กลับสู่หน้าหลัก

สังขาร: ธรรมที่ใกล้ชิดอวิชชา

โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2542 16:22:23

              กองเพลิงกิเลส
              หากจะเปรียบวัฏสงสารเป็นกองไฟกองหนึ่ง อวิชชาคงเปรียบได้กับความร้อน
              ที่สุมอยู่ใต้ขอนไม้ พร้อมที่จะลุกเป็นเปลวไฟได้ทุกเมื่อเมื่อมีเหตุปัจจัยให้ลุกไหม้
              การเจริญสติปัฏฐาน (หรือที่เรียกง่ายๆ ในหมู่นักปฏิบัติว่า การดูจิต) นั้นเปรียบ
              เหมือน การดับเปลวไฟที่โหมอยู่ให้สงบลงเป็นครั้งคราว เพราะเหตุที่เราตัดกระ
              แสปฏิจจสมุปบาทที่ เวทนา (ก่อนจะเกิดตัญหา) อย่างไรก็ตามเนื่องจากอวิชชา
              นั้นยังอยู่ ยังมีความร้อนสุมขอนอยู่ เปลวไฟก็พร้อมที่จะลุกไหม้ขึ้นได้อีก เป็น
              การเริ่มวงปฏิจจสมุปบาท วงใหม่

              ดังนั้นหากใครคิดจะดับเพลิงกิเลสกองนี้ ก่อนอื่นต้อง ควบคุมเพลิง ให้สงบก่อน
              (ด้วยการเจริญสติสัปชัญญะ ให้ตัญหาเกิดน้อยลง) พอเปลวไฟสงบลง จึงจัดการ
              กับความร้อนที่สุมอยู่ในขอนไม้ (อวิชชา) นั้นเป็นข้อสรุปในหลักการปฏิบัติ

              สังขารขันธ์
              เมื่อจะดับอวิชชา ก็คงต้องพูดถึงสังขาร หรือที่รู้จักกันดีว่าความคิด สังขารนั้น
              เป็นธรรมที่เราคุ้นเคยกันดี สังเกตเห็นได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับอวิชชา เป็นธรรม
              ที่ถัดมาจากอวิชชาในวงจรปฏิจจสมุปบาท ถ้าจะพูดกันในภาษาชาวบ้าน ก็เรียก
              ได้ว่า สังขารเป็นสมุนมือขวาของอวิชชาเลยทีเดียว จึงเห็นว่าเราควรหยิบยก
              สังขารมาพิจารณากันในขั้นที่ละเอียดลงไปอีก

              ความคิดนั้น อาจแบ่งได้ 2 ชนิด
              1. ความคิดอย่างหยาบ ความคิดในระดับนี้ เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่
              1.1 การคิดออกมาเป็นคำพูด เป็น 2 มิติคือ เป็นสัญญาณเสียงอยู่บนแกนเวลา
              1.2 การคิดออกมาเป็นจินตนาการ รูปภาพ สี ขาวดำ เป็นภาพแบนๆ 2 มิติ
              หรือภาพ 3 มิติ หรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพ 3 มิติ บนแกนเวลา)

              2. ความคิดอย่างละเอียด ในที่นี้คือส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับจิตมากจนยากแก่การ
              สังเกต ความคิดในระดับนี้ รู้จักกันดีในชื่อของ เจตนา หรือ ความจงใจ ยก
              ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเจตนาจะเดิน กิน มองดู ฯลฯ จะเห็นว่ามีความคิดเกิดขึ้น โดย
              ไม่มีคำพูดหรือจินตนาการใดๆ ออกมาก่อน

              เรามักจะพูดกันอยู่เสมอในหมู่นักปฏิบัติว่า หากเราเจริญสติสัมปชัญญะแล้ว
              ความคิดจะดับลง แท้ที่จริงแล้วความคิดที่ดับลง คือความคิดอย่างหยาบเท่านั้น
              ที่ดับลง คือไม่มีคำพูด ไม่มีจินตนาการใดๆ เกิดขึ้น ในขั้นนี้ผู้ปฏิบัติอาจติดอยู่กับ
              กิเลสในชั้นที่ละเอียดที่สุดได้โดยไม่รู้ตัว คือเห็นทุกอย่างเป็นความว่างไปหมด
              หรือเรียกว่าเห็นธรรมชาติตามที่มันเป็นไม่มีการปรุงแต่ง อย่างไรก็ตามหากได้
              พิจารณาอย่างแยบคายแล้วจะเห็นว่า ทามกลางความสงบนั้น ยังมีความคิด
              อย่างละเอียดเหลืออยู่คือเจตนา หรือความจงใจ เมื่อมีความจงใจ ก็ย่อมมีผู้จงใจ
              นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการดำรงอยู่ของ อวิชชา

              เห็นได้ชัดว่า การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวันนั้น
              ผู้ปฏิบัติยังมีโมหะครอบงำอยู่ ทั้งนี้ก็เพราะเจือด้วย เจตนาโดยตลอด แต่ก็ใช่ว่า
              เป็นทางที่ผิด เพราะเปรียบเหมือนการควบคุมเปลวเพลิงของกิเลส ให้บรรเทา
              เบาบางลงดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น

              ดังคำที่หลวงปู่ดุลย์ อตุโลเคยพูดว่า รู้ เพราะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้
              แต่ก็ต้องอาศัยคิด คืออย่าไปห้ามความคิด
โดยนัยแล้วคิดในที่นี้ก็คือ เจตนานั่นเอง

              เจตนานี้จะสิ้นสุดลง เป็นครั้งคราวได้ ในอัปนาสมาธิ คือมีแต่พุทธะ เบิกบาน
              อยู่ภายใน อย่างไม่มีเจตนา จดจ่อแต่อย่างได้ นี่เป็นเหตุผลเพียงพอ ที่จะสนับ
              สนุนได้ว่า ลำพังขณิกสมาธินั้นไม่อาจทำให้ใคร บรรลุอริยมัคได้ ด้วยเหตุที่
              สมาธิมีกำลังไม่พอ หากใครยังอยู่ในขณิกสมาธิแล้วบอกว่าสามารถทำจิตเป็น
              กลางและตั้งมั่นได้ พึงระลึกได้เลยว่ากำลังมีมิจฉาทิฏฐิ

              นอกจากนี้ ก็เป็นเหตุผลแสดงให้ เห็นว่านิพพาน หรือ อารมณ์นิพพานนั้น
              ไม่อาจได้มาโดยการตั้งใจ ดังคำเปรียบเทียบว่าเหมือนกับการ ใส่ปุ๋ยบำรุงพืช
              โดยไม่หวังผลอะไร แต่เมื่อถึงเวลาพืชก็จะให้ผลเอง

              15 ตค. 2542

###หมายเหตุ : ผมได้เรียบเรียงคำพูดใหม่ และก็อยากจะนำมาโพสที่นี่อีกครั้ง เพื่อให้บาง
                ท่านที่ยังไม่ได้อ่าน ได้อ่านครับ

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ ทองคำขาว วัน พุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2542 17:47:52

สาธุธรรมครับคุณมะขามป้อมครับ
กับความเพียรที่ต่อเนื่อง และธรรมที่คุณมะขามป้อมได้สื่อมา
อ่านแล้วเกิดความชื่นใจ ที่ช่วยเสริมให้เป็นกำลังต่อ
ความเพียรในการปฏิบัติแก่กันหมู่เพื่อนฝูงได้

สาธุอนุโมทนาด้วยครับ


โดยคุณ ทองคำขาว วัน พุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2542 17:47:52

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ juay วัน พุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2542 18:08:08

สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ tana วัน พุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2542 19:27:01

สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ มะเหมี่ยว วัน พุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2542 21:59:16

ขอบคุณมากค่ะ คุณมะขามป้อม

โดยคุณ มะเหมี่ยว วัน พุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2542 21:59:16

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ บัวใต้น้ำ วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 08:30:27

สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ กระต่าย วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 09:02:46

สาธุธรรมที่ได้แสดงค่ะ


โดยคุณ กระต่าย วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 09:02:46

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 09:41:01

สาธุครับ

ได้เห็นคุณมะขามป้อมในที่นี้ ผมมีความยินดีเป็นที่สุด เพราะแอบนับถือมาตั้งแต่สมัยยังอยู่ในห้องสมุดฯแล้วครับ



โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 09:41:01

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ สันตินันท์ วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 09:52:21

สาธุครับ น่าอ่าน น่าฟังมากทีเดียว

โดยคุณ สันตินันท์ วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 09:52:21

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ ทรายแก้ว วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 10:33:42

สาธุค่ะ

โดยคุณ ทรายแก้ว วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 10:33:42

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ นิดนึง วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 14:46:16

สาธุค่ะคุณมะขามป้อม
ธรรมจากผู้ปฏิบัตินั้นร่มเย็น เป็นจริง
เป็นกำลังใจแก่ผู้กำลังพยายามอย่างยิ่งค่ะ
และจะยิ่งดีใจมากถ้าได้เห็นกระทู้ของคุณมะขามป้อมบ่อยๆ ค่ะ


โดยคุณ นิดนึง วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 14:46:16

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ ดังตฤณ วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 15:26:03

งดงามมากครับมะขามป้อม

โดยคุณ ดังตฤณ วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 15:26:03

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ มะขามป้อม วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 16:11:06

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องสังขารในพระไตรปิฎกครับ

                    พระอภิธรรมปิฎก  เล่ม ๕
                            สังขารยมก
                           ปัณณัตติวาร
      [๑๐๒๓] สังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.
      ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ชื่อว่า กายสังขาร วิตกและวิจาร ชื่อว่า วจีสังขาร สัญญา
และเวทนา ชื่อว่า จิตตสังขาร ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต แม้ทั้งหมด เว้นวิตกและวิจาร ชื่อว่า
จิตตสังขาร.


ท่านจำแนกสังขารเป็น 3 อย่างดังกล่าวข้างบนนะครับ
รายละเอียดมากกว่านี้ คงต้องไปอ่านเอาเองจากพระไตรปิฎกแล้วละครับ
เพราะท่านกล่าวไว้ละเอียดเหลือเกินครับ


โดยคุณ มะขามป้อม วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 16:11:06

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ มะขามป้อม วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 16:23:27

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งครับคือ คำว่ากายสังขาร กับจิตสังขาร
พระพุทธองค์ได้กล่าวถึงในอานาปานสติสูตรด้วยครับ

.....
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักระงับู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ เข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ สละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
....


โดยคุณ มะขามป้อม วัน พฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2542 16:23:27

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ นกเอี้ยง วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 08:07:57

สาธุค่ะ

โดยคุณ นกเอี้ยง วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 08:07:57

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ มะขามป้อม วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 11:45:40

ขออธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยครับ เพื่อป้องกันการสับสน
เพราะเห็นว่าคำว่าสังขารในพระไตรปิฎกท่านไม่ได้
หมายถึงความคิดโดยตรงอย่างที่ผมตั้งใจจะหมายถึงกระทู้นี้ครับ

กายสังขาร หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่ง(มีผลต่อ)กาย อันได้ลมหายใจเข้าออก ไม่ได้หมายถึงร่างกายคนเรา
วจีสังขาร หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่ง(มีผลต่อ)คำพูด อันได้แก่ วิตกและวิจาร
จิตสังขารหรือมโนสังขาร หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่ง(มีผลต่อ)จิตอันได้แก่ สัญญาและเวทนา

ส่วนคำว่า สังขารขันธ์ ท่านหมายเอานามธรรมอื่นๆ นอกจากเวทนาขันธ์ และสัญญาขันธ์ครับ
ถ้าผมเข้าใจผิดพลาดช่วยทักท้วงด้วยครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิตก ความตรึก, ตริ, กายยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕),
การคิด, ความดำริ
วิจาร ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การตามฟั้นอารมณ์ (ข้อ ๒ ในองค์ฌาน ๕)
สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้
เวทนา ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์


โดยคุณ มะขามป้อม วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 11:45:40

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 14:33:46

ถ้าพูดด้วยสำนวนภาษาบาลี ก็ต้องกล่าวว่า
เป็นลาภอันดีของพวกเราแล้ว
ที่คุณมะขามป้อม มาแสดงธรรมให้ฟัง :)

นิมนต์ คุณมะขามป้อม และพวกเราทุกคน
มาช่วยกันถ่ายทอดประสบการณ์ธรรมภาคปฏิบัติ
หรือช่วยกันเผยแผ่ธรรมะที่ดี
เพื่อประเทืองปัญญาและเพื่อความร่าเริงในธรรม
เพราะที่นี่ มีแต่คนกันเองล้วนๆ ครับ
มีอะไรก็คุยกันได้เต็มที่หน่อย


โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 14:33:46

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ ทองจันทร์ วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 19:15:24

สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ แมวแก่ วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 23:24:28

ขอบคุณคุณมะขามป้อมมากครับ _/|\_

โดยคุณ แมวแก่ วัน ศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2542 23:24:28

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2542 07:40:51

สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 23 โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 2 ธันวาคม 2542 07:54:25

สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 24 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน พฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 13:03:05
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com