Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Messages - nitivit

Pages: [1] 2 3 ... 5
1
อ่าน ๆ ไป ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง
เอาเป็นว่าผมขอแค่ดูจิตก็แล้วกันนะครับ ;D

ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน (หวังว่าวันหนึ่งคงเข้าใจ :-[) _/|\_

3
กระทู้นี้ของท่านสันตินันท์ เรียกว่ามีความรู้อะไร เทออกมาจนหมดหน้าตักจริง ๆ เลยครับ
ถ้าเป็นศัพท์ของหลวงพ่อเดี๋ยวนี้ ก็ต้องเรียกว่า "เทย่าม" และ "เอาตัวเข้าแลก" กันเลยทีเดียว

ขอกราบกรานท่านผู้ยอมเหนื่อยยาก เพื่อพวกเราผู้วนเวียนอยู่ในกองทุกข์
จากศิษย์ผู้เต็มไปด้วยอวิชา _/|\_

4
อ่านเรื่องนี้แล้วคิดถึงผมเองก่อนหน้านี้
เคยคิดว่าอภิญญาเป็นของดี
คิดว่าอยากได้อภิญญา เพราะถ้าพ้นทุกข์เฉย ๆ คงไม่เท่ห์เท่าไหร่ :P
หรือเรียกอีกอย่างว่าพระอรหันต์แบบสุกขวิปัสสกะ เพราะไม่เก่งเท่าท่านที่ได้อภิญญา6 หรือวิชา3
พอดูจิตมาได้ระยะใหญ่ ๆ ก็เคยคิดทบทวนเรื่องนี้ว่า
ความจริงอภิญญาต่าง ๆ หาประโยชน์จริง ๆ ในการทำให้ตนเองบริสุทธิ หลุดพ้นจากความทุกข์ไม่ได้เลย
เช่นเรารู้ว่าชาติก่อนเราไปทำอะไรมา ก็ไม่ได้ทำให้อะไร ๆ ในปัจจุบันดีขึ้นสักนิด
อาจช่วยได้ก็แค่สบายใจได้ว่าไม่มีเทพองค์ใดมาบันดารให้เราแย่อย่างที่เป็นอยู่นี้หรอก นอกจากเราทำตัวเราเอง
ที่เห็นจะเป็นประโยชน์จริง ๆ ก็มีเจโตฯ กับทิพจักษุที่เห็นสภาวะจิตผู้อื่นได้
ซึ่งจะทำให้แนะนำผู้อื่นให้ได้ประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมอย่างมากมาย
คิดได้อย่างนี้ก็ไม่คิดอยากได้อภิญญาต่าง ๆ อย่างตอนแรก ๆ ที่เริ่มปฏิบัติธรรมอีก เพราะกลัวหลงของเล่นไปกันใหญ่
รวมถึงนิมิตต่าง ๆ เช่น เคยได้ยินว่ามีผู้เห็นพระพุทธเจ้าปรากฎตัวเพื่อสอนธรรมะให้ หรือบอกให้ทำภารกิจบางอย่าง(เหมือนศาสนาอื่นเลย)
ผมก็อิจฉาว่า เราจะมีวาสนาอย่างนั้นบ้างหรือเปล่าหนอ
มาถึงตอนนี้ รู้สึกว่าถ้าเห็นแบบนั้นคงแย่แน่เลยครับ เพราะไม่รู้จริงหรือเปล่า ;D
แถมต้องเอาสิ่งที่ได้เห็นได้ยิมมาเทียบกับคำสอนของพระพุทธเจ้ากันยกใหญ่แน่เลย
ถึงตอนนั้น ไม่ว่าจริง หรือไม่จริง ผมคงเป๋ไปพักใหญ่แน่ ๆ เลยครับ
คิดว่าเอาแบบไม่ต้องเห็นอะไร ดูจิตไปเรื่อย ๆ แบบนี้แหละดีที่สุดแล้วครับสำหรับผม
 _/|\_

5
ขอบคุณครับ อ่านแล้วจิตสงบมากเลยครับ  :D

7
ขอบคุณครับ
อ่านธรรมอันเกิดจากประสบการณ์ในการปฏิบัติ
รู้สึกถึงอกถึงใจจริง ๆ ครับ
หลัง ๆ นี้ผมรู้สึกฟังธรรมะประเภททำทาน รักษาศิล เป็นคนดี รักเพื่อนมนุษย์ รักสัตว์ ขึ้นสวรรค์ ตกนรก
อะไรพวกนี้แล้วรู้สึกว่าจิตไม่ค่อยเอาเลยครับ เหมือนกับนั่งดูละครน้ำเน่าแบบนั้น
ไม่ใช่ว่าไม่ดี หรือเราปฏิเสธการเป็นคนดีหรอกนะครับ
แต่รู้สึกว่า มันไม่ใช่สิ่งที่เราต้องไปสนใจ หรือใสใจ
สู้ฟังเรื่องการปฏิบัติไม่ได้เลยครับ
(ปล.ละครธรรมะในทีวีบางเรื่องผมเดินหนีเลยครับ :P)
 _/|\_ _/|\_

8
ขอบคุณครับ _/|\_
ทางสายเอก ทางสายเดียว ที่นำไปสู่ความบริสุทธิ หลุดพ้น คือ สติปัฎฐาน
ส่วนใครจะเรียกว่าอย่างไร หรือปฏิบัติวนไปวนมา หรือตัดตรง หรือใช้คำพูดล้อมความคิด
สุดท้ายต้องเข้าไปสู่ สติปัฎฐาน เท่านั้นครับ จึงจะถึงความบริสุทธิที่แท้จริง
เซนเขาก็มีวิธีการปฎิบัติสติปัฎฐานเมือนกันครับ แต่ไม่ได้มีชื่อเรียก หรือรูปแบบเหมือนเถรวาทเท่านั้นเอง
ผมเคยได้ยินเรื่อง มีอาจารย์เซนท่านหนึ่ง ปฏิบัติโดยการกวาดลานวัดทุกวัน วันละหลาย ๆ ชั่วโมง
เหล่าพระเณรในวัดก็พยายามขอให้ท่านไม่ต้องทำ ท่านก็ปฏิเสธ และปฏิบัติภารกิจนี้เป็นประจำ
วันหนึ่งพระลูกวัด ก็นำไม้กวาดของท่านไปซ่อน เพื่อไม่ให้ท่านได้ทำงาน
ท่านจึงสอนพระลูกวัดทั้งหลายด้วยการ ไม่ฉันอาหาร
เมื่อมีผู้ไปขอให้ท่านฉันอาหาร ท่านจึงสอนว่า ไม่ได้ทำงาน ก็ไม่ต้องกินข้าว
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า พวกเซนก็ชอบใช้การทำงานบ้าน(วัด) เป็นเครื่องอยู่แบบที่หลวงพ่อชอบสอนเหมือนกัน
หรือในนิทานเซนอีกหลาย ๆ เรื่องก็มักแสดงให้เห็นพระเซนที่ชอบใช้เวลาในการนั่งสมาธิ หรือทำงานวัดในระหว่างวันครับ

ผมเคยอ่านเรื่องประวัติของท่านอิกคิว พระเซนอีกคน
ท่านบวชตั้งแต่เด็ก(ที่เราดูการ์ตูนกันนั่นแหละครับ)
ที่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดและทุมเทมาก ๆ
กระทั่งอาจารย์ท่านคนนึ่งมรณะภาพ ท่านยังหักห้ามความเสียใจ และปฏิบัติธรรมต่อหน้าศพของอาจารย์ท่าน
จนกระทั่งพระเณรลูกวัดคนอื่นกล่าวหาว่าท่านไม่รักอาจารย์ที่มรณะภาพเลยจึงไม่ร้องไห้ แต่กลับไปนั่งสมาธิ
ทำอย่างนี้เกือบ 20 ปี ท่องเทียวไปตามวัดต่าง ๆ เพื่อขอเรียนธรรมะอีกหลายวัด กว่าจะรู้แจ้งธรรม(ตามตำนานของพวกเซน)
ดังนั้นพระเซนเขาก็ปฏิบัติธรรมกันอย่างทรหด อดทนเหมือนกันครับ
ไม่ใช่กิน ๆ นอน ๆ แล้วเดินไปเจออาจารย์เก่ง ๆ ตามคันนา
ถูกถามประโยค 2 ประโยค ก็บรรลุกันตรงนั้น
อย่างนั้น สิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกก็ไม่ถูกต้องสิครับ
 _/|\_

9
ขอบคุณครับ
ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง(จำไม่ได้เลยไม่ได้อ้างอิงขอโทษด้วยนะครับ _/|\_)
ท่านบอกว่า สติ มีทั้งประกอบด้วยโมหะ และแบบที่ไม่ประกอบด้วยโมหะ
และการทำวิปัสนาต้องใช้สติที่ไม่ประกอบด้วยโมหะ ตอนนั้นอ่านก็งง ๆ
ผมไม่แน่ใจว่าเป็นอันเดียวกับที่ท่านสันตินันท์เขียนว่า
"จิตยังเคลื่อนหลงไปตามอารมณ์ แต่ไม่รู้ทันจิตตนเอง
ซึ่งจิตในขณะนั้น กำลังถูกโมหะครอบงำอยู่นั่นเอง" ใช่หรือเปล่าครับ
ถ้าอย่างนั้นก็ผมคิดว่าที่เรารู้สึกตัวเพื่อให้เกิดสติอยู่นี้
ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นวิปัสนาหรือไม่สินะครับ
สุดท้ายก็มาอยู่ที่รู้ไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะมีโมหะหรือไม่มีโมหะ ก็รู้ไปเรื่อย ๆ เท่านั้นเอง
บางทีอ่านบทความชุดนี้แล้วก็เกิดความคิดฟุ้งซ่าน
อยากทำให้มีสติแบบไม่มีโมหะ หรืออยากให้เกิดสัมปชัญญะ
ดังนั้นเวลาหลวงพ่อเทศน์ปกติเลยไม่ค่อยแนะนำให้อ่านหนังสือที่ท่านเขียนเท่าไร
แต่แนะนำให้ฟังซีดีไปเรื่อย ๆ มากกว่าคงเพราะกลัวพวกอ่านแล้วคิดมากอย่างผมนี่แหละครับ ;D

10
ปกติแล้วกามราคะ โดยเฉพาะเรื่องสาวนี่ผมก็มีปัญหาครับ
คือเวลาเห็นแล้วมักเกิด ความรัก-ความชอบตามมา(ก็กามราคะแหละครับ ;D)
แล้วก็มักพยายามหักห้ามความชอบของตัวเองตลอดเลยครับ ตอนนี้แหละที่อาการกดจะรุนแรงมาก
มีครั้งหนึ่งที่อ่านหนังสือ ไม่แน่ใจว่าพระไตรปิฎกหรือเปล่า ท่านว่าเหตุใกล้ของกามราคะคือ ศุภนิมิต
หรือการหมายเอาว่า ของที่ไม่สวยไม่งาน เป็นของสวย ของงาม
ผมก็เลยเอามาสังเกตุครับว่า เรากำลังถูกหลอกว่า แบบนี้ก็หมายว่าสวย แบบนี้เรียกว่างาม
แบบนี้เรียกไม่สวย ไม่งาม ดังนั้นหากบางทีพอผมเห็นผู้หญิงที่หน้าตาดี หรือพวกผู้หญิงที่เป็นชาวต่างชาติ
ความคิดเรื่อง "ศุภนิมิต" ก็จะดังขึ้นมา แล้วจะมีสติ เห็นเป็นกาย เป็นวัตถุ ที่เราไปหมายว่าสวย ว่างามไปเองครับ
ปัญหาคือ บางทีเจอแบบที่สวยติดใจมาก ๆ สติเกิดแล้ว ดับไป เสร็จแล้วก็ยังคงเห็นว่าสวยอยู่
อันนี้ก็ต้องใช้ไม้ตายครับ คือ 1.ปิดตา 2.หันหน้าหนี 3.พาตัวออกจากสถานการณ์เสี่ยงทันทีที่ทำได้ครับ  :P
แหมก็บางคนเขาก็สวยจริง ๆ ครับ สติน้อย ๆ ของผมสู้ไม่ไหวจริง ๆ ครับ ต้องหนีเอาตัวรอดก่อนใจจะหมองไปกว่านี้

อ่านข้างบนแล้วมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกสกิดใจครับ
เรื่อง การใช้ราคะและโทสะคานกัน
กล่าวคือ ราคะมีโทษน้อย แต่โทสะมีโทษมาก
ดังนั้นท่านสันตินันท์จึงแนะนำเรื่องครูบาอาจารย์ใช้ราคะแก้โทสะ
ในทางกลับกัน ผู้เขียน E-mail ไปถามท่านสันตินันท์
เกิดราคะ และใช้โทสะในการระงับราคะ คือการกด ข่มไว้ และไม่อยากให้ราคะเกิด
เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติของผู้ปฏิบัติธรรมครับ เพราะผมเองก็เป็น คือราคะเกิดก็ไม่ชอบ และตามไม่ทันโทสะเลยครับ
แต่ปัญหาคือ ราคะกับโทสะเป็นเหมือนไม้กระดานหก ที่ดีดไปดีดมา คงต้องหาจุดพอดีที่ไม่ทำให้เดือดร้อนครับ
ท่านสันตินันท์จึงพูดถึงเรื่องศีลในตอนท้ายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติตั้งมั่นเรื่องศีลไว้ก่อน เพราะยังไงก็ห้ามราคะ กับโทสะไม่ได้
และเพราะเราคงไม่สามารถกำจัดราคะ กับโทสะให้หมดไปได้(ไม่ใช่ภูมิของเรา) ดังนั้นจะอยู่กับมันอย่างไม่เป็นปฏิปักษ์กันได้อย่างไร
ส่วนตัวผมคิดว่า ให้โทสะน้อย ๆ แล้วมีราคะ บ่อยกว่า น่าจะเป็นส่วนผสมที่ดีกว่าคงโทสะไว้ แล้วพยายามกำจัดราคะไปนะครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อน ๆ ท่านใดมีประสบการณ์ในการสู้กับกามราคะก็ลองนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ
เผื่อผมจะได้มีไอเีดียเอามาปรับใช้บ้าง  :D

11
เห็นด้วยครับว่า เจตนาของครูบาอาจารย์ระดับนั้นเดาไม่ออกจริง ๆ ครับ
แต่เรื่องว่า ท่านสันตินันท์(ตอนนั้น) แนะนำให้มีวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ไว้
เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ดีครับ
ส่วนตัวผมแล้ว ปกติจะใช้ร่างกาย(อิริยาบทใหญ่/ย่อย) เป็นวิหารธรรม สลับกับการดูท้องพองยุบตอนนั่งสมาธิ
แต่พอช่วงไหนรู้สึกว่าดูจิตได้ต่อเนื่องก็จะดูจิตเลย ทำให้หลัง ๆ ไม่มีวิหารธรรมตายตัวนาน ๆ
ทีนี้ ตอนอยู่คนเดียวก็ยังดูจิตได้ครับ แต่พอมีคนอยู่ด้วย โดยเฉพาะพวกที่ชอบชวนคุย
ทำให้หลงนานเลยครับ พอลองฟังคนอื่นพูดด้วย แตะนิ้วเล่น ๆ ไปด้วย
รู้สึกว่ามีสติเกิดขึ้นบ้าง ไม่ค่อยหลงไปนาน
แบบนี้ก็ดีเหมือนกันครับ  ;D จะเสียก็แต่บางทีมันฟังคนอื่นพูดไม่ค่อยรู้เรื่องเพราะสติมันตัดไปดื้อ ๆ เสียอย่างนั้นก็มีครับ
 _/|\_

12
ขอบคุณครับ  _/|\_
กล่าวถึงที่สุดแล้ว การยึดทั้งมวลต้นเหตุมาจากการยึด "เรา" เป็นศูนย์กลางทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าเพียงได้เป็นพระโสดาบัน(ละสักกายทิฏฐิ)ความทุกข์ก็หายไปส่วนมากแล้ว

13
 _/|\_
เคยได้ยินที่หลวงพ่อเทศน์ครั้งหนึ่งว่า
เราฝึกไปไม่ใช่เพื่อให้ได้อะไรมา และเราก็ไม่ได้เสียอะไรไป
สิ่งเดียวที่ได้มาคือ ความเห็นถูก หรือสัมมาทิฎฐิเท่านั้นเอง
จำได้ว่าตอนได้ยินครั้งแรกจิตมันสะท้านในอกเลยครับ ^^

Pages: [1] 2 3 ... 5