Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ

MP3 (for download):  ๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ (33.14 น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวพิเศษ จากการแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 30 (21/06/52)

1) หลวงปู่ดูลย์: ให้ดูจิตตัวเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ เพ่ง -> แล้วไปหาทางทำลายมัน คอยระวังให้อกุศลไม่เกิด หวงแหนจิตมากเลย

[ผิด] เพราะไป*แทรกแซงจิต* เราไม่ได้ดูจิตหรอก แต่ไปวุ่นวายอยู่กับอาการของจิต

จงใจปฎิบัติก็ผิดนะ ไปแทรกแซงอาการของจิต ..ให้รู้ตามความเป็นจริงต่างหาก ถึงจะถูก

—–#

ค่อยๆสังเกตนะ กิเลสหยาบๆเกิดมาจากกิเลศละเอียด ก่อนที่กิเลสจะตัวใหญ่เนี่ย กิเสสตัวเล็กมาก่อน

ก่อนจะโมโหแรงๆ ต้องขัดใจเล็กๆก่อน ทีนี้เราคอยดูเลย กิเลสมันมาจากไหน มันผุดขึ้นจากกลางหน้าอก

2) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่

[ผิด] ตรงเรา*ส่งใจเข้าไปดู* แทนที่จะดูด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง เราถลำลงไปดู ถลำไปดูนี่จิตไม่ตั้งมั่นในการรู้ในการดู

สำนวนครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า “ไม่มีจิตผู้รู้” มีแต่จิตผู้หลง ผู้เพ่ง

—–#

ราวปี 2526 ภาวนาแล้วมีอาการแปลกๆ ภาวนาแล้วหลับตลอดเลย จากที่ภาวนามาตั้งแต่ 7 ขวบไม่มีนั่งหลับหรอก ตอนนั้นไม่รู้เป็นอะไรมันหลับเอาหลับเอา

นั่งสมาธิก็หลับ ขัดสมาสเพชรก็หลับ เดินจงกลมก็เดินหลับนะ ทำไงก็หลับ แล้วหลับแบบไม่มีศิลปะเลย ..โอ้ย ไม่มีสภาพของนักปฎิบัติเหลือเลย ขาดสติอย่างร้ายแรง เกิดจากอะไร?

3) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ อย่างสงสัยเลย

ที่จริงไม่มีอะไร พอเราเจริญสติเจริญปัญญาไปมากนะ จิตมันเบื่อหน่าย มันเบื่อโลก เบื่อขันธ์ เบื่อธาตุอย่างร้ายแรงเลย เบื่ออายตนะ

พอมันเบื่อมันตัดการรับรู้ภายนอกออกไป หมดความรู้สึกไปเลยตัดออกไป ตัดลงไปรวมลงไป มันไปพัก

.. เพราะว่าแต่เด็กมาหัดสมาธิ พอเจอหลวงปู่ดูลย์มาหัดวิปัสสนาแล้วเบื่อสมาธิ *ทิ้งสมาถะไป*

[ไม่ถูกนะ] การทิ้งสมาถะไปไม่ถูกต้องเลย พอจิตมันไม่ได้เข้าไปพักในสมาธิ จิตมันก็หลบไปเลยดับไปเฉยๆ เข้าไปพักผ่อน พอมันมีแรงมันก็ถอนออกมา

5 สิงหา 2526 ไปกราบหลวงปู่สิมนะ ท่านบอกจะได้ของดีพรรษานี้แหละ

พอวันที่ 7 มาถึงกรุงเทพ จิตมันก็ถอนออกมาหมดแล้ว จิตใจเราก็เปลี่ยนไปหมดเลย ภาวนาสบาย ต่อไปนี้สบายละ สติมันทันกิเลสไปเรื่อย การภาวนาง๊ายง่ายตอนนี้

—–#

พอภาวนามาถึงจุดนี้จะดูตรงไหนมันชำนาญไปหมด ตัวจิตผู้รู้-สภาวะที่เกิดดับอยู่ในหน้าอกก็ได้ ..เอ๊ จะดูตัวไหนดี ชักสงสัยแล้วจะดูตัวไหนดี

เลยดูทั้งสองตัวกลับไปกลับมา ตัวไหนแน่ แล้วเอาใหม่ ไม่เอาทั้งสองตัว ดูซิจะเกิดอะไรขึ้น

พอเคลื่อนจะแตะ เราไม่เอา ไล่เข้าไล่ออกแล้วมันรวมลงตรงกลาง

หลวงปู่เทสก์: มันเป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่เพ่งรูป ไม่เพ่งอรูป

หลวงปู่ให้ไปซ้อมให้ชำนาญ หลวงพ่อบอกถ้าท่านติดเราจะแก้ให้

มีวันนึงไปเชียงใหม่จะไปเยี่ยมอาจารย์ทองอิ่ม แล้วมีพระท่านมาดักอยู่หน้าวัด แล้วบอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร ถ้ำผาผึ้งมาพักอยู่ที่วัดสันติธรรมนี้ ให้ไปหาท่านหน่อยสิ

4) ท่านอาจารย์บุญจันทร์: เฮ้ย ภาวนายังไง! เฮ่ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

เราเล่าให้ท่านฟังซ้ำ ท่านก็ตวาดซ้ำ นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

ทีนี้ ใจเราโล่งเลย .. ตรงนี้ไม่ใช่ทาง

เห็นไหมเราไปทำอะไรที่ [ผิด]? เราไป*ปรุงแต่งการปฎิบัติขึ้น* เราคิดว่าทำยังไงแล้วจะดี

เราไม่ได้รู้กายรู้ใจซื่อๆไง เราคิดว่าทำยังไงจะดี เอาตรงนี้ล่ะวะ อยู่ตรงโน้นดี ตรงนี้ดี หรืออยู่กลางๆดี หาไอ้ตรงที่ดี

ไม่ต้องหานะว่าตรงไหนถูก ไม่ต้องหาว่าตรงไหนดี สภาวะใดเกิดขึ้นตรงปัจจุบัน รู้อันนั้นแหละ แล้วไม่ผิด

เรามาอัศจรรย์ใจกับท่านอีกที ปี 46 ตอนนั้นบวชละ ลูกศิษย์ท่านมาหาเยอะเลยตอนนั้น บอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์สั่งให้มาหา

ให้วันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ให้มาหาพระชื่อนี้ๆ อยู่ตรงนี้ๆ ท่านสั่งละเอียดเลยนะ เราไม่เคยบอกท่านเลยนะ ตอนนั้นที่ท่านมรณะภาพเรายังไม่ได้บวชเลย

ดูท่านอุตส่าห์แก้ให้เรา ท่านกลัวเราจะไปติด สร้างสภาวะโล่งๆ ว่างๆ..แล้วเราก็จับเอาไว้

แต่นี่โล่งว่างคนละอย่างกับพวกเราที่หลังๆมาติดนะ อันนั้นไหนออกไปข้างนอก อันนี้ไม่มีข้างนอกข้างใน หูววดูปราณีต ดูลึกซึ้งกว่ากันเยอะเลย

—–#

ทีนี้ก็ภาวนาต่อไปนะ เห็นสภาวะทั้งหลายมัน ละเอียดเข้าๆ สบาย ใจมันโล่งมันว่าง เราก็ดูจิตอยู่ทุกวี่ทุกวันนะ แต่ดูมาตั้งหลายปีไม่ผ่านสักที

26533_397695631336_717481336_4768908_1463878_n.jpg

5) หลวงตามหาบัว: ที่ว่าดูจิตนั่นดูไม่ถึงจิตแล้ว

ต้องเชื่อเรานะตรงนี้สำคัญ เราผ่านมาด้วยตัวเราเอง อะไรๆก็สู้บริกรรมไม่ได้

[ผิด] มีกิเลสกุกกุจจะเกิดขึ้น ร้อนใจเมื่อไหร่จะได้สักทีวะ กิเลสเกิดแล้วเราไม่เห็น

..พอเราได้ไอเดีย เรามาพิจารณาดูว่าทำไมท่านให้บริกรรม ทำไมท่านว่าเราดูจิตแล้วไม่ถึงจิต

มาดูไปดูมา อ๋อ.. ใจเราไม่ตั้งมั่น ใจมันเคลื่อนออกไปข้างนอกนะ มันไปอยู่ในความโล่งความว่าง

พวกเรารุ่นหลังๆที่ไปดูจิต ไปติดอยู่ที่ตัวนี้เยอะแยะเลย เพราะว่าเวลาดูไปๆ แล้วไปเห็นสภาวะเกิดดับๆนะ

เช่น เห็นกิเลส เกิด-ดับ ๆ กิเลสมันหนีออกไปๆ ไม่เหมือนกับตอนที่ไปถามหลวงปู่สิม อันนั้นกิเลสหนีเข้าข้างใน อันนี้กิเลสหนีออกข้างนอก

เราฟุ้งก็คือ.. จิตไม่ตั้งมั่นเหมือนกัน จิตฟุ้งเข้าไปข้างใน จิตฟุ้งออกไปข้างนอก จิตไม่ตั้งมั่น

จิตไม่ตั้งมั่นแล้วจิตไปหลงในความโล่ง ความว่าง ความสุขความสบาย ..ตรงนี้แหละคือ วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โอภาส

” วิปัสสนู ” นี่เกิดในทุกขั้นตอนของการปฎิบัติ ขั้นพระโสดา สกทาคา อนาคา พระอรหันต์ เพียงแต่ขั้นที่เลยพระโสดา ไม่เรียกวิปัสสนู เค้าเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

ขั้นต้น ปุถุชน จะมีวิปัสสนู

(http://th.wikipedia.org/wiki/วิปัสสนูปกิเลส)

—–

- วิปัสสนูปกิเลส -

โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)

ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้

ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ

ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น

สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ

อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ

ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี

อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด

อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง

นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ

—–

ที่หลวงพ่อบอกพวกเรา จิตไม่ถึงฐาน พระอานนท์ สอนตรงนี้ไว้ว่า

สานุศิษย์ท่านที่พยากรณ์มรรคผลมี 4 จำพวก

พวกที่ 1 ใช้ สมาธินำปัญญา : คือทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน

พวกที่ 2 ใช้ ปัญญานำสมาธิ : คือเจริญสติในชีวิตประจำวันนี่แหละ แล้วจิตรวมเข้าสมาธิ

พวกที่ 3 ใช้ สมาธิและปัญญาควบกัน : พวกนี้ทำสมาธิอยู่ในชาญ (ไม่ใช่อย่างที่ครูบาอาจจารย์วัดป่าทำนะ ส่วนมากท่านทำความสงบก่อนแล้วถอนออกมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน อันนี้คือแบบที่ 1)

แบบที่ 3 มีเหมือนกันแต่มีน้อย ต้องชำนาญในชาญจริงๆ จะเห็นองค์ชาญเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ แต่ดูยาก ต้องชำนาญทั้งชาญ ต้องชำนาญทั้งการดูจิต จึงจะดูได้

พวกที่ 4 พระอานนท์บอกว่า : จิตมีความฟุ้งซ่านในธรรมะ ไปอยู่ในธรรมะ 10 ประการ (หลวงพ่อกล่าวถึงวิปัสสนูปกิเลส) มีโอภาสเป็นหมายเลข 1 ถ้าเมื่อไหร่รู้ทัน อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่านของจิตที่ไหลออกไป อุทธัจจะดับนะ ก็จะหลุดจากโอภาส

หลวงปูเทสก์เคยบอกว่า เวลาเกิดวิปัสสนูเกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้ยังไม่เก็ตนะ เวลามันเกิดจริงๆ ค่อยมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ความสบาย ความเย็น ..หลงไปสารพัดรูปแบบเลย

จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไหร่จิตมัน มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห้นมาด้วยการปฎิบัติอย่างนี้ เสร็จแล้วเพิ่งมาเจอพระสูตร เนี่ยที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย

วิปัสสนูมันเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไม่ถึงฐานนั่นแหละ หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน

เพราะงั้นพวกเราเวลาภาวนา ค่อยๆ สังเกต เวลาดูจิตดูใจ รึว่าดูกายก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไร เกิดวิปัสสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสสนู-ดูกายไม่มีวิปัสสนู เข้าใจผิด

หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ หรือเพิ่งเริ่มวิปัสสนา ยังไม่ชำนิชำนาญพอ สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับ แล้วก้ถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไปว๊าบ มันโล่งมันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็ไปค้างอยู่ตรงนี้ แล้วคิดว่านิพพาน คราวนี้คิดว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้วตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนาตรงนี้คิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์มีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้วบางคนก็แก้ไม่ได้ บางคนไม่ยอมมาเจอเราเลย

..

ทีนี้ มันเดินปัญญาต่อไปไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้น

แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานจะหลุดออกมาเลย

พวกนี้จะน่าสงสารแล้วน่ากลัว น่ากลัวตรงที่จะเที่ยวเผยแพร่คำสอนออกไปอีก ..จะไปบอกว่าไม่ต้องดูกายไม่ต้องดูใจ ไปดูความว่าง พวกนี้ผิดนะ! ต้องดูกายต้องดูใจ

—–#

เสร็จแล้วภาวนามาอีกหลายปีเลย ตอนนั้นใกล้จะบวชแล้ว ไปเจอหลวงพ่อพุธเข้า หลวงพ่อพุธกับหลวงพ่อนี่นะเคยมีข้อตกลงกันเมื่อปี 2526

หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์แล้วกลับมากราบหลวงพ่อพุธที่โคราช ท่านถามว่าหลวงปู่สอนอะไร กราบเรียนท่านว่าหลวงปู่สอนว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธ์อย่างแท้จริง

..บางคนภาวนาไม่มีผู้รู้นะ ถ้าคนไหนเดินมาทางสมถมันจะมีผู้รู้ ถ้าเดินมาทางวิปัสสนามันจะไม่ตั้งตัวผู้รู้..แค่รู้สึกแล้วก็ดับ รู้สึกแล้วก็ดับ เป็นขณะๆ คนละแบบกัน

คนไหนที่มีผู้รู้อยู่แล้วไปประคองรักษาตัวผู้รู้ตรงนี้ใช้ไม่ได้แล้ว พ้นทุกข์ไม่ได้จริงหรอก ไปเห็นว่าตัวผู้รู้เที่ยงผู้รู้เป็นสุข ตัวผู้รู้บังคับได้

หลวงพ่อพุธท่านก็บอกว่า ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มาเหมือนกันก่อนหน้าหลวงพ่อ 7 วัน หลวงปู่สอนอย่างเดียวกัน

..บอกเจ้าคุณ การปฎิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จจริง เนี่ย เราจะต้องทำลายผู้รู้ ท่านบอกอย่างนี้นะ

ทำลายผู้รู้คือไม่ยึดผู้รู้นั่นแหละ ท่านเฉลยมานิดนึง ..คุณกับอาตนามาตกลงกัน ใครทำลายได้ก่อนให้มาบอกกัน ท่านสั่งอย่างนี้ แล้วเราก็ไม่เจอท่านอีกเลยตั้งแต่นั้น

จนกระทั่งก่อนท่านมรณภาพไม่นานได้กราบท่าน บอกหลวงพ่อ เรายังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย

6) หลวงพ่อพุธ: จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง

[บทเรียน] ภาวนาอย่าใจร้อนนะ มีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าไม่คลาดเคลื่อนด้วยการมีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ล่ะก็อย่าใจร้อน เดินไปเรื่อยๆ วันนึงจิตใจมันเติบโตเต็มที่มันทำลายเปลือกออกมาเอง

นี่ 5 องค์แล้วนะครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อ แต่ 6 คำถาม

—–#

ก่อนไปกราบหลวงปู่สุวัฒน์ เราภาวนา เรายังไม่ได้บวชนะ จิตเราหลุดออกมา เรารู้สึกสบายเลยเราคิดว่าพระอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ จิตไม่เกาะอะไรจิตไม่เกาะขันธ์

เราไปหาท่าน ปรากฎว่าพอใกล้ถึงจิตดันเข้าไปเกาะกัน ดันเข้าไปยึด(ขันธ์)อีก เราก็เลยคิดนี่ล่ะน้าาา มันเป็นอนัตตา .. มันเป็นไตรลักษณ์

พอคิดว่าเป็นไตรลักษณ์นะ ใจเราไม่ดิ้น ก็หลุดออกมา

7) หลวงปู่สุวัฒน์: นี่แหละ บางทีจิตมันก็หลุดออกมา บางทีจิตมันก็เข้าไปจับอารมณ์ พอมันจับอารมณ์แล้วเราเห็นว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันก็หลุดออกมา

เราก็ อ๋อ..จิตนี่ก็เป็นไตรลักษณ์นะ เราจะไปบังคับให้จิตหลุดพ้นไม่ได้หรอก ถึงเวลาถ้าเค้าพอ เค้าหลุดเอง แต่เราไม่รู้ว่าเค้าขาดอะไรที่ยังไม่พอ

[เฉลย] คือ ขาดอริยสัจ ขาดความรู้แจ้งอริยสัจนะ ถ้าแจ้งอริยสัจก็คือพอ

ถ้าไม่แจ้งอริยสัจ ยังเห็นว่ากายนี้ ใจนี้เป็นตัว สุขบ้าง ทุกข์บ้างอยู่ ไม่มีทางเลย ยังไม่พอที่จะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

หลวงพ่อนี่นะเคยกราบครูบาอาจารย์มานับไม่ถ้วน หลายสิบองค์ แต่ครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อรวมทั้งหมด 7 ครั้งเท่านั้น

ถ้าคนไหนถามหลวงพ่อเกิน 7 ครั้งถือว่าเป็น อวชาตศิษย์ ..มากไป

ถ้าถาม 7 ครั้งเค้าเรียก อนุชาตศิษย์ ..พอๆกัน

ถ้าไม่ต้องถามเลยนะ แล้วก็ผ่านไปเลย เป็น อภิชาตศิษย์

..งั้นพวกไหนถามมากนะ พวกโหลยโท่ยนะ :D

อย่าถามเยอะเลย หัดรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง หลักมีเท่านี้เอง ที่ผิดน่ะผิดจากหลักนี้ทั้งสิ้นเลย

พวกที่ติดว่าง นี่ใช้ไม่ได้นะ มันติดหมด

บางคนก็ฟุ้งในธรรมะ อยากพูดธรรมะ ใครเป็นบ้าง? รู้ตัวไว้นะเป็น วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ..เจอใครอยากจะสะกิดมาฟังธรรมะก่อนนะ (55)

เคยมีพระองค์หนึ่งนะ ท่านติดฟุ้งในธรรมะนี่แหละ ท่านเกิดวิปัสสนูชนิดหนึ่งนะ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์นะ เคารพหลวงปู่ดูลย์มากเลย

ท่านเดินลุยป่ามากจากบุรีรัมย์(พนมรุ้ง) เดินมาสุรินทร์นะคิดดู (55) มาถึงวัดตอนดึก มาเรียกหลวงตาดูลย์มาฟังเทศน์ พระอรหันต์มาโปรดแล้ว ไปเคาะประตูเรียกพระทั้งวัดเลยนะ

ตอนเช้าขึ้นมา หลวงปู่ แก้ แก้ไม่ตกนะ สุดท้ายหลวงปู่ดูลย์ใช้ไม้ตายเลย ด่า สัตว์นรก ไอ้บ้า ไอ้สัตว์นรก ..โอ้โห พระอรหันต์นะโกรธ เลือดขึ้นหน้า.. ตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู กูไปแล้ว คว้าไม้กวาดได้นะเอาพาดบ่า นึกว่าเป็นกลดนะ เดินออกไป 3 ก.ม. แล้วเพิ่งนึกได้ เอ๊ะ เราขาดสติอย่างร้ายแรกเลย ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก

มันเกิดขึ้นได้เสมอนะ หากเราไม่ปราณีตพอ จิตมันฟุ้งซ่านไป ไปอยู่ในความว่าง ฟุ้งซ่านไปอยู่ในธรรมะ ฟุ้งซ่านไปอยู่ในปิติ ..ฟุ้งซ้านไปอยู่ในการขยันภาวนา ภาวนาได้ทั้งวันไม่เคยพักเลย เจริญสติอย่างเดียวไม่มีเบรคเลย เนี่ย เป็นอาการที่เพี้ยนๆ ทั้งสิ้นเลย

ถ้าภาวนาถูกต้องแล้วจะเจอนะ ถ้าภาวนาผิดแล้วจะไม่เจอ จะเจอนิมิตแทนนะ

งั้นวันนี้หลวงพ่อก็เทศน์เรื่องวิปัสสนูให้ฟังด้วย แล้วเทศน์ให้ฟัง สิ่งที่ทำผิดมาเนี่ยมีตั้งหลายแบบ

โดยสรุปเลยก็คือ เราไม่ได้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงนะ ไม่รู้ลงปัจจุบันตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าเราสามารถรู้กายรู้ใจที่ปรากฎในปัจจุบันเนี่ย..ต้องเป็นปัจจุบันนะมันถึงจะเป็นของจริง อดีตไม่ใช่ของจริง อนาคตไม่ใช่ของจริง

ต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ต้องเห็นไตรลักษณ์ของมัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเดี๋ยวจิตไหลออกไป จิตฟุ้งไปแช่กับอารมณ์ใช้ไม่ได้นะ จะเป็นวิปัสสนู และที่ผ่านมามันจะผิดอยู่ในหลักนี้ทั้งหมดเลย

เริ่มตั้งแต่ ไปหัดดูจิต แล้วก็ไปแก้อาการของจิต ใช่ไหม? นี่ไม่ใช่รู้ นี่เป็นการเข้าไปแก้ไข

หรือ ถลำลงไปดู นี่จิตไม่ตั้งมั่น หลวงปู่สิมท่านแก้ให้ จิตถลำลงไปดู

หรือ จิตเจริญสติไปรวดเลย ไม่ยอมทำความสงบ ไม่พักผ่อนเลยนะ จิตหมดเรี่ยวหมดแรงไป เห็นไหมจิตไม่มีแรง จิตไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลาง จิตหมดแรง

หรือ จิตไหลออกไปข้างนอก สว่างว่างออกไป แล้วไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง ..อย่างตอนนี้มีคนวิจารณ์บอกหลวงพ่อสอนผิด เพราะมีคนไปส่งการบ้านที่วัดอื่นนะ บอกว่า ไปเรียนดูจิตมา ..ท่านอาจารย์ท่านก็สอนถูกนะ ท่านบอกมันผิดนี่หว่า มันไปดูในความว่าง ..แต่ท่านเข้าใจผิด คิดว่าดูจิตแล้วจะเป็นอย่างนี้ทุกคน ไอ้นี่มันเป็นวิปัสสนูนะ งั้นไม่ใช่บางคน สงสัยทำไมหลวงพ่อไม่ไปทะเลาะกับองค์อื่น ไม่ทะเลาะหรอก นะ ท่านก็พูดของท่านก็ถูกของท่านแหละ พวกเราภาวนาโหลยโท่ยเองอ่ะ (ฮึฮึ) จิตไปติดในความว่าง ภาวนาผิดอ่ะ นะ งั้นถ้าจิตไม่ไปติดในความว่าง เรารู้ทันก็หลุดออกมา นะ งั้นการภาวนานะ ถ้าเข้าใจหลักปฎิบัติที่แท้จริงแล้วไม่มีปัญหาอะไรเลย ภาวนาของเราเองก็สะดวกสบาย เข้าไปหาครูบาอาจารย์ก็ไม่เคยมีปัญหาเลย

.. อย่างหลวงพ่อนะ มีพระทางอีสานลูกศิษย์หลวงพ่อทุย (วัดป่าด่านวิเวก) หลวงพ่อทุยที่ครูบาอาจารย์รับรองท่านนะ คุณธรรมท่านสูงมากเลย ลูกศิษย์ท่านมาเรียนที่หลวงพ่อ แล้วก็เอาหนังสือหลวงพ่อ เอาซีดีหลวงพ่อเนี่ยไปถวายท่านอาจารย์ทุย ท่านฟังจริงๆนะ ท่านฟังจนหมดเลย ท่านอ่านทั้งเล่มเลย อ่านทางเอกทั้งเล่มอ่ะ หน่ะ เสร็จแล้วท่านก็บอกกับลูกศิษย์ท่าน ที่อาจารย์ปราโมทย์สอนมาเนี่ยนะ เราเห็นด้วยทุกอย่างเลย เราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียวเอง ..เห็นมะ ความเห็นต่างได้ ..ท่านบอกเราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียว ข้ออื่นเห็นด้วยหมดอ่ะ อาจารย์ปราโมทย์บอกการภาวนาง่าย เราว่ามันยากนะ .. :D มันยาก ถูกของท่านนะ

มันยากที่คนทั่วๆไปเนี่ย จะตื่นขึ้นมา จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่ถ้าจิตของเราเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ไม่ยากหรอกที่จะบรรลุมรรผล นิพพานในชีวิตนี้ นะ ..งั้นพวกเราภาวนาไปนะ หัดดูกาย หัดดูใจ มีสติรู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบันเรื่อยไป นะ รู้ไปถึงจุดนึง นะ ต้องระวัง “วิปัสสนู” นะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่เป็นกลาง จิตไม่ถึงฐาน อย่างที่อาจารย์มหาบัวเคยบอกหลวงพ่อ ..ภาวะที่ว่าดูจิตดูไม่ถึงจิตแล้วลงอยู่ในว่างๆ ถ้าเรารู้ทันตรงนี้ก็ผ่านไปได้

ไม่ว่าจะทำวิปัสสนาด้วยวิธีใดนะ หนีวิปัสสนูไม่พ้นหรอก เจอทุกราย จะมากจะน้อยเท่านั้นเอง ..งั้นเราไม่ต้องกลัวนะ วิปัสสนูไม่ได้แปลว่าบ้า วิปัสสนูเป็นความที่ใจมันลำพองไป ทะยานไป หลงไปในธรรมะ ไม่ใช่หลงในอธรรมนะ หลงไปในธรรมะ เผลอเพลินไปในธรรมะ

ถ้ารู้ทัน จิตตั้งมั่นขึ้นมาก็หลุดเลย ไม่ยากเท่าไหร่หรอก อ่ะวันนี้เทศน์เท่านี้พอ

ขอบคุณ คุณ Supakorn Gift ผู้ถอดคลิปรับเชิญ

พระสูตรจากคลิป: ยุคนัทธสูตร

ส่วนที่อธิบายไว้ในอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 35  หน้าที่ 402

๑๐. ยุคนัทธสูตร

:- [๑๗๐]    สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ  โฆสิตารามกรุงโกสัมพี

ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมาฯลฯ  แสดงธรรมว่าอาวุโสทั้งหลาย

สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตามพยากรณ์การบรรลุ

พระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค  ๔  โดยประการทั้งปวงหรือว่าด้วย

มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔  นั้น  มรรค ๘ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็น

เบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น   เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ

ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่     มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก

ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้  อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้วสมัยนั้น

จิตนั้นย่อมตั้งมั่นหยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่

ภิกษุนั้น  เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ

กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น  ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อาวุโสทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตาม   มาพยากรณ์การ

บรรลุพระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ นี้    โดยประการทั้งปวง  หรือ

ด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน  ๔  มรรคนั้น.

จบยุคนันธสูตรที่  ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวอย่างนักภาวนาที่ดี

Mp3 (for download): ตัวอย่างนักภาวนาที่ดี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : เมื่อครู่เห็นแมลงวันเกาะอาหารก็เลยโกรธ สติเกิดเหมือน SPOTLIGHT ส่อง มันดับลงไปเลยครับ พอไปนั่งทานข้าวนึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อก็ปิติ น้ำตาไหลก็ไม่ไปแทรกแทรง ก็ปล่อยให้มันไหล สักพักมันก็ดับไปเองครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ภาวนาอยู่ดีเลยนะ รู้ลูกเดียวเลย เห็นไหมทุกอย่างมันทำงานได้เอง ปิติมันเกิดขึ้นมาเอง ปิติมันก็ดับได้เอง

โยม : ผมต้องขออนุญาตแจ้งหลวงพ่อ ผมขอไรท์ซีดีแจกลูกศิษย์ลูกหาครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เป็นไรหรอกนะ เอาไปแจก เดี๋ยวนี้บางวัดเอาไปขายด้วย เดี๋ยวนี้งานหนังสือ มีหนังสือเรียนธรรมคู่เพื่อรู้ธรรมหนึ่ง เอาไปขายเล่มละ 30 บาท แต่ไม่เป็นไรขายถูกไม่ว่า

โยม : ขอแนวทางปฏิบัติต่อไปครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ทำอยู่ดีแล้วนะ

โยม : ไม่ต้องไปแทรกแทรง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่แทรกแทรง ถึงเวลามีข้อวัตรเป็นของตัวเอง ตอนนี้ต้องการความมีวินัยละ ทุกวันมีเวลาแบ่งไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาภาวนา

โยม : ผมขออนุญาตนิดนึงครับ เมื่อสองเดือนที่แล้วไปกดมันไว้ หลวงพ่อบอกว่าเพ่ง สงบมากกลางวัน พอกลางคืนฝันอุตลุดเลยครับ เสร็จแล้วพอหลวงพ่อบอกว่าอย่าไปเพ่ง เดี๋ยวนี้พอฝันจิตมันห่างๆ สติมันเกิดใขณะฝัน มันเห็น มันจ้อง แต่ไม่เข้าไปแทรงแทรง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าคุณตายตอนนี้ก็ไม่กลัวแล้ว เวลานิมิตไม่ดีเกิดสติจะทำงานเอง

โยม : เมื่อวันที่ 5 มกราคม ขออนุญาตนิดนึงครับ นั่งอยู่แล้วหายใจไม่ออก รู้สึกว่ากำลังจะตาย จิตมันหลุดออกไปแล้วดูมาที่กาย เห็นว่าไม่เอาแล้ว สักพักนึงมันหลบเข้ามา เกิดลมหายใจ ผมบอกว่าให้กดจุด ก็เลยอยู่ครึ่งขั่วโมง หลักจานั้นก็หน้าซีดเกือบจะตาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าตายก็ไม่เสียทีแล้ว เวลาหลวงพ่อไปเยี่ยมคนไข้นะ บางทีหลวงพ่อให้กำลังใจนะ ไปเยี่ยมท่านวันชัย “อาจารย์ตายแน่รอบนี้ ยังไงก็ไม่รอดหรอก ดูมันตายไปเลย” นั่นแหละของคุณภาวนาได้ดีมากเลยนะ ภาวนาถูกเป๊ะเลย จิตของคุณมันรู้มันตื่นแล้วมันเป็นกลาง เราภาวนาแทบเป็นแทบตายเพื่อให้มันรู้มันตื่น แล้วรู้ทุกอย่างอย่างเป็นกลาง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สงสัยในอาการของจิต

mp3: สงสัยในอาการของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์

ปัญหาในการปฎิบัตินี้เกิดจากการหลงกับอาการของจิตทั้งสิ้นเลย

อาการต่าง ๆ นา ๆ จิตไปหลงกับอาการ แล้วก็คิดจะแก้อาการ หรือคิดสงสัยในอาการ

เช่น จิตของผมทำไมมันส่ายไปสายมา ส่ายขึ้นข้างบนแล้วไหลลงข้างล่างสามขยัก ถอยไปข้างหลังอีกสองที อะไรอย่างนี้นะ

อาการอะไรก็ได้ก็แค่รู้เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจะไม่มีความสงสัยอะไร

ถ้าสงสัยก็รู้ไป ความสงสัยก็เป็นอาการของจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตมันไปคิดมากมันก็สงสัยขึ้นมา

อาการชนิดนี้ก็เกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกับอาการอย่างอื่น ๆ นั้นแหละ

CD: ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๙
File: 510316

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความทุกข์กับปัญหาไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

mp3: (for download)ความทุกข์กับปัญหาไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: ของโยมนะ ไปแยกกันนะ ระหว่างทุกข์กับปัญหาน่ะเอาไปปนกัน ความทุกข์มันเกิดจากเราไม่อยากมีปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นแล้วอยากให้ปัญหาหายไป ขั้นแรกเลยให้รู้ทันใจซึ่งมันไม่ชอบปัญหา ใจมันมีโทสะเกิดขึ้นให้รู้ทันลงไปเลย พอใจเราปราศจากโทสะแล้ว ใจเราสงบ ใจเราตั้งมั่น ใจเราเป็นกลางแล้วไปคิดแก้ปัญหาเอา ปัญหาต้องแก้นะ ไม่ใช่ปัญหาก็ปล่อยสักว่ารู้สักว่าเห็น

CD: บ้านอารีย์ วันที่ ๑๔ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑
File: 25510914.mp3
Time: ตั้งแต่นาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๗ ถึงนาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต

MP3 (for download): ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต (๓๓ นาที ๕๖ วินาที)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ ๒๒
File: 510615
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำสมาธิแล้วฟุ้งและดูจิตจะทำให้มีสมาธิได้ไหม?

MP3 (for download): ทำสมาธิแล้วฟุ้งและดูจิตจะทำให้มีสมาธิได้ไหม?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: รู้สึกนั่งสมาธิมันจะฟุ้งครับ มันจะกระวนกระวาย

หลวงพ่อปราโมทย์: ให้รู้ว่ากระวนกระวาย ไม่ใช่นั่งเพื่อให้สงบ เรานั่งเพื่อรู้ความจริง การปฎิบัติมีสองแบบนะ ถ้าทำสมถะเนี่ยเราทำไปเพื่อความสงบ ถ้าจะเจริญปัญญาทำไปเพื่อเห็นความจริง

เพราะฉะนั้นตอนไหนที่จิตมันไม่สงบนะ รู้มันไปซื่อๆ รู้ว่าจิตไม่สงบ ความไม่สงบก็ไม่เที่ยง เห็นมั้ย ถ้าเรารู้ด้วยจิตซื่อๆนะ ความไม่สงบจะต้องดับให้ดูแน่นอน จิตจะสงบ นี่ง่ายๆ เพราะฉะนั้นเวลาจะทำสมาธินะ บางคนบอกว่าดูจิตแล้วจะทำสมาธิไม่ได้ ต้องไปรู้ลมหายใจ เข้าใจผิด

จิตจะมีสมาธิหรือไม่ อยู่ที่ว่ามีนิวรณ์หรือไม่ ถ้าไปนั่งสมาธิแล้วหายใจด้วยโลภะ อยากสงบ ไม่มีวันสงบ ถ้านั่งแล้วบีบเค้นใจไปเรื่อยนะ บังคับใจ กดข่มใจไปเรื่อย ไม่มีวันสงบหรอก ถ้านั่งแล้วคิดไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีวันสงบหรอก นั่งแล้วสงสัยไปเรื่อยๆก็ไม่สงบหรอก นั่งแล้วซึมไปเรื่อยๆก็ไม่สงบหรอก

แต่ถ้าเราไม่ได้นั่งนะ จิตเรามีกามฉันทะเราก็รู้ มีพยาบาทเราก็รู้ มีความลังเลสงสัย มีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ มีความหดหู่อะไรขึ้นมาเรารู้ลูกเดียวเลย สิ่งเหล่านี้มันจะดับไปเอง

ทันทีที่สติเกิดนะอกุศลทั้งหลายมันจะดับเอง เมื่อนิวรณ์ทั้งหลายดับไปจิตจะมีสมาธิขึ้นมาเอง เห็นมั้ย เป็นวิธีที่ง่ายๆ วิธีนี้พระพุทธเจ้าสอนพระเจ้าอชาตศัตรู อยู่ในพระสูตรที่สอง ชื่อ สามัญผลสูตร สูตรที่สอง

ทำไมท่านแทนที่จะสอนหายใจไปก่อน แล้วค่อยมีสมาธิ แล้วมาเจริญปัญญา เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะให้นั่งสมาธิจนเข้าฌานก็คงไม่ได้ภาวนาหรอก ท่านเลยสอนให้รู้ทันเลย จิตมีนิวรณ์ขึ้นมารู้ทัน สมาธิมันจะเกิด นี่ใช้ปัญญานำสมาธินะ ท่านบอกน่าเสียดายอชาตศัตรูไปฆ่าพ่อเสียก่อน ถ้าไม่งั้นฟังธรรมวันนี้จะได้เป็นพระโสดาบันละ เลยไม่ได้เป็น

อ้างอิง: สามัญญผลสูตร[๑๒๕]

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตใจมนุษย์เหมาะที่สุดสำหรับการทำวิปัสสนา เพราะมันแสดงไตรลักษณ์

mp3 (for download): จิตใจของมนุษย์เหมาะที่สุดสำหรับการทำวิปัสสานา เพราะมันแสดงไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตใจธรรมดาๆ ของมนุษย์ดีที่สุด(มนุษย์ แปลว่า ผู้ที่มีจิตใจสูง) พวกเราชอบทิ้งจิตมนุษย์ที่สูงที่ดีนี้ ไปสร้างจิตของพรหมขึ้นมา เวลาเราคิดถึงการปฏิบัติก็ไปทำใจให้นิ่ง ไปสร้างจิตของพรหม พระพุทธเจ้าไม่เคยยกย่องจิตของพรหมเลยนะ ท่านบอกว่า เกิดเป็นมนุษย์ยากนะ ไม่ได้บอกว่าเกิดเป็นพรหมยากด้วย

จิตของมนุษย์ผู้ที่ได้ชื่อว่ามนุษย์มีใจสูง ใจของเราดีอยู่แล้ว มันสูงยังไง มันเหมาะที่สุดสำหรับการทำวิปัสสนา ใจของพรหมเหมาะที่จะทำสมถะ ใจของเทวดาเหมาะจะเสพย์สุข เพราะฉะนั้นใจมนุษย์ดีที่สุด ใจมนุษย์เปลี่ยนแปลงทั้งวัน เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวสงสัย เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ เดี๋ยวอิจฉาริษยา เดี๋ยวอาฆาตรพยาบาท เดี๋ยวกังวล เดี๋ยวกลัว เดี๋ยวเครียด เดี๋ยวอยากโน่น เดี๋ยวอยากนี่ ใจมนุษย์นี่ดีวิเศษ เห็นไหม เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเร็ว

เราทำวิปัสสนาก็เพื่อจะเห็นความจริง ว่ากายและใจไม่เที่ยง ทั้งกายทั้งใจเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ ทั้งกายทั้งใจบังคับไม่ได้ ใจของมนุษย์เหมาะมากเลยที่จะเห็นไตรลักษณ์ เพราะใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุดเลย แสดงความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา จิตใจของมนุษย์ดีมากเลย เพราะแสดงทุกขัง แสดงการทนอยู่ไม่ได้ของสภาวะอันใดอันหนึ่ง สบายอยู่สักครู่ก็ไม่สบายแล้ว สุขอยู่สักครู่ก็ไม่สุขแล้ว เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ใจของมนุษย์ สูง ดี วิเศษมากเลย มันทำงานได้เอง เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด โดยที่เราบังคับไม่ได้ ใจของพรหมบังคับได้นะ ใจของพรหมฝึกไปเรื่อยๆ สามารถบังคับได้เป็นกัปป์ๆ ให้นิ่งอยู่ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ใจที่ดีที่วิเศษ เป็นใจที่เห็นอนัตตาอยากที่สุดเลย จะรู้สึกว่ากูเก่งๆ กูบังคับใจได้ ให้นิ่งนานๆ หลายๆปี ให้นิ่งอยู่ ใจของมนุษย์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่เที่ยง แสดงความเที่ยงตลอด แสดงความเป็นทุกข์ตลอด คือ ทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนี่งไม่ได้ ถูกเสียดแทง ใจของมนุษย์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มันเปลี่ยนแปลงได้เองโดยที่เราไม่ได้บังคับมัน สั่งมันไม่ได้ หากเราสั่งจะมีความทุกข์นะ มันไม่เชื่อ ดีนะ ดีตรงมันแสดงการไม่เชื่อให้เราดู จงมีแต่ความสุข ไม่มีหรอก มันไม่เชื่อ ห้ามชั่วนะ จงดีนะ ไม่เชื่อสักอย่าง ความโกรธอย่ามานะ ฉันจะมา ความโลภอย่ามานะ ฉันจะมา ความหลงอย่ามานะ ฉันจะหลงฉันจะเผลอ โกรธแล้วหายไวๆนะ ฉันจะไม่หาย ฉันจะแกล้งแกอยู่อย่างนี้ เห็นไหมใจมนุษย์มันดีอย่างนี้นะ ดีตรงที่มันแสดงการบังคับไม่ได้ให้เราดู

บางคนเริ่มงงแล้ว ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้แล้วดียังไง มันดีตรงที่เราจะหมดความยึดถือในกายในใจนี้ได้ มันจะเห็นเลยว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของวิเศษอีกต่อไปแล้ว มันเป็นของที่เป็นภาระเป็นของที่มีความทุกข์มาก เป็นของที่ไม่คงที่เลย ความวิเศษของจิตใจมนุษย์อยู่ที่ตรงนี้เอง คือ มันแสดงไตรลักษณ์

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
File: 500610A.mp3
Time: นาทีที่ ๓๐ ถึง นาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อัตตวาทุปาทาน

mp3: (for download) อัตตวาทุปาทาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: หลวงพ่อครับ อยากให้หลวงพ่อช่วยอธิบายครับว่า การบังคับ หมายถึงว่ามีตัวตนที่บังคับได้ และก็ตัวตนที่บังคับไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์: ตัวตนไม่มีนะ ไม่มีสักอย่างเดียว ทั้งตัวตนที่บังคับได้ ตัวตนที่บังคับไม่ได้ ตัวตนไม่มี มีแต่ขันธ์

โยม: บางครั้งเราไม่เข้าใจว่า อย่างเช่น บางเรื่องเราเข้าใจว่ามันบังคับไม่ได้ อย่างสมมุติว่าเราสั่งให้มือขยับอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์: อันนี้ เพราะว่ารูปมันเคลื่อนไหวได้เพราะจิตสั่ง การที่จิตสั่งเป็นเหตุอันหนึ่งให้เกิดรูป รูปบางอย่างเกิดจากจิตเรียก ‘จิตตชรูป’ รูปที่เกิดจากจิต เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่ารูปทุกอย่างที่สั่งได้

โยม: ขออีกคำถามครับ ก็คือว่า บางครั้ง ไปดูว่า บางครั้งจิตเป็นผู้รู้ จิตเป็นผู้นึก บางครั้งเป็นผู้จำ ระหว่างที่ดู บางครั้งเราเห็นว่าหลังจากเกิดกิเลสแล้ว ก็จะมี… มองไปดูอีกทีหนึ่งมันมีตัวตน เห็นตัวตนแทรกมาเป็นระยะๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่ๆ

โยม: ครับ คราวนี้บางทีก็เป็นตัวตนใหญ่ ตัวตนเล็ก บางทีก็มองไม่ชัดไม่เห็น บางครั้งก็ตั้งใจเข้าควานๆเพื่อไปหามันว่ามันอยู่ตรงไหน

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าควานอยู่ไม่เห็นหรอกเพราะว่าเราเอาตัวตนเที่ยวหาตัวตน มองไม่เห็น ถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นตัวตนจริงๆไม่มีหรอก จิตเราไปสำคัญว่ามีขึ้นมาเอง เป็นทิฎฐิ เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่มีจริง เหมือนภาพฝัน เหมือนภาพลวงตา

โยม: ตัวนี้เป็นทิฎฐิหรืออุปาทานครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใจมันไปสำคัญผิดว่ามีตัวตน มันอุปาทานในสิ่งต่างๆ แลัวมันก็ยึดในวาทะว่ามีตัวตน เพราะฉะนั้นไม่มีนะ ว่า ความยึดอุปาทานในตัวตน ไม่มี มีแต่คำว่า ‘อัตตวาทุปาทาน’ อัตตะ วาทะ มีวาทะว่ามีตัวตน แล้วไปยึดในวาทะอันนี้ เพราะฉะนั้นตัวตนจริงๆไม่มีให้ยึดหรอก แต่เราไปยึดในความคิดความเห็นว่ามีตัวตน แล้วไปสำคัญมั่นหมาย เอาสภาวธรรมซึ่งเราไปรวบมาแล้ว แล้วไปสำคัญหมายว่าเป็นตัวเป็นตน เรียกว่า ‘สัญญาวิปลาส‘ วิปลาสไป ทั้งๆที่ไม่มี

โยม: คือ มันเป็นสภาวะที่ผุดขึ้นมาเท่านั้นเอง

หลวงพ่อ: ใช่ มันผุดขึ้นมาตามหลังความคิดมา พอเราคิดนะ โดยเฉพาะถ้าคิดแล้วกิเลสเจือนะ จะโผล่ได้เร็วและแรง ถ้าคิดไปในทางเป็นกุศลนะ ก็โผล่เหมือนกันนะ โผล่มานุ่มนวล เบาๆ แหม ฉันเป็นคนดี นี่ฉันทำบุญใส่บาตร ฉันดี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรี่ราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510415B
Time: นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อหลวงพ่อสอนเด็กภาวนา

mp3: (for download) เมื่อหลวงพ่อสอนเด็กภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ โยมอยากให้หลวงพ่อกรุณาลูกของโยมหน่อยเจ้าค่ะ อยากให้หลวงพ่อแนะนำลูกของโยมเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : แล้วลูกเขาอยากจะเรียนหรือเปล่าล่ะ เด็กอายุเท่าไรแล้ว

โยม : อีกคน7 ขวบ กับอีกคน 9 ขวบ เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : 9 ขวบ เป็นอย่างไร เขินน่ะ อย่าไปเข็ญเด็ก อย่าไปบังคับเด็ก ให้เราคอยรู้ทันใจของเราไป เด็กๆยังไม่ต้องคุยกับหลวงพ่อก็ได้ ยังตื่นเต้นอยากกินขนมให้รู้ทัน อยากดูทีวีให้รู้ทัน อยากอ่านการ์ตูนให้รู้ทัน ให้คอยรู้ทันก่อนแล้วค่อยกินค่อยดู เด็กเรียนเร็วกว่าผู้ใหญ่ เราไม่ต้องบังคับให้เขาฟังนะ เพียงเปิดให้เขาได้ยิน เขาจะรู้เร็วกว่าเราอีก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาแล้วมีแต่ความสุขทำอย่างไรดี?

mp3: (for download) ภาวนาแล้วมีแต่ความสุขทำอย่างไรดี?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : หลวงพ่อคะ ตอนนี้ถ้าเกิดมองตัวเองก็จะเห็นจิตที่มันมีแต่ความสุข แล้วก็โปร่ง โล่ง สบาย อย่างอื่นมองไม่เห็นน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้ามันชอบใจขึ้นมาก็ให้รู้ทัน (โยม : ค่ะ) มันเป็นกลางก็ให้รู้ทัน ให้รู้ทันจิตเข้าไปอีกที ความสุขยังไม่ใช่จิตนะ ความสุขเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า พอจิตไปรู้ความสุขแล้วจิตพอใจ ให้รู้ว่าพอใจนะ

โยม : ตอนนี้คือหนูไม่รู้ว่าพอใจหรือคะ

หลวงพ่อปราโมท์ : ไม่รู้ (โยม : อ๋อ) จิตมันไหลไปแปะอยู่ในความสุข โล่งๆ ว่างๆ สบาย (โยม : ค่ะ) จิตมันไปติดอยู่ จิตมันส่งออกนอกนะ แล้วไปเกาะความสุขอยู่

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะ คือ ธรรมดา

mp3: (for download) ธรรมดา คือ ธรรมะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้ไปตามธรรมดานั่นแหละ เพราะอะไร เพราะเราต้องการเห็นความเป็นธรรมดาของกายของใจ ธรรมดานั่นแหละธรรมะล่ะ ธรรมดาของกายของใจก็คือ กายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ นี่ต้องการให้เห็นธรรมดาคือแค่นี้เอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ก้าวแรกสู่การภาวนา

mp 3 (for download) : ก้าวแรกสู่การภาวนา (44.14 นาที)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

=== ธรรมบรรณาการ วันเปิดตัว Dhammada.net ===

หลวงพ่อปราโมทย์ :

พวกเราสนใจธรรมะดีที่สุด แต่ก่อนเข้าไปศึกษากับครูบาอาจารย์ ท่านจะบอกตลอดว่าธรรมะเป็นเรื่องง่าย การปฏิบัติจริงๆเป็นเรื่องง่าย ทำแล้วมีความสุข ถ้าเราปฏิบัติได้ถูกต้องชีวิตจะพบความสุขอย่างรวดเร็ว

ธรรมะของพระพุทธเจ้าอัศจรรย์จริงๆ ถ้าเราปฏิบัติได้ถูกต้องใช้เวลาไม่นาน ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องใช้เวลานาน ที่ไม่ถูกต้องคือไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ ท่านไม่ได้สอนให้พวกเราหนี ชาวพุทธจริงๆต้องเป็นนักต่อสู้ไม่ใช่คนขี้แพ้ ความทุกข์อยู่ที่ไหนท่านสอนให้เราเข้าไปเรียนรู้ที่นั่น

ความทุกข์อยู่ที่กายให้เข้าไปเรียนรู้ที่กาย

ความทุกข์อยู่ที่จิตใจให้เข้าไปเรียนรู้ที่จิตใจ

ที่จริงแล้วคนก็แสวงหาทางพ้นทุกข์มาตลอด ใครๆก็อยากพ้นทุกข์กันทั้งนั้น ก่อนพระพุทธเจ้าก็แสวงหาทางพ้นทุกข์ กระทั่งหมูเห็ดเป็ดไก่ก็แสวงหาทางพ้นทุกข์ของมัน แต่การแสวงหาทางพ้นทุกข์ที่มีมาตลอด แสวงหาได้ตามชั้นตามภูมิ ตามความเข้าใจ ตามสติปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านไม่เหมือนกัน

  • บางคนหาทางพ้นทุกข์ด้วยการเสพย์สุข แสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนังฟังเพลง ไปหาอะไรสวยๆดู ไปทัศนาจร ไปหาของอร่อยๆกินแก้กลุ้ม หรือคิดอะไรให้เผลอๆเพลินๆ นี่ก็เป็นวิธีหาความสุขหนึ่ง หาความสุขอย่างโลกๆ หาความสุขโดยอาศัยการกระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิธีการหาความสุขอย่างนี้ พวกสัตว์เดริฉานก็ทำเป็น เช่น เช่นมันหิวอะไรขึ้นมาก็ไปหาอะไรกิน พอกินอิ่มแล้วก็มีความสุข
  • ทีนี้บางคนมีสติปัญญามากขึ้น ลำพังวิ่งหาความสุขตาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ต้องเที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจไปเรื่อยๆ พึ่งสิ่งภายนอกมากเกินไป หลายคนเลยมาหาความสุขในจิตใจของตัวเอง โดยเฉพาะพวกเข้าวัดทั้งหลาย มีความรู้สึกขึ้นมาอยู่เรื่อยๆเลย ถ้าเราสามารถเข้าควบคุมจิตใจของเราให้อยู่ในอำนาจของเราได้ เราจะมีความสุข จึงเกิดการแสวงหาความสุข วิธีที่ ๒ ขึ้น คือการรักษาใจของเราให้ดี าร การแสวงหาความสุข ชนิดที่ วเอง โดยเฉพาะคนด่าใจเราก็เฉย คนชมใจเราก็เฉย วิธีการหาความสุขอย่างนี้ก็เพื่อให้ตัวเรามีความสุข นี่ก็ยังไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้าทีเดียว เป็นการปรุงแต่งฝ่ายกุศล ปรุงแต่ความดีขึ้นมา ชีวิตจะได้มีความสุขอย่างคนดีๆ มีความสุขอย่างคนดีๆได้ ก็มีความทุกข์อย่างคนดีได้นะ
  • บางคนฉลาดกว่านั้น ตราบใดที่เรายังต้องรักษาจิตใจเอาไว้ มีการกระทบกระเทือน ต้องคอยรักษาอยู่เรื่อยๆ ยังไม่สุขจริง อีกพวกหนึ่งจึงคิดพัฒนาขึ้นไป ถ้าเราไม่ต้องกระทบอารมณ์เลยจะมีความสุข พวกนี้จึงฝึกเข้าฌาน อรูปฌาน พรหมลูกฟัก ไม่รับรู้อารมณ์โลกภายนอก ไม่สนใจโลกภายนอก ไม่มีอะไรมากระเทือน ไม่มีสิ่งใดมากระทบ พอไม่มีอะไรมากระทบใจก็ไม่ต้องกระเทือน

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีวิธีการหาความสุขอยู่ ๓ แบบ

(๑) เที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ ตอบสนองกิเลสไปเรื่อยๆ แล้วก็มีความสุข การหาความสุขแบบนี้เป็นการปรุงแต่งฝ่ายอกุศล หรืออปุญญาภิสังขา หรือเป็นความสุดโต่งในทางที่เรียกว่า กามสุขขัลลิกานุโยค ตามใจกิเลสแล้วมีความสุข (๒) คอยควบคุมคอยบังคับตัวเอง เป็นการปรุงแต่งฝ่ายกุศล เรียก ปุญญาภิสังขา หรือเรียก อัตตกิลมถานุโยค การบังคับควบคุมตัวเอง (๓) หลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ เรียก อเนญชาภิสังขาร

ในโลกมีการปรุงแต่ง ๓ อย่างนี้ การปรุงแต่งทั้ง ๓ อย่างนี้ กระทำไปเพื่อตอบสนองอัตตาตัวตนทั้งสิ้น เพราะเราไม่รู้ความจริง ว่ากายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวเรา เพราะคิดว่า กายนี้ ใจนี้ เป็นตัวเรา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ ก็เลยต้องดิ้นรนปรุงแต่ง ๓ แบบนี้

พระพุทธเจ้าท่านฉลาดแหลมคม ท่านบอกว่าตราบใดที่ยังคิดปรุงแต่งอยู่อย่างนี้ ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด ไปแก้ปัญหาทางปลายทางเท่านั้น ตรงจุดจริงๆ คือ ตัวตนมีไหม เข้ามาศึกษากาย ศึกษาใจของเราเอง จนวันหนึ่งปัญญามันแจ้งว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา พอปล่อยว่างความยึดถือกายได้ ปล่อยวางความยึดถือใจได้

ละอวิชชา ( อวิชชา คือ ความไม่รู้อริยสัจ ความไม่รู้อริยสัจอย่างแรก คือ ไม่รู้ทุกข์ ) คือเราไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราคิดว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเรา เป็นตัวดีเป็นตัวดีเป็นตัววิเศษ เราก็ต้องดิ้นรนให้มันดีไปเรื่อยๆ ให้มันสุข อยากให้มันพ้นทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าเราสามารถเรียนรู้ รู้ลงเข้ามาที่กาย รู้ลงเข้ามาที่ใจ นี่วิธีการของพระพุทธเจ้า เรียนรู้ลงเข้ามาที่กายที่ใจตัวเอง จนเห็นความจริงเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ ความดิ้นรนหวงแหนในร่ายกายก็จะสลายไป หรือเรียนรู้ลงไปที่จิตใจ จะเห็นเลยจิตใจเป็นของไม่เที่ยง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สุขชั่วคราว ทุกข์ชั่วคราว ดีชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว ทุกอย่าที่ผ่านเข้ามาที่จิตที่ใจเราล้วนแต่เป็นของชั่วคราวทั้งนั้น กระทั่งตัวจิตตัวใจเองก็ของชั่วคราว จิตเกิดทางตาเดี๋ยวก็ดับไป เกิดทางหูเดี๋ยวก็ดับไป เกิดทางใจแล้วก็ดับไป มีแต่ของชั่วคราวทั้งหมด

พอเห็นอย่างนี้เห็นความจริงแล้ว จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราที่เที่ยงแท้ถาวรอะไร ความดิ้นรนที่จะให้จิตมีความสุข ความดิ้นรนที่จะให้จิตพ้นทุกข์มันก็จะสลายไป ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงเกิดจิตใจที่ฉลาด รู้ความจริงของกายของใจจนหมดความดิ้นรน การที่เรารู้กายรู้ใจ เขาเรียกว่า รู้ทุกข์

ครูบาอาจารย์ท่านสอนมานะ อย่างหลวงปู่เทสก์ท่านเคยสอน รู้ทุกข์นั่นแหละล้างสมุทัย ถ้าเรารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ละสมุทัยคือละความดิ้นรน ใจมันจะเลิกดิ้นรนเที่ยวหาความสุข ใจมันจะเลิกดิ้นรนเที่ยวหาความทุกข์ ใจที่มันเลิกดิ้นรนมันจะเข้าหาความสงบสุขที่แท้จริง อันนี้เรียกว่านิโรธ นิโรธหรือนิพพานนั่นเอง คือความสงบ ความระงับกิเลสจากตัณหา จากความวุ่นวาย หลุดพ้นออกไปจากขันธ์ จากกายจากใจนี้ มีกายมีใจสักแต่ว่าอาศัยอยู่แค่นั้นเอง

ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกตลอดเวลาเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ กายนี้เป็นของโลก ยืมโลกมาใช้ชั่วคราว จิตใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นนามธรรมตัวหนึ่ง เกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างนี้ใจจะพ้นทุกข์นะ ใจจะเข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง หน้าที่ของพวกเราคือ คอยรู้กายคอยรู้ใจของเรามากๆ จนมันเข้าใจความจริง เครื่องมือที่จะรู้กายรู้ใจของเรา เรียกว่า สติ การที่เข้าใจความจริง เรียกว่า ปัญญา หรือ สัมปชัญญะ สติเป็นตัวระลึกรู้ อะไรเกิดขึ้นในกายคอยรู้ อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้ รู้มากเข้าๆ ปัญญามันเกิด มันเกิดความเข้าใจ เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ พอเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจว่าไม่ใช่ตัวเรา ความดิ้นรนในใจจะหมดไป จิตที่หมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่งนั่นแหละ คือจิตที่เข้าสู่สันติสุขหรือนิพพาน

นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง ในพระอภิธรรมสอนชัดๆเลย ว่า นิพพานมีสันติลักษณะ มีลักษณะสงบสันติ สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากอะไรสงบจากขันธ์ ขันธ์ก็คือกายกับใจเรานี่เอง เป็นเครื่องเสียดแทง หน้าที่ของพวกเราคอยรู้สึกที่กายคอยรู้สึกที่ใจ

กรรมฐาน ถ้าเลยกายเลยใจของเราแล้ว มันออกไป มันอ้อมค้อมออกไป เพราะฉะนั้นให้คอยรู้อยู่ที่กาย คอยรู้อยู่ที่ใจ ครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง เคยสอนหลวงพ่อ สอนหลวงพ่อตอนที่ยังไม่ได้บวช ท่านสรุปให้ฟังง่ายๆนะ การปฏิบัติให้มีสติ รู้ลงที่ใจอย่างเป็นกลาง เป็นปัจจุบัน มีเท่านี้เอง ครูบาอาจารย์รูปนี้ตอนนี้ท่านก็ยังอยู่นะ เป็นเสาหลักของสายวัดป่า

รู้อยู่ที่กายรู้อยู่ที่ใจ ทีนี้ทำอย่างไรเราจึงจะรู้กายรู้ใจได้ ตรงนี้สำคัญต้องค่อยๆเรียน ค่อยๆศึกษา เราจะรู้สึกว่าเรารู้กายรู้ใจตัวเองอยู่แล้ว ในความเป็นจริงบนโลกนี้ไม่มีคนรู้กายรู้ใจของตัวเองหรอก มีแต่คนหลงมีแต่คนเผลอ คนที่สามารถรู้กายรู้ใจตัวเองได้ มีนับตัวได้ ส่วนมากเลยเราจะตื่นขึ้นมาแต่กาย แต่ใจเราจะคิดเรื่องต่างๆไปทั้งวัน ใจมันไม่ตื่นนะ ใจเราจะคิด ใจเราจะฝันไปเรื่อยๆ เราจะต้องค่อยๆฝึกจนใจของเราตื่นขึ้นมา ตื่นทั้งกาย ตื่นทั้งใจนะ จิตใจที่ตื่นขึ้นมานั่นแหละ คือตัว พุทโธ ที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราไม่ใช่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตใจของเราส่วนใหญ่บนโลก เป็นผู้นึก ผู้คิด ผู้ปรุงแต่ง ไม่ใช่ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

สังเกตให้ดี ใจเราตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ เราคิดทั้งวัน เรารู้เรื่องราวที่เราคิด สังเกตนะ เวลาเราคิดอะไรไปเราจะรู้เรื่องที่เราคิด เรื่องราวที่เราคิด เรียกว่า สมมติบัญญัติ แต่ในขณะที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิด เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง มีกายก็เหมือนไม่มีนะ เช่น นั่งอยู่ก็ไม่รู้ว่านั่งอยู่ นั่งฟังหลวงพ่อพูดๆ พยักหน้า ในใจไปที่อื่นนะ เราไม่รู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่รู้สึก เราไม่รู้ใจตัวเอง จิตใจเป็นสุขก็ไม่รู้ เป็นทุกข์ก็ไม่รู้ เฉยๆก็ไม่รู้ เป็นกุศลก็ไม่รู้ เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเราเอง เราไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับกายเกี่ยวกับใจ เรารู้แต่เรื่องราวที่เราคิดเอาเอง

การที่เรารู้เรื่องราวที่เราคิดเอาเองนั่นแหละ เรียกว่า รู้สมมติบัญญัติ ในขณะที่รู้กายรู้ใจนั่นแหละ เรียกว่า กายกับใจเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ ฟังแล้วน่ากลุ้มใจ เอาเป็นเรียกว่า กายกับใจก็แล้วกันนะ ให้คอยรู้กายรู้ใจไว้ คนในโลกมีแต่คนไม่รู้กายรู้ใจ มีแต่คนหลง มีแต่คนคนเผลอ เผลอคิดทั้งวัน

เวลาที่เราดูเราก็เผลอดู

เวลาที่เราฟังเราก็เผลอฟัง

เวลาที่เราเผลอคิดเราก็เผลอไปคิด

ลืมกายลืมใจตัวเองตลอดเวลา

เมื่อเราลืมกายลืมใจตัวเองตลอด เราก็ไม่สามารถเรียนรู้กายรู้ใจตัวเอง ปัญญามันไม่เกิด ไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจได้ ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก เราไปหลงคิดๆอยู่ ความเป็นตัวเราก็เกิดขึ้นมา นี่ทำยังไงเราจึงจะรู้กายรู้ใจได้

ศัตรูของการรู้กายรู้ใจมี สองอย่าง คือ (๑)การที่เราหลงไปอยู่กับความคิดของเรานั่นแหละ (๒) ถ้าเมื่อไรเรารู้ธรรม ว่าใจเราไหลไปคิดแล้ว เมื่อนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน. เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ ถ้าเข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกนะ เราจะตื่นในฉับพลัน ธรรมะใครเข้าถึงแล้วจะอุทานว่า อัศจรรย์จริงๆ ดูในไตรปิฎกนะ เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์จบ คนจะอุทานนะว่า อัศจรรย์จริงๆ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าค่ะ เห็นไหม ไม่ใช่สับสนนักพระเจ้าค่ะ แจ่มแจ้งนักพระเจ้าค่ะ เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย

พระพุทธเจ้าก็เหมือนคนจุดไฟขึ้นมา แล้วคนตาดีก็มองเห็นแสงสว่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ ธรรมะจริงๆไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่พวกเราไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยได้ฟัง เราชอบไปคิดเอาเอง ชอบหลงไปอยู่ในโลกของความคิด เมื่อไรจะตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกของความเป็นจริงๆ ตัวนี้ที่ยากที่สุด ทางลัดที่ง่ายที่สุดนะ คือ รู้ทันใจที่หนีไปคิด

มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ไม่ใช่สายวัดป่า หลวงพ่อเทียน วัดสนามใน ท่านสิ้นไปแล้วนะ ท่านสอนน่าฟังเหมือนกัน ธรรมะมันลงกันนะ สายไหนก็เหมือนกันแหละ ถ้าทำถูกต้องก็อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนท่านสอนว่า ถ้าเมื่อไรรู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องว่าจิตคิด สองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน ในโลกนี้มีแต่คนรู้เรื่องที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังแอบไปคิดอยู่ เพราะฉะนั้นหน้าที่เรา คือ คอยศึกษา คอยสังเกตตัวเอง

ศึกษาอย่างไร สังเกตอย่างไร เอาตั้งแต่ตอนนี้เลย เรียนกับหลวงพ่อนะ ไม่ต้องเรียนแล้วฟังให้รู้เรื่อง เรียนแล้งหัดสังเกตสภาวะจริงๆไปเลย นั่งฟังหลวงพ่อพูดสังเกตไหม เดี๋ยวมองหน้าหลวงพ่อแวบหนึ่ง เดี๋ยวฟังหลวงพ่อพูดหน่อยหนึ่ง แล้วก็แอบไปคิด ดูออกไหม ฟังไปคิดไป ไม่ได้ฟังอย่างเดียว ฟังนิดนึงก็คิดตามไปนะ แล้วก็ฟังใหม่ ฟังอีกหน่อยหนึ่งก็คิดใหม่อีก บางทีเราก็ฟังไปคิดไป เนี่ยมองหน้าหลวงพ่อนิดนึง แล้วก็ฟัง ฟังแล้วก็คิด เราไม่เคยเห็นเลยว่ากระบวนการทำงานของใจเราเป็นแบบนี้ เดี๋ยวฟัง เดี๋ยวดู เดี๋ยวคิด ที่จริงมันก็ไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ที่ไปมากก็คือไปทางตา ไปทางหู ไปทางใจ ขณะที่เรานั่งอยู่นี่ สังเกตดูเดี๋ยวฟัง เดี๋ยวดู เดี๋ยวคิด สลับไปเรื่อยๆ ให้เราคอยรู้ทันนะถ้าเรารู้ทันใจที่หนีไปคิดครู่เดียว ขณะจิตนั้นเราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน เพราะเราจะหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความจริงอย่างฉับพลัน

ทันทีที่เราตื่นขึ้นมา เราอยู่ในโลกของความจริงแล้ว ถ้าสติระลึกรู้กาย เราจะเห็นทันทีว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ร่างกายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ ร่างกายนี้ไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ คนทั่วๆไปจะลืมตัวเองนะ จะลืมกายลืมใจ จะไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าหรอก

พระพุทธเจ้าสอนเรา ขันธ์ห้า เป็นทุกข์ กายกับใจเป็นทุกข์ คนทั่วๆไปไม่มีใครรู้สึกหรอก ว่ากายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ กระทั่งพวกเราในห้องนี้ สิ่งที่พวกเรารู้สึกคือ ร่างกายเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง จิตใจของเราเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง นี่เราไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน แต่เราเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง ทำอย่างไรจึงจะเห็นว่าเป็นทุกข์จริงๆ ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ถ้าไม่สามารถเห็นว่าเป็นทุกข์จริงๆ เห็นว่ามันทุกข์บ้างสุขบ้าง เราจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจไม่ได้ เพราะอะไร เพราะกายนี้ยังมีทางเลือก มันสุขก็ได้ มันทุกข์ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราขอเลือกเอาสุขไว้ก่อน ขอเลือกวิ่งหนีความทุกข์ไว้ก่อน จิตใจก็เหมือนกัน ถ้ายังมีสุขบ้างทุกข์บ้าง ก็จะเลือกเอาจิตใจที่มีความสุข หลีกหนีจิตใจที่มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นจะปล่อยวางความยึดถือกาย ยึดถือใจไม่ได้จริง

แต่ถ้าเมื่อไรสติปัญญาแกร่งกล้า เห็นเลยกายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป

ถ้าสติปัญญามันเห็นได้ถึงขนาดนี้ มันจะขว้างทิ้งเลยนะ มันจะปล่อยวางกายมันจะปล่อยวางใจ ไม่ต้องเชื้อเชิญ ไม่ต้องบังคับ มันจะสลัดทิ้งเอง เพราะมันรู้แล้วว่าเป็นของไม่ดี เป็นของเป็นทุกข์จะทิ้งเลย ฉะนั้นเห็นรู้เมื่อไรจึงจะเห็นธรรม

วิธีการที่เราจะเห็นกายเป็นทุกข์จะทำอย่างไร หลวงพ่อจะบอก

(๑)วิธีเห็นกายเป็นทุกข์ เรานั่งอยู่คอยรู้สึกไว้อย่าใจลอย อย่าเผลอไปคิดอะไรเรื่อยไป คอยรู้สึกตัวเองเป็นนัยๆ เราจะเห็นเลยว่าเรานั่งอย่างสบายๆประเดี๋ยวเดียวก็เมื่อยแล้ว พอเมื่อยแล้วเราก็ขยับตัว เราเปลี่ยนอิริยาบถนะ พอเมื่อยก็ขยับอัตโนมัติเลย

เพราะเราหนีความเมื่อยแบบนี้มาตลอดชีวิตแล้ว เราไม่เคยรู้สึกเลย พอเมื่อยมาเราก็ขยับตัว พอขยับตัวก็ไม่เห็นรู้สึกว่าทุกข์ตรงไหนเลย ประเดี๋ยวความเมื่อยตามมาทันอีก ก็ขยับตัวอีก นั่งอยู่ก็นั่งขยับไปเรื่อยๆ ยืนอยู่ก็ยืนขยับไปเรื่อยๆ เดินก็ขยับอยู่แล้ว เดินมากๆก็เมื่อย นอนอยู่ยังเมื่อยเลย กลางคืนคนเรานอนปกติ สมมตินอนแปดชั่วโมง จะนอนพลิกซ้ายพลิกขวาๆ ไม่ต่ำกว่า 50 ครั้ง ทำไมต้องนอนพลิก เพราะมันเป็นทุกข์นั่นเอง ความทุกข์มันบีบคั้นร่ายกาย มันทำให้ต้องคอยขยับหนีไปเรื่อยๆ

อิริยาบถคือการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวร่างกาย มันบิดบังทำให้เรามองเห็นความทุกข์ของกายไม่ได้ อย่างเรานั่งอยู่นั่งไปนั่งให้สบายๆนะ มีเงินมากๆไปซื้อเก้าอี้ตัวละแสนมานั่งก็ได้ ดูสิ! มันจะมีความสุขจริงไหม ถ้าไม่ขาดสตินั่งประเดี๋ยวเดียวก็จะเห็นแล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์จริงๆ มันทุกข์ล้วนๆ นั่งไม่ขยับทุกข์ตายเลย ยิ่งเป็นอัมพาตนะกระดุกกระดิกไม่ได้ยิ่งทุกข์มาก เราก็ดิ้นหนีความทุกข์ไปทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ หลับก็ดิ้นไปดิ้นมา ถ้าเรามีสติรู้กายอยู่เนืองๆ จะเห็นเลยกายนี้ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บอกสุขบ้าง

(๒)วิธีเห็นจิตเป็นทุกข์ คราวนี้มาดูจิตใจบ้าง ธรรมะก็มีเรื่องกายกับใจนี่แหละ ดูกายแล้วเห็นว่ากายเป็นทุกข์แล้วก็มาดูใจของเราบ้าง ใจของเรามันไม่เที่ยง ความสุขก็อยู่ชั่วคราวนะ ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว กุศลเกิดขึ้นก็อยู่ชั่วคราว เช่น เราเกิดความรู้สึกตัว เราจะรู้สึกตัว เราจะรู้สึกได้แวบเดียว เดี๋ยวก็จะเผลอ เดี๋ยวจะลืมตัวครั้งใหม่ เพราะฉะนั้นตัวกุศล ตัวความรู้สึก หรือตัวสติก็เกิดขึ้นเอง เกิดได้ชั่วคราว ไม่มีใครรักษาความรู้สึกตัวให้อยู่ต่อเนื่องยาวนานได้

สิ่งที่สามารถทำให้ต่อเนื่องยาวนานได้มีอย่างเดียว คือ สมาธิ ไม่ใช่ตัวสตินะ

ตัวสติไม่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน เกิดแล้วก็ดับๆ เป็นขณะๆไป อกุศลความโกรธ ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นเป็นขณะๆเหมือนกัน เช่นที่หลวงพ่อบอกให้หัดเมื่อครู่ นั่งฟังหลวงพ่อเดี๋ยวก็ดู ใจมันไปดู อาศัยตาเป็นทางผ่านไปดูรูป อาศัยหูเป็นทางผ่านไปฟังเสียง อาศัยใจเป็นทางผ่านไปคิด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำงานถี่ๆอยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็ดู เดี๋ยวก็ฟัง เดี๋ยวก็คิด สังเกตใจของเราหาความเที่ยงแท้อะไรไม่ได้ ใจเราวิ่งพล่านๆอยู่ตลอดเวลา ใจเราถูกความอยากบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากคิด เดี๋ยวก็อยากโน่นอยากนี่ รวมทั้งอยากปฏิบัติ อยากฟังธรรม อยากไปวัด อยากมาศาลาลุงชิน ความอยากนี่มันบงการเราตลอดเวลา ถ้าเรามารู้อยู่ที่ใจเรา เราจะเห็นเลยจิตใจเราไม่เคยเป็นอิสระเลย

จิตใจเราเป็นขี้ข้าของความอยากตลอดเวลา ถ้าพูดแบบหยาบๆ นะ เหมือนเป็นขี้ข้าเป็นทาสอยู่ตลอดเวลา มันสั่งเราทั้งวันนะ สั่งอย่างโน้น สั่งอย่างนี้ เราก็ต้องทำตามมัน เช่นมันสั่งให้ไปเที่ยว ตัณหามันสั่งให้เราไปเที่ยง เราไม่รู้ทันนะเราก็ไปเที่ยวสบายใจ ไม่รู้ทันของใจ

ตัณหาเป็นเจ้านายที่ฉลาดที่สุด มันจะให้คุณให้โทษ มันสั่งให้เราไปเที่ยว ถ้าเราไปเที่ยว มันจะให้รางวัลนิดนึงจะสบายใจ แต่สบายใจครู่เดียวนะ มันจะสั่งงานใหม่แล้ว ถ้ามันสั่งให้เราไปเที่ยวแล้วเราไม่ไปเที่ยว มันจะลงโทษเรา เราจะรู้สึกกลุ้มใจ อึดอัด มันสั่งให้ไปจีบสาวสักคนหนึ่งนะ ได้ไปจีบสาวหนึ่งคนมีความสุขแล้ว มันจะสั่งอีก มันจะสั่งไปจีบสาวสองคน ถ้าไม่จีบจะกลุ้มใจอีกแล้ว เนี่ยมันจะสั่งเราทั้งวัน เนี่ยคนที่ตกเป็นทาสมันจะมีความสุขที่ตรงไหน คอยดูอยู่ที่ใจเรา ใจเราจะถูกโขกถูกสับอยู่ทั้งวัน หาความสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยนะ ร่างกายของเรายังได้นอนพัก แต่จิตใจแทบจะไม่ได้พักผ่อน กลางคืนก็ฝันต่ออีก ทรมานมากมีความทุกข์มาก คอยดูอยู่ที่จิตใจเรา จะเห็นเลยจิตใจของเรามันทุกข์มาก จิตใจต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนไม่ได้พักผ่อน ถูกโขกสับตลอดเวลา เจ้านายมันโขกมันสับตลอดเวลา ทีนี้ก็เราไม่รู้เราไม่เคยเห็น

เราเป็นทาสที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นทาส เราจึงไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองเป็นอิสระได้ เพราะฉะนั้นคอยดูใจของเราไว้นะ เดี๋ยวก็อยากไปโน่นเดี๋ยวก็อยากไปนี่ เดี๋ยวอยากคุยกับคนนี้ เดี๋ยวอยากโน้นอยากนี้ไปเรื่อย คิดว่าอยากได้อย่างนี้นะ ถ้าได้มาแล้วจะมีความสุข กิเลสมันหลอกเรานะให้วิ่งหาความสุข วิ่งทั้งชาติก็ไม่ได้นะความสุขน่ะ อย่างตอนเด็กๆเลยเรามีความรู้สึกว่าถ้าเรียนจบแล้วจะมีความสุข พอเรียนปริญญาตรีจบนะมันบอกต่อเลยต้องเรียนปริญญาโทจึงจะมีความสุข ถ้าได้ปริญญาเอกยิ่งมีความสุขใหญ่ พอเรียนหนังสือจบแล้วก็อย่างนั้นๆเองนะ ไม่ได้มีความสุขตรงไหนเลย ในนี้ก็มีคนได้ปริญญาเอกหลายคนนะก็ไม่เห็นจะว่าจะมีความสุขเท่าไร มันหลอกเราต่ออีกนะ ถ้าได้งานดีๆจะมีความสุข ถ้าได้เงินเดือนเยอะๆจะมีความสุข มีคำว่า ถ้าตลอดเวลานะ ถ้าได้ตำแหน่งใหญ่ๆจะมีความสุข มีแต่คำว่า ถ้า เพราะฉะนั้นชีวิตวิ่งหาความสุขทั้งชาติเลยนะ ต่อไปถ้าได้ครอบครัวที่ดีๆจะมีความสุข มีลูกฉลาดๆจะมีความสุข ต่อไปถ้าแก่ๆนะ ไม่เจ็บไม่ไข้จะมีความสุข พอแก่มากเจ็บป่วยใกล้ตายมาก เราจะรู้สึกขึ้นมาอีกแล้วว่าถ้าตายได้จะมีความสุข ดูจนตายนะยังคิดได้อีกนะว่าถ้าตายแล้วจะมีความสุข เนี่ยนะวิ่งพล่านๆ ยิ่งกว่าหมาถูกน้ำร้อนนะ พูดแบบง่ายๆ วิ่งพล่านตลอดเวลาจะมีความสุขได้อย่างไร

ความสุขมันลอยอยู่ข้างหน้าตลอดเวลา ความสุขวิ่งหาตลอดชีวิตก็ไม่ได้มา วิ่งเหมือนจะหยิบได้นะ เหมือนจะคว้าได้ แล้วก็เลื่อนหายไป

หลุดมือไปแล้วก็ลอยไปอยู่ข้างหน้าอีก วิ่งไปเรื่อยๆ ถ้าเรามาดูใจเราจะเห็นเลยว่าน่าอเนจอนาถน้ำตาแทบล่วงเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆนะ มันดีตรงไหน เฝ้ารู้ไปเรื่อยๆนะ รู้กายไป กายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ มีความทุกข์บีบคั้นตลอดเวลา จิตใจมีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่ความไม่เป็นอิสระ ถูกกดขี่ถ้าเราสั่งให้ไปเที่ยวแล้วมันไม่ไปเที่ยวพอเร ถกบงคบอยตอ ถูกบังคับอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เจ้านายของตัวเองนะ ไม่ใช่อัตตาได้หรอก ไม่ได้มีเจ้าข้าวเจ้าของกับมันได้ เฝ้าดูเรื่อยๆนะ เราก็จะเริ่มเห็นความจริง ความจริงคือตัวปัญญา เราจะเห็นเป็นลำดับๆ ไป ปัญญาเบื้องต้นเลยเราจะเริ่มเห็นเลย ร่างกายนี้จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เริ่มต้นเลยจะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราก่อน ร่างกายดูง่ายว่าไม่ใช่ตัวเรา แต่จิตใจดูยากว่าไม่ใช่ตัวเรา

พระพุทธเจ้าถึงสอนว่าพระภิกษุทั้งหลายปุถุชนที่ไม่ได้สดับ หรือศาสนาอื่นก็ได้ สามารถเห็นกายที่ไม่ใช่ตัวเรา เพราะว่าเห็นคนโน้นตายเห็นคนนี้ตายนะ เห็นว่าหน้าตาวันนี้กับเมื่อวานไม่เหมือนกัน แต่ท่านบอกว่าปุถุชนที่ไม่ได้สดับไม่ได้ฟังธรรมของท่านจะไม่สามารถเห็นจิตที่ไม่ใช่ตัวเรา พวกเรารู้สึกไหมว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง เราตอนนี้กับเราตอนเด็กๆก็คือเราคนเดิม ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่งนะ เราเดี๋ยวนี้กับเราตอนเด็กๆก็ยังเป็นเราคนเดิม เพราะอะไรเพราะเราไม่เห็นความเกิดดับของจิตนี่เอง เราเลยคิดว่าจิตเที่ยง จิตของเราตอนเด็กกับตอนนี้คือคนเดียวกัน จิตของเราตอนนี้กับจิตของเราเย็นนี้เป็นคนคนเดียวกัน เรายังเป็นคนเดิมอยู่ จิตของเราปีนี้กับจิตของเราปีหน้ายังเป็นคนเดิม ตายไปแล้วเราก็ยังว่าอีกว่าจิตชาติหน้ากับจิตเดี๋ยวนี้เรายังเป็นคนคนเดิมอีก เพราะเราไม่เห็นความจริง เราไม่เห็นความจริงว่า จิตเราเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป พระพุทธเจ้าท่านสอน จิตอาศัยอยู่ในกาย ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ทั้งวันทั้งคืน แล้วก็วิ่งไปอย่างรวดเร็ว เราไม่เคยเห็น ถ้ามาคอยรู้มาคอยดู ดูใจของเรา ดูไปเรื่อยๆ ดูจิตใจนะ

ขั้นแรกง่ายที่สุด คอยรู้ความรู้สึกของตัวเองไว้ ความรู้สึกของเราเปลี่ยนแปลงทั้งวันนะ บางวันตื่นขึ้นมาก็สดชื่น บางวันตื่นขึ้นมาก็แห้งแล้ง จิตใจไม่เหมือนกัน ดูเป็นวันๆได้ ก็ดูเป็นเวลา ตอนเช้าบางคนจะรีบมาศาลาลุงชิน นัดเพื่อนไว้แล้วเพื่อนมาสายใจเลยกลุ้มใจหงุดหงิด หลวงพ่อมาใหม่ๆฟังใหม่ๆตื่นเต้น พอฟังมาหลายนาทีชักจะง่วงๆ นี่ดูใจของเรา ความรู้สึกของเรามันเปลี่ยนแปลง หัดดูไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หัดบังคับนะ ไม่ได้เรียนเพื่อที่จะบังคับกายบังคับใจ แต่หัดดูให้เห็นความเป็นจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ กายนี้ใจนี้บังคับไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ฝึกบังคับ ฝึกดูให้เห็นความจริง จิตใจนี้ไม่เที่ยงนะ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ล้วนเป็นของชั่วคราว ดูลงไปอย่างนี้จิตทุกชนิดเลยนะ จิตที่เป็นกุศลก็ชั่วคราว จิตที่เป็นอกุศลก็ชั่วคราว เนี่ยจิตมันเกิดดับๆไปเรื่อยๆ ต่อไปดูให้ละเอียดขึ้นไปอีก จิตที่เกิดทางตาก็ชั่วคราว จิตที่เกิดทางหูก็ชั่วคราว จิตที่ไปคิดก็ชั่วคราว หรืออย่างที่นั่งฟังหลวงพ่ออยู่นี่ เดี๋ยวมองหน้าหลวงพ่อชั่วคราว เดี๋ยวคิดสลับไปสลับมา จิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา หัดรู้หัดดูสิ มันทนสติทนปัญญาของเราไม่ได้หรอก

หัดรู้หัดดูเข้าจะเห็นว่าจิตนี้มันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จิตนี้เป็นอนัตตาบังคับมันไม่ได้ สั่งให้มันดีก็ไม่ได้ ห้ามมันไม่ให้ชั่วก็ไม่ได้ คอยดูไปเรื่อย เดี๋ยวก็เผลอๆนะ หัดดูไป เผลอแว้บไปก็รู้สึกๆ คอยรู้สึกไปเรื่อย จิตที่เผลอไปเป็นอกุศล เผลอขึ้นมาเกิดขึ้นมาห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัว รู้ทันว่าเมื่อครู่เผลอไป สั่งให้เกิดก็ไม่ได้นะ ถ้าจิตมันจำได้ว่าเผลอเป็นยังไงสติมันจะเกิดมันจะระลึกได้เลยว่าเผลอไปแล้วนะๆ รู้ตามหลังติดๆไปแบบนี้ตลอดเวลา การดูจิตดูตามหลังไปเรื่อยๆนะ ดูไปเมื่อครู่เผลอไปแล้วๆ รู้ไปเรื่อยๆเมื่อครู่โกรธ เมื่อครู่โลภ คอยรู้คอยดูตามหลังไปเรื่อยๆ เช่นเราขับรถอยู่คนปาดหน้าเรา มันโกรธขึ้นมา โกรธรู้ว่าโกรธ ถ้ารู้ถูกต้องความโกรธจะดับทันที เราก็รู้อีกความโกรธดับลงไปแล้ว ถ้ารู้ไม่ถูกต้อง ความโกรธเกิดขึ้นแล้วอยากให้หายโกรธ จิตมันมีโทสะขึ้นมาอีกแล้ว มีโทสะตัวที่สอง โทสะอันแรกโกรธคนที่ปาดหน้า โทสะที่สองโกรธตัวเองที่มีกิเลส โกรธความโกรธที่เกิดขึ้น เราก็รู้ตามไปทีละขณะๆ จิตใจตอนนี้กำลังเกิดความโกรธตอนแรกอยู่ รู้ทัน พอรู้ทันความโกรธจะดับลงไปเลย จิตจะตื่นขึ้นมาเต็มที่ คอยตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆนะไม่ใช่เรื่องยากอะไร

เพราะฉะนั้นธรรมะจริงๆง่ายนะ มันยากเพราะจริงๆเราไม่ค่อยได้ฟัง สิ่งที่พวกเราได้รับการอบรมสั่งสอนส่วนมาก คือ ปุญญาภิสังขา ความปรุงแต่งฝ่ายดี ทันทีที่เรานึกถึงการปฏิบัติเราก็จะบังคับกายบังคับใจตัวเอง บางคนกำหนดลมหายใจนะ หายใจตั้งแต่เกิดไม่เหนื่อยนะ พอกำหนดลมหายใจเหนื่อยจะตายแล้ว บางคนเดินช้อปปิ้งเช้ายันค่ำไม่เหนื่อย เดินจงกรมห้านาทีใกล้จะตายแล้วเหนื่อย ทำไมเป็นอย่างนั้น เพราะมันดัดแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา

รู้สึกไหมเวลามีคนมาหาพระ พวกเราไปดูคนเอาน้ำมาถวายพระ ขณะที่เราดูเขาเราลืมตัวเราเองเรียบร้อยแล้ว เนี่ย!จิตมันหลงไปทางตา รู้สึกไหมพอหลวงพ่อหยุดพูดใจเรามันเริ่มเคลื่อนไหว หัดดูมันลงปัจจุบันไป ง่ายๆ ง่ายมาก บางคนได้ยินหลวงพ่อบอกว่าง่ายมากเลยบอกว่ายากเยอะ ครูบาอาจารย์ทุกองค์ที่หลวงพ่อเคยสัมผัสมาส่วนใหญ่บอกว่าง่าย หลวงปู่ดูลย์ก็ว่าง่าย หลวงปู่เทศก์ก็ว่าง่าย หลวงปู่สิมก็ว่าง่าย หลวงปู่สุวัฒน์ก็ว่าง่าย แต่ท่านก็จะเงียบๆไปครู่หนึ่งนะ แล้วก็บอกว่ายากเหมือนกัน ทำไมมันถึงยากเหมือนกันแหละ เพราะเราไม่เคยเรียนไม่เคยรู้ เราเคยฝึกแต่จะบังคับตัวเอง บังคับกายบังคับใจ คือ อัตตกิลมถานุโยค คือความสุดโต่ง ขั้นบังคับตัวเอง ส่วนทางสายกลาง คือ การให้รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง จิตใจจะมีความสุข รู้กายจะเห็นเลยว่ากายไม่ใช่ตัวเรา รู้จิตจะเห็นเลยว่ามันไม่เที่ยง เราบังคับไม่ได้ไม่ใช่ตัวเราเหมือนกัน จบแล้วนะ ธรรมะจริงๆมีไม่มากหรอก ครูบาอาจารย์บางท่านตอบนิดเดียวนะ

อย่างหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่า อย่าส่งจิตออกนอก คือ อย่าหลงอย่าเผลอนั่นเอง คอยรู้สึกตัวไว้ หลวงพ่อเทียนท่านก็สอนนะ คิดเหมือนหนูรู้เหมือนแมว ครูบาอาจารย์จริงๆแต่ละองค์สอนนิดเดียว เวลาใจเราคิดก็หลงไป พอเรารู้สึกขึ้นมาก็ไม่หลงแล้ว หลงก็ตายไป เหมือนแมวมาจับหนูไปแล้ว

จริงๆไม่ได้ยากอะไรหรอก หลวงพ่อเทศน์ไม่เป็นนะ เทศน์ไม่เป็นหรอก ธรรมดาจะสอนกรรมฐาน สอนทีละคนสองคน สอนให้หัดดูสภาวะ เช่นขณะนี้ใจลอยก็หัดรู้ไว้นะ ขณะนี้เผลอไปแล้ว ขณะนี้สงสัยขึ้นมาแล้วรู้ไว้นะ หัดรู้ ขณะนี้ฟังแล้วไม่รู้เรื่องแล้วรำคาญก็รู้ว่ารำคาญ ขณะนี้ชักตื้บๆแล้วก็รู้ว่าตื้บๆ หลักจริงๆมีเท่านี้เอง นอกนั้นจะเป็นเรื่องพิธีการเป็นอุบายของแต่ละสำนักที่แตกต่างกัน

สำนักไหนก็ใช้ได้นะ จับหลักไว้ให้แม่น แล้วพอทำสมถะก็ใช้ได้ เช่น ใครหัดพุทโธ ก็พุทโธ ของเราต่อไป พุทโธแล้วก็หัดรู้สภาวะของเราไปนะ เช่น พุทโธ พุทโธ ใจเราแอบไปคิดแล้ว เรารู้ทันว่าใจแอบนี้ไปคิดแล้ว หัดรู้ทันใจตัวเอง หัดรู้สภาวะ พุทโธ พุทโธ ไปใจสงบก็รู้ว่สงบ พุทโธไปวันนี้ใจฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน หัดพุทโธแล้วก็คอยหัดรู้สภาวะในใจที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ใครรู้ลมหายใจก็รู้ลมหายใจต่อไปนะ ห้ามเลิกหายใจนะ ให้หายใจเข้าไว้ตลอดชีวิต หายใจเข้าไว้อย่าหยุด

หายใจไปๆจิตหนีไปคิดรู้ว่าจิตหนีไปคิด หายใจไปแล้วจิตไปเพ่งลมหายใจก็รู้ว่าไปเพ่งลมหายใจ หายใจแล้วมีปิติมีความสุขก็รู้ว่ามีปิติรู้ว่ามีความสุข เกิดวันนี้หายใจไปแล้วฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจแล้วรำคาญหงุดหงิดก็รู้ว่ารำคาญหงุดหงิด หายใจแล้วรู้ว่าจิตใจเป็นอย่างไรก็เป็นเช่นนั้น คนไหนหัดดูท้องพองยุบก็ดูไป หลวงพ่อไม่ได้ห้าม ดูท้องพองยุบเรื่อยๆใจหนีไปคิดอีกแล้ว ใจหนีไปคิดก็รู้ทัน ใจเข้าไปเพ่งที่ท้องก็รู้ทัน ใจเป็นสุขเป็นทุกข์ใจเกิดกุศลเกิดอกุศลก็รู้ทัน

หัดรู้สภาวะของใจไว้ คนไหนขยับมืออย่างสายหลวงพ่อเทียนนะ หัดจังหวะขยับมือ ก็ขยับมือต่อไปได้ไม่ได้ห้าม ขยับไปสักพักหนึ่งจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้จิตหนีไปคิด ขยับแล้วจิตเข้าไปเพ่งที่มือก็รู้ว่าไปเพ่งที่มือ ขยับไปแล้วจิตเป็นสุขเป็นทุกข์เป็นกุศลเป็นอกุศลก็รู้ ขยับไปแล้วก็คอยรู้สภาวะของจิตใจไปเรื่อยๆ ใครเดินจงกรมก็ดูไปๆ จิตไปคิดก็รู้ จิตเข้าไปเพ่งที่เท้าก็รู้ จิตเป็นสุขเป็นทุกข์เป็นกุศลเป็นอกุศลก็รู้ ฉะนั้นสรุปแล้วทำกรรมฐานอะไรก็ได้ในเบื้องต้น ทำสักอย่างหนึ่งก่อน ทำเพื่ออะไรทำเพื่อจะได้หัดรู้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเอง

มีรูปแบบการปฏิบัติสักอย่างหนึ่งเป็นตัวตั้ง ถนัดอะไรเอาอันนั้นแหละ ทำกรรมฐานอันนั้นแล้วจิตเป็นอย่างไรคอยรู้ไปเรื่อยๆ ในที่สุดเมื่อเราเห็นซ้ำๆไปนานนะ พอจิตเผลอแล้ว จิตเคยรู้จักแล้วว่าเผลอเป็นอย่างไร สติจะเกิดเอง สติเกิดจากการที่จิตจำสภาวะได้ สติไม่ได้เกิดจากการสั่งให้เกิด สั่งให้เกิดไม่ได้เพราะสติเองก็เป็นอนัตตา ถ้ามีเหตุสติจึงเกิด

เหตุของการเกิดสติ คือจิตจำสภาวะได้ เราจึงต้องหัดรู้กายเนืองๆ หัดรู้จิตเนืองๆ เพื่อให้จิตมันจำสภาวะได้ เช่น ขยับแล้วคอยรู้สึกๆ ต่อมาเราเผลอขยับเอง เราขยับตัวปั๊บ สติจะเกิดเองจะรู้สึกตัวขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ หัดดูใจใจวิ่งไป ใจเพ่ง ใจเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกุศลอกุศล หัดรู้ไปเรื่อยนะ ต่อมาเราเผลอๆ เช่น เราฟังข่าวโทรทัศน์เราไม่ชอบการเมืองฟังข่าวแล้วหงุดหงิด สติจะเกิดทันทีเลย ความหงุดหงิดเกิดขึ้นแล้วสติจะเห็นทันทีเห็นโดยไม่ได้เจตนาจะเห็น สติตัวจริงเกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนาให้เกิด

ทันทีที่สติตัวจริงเกิดขึ้นจิตจะเป็นกุศล จะมีความสุขในฉับพลัน จิตจะโปร่งใจจะโล่ง จะเบาในฉันพลัน จิตใจจะตั้งมั่นอยู่ที่เนื้อที่ตัวไม่ลืมเนื้อลืมตัว นี่สัมมาสมาธิเกิดเลย ทันทีที่สติเกิดจิตมีความสุข จิตมันเป็นกุศลมันมีความสุข จิตที่มีความสุขมันทำให้สมาธิเกิดขึ้น เช่นเรามีความสุขในการเล่นไพ่เราจะมีสมาธิในการเล่นไพ่ มีความสุขในการอ่านหนังสือจะมีสมาธิในการอ่านหนังสือ มีความสุขจากการที่ได้รู้กายรู้ใจเราจะมีสมาธิในการรู้กายรู้ใจ จิตใจจะตั้งมั่นอยู่กับกายกับใจ สมาธิจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา

พอเรามีสติรู้สึกอยู่ที่กายรู้อยู่ใจจิตใจตั้งมั่นมีสมาธิอยู่ที่กายอยู่ใจตั้งไปนานๆรู้ไปบ่อยๆในที่สุดเราจะเห็นความเป็นจริงของกายของใจ ปัญญาก็คือการเห็นความเป็นจริงของกายของใจนั่นเอง กายเป็นทุกข์ล้วนๆนะกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่เรียกว่าปัญญา

จิตใจไม่เที่ยงจิตใจเป็นของบังคับไม่ได้สั่งให้สุขไม่ได้สั่งให้ไม่ให้ทุกข์ก็ไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ห้ามชั่วก็ไม่ได้นี่เรียกว่าเห็นอนัตตา ดูกายดูใจไปในที่สุดก็เห็นกายกับใจมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตามันไม่ใช่ตัวเรา ผู้ใดเห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเราจะได้พระโสดาบัน จิตมันจะรวมเข้ามานะจิตมันจะรวมเอง รวมเข้าอัปปนาสมาธิเองแล้วมันจะตัด ไม่ใช่โมเมเป็นพระโสดาบันตามใจชอบนะ มันมีกระบวนการที่จิตจะตัด อันนี้พระอภิธรรมสอนไว้ชัดๆไม่ใช่หลวงพ่อสอนนะ

เบื้องต้นจะเห็นเลยกายกับใจไม่ใช่เรา เห็นเลยกายกับใจเป็นของที่ยืมโลกเขามาใช้ เราไปยืมเขามาแต่เรางกยืมมาแต่หวงนะไม่คืนเจ้าของ คล้ายๆเรายืมเสื้อสวยๆเขามาใส่นะ ยืมมาแล้วยืมเลยไม่ยอมคืนแต่รู้แล้วว่าไม่ใช่ของเรา พระโสดาบันนะรู้แล้วว่ากายกับใจไม่ใช่ของเราแต่หวง เพราะรู้ไปเรื่อยๆกายนี้มันทุกข์ล้วนๆนี่ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างจิตก็ปล่อยวางความยึดถือกายได้จิตจะมาตั้งมั่นทรงตัวเด่นอยู่สว่างไสวอยู่มีความสุขอยู่ที่จิตอันเดียวปล่อยวางกายได้นี่ภูมิของพระอนาคามี ต่อมาสติปัญญาแก่รอบจริงๆจิตจะเห็นว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆไม่ใช่ตัวสุขนะ แต่เดิมคิดว่าจิตผู้รู้เป็นตัวสุข จิตที่หลงตามกิเลสเป็นตัวทุกข์พระอนาคามีก็ยังรู้สึกอย่างนั้นพระอนาคามียังรู้สึกว่าจิตผู้รู้เป็นตัวสุข จิตตัวผู้รู้ยังเป็นตัวดี จิตที่หลงไปจากการรู้เป็นไม่ดีเป็นตัวทุกข์ จะเห็นเป็นสองอัน พอสติปัญญาแก่รอบจริงๆ จิตเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย ธาตุรู้ตัวผู้รู้ที่ว่าวิเศษวิโศมันไม่เที่ยงมันเศร้าหมองได้ มันผ่องใสได้มันก็เศร้าหมองได้ มันเศร้าหมองได้มันก็ผ่องใสได้อีกไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ ทุกข์ล้วนๆทุกข์ไม่มีอะไรเหมือนในทางโลกในทางร่างกายหลวงพ่อเคยได้ยินว่า (ผู้หญิงเขาเล่าว่า)เวลาออกลูกนี่ทุกข์ที่สุดในโลก หลวงพ่อไม่เคยออกลูกนะหลวงพ่อเลยไม่รู้ว่าทุกข์ที่สุดในโลกทางกายเป็นอย่างไร พวกเรามาหัดดูนะทุกข์ที่สุดในโลกทางใจคือตัวจิตผู้รู้เรานี่แหละจะทุกข์ที่สุดในโลกให้ดูพอเห็นว่าเป็นตัวทุกข์จริงๆแล้วจะปล่อยวางแล้วก็จะไม่ไปหยิบฉวยอะไรขึ้นมาอีก เพราะรู้แล้วว่าขนาดสิ่งที่ดีที่สุดสิ่งที่วิเศษที่สุดยังเป็นตัวทุกข์เลย

บางท่านสติปัญญากล้าเห็นเลยว่าจิตผู้รู้ไม่ใช่เราขว้างทิ้งเลยนะท่านปล่อยวางทิ้งเฉยๆเลย ปล่อยวางได้เห็นว่ามันว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนไม่ใช่ตัวเราไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วยสลัดทิ้งไป คราวนี้ปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้วมันไปอีกแบบหนึ่งแล้ว มีความสุขล้วนๆ ค่อยๆฝึกนะค่อยๆ

ธรรมะของพระพุทธเจ้าอัศจจรรย์เข้าใจนิดหน่อยก็มีความสุขแล้วแค่สติเกิดก็มีความสุขแล้ว สัมมาสมาธิเกิดก็ยิ่งมีความสุขเกิดขึ้นไปอีก ปัญญาเกิดก็มีความสุขอีก วิมุติเกิดก็มีความสุขมากนะ นิพพานยิ่งมีความสุขที่สุดเป็นลำดับๆไปเราศึกษาธรรมะเราจะมีแต่ความสุขทั้งๆที่เราเห็นแต่ทุกข์ล้วนๆมันอัศจรรย์ เรียนรู้แต่ทุกข์ก็สุขนะ เที่ยวแสวงหาความสุขเที่ยวหนีความทุกข์ไม่พ้นเลยทุกข์อย่างเดียวคอยรู้ไปนะไม่มีอะไรสอนเนาะหลวงพ่อก็พูดส่งเดชไปเรื่อยๆแหละ คนเคยฟังหลวงพ่อที่เมืองกาญจนฯมั่งที่เมืองชลฯมั่งนะก็ฟังซ้ำซากแบบนี้ไปทุกวัน ขี้เกียจมาฟังก็เอาซีดีไปฟังนะ

ธรรมะที่หลวงพ่อเทศน์แต่ละครั้งฟังครั้งเดียวก็พอแล้วล่ะ ใครอัดเทปไว้ก็ไปฟังล้วฟังอีกฟังจนเทปยืดจนตื่นขึ้นมา หลายคนฟังอยู่ม้วนเดียวนั่นแหละฟังจนตื่นขึ้นมา คนฟังซีดี ซีดีฟังก็นานหน่อยนะสิบกว่าชั่วโมง ฟังไปเรื่อยๆแล้วก็สังเกตใจตัวเองไปเรื่อย เดี๋ยวฟังไปเดี๋ยวก็สุขเดี๋ยวก็ทุกข์เดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวร้ายฟังไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ตื่นขึ้นมา คนที่ฟังแล้วตื่นขึ้นมาก็มีจำนวนมากมายนะไม่ใช่ร้อยเดียวแล้วมีจำนวนมาก พอตื่นขึ้นมาสติปัญญาจะหมุนกี่รอบตัวแล้วล่ะตามรู้กายไม่ใช่เราตามรู้จิตมันไม่ใช่เรา รู้สึกขึ้นมาไม่ใช่คิดเอานะ

วิปัสสนาไม่ใช่คิดเอาต้องรู้สึกเอา รู้สึกได้ถ้าใจเราไม่หลงไม่เผลอรู้กายรู้ใจขึ้นมา เพราะฉะนั้นให้การบ้านนะไปทำเอาเอง ส่วนหนังสืออ่านยากนะอ่านยาก ฟังซีดีก่อนง่ายกว่าฟังไปแล้วคอยสังเกตใจ ต่อไปสักพักหนึ่งไปอ่านหนังสือจะเกิดความเข้าใจนะ ซีดีหลวงพ่อกับหนังสือหลวงพ่อรับรองไม่เหมือนใครนะ ฟังแต่ละครั้งอ่านแต่ละครั้งเข้าใจไม่เหมือนกัน กล้าท้าเลยนะลองดูฟังสักรอบหนึ่งแล้วลองปฏิบัติแล้วก็มาฟังใหม่เข้าใจไม่เหมือนเดิมหรอกลองอ่านดูแล้วปฏิบัติแล้วมาอ่านใหม่รับรองไม่เหมือนเดิม มีเรื่องที่เราเคยอ่านแล้วก็ไม่สะดุดสะใจข้ามไปเยอะแยะเลยจะค่อยๆกระจ่างไปทีละจุดทีละจุด ค่อยๆฟังไปค่อยๆศึกษาไป ไม่ต้องรีบร้อนนะ

หลวงปู่เทสก์บอกว่าชีวิตเป็นของหาง่ายไม่ต้องรีบร้อนปฏิบัติเนี่ยปฏิบัติกันทั้งชีวิตเลย ค่อยๆทำค่อยๆดูค่อยๆรู้ แต่ไม่ขี้เกียจนะไม่ได้บอกให้ขี้เกียจนะต้องดูทุกวันยิ่งดูมากเท่าไรยิ่งดี แต่ไม่ใช่ดูแบบรุกรี้รุกรนอยากจะได้ความรู้ไวๆอยากจะหลุดพ้นไวๆ พวกนี้ไม่หลุดพ้นหรอก

คอยดูดูเล่นๆไปแต่ดูทุกวันต่อไปจะเข้าใจไม่อยากหรอก พอเข้าใจมันก็จะปล่อยวางได้ ปล่อยวางได้เพราะว่ามันเกิดความรู้ความเข้าใจเกิดปัญญาปล่อยวางได้ไม่ใช่เพราะว่าบังคับเอา หลายคนชอบบังคับตัวเอง บังคับปล่อยวางไม่ได้หรอกมันเก็บกดเฉยๆ ดูดีดูเรียบร้อยไม่ดีจริงหรอก

หลวงพ่อเคยสอนคนแค่ไม่กี่คนนะ คนเยอะๆไม่รู้จะพูดอย่างไร เห็นหน้าก็ตาลายแล้ว สังเกตเวลาหลวงพ่อพูดเล่นเราจะรู้สึกผ่อนคลายรู้สึกไหม รู้ทันความรู้สึกของตัวเอง นั่งฟังหลวงพ่อแล้วคิดมาก รับรองเลยไม่มีใครฟังหลวงพ่อรู้เรื่องหรอก เพราะธรรมะเรียนไม่ได้ด้วยการฟังเอาเอง อ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะ เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน ธรรมะตัวจริงเรียนได้ด้วยการเข้าไปสัมผัสการเข้าไปรู้สึกเอา รู้สึกอยู่ที่กายก็เข้าใจความเป็นจริงของกาย รู้สึกอยู่ที่ใจก็เข้าไปเข้าใจความเป็นจริงของจิตใจอ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะอาเอง่องหรอก

คราวนี้ปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้ว่วิเศายเป็นอย่างไร

อ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะอาเอง่องหรอก


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑
วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙
File: 490521.mp3

< ! [if gte mso 9]> Normal 0 false false false MicrosoftInternetExplorer4 < ![endif] >< ! [if gte mso 9]> < ![endif] >< ! /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} >< ! [if gte mso 10]> < ! /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} > < ! [endif] >

หลวงพ่อเคยสอนคนแค่ไม่กี่คนนะ คนเยอะๆไม่รู้จะพูดอย่างไร เห็นหน้าก็ตาลายแล้ว สังเกตเวลาหลวงพ่อพูดเล่นเราจะรู้สึกผ่อนคลายรู้สึกไหม รู้ทันความรู้สึกของตัวเอง นั่งฟังหลวงพ่อแล้วคิดมาก รับรองเลยไม่มีใครฟังหลวงพ่อรู้เรื่องหรอก เพราะธรรมะเรียนไม่ได้ด้วยการฟังเอาเอง อ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะ เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน ธรรมะตัวจริงเรียนได้ด้วยการเข้าไปสัมผัสการเข้าไปรู้สึกเอา รู้สึกอยู่ที่กายก็เข้าใจความเป็นจริงของกาย รู้สึกอยู่ที่ใจก็เข้าไปเข้าใจความเป็นจริงของจิตใจอ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องนะธรรมะอาเอง่องหรอก

คราวนี้ปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้ว่วิเศายเป็นอย่างไร

<><><>< -->

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตคืออะไร?

MP3 :การดูจิตคืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ร่างกายเป็นอย่างไรเราคอยรู้สึก จิตใจเป็นอย่างไรคอยรู้สึก บางคนสงสัยนะดูจิตดูอย่างไรเอาอะไรไปดู  จริงๆก็คือการรู้ทันความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นเท่านั่นเอง การดูจิตคอยรู้ทันความรู้สึกที่เกิดขึ้น

มันจะมีสองกลุ่มความรู้สึกที่เกิดขึ้นนะ

(๑)รู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆ เช่น ความสุขความทุกข์ความเฉยๆผ่านเข้ามาเราก็รู้ เห็นเลยว่ามันไม่ใช่จิตไม่ใช่ตัวเราเป็นสิ่งที่แปลกปลอมมา ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งเฉยๆ นอกจากสุขทุกข์เฉยๆ ก็เป็นกุศลและอกุศลทั้งหลาย ปิติสุข เอกัคคตา โลภโกรธหลง ฟุ้งซ่านหดหู่ สงสัย ความรู้สึกใดๆกำลังปรากฏขึ้นแก่จิตแก่ใจก็รู้ไป ก็จะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นแก่จิตมันไม่ใช่ตัวเราหรอกเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็สลายหายไป  อันนี้คือกลุ่มที่หนึ่งนะรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

(๒) รู้ทันกริยาอาการของจิต จิตมันวิ่งไปวิ่งมาได้ อันนี้เราจะรู้สึกเอา   เช่นจิตหลงไปทางตา หลงไปทางหู หลงไปคิด หลงไปเพ่งเวลาปฏิบัติ จิตมันก็หลงไปหลงมาเราก็ค่อยๆรู้เอา

ดูจิตดูใจก็ดูสองอย่างนี้แหละ อันแรกดูความรู้สึกของจิต อันที่สองคือดูกริยาอาการของจิต ความรู้สึกทั้งหลายมันก็สะท้อนให้เห็นว่า ความรู้สึกทั้งหลายมันไม่ใช่ตัวเราหรอก มันเป็นของเกิดๆดับๆ เป็นของบังคับไม่ได้ เป็นของถูกรู้ถูกดูไม่ใช่ตัวเรา ส่วนกริยาอาการของจิตมันก็จะสอนให้เองว่า ตัวจิตก็ไม่เที่ยง ตัวจิตเองก็เกิดดับตลอดเวลา หัดใหม่ๆสติปัญญาเราไม่พอเราเห็นว่าจิตมีดวงเดียวแล้ววิ่งไปวิ่งมา เดี๋ยวจิตวิ่งไปที่ตาแล้วก็กลับมา เดี๋ยวจิตวิ่งไปทางหูแล้วก็กลับมา เดี๋ยววิ่งไปคิดแล้วก็กลับมา บางคนเลยพยายามดึงไม่ให้มันไป   พอมันไปแล้วก็รู้ว่ามันไป เช่นหลงไปดูแล้วก็ดึงคืนมา หลงไปฟังแล้วดึงคืนมา หลงไปคิดแล้วดึงคืนมาที่ไปดึงเพราะมีมิจฉาทิฐิ  เห็นว่าจิตนั้นเป็นตัวเรา จิตมันมีดวงเดียว

เบื้องต้นเห็นว่ามันวิ่งไปวิ่งมาหรอก  แต่พอสติปัญญาแกร่งกล้าขึ้นจะเห็นว่ามันไม่ได้วิ่งหรอก สิ่งที่เรารู้สึกว่ามันวิ่งไปวิ่งมาคือภาพลวงตา เหมือนเราเห็นตัวการ์ตูนมันเคลื่อนไปเคลื่อนมา ทั้งที่จริงมันไม่ได้เคลื่อนไหว จริงๆมันเป็นรูปแต่ละรูป   รูปมันไม่ได้เคลื่อนไหวไปไหนจิตนี้ก็เหมือนกัน จิตก็ไม่ได้วิ่งไปวิ่งมาหรอก แต่จิตมันเกิดที่ตาแล้วก็ดับ จิตที่เกิดที่หูแล้วก็ดับ จิตเกิดทางใจแล้วก็ดับเกิดตรงไหนดับตรงนั้น จิตมันเกิดดับต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเลยดูเหมือนว่าจิตเคลื่อนที่ได้ กระทั่งตอนนอนหลับนะจิตยังเกิดดับเลย   ตอนหลับสนิทไม่รู้เรื่องเลยจิตยังเกิดดับเลย แต่ว่าเกิดดับอยู่ในภวังคจิตในภพเดิมของจิต

พวกเราเคยรู้สึกไหมตั้งแต่เด็กๆบางคนจะฝันอย่างหนึ่งบรรยากาศแบบนั้น ตอนโตก็ยังฝันอยู่ในบรรยากาศอย่างเดิม ในภวังคจิตนั้นมันจะไปจับอารมณ์ดั้งเดิม จะจับอารมณ์ซ้ำๆลักษณะเดียวกัน ตั้งแต่เกิดจนตาย บางคนใครเคยเป็นไหม ใครเคยรู้สึกอยู่ตรงนี้ ฝันทีไรก็รู้สึกสวยงาม ฝันทีไรก็รู้สึกปอนด์ๆอยู่ตรงนี้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก วนๆอยู่ตรงนี้ ในภวังค์จิตก็ทำงานแล้วจับอารมณ์เก่าๆ ตัวปฏิสนธิจิต ตัวภวังคจิต ตัวจุติจิตเป็นลักษณะอันเดียวกันในภพเดียวกัน

เราไม่ต้องไปสนใจมากนะ ดูเล่นๆ ฟังเล่นๆ จิตมันเกิดดับตลอดเวลากระทั่งเวลานอนหลับจิตก็ทำงาน นี่เราไปเห็นทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป ความรู้สึกทั้งหลายก็ไม่ใช่ตัวเราเกิดแล้วก็ดับ จิตเองเกิดที่ตาแล้วก็ดับเกิดที่หูแล้วก็ดับ เกิดที่ใจแล้วก็ดับ  รวมความแล้วไม่มีอะไรเลยที่เกิดแล้วไม่ดับ เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก นานๆ เจ็ดวันเจ็ดเดือนเจ็ดปี ถ้าเจ็ดปีไม่ได้ผลก็สิบหกปีตลอดชีวิตเจ็ดชาติทำไปเถอะ

หลวงพ่อเคยถามครูบาอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านมีญาณทัศนะคมมากองค์นี้ บอกชื่อได้เพราะท่านไม่ได้อยู่แล้ว ท่านชื่อหลวงพ่อกิม กิมไม่ได้แปลว่าทองนะ นั่นมันคนเขมรคนสุรินทร์ กิมแปลว่าอะไรก็ไม่รู้เหมือนกันเป็นภาษาเขมรเหมือนกัน ถามว่าคนซึ่งหัดภาวนาหัดเจริญสติ ใช้เวลานานไหมครับกว่าคนคนหนึ่งจะได้พระโสดาบัน ไม่นานหรอก ใช้เวลาเจ็ดชาติเท่านั้นแหละถ้าเริ่มต้นจากเจริญสติ ไม่นานหรอกใช้เวลาแค่เจ็ดชาติเอง เราหัดนะคนไหนเป็นชาติที่เจ็ดแล้วก็คงจะได้เรื่องแล้ว คนในชาติที่หกชาติต่อไปจะได้เรื่องแล้ว คนไหนชาติแรกก็ยังไม่นานหรอก อีกแป๊ปเดียวอีกเจ็ดชาติก็ได้เรื่องแล้ว อันนี้เป็นทัศนะของท่าน   แต่ในคัมภีร์ในพระไตรปิฎกไม่ได้มีเรื่องพวกนี้ไว้อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้ แค่ความเห็นส่วนตัวของท่าน   อยู่ที่ว่าในปัจจุบันนี้เราใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุดหรือเปล่า เราปล่อยเวลาให้ล่วงไปอย่างไร้สาระไหม ปล่อยจิตปล่อยใจเรื่อยเปื่อยตามกิเลสไปเรื่อยๆหรือเปล่า หรือเราหัดภาวนา หัดภาวนาแล้วเราภาวนาถูกไหมหรือเราภาวนาผิด ผู้ภาวนาส่วนมากภาวนาผิด ภาวนาทีไรไม่บังคับกายก็บังคับใจ บังคับลูกเดียว คิดว่าบังคับไว้แล้ววันหนึ่งจะบรรลุมรรรคผลนิพพาน บรรลุไม่ได้ ถ้าบังคับไปเรื่อยๆจะรู้สึกว่ากูเก่งๆแทนที่จะรู้สึกว่าตัวกูไม่มี บังคับไม่ได้ ถ้าเรารู้ถูกต้องเราจะเห็นร่างกายเคลื่อนไหวไปจิตใจเราเป็นคนดู เห็นจิตใจมันทำงานไปนะ ใจเราก็เป็นคนดู มีใจดวงหนึ่งไปรู้ใจที่ดับไปสดๆร้อนๆรู้ตามไปเรื่อยๆ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อแนะนำหนังสือ

MP3: หลวงพ่อแนะนำหนังสือ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โหลดหนังสือข้างต้นและหนังสืออื่นๆ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปแนวทางการภาวนาทั้ง3แบบ

MP3: สรุปแนวทางการภาวนาทั้ง3แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

การฝึกปฏิบัติมีหลายแบบ โดยสรุป

(๑) ใช้สมาธินำปัญญา   สมาธินั้นต้องเป็นสัมมาสมาธิไม่ขาดสติ พอจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว ตามรู้ตามดู ตามดูกายตามดูใจไปเลย ด้วยจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดู ห้ามรักษาผู้รู้ผู้ดูไว้ ปล่อยให้ผู้รู้ผู้ดูทำงานอย่างอิสระมีก็มี หายไปก็หายไปไม่เป็นไร

(๒) ทำสมาธิอยู่แล้วจิตเคลื่อนขึ้นนิดนึงก็ดูความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตภายในสมาธิ ดูไปได้เลย   เห็นองค์ของสมาธิ องค์ธรรมของสมาธิก็เกิดดับเช่นกัน เช่น อยู่ในฌานที่ลึกนะ พอถอนออกมาเห็นเลยความสงบหายไปแล้ว อุเบกขาหายไปกลายเป็นความสุขขึ้นมาแทน เดินปัญญาอยู่ในฌาน

(๓) ถอยออกมาอยู่โลกข้างนอกเลย ใช้ปัญญานำสมาธิ   ไม่ต้องเข้าฌาน หัดรู้กายหัดรู้ใจ ดูไปเรื่อยๆ โดนเฉพาะดูใจ ดูง่าย ใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมีสติตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆ จิตจะรวมเข้าเป็นสมาธิชั่วขณะเรียกขณิกะสมาธิ รวมแว้บๆรวมเป็นครั้งเป็นคราวไปเรื่อยๆ คล้ายๆเป็นจุดหยุดพัก เป็นช่วงๆๆของจิตไป ตรงนี้ฝึกแค่นี้ก็พอสำหรับคนที่ทำสมาธิไม่ได้   การที่หัดดูจิตหัดดูใจแล้วจิตรวมเป็นช่วงๆๆ ถึงเวลาที่จะเกิดอริยะมรรค อริยะผล จิตจะเข้าอัปปนาสมาธิเองไม่ต้องกลัวว่าเข้าไม่ได้ เข้าได้แน่นอน

พอได้เป็นพระโสดาบันนะ อย่างน้อยปฐมฌานเป็นของเล่นของแถมติดเนื้อติดตัวไว้ มีขึ้นมาเองแหละ เวลาต้องการพักผ่อนก็อยู่กับสมาธิไป ถ้าชำนิชำนาญในพระนิพพานก็อยู่กับพระนิพพานไป แล้วแต่ว่าจะอยู่กับอะไร แต่ถ้าไม่ชำนาญพระนิพพานก็มาอยู่กับลมหายใจก็ได้ อยู่กับความว่างก็ได้ เรียกว่าอยู่กับนาม ก็แล้วแต่ความชำนิชำนาญของแต่ละคนไม่เหมือนกัน   เพราะฉะนั้นทางปฏิบัติมีหลายทางนะ อย่าหัวดื้อนัก พวกที่ทำสมาธิส่วนใหญ่เป็นมิจฉาสมาธิ ฟังไว้นะ พวกที่ติดสมาธิงอมแงมหัวดื้อหัวรั้นสุดๆ แก้ยากที่สุด มาถึงวันนี้คนไหนแก้ยาก หลวงพ่อก็ปล่อยทิ้งไว้แล้วนะไม่แก้ให้แล้ว เพราะฉะนั้นอย่าดื้อมาก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาแบบปัญญานำสมาธิ(ดูจิต)

MP3: การภาวนาแบบปัญญานำสมาธิ(ดูจิต)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : อีกวิธีหนึ่งไม่ได้เริ่มจากสมาธิหรอก มีสติรู้ทันจิตใจของเราเข้าไปเลย อันนี้สำหรับคนซึ่งไม่สามารถทำสมาธิได้ ดูจิตดูใจเข้าไปซื่อๆ ดูจิตดูใจไม่ต้องทำสมาธิก่อน ถ้าไปทำสมาธิก่อนจะไม่มีอะไรให้ดู จะมีแต่ความนิ่งความว่าง ไม่มีไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นอย่าไปทำสมาธิก่อน   ถ้าจะดูจิตดูมันเข้าไปตรงๆเลย จนหมดแรงที่จะดูนั่นแหละจึงกลับไปทำสมาธิเข้าไปพักผ่อน  คนที่เคยเจริญปัญญาจนคุ้นเคยเวลาทำสมาธิพักผ่อนมันจะรวมวู้บเดียว ไม่รวมนานนะรวมวู้บเดียวก็ถอนขึ้นมาเดินปัญญาต่อมาดูจิตต่อแล้วแค่นั้นก็พอแล้ว สมาธิมันจะเกิดนะแต่มันจะเกิดสั้นๆไม่นาน ไม่เหมือนพวกเข้าอัปปนาเข้าฌานเข้าสมาธิเต็มรูปแบบ เราดูจิตดูใจของไปบางทีดูไปใจของเรารวมว่างๆไปเฉยๆงบางทีดูไปดูไปไม่มีแรงพอจิตจะเคลื่อนออกไปอยู่ข้างหน้า แล้วก็ไปว่างๆอยู่ข้างหน้า ที่หลวงพ่อบอกว่าจิตไม่ถึงฐาน   ถ้าชำนาญพอเรามาอยู่กับว่างตัวนี้เป็นการพักผ่อน  พอพักผ่อนพอสมควรแล้วกลับมาปล่อยให้จิตทำงานต่อ แบบนี้ก็ได้นะเป็นวิธีสมาธิของผู้ชำนาญในการดูจิตดูใจ เรียกว่าทำอรูป ดูอรูป ดูอารมณ์ที่เป็นอรูปฌาน

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีภาวนาแบบสมาธินำปัญญาและสมาธิควบปัญญา

MP3: วิธีภาวนาแบบสมาธินำปัญญาและสมาธิควบปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะทำอย่างไรให้ถูกต้อง?

MP3: สมถะทำอย่างไรให้ถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จากสมถะสู่วิปัสสนา

mp3: จากสมถะสู่วิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอย่างไรจะพลิกจากสมถะขึ้นสู่วิปัสสนาได้ วิปัสสนาคือการมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเมื่อใจเราสงบแล้วเนี่ย อย่าสงบอยู่เฉยๆ เพลินๆ มีแต่ความสุขอยู่เฉยๆ ระลึกรู้กายระลึกรู้ใจไว้ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ เวลาที่จิตถอยออกจากสมาธินะ จิตที่เคยสงบเนี่ยจะเริ่มฟุ้งซ่าน ให้เรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป ตรงนี้เป็นนาทีทองของการปฏิบัติเลย การที่จะพลิกจากสมถะขึ้นวิปัสสนา

ทำความสงบมาแล้ว ตอนที่จิตถอยออกจากความสงบ อย่าเจตนาถอย ถ้าเจตนาถอยจะปวดหัว ใจมันยังคล้ายๆมันยังนอนไม่พอ มันยังพักไม่พอ แล้วไปดึงมันขึ้นมา เหมือนคนกำลังหลับลึกนะ ถูกปลุกขึ้นมา ปวดหัว ถ้าจิตมันถอนขึ้นมาเองนะ ค่อยๆรู้สึก มันรู้สึกขึ้นมาเนี่ย พอรู้สึกขึ้นมาแล้วอย่าไปบอกว่า อ้าว..สบายแล้วหมดเวลาปฏิบัติแล้ว อันนี้ฉลาดน้อยมาก พอจิตถอนขึ้นมานะ ให้คอยรู้สึกกายรู้สึกใจ ร่างกายอยู่ท่าไหนก็รู้สึกไป จะเห็นเลยร่างกายที่อยู่ท่านี้อาจจะนั่งคอเอียงก็ได้ นั่งแล้วแข้งขาเหยียดก็ได้ ไม่สำคัญหรอก ไม่สำคัญว่านั่งท่าไหนนะ สำคัญที่คุณภาพข้างใน จิตใจเป็นอย่างไร

มีน้องร่วมสาบานของหลวงพ่อ เขาเรียก ซือตี๋ เวลาภาวนา ภาวนาเก่งนะ คนนี้ ภาวนาดี ภาวนาเข้าใจธรรมะ แต่เวลานั่งสมาธินะ ไม่น่านับถือ นั่งขัดสมาธิ์ดีๆนี่นะ พอจิตรวมลงไปนะ แข้งขามันจะเหยียดออกไป กางแข้งกางขานะ คนก็แอบมาหัวเราะ ครูบาอาจารย์ก็เตือน อย่าไปหัวเราะเขานะ ตัวเขาไม่ตรงแต่จิตเขาตรง ไปหัวเราะเขาบาป เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ ร่างกายอยู่ในท่าไหนเราก็รู้สึกไป พอรู้สึกตัวขึ้นมาใจจะเริ่มคิด เราก็รู้ทันว่าใจมันคิด ใจมันเป็นอย่างไรก็ตามรู้มันไปเลย นี่เป็นวิธีการนะ

แต่บางคนพอจิตถอยออกจากสมาธิแล้วถอยไม่หมด ติดความสงบออกมาด้วย ตัวนี้มีปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าทำสมาธิแล้วพอออกจากสมาธินะ ใจตื่นขึ้นมาเต็มที่ อยู่ในโลกของมนุษย์ธรรมดาเลย เรียกว่าจิตมาอยู่ในกามาวจรภูมิเลยเนี่ย ดีที่สุดเลย แต่ถ้าจิตมันติดค้างอารมณ์ในรูปาวจร อรูปาวจร อารมณ์ในฌานออกมา มันจะซึมๆไปนิดนึง มันจะคล้ายๆ.. หลวงพ่อทำให้ดู ทำเก่ง.. เนี่ยโลกว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตน ไม่มีอะไร ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา จะไปเห็นอะไร โง่.. ฉลาดน้อยๆ

ทีนี้ถ้าจิตมันค้างอารมณ์ออกมานะ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ให้กระตุ้นให้จิตทำงาน เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์วัดป่าจะบอกว่า พอทำความสงบแล้วให้พิจารณากาย ให้มาพิจารณากาย พุทโธแล้วมาพิจารณากาย รู้ลมหายใจแล้วพอถอยออกมาแล้วมาพิจารณากาย พิจารณาเพื่ออะไร เพื่อกระตุ้นไม่ให้จิตติดความสงบเฉยๆของสมาธิออกมา ให้มันหลุดออกมาสู่โลกภายนอกนี้ให้ได้ พอพิจารณาแล้วจิตมันกระฉับกระเฉงแล้ว จิตยอมทำงาน จิตยอมรู้กาย จิตยอมรู้ใจ หน้าที่ของเราก็คือ เจริญสติในชีวิตประจำวันต่อไป

เพราะฉะนั้นกรรมฐานที่ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านสอน มันจะมี ๓ สเต็ป อันหนึ่งทำความสงบเข้ามา ทำความสงบอย่างเดียวนะ ไม่ดี หลวงปู่มั่นบอกทำความสงบมาก เนิ่นช้า ทีนี้พอสงบแล้วนะ ใจยังค้างคาอยู่ในความสงบนะ ท่านให้พิจารณากาย ทำไมต้องพิจารณากายตัวเอง เพราะว่าพิจารณาแล้วกิเลสมันไม่เกิด ถ้าให้ไปพิจารณากายสาวนะ เดี๋ยวมันจะสวยขึ้นมา ยิ่งพวกที่ติดสมาธินะ พอออกมาเจอหมาๆจะสวยด้วยซ้ำไป เพราะกิเลสจะดีดตัวอย่างรุนแรงเลย หรือเป็นคนขี้โมโห ไปทำสมาธินะ สงบไป พอออกจากสมาธินะ ขี้โมโหมากกว่าเก่า มันคิดดอกเบี้ยนะ

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณาร่างกายตัวเอง พิจารณาแล้วมันไม่เกิดกิเลสขึ้นมา แต่เป็นการกระตุ้นให้จิตมันทำงาน เป็นการกระตุ้นเพราะหลวงปู่มั่นสอนว่าระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย เพราะฉะนั้นท่านจึงมาพิจารณากายกัน ปลอดภัย พิจารณากายตนเองนี่ปลอดภัย พิจารณาอย่างอื่นไม่ค่อยปลอดภัย

ทีนี้พิจารณาไม่ใช่พิจารณามันทั้งวันทั้งคืน หลวงปู่มั่นบอกอีก พิจารณามากฟุ้งซ่าน เห็นมั้ย พิจารณาพอดีๆ พอให้จิตมันตื่นตัวขึ้นมา คล่องแคล่ว ปราดเปรียว กระฉับกระเฉง ถัดจากนั้นท่านถึงสอน บอกว่า การเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ คือหัวใจของการปฎิบัติ เห็นมั้ย หลวงปู่มั่นสอนนะ เป๊ะเลย

บางคนไปเข้าใจคลาดเคลื่อน ไปได้ยินหลวงปู่มั่นสอนว่า พุทโธๆ โอ๊ย.. สมถะ แล้วจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ยังไง โกหก ไม่จริงหรอก ปรามาสล่วงเกินครูบาอาจารย์ ไม่รู้หรอกว่า ตรงนั้นท่านก็ทำสมถะ ท่านก็รู้ว่าทำสมถะ ทำสมถะแล้วท่านก็มาพิจารณากาย ท่านก็รู้ว่าไม่ใช่วิปัสสนา หลวงปู่เทสก์เคยสอนชัดเลยว่า คิดพิจารณากายไม่ใช่วิปัสสนา หลวงพ่อพุธก็บอกนะว่า วิปัสสนานะเริ่มเมื่อหมดความคิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่คิดเอา

ทีนี้บางคนฟังธรรมะของครูบาอาจารย์ไม่ตลอดสาย ฟังได้นิดๆก็ปรามาสไว้ก่อน เฮ้ยพุทโธเป็นแต่สมถะ เพราะไม่ได้ใช้อารมณ์รูปนาม ใช้ไม่ได้หรอก คิดพิจารณากายก็ใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้เห็นสภาวธรรมเกิดดับ แต่เป็นการคิดเอา ไม่ใช่วิปัสสนา ก็ไม่ใช่วิปัสสนาสิ ใครว่าวิปัสสนาล่ะ หัวใจอยู่ตรงที่มีสติในชีวิตประจำวันนี้ต่างหาก ท่านสอนว่า ยืน เดิน นั่ง นอน นะ จะครองผ้าจีวร สังฆาติ จะฉันอาหาร จะขับถ่าย ให้มีสติ มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ตรงนี้แหละคือตัววิปัสสนาแท้ๆ ท่านถึงบอกหัวใจของการปฏิบัติอยู่ตรงนี้

ทีนี้บางคนเรียนไม่ดี หลังๆเริ่มหย่อนไป เอะอะทำความสงบอย่างเดียว แล้วก็ไม่ยอมพิจารณากาย หรือว่าสงบแล้วพิจารณากาย แต่พอหมดเวลาปฏิบัตินะ ไม่เจริญสติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ได้เจริญสติในชีวิตประจำวันนะ อย่ามาพูดถึงมรรค ผล นิพพาน เลย ห่างไกล ก็ตอนทำสมาธิอยู่ วันหนึ่งๆจะทำสักกี่ชั่วโมง ใช่มั้ย เวลาที่เหลืออยู่ข้างนอกนี้ เราปล่อยทิ้งไปเฉยๆ กิเลสก็เอาไปกินหมด ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา

เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำความสงบแล้ว อย่าสงบเฉยอยู่ ให้ต่อขึ้นวิปัสสนา พอจิตถอนออกมาจากสมาธิมานะ รู้กายรู้ใจตามที่เขาเป็น ตามรู้ไปเลย แต่ถ้าถอนออกมาแล้วมันไม่ยอมรู้กายรู้ใจ มันเซื่องๆซึมๆอยู่อย่างนั้นนะ หาอะไรมายั่วมัน ให้จิตมันทำงาน คิดพิจารณากายก็ได้ หรือพิจารณาธรรมะอะไรก็ได้ ให้จิตมันทำงาน อย่าให้มันเฉย พอจิตมันทำงานแล้วคอยรู้สึก แต่อย่าให้มันฟุ้งออกไปข้างนอกนะ คอยรู้วนเวียนอยู่ในกายในใจตัวเอง

พอจิตมันเคลื่อนไหวคล่องแคล่วปราดเปรียวแล้วเนี่ย จิตจะนุ่มนวล จิตจะอ่อนโยน จิตจะคล่องแคล่วปราดเปรียว มีคุณสมบัติอย่างนี้แหละ ในพระไตรปิฎกก็พูดถึงคุณสมบัติเหล่านี้ว่า ทำสมาธิแล้วนะ จิตเบา จิตอ่อน จิตคล่องแคล่วว่องไว จิตควรแก่การงาน คือไม่ถูกกิเลสไม่ถูกนิวรณ์ครอบงำ จิตซื่อตรงในการรู้อารมณ์ โน้มน้อมจิตนี้ให้เกิดญาณทัศนะ ก็คือมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ ด้วยจิตที่เบาๆ จิตที่สบาย จิตที่รู้เนื้อรู้ตัว จิตที่คล่องแคล่วว่องไว นี่ รู้อย่างนี้เรื่อย.. อย่าให้มันเฉย..ซึมกระทืออยู่ อย่าน้อมจิตไปอยู่ในความว่าง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาแบบสมถยานิกหรือสมาธินำปัญญา

Mp3: ภาวนาแบบสมถยานิกหรือสมาธินำปัญญา (พระป่า) เป็นเช่นไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันหนึ่งทำฌานไป ยกตัวอย่าง เรารู้ลมหายใจ ทีแรกลมหายใจนี้ เขาเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” รู้ตัวลมหายใจ เห็นลมนะ ลมกระทบ ดูเล่นๆ ดูแบบใจเป็นคนดู อย่าให้จิตไหลเข้าไปอยู่ที่ลมนะ จิตไหลไปอยู่ที่ลมจะเป็นการเพ่งลม ฌานไม่เกิดหรอก ให้รู้มัน ให้รู้ลม เห็นร่างกายมันหายใจ เห็นหายใจอย่างนี้ หายใจ ดูอย่างสบายๆ ดูอย่างผ่อนคลาย ถ้าไปเพ่งแล้วจะไม่ผ่อนคลาย ถ้าจิตไม่ผ่อนคลายจิตจะไม่มีความสุข จิตไม่มีความสุขสมาธิจะไม่เกิด จำไว้นะ มันมีกระบวนการของมันนะ มีเหตุ มีผล มีต้น มีปลาย ทั้งสิ้นเลย

เรารู้ เราเห็นร่างกายของเราไป รู้เล่นๆไปนะ ดูไปเรื่อยๆจิตใจมีความสุข มีความสบาย ลมหายใจค่อยๆแปรสภาพไปเป็นแสงสว่าง เราจะเห็นลมเป็นแสงเลย เป็นเส้น..เลยนะ การที่เรารู้แสงสว่างอันนี้ ตัวนี้ไม่ใช่บริกรรมนิมิต ไม่ใช่ลมตัวเดิมแล้ว ตัวนี้เขาเรียกว่า “อุคหนิมิต” เป็นอุคหนิมิตขึ้นมา เราดูเห็นแสงสว่าง ใจเราสบาย ดูเล่นๆไป ทีแรกมันจะยืดยาว เห็นเป็นแสงเป็นเกลียววิ่ง มันจะรวมขึ้นมาเป็นดวง พอเราเห็นดวงนี้ เรารู้อยู่ที่ดวงนี้นะ มีสติรู้อย่างสบายๆ ดวงนี้สวยงามนะ ผ่องใส เหมือนแก้วสวยงาม เห็นแล้วมีความสุข ตัวดวงสว่างนี้เรียกว่า “ปฎิภาคนิมิต” เห็นมั้ย ไม่ใช่ตัวลมแท้ๆแล้ว กลายเป็นรู้นิมิตแล้ว ทำฌานไม่ใช่รู้ตัวลมนะ ทำฌานสุดท้ายไปรู้ตัวนิมิต มีนิมิตขึ้นมาแล้วก็รู้นิมิตไป นิมิตนี้สวยงาม นิมิตนี้ย่อได้ขยายได้นะ เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ มีความสุข เห็นแล้วมีความสุข

เห็นแล้วมีความสุขจิตก็มีปีติขึ้นมา จิตนี้มีความสุขที่ได้รู้นิมิตนี้ เพราะฉะนั้นจิตนี้จะเกาะอยู่กับนิมิตนี้โดยที่ไม่ได้เจตนา เรียกว่ามันมี “วิตก” คือมันตรึกถึงตัวนิมิตนี้ จิตนี้จะเคล้าเคลียอยู่กับตัวนิมิตนี้ เรียกว่า “วิจาร” จิตจะมีปีติ มีความสุขขึ้นมา มีเอกัคตาขึ้นมา

ภาวนาต่อไปอีกนะ จิตจะเห็นเลยว่า จิตยังถลำไปเกาะอยู่กับนิมิตนี้ ไม่ค่อยได้อะไรขึ้นมา ก็สังเกตเห็นอีก นิมิตนี้เป็นของถูกรู้ถูกดูนะ จิตมันถอนออกจากนิมิต มันละวิตกละวิจารเสีย ม้นเข้ามารู้อยู่ที่ตัวรู้ ตัวรู้คือ “เอโกทิภาวะ” ถึงผุดขึ้นในฌานที่สอง เอโกทิภาวะ คือตัวสัมมาสมาธิแท้ๆนี่เอง เกิดในฌานที่สอง ตัวนี้ยังเป็นแค่ตัวรู้ เป็นธรรมชาติรู้

จะทำฌานสูงขึ้นไปก็ได้หรือจะทำอยู่แค่นี้ก็ได้ พอออกจากตรงนี้แล้วเนี่ย อำนาจของสมาธิที่เราทำนี้ยังทรงอยู่อีกช่วงหนึ่ง จิตของคนซึ่งเดินมาถึงตรงนี้ ถอยออกมาแล้วนะ มันจะมีตัวรู้อยู่ อยู่ได้เป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าคนไหนเกิน ๗ วัน ต้องรู้เลยว่า ไปประคองตัวรู้ไว้แล้ว ผิดอีกแล้ว มันอยู่ไม่นานหรอก อยู่วันสองวัน อะไรอย่างนี้ วันสองวันแล้วเสื่อมไป เราก็ทำเอาใหม่ อย่าอยากทำ ถ้าอยากให้ได้ดีอย่างเดิม มันจะไม่ได้ ทีนี้ฝึกไปเรื่อย จนจิตมันชำนาญนะ มันรู้จักตัวรู้ชำนาญ ต่อไปถึงไม่ทรงฌานอยู่นะ นึกถึงมันก็มีอยู่แล้ว นี่เป็นเพราะมันชำนาญแล้ว มันคือสภาวะที่ “รู้” นั่นเอง

ทีนี้พอมีสภาวะที่ “รู้” แล้วมาเดินปัญญาต่อ เห็นกายมันทำงาน ทำไมต้องดูกาย เพราะว่าถ้าดูจิตนะ มันจะนิ่งไปเลย เพราะว่าจิตนั้นมันทรงตัวอยู่ เป็นตัวรู้ไปแล้ว มันไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งอะไรแล้ว ถ้าอยู่ๆไปดูใส่ตัวจิต มันก็จะไม่มีอะไรให้ดู มีแต่ว่างๆ นิ่งๆ ไป เพราะฉะนั้นพอจิตทรงฌานะ แล้วถอยออกมาเนี่ย ควรจะมารู้กาย หรือรู้เวทนา อย่าไปดูจิต เพราะฉะนั้นรู้กายและเวทนาเนี่ย เหมาะกับสมถยานิก

พวกที่ไม่มีสมาธินะ ไปดูกายก็ไปเพ่งกาย ไม่มีจิตที่ทรงตัวเป็นคนดูอยู่ จิตกับกายจะไม่แยกออกจากกัน ถ้าจิตกับกายไม่แยกออกจากกัน เรียกว่าแยกรูปแยกนามไม่ได้ ถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ อย่ามาพูดเรื่องวิปัสสนา เพราะการเจริญปัญญานะ ญาณตัวแรกเลยชื่อ “นามรูปปริเฉทญาณ” แยกรูปแยกนามออกมา กายอยู่ส่วนกายนะ จิตอยู่ส่วนจิต จิตมันตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นกายมันทำงาน แต่ถ้าจิตเผลอไผลไปที่อื่นนะ สติก็ระลึกได้อีก รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิตนะ ไม่ใช่เพ่งอยู่แต่กายอย่างเดียว นี่สำหรับคนซึ่งทำสมาธิเต็มรูปแบบ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 174 of 178« First...102030...172173174175176...Last »