Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Topics - ลุงถนอม

Pages: 1 2 [3]
31
เมื่อจะเริ่มหัดทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เราก็คงต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ หรือที่เรียกว่า Basic กันก่อนครับ การเริ่มหัดภาวนาก็เช่นกันครับ เราต้องเริ่มจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหมือนกัน

สิ่งที่เป็นพื้นฐาน ต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก (หากทำยากคงไม่เรียกว่าเป็นพื้นฐาน หรือเป็นการเริ่มต้นหรอก จริงมั้ยครับ) พื้นฐานสำคัญในการภาวนาก็คือ  การมีสติที่ประกอบไปด้วยความรู้สึกตัว

การมีสติที่ประกอบไปด้วยความรู้สึกตัว หรือที่เรียกว่า "สติ - สัมปชัญญะ" เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้จิตได้รู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริง จิตไม่ไหลไปกับเรื่องในอดีต ไม่ไหลไปกับเรื่องอนาคต ไม่ไหลไปในเรื่องต่างๆ ทั้งความฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย ความเนือยๆซึมๆ ความขัดข้องคับแค้นใจ หรือความพอใจของสวยของงามต่างๆ จิตไม่อินไปกับเรื่องต่างๆจนไม่สามารถสังเกตความเป็นจริงได้ (และไปปรุงแต่งสภาวะต่างๆเสียเองอีกด้วย)

การที่จิตไม่ไหลไปกับเรื่องต่างๆ ไม่ได้หมายความว่า เรื่องราวเหล่านั้นไม่มี เรื่องราวเหล่านั้นมี หรือเกิดขึ้น แต่จิตไม่ไหลไป จิตไม่คลุกคลี แต่จิตจะทำหน้าทีตามพื้นฐานเดิมของจิต นั่นคือ "รู้" ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้ๆของจิต

การให้จิตได้มีโอกาส "รู้" ตามธรรมชาติเดิมของจิต เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นอันดับแรก ก็เป็นเพราะว่า จิตจะเกิดปัญญาได้นั้น จิตต้องรู้ตามความเป็นจริงเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รู้ตามความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นไปตามไตรลักษณ์ (หรือหากพูดให้ชัดเจน ก็ต้องพูดว่า เป็นไปตามธรรมนิยาม นั่นคือ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง (มีการเปลี่ยนแปลง) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ (ตั้งอยู่ไม่ได้ ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับทำลายในที่สุด) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลาย - สิ่งทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน (บังคับให้เป็นไปตามปราถนาไม่ได้) - รู้ ประการใดประการหนึ่งใน 3 ประการนี้ ก็ได้ชื่อว่ารู้ในไตรลักษณ์แล้ว

และเพราะจิตมีธรรมชาติที่ฝึกได้ เราจึงมีโอกาสที่จะฝึกฝนจิตใจ ให้มีความสามารถ รู้ ตามความเป็นจริงได้ครับ

วิธีการฝึกฝนในขั้นต้น เพื่อให้เกิดจิตที่มีสติและประกอบด้วยสัมปชัญญะนั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเอาไว้แล้ว ก็คือ สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งได้รวบรวมเอาไว้หลากหลายวิธีในมหาสติปัฏฐานสูตร เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับตน

กับคนที่ชอบการคิด และการอ่าน และรวมการให้ความคิดเห็นต่างๆอยู่ตลอดเวลา คนที่ชอบอ่าน ชอบเล่นเว็บบอร์ด (คนที่อยู่ในสังคมเมือง ที่ผ่านระบบการศึกษาตามแบบตะวันตก ล้วนแต่เป็นคนที่ชอบคิด ชอบหาเหตุผล และรวมทั้งการให้ความเห็นต่างๆอยู่ตลอดเวลา หาได้น้อยครับที่จะไม่ใช่เป็นคนแบบนี้ เพราะหากไม่เป็นคนแบบนี้แล้ว โอกาสที่จะเรียนจบการศึกษาคงมีน้อยเหมือนกัน) วิธีการที่จะฝึกขั้นต้น ให้เกิดจิตที่มีสติประกอบด้วยสัมปชัญญะนั้น ก็ทำได้ง่ายๆโดยการสังเกตความรู้สึกต่างๆที่จิต

มีความโกรธ ก็รู้ ว่ากำลังโกรธ การรู้ที่ว่านั้น ไม่ใช่การพูดหรือพากย์เอา แต่เป็นการรู้สึกถึงความรู้สึกโกรธในขณะนั้นๆเลย

จิตคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ คิดโน่นคิดนี้ วุ่นวายมากมาย ก็รู้สึกถึงความฟุ้งซ่านของจิตได้เลย

เวลาเดินไปซื้อของ เจอกระเป๋าที่ชอบใจ ก็รู้สึกถึงความชอบใจที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเลย

เป็นเรื่องง่ายๆที่คนที่อยู่ในเมืองสามารถทำได้โดยไม่ต้องแบ่งเวลาในชีวิตแยกไปปฎิบัติธรรมต่างหากแต่ประการใด และในเบื้องต้นที่เริ่มฝึกหัดนั้น ไม่จำเป็นต้องไปสังเกตความรู้สึกอะไรมากมายเลย เอาเพียงอย่างเดียวก่อนก็ใช้ได้แล้วครับ แต่อย่างเดียวที่ว่านั้น เราควรเลือกจากหลักเกณฑ์ง่ายๆ 2 ข้อ นะครับ คือ

1 สิ่งนั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ
2 สังเกตได้ง่าย

ลองสังเกตตัวเองเลยนะครับ ว่าอะไรเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็เลือกสิ่งนั้นมาเป็นเครื่องมือฝึกหัดเริ่มต้นเลยครับ บางคนเป็นคนหงุดหงิดใจง่าย หงุดหงิดใจแล้วรู้สึกได้ถึงความอึดอัดใจ ก็ใช้ความหงุดหงิดใจ ความอึดอัดใจเป็นเครื่องมือฝึกหัด

บางคนเป็นคนเหม่อลอย พอร่างกายขยับแล้ว รู้สึกได้ถึงความเหม่อลอย ก็อาศัยร่างกายขยับเป็นเครื่องมือเพื่อจะรู้ว่าเมื่อตะกี้นี้เหม่อลอยไปแล้ว เป็นเครื่องมือในการฝึก

บางคนชอบเดินไปซื้อของ เวลาเดินไปซื้อของแล้วมีความสุข พอร่างกายขยับแล้วรู้สึกว่ามีความสุข ก็อาศัยร่างกายขยับ แล้วรู้ว่ากำลังมีความสุข เป็นเครื่องมือในการฝึก

เริ่มต้นแค่ง่ายๆเท่านี้เอง ก็สามารถฝึกฝนตนเองให้มีพื้นฐานในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้ว เพียงแต่ต้องทำบ่อยๆ ตามกำลัง ตามโอกาส ที่ตนมี ก็ได้เริ่มต้นการภาวนาแล้วครับ และที่สำคัญก็คือ อย่าไปเร่งตัวเอง หรือไปตั้งใจว่าต้องทำได้ตลอดเวลา ตั้งใจไว้แค่ ทำเท่าที่ทำได้ ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่จะทำบ่อยๆ เท่านั้นเอง  ;)




32
Coffee Break หรือ กระดานสนทนาของ Dhammada.net จัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกได้ทักทาย พูดคุย และไต่ถาม เพื่อการภาวนา เพื่อการพัฒนาจิตใจตามแนวทางซึ่งองค์พระบรมศาสดาทรงประทานไว้ให้ คือ สติปัฏฐาน ๔

จึงขอความร่วมมือสมาชิกในการสนทนาด้วยความสุภาพ ตั้ง/ตอบกระทู้ให้ตรงกับหัวข้อ โดยมีกฏ กติกา มารยาท ดังนี้
๑.      ห้ามการใช้ข้อความที่พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และราชวงศ์ ตลอดจนข้อความใดๆ ที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐,  พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ประมวลกฏหมายอาญา และกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒.      ห้ามการใช้ข้อความที่พาดพิงถึงการเมือง แนวคิด/กิจกรรมทางการเมือง และระบอบการปกครองใดๆ ทั้งสิ้น
๓.      ห้ามการใช้ข้อความหยาบคาย ก้าวร้าว เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายฯ ผิดศีลธรรม และ/หรือส่อไปในทางลามก อนาจาร  ปรามาสพระรัตนตรัย ลบหลู่ดูหมิ่น จาบจ้วงพระธรรมวินัย พระไตรปิฏก  และ/หรือ ส่อเสียด กล่าวร้าย จาบจ้วง หมิ่นประมาท พาดพิงถึงบุคคล สถาบัน หน่วยงาน องค์กร หรืออื่นใด อันจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง ถกเถียง ทะเลาะวิวาท แตกความสามัคคี
๔.      ห้ามการใช้ชื่อ นามแฝง ที่หยาบคาย ลามก อนาจาร ผิดกฏหมายฯ  ผิดศีลธรรม ละเมิดลิขสิทธิ์    หรือเป็นชื่อจริงของผู้อื่น ในเชิงที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เสียหาย และเสื่อมเสียชื่อเสียง
๕.      ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ พาดพิง แนวทางคำสอน ข้อวัตรปฏิบัติ หรืออื่นใด ของศาสนาอื่นทุกศาสนา และครูบาอาจารย์รูปใดทั้งสิ้น
๖.      ห้ามการโฆษณา  การขายสินค้า ฝาก link หรือบริการเชิงธุรกิจทุกประเภท
๗.      ห้ามการเสนอหรือ อ้างอิงข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัทพ์, e-mail โดยไม่ได้รับอนุญาต
๘.      ห้ามการสมัครสมาชิก มากกว่า ๑ สมาชิก ห้ามการใช้นามแฝงของผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น และหากมีการต้องใช้การอ้างอิงใดๆ ที่เป็นเอกสารทางราชการ ห้ามการใช้เลขบัตรประชาชน หรือเอกสารของผู้อื่น ในการสมัคร
๙.      ห้ามนำข้อความใดๆในกระดานสนทนา ไปเผยแพร่ หรืออ้างอิง ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Dhammada.net

หาก พบการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อกฏ กติกา มารยาท นี้  ทางทีมผู้ดูแลฯ ขอสงวนสิทธิในการดำเนินการต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยจะชี้แจงหรือไม่ แล้วแต่กรณี และถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นสิ้นสุด

หากมีการกระทำ ใดๆ  เข้าข่ายผิดกฏหมายฯ หรือเป็นความผิดทางอาญา ถือว่า สมาชิก ยินยอมให้ทางทีมผู้ดูแลฯ เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ตามที่ทางทีมผู้ดูแลจะพิจารณา โดยไม่เป็นการผิดมารยาท จรรยาบรรณ และจะไม่โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น

การติดต่อกับ ทีมผู้ดูแลฯ สามารถติดต่อได้ทาง e-mail  coffee.dhammada.net@gmail.com เท่านั้น


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ทีมผู้ดูแล Coffee Break (กระดานสนทนา Dhammada.net)

33
Coffee Break หรือ กระดานสนทนาของ Dhammada.net จัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกได้ทักทาย พูดคุย และไต่ถาม เพื่อการภาวนา เพื่อการพัฒนาจิตใจตามแนวทางซึ่งองค์พระบรมศาสดาทรงประทานไว้ให้ คือ สติปัฏฐาน ๔

จึงขอความร่วมมือสมาชิกในการสนทนาด้วยความสุภาพ ตั้ง/ตอบกระทู้ให้ตรงกับหัวข้อ โดยมีกฏ กติกา มารยาท ดังนี้
๑.      ห้ามการใช้ข้อความที่พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และราชวงศ์ ตลอดจนข้อความใดๆ ที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐,  พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ประมวลกฏหมายอาญา และกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒.      ห้ามการใช้ข้อความที่พาดพิงถึงการเมือง แนวคิด/กิจกรรมทางการเมือง และระบอบการปกครองใดๆ ทั้งสิ้น
๓.      ห้ามการใช้ข้อความหยาบคาย ก้าวร้าว เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายฯ ผิดศีลธรรม และ/หรือส่อไปในทางลามก อนาจาร  ปรามาสพระรัตนตรัย ลบหลู่ดูหมิ่น จาบจ้วงพระธรรมวินัย พระไตรปิฏก  และ/หรือ ส่อเสียด กล่าวร้าย จาบจ้วง หมิ่นประมาท พาดพิงถึงบุคคล สถาบัน หน่วยงาน องค์กร หรืออื่นใด อันจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง ถกเถียง ทะเลาะวิวาท แตกความสามัคคี
๔.      ห้ามการใช้ชื่อ นามแฝง ที่หยาบคาย ลามก อนาจาร ผิดกฏหมายฯ  ผิดศีลธรรม ละเมิดลิขสิทธิ์    หรือเป็นชื่อจริงของผู้อื่น ในเชิงที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เสียหาย และเสื่อมเสียชื่อเสียง
๕.      ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ พาดพิง แนวทางคำสอน ข้อวัตรปฏิบัติ หรืออื่นใด ของศาสนาอื่นทุกศาสนา และครูบาอาจารย์รูปใดทั้งสิ้น
๖.      ห้ามการโฆษณา  การขายสินค้า ฝาก link หรือบริการเชิงธุรกิจทุกประเภท
๗.      ห้ามการเสนอหรือ อ้างอิงข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัทพ์, e-mail โดยไม่ได้รับอนุญาต
๘.      ห้ามการสมัครสมาชิก มากกว่า ๑ สมาชิก ห้ามการใช้นามแฝงของผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น และหากมีการต้องใช้การอ้างอิงใดๆ ที่เป็นเอกสารทางราชการ ห้ามการใช้เลขบัตรประชาชน หรือเอกสารของผู้อื่น ในการสมัคร
๙.      ห้ามนำข้อความใดๆในกระดานสนทนา ไปเผยแพร่ หรืออ้างอิง ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Dhammada.net

หาก พบการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อกฏ กติกา มารยาท นี้  ทางทีมผู้ดูแลฯ ขอสงวนสิทธิในการดำเนินการต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยจะชี้แจงหรือไม่ แล้วแต่กรณี และถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นสิ้นสุด

หากมีการกระทำ ใดๆ  เข้าข่ายผิดกฏหมายฯ หรือเป็นความผิดทางอาญา ถือว่า สมาชิก ยินยอมให้ทางทีมผู้ดูแลฯ เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ตามที่ทางทีมผู้ดูแลจะพิจารณา โดยไม่เป็นการผิดมารยาท จรรยาบรรณ และจะไม่โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น

การติดต่อกับ ทีมผู้ดูแลฯ สามารถติดต่อได้ทาง e-mail  coffee.dhammada.net@gmail.com เท่านั้น


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ทีมผู้ดูแล Coffee Break (กระดานสนทนา Dhammada.net)

34
เมื่อท่านได้ Register กับระบบ ซึ่งบังคับให้ใช้ Login เป็นภาษาอังกฤษแล้ว ท่านสามารถเปลี่ยน Display Name (ซึ่งตอนเริ่มต้น จะเหมือนกับ Login ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ) ให้เป็นภาษาไทยได้ เหมือนกับที่ Display Name ของผู้ดูแล

วิธีการเปลี่ยน Display Name ให้เป็นภาษาไทยก็ทำได้ง่ายๆครับ ให้วาง Mouse ไว้ที่ Profile (อยู่ที่ Menu Bar ด้านบนของจอ) จะมี Pull Down Menu ลงมา ให้คลิ้กที่ Account Setting ครับ

เมื่อคลิ้กแล้ว จะเห็น Username (english only) ซึ่งเป็น Login ของเรา กับอีกบรรทัดใต้บรรทัดนี้ เขียนว่า

Name
This is the displayed name that people will see.


ท่านสามารถพิมพ์ชื่อภาษาไทยที่ตรงช่องนี้ได้ และชื่อใหม่ที่พิมพ์ลงไป จะไปปรากฎทุกๆที่ภายใน CoffeeBreak ครับ

หมายเหตุ ท่านต้องทำการบันทึกด้วยการพิมพ์รหัสผ่านของท่าน ลงในช่อง Current Password: ซึ่งจะอยู่ด้านล่างของ page และคลิ้กที่ปุ่ม Change Profile ทางขวามือเพื่อบันทึก Display Name ที่ตั้งใหม่ครับ

35
Coffee Break หรือ กระดานสนทนาของ Dhammada.net จัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกได้ทักทาย พูดคุย และไต่ถาม เพื่อการภาวนา เพื่อการพัฒนาจิตใจตามแนวทางซึ่งองค์พระบรมศาสดาทรงประทานไว้ให้ คือ สติปัฏฐาน ๔

จึงขอความร่วมมือสมาชิกในการสนทนาด้วยความสุภาพ ตั้ง/ตอบกระทู้ให้ตรงกับหัวข้อ โดยมีกฏ กติกา มารยาท ดังนี้
๑.      ห้ามการใช้ข้อความที่พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และราชวงศ์ ตลอดจนข้อความใดๆ ที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐,  พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ประมวลกฏหมายอาญา และกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒.      ห้ามการใช้ข้อความที่พาดพิงถึงการเมือง แนวคิด/กิจกรรมทางการเมือง และระบอบการปกครองใดๆ ทั้งสิ้น
๓.      ห้ามการใช้ข้อความหยาบคาย ก้าวร้าว เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายฯ ผิดศีลธรรม และ/หรือส่อไปในทางลามก อนาจาร  ปรามาสพระรัตนตรัย ลบหลู่ดูหมิ่น จาบจ้วงพระธรรมวินัย พระไตรปิฏก  และ/หรือ ส่อเสียด กล่าวร้าย จาบจ้วง หมิ่นประมาท พาดพิงถึงบุคคล สถาบัน หน่วยงาน องค์กร หรืออื่นใด อันจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง ถกเถียง ทะเลาะวิวาท แตกความสามัคคี
๔.      ห้ามการใช้ชื่อ นามแฝง ที่หยาบคาย ลามก อนาจาร ผิดกฏหมายฯ  ผิดศีลธรรม ละเมิดลิขสิทธิ์    หรือเป็นชื่อจริงของผู้อื่น ในเชิงที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เสียหาย และเสื่อมเสียชื่อเสียง
๕.      ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ พาดพิง แนวทางคำสอน ข้อวัตรปฏิบัติ หรืออื่นใด ของศาสนาอื่นทุกศาสนา และครูบาอาจารย์รูปใดทั้งสิ้น
๖.      ห้ามการโฆษณา  การขายสินค้า ฝาก link หรือบริการเชิงธุรกิจทุกประเภท
๗.      ห้ามการเสนอหรือ อ้างอิงข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัทพ์, e-mail โดยไม่ได้รับอนุญาต
๘.      ห้ามการสมัครสมาชิก มากกว่า ๑ สมาชิก ห้ามการใช้นามแฝงของผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น และหากมีการต้องใช้การอ้างอิงใดๆ ที่เป็นเอกสารทางราชการ ห้ามการใช้เลขบัตรประชาชน หรือเอกสารของผู้อื่น ในการสมัคร
๙.      ห้ามนำข้อความใดๆในกระดานสนทนา ไปเผยแพร่ หรืออ้างอิง ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Dhammada.net

หากพบการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อกฏ กติกา มารยาท นี้  ทางทีมผู้ดูแลฯ ขอสงวนสิทธิในการดำเนินการต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยจะชี้แจงหรือไม่ แล้วแต่กรณี และถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นสิ้นสุด

หากมีการกระทำใดๆ  เข้าข่ายผิดกฏหมายฯ หรือเป็นความผิดทางอาญา ถือว่า สมาชิก ยินยอมให้ทางทีมผู้ดูแลฯ เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ตามที่ทางทีมผู้ดูแลจะพิจารณา โดยไม่เป็นการผิดมารยาท จรรยาบรรณ และจะไม่โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น

การติดต่อกับ ทีมผู้ดูแลฯ สามารถติดต่อได้ทาง e-mail  coffee.dhammada.net@gmail.com เท่านั้น


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ทีมผู้ดูแล Coffee Break (กระดานสนทนา Dhammada.net)


36
ขอต้อนรับด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น เพื่อสนทนากันในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยไม่พาดพิงถึงบุคคลอื่น หรือสำนักปฏิบัติธรรมอื่น และขอไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งหรือความวุ่นวายในสถานการณ์ใดๆ เป็นเพียงแค่เราจิบกาแฟ แล้วคุยกันสบายๆ คุยกันเฉพาะเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นะครับ  :)

forum นี้ จะไม่เปิดกว้างให้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางครับ ท่านสามารถตั้งหัวข้อหรือกระทู้เพื่อสนทนากับลุงถนอมได้ แต่ท่านอื่นๆจะไม่ได้รับอนุญาตให้สามารถเข้ามาคุยในหัวข้อหรือกระทู้ของคนอื่นนะครับ และรวมทั้งไม่อนุญาตให้ส่งข้อความส่วนตัวไปถึงด้วย ทั้งนี้เพราะลุงถนอมไม่ต้องการให้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่ถกเถียงกันเกิดความคิดเห็นที่แตกแยก หรือทะเลาะเบาะแว้งกันในที่สุดครับ

ขอทุกท่านที่แวะผ่านมา ที่กรุณาเข้าใจในจุดประสงค์ของการเปิด Coffee Break ของ Dhammada.net ด้วยครับ

ขอขอบพระคุณครับ
ลุงถนอม

Pages: 1 2 [3]