Author Topic: [กระทู้เก่ามาเล่าใหม่] สัมมาสมาธิ โดย คุณสันตินันท์  (Read 3064 times)

Offline หงส์น้อยบ้านโค้งดารา

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *
  • Posts: 118
  • คะแนนความนิยม: +4/-0
  • Gender: Male
เขียนตอบไว้ในกระทู้ สัมมาสมาธิ เมื่อ วัน พุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 09:46:55

ที่จริงผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับสัมมาสมาธิเอาไว้หลายคราวแล้ว
ครั้งนี้จึงขอเขียนเพียงย่อๆ ว่า
สมาธิที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ทำกันอยู่นั้น เป็นมิจฉาสมาธิ
คือเป็นความสงบ ตั้งมั่น ที่ยังประกอบด้วยราคะและโมหะ
ไม่ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ(ปัญญา)
ส่วนสัมมาสมาธิจะอยู่โดดๆ ไม่ได้
เพราะองค์มรรคทั้งหลาย ย่อมต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะขาดสัมมาทิฏฐิ(ปัญญา)และสัมมาสติไม่ได้เลย

การทำสัมมาสมาธิ จึงต้องทำไปเพื่อความรู้ตัว
ไม่ใช่เพื่อความสงบ หรือเพื่อคุณสมบัติพิเศษต่างๆ

แต่เมื่อรู้ตัวแล้ว จิตก็จะสงบระงับจากกิเลสตัณหา
และกิเลสตัวหนึ่งก็คือความฟุ้งซ่าน จะถูกรู้แล้วหมดกำลังไปเอง
แล้วจิตก็จะเข้าถึงความสงบในแบบของสมถะด้วยโดยอัตโนมัติ


สัมมาสมาธิจำแนกได้ 3 แบบคืออัปปนาสมาธิ อุปจารสมาธิ และขณิกสมาธิ
อัปปนาสมาธินั้น พระศาสดาทรงสอนไว้ดังนี้ครับ

[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
            นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ
            สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
            สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
             ...................................
            สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
            ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
            บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
             
            เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
            เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
            มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
             
            เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
            เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า
            ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
             
            เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
            เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
            มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
            อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

สำหรับอุปจารสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธินั้น
หมายถึงสมาธิที่เฉียดๆ ฌาน ไม่ใช่ว่าจิตเฉียดๆ จะเกิดสมาธิ
เพราะอุปจารสมาธินั้น จิตเป็นสมาธิแล้ว แต่ยังไม่รวมแน่วลง
ส่วนใหญ่ของคนเมืองที่ทำสมาธิกันนั้น จะได้เพียงเท่านี้ครับ

ส่วนขณิกสมาธินั้น เป็นสมาธิที่สำคัญมากอันหนึ่ง
หมายถึงความตั้งมั่นของจิตเป็นขณะๆ ไปในขณะที่รู้อารมณ์
ผู้ที่ทำอัปปนาสมาธิได้แล้ว
ท่านสอนให้มีสติรู้อารมณ์ที่มากระทบทางทวารทั้ง 6
โดยในขณะนั้น อำนาจของอัปปนาสมาธิที่ทำมาแล้วยังเหลือเชื้ออยู่
สติระลึกรู้อารมณ์แล้วก็จริง แต่จิตยังคงตั้งมั่นอยู่ ไม่เลื่อนไถลไปตามอารมณ์
อันนี้แหละครับคือขณิกสมาธิ
นักปฏิบัติจำนวนมากไม่เข้าใจตรงจุดนี้
พอสติรู้อารมณ์แล้ว จิตก็ถลำกระโจนเข้าไปจับอารมณ์นั้น
เหมือนคนตกน้ำเพราะชะโงกดูสิ่งที่ลอยน้ำมา
หรือเหมือนคนที่ดูละครแล้วกระโดดขึ้นเวทีไปแสดงเอง
ในที่สุดก็กลายเป็นการเพ่งอารมณ์
สิ่งที่นึกว่าเป็นวิปัสสนา ก็กลายเป็นสมถะไปทันที

ทีนี้คนที่ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้
ก็สามารถมีขณิกสมาธิได้ด้วยการสนับสนุนของปัญญา
โดยฝึกรู้เท่าทันจิตตนเอง เมื่อเผลอ หรือเพ่ง
จนเข้าใจสภาวะจิตที่มีสติรู้อารมณ์ โดยไม่เผลอ และไม่เพ่งได้
ในขณะนั้นแหละจิตมีขณิกสมาธิแล้ว

ขณิกสมาธิที่เกิดด้วยปัญญาดังกล่าวนี้ ในช่วงแรกจะมีกำลังไม่มาก
จิตทรงตัวตั้งมั่นได้วับเดียว ขณะต่อไปก็ไม่ตั้งมั่นเสียแล้ว
ต่อเมื่อฝึกมากเข้าๆ นั่นแหละ
ความรู้ตัวที่ทรงตัวตั้งมั่นอยู่ตามธรรมชาตินั้นก็จะเกิดบ่อยเข้า
จนรู้และตั้งมั่นได้บ่อยๆ เช่นเดียวกับผู้ที่ทำอัปปนาสมาธิมาก่อนแล้ว

จิตที่มีขณิกสมาธิและเจริญสติรู้ปัจจุบันธรรม
ไปทีละขณะๆ อันเป็นการเจริญปัญญานั้น
เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะเกิดอัปปนาสมาธิขึ้นได้เอง
ดังนั้นการเจริญปัญญา จึงมีส่วนอบรมสมาธิขึ้นในตัวด้วย
แต่การทำสมาธิอย่างเดียว ถ้าไม่ออกเจริญปัญญา
ด้วยการรู้ความเกิดดับของปรมัตถธรรม ทางตา หู .. ใจ
ก็จะไม่เกิดปัญญาขึ้น

นึกไม่ออกแล้วครับ เอาเท่านี้ก่อนนะครับ

*********************************************

คุณหมอ____ถามว่า
"อารมณ์ รู้ ตื่น เบิกบาน มันก็มีตัวราคะปนอยู่
จะเป็นสัมมาสมาธิหรือเปล่าครับ"

จะเป็นสัมมาสมาธิหรือเปล่า พักไว้ก่อนเถอะครับ ยังไม่สำคัญหรอกครับ
มาสนใจตรงนี้ดีกว่าครับ
คือว่าจิตผู้รู้จริงๆ เป็นแค่ผู้รู้ครับ อารมณ์หรือกิเลส ก็เป็นคนละส่วนกับจิตผู้รู้
แต่ที่คุณหมอเห็นว่า จิตผู้รู้ของคุณหมอยังมีราคะปนอยู่นั้น ดีแล้วครับที่เห็น
เพราะราคะมันแฝงตัวในจิตคุณหมอมานานแล้ว
ผมก็รอเวลาอยู่ว่า เมื่อใดคุณหมอจะรู้ทันตรงนี้ครับ
เมื่อรู้ทันแล้วค่อยรู้ต่อไปอีกครับ ในที่สุดก็จะพบจิตที่รู้ ตื่น และเบิกบานจริงๆ
จิตใจก็จะก้าวหน้าต่อไปอีกครับ เพราะรู้ทันกิเลสตัณหาได้ละเอียดยิ่งขึ้น

"แล้ว ปิติ สุข ในสัมมาสมาธิ จัดว่าเป็น ราคะหรือเปล่า"
สุขเป็นเวทนาครับ ปีติก็เป็นสังขารอันหนึ่ง แยกต่างหากจากราคะ
แต่เพราะมีสุขนั่นแหละครับ ราคะจึงแฝงตัวอยู่ในจิต
เพราะราคะมันเกิดตามสุขเวทนามา
เมื่อรู้ทันแล้ว ราคะดับไป ก็มารู้ปีติและสุขต่อไปด้วยจิตที่เป็นกลาง
ปีติก็จะดับไปเหลือแต่สุข รู้ไปอีกสุขก็ดับอีก
กลายเป็นจิตที่มี สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
การรู้อย่างนี้ เป็นการเอาองค์ฌานมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาครับ
เป็นวิธีปฏิบัติที่สุขสบายจนน่าอิจฉาเชียวครับ
หัดรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

Offline หงส์น้อยบ้านโค้งดารา

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *
  • Posts: 118
  • คะแนนความนิยม: +4/-0
  • Gender: Male
กระทู้นี้อยากให้อ่านควบคู่กับ กระทู้ธรรมเอกกับการเจริญสติปัฏฐาน ที่คุณสันตินันท์ได้เคยเขียนเอาไว้ครับ
http://www.dhammada.net/coffee/index.php/topic,35.0.html
หัดรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

Offline nitivit

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 73
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • ดูอย่างเดียว
สาธุครับ _/|\_
หนทางแห่งสุขาปฏิปทา
"สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
_/l\_  _/l\_  _/l\_ ขออนุโมทนา สาธุค่ะ ^^

ขอตามรู้ตามดูต่อไป เผื่อจะเกิดขณิกสมาธิบ้างค่ะ อิอิ ^^
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^