Author Topic: [กระทูููู้้้้เก่ามาเล่าใหม่] คำสอนของเซ็น จากพระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสี โดยคุณ สันตินันท์  (Read 4376 times)

Offline หงส์น้อยบ้านโค้งดารา

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *
  • Posts: 118
  • คะแนนความนิยม: +4/-0
  • Gender: Male
เขียนเมื่อ วัน อังคาร ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 10:24:33

"พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น
ไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นเพียงจิตหนึ่ง
นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย
จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้
เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย
มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียวหรือสีเหลือง
และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ
ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่
ไม่อาจจะลงความเห็นว่าเป็นของใหม่ หรือของเก่า
ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก
ทั้งนี้เพราะ มันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ
เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น

จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ
แต่จงลองไปใช้เหตุผล(ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ
เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที
สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน
ซึ่งไม่อาจจะหยั่งหรือวัดได้"

*****************************

เมื่อกลางปี 2525 ผมได้ไปกราบถวายรายงานการดูจิตต่อหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
โดยเรียนท่านว่า ผมเห็นจิตแล้ว จิตมีปกติไหวตัวเวลากระทบอารมณ์
หลวงปู่กลับสั่งว่า ให้กลับไปดูใหม่
สิ่งที่ไหวเป็นเพียงอาการของจิต ไม่ใช่จิต
หลังจากนั้น ท่านผู้เฒ่าก็นิ่งเงียบไปพักใหญ่
แล้วจึงแสดงธรรมด้วยกระแสเสียงที่ใหญ่ กังวาล แต่แผ่วเบา
ท่านกล่าวธรรมอย่างรวดเร็วติดต่อกันไปไม่หยุด
และกล่าวซ้ำในจุดที่ผมยังฟังไม่เข้าใจ เป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมง

ผมไม่เคยคาดฝันมาก่อนเลยว่า
ผมจะได้ฟังวาทะของท่านฮวงโป ปรมาจารย์เซ็น
จากปากของพระป่าผู้เฒ่า ผู้ผ่านอายุกาลมาเกือบร้อยปี
แวบหนึ่งระหว่างนั่งฟังธรรมอยู่แทบเท้าท่าน
ผมตระหนักชัดทีเดียวว่า ธรรมะเป็นของกลาง
ผู้เข้าถึงความจริง ต่างก็เข้าใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านนิกาย

หลวงปู่ดูลย์ กล่าวต่อไปว่า

"จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ
ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย
เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย
และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก
การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ
การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ
และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต
แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ
เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย
เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง
และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น
พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา
เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง"

"จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ
ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก
มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง
คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย
ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น
เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย
แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ"

"การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น
เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ
แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น
หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่
เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น
และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร
นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง"

"จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ
ดังจะเห็นได้ในเมื่องดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น
ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก
ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น
และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง
ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง"

"เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น
ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้
พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง
พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง"

******************************

ที่ยกมานั้น เป็นตัวอย่างเท่านั้นครับ
หากพวกเราสนใจที่จะอ่านมากกว่านี้ ก็หาอ่านได้จากคำสอนของท่านฮวงโป
ซึ่งท่านอาจารย์พุทธทาสได้แปลเป็นภาษาไทยไว้แล้ว

******************************

ขอแถมเกี่ยวกับเรื่องเซ็นสักประเด็นหนึ่งครับ
คือเรามักได้ยินเสมอว่า ชาวเถรวาทบางคนชี้ว่า
เซ็นเน้นแต่ปัญญา ละเลยเรื่องศีลและสมาธิ

ความจริงเซ็นสอนให้เราเข้าถึง จิต หรือพุทธะภายในตัวเราเอง
ซึ่งผู้ที่ลืมตา ตื่น ต่อจิตของตนได้จริงๆ
จิตย่อมถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญา
เรียกว่ามีศีล โดยไม่ต้องรักษา
มีสมาธิ โดยไม่ต้องเข้าฌาน
และมีปัญญา โดยไม่ต้องคิด/อ่าน

ส่วนคนที่ยังเข้าไม่ถึง จิตอันเป็นพุทธะ
ยังจำเป็นต้องมีศีล เจริญสมาธิและปัญญา
ซึ่งถ้าเราศึกษาเรื่องในวัดเซ็น เราจะพบว่า
พระเซ็นมีการปฏิบัติไตรสิกขาเช่นกัน
แต่บางคราวภาพลักษณ์ของเซ็น ค่อนข้างเสียหาย
เพราะผู้ศึกษาเซ็นบางคน ศึกษาเซ็นเพื่อเอาไว้เป็นเครื่องมือของกิเลส
เช่นเมื่อจะทำกรรมชั่ว หลอกเด็กหลอกเล็ก หรือผิดลูกผิดเมียเขา
ก็อ้างว่า ตนทำด้วย "จิตว่าง"
คล้ายกับว่า ถ้าจิตว่างเสียอย่างเดียว ทำกรรมชั่วอย่างไรก็ได้
เพราะสักแต่ว่าเป็นกิริยา ไม่เป็นกรรม

ถ้าผู้ศึกษาเซ็นคนใด ทำผิดศีล ด้วย "จิตว่าง"
ก็แสดงว่า เขาไม่รู้จักจิตว่าง ไม่มีกระทั่งสติและสัมปชัญญะ
เพราะคนที่มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองจิตอยู่นั้น
จะทำกรรมชั่วในขั้นละเมิดศีล 5 ไม่ได้เลย
คนประเภทนี้ แม้จะอ้างว่าตนศึกษาหรือนิยมเซ็น เขายังไม่ใช่เซ็นที่แท้จริง
เพราะจิต ยังไม่ ตื่น จากอำนาจของกิเลสตัณหา

ถ้ามีสติสัมปชัญญะเป็นเครื่องปลุกจิตให้ ตื่นได้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเถรวาท หรือเซ็น ก็ย่อมมีศีล สมาธิและปัญญา
และทำชั่วไม่ได้ เหมือนๆ กันนั่นเอง
หัดรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

Offline ภูหนาว

  • Jr. Member
  • **
  • Posts: 36
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • นักรู้
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^

Offline หลี่จิ้ง

  • Global Moderator
  • Full Member
  • *
  • Posts: 56
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • Dhammada.net คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา
นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

Offline nitivit

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 73
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • ดูอย่างเดียว
เข้าใจคำว่าความว่างขึ้นมาอีกนิ๊ด
ขอบคุณครับ
"สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช

Offline MaChiMa

  • Newbie
  • *
  • Posts: 1
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
ต้องขออภัยคุณ nitivit ด้วยครับ แต่ผมเข้าใจว่า "สติจำเป็นทุกสถานในกาลทุกเมื่อ" หลวงพ่อปราโมทย์ท่านกล่าวเสมอว่าเป็นของหลวงปู่เทสก์นะครับ กลัวว่าจะทำให้คนอื่นเข้าใจว่าหลวงพ่อเป็นผู้กล่าวเอง ^^

ส่วนคำสอนเซ็นนี่ อ่านไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เป็นเพราะความเห็นของผมยังไม่ถึงพร้อมละมั้งครับ ^^

Offline nitivit

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 73
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • ดูอย่างเดียว
จริง ๆ แล้วผมชอบประโยคนี้เพราะเป็นการเตือนใจให้ดูบ่ิอย ๆ
เพื่อให้มีสติเกิดบ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ผมได้ยินจากการเทศน์ของหลวงพ่อครับ ไม่ได้ตั้งใจให้ใครเข้าใจผิดแต่อย่างไร
และผมก็ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดเป็นผู้กล่าวเริ่มแรกครับ  :-[
แต่ผมมักจะได้ยินในซีดีของหลวงพ่อบ่อย ๆ ครับ
ถ้าจะไม่ใส่ว่าใครกล่าว ก็กลัวจะเป็นการไม่ให้เกียรติครูบาอาจารย์
ทีนี้ผมก็ไม่ทราบว่าควรเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร
รบกวนท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณครับที่ช่วยเตือน  :)
"สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช

Offline หลี่จิ้ง

  • Global Moderator
  • Full Member
  • *
  • Posts: 56
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • Dhammada.net คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

ไม่เป็นไรหรอกครับ เราๆ ก็ quote กันมา ส่วนท่านอื่นๆ มีสิ่งใดอยากจะเสริม ก็เสริมกันมา อย่างกัลยาณมิตรกัน ด้วยเจตนาดี แบบนี้ดีครับ ^_^
นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว