กลับสู่หน้าหลัก

สุดทางวิปัสสนา

โดยคุณ มะขามป้อม วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 11:34:30

ผมได้รับหมอบหมายงาน จากพี่สันตินันท์ ในเขียนเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติของ
ผมเองซึ่ง ในปัจจุบัณได้ให้ความสนใจกับเรื่องเจตนา ต้องสารภาพว่าทุกครั้งที่
ต้องเขียนธรรมะนั้นรู้สึก ยากลำบากมาก เพราะธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตน เป็นสภาพ
ธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ทราบว่าจะเขียนอย่างไรจึงจะสื่อให้คนอื่นได้เข้าใจมากที่สุด

แต่เหตุที่รับปากว่าจะเขียนออกมาเพราะเห็นว่า เป็นคนที่รู้จักคุ้นเคยกัน
เผื่อว่าอาจจะมีบางคนที่มีจริตคล้ายๆ กันได้อ่าน ก็จะสามารถนำไปเป็น
แนวทางปฏิบัติได้ ผมจะขอข้ามขั้นตอนแรกๆ ของการนั่งวิปัสสนานะครับ
เพราะคิดว่าทุกคนในที่นี้มีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว

ส่วนใครที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับ สมถะ-วิปัสสนา ในเชิงปฏิบัตินั้น
เรื่อง "ส่องทางสมถะวิปัสสนา" เขียนโดย หลวงปู่เทสก์ นั้นเหมาะมากที่เดียว
ครับ (หาอ่านได้ที่ web ธรรมะจากพระป่า ของคุณพัลวัลครับ)

---------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอยกสุดยอดแห่งธรรมของหลวงปู่ดุลย์ มาพิจารณากันครับ

"จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"


จิตส่งออกนอกเป็นอย่างไร
อย่างหยาบๆ ที่เห็นชัดเจน คือการที่จิตเกาะไปกลับอารมณ์ โลภ โกรธ หลง ต่างๆ ไม่อยู่
กับจิตผู้รู้ เป็นจิตของคนทั่วๆ ไปที่ยังไม่ได้ศึกษาปฏิบัติธรรม

ในการปฏิบัติวิปัสสนาเรา เจริญสติสัมปชัญญะ มองเวทนา และอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป
จนกระทั่งเห็นในไตรลักษณ์ของมัน การที่เราเจริญสติสัมปชัญญะ มีจิตผู้รู้นั้น บางท่านอาจ
คิดว่าจิตของเราไม่ได้ส่งออกแล้ว แต่เมื่อได้อาศัยสมาธิที่เข้มแข็ง ใจที่สงบลองพิจารณาดู
ให้รอบคอบ จะเห็นว่าจิตนั้นยังส่งออกอยู่ แต่เป็นการส่งออกไปไม่ไกลนัก ไม่ถึงกับไปเกาะ
อารมณ์หยาบๆ

คำว่าจิตส่งออกในชั้นที่ละเอียดลงไปนั้น มีความหมายนัยหนึ่งคือจิต มีการคิดปรุงแต่ง
มีเจตนา ความจงใจ โลดแล่นออกมา อารมณ์ในชั้นละเอียด ในที่นี้ก็คือตัวเจตนาเอง หาก
ยังมองไม่เห็นเจตนาที่มีอยู่ ก็ยากที่จะสัมผัสมรรคผลนิพพาน

เจตนานั้นเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนและหลอกล่ออยู่ในตัวมันเอง เช่น เมื่อเราเห็นว่าเรามีความ
คิดเกิดขึ้นเราก็เลิกคิดเสีย การเลิกคิดนั้น ยังมีเจตนา หรือว่าเมื่อเรารู้ว่าเรามีนิมิตอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น(ไม่ว่าจะเป็นรูปหรืออรูป) พอเรารู้ว่ากำลังคิดอยู่ เราก็เลิกคิดเสีย การเลิก
คิดนั้น ก็ยังมีเจตนา เจตนาจึงไม่อาจละทิ้งได้อย่างเจตนา หมายความว่า ความจงใจในการดู
ธรรมอารมณ์ต่างๆ ในขณะวิปัสสนานั้นไม่อาจละได้ด้วยความจงใจ ต้องปล่อยให้จิตละไปเอง
ตามธรรมชาติของมัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติต้องมองให้เห็นเจตนาเสียก่อน

เมื่อจิตมองเห็นความไร้สาระของเจตนา จิตก็จะปล่อยเจตนาอย่างไม่เจตนา เข้าสู่อัปปนา
สมาธิเหลือเพียงจิตที่เป็นพุทธะ เบิกบานอยู่แต่จะคงอยู่ได้นานแค่ไหนก็ขึ้นกับกำลังสมาธิ

จิตเห็นจิตเป็นอย่างไร
"จิตเห็นจิตเป็นมรรค" นั้นไม่ใช่การเล่นคำ เล่นสำนวน แต่เป็นธรรมแท้ที่กลั่นออกมาแล้วอย่างดี
สภาพที่มีสติรู้พร้อมในทวาร ทั้ง ๖ นั่นแหละคือ สภาพที่จิตเห็นจิต เห็นธรรมตามที่มันควรจะเป็น
ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ

การรู้พร้อม หมายถึงรู้ถึง สิ่งที่ส่งผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖ พร้อมๆ กัน ไม่กำหนดลงไปที่
ทวารใดทวารหนึ่ง อายตนะภายนอกที่ผ่านมาทางทวารทางกายนั้นนั้น รู้ได้ง่าย
กว่าทวารทางใจมาก ดังนั้นเมื่อไรที่จิตรู้ธรรมารมณ์ อันละเอียด (เช่นเจตนา) นิโรธก็อยู่ไม่ไกล
พูดไปก็เกินกว่าจะจินตนาการขออนุญาตไม่บรรยายตรงนี้มากนักนะครับ ว่ามันเป็นอย่างไร
เดี๋ยวจะเก็บไปปรุงแต่ง โดนความคิดหลอกกันอีก

บอกเล่าตามประสบการณ์และภูมิธรรมเท่าที่มีอยู่ ผิดพลาดประการใดโปรดทักท้วงกันด้วยครับ
โดยคุณ มะขามป้อม วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 11:34:30

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 14:09:27
ขอบคุณ คุณมะขามป้อม ครับ
เขียนธรรมะได้น่าอ่าน อ่านง่าย เข้าใจง่าย
และเอาไปปฏิบัติได้ด้วยครับ
เสียแต่ไม่ค่อยยอมเขียนน่ะครับ
ช่วงหลังที่เขียนกระทู้มานี่ เพื่อนๆ ชมมาทางผมหลายคนทีเดียว ว่าเขียนได้ดี

คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ ที่ลึกซึ้งมีอยู่อีกส่วนหนึ่งครับ
มีคำสอนอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ซึ่งเป็นส่วนอธิบายอริยสัจจ์แห่งจิต
เช่นเรื่องจุดกำเนิดของสิ่งที่มีชีวิต
เรื่องจิตกับวัตถุ หรือผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้เป็นสิ่งเดียวกัน
เรื่องจิตไม่ใช่จิต เรื่องกระบวนการเข้านิพพาน
สิ่งเหล่านี้ผมไม่ได้นำมาเล่า หรือเล่าก็ย่อๆ ไม่ขยายความ
เพราะเล็งเห็นว่า จะทำให้พวกเราใช้ความคิดฟุ้งซ่านกันเสียเปล่าๆ
เอาไว้วันใดพวกเราเติบโตมากกว่านี้อีกหน่อย จะค่อยๆ เอามาเล่าไว้ครับ
เพราะธรรมเหล่านั้น เหมาะกับคนที่เข้าใจธรรมแล้วเท่านั้น
โดยคุณ สันตินันท์ วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 14:09:27

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ พัลวัน วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 14:17:58
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ นิดนึง วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 15:37:31
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ กระต่าย วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 16:36:54
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ ดังตฤณ วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 18:37:35
เยี่ยมจริงๆครับ
อีกหน่อยลูกหลานพระป่าคงเติบโตอยู่ในเมืองนี่แหละ
โดยคุณ ดังตฤณ วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 18:37:35

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ มวยวัด วัน ศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม 2542 19:35:48
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ Lee วัน เสาร์ ที่ 25 ธันวาคม 2542 10:43:19
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ ทองจันทร์ วัน เสาร์ ที่ 25 ธันวาคม 2542 16:57:52
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ ต๊าน วัน เสาร์ ที่ 25 ธันวาคม 2542 18:14:21
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 11:10:20
เจตนาสูตรอีกอันหนึ่งที่ทรงแสดงไว้ครับ พระสูตรแสดงถึง อิทัปปัจยตาของการ
ปัฏิบัติธรรม ตั้งแต่ขัดของศีลไปจนถึงวิมุติ ว่าเมื่อเราปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว ผลทั้ง
หลายย่อมตามมาเองโดยไม่มีเจตนาใดๆ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อานิสังสวรรคที่ ๑

                           ๒. เจตนาสูตร
     [๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า
ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่
บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปราโมทย์
จงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มี
วิปปฏิสารนี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปราโมทย์ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดแก่เรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปราโมทย์นี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้มีใจปีติไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจมีปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวยความสุข
ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความสุขไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีความสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตาม
ความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้
เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเรา
จงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นตามความ
เป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้ง
ซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด
ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ นี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์
สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย
ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์
เพื่อจากเตภูมิกวัฏอันมิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง คือ นิพพานด้วยประการดังนี้แล ฯ


---------------------------------------------------------------------------------------------
วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย
นิพพิทา ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง
ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของ
กันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา; ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์
วิราคะ ความสิ้นกำหนด, ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ, ความคลายออกได้หายติด เป็นไวพจน์
ของนิพพาน
ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง
ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลาย
กายใจ (ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)
ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ
ดุจคลื่นซัดฝั่ง ๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน
เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ
ปราโมทย์ ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ
วิปฏิสาร ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ เช่น ผู้ประพฤติผิดศีล เกิดความเดือดร้อนขึ้นในใจ
ในเพราะความไม่บริสุทธิ์ของตนเรียกว่า เกิดวิปฏิสาร
โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 11:10:20

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ พุทธบุตร วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 11:17:37
สาธุครับ
โดยคุณ พุทธบุตร วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 11:17:37

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ นกเอี้ยง วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 13:11:46
^-^ _/|\_
โดยคุณ นกเอี้ยง วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 13:11:46

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 15:36:11
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ มรกต วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 17:10:25
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ สันตินันท์ วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 19:55:42
สาธุ สาธุ สาธุ
ธรรมอันงามนี้ อ่านแล้วชื่นใจมากครับ
แถมมีอธิบายศัพท์ให้ด้วย
เรียกว่าอำนวยความสะดวกกันเต็มที่ทีเดียว
โดยคุณ สันตินันท์ วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 19:55:42

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ Lee วัน จันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2542 20:33:37
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ กระต่าย วัน อังคาร ที่ 28 ธันวาคม 2542 08:08:36
สาธุ สาธุ
โดยคุณ กระต่าย วัน อังคาร ที่ 28 ธันวาคม 2542 08:08:36

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ นิดนึง วัน อังคาร ที่ 28 ธันวาคม 2542 09:03:18
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ tuli วัน ศุกร์ ที่ 7 มกราคม 2543 21:21:03
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ นิพ วัน พฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 16:41:00
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com