี้ยงตนและบริวารของตนนั้นน่ะ ไม่ใช่เพราะใช้ขณิกสมาธิหรอกหรือ? สัญญาที่เขามาแปรเปลี่ยนผัสสะให้เป็นเรื่องที่รู้เรื่องตามอาณัติหมายที่กำหนดเอาไว้ในฉับพลัน ไม่ใช่เพราะเกิดจากการที่เราเรียนรู้ชีวิตรอบตัวในชีวิตประจำวันด้วยขณิกสมาธิหรอกหรือ

หัดขับรถใหม่ๆเก้ๆกังๆ จะเหยียบจะกดปุ่มอะไรก็ทำไม่คล่องตัว แต่หัดขับรถบ่อยๆ ทุกสิ่งก็เป็นอัตโนมัติไปหมด จนเกิดเหตุฉุกเฉิน ก็สามารถควบคุมรถได้โดยไม่ต้องคิด นั่นก็ไม่ใช่เพราะเกิดจากการขับรถทุกๆวันด้วยขณิกสมาธินี้หรอกหรือ?

อย่าต่อต้านการเจริญปัญญาด้วยขณิกสมาธินี้เลย แต่ก็อย่าพอใจเพียงแค่การเจริญปัญญาด้วยขณิกสมาธินี้เพียงอย่างเดียว หากสามารถสวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิเดินจงกรมได้ ก็ควรทำ เพราะจะช่วยอำนวยให้การเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ ทำไปได้ด้วยความคึกคัก และมีความมั่นคง อีกทั้งยังทำให้เข้าใกล้มรรคผลนิพพานมากเร็วไปอีกด้วย
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #22 on: Sat 7 Apr 12, 09:15:32 »
เราเคยเป็นคนทุศีล วันนี้เรามีศีลขึ้นมา ชีวิตเราไม่ขาดทุนแล้ว
เราเคยเห็นแก่ตัว เราลดละความเห็นแก่ตัวลงไป ชีวิตเราไม่ขาดทุน
เราเคยแต่ฟุ้งตามโลกตามกิเลสตลอดเลย เรามาฝึกจิตฝึกใจของเราอยู่ในความสุขความสงบ
อยู่ในธรรมะ จิตใจสงบ มีความสุข นี่ชีวิตก็ไม่ขาดทุน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
FB หมอกใสในป่าพุทธ
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #23 on: Sat 7 Apr 12, 09:16:26 »
ต้องสังเกตตัวเองเลย ทั้งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี่มันพอเหมาะพอควรไหม อันใดมากอันใดน้อยใช้ไม่ได้ นี่สติ ยกเว้นสตินะ สติยิ่งบ่อยยิ่งดี แต่สติกล้าแข็งไม่ดี ศรัทธามากก็โง่ วิริยะมากก็ฟุ้งซ่าน เหน็ดเหนื่อย สมาธิมากก็ซึมเซา ปัญญามากก็ฟุ้งซ่านอีก หรือไม่เชื่ออะไรเลย เชื่อตัวเอง กูเก่งๆ พวกปัญญากล้า ปัญญาอย่างนี้ไม่ใช่ปัญญาทางศาสนาพุทธหรอก ปัญญาคิดมาก*



"จริงๆ กำลังในการปฏิบัติมี ๕ อัน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องคอยเช็คตัวเองว่า อันใดมากอันใดน้อยไป เช็คตัวเองแล้วก็ปรับสมดุลมันไป ถ้าเราดูของเราออก เราก็แก้ไปเองได้ เอาตัวรอดไปได้ ดูไม่ออกก็อาศัยเพื่อนสหธรรมิก อาศัยครูบาอาจารย์ กัลยาณมิตร อะไรอย่างนี้ บอกให้ แต่ที่ดีที่สุดนะ อาศัยการสังเกต หลวงพ่ออาศัยการสังเกตมากเลยเพราะไม่ได้อยู่กับครูบาอาจารย์ หลวงพ่อสามเดือนสี่เดือนไปทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น เวลาที่เหลือนี่ใช้การสังเกตเอา

บางช่วงศรัทธามากไป ชักจะโง่แล้ว งมงาย คิดว่าทำๆ ไปเดี๋ยวมันก็พ้นเอง นี่ค่อนข้างโง่นะ ทำๆ ไป มันต้องมีเหตุมีผลนะ ไม่ใช่ดุ่ยๆ ไปเรื่อย ทำผิดทำถูกหรือเปล่าไม่รู้นี่ ไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆ แล้วก็บรรลุได้นะ ถ้าทำผิดมันไม่บรรลุหรอก มันต้องมีสติปัญญารู้เลย ไม่ใช่เชื่องมงายนะว่าทำๆ ทนๆ ไปแล้ววันหนึ่งรู้ ไม่ใช่

มีความเพียร ความเพียรมากไป หรือความเพียรน้อยไป วัดตัวเองดู บางช่วงขี้เกียจขี้คร้าน ก็เอาข้ออ้างนะ มีข้ออ้างนะ เวลาขี้เกียจขึ้นมาก็บอกว่า โอ จิตมันไม่ใช่เรา ไม่รู้จะขยันไปทำไม ไม่ใช่เรา ถ้าขยันเดี๋ยวจิตเป็นเราขึ้นมาอีก นี่ หาข้ออ้าง บางช่วงขยันเกินไป ภาวนาหามรุ่งหามค่ำจิตใจไม่ได้พักผ่อนเลย ไม่มีความสุข แห้งแล้ง เหน็ดเหนื่อยเกินไป ใช้ไม่ได้เหมือนกัน

สติ สติของเราเกิดเอง หรือว่าสติบังคับให้เกิด สติเกิดเองใจก็โปร่งโล่งเบา สติบังคับให้เกิดนี่ใช้ไม่ได้ หรือสติคมกล้าเกินไป แข็งไป แข็งปึกเลย อะไรไหวแว๊บนี่รู้หมดเลยนะ รู้แบบคมกริบเลย คมเกินไปก็ใช้ไม่ได้อีก ต้องค่อยๆ สังเกตตัวเอง

สมาธิ ใจเราตั้งมั่นจริงไหม หรือใจเราไปซึมเซาอยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง หรือว่าใจเราตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็นอารมณ์ ต้องคอยสังเกตเอา บางช่วงภาวนาไปแล้วเห็นสภาวะนะไม่ขาดสักทีหนึ่ง ดูใหญ่ๆ อยากให้มันขาดนะ เห็นแต่มันเกิดดับๆ ไปเรื่อยนะ ไม่ขาดไป สังเกตให้ดี ขาดสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ขึ้นมา หรือทำสมาธิพักผ่อนนิดเดียวนะ พอถอยออกมาเห็นสภาวะนะขาดสะบั้นเลย นี่สมาธิไม่พอ ต้องสังเกตเอา

ปัญญาก็ต้องสังเกตนะ ปัญญาฟุ้งซ่าน หรือว่าปัญญารู้จริงๆ ปัญญาคิด ปัญญานึก ปัญญาน้อม ปัญญาฟุ้งซ่าน ปัญญารู้ก็ปัญญาตัวจริง แต่บางครั้งก็ต้องอาศัยการคิดการน้อมเหมือนกัน มีศิลปะนะ มันไม่ใช่เป็นศาสตร์อย่างเดียวนะ การปฏิบัติเป็นศิลปะด้วย อีกหน่อยใครมีศิลปะเก่งๆ หลวงพ่อจะออกใบรับรองประกอบโรคศิลป์ มีศิลปะนะ มีศิลปะในการปฏิบัติ มันเป็นชั้นเชิงนะ เราไม่ได้วัวได้ควายมีแต่เรี่ยวแรงแล้วทุ่มเอาๆ หรือว่าชั้นเชิงมากจนไม่ต่อยสักทีนะ ฟุตเวิร์คสวยอยู่อย่างนั้น ก็ไม่ได้กินอีกนะ

นี่มันต้องสังเกตตัวเองเลย ทั้งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี่มันพอเหมาะพอควรไหม อันใดมากอันใดน้อยใช้ไม่ได้ นี่สติ ยกเว้นสตินะ สติยิ่งบ่อยยิ่งดี แต่สติกล้าแข็งไม่ดี ศรัทธามากก็โง่ วิริยะมากก็ฟุ้งซ่าน เหน็ดเหนื่อย สมาธิมากก็ซึมเซา ปัญญามากก็ฟุ้งซ่านอีก หรือไม่เชื่ออะไรเลย เชื่อตัวเอง กูเก่งๆ พวกปัญญากล้า ปัญญาอย่างนี้ไม่ใช่ปัญญาทางศาสนาพุทธหรอก ปัญญาคิดมาก"


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
FB Nui Dhamdee
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #24 on: Sat 7 Apr 12, 09:17:33 »
อโหสิกรรม

โหสิ แปลว่า มีแล้ว
อโหสิ แปลว่า ได้มีแล้ว
(อ นำหน้าคำนาม แปลว่า ไม่
อ นำหน้ากริยา แปลว่า ได้)

อโหสิกรรม แปลว่า กรรมที่ได้มีแล้ว ไม่ได้แปลว่า เลิกแล้วหรือเลิกร้างกรรมที่ได้กระทำนั้น ไม่ให้มีผลต่อไป

อโหสิกรรมวิบาก แปลว่า ผลของกรรมได้มีแล้ว


อโหสิกมฺมํ อโหสิกมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมได้มีแล้วในชาติก่อนๆ

อโหสิกมฺมํ นาโหสิกมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้วในชาติก่อน แต่ว่าไม่ได้ให้ผลในชาติก่อน แต่รอให้ผลในชาติปัจจุบันหรือในอนาคต

อโหสิ กมฺมํ อตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมมีอยู่ คือ ผลของกรรมกำลังส่งผลอยู่

อโหสิ กมฺมํ นตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมไม่มีอยู่ในชาตินี้

อโหสิ กมฺมํ ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมจักมี (ยังไม่ได้รับผลของกรรม แต่จะต้องได้รับ)

อโหสิ กมฺมํ น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมจักไม่มี (คือพระอรหันต์ที่ดับขันธปรินิพพานแล้ว จะไม่มีผลของกรรมไปถึง เพราะไม่มีการเกิดอีก)
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #25 on: Sat 7 Apr 12, 09:18:33 »
วิปัสสนา เริ่มต้นด้วยเรียนรู้ความจริงจากความจริงตามความเป็นจริง และสิ้นสุดลงเมื่อยอมรับความจริงอย่างหมดจด ใม่เหลือส่วนที่จะกำแหงต่อความจริงเลยแม้แต่น้อย เมื่อรู้ความจริงหมดจด และยอมรับอย่างหมดจดว่าอุปาทานขันธ์นั้นเป็นตัวทุกข์ ความเข้าไปเกี่ยวไปข้องจึงไม่มีอีกต่อไป

ความพ้นทุกข์จึงมีขึ้นเพราะไม่เกี่ยวไม่ข้องอีกต่อไปกับทุกข์ คือ อุปทานขันธ์ ทุกข์จะเกิดจะดับอีกเท่าไรก็ไม่ทำให้เป็นทุกข์ เพราะหมดสิ้นความเกี่ยวความข้องกัน เหมือนหมาเน่าลอยน้ำผ่านหน้าบ้าน มาแล้วก็ไป ไม่เกี่ยวไม่ข้้องและไม่มีผลอะไร
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
    • View Profile
    • Dhammada.net
Re: บันทึก เมษายน 2555
« Reply #26 on: Sat 7 Apr 12, 09:19:28 »
เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จึงไม่มีใครสั่งให้ใจเป็นอย่างที่ใจปราถนาได้ แม้แต่ตัวใจเอง หากแต่ใจเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทั้งผัสสะ และทั้งจิตดวงก่อน ซึ่งมีทั้งอนุสัย บารมี และกรรม เป็นสมบัติ เป็นมรดกสืบทอดกันมา

เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จึงไม่มีใครสั่งกรรมและวิบากให้เป็นไปตามใจปราถนาได้ กรรมและวิบากย่อมดำเนินไปตามธรรมชาติของกรรมและวิบาก มีเกิดขึ้น มีดำรงอยู่ และมีดับไป เหมือนสภาวะอื่นๆ และรวมทั้งความสิ้นไปแห่งกรรม ก็ย่อมเป็นไปตามธรรมชาติของกรรมเอง

หากสามารถทำให้กรรมไม่มีผลได้จริงแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงประกาศวิธีการเหล่านั้นไว้ให้พวกเราแล้ว เพราะท่านทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณา ที่ปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ และพร้อมสละชีวิตของตนเพื่อให้ผู้อื่นถึงความพ้นทุกข์ แต่ท่านไม่ทรงสอนวิธีนั้นไว้ ก็เพราะ วิธีนั้นไม่ได้มีอยู่จริง หากแต่สิ่งที่ท่านสอน ท่านสอนไว้ 3 ประการ ก็คือ วิธีการของการทำความดี วิธีการของการไม่ทำความชั่ว วิธีการของทำจิตให้บริสุทธิ์คือการเจริญสติปัฏญาน ๔ ตลอดพระชนมชีพของท่าน ท่านสอนอยู่ 3 อย่างนี้เท่านั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพุทธวิสัย ทรงพยากรณ์ในเรื่องของกรรมได้ตามสิทธิ์ของผู้ทรงไว้ซึ่งพุทธวิสัย แต่ไม่ทรงสอนเรื่องวิธีทำให้กรรมไม่สงผล แต่ผลของสติปัฏฐาน ๔ ที่ภาวนาจนถึงที่สุดแล้ว สิ้นการเกิดแล้ว เมื่อดับขันธปรินิพพานไปแล้ว กรรมทั้งหลายที่เคยได้ทำไว้ จะไม่อาจส่งผลให้ได้อีก

ดังนั้น ในวันนี้ เรามีคำสอนในสติปัฏฐาน ๔ เรามีครูบาอาจารย์ผู้มีความพร้อมที่จะสอนการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้กับเรา แล้วเหตุไฉนเราจึงเพิกเฉยต่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ และเฝ้าพากเพียรที่จะแก้กรรม หรือหาทางทำให้กรรมไม่ส่งผลกันเล่า?
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา