Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

อย่าไปแทรกแซงสภาวะ

mp3 (for download): อย่าไปแทรกแซงสภาวะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางทีไปภาวนาแล้วก็ไปแทรกแซง เห็นสภาวะใด ๆ เกิดขึ้นแล้วก็อยากแก้ไขตลอด เพราะจิตมันเจือด้วยโทสะ

งั้นเราภาวนาแทบเป็นแทบตายนะทำไปเพื่อสนองกิเลสทั้งสิ้นเลย ที่อาจารย์มหาบัวท่านใช้คำว่าภาวนาแล้วกิเลสหนังไม่ถลอกเลย เพราะว่าภาวนาสนองกิเลสอยู่

อยากดี รักดี เกลียดชั่ว รักสุข เกลียดทุกข์ รักความสงบ เกลียดความฟุ้งซ่าน

ตราบใดที่ยังรักอันนึงเกลียดอันนึงอยู่นี่ จิตไม่เลิกปรุงแต่ง ให้เรารู้สภาวะทั้งหลายตามที่เค้าเป็นจริง ๆ

งั้นอย่าไปแทรกแซงสภาวะ พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ตามความเป็นจริง เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

ให้รู้ตามความเป็นจริงไม่ใช่ให้แทรกแซง

สวนสันติธรรม 27
511101

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตแล้วอึดอัดกลางอก

MP3 (for download): ดูจิตแล้วอึดอัดกลางอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: นมัสการค่ะหลวงพ่อ จะถามว่า ที่หลวงพ่อเคยบอกว่าไปกดไว้ แล้วมันยังอึดอัดอยู่กลางอก มันเป็นตลอดเลยค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ยังเป็นอยู่ไหม รู้ด้วยความเป็นกลาง

โยม: มันเป็นเบาๆ ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: มันน้อยลงแล้วนี่ รู้สึกไหม

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: มันน้อยลงก็ดีแล้วล่ะ มันมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆ ไปกดไว้เพราะเราอยากดี เราอยากสุข เราอยากสงบ เราอยากพ้นทุกข์ เราอยากปฏิบัติ

เห็นไหม มีคำว่าอยากนำหน้า เพราะฉะนั้นถ้าใจเรามีความอยากใดๆ เกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ไปลงมือทำอะไรบางอย่างขึ้นมา

สิ่งที่ทำก็มีแต่เรื่องบังคับกายบังคับใจ พอบังคับแล้วมันก็อึดอัดแน่นๆ ขึ้นมา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูอย่างไรถึงเกิดสติตัวจริง?

MP3 (for download): ดูอย่างไรถึงเกิดสติตัวจริง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: บางครั้งก็รู้สึกว่ามีสติ แต่ว่ารู้สึกว่าสติแต่ละครั้งที่เกิดมันไม่เหมือนกันครับ บางครั้งมันก็แว๊บขึ้นมา หรือบางครั้งมันก็เหมือนกับแค่คิดๆ อยู่แล้วความคิดมันก็ดับไปเอง เหมือนไม่มีอาการอะไรเลย

หลวงพ่อปราโมทย์: ห้ามมันไม่ได้หรอก เลือกไม่ได้

โยม: ครับ เลยไม่รู้ว่าที่เกิดขึ้นเป็นสติตัวจริงหรือเปล่าครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: คืออะไรเกิดขึ้นนะ ถ้าเรารู้ตรงตามความเป็นจริงได้ก็เรียกว่ามีสติแล้ว เช่น มันมัวๆ รู้ว่ามัว ก็เรียกว่ามีสติเหมือนกันนะ มันเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้น

อย่างตอนนี้ตื่นเต้น ดูออกไหม ตื่นเต้นเราก็รู้ว่ามันตื่นเต้น จิตแอบไปคิดแล้วดูออกไหม เราก็รู้ว่าไปคิด จิตไปอีกแล้วรู้สึกไหม รู้ทันอย่างนี้นะ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาโดยการสวดมนต์

MP3 (for download) : ภาวนาโดยการสวดมนต์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : คือตอนนี้คุณแม่ท่านสวดมนต์ไหว้พระทุกวันครับ จะใช้การสวดมนต์เป็นการภาวนาครับ แต่ยังไม่ทราบวิธีการวิปัสสนา.

หลวงพ่อ : บอกคุณแม่ไว้นะว่าเวลาสวดมนต์ใจหนีไปคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ให้รู้ทันว่าจิตมันไปคิด แล้วมาสวดอีก เช่น อรหันต์สัมมาจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน, สัมพุทโธ ภะคะวา จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน, จิตของคุณแม่หนีไปคิดบ่อยมากดูง่ายออกไปฝึกเอานะ.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: แนะนำ as a lobby ทานไอติมลิ้มธรรมะ

แนะนำ as a lobby ทานไอติมลิ้มธรรมะ

Dhammada.net ขอแนะนำร้าน as a lobby จุดพักผ่อนแห่งใหม่ของคนรักธรรมะ

สำหรับท่านที่มีความประสงค์ที่จะขอรับ CD และหนังสือธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์ และ

หนังสือธรรมะของ อ.สุรวัฒน์ ท่านสามารถรับได้ฟรีที่ร้าน as a lobby ครับ

โดยตั้งอยู่ที่ ซ.สุขุมวิท 24 (ซอย Emporium) เปิดเวลา 11.30 น. – 21.30 น.

เบอร์โทรติดต่อ 02-258-9812

หมายเหตุ ขอความกรุณารับสื่อ ซีดี+หนังสือ 3 ชิ้นต่อ 1 ท่าน เพราะของมีจำนวนจำกัดครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย…

MP3 (for download): หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย…

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย

ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา

จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถ้าถึงวันนั้นนะ

เราจะระหกระเหินอีกแสนนาน…

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เห็นธรรมะได้สามแบบ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

mp3 (for download): เห็นธรรมะได้สามแบบ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พอสติเราแกร่งกล้าขึ้นๆ ใจมันจะเริ่มเห็นธรรมะ การเห็นธรรมะได้มันจะเห็นได้อยู่ ๓ แบบ (ทุกแบบเห็นทุกข์หมดนะ)

(๑) พวกเห็นทุกข์ เพราะเห็นทุกอย่างจะเต็มไปด้วยความแปรปรวนความแปรปรวนเอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ เห็นทุกข์เพราะไปเห็นอนิจจังเข้า

(๒) บางคนเห็นทุกข์ เพราะเห็นความทุกข์จริงๆ เห็นมันถูกเสียดแทง ร่างกายจิตใจนี้ถูกความทุกข์เสียดแทงบีบคั้นแทบจะแตกสลายเลย พวกเห็นแบบนี้แล้วจะหลุดพ้นเป็นพวกเล่นสมาธิมากๆ พวกเล่นสมาธิมากมันมีแต่ความสุขจิตใจมีแต่ความสุขมีแต่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจมีแต่ความสุขล้วนๆเลย ปล่อยไม่ได้ ชอบ ถ้าทำก็เมตตาปรานีเรานะ เอาความทุกข์มาให้ดู ทุกข์แบบสุดๆเลย ทุกข์แบบถ้าไม่ตายก็บ้าเลย ทุกข์จนกระทั้ง เห็นทุกข์แจ่มแจ้งว่าถูกบีบคั้นถูกเสียดแทงถูกกดดันทั้งกายทั้งใจนี้จนยอมวาง

(๓) พวกนี้ไปธรรมดาๆ เห็นๆไป ดูไปเรื่อยๆ เห็นทุกอย่างว่าไม่เกี่ยวอะไรกับเราสักอย่าง พวกนี้สบายๆไปง่ายๆ

มีหลายแบบนั้น แต่รวมความแล้วการภาวนาฝึกแบบไหน การภาวนาที่ถูกต้อง ต้องรู้กายต้องรู้ใจ การรู้กายการรู้ใจต้องมีสติอันหนึ่ง มีสัมมาสมาธิอันหนึ่ง สองอันช่วยกัน มีสติเป็นตัวระลึกรู้ อะไรเกิดขึ้นในกายคอยรู้สึก อะไรเกิดขึ้นในจิตใจคอยรู้สึก คอยรู้สึกกายคอยรู้สึกใจมีสติ มีสัมมาสมาธิคือในระหว่างรู้สึกกายรู้สึกใจไม่เผลอไปที่อื่นและไม่ไปเพ่งกายไม่ไปเพ่งใจ สักว่ารู้สักว่าเห็น ดูอยู่ห่างๆเป็นผู้เห็นเป็นผู้ดู.

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
File: 500624.mp3
Time: นาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิจจสมุปบาท การดับเวทนาไม่ใช่สติปัฏฐาน

mp3 (for download): ปฏิจจสมุปบาท การดับเวทนาไม่ใช่สติปัฏฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเป็นการเจริญสติปัฏฐานที่แท้จริงต้องได้ผลเร็ว มีคำว่าเร็วนะ ต้องได้ผลเร็วด้วย ต้องรู้กายต้องรู้ใจตามความเป็นจริงจึงจะได้ผลเร็ว, บางคนแทนที่จะคิดว่าต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงก็ไม่คิดอย่างนั้น ไปคิดอย่างอื่นมีสอนกันนะสำนักใหญ่ๆยังมีเลย สอนให้ดับเวทนา เวลาเราจะหยิบจะจับอะไรให้เพ่งไว้ที่มือ กำหนดไปเรื่อยๆนะ ให้รู้สึกๆอยู่ที่มือ ไม่สนใจความรู้สึกตัว ไม่สนใจที่จิต เรียกว่า มีสัญญาวิราคะ เพ่งรูป เรียกสัญญาวิราคะ ในที่สุดจะดับเวทนาลงไป ดับเวทนาลงพร้อมกับจิต ภาวนาแล้วเหลือแต่ร่างกายตัวแข็งทื่อๆอยู่ไม่มีจิต มีอยู่ภูมิเดียวที่ไม่มีจิตคืออสัญญีสัตตาภูมิ(พรหมลูกฟัก) ภาวนาแล้วเป็นพรหมรูปฟักคิดว่าเป็นนิพพานเพราะว่าตรงนั้นไม่มีกิเลส มีกิเลสไม่ได้เพราะมันมีแต่วัตถุ มีแต่ร่างกายไม่มีกิเลส.

ถ้าศึกษาให้ดีเสียก่อนพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ดับเวทนา จริงอยู่ท่านพูดนะเพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปทานจึงดับ แต่ท่านไม่ได้สอนให้ดับเวทนา สับสนไปเองนะได้ยินคำว่าดับๆจึงคิดว่าจะไปดับมัน, ในความเป็นจริงเวทนาเป็นเจตสิกชนิดหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิตทุกๆดวง เมื่อไรมีจิตเมื่อนั้นจะต้องมีเจตสิก เจตสิกที่ต้องเกิดทุกทีเลยคือเวทนา, การจะดับเวทนาได้มีอยู่ทางเดียวคือดับจิต ดับจิตได้มีอยู่ภูมิเดียวคือพรหมลูกฟัก เดินพลาดตีความคำสอนคลาดเคลื่อนไป คิดว่าเวทนาดับ ตัณหาดับ อุปทานดับ ภพดับ ชาติดับ ทุกข์ดับ คิดจะดับทุกข์ด้วยการไปดับเวทนา, ถามว่าเวทนาเป็นองค์ธรรมชนิดไหน เวทนาเป็นวิบากนะ วิบาเป็นผลของกรรม วิบากเป็นสิ่งที่ดับไม่ได้ ถ้าผลหมดวิบากจึงดับ เวทนาไม่ใช่กิเลสที่จะไปดับเอาตามใจชอบ แม้กระทั่งกิเลสก็ดับไม่ดับ ในความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับมันถึงจะดับ ไม่มีใครดับอะไรได้หรอก บางคนมุ่งไปดับเวทนามันไม่ใช่ดับอย่างนั้น ในปฏิจจสมุปบาท มีองค์ธรรมอยู่ ๓ ชนิด ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ธรรม ๑๒ ตัว

๑.) กลุ่มที่เป็นกิเลส ได้แก่ (๑)อวิชชา(ความไม่รู้แจ้งอริยสัจ) (๒)ตัณหา ( ความทะยานอยากของจิต อยากได้อารมณ์ทาง ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ ลักษณะของความอยากเป็น ๓ อย่าง อยากได้เสพอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า กามตัณหา, อยากมีสภาวะอันใดอันหนึ่งขึ้นมา เรียก ภาวตัณหา, อยากดับสภาวะทั้งหลายทั้งปวงออกไป เรียกว่า วิภาวตัณหา, อยากให้มีภาวะอยู่ เป็น สัสสตทิฐิ อยากให้มันเที่ยง, อยากให้ภาวะทั้งหลายดับไป เรียกว่า วิภาวตัณหา คือ อุจเฉททิฐิ อยากให้สูญ เช่นคิดว่าภาวนาแล้วจิตดับลงไปหมดเลย แล้วก็เป็นนิพพาน จริงๆเป็นวิภาวตัณหานะ ผลักดันอยู่ (๓)อุปทาน, ในปฏิจจสมุปบาท มี อวิชชา ตัณหา และ อุปทาน นี่แหละ ที่เป็นส่วนของกิเลส, กิเลสมีตัวสภาวะที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำกรรม

๒.)ในปฏิจจสมุปบาทมีตัวที่กรรมอยู่ คือ (๑)สังขาร  อวิชชา ปัจจยา สังขารา อวิชชาเป็นปัจจัยของสังขาร, ตัวสังขารเป็นตัวกระทำกรรม คือความปรุงแต่งนั่นเอง, ปรุงอะไรบ้าง ปรุงดีบ้าง ปรุงชั่วบ้าง ปรุงความไม่มีอะไรบ้าง. (๒)อีกตัวหนึ่ง ถัดจากนั้นตัวที่เป็นกรรมอีกตัวหนึ่ง คือ ตัวภพ, ตัณหาปัจจะยา อุปปาตานัง อุปปาตานะ ปัจจะยา ภะโว ตัณหา เป็นตัวโลภะ อุปทาน เป็นโลภะที่มีกำลังกล้า เป็นกิเลสด้วยกันนะ ทำให้เกิดการกระทำกรรม คือการสร้างภพในใจ, ใจเราสร้างภพอยู่ตลอดเวลา สร้างภพน้อยภพใหญ่ ภพของมนุษย์ ภพของเดริจฉาน ภพเปรต ภพของอสุรกาย ภพเทวดา ภพของพรหม ใจเราสร้างภพหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ภพแบบนี้ถ้าแจกแจงลงไป เป็น กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ล้วนสร้างภพทั้งสิ้น, จิตที่ทำงาน จิตที่สร้างภพ เรียกว่า กระทำกรรม, ถ้ากิเลสดับ จิตจึงจะเลิกกกระทำกรรม.

๓.) ถ้าจิตมีกิเลส จิตยังกระทำกรรมอยู่ ที่เหลือเป็นวิบากแล้ว (๑)สังขารา ปัจจะยา วิญญา สังขารเป็นปัจจัยของวิญญาณ  (๒)วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป (๓)นามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะ (๔)สฬายตนะเป็นปัจจัยของผัสสะ (๕)ผัสสะเป็นปัจจัยของเวทนา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิบากทั้งสิ้น เป็นผลของกรรมแก้ไขอะไรไม่ได้ ต้องรับอย่างเดียว, วิบากถัดไปที่เกิดจาก(๖)ภพ (๗)ชาติ (๘)ชรามรณะ 

ความทุกข์ทั้งหลาย ความทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่จะละได้ แต่เป็นวิบาก, ธรรมะของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งมากนะ เวลาละไม่ใช่ว่าไปไล่ดับเอาตามใจชอบ ต้องดูว่าอะไรเป็นต้นตอที่แท้จริง ต้นตอที่แท้จริง คือ อวิชชา, ทำอย่างไรจึงจะละอวิชชา จึงจะดับอวิชชาได้ ไม่มีผู้ใดที่สามารถดับอวิชชาได้ แต่เมื่อใดที่เกิดวิชชา อวิชชาจะดับเอง, วิชชาเหมือนแสงสว่าง อวิชชาเหมือน ความมืด ทันที่แสงสว่างเกิดขึ้น ความมืดจะดับลงไปเอง ไม่ต้องมุ่งหน้าดับอวิชชานะ แต่ให้มุ่งหน้าทำให้เกิดวิชชาขึ้น วิชชาอย่างแรกคือการรู้แจ้งในกองทุกข์ ถ้ารู้ทุกข์แจ้มแจ้งเมื่อใดจึงจะละสมุทัยโดยอัตโนมัติ แจ้งนิโรธเมื่อนั้น เกิดอริยมรรคเมื่อนั้น.

งานจริงๆ คือ การรู้ทุกข์, สิ่งที่เรียกทุกข์ คือรูปนาม กายใจ นั่นเอง, การที่เรามีสติรู้กายรู้ใจตรงตามความเป็นจริง เรียก สติปัฏฐาน, ท่านจึงสอนว่า สติปัฏฐาน เป็นทางสายเดียวที่จะทำให้ไปสู่ความ บริสุทธิ์หลุดพ้นได้, หน้าที่ของเรา คือ การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ไปเรื่อยๆนะ วันหนึ่งจะเกิดความรู้จริง ความไม่รู้ คือ อวิชชาจะดับลงไป กระบวนการทำงานความไม่รู้ก็จะดับลงทั้งสายเลย, ภาวนาให้ได้หลักนะ งานเราไม่มีดับเวทนา งานเราไม่มีดับสังขาร งานหยุดคิดไม่มีทำอย่างไรจึงจะไม่คิด ทำอย่างไรจึงจิตจะสงบอยู่กับความว่าง ภาวนาแล้วเอาแต่ความว่างอย่างเดียว น้อมจิตไปสู่ความว่างอย่างเดียว ล้วนใช้ไม่ได้ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้น้อมจิตไปสู่ความว่าง พระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐาน สอนกายานุปัสสนา มีสติตามรู้กายอยู่เนืองๆ, สอนเวทนานุปัสสนา มีสติตามรู้เวทนาอยู่เนืองๆ, สอนจิตตานุปัสสนา มีสติตามรู้จิตอยู่เนืองๆ, สอนธรรมานุปัสสนา มีสติตามรู้สภาวธรรมอยู่เนืองๆ, ท่านไม่ได้สอนสุญญตาสติปัฏฐาน ไม่มี ไม่ได้สอนให้ไปรู้ความว่าง แต่เมื่อใดที่เรารู้กายรู้ใจแจ้มแจ่งตรงตามความเป็นจริง ตัณหาจะดับเองเราจะเห็นนิพพาน มันจะว่างเอง.

CD: สวนสันติธรรม แผนที่ ๒๔
File: 510308.mp3

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

โมหะสมาธิ

mp3 (for download) : โมหะสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ก็ มีโมหะครับ ข้างในใจมีดิ้น กุ๊กกิ๊กๆอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูสิ มันแข็งป๊อกเลย รู้สึกมั้ย

โยม: ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: มันเครียด ระวังเป็นโรคจิตนะ

(เสียงโยมหัวเราะ)

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่ใช่จิตแพทย์ไม่เป็นโรคจิตนะ ไปเค้นจิตเข้ามากๆเดี๋ยวเป็นโรคจิตแล้วจะมาโทษกันไม่ได้ ต้องปล่อยมัน ปล่อยแล้วก็รู้ ปล่อยแล้วก็รู้ไป

โยม: ช่วง สามสี่วันที่ผ่านมา ก็ ลองนั่งสมาธิแบบดูลมหายใจ ที่นี้ ปรากฎว่า รู้สึก ใจมันเข้าไปคลุกกับลมมาก แล้วก็…

หลวงพ่อปราโมทย์: ให้รู้ทันสิว่าใจไหลไปรวมที่ลม

โยม: แต่ คือ ตอนที่นั่งตอนนั้นมันไม่รู้ครับ แต่ออกมา มันรู้ว่าใจมันนิ่งผิดปกติไป

หลวงพ่อปราโมทย์: ก็ให้รู้ ก็ต้องรู้ทันตั้งแต่แรกนะ พอลมหายไป ก็เหลือแต่ใจอันเดียว เพราะโลกธาตุดับไปเลย เหลือแต่ใจอันเดียว ไม่ขาดสตินะ คนโบราณ หลวงปู่เทสก์บอก เขาฉลาดนะ เขาเรียกว่าลมหายใจ พอลมหายแล้วถึงใจเลย เราก็คอยรู้เอา เริ่มต้นภาวนาอย่าบังคับตัวเอง

ส่วนมากผู้ปฏิบัตินะ เริ่มต้นด้วยการบังคับตนเอง อยากปฏิบัติก่อน อยากปฏิบัติแล้วก็ลงมือปฏิบัติ สิ่งที่ทำก็คือการบังคับตัวเอง อันนี้อยู่ในอรรถกถาสอนไว้นะ น่าฟัง ทันทีที่ลงมือปฏิบัติเรียกว่าการปรุงแต่งฝ่ายกุศล ปรุงแต่งฝ่ายกุศล กับอัตตกิลมถานุโยค อันเดียวกัน บังคับตัวเอง

เราไม่ได้ปรุงกุศล ไม่ได้ปรุงอกุศล แต่จิตมันปรุงกุศลบ้าง ปรุงอกุศลบ้าง เราตามดูมันไปตามดูไปจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็ปรุงกุศล เดี๋ยวจิตก็ปรุงอกุศล จิตมันปรุงของมันเองไม่มีเราปรุง นะ ต้องรู้อย่างนี้นะ เพราะฉะนั้นภาวนาอย่าให้เสียหลัก ต้องดูให้ได้ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ดูมันตรงนี้ไม่ไปดูที่อื่นไม่ใช่ไปนั่งรู้ลมหายใจแล้วก็เคลิ้มๆอยู่กับลม ไม่เห็นตรงไหนเลยว่าไม่ใช่เรา มีแต่โง่ๆขาดสติไป เรียกสมาธิหัวตอ สมาธิโง่ๆ ครูบาอาจารย์วัดป่าเรียก โมหะสมาธิ หรือไม่ก็นั่งเยิ้มๆ เยิ้มๆ ทำได้หลายแบบนะ นั่งแล้วเยิ้ม ดูเป็นมั้ย พวกที่มีตาข้างในก็จะดูได้ ทำเยิ้มๆ มีความสุข เหมือนคนติดยา นี่เป็นสมาธิที่เจือด้วยโลภะ ด้วยราคะ สมาธิเจือด้วยกิเลสใช้ไม่ได้ ต้องสมาธิที่ประกอบด้วยสติ จึงจะใช้ได้

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510415B.mp3
Time: ตั้งแต่นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อัตตกิลมถานุโยค:-หลุมพรางนักภาวนา

MP3 (for download): อัตตกิลมถานุโยค:-หลุมพรางนักภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: สติไม่ได้แปลว่ากำหนดนะ อย่าไปแปลสติว่ากำหนด ถ้าแปลสติว่ากำหนดล่ะก็ผิดทันทีเลย  กำหนดแปลว่ากด แปลว่าข่มไว้ จงใจไปกำหนดนะ อะไรทำให้จงใจกำหนด ก็โลภะ เบื้องหลังเลยก็คืออวิชา ความเห็นผิดน่ะ ว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ กายนี้ใจนี้คือตัวเรา ไปยึดถือมันเป็นของดีของวิเศษ ก็เลยอยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ อยากให้ตัวเราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมีความไม่รู้ คิดว่ามีตัวเราขึ้นมา ก็มีความอยาก เนี่ยอวิชา มันทำให้มีตัณหา มีความอยากขึ้นมา พออยากแล้วใจก็ปรุงแต่ง

คนโง่ คนชั่ว ก็ปรุงชั่ว คนดีก็ปรุงดี เช่น อยากปฏิบัตินะ ก็ลงมือกำหนด ในอภิธรรมสอนไว้หมด เวลาความปรุงแต่งฝ่ายดีเกิดขึ้น นะ สิ่งที่ทำนะมักจะเป็น อัตตกิลมถานุโยค ไม่บังคับกายก็บังคับใจ สังเกตมั้ย เวลา เมื่อก่อนนะ ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ เมื่อก่อนเวลาพวกเราหัดภาวนา สิ่งที่เราทำนะ ไม่บังคับกายก็บังคับใจ นึกออกมั้ย หรือลืมไปแล้ว ลืมความหลังอันอัปยศ ที่ทำไม่บังคับกายก็บังคับใจ มีอยู่เท่านั้นเอง คืออัตตกิลมถานุโยค คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าไปทำ

ยกตัวอย่างนะ พอจะมีสติไปรู้ลมหายใจ คุยบอกว่าจะมีอานาปานสติ ทำอานาปานสติ มีสติไปรู้ลมหายใจ ก็ไปกำหนดลมหายใจ ไม่ให้จิตนี้เคลื่อนไปจากลมเลย กำหนดไว้กับลม เป็นสมถะ สติอย่างนี้สติกำหนดนะ สูงสุดทำได้แค่สมถะ

หรือเดินจงกรม กำหนดไว้ที่เท้า จิตแนบอยู่กับเท้าเลย จิตไม่หนีไปไหนเลย ไม่เผลอเลย เท้าขยับอย่างไรรู้หมดเลย ม้นคือการเพ่งเท้า เพ่งอารมณ์นั่นเอง เรียกอารัมณูปนิชฌาน คือการทำสมถะ ก็เพ่งไปเรื่อย ตัวเบา ตัวลอย ตัวโคลง ขนลุกขนพอง รู้สึกเหมือนแมลงมาไต่ รู้สึกวูบๆวาบๆ ก็ไปคิดว่าเกิดวิปัสสนาญาณ ไม่เกิดหรอก เป็นสมถะทั้งหมดเลย เป็นอาการของปีตินานาชนิด

เพราะฉะนั้นนะ สตินะถ้าเราจงใจไปกำหนด มันมีโลภะอยู่เบื้องหลัง มันอยากปฏิบัตินะ ทำไมอยากปฏิบัติเพราะมันอยากดี อยากมีความสุข อยากได้มรรคผลนิพพาน ทำไมอยากดี อยากมีความสุข อยากได้มรรคผลนิพพาน เพื่อ “ตัวกู” จะได้มีความสุข นะ

สุดท้าย ก็มีตัวเราซ่อนอยู่ข้างหลัง มีอวิชาซ่อนอยู่ข้างหลัง ก็มีความอยากขึ้นมาก็ดิ้น ปรุงแต่งไปเรื่อย ปรุงดี ปรุงดีก็ไปสู่สุคติ ได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม แต่ไปนิพพานไม่ได้

เพราะฉะนั้นสติอย่าไปกำหนดเอา สติแปลว่าความระลึกได้ ถ้าสติแปลว่ากำหนดล่ะก็ผิดละ เป็นสมถะหมดเลย สติแท้ๆคือความระลึก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จากอวิชาสู่สติปัฎฐานและอริยะสัจจ์

MP3 (for download): จากอวิชาสู่สติปัฎฐานและอริยะสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าไม่ล้างอวิชชาไม่สามารถปล่อยวางได้จริง เพราะอวิชชามีอยู่คือความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ คือไม่รู้ทุกข์นั่นแหละ ไม่รู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งจนหมดความยึดถือกายยึดถือใจ ความปรุงแต่งมันจึงเกิดขึ้น ความปรุงแต่งเกิดได้ ๓ แบบ

(๑.) อปุญญาภิสังขาร ความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว การที่เราหลงตามกิเลสไป เพราะว่ามีอวิชชาไม่รู้แจ้งตัวเราไม่มีมันรักตัวเอง อยากให้ตัวเองมีความสุขมันก็ดิ้นรนไปแสวงหาความสุขทางหูตาจมูกลิ้นกายฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก แย่งชิงผลประโยชน์  แย่งชิงชื่อเสียงอะไรต่ออะไรมา คิดว่าได้มาแล้วจะดีแย่งชิงชื่อเสียงอะไรต่ออะไรมาายวไป ผิดศีลผิดธรรมะไปุกข์นั่นแหละก็ปรุงแต่งฝ่ายชั่วไป ทำผิดศีลผิดธรรมะไป (๒)อีกพวกหนึ่ง เพราะว่าอวิชามีอยู่จึงปรุงแต่งฝ่ายดี พวกนักปฏิบัติทั้งหลายนี่แหละ ปรุงแต่งฝ่ายดีคือทำอย่างไรจึงจะดี อยากดี พอคิดจะทำนะสิ่งเกิดขึ้นคือการบังคับกายบังคับใจตัวเอง ปรุงแต่งฝ่ายดีมันโน้มไป อัตตกิลมถานุโยค ทางบังคับตัวเอง ปรุงแต่งฝ่ายชั่วก็โน้มไปกามสุขัลลิกานุโยค ตามใจกิเลสไป (๓)มีบางคนว่าอย่าปรุงแต่งอะไรเลย ไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม เป็นการปรุงแต่งฝ่ายดี ไม่ดีไม่ต้องทำ ไม่ต้องทำอะไรเลยไม่เอาอะไรเลยไม่เอาอะไรเลยสักอย่าง การปรุงแต่งแบบไม่เอาอะไรเลยสักอย่างเป็นการปรุงแต่งชนิดที่ ๓  ที่อวิชชาพาทำ ชื่อว่าอเนญชาภิสังขาร ปรุงแต่งแบบว่างๆไม่มีอะไรเลยสบาย ว่างๆอันนั้นยังเป็นว่างที่ปรุงขึ้นมา ไม่ใช่ว่างที่เกิดจากจิตที่เห็นความจริงของรูปนามของทุกข์จนปล่อยวาง

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราปรุงแต่งนะ แต่สอนให้เรารู้ อวิชชาก็คือความไม่รู้ สิ่งที่ตรงข้ามกับอวิชชาคือรู้  อวิชชาไม่รู้อะไร อวิชชาไม่รู้อริยสัจจ์ ไม่รู้ทุกข์ไม่รู้สมุทัยไม่รู้นิโรธไม่รู้มรรค วิชชาคืออะไรคือ รู้ทุกข์รู้สมุทัยรู้นิโรธรู้มรรค รู้ทุกข์คือรู้อะไร รู้กายรู้ใจ

กายกับใจมีอยู่เป็นสภาวะธรรม แต่ไม่ใช่ตัวเรา ถ้ายังไม่เห็นความจริงว่า กายกับใจเป็นแค่สภาวธรรมไม่ใช่ตัวเรามันก็ยังยึดว่าเป็นเราอยู่ พอมันเป็นเราขึ้นมาก็อยากมีความสุข อยากจะดี อยากจะอยากโน้นอยากจะอยากนี้ เพราะว่าอยากให้ตัวเราดีมีความสุขจึงเกิดการปรุงแต่งทั้งสามอย่างนี้ขึ้น

คนโง่ก็ปรุงแต่งอปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งกามสุขัลลิกานุโยค   คนดีคนฉลาดก็ปรุงแต่งการบังคับตัวเอง ปรุงแต่งอัตตกิลมถานุโยค  ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร   พวกที่ปัญญาล้ำหน้าไปก็ปรุงแต่งความว่าง ปรุงแต่งอเนญชาภิสังขาร ไม่ต้องรับรู้ไม่ต้องอะไร ว่างๆโล่งๆ ทำไมต้องเอาว่าง?เพราะมีเรา เราอยู่ในความว่างแล้วเรามีความสุข เราไม่ยึดอะไรเลยเราสบาย สุดท้ายก็มีเราจนได้ มันจะเลิกไม่ให้มีเรามันทำไม่ได้ จนกว่าปัญญาจะเห็นแจ้งลงในรูปนามในกายในใจว่าไม่มีเราจริงๆ

พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า สติปัฏฐาน เป็นทางสายเอกเป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น สติปัฏฐานไม่ใช่แค่ปุญญาภิสังขารเพียงอย่างเดียว   สติปัฏฐานไม่ใช่อปุญญาภิสังขารแน่นอนไม่ใช่ความปรุงแต่งฝ่ายชั่วแน่นอน   สติปัฏฐานไม่ใช่อเนญชาภิสังขาร ไม่ใช่ปรุงว่างๆขึ้นมา   การเจริญสติปัฏฐานเป็นปุญญาภิสังขาร เป็นการปรุงแต่งฝ่ายดีอยู่ แต่เบื้องต้นอาศัยการปรุงแต่งนี้แหละค่อยๆพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งหลายมันไม่เกิดขึ้นลอยๆในอากาศแต่มันเกิดขึ้นในภพ  มีภพเพื่อวันหนึ่งจะหลุดจากภพ มีภพเพื่อที่จะเรียนรู้ภพ มีภพเพื่อที่จะรู้ว่าทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์ทั้งหมดเลย   มีกายมีใจเกิดการดิ้นรนการทำงานของจิตขึ้นมา  ไม่ใช่อยู่ๆไม่เอาอะไรเลย ไม่เอาอะไรเลยก็ไม่ได้ จิตมันจะต้องเอาเพราะจิตยังมีอวิชชา

อยากจะล้างอวิชชาก็ฝึกให้มีสติ ฝึกให้มีสติเป็นภพไหมเป็น ?เป็น เป็นภพที่ดี

แต่ภพที่ดีมี ๒ ระดับ (๑)ภพที่ดีที่จะติดข้องอยู่ในโลก (๒)ภพที่ดีภพที่จะข้ามโลก เราก็ต้องเป็นภพที่ดีที่อยู่ในโลกด้วย เพราะเรายังอยู่ในโลก เรียกว่า โลกียธรรม   ในขณะเดียวกันเราก็ต้องหัดเจริญสติ จนกระทั่งสามารถมีสติ รู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่มีสัมมาสมาธิ คือ มีความตั้งมั่นเป็นกลาง แล้วปัญญาจะเกิด ตัวปัญญาหรือตัววิชชาจะเกิด จะเห็นความจริง   ทั้งรูปทั้งนามทั้งกายทั้งใจ ไม่ใช่ตัวเรา ได้พระโสดาบัน    ต่อมาภาวนาไปอีก รู้กายรู้ใจไปเรื่อยๆ ถ้าจิตตั้งมั่นอยู่จะไม่ทุกข์ แต่ถ้าไหลไปมันส่งออกไปจิตไปยึดโน่นยึดนี่จิตจะทุกข์ ในที่สุดจิตจะไม่ไปไหนเลยมันทรงตัวเด่นอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน นี่คือภูมิของพระอนาคามี ยังปรุงแต่งอยู่   ตามรู้กายรู้ใจต่อไปอีก จนเห็นความจริง กระทั่งตัวธาตุรู้ผู้รู้ก็ยังทุกข์อีก ก็จะปล่อยวางจิต คราวนี้จะเรียกว่ารู้จริงแล้ว มีวิชชา เห็นความจริงคือเห็นทุกข์แจ่มแจ้ง คือเห็นว่าทั้งกายทั้งจิตเป็นตัวทุกข์ ทั้งรูปทั้งนามนี้เป็นตัวทุกข์  ความรักในกายในใจจะหมดไป ความยึดถือในกายในใจจะหมดไป   ความอยากที่จะให้กายให้ใจเป็นสุข ความอยากที่จะให้กายให้ใจพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้นอีก   อันนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วละสมุทัย ละแบบเด็ดขาดเลยละถาวรเป็นสมุเฉท ไม่ใช่รู้ทันเป็นขณะๆ ดับทันเป็นขณะๆ

ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์เกิดวิชชาขึ้นมาจะละตัณหาถาวร  ตัณหาจะไม่มีขึ้นอีกเลย ตัณหาจะมีขึ้นได้เพราะรักตัวเอง มันรักกายรักใจมันรักตัวเองได้เพราะมันยังไม่เข้าใจความเป็นจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราเราเป็นตัวทุกข์  คิดว่าเป็นดีตัววิเศษตัวเราเป็นตัวเรา มันเลยรัก มันเลยอยาก อยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากมันสงบ อยากให้มันไม่ทุกข์ อยากให้มันไม่ชั่ว ตัวสมุทัยมันเกิดขึ้นมาเพราะไม่รู้ทุกข์

เมื่อสมุทัยทุกข์ละจิตจะหมดความดิ้นรน  จิตจะแจ่มแจ้งจะสดชื่นเบิกบานในตัวเอง จิตเข้าถึงความไม่ปรุงแต่ง ความไม่ปรุงแต่งนั่นแหละคือนิพพาน  เห็นอสังขตธรรมความไม่ปรุงแต่ง  เป็นวิสังขารธรรมพ้นจากความปรุงแต่ง เป็นวิมุตติคือหลุดออกจากขันธ์  เป็นอนารโย อนารยะไม่ผูกพันธ์พัวพันอยู่ในความปรุงแต่งในสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายในภพทั้งหลาย  เป็นวิราคะคือดับราคะสนิทไม่มีความอยากอีก   นิพพานมีชื่อเยอะแยะ ภาวะที่จิตมันพ้น

ไม่ใช่ตัวจิตนะจิตไม่ใช่นิพพาน  นิพพานเป็นสภาะที่พ้นจากความปรุงแต่ง   จิตที่พ้นจากความปรุงแต่งจะไปพ้นนิพพาน นี่เรียกว่านิโรธ การไปเห็นนิพพานเรียกว่าทำให้แจ้ง การทำให้แจ้งนิโรธ ท่านถึงบอกว่านิโรธต้องทำให้แจ้ง สัจฉิกริยา

ทุกข์ให้รู้นะ   สมุทัยให้ละ   นิโรธคือนิพพานทำให้แจ้ง

ถ้าเมื่อไรตัณหาถูกละ นิโรธจะแจ้งเมื่อนั้น สมุทัยดับนิโรธจะปรากฏขึ้นตรงนั้น  ตรงที่เราคอยรู้ทุกข์จนละสมุทัยแจ้งนิโรธตรงนั้นคือมรรค เวลามรรคเกิด เกิดเพียงขณะเดียว แว้บเดียวรู้ทุกข์แจ่มแจ้งละสมุทัยในขณะนั้นเห็นนิพพานขณะนั้นเลย  ทางที่พระพุทธเจ้าสอนเดินแบบนี้  เจริญสติหรือทำวิปัสสนากรรมฐาน  มีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย  ไม่ทำอะไรเลยแล้วบรรลุเอง ไม่งั้นหมาก็บรรลุแล้ว  ไม่ทำอะไรเลยไม่บรรลุนะ ต้องเจริญสติปัฏฐานเป็นทางเดียวสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำอย่างไรจึงจะรู้จักตัวเอง?

MP3 (for download): ทำอย่างไรจึงจะรู้จักตัวเอง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: อยากรู้จักตัวเองน่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่รู้จักตัวเองด้วยวิธีคิดเอา อยากรู้จักตัวเอง อะไรที่เรียกว่าตัวเรา ก็กายกับใจนี้ เพราะฉะนั้นดูลงในกายดูลงในใจ ดูมันทำงาน ดูอย่างที่มันเป็นถึงจะรู้จักตัวจริงของมัน อย่าไปจ้องใส่มันนะ ถ้าไปจ้องใส่มันจะไม่เห็นตัวจริงของมัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การไม่ให้ทำอะไรที่หลวงพ่อสอนหมายความว่าเช่นไร?

MP3 (for download): การไม่ให้ทำอะไรที่หลวงพ่อสอนหมายความว่าเช่นไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่หลวงพ่อบอกว่าไม่ต้องทำอะไรๆ ไม่ใช่แปลว่าไม่ให้ทำอะไร แต่ไม่ได้ให้ทำด้วยโลภะ ไม่ได้ให้ทำด้วยอยาก ให้ทำอยู่ในร่องในรอยที่พระพุทธเจ้าสอน มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ต้องมี มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางในการรู้กายรู้ใจ อันนี้ต้องมีต้องฝึกทั้งสิ้น ไม่มีหรอกสติที่แท้จริงจะเกิดขึ้นลอยๆ ไม่มีหรอกสมาธิที่แท้จริงจะเกิดขึ้นลอยๆ ต้องทำเหตุทั้งสิ้น

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หน้าที่และจุดหมายของนักภาวนา

MP3 (for download): หน้าที่และจุดหมายของนักภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หน้าที่เราไม่ใช่ต้องการสงบตลอดเวลา หน้าที่เราก็แค่ตามรู้ปัจจุบันไป จิตมีความสุขรู้ว่ามีความสุข จิตมีความสงบรู้ว่ามีความสงบ จิตฟุ้งซ่านรู้ว่าฟุ้งซ่าน เราตามดูของเราเรื่อยไปถึงวันหนึ่งปัญญาจะเกิดขึ้นจิตนี้มันไม่ใช่ตัวเรา จิตมันทำงานของได้เองสารพัดเราบังคับมันไม่ได้ เราเฝ้ารู้ไปในที่สุดปัญญาจะเกิด เราเห็นว่าไม่ใช่ตัวเราบังคับไม่ได้

การภาวนาต้องมาสู่จุดนี้จุดที่กายกับใจไม่ใช่ตัวเราอย่าภาวนาไม่สู่จุดอื่น เราไม่ได้ภาวนาให้ไปสู่จุดดีจุดสุขจุดสงบ ส่วนใหญ่มุ่งไปสู่ตรงนั้น บางคนภาวนาน่าสงสารกว่านั้นอีก ไปภาวนานั่งสมาธิโต้รุ่งจะต้องไม่เมื่อย ไม่เห็นยากเลยก็ไปฉีดยาชา ไปนอนแอ้งแม้ง หรือไปให้เขาบล็อกไขสันหลังนั่งไปไม่เมื่อยหรอก กายมันมีหน้าที่เมื่อย กายมันมีหน้าที่ทุกข์ ไม่ได้ฝึกให้มันไม่ทุกข์ ไม่ได้ฝึกให้มันไม่เมื่อย แต่ฝึกให้เห็นความจริงว่ากายนี้ ไม่ใช่ของดีของวิเศษ กายนี้ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เป็นวัตถุเป็นส่วนหนึ่งของโลก ไม่ใช่ตัวเรา จิตนี้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ห้ามมันไม่ได้บังคับมันไม่ได้เลือกมันไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเราหรอก มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุของมัน ไม่ใช่ตามที่เราสั่งตามใจชอบ

การภาวนามุ่งมาสู่จุดนี้จุดที่มุ่งมาให้เห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา อย่าไปมุ่งไปที่อื่น ถ้ามุ่งไปที่อื่นผิดแน่นอน เช่นมุ่งไปบังคับกายบังคับใจ ผิดแน่นอน ส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติมุ่งบังคับกายบังคับกายบังคับใจ บังคับจิตให้นิ่ง บังคับให้จิตมีความสงบ บังคับว่าต้องมีความสุข บังคับร่างกายว่าเธอจะต้องนั่งได้นานๆ เธอต้องเดินจงกรมต้องเดินท่านี้ด้วย เธอต้องหายใจแบบนี้นะ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล

mp3 (for download): หลักการดูจิตที่ถูกต้อง ใน ๓ กาล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักการดูจิตที่ถูกต้อง จำไว้ง่าย ๆ นะ มันต้องดูถูกต้องใน ๓ กาล กาละนะ กาละ กาล ต้องดูถูกต้องใน ๓ กาลนะ ซึ่งยากมากเหมือนกันนะ ที่เราจะดูให้ถูกต้องทั้ง ๓ กาล

กาลที่ ๑ หมายถึงก่อนจะดู ก่อนจะดูเนี่ย อย่าไปดักไว้ อย่าไปเฝ้าดู อย่าไปจ้องเอาไว้ก่อน อย่าไปรอดูนะ ให้สภาวะธรรมใด ๆ เกิดขึ้นกับจิตก่อน แล้วค่อยมีสติรู้ไป เรียกว่าตามรู้นะ ให้มันโกรธขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้มันโลภขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโลภ ให้ใจลอยไปก่อน แล้วรู้ว่าใจลอย นี่คือกฎข้อที่ ๑ ถ้าเราไปดักดูแล้วมันจะนิ่ง ทำไมเราต้องไปดักดู หลายคนพอคิดถึงการดูจิต ก็จ้องปึกเลย แล้วทุกอย่างก็นิ่งหมดเลยนะ มันเกิดจากความอยากดู ตัณหามันเกิดก่อน อยากปฏิบัติ อยากดูจิต พออยากดูจิตก็เข้าไปจ้อง ไปรอดู พอเข้าไปจ้องไปรอดู มันคือการเพ่งนะ เมื่อไรเพ่ง เมื่อนั้นจิตก็นิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์ ไม่แสดงความจริงให้ดู ฉะนั้น กฎข้อที่ ๑ นะให้สภาวะธรรมเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยมีสติตามรู้ไป ตามรู้อย่างกระชั้นชิด อย่าไปดักรอดูด้วยความโลภที่อยากปฏิบัตินะ นี่ข้อที่ ๑ อย่าดักดู พวกเรามีคนไหนดักดูไหม เวลาดูจิต เอ้าช่วยยกมือ โชว์ตัวหน่อย พวกดักดู ดักทุกคนแหล่ะ พวกที่ไม่ยกเพราะดูไม่ออก หรือไม่ก็ขี้เกียจยกนะ ส่วนใหญ่พอคิดถึงการปฏิบัติก็เริ่มควาน ๆ ก่อนใช่ไหม เริ่มนึกจะดูอะไรดี ควาน ๆ ๆ อย่างนั้น เจออันนี้แหล่ะว้า จ้องไปอย่างนั้น จ้อง… ใจก็จะนิ่ง ๆ กลายเป็นเพ่งจิต ไม่ใช่ดูจิตล่ะ ฉะนั้นจะไม่เพ่งจิตนะ อันแรกเลยอย่าไปดักดู ให้สภาวะเกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยรู้

กาลที่ ๒ หรือลำดับที่ ๒ คือ ขณะที่ดู ก่อนดูไม่ไปดักดู ขณะดูอย่าถลำลงไปจ้องนะ ดูแบบคนวงนอก นี่เป็นกฏข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง ดูแบบคนวงนอกนะ ส่วนใหญ่พอเราเห็นสภาวะธรรมเกิดขึ้นแล้ว มันจะมีตัณหา ตัณหาก็คืออยากรู้ให้ชัด พออยากรู้ให้ชัดแล้วมันจะถลำลงไปจ้องนะ คล้าย ๆ เราดู ก่อนนี้ใครเคยดูหนังจีนไหม หนังจีนสมัยก่อนนะ กำลังภายใน จ้าวยุทธภพอะไรแบบเนี่ย มันชอบมีบ่อน้ำกลม ๆ เนี่ย ใครเคยเห็นไหม ที่มีขอบปูนนะ แล้วผู้ร้ายชอบจับเอานางเอกไปโยนลงบ่อเนี่ย บางทีก็เอาคัมภีร์ไปโยนลงบ่อ คล้าย ๆ กันนะ เวลาเราจะดูของที่อยู่ก้นบ่อเนี่ย เราชะโงกลงไปดูจนหัวทิ่มลงบ่อไป อย่างนี้ใช้ไม่ได้ เราต้องดูอยู่ห่างๆ ดูอยู่ปากบ่อ อย่าถลำลงไปจนตกบ่อ พวกเราเวลาที่ดูจิตดูใจเนี่ย เราอยากดูให้ชัด ชะโงกลงไป ชะโงกลงไป ในที่สุดจิตมันถลำลงไปเพ่ง กลายเป็นเพ่งอีกล่ะ ใช่ไหม อยากดูไปดักดูนะ ก็กลายเป็นการเพ่ง พอกำลังดูอยู่ อยากดูให้ชัด ถลำลงไปจ้องอีกนะ ก็กลายเป็นการเพ่งนะ กลายเป็นเพ่งทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ก่อนจะรู้เนี่ย อย่าไปดักรู้ ให้สภาวะเกิดแล้ว ค่อยรู้เอา ให้มันโกรธขึ้นมาแล้วรู้ว่าโกรธ โลภขึ้นมาแล้วรู้ว่าโลภ ใจลอยแล้วรู้ว่าใจลอย สภาวะที่ ๒ ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้น ดูอยู่ห่าง ๆ อย่าถลำตามความโกรธไป อย่าไปจ้องใส่มัน หลวงพ่อเคยทำผิดนะ เห็นกิเลสโผล่ขึ้นมา แล้วเราจ้อง พอเราจ้องแล้วมันหดลงไป หดลึก ๆ ลงไปอยู่ข้างในนะ เราก็ตามลงไป กะว่าวันเนี่ยจะตามถึงไหนถึงกันนะ ตามลึกลงไป ควานหามันใหญ่เลย บุญนักหนานะ ไปเจอหลวงปู่สิมเข้า หลวงปู่สิมท่านเตือน ผู้รู้ ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่ ที่แท้ตกบ่อไปแล้ว ไม่เห็น ตกบ่อนะ พอรู้ทัน อ้อ…ใจมันถอนขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เห็นสภาวะผ่านไปผ่านมา คล้าย  ๆ เราเห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราอยู่ในบ้าน ใจเราไม่วิ่งตามเขาไปนะ ถ้าใจเราหลงตามอารมณ์ไป หลงตามสภาวะไป มันจะรู้ได้ไม่ชัดหรอก

ข้อที่ ๓ นะ ข้อที่ ๓ คือ เมื่อรู้แล้ว อันแรกอะ ก่อนจะรู้อย่าไปดักไว้ อันที่ ๒ ระหว่างรู้อย่าถลำลงไปจ้อง อันที่ ๓ เมื่อรู้แล้วนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง อย่าไปหลงยินดียินร้ายกับมัน ถ้าหลงยินดีหลงยินร้ายเนี่ย จิตจะเข้าไปแทรกแซง เช่น เห็นความสุขเกิดขึ้นแล้วก็ยินดีนะ ก็จะเผลอเพลินไป หรืออยากให้ความสุขอยู่นาน ๆ พอความทุกข์เกิดขึ้นก็เกลียดมัน อยากให้มันหายเร็ว ๆ นะ เนี่ยใจที่มันไม่เป็นกลาง มันจะทำให้จิตเกิดการดิ้นรน เพราะฉะนั้นถ้าใจไม่เป็นกลางนะ ให้มีสติรู้ทัน มีสติรู้ไป มันยินดีขึ้นมาก็รู้ทัน มันยินร้ายขึ้นมาก็รู้ทัน ในที่สุดใจจะเป็นกลาง รู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตที่เป็นกลางนะ นี่คือกฎข้อที่ ๓ คือ รู้แล้วไม่แทรกแซง มันสุขก็ได้ มันทุกข์ก็ได้ มันดีก็ได้ มันชั่วก็ได้ มันสว่างก็ได้ มันมืดก็ได้ มันหยาบก็ได้ มันละเอียดก็ได้ สภาวะทั้งหลายนั้นเสมอภาคกันในการทำวิปัสสนา เพราะสภาวะทั้งหลายนั้นไม่ว่าจะสุข ทุกข์ ดี ชั่ว หยาบ ละเอียดนะ ก็ล้วนแสดงไตรลักษณ์ เกิด-ดับเหมือน ๆ กันทั้งสิ้น ไม่ใช่จะเอาอันหนึ่ง จะเกลียดอีกอันหนึ่งนะ ใจของเราเนี่ย พอเห็นอะไรก็แล้วนะ มันจะรักอันหนึ่ง จะเกลียดอันหนึ่งอยู่เสมอแหล่ะ เช่น รักสุข เกลียดทุกข์ รักดี เกลียดชั่วนะ รักความสงบ เกลียดความฟุ้งซ่าน เนี่ยใจเราไม่เป็นกลาง เนี่ยอาจารย์อนันต์ วัดมาบจันทร์ นะ ท่านก็สอนมา ท่านบอก หลวงพ่อชาสอนมาว่า เวลาดูจิตเนี่ย ให้ดูด้วยความไม่ยินดี ไม่ยินร้ายเนี่ยหลวงพ่อชาสอนมาอย่างนี้นะ หลักอันเดียวกันนะ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ๆ ที่ท่านภาวนาเก่ง ๆ นะ ท่านสอนเหมือนกันหมดเลย หลวงปู่ดุลย์ก็สอนอย่างเดียวกันนะ องค์ไหนๆ ก็สอนอย่างเดียวกันนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงปู่เทสก์ใช้สำนวนบอกรู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงพ่อชาบอกรู้ด้วยความไม่ยินดีไม่ยินร้ายนะ บางองค์ก็ว่ารู้แล้วสักว่ารู้นะ รู้แล้วไม่แทรกแซง ก็คือสิ่งเดียวกันนั่นเอง มันเป็นยังไง รู้แล้วเป็นอย่างนั้น นี่สำนวนอาจารย์สุรวัฒน์ จิตเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น กายเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ใครไม่รู้จักอาจารย์สุรวัฒน์  พยายามรู้จักไว้นะ เพราะแกเป็นกัลยาณมิตร แกต้องน่วมแน่ ๆ เลยรอบเนี่ย… ใครฟุ้งซ่านยกมือหน่อย เห็นไหม เออ…มีผู้ร้ายปากแข็งหลายคนนะ… ฟุ้งทั้งนั้นแหล่ะนะ

จำได้ไหมข้อที่ ๑… ข้อที่ ๑ เนี่ยมันผิดพลาดตรงที่อยากปฏิบัติ..อยากปฏิบัติ ก็ไปจ้องรอดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น มันก็เลยไม่มีอะไร นอกจากความนิ่งความว่าง ข้อที่ ๒ นะ อยากรู้ให้ชัด ก็เลยถลำลงไปจ้อง ไปเพ่งเอาไว้ ไม่ให้คลาดสายตา มันก็นิ่งเหมือนกัน กลายเป็นการเพ่ง ข้อที่ ๓ นะ อยากดี อยากให้พ้นทุกข์ อยากดีนะ อยากให้สุข อยากให้สงบ อยากให้พ้นจากความฟุ้งซ่าน ก็เข้าไปแทรกแซงนะ แล้วก็เลยไม่เป็นกลาง แล้วสรุปง่าย ๆ นะ ต่อไปนี้ สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็รู้มันอย่างที่เป็นมันเป็น รู้แล้วก็อย่าเข้าไปแทรกแซงนะ รู้สบาย ๆ รู้อยู่ห่าง ๆ รู้แบบคนวงนอก รู้ด้วยความเป็นกลาง หัดรู้อย่างนี้เรื่อย ๆ พวกเรานะสำรวจใจตัวเองให้ดี ใน ๓  ข้อเนี่ย พวกเราผิดตัวไหนบ้างนะ หลวงพ่อถามที่วัดมาแล้วนะ คำถามนี่ ใครยกมือถามหลวงพ่อ หลวงพ่อถามเลย ใน ๓ ข้อเนี่ย ผิดข้อไหน พอตอบได้นะ ไม่ต้องมาถามหลวงพ่อ รู้แล้วนี่ ถ้ารู้ว่าผิดนะ มันก็ถูกของมันเองแหล่ะนะ พอเข้าใจไหม ไม่ยากนะ ง่าย

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๓  (วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒)

นาทีที่ ๑๖ – ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นักปฎิบัติต้องอดทน

mp3 (for download): นักปฎิบัติต้องอดทน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: เข้มแข็งนะแล้วก็อดทนต่อการสั่งสอน อดทนต่อความยากลำบาก อย่างขี้เกียจเนี่ยอยากจะนอน อย่าไปนอนนะ ต้องต่อสู้ ขี้เกียจภาวนา ต้องต่อสู้มัน

อดทนต่อความหิว ความหนาว ความร้อน อดทนต่อความยากลำบากทางกาย

อดทนต่อกิเลส กิเลสจะลากให้เลิกปฎิบัติตลอดเวลา

อดทนมีหลายอดทนนะ อดทนต่อคำสั่งสอนครูบาอาจารย์ อดทนต่อความยากลำบากทางกาย อดทนต่อกิเลสตัณหาที่คุกคามจิตใจ ต้องอดทน

ใครทนได้ก็ได้แก่น ใครทนไม่ได้ก็แพ้ไป

สวนสันติธรรม ๒๓
๕๑๐๑๒๖
๑๗.๑๕ – ๑๗.๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขี้เกียจปฎิบัติ

mp3 (for download): ขี้เกียจปฎิบัติ1

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: งั้นตั้งอกตั้งใจนะ มีโอกาสได้เป็นมนุษย์แล้วอย่าขี้เกียจ คำว่าขี้เกียจเป็นคำที่แสลงหูหลวงพ่อที่สุดเลย ได้ยินลูกศิษย์มารายงานว่าหมู่นี้ขี้เกียจนะอยากดีดออกจากวัดไปเลย (โยมหัวเราะ) ไม่ดีดด้วยนิ้วหรอกนะ (โยมหัวเราะ)

มันเหมือนคนไฟจะคลอกตายอยู่แล้วนะ ยังขอนอนอีกหน่อย ไฟเพิ่งถึงรั้วบ้านยังไม่ขึ้นหลังคา ขอนอนอีกนิดนึง ไม่โง่แล้วจะเรียกว่าอะไร

งั้นอย่าขี้เกียจนะ อดทน ความอดทนของผู้ปฎิบัติสำคัญมาก พอเราเรียนจนเรารู้หลักแล้วต้องอดทนในการปฎิบัตินะ

สวนสันติธรรม ๒๓
๕๑๐๑๒๖
๑๔.๕๑ – ๑๕.๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อุเบกขา โมหะ ปัญญา ต่างกันอย่างไร

mp3 (for download): อุเบกขา โมหะ ปัญญา ต่างกันอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ครับ มีปัญหาจะเรียนถามหลวงพ่อนิดหนึ่งครับว่า ระหว่างโมหะกับอุเบกขา ถ้าเราจะดู เราจะดูยังไง เพราะว่า อุเบกขาก็คือการที่เราไม่สุขไม่ทุกข์น่ะครับ ก็คืออยู่เฉยๆ โมหะก็คือ การที่เราไม่โกรธ ไม่หลง

หลวงพ่อ: ไม่ใช่ ในขณะที่มีโมหะ อาจจะโกรธก็ได้ หลงก็ได้ โมหะเป็นภาวะที่เราไม่รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฎอยู่ เรียกว่าโมหะทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นในขณะที่เรามีอุเบกขา เรารู้ว่ามีอุเบกขา เรียกว่าไม่มีโมหะ ในขณะที่เราโกรธอยู่ เรารู้ทันว่าโกรธขึ้นมาปั๊บเนี่ย เรียกว่าไม่มีโมหะแล้ว โมหะดับ ความโกรธก็จะดับไปด้วย

ในขณะที่กำลังโมโหอยู่นะ ใจเรากำลังพุ่งใส่คนอื่นเขาอยู่ จ้องคนที่ทำให้เราโกรธอยู่ อย่างเราขับรถอยู่แล้วมันปาดหน้าเราไปจ้องใส่มันอยู่นะ กำลังโกรธอยู่ ไม่รู้ว่าโกรธอยู่ เรียกว่ามีโมหะ

เพราะฉะนั้น โมหะคือการที่จิตไม่สามารถจะรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้ ถ้าจิตรู้สภาวธรรมที่ปรากฎตามความเป็นจริงได้ เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตรงข้ามกับโมหะคือปัญญา

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: ๕๑๐๔๑๕b
Time: ระหว่างนาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๕๑ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อสอนอะไร?

MP3 (for download): หลวงพ่อสอนอะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ : มาถามหลวงพ่อว่าหลวงพ่อสอนอะไร ทำไมคนจึงมาเรียนเยอะ คนรุ่นใหม่ๆมาเรียนเยอะ หลวงพ่อสอนให้รู้จักสภาวะ ฟังก็งงแล้ว
สอนให้รู้จักสภาวะรู้ไปทำไม สภาวะคืออะไรรู้ไปทำไม มีเวลาเพียง 5 – 10 นาที  เรียนยากนะ ถ้าอินทรีย์ไม่แกร่งกล้าฟังไม่ได้หรอก
ถ้าอินทรีย์แกร่งกล้า 5 นาที ก็พอแล้ว การภาวนาไม่ได้ทำไปเพื่อเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอก ภาวนาเพื่อหัดรู้สภาวะ
สภาวะมีสองอัน คือ รูปธรรมและนามธรรม เราภาวนาเพื่อให้เห็นว่าตัวเราไม่มี สิ่งที่เรียกว่าตัวเราก็คือ สภาวะ(รูปธรรมและนามธรรม)
ถ้าสภาวะทั้งหลายมารวมตัวกันทำให้มีตัวเรา ถ้าสภาวะทั้งหลายแยกเป็นส่วนๆนะก็ไม่มีตัวเรา รูปธรรมก็ไม่ใช่เรา นามธรรมก็ไม่ใช่เรา
จิตก็ไม่ใช่เรา เจตสิกก็ไม่ใช่เรา สุข ทุกข์ ดี ชั่ว กุศล อกุศล ทั้งหลายก็ไม่มีตัวเรา พอเราดูสภาวะออกนะจะเห็นว่าไม่มีตัวเรา
ถ้าดูสภาวะไม่เป็น สภาวะทั้งหลายมากระจุกตัวรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนขึ้นมา สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราขึ้นมา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติช่วยเวลาวิบากอกุศลให้ผลอย่างไร

mp3 (for download): เจริญสติเมื่อวิบากให้ผล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: เอา ว่าไป

โยม: ก็สองอาทิตย์ที่ผ่านมาคะ คือฟุ้งซ่านมาก เพราะว่ามันมี…

หลวงพ่อ: อย่าไปเกลียดมันสิ ฟุ้งซ่านก็อย่าไปเกลียดมัน รู้ว่ามันฟุ้ง รู้ไปสบาย ๆ สังเกตไหมใจไม่ชอบมัน

ใจไม่เป็นกลาง ให้รู้ว่าฟุ้งซ่านด้วยจิตที่เป็นกลาง อย่าไปเกลียดมัน จิตมีเหตุจิตก็ฟุ้งซ่าน จิตไม่มีเหตุก็ไม่ฟุ้งซ่าน เค้าเป็นไปตามเหตุ ไม่ได้เป็นไปตามที่เราอยาก

ไปค่อย ๆ ดูเอานะ ดูสบาย ๆ ของคุณภาวนามาได้ดีมากเลย ใจมันรู้ มันตื่น มันเบิกบานขึ้นมาเยอะแล้ว ไปดูอีก

โยม: คะ หลวงพ่อ แต่ว่าบางทีมันกระทบแรงมากคะ หลวงพ่อ…

หลวงพ่อ: ห้ามไม่ได้ สิ่งที่มากระทบเราเนี่ยนะเป็นวิบาก อย่างอกุศลให้ผลเนี่ยเรากระทบกับสิ่งที่ไม่น่าชอบใจอย่างรุนแรงนะ กุศลให้ผลอย่างขณะเนี่ย กุศลให้ผล มากระทบกับวัดหลวงพ่อ

มันก็ผลัดกันให้ผลแหละ อยู่ที่เราเป็นกลางไหม สิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราเลือกไม่ได้

เมื่อเราเลือกไม่ได้เราก็อย่าไปปฎิเสธเค้า เค้ามีเหตุเค้าก็เกิด แล้วเหตุนั้นสมควรแล้วด้วย การที่เราได้เจอสิ่งที่ไม่ดีก็เป็นผลของอกุศล สมควรแล้ว ถ้าเรายอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานนะ ยอมรับอย่างเข้มแข็ง วันนึงสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายต้องผ่านไปอย่างแน่นอน สังเกตไม้ สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายที่จรมาอย่างขณะเนี่ย ใจเรายังดีกว่าแต่ก่อนเลย ใจเราไม่จม ไม่จมลงไปในความทุกข์ เพราะเราฝึกฝนตัวของเราเอง งั้นเราฝึกมาก ๆ นะ

อกุศลเก่าให้ผลมาเนี่ยเราห้ามไม่ได้ แต่เราหัดเจริญสติในปัจจุบันเนี่ยเราทำได้ พอสติเราดีขึ้นใช่ไหม อะไรมากระทบเราก็กระเทือนน้อยลง ๆ นี่ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็หัวปักปัวปำไปแล้ว นึกออกไหม ดีขึ้นตั้งเยอะแล้ว

โยม: วันนี้มาก็จะมาขอบคุณหลวงพ่อด้วยคะ ถ้าไม่เคยได้ฝึกมา เตรียมตัวมานี่ คงจะแย่มาก

หลวงพ่อ: ดีแล้วนะ เราลูกศิษย์พระพุทธเจ้านะ โลกเป็นอย่างนี้แหละ โลกไม่แน่นอน

CD: สวนสันติธรรม 27,

File: 511123B

Time: 8m58-11m18

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 172 of 178« First...102030...170171172173174...Last »