Author Topic: ทางสายกลางในการปฏิบัติ กับการดำเนินชิวิตประจำวัน  (Read 13136 times)

Offline Dawnheart

  • Newbie
  • *
  • Posts: 11
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • "ทุกข์" ให้ "รู้"
ลุงถนอมครับ

การใช้ชีวิตปกติธรรมดา และปฏิบัติธรรม(ตามรู้กาย รู้ใจ)ควบคู่ไปด้วยในแต่ละวัน
ผมรู้สึกว่ามีหลายๆ ครั้งที่ไม่ทราบว่า ผมปฏิบัติตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไปครับ

คือ ตั้งแต่ตื่นนอนผมก็จะสังเกตุดูจิตดูใจตัวเอง ดูร่างกายเคลื่อนไหว รู้บ้างเผลอบ้าง
แต่พอเวลาอยู่ที่ทำงานจะรู้สึกว่าหลงนานมาก ทั้งเวลาทำงานบ้าง คุยกัยคนโน้นคนนี้บ้าง
ประชุมบ้าง เดินไปไหนมาไหนบ้าง ฯลฯ กว่าจะรู้ตัวนี่เป็นชั่วโมงๆ เลยครับ
รู้สึกว่าเราหย่อนเกินไป (พอรู้สึกว่าหย่อนเกินไปจิตมันก็จะเพ่งขึ้นมาครับ)
พอกลับถึงบ้านก็นั่งเล่นคอมบ้างตามโอกาส และปฏิบัติตามรูปแบบคือสวดมนต์ นั่งสมาธิ(บริกรรมพุทโธ)
ประมาณ 10-20 นาที ตอนนอนก็นอนรู้สึกดูกายที่นอน และสักพักจิตเค้าก็หลง
ไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้รู้บ้างไม่รู้บ้างแล้วก็หลับไป

โดยภาพรวมรู้สึกว่าตัวเองหย่อนเกินไปครับ
ผมขอคำแนะนำวิธีที่จะปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตประจำวันธรรมดาๆ จากลุงครับ

ขอบคุณครับลุง
"ทุกข์" ให้ "รู้"

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
เป็นคำถามที่ดีมากๆเลยครับ ทำให้คิดถึงสมัยที่เริ่มหัดภาวนาใหม่ๆ ตอนนั้น มีปัญหาหรืออุปสรรคอยู่ประการหนึ่ง ที่ทำให้คิดว่า ชาตินี้อาจหวังไม่ได้กับมรรคผลนิพพาน เพราะเห็นครูบาอาจารย์สายพระป่า ท่านทำความเพียรอย่างเอกอุ ทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรมกันวันละหลายชั่วโมงเลย แต่เรานั้น วันหนึ่งๆแทบไม่ได้ทำสมาธิเลยด้วยซ้ำไป เห็นว่าการภาวนานั้นยากเย็นและใช้เวลาถึงเพียงนั้น เราคงไม่มีบุญไม่มีวาสนาในชาตินี้แน่

ต่อมาเมื่อได้พบกับครูสันตินันท์ ได้คุยกับท่านค่อนข้างเยอะในช่วงนั้น ผ่านทาง icq เป็นส่วนใหญ่ ทำให้พบว่า เรายังมีหวัง ท่านพูดเอาไว้ตั้งแต่ครั้งนั้นว่า "หลวงปู่มั่นบอกครูบาอาจารย์ของครูว่า ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน สติในชีวิตประจำวันสำคัญที่สุด" ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่พอจะมีความหวังครับ

มาถึงวันนี้ แล้วกลับไปคิดถึงอดีต ทำให้พอเข้าใจอะไรหลายๆอย่างได้ครับ แม้ว่าค่าเฉลี่ยของครูบาอาจารย์สายพระป่า จะใช้เวลาราวๆ 8 - 16 ปี ก็ตาม แต่บางท่านกลับใช้เวลาผ่านอย่างรวดเร็ว แม้ว่าส่วนหนึ่งจะอ้างกันว่า เป็นเพราะมีของเก่าสนับสนุนอยู่ก็ตาม แต่อีกส่วนก็ต้องยอมรับกันว่า ของใหม่ที่ท่านทำ ย่อมมิใช่ธรรมะที่ทำให้เกิดความเนิ่นช้าเป็นแน่

ทีนี้ย้อนกลับมาที่คำถามของคุณ Dawnheart ครับ

ที่ว่าการปฎิบัติของเรานั้นตึงหรือหย่อนเกินไป คุณ Dawnheart ลองสังเกตดูนะครับ เราไม่สามารถภาวนาในอดีตได้ เราไม่สามารถภาวนาในอนาคตได้ แต่ความจริง เราสามารถภาวนาได้แค่ขณะเดียว คือ ขณะปัจจุบันนี้เท่านั้น ดังนั้น ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็ต้องบอกว่า ไม่ต้องไปแคร์อดีต ไม่ต้องไปแคร์อนาคต กับปัจจุับันก็แค่รู้ รู้กาย รู้ใจ ตามที่เขาเป็น จนวันหนึ่ง จิตเกิดความตั้งมั่น จิตจะสามารถเดินปัญญาต่อไปได้ เพราะเราย่อมยังมีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอน ท่านย่อมแสดงธรรมเรื่องไตรลักษณ์ เรื่องอริยสัจจ์ ไม่มากก็น้อย เท่านั้นก็เพียงพอที่จะน้อมจิตของเราให้เจริญปัญญาได้แล้ว

ตอบในอีกแง่หนึ่ง การภาวนาที่ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ก็คือ การภาวนาในปัจจุบันนั่นเอง ไม่ว่าอดีตจะทำมามากหรือน้อย ก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรไปคำนึงถึง ไม่ว่าอนาคตจะมีโอกาสภาวนามากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปคำนึงถึง สิ่งที่ควรเตือนตนก็คือ เวลาปัจจุบันต่างหาก เมื่อใดที่มีว่างจากการทำงาน (ทั้งการคิดเรื่องงาน ทั้งการคุยปรึกษาหารือ ทั้งการประชุม และการให้เวลากับคนในครอบครัว แล้ว) เราก็เจริญสติไป แม้เวลาอยู่กับเพื่อนฝูง เราก็ยัแอบเจริญสติได้ การไปนั่งรอประชุม หากเราเตรียมทุกอย่างมาพร้อมแล้ว เราก็เจริญสติได้ จะไปพบลูกค้า หากว่าทุกอย่างเตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว เราก็เจริญสติได้ ไม่ใช่สิ่งที่เหลือวิสัย

เรียกว่า เราบริหารเวลาเพื่อการเจริญสติได้ทุกเมื่อ (แต่การเจริญสติไม่สามารถเจริญได้ทุกเมื่อสำหรับชีวิตของชนชั้นกลางที่ทำงานเป็นลูกจ้างเขานะครับ หรือแม้แต่เป็นนายจ้าง หรือเป็นนายของตัวเองก็ตามที หากต้องทำงานอยู่ เราไม่สามารถเจริญสติได้ทุกเมื่อได้ แม้ว่าสติจะจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ แต่ตามสภาพ ตามสถานการณ์อย่างนี้ เราใช้การบริหารเวลาเพื่อการเจริญสติครับ)

ส่วนที่ว่าตึงเกินไป หย่อนเกินไป ตรงนี้ต้องลองดูดีๆนะครับว่า เราเอามาตรฐานอะไรไปวัด ใช่มาตรฐานที่เรากำหนดหรือคิดขึ้นมาเองหรือเปล่า เราคิดว่า เราต้องเจริญสติให้ได้ตลอดเวลาหรือเปล่า ไม่มีใครทำได้ แม้แต่ผู้ที่เป็นพระบวชใหม่ ก็ยังทำไม่ได้เลยครับ และที่สำคัญ สิ่งที่เรา "คิดขึ้นมาเอง" จะใช่ "มาตรฐาน" ล่ะหรือ?

หากสิ่งที่เราคิดขึ้นมาเอง แล้วเราให้เป็น "มาตรฐาน" ที่ไปใช้กับคนอื่นๆ ทางจิตวิทยานั้นดูเหมือนว่าจะมีคำๆหนึ่ง ก็คือ Center หรือ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เอาตัวเองเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน (แทนที่จะเป็นข้อตกลงร่วมกัน หรือสำหรับศาสนาพุทธก็คือ พระธรรมวินัย) แต่ถ้าหากว่า เราคิดขึ้นมา แล้วเราใช้วัดกับตัวเอง ตรงนั้นก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น "มาตรฐาน" แต่เป็น "มาตรส่วนตัว" ครับ

เมื่อเห็นตรงนี้แล้วนะครับ เวลาเกิดความรู้สึกว่าเราทำตึงเกินไป เราทำหย่อนเกินไป สังเกตดูสิครับ ว่าเราหลุดออกจากโลกแห่งความเป็นจริง เข้าไปสู่โลกแห่งความคิดแล้ว นั่นหมายถึงอะไร นั่นหมายถึงว่าเรากำลังขาดสติ เรากำลังพลาดท่าให้กับกิเลส กิเลสตัวที่ชื่อว่า "อยากดี" ชื่อบาลีจะว่าอะไรก็ช่างเขานะครับ แต่ที่แน่ๆเป็นกิเลสที่ "อยากดี" แน่นอน และที่กลายเป็นความหย่อนก็คือ พอเรามีเวลาไปคิดเรื่องนี้ แล้วเราไม่อาศัยจังหวะนี้เจริญสติล่ะก็ ตรงนี้ล่ะครับที่เราหย่อน เพราะเราไปให้เวลากับกิเลสโดยไม่จำเป็นเลย ดังนั้นนะครับ แทนที่จะมีจิตที่หวั่นไหวกับเรื่องการภาวนาที่ย่อหย่อนของเรา เราก็สังเกตจิตใจในขณะนั้นเลย ว่าความอยากดีเป็นอย่างไร สังเกตจิตลงไปในขณะนั้นเลย ว่าจิตที่มีความอยากดีแล้ว จิตดวงต่อมาเป็นอย่างไร

การสังเกต ก็ไม่ต้องไปเฝ้าไว้นะครับ เห็นแค่ไหนก็แค่นั้น บางท่านก็เห็นแค่ความอยากดี ก็รู้ทันแค่ตรงนั้นก็พอ เจริญสติ ภาวนา ต่อไปได้ แต่กับบางท่านอาจยังไม่สะใจ จิตเขาไม่พอ ต้องเห็นต่อมาว่า จิตดวงหนึ่งที่อยากดีเกิดขึ้น (แล้วรู้ไม่ทัน) จิตดวงถัดไปเกิดขึ้นมาพร้อมกับทุกขเวทนาทางใจ เป็นอย่างไร ดิ้นรน กระสับกระส่าย พร้อมๆกับทำให้เกิดจิตอีกดวงหนึ่งที่มีความไม่ชอบใจเกิดขึ้นมา ก็ได้ (แต่การเห็นอย่างนี้ ไม่ใช่การเห็นต่อเนื่องกันไปนะครับ หากแต่เป็นการเห็นในหลายๆคราวแล้วจิตเขาต่อจิ๊กซอว์เป็นความรู้ของเขาเอง ไม่เชิงเป็นปัญญาในพระพุทธศาสนาสักเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ใช่ คือเป็นปัญญาชนิดที่จิตเขาสะสมเก็บเอาไว้ครับ คือ หากจำเป็นเขาก็จะเก็บเอาไว้ หากไม่จำเป็นสำหรับเขา คือ เขาไม่สนใจ เขาก็เลยผ่านไป ตรงนี้ไม่ต้องไปกังวลอะไรนะครับ อ่านไปแล้วก็ผ่านๆไปครับ)

ส่วนตัวผมเอง ก็อาศัยหลักการว่า "ภาวนาเท่าที่ทำได้"  :) แต่ "ว่าง(จากงาน)เมื่อไหร่ก็ภาวนา" เท่านั้นล่ะครับ  :P

ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline Dawnheart

  • Newbie
  • *
  • Posts: 11
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • "ทุกข์" ให้ "รู้"
ทั้งๆที่ผมก็เคยฟัง หลวงพ่อท่านเทศน์ เกี่ยวกับการมีสติลงในปัจจุบันแล้วนะครับ
แต่พอตอนที่ปฏิบัติจริงๆ ไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง ผมกลับลืม Key word คำว่าปัจจุบันไปได้
กลับไป จมปลักอยู่กับอดีต หรือไม่ก็กังวลเรื่องอนาคตซะงั้น  :P

ผมชอบคำนี้มากๆ "เราไม่สามารถภาวนาในอดีตได้ เราไม่สามารถภาวนาในอนาคตได้ แต่ความจริง เราสามารถภาวนาได้แค่ขณะเดียว คือ ขณะปัจจุบันนี้เท่านั้น"

ขอน้อมรับคำแนะนำของคุณลุงไปปฏิบัติครับ
และ ขอขอบคุณลุงถนอมมากครับ สำหรับคำตอบที่ชัดเจนถึงจิตถึงใจมากๆ _/|\_
"ทุกข์" ให้ "รู้"

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ทุกคนก็เป็นอย่างนี้ครับ ต่อให้เป็นมือเก่า มีของเก่าในอดีต ก็ยังลืมได้ในช่วงแรกๆที่มาเริ่มฝึกในชาตินี้ครับ ต้องพลาดหลุดไปเป็นทุกข์ แบกทุกข์ และได้รับคำตักเตือนกันหลายหนหน่อย ถึงจะเริ่มตระหนักถึงความสำคัญนี้ครับ

ผมเข้าใจเอานะครับว่า คำว่าปัจจุบันไม่มีสอนในธรรมจักกัปปวัตนสูตร ก็เพราะจิตของท่านโกณฑัญญะอยู่ในปัจจุบันแล้วในขณะที่ฟังธรรม คือ ตื่น และเปิดใจให้กับคำสอนขององค์พระบรมศาสดาเต็มที่แล้ว เพียงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านแสดงเรื่องอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นปัญญาในพระพุทธศาสนา ท่านโกณฑัญญะ มองเห็นสภาวะตามความเป็นจริง เห็นความไม่มีตัวมีตน เห็นความเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงเกิดดับของสรรพสังขารทั้งหลาย แม้ที่สุดที่จิตของท่าน ก็เป็นเช่นนั้น ท่านจึงบรรลุโสดาปัตติผลในตอนท้ายของการแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรนั่นเองครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline Dawnheart

  • Newbie
  • *
  • Posts: 11
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • "ทุกข์" ให้ "รู้"
รบกวน คุณลุงถนอมอีกหน่อยนะครับ

พอดีเมื่อกี้ผมอ่านที่คุณลุงให้คำแนะนำกับคุณ ladybug25 ว่า
"ความจริงแล้ว อาการอะไรเกิดกลางอกก็ตาม อย่าคิดว่านั่นคือจิตเสมอไปนะครับ ดังนั้น เวลาไปสนใจมอง ก็ให้รู้ว่าสนใจ (ถ้ามองนานๆแล้วรู้ว่ามองนานๆ อันนั้นไม่ใช่การดูจิตแล้วครับ แต่ต้องรู้กิเลสที่กำลังครอบงำจิต คือความสนใจ) เวลาที่จงใจไปแช่ดู ก็ให้รู้ว่าจงใจ (ไม่ใช่รู้ว่าแช่นะครับ เพราะการแช่นั้นเราบังคับจิต การแช่เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น หากเราไปรู้ว่าแช่อยู่ เราจะเห็นว่าจิตบังคับได้ จะส่งเสริมมานะอัตตาครับ)"

มีบางครั้งที่ผมรู้สึกลึกๆ ว่า "เราบังคับจิตได้ จิตเป็นของบังคับได้"
สงสัยผมอาจจะดูผิดตัว อย่างที่คุณลุงแนะนำทางด้านบน คือ ผมอาจจะไปดูสิ่งที่ผมเองสร้างขึ้น และรู้สึกว่ามันบังคับได้
จริงๆ ผมก็รู้ว่ามันผิด เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็บอกอยู่แล้วว่า จิตเป็น อนัตตา เราไม่สามารถบังคับมันได้
แต่ก็อย่างที่บอกว่า ความรู้สึกลึกๆ เหมือน จิตสามารถบังคับได้ อาจเป็นเพราะก่อนที่จะได้มาฟังธรรมจากหลวงพ่อ ผมเป็นคนที่ชอบบังคับจิตตัวเองครับ  :P

คุณลุงครับ เราจะมีวิธีการรู้ หรือแยกได้อย่างไรว่า อันไหนคือสิ่งที่จิตทำขึ้นเอง หรืออันไหนคือสิ่งที่เราจงใจทำขึ้นมาครับ
(คือ จริงๆคำแนะนำของ คุณลุงด้านบนก็ชัดเจนในระดับนึงอยู่แล้ว แต่อยากให้คุณลุงช่วยขยายความเพิ่มเติมให้เห็นชัดยิ่งขึ้นด้วยครับ)
"ทุกข์" ให้ "รู้"

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ความจริงแล้วไม่ต้องแยกแยะหรอกครับ ว่าอันไหนเป็นอาการ "เหมือนบังคับจิตได้" อันไหนเป็นอาการ "บังคับจิตไม่ได้" ภาวนาไปเรื่อยๆก็จะเห็นว่า บ้างก็บังคับได้ บ้างก็บังคับไม่ได้ ต่อๆไปก็จะเห็นเองว่า "จริงแล้วบังคับไม่ได้" แล้วก็จะรู้ต่อมาว่า "ที่ดูเหมือนบังคับได้ ก็เพราะมีเหตุให้เป็นไปตามปราถนา พอไม่มีเหตุ ก็ไม่เป็นไปตามปราถนา" ต่อๆไปก็จะเห็นเองว่า "บังคับจิตให้เป็นไปตามปราถนาแท้จริงไม่ได้" ก็เท่านั้นครับ

ประเด็นสำคัญของคุณ Dawnheart อยู่ตรงที่ เวลาที่จิตคิด คุณ Dawnheart ไม่รู้ หรือรู้ัไม่ทัน ว่าจิตคิด คุณ Dawnheart จะหลงอยู่ในโลกของความคิดอยู่เรื่อยๆ หลงไปแล้วก็ลืมไปหมด ต้องหัดสังเกตว่าจิตคิดให้ได้บ่อยๆนะครับ

วิธีการหนึ่งซึ่งน่าจะเหมาะกับคุณ Dawnheart ก็คือ การบริกรรมพุทโธ แล้วคอยสังเกตไป ว่าจิตรู้พุทโธ หรือรู้เรื่องที่คิด จะนั่งท่าขัดสมาธิ์หรือจะนั่งท่าไหน หรือจะเดิน จะนอน ก็ตามแต่ ลองใช้วิธีนี้สังเกตดูนะครับ บริกรรมพุทโธไป แล้วคอยสังเกตเอา ว่ากำลังรู้คำบริกรรม หรือว่ากำลังรู้เรื่องที่คิด นะครับ

แรกๆจะเผลอยาวสักหน่อย ไม่เป็นไร เราจะฝึกเพื่อให้รู้จักจิตที่หลงไปคิดน่ะครับ ลองดูนะครับ แต่หากว่าบริกรรมพุทโธไปแล้วรู้สึกหนัก หรือตึงเครียด วิธีจะใช้ไม่ได้ผล ก็ใช้วิธีอื่น เช่น เดินจงกรม แล้วคอยสังเกต ว่ากำลังรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว หรือว่ากำลังรู้เรื่องที่คิดนะครับ

ลองดูนะครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline Dawnheart

  • Newbie
  • *
  • Posts: 11
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • "ทุกข์" ให้ "รู้"
"ทุกข์" ให้ "รู้"

Offline Dawnheart

  • Newbie
  • *
  • Posts: 11
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • "ทุกข์" ให้ "รู้"
ความจริงแล้ว จิตจะบังคับได้ หรือบังคับไม่ได้ หรือจิตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของจิต
หน้าที่ของเราผู้ปฏิบัติ มีแค่ รู้ลงปัจจุบันอย่างเดียว

ขอบคุณคุณลุงครับที่ช่วยเตือนสติ  _/|\_
"ทุกข์" ให้ "รู้"

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
จิตเป็นธรรมชาติที่บังคับไม่ได้ จึงเป็นอนัตตา แต่...
จิตเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ เราจึงต้องฝึกให้จิตเจริญสติปัฏฐาน เพื่อเดินบนเส้นทางที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เราจึงต้องเพียร ทั้งเพื่อให้จิตมีความเคยชินที่จะเจริญสติปัฏฐาน และเพื่อให้เกิดปัญญาจากการเจริญสติปัฏฐาน เพื่อความพ้นทุกข์ และทุกข์ดับสิ้นเชิงในที่สุดครับ
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา