กลับสู่หน้าหลัก

เจริญสติสัมปชัญญะ(ในชีวิตประจำวัน)อย่างไรให้เห็นสุญญตา

โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 12:03:00

สติคือความระลึกได้ ความไม่เผลอ สัมปชัญญะคือความรู้ตัวพร้อม หรือการตระหนักรู้
เราจะการเจริญสติสัมปชัญญะอย่างไรให้เห็นสุญญตา เห็นโลกตามความจริงที่เป็นอยู่
keyword อยู่ที่คำว่าสัมปชัญญะคือความรู้ตัวพร้อมนี่เอง เราจะรู้ตัวพร้อมหรือไม่นั้นอยู่
ที่การกำหนดจิต เพื่อให้เข้าใจได้ตรงกัน ขอนิยามคำว่าการกำหนดจิตไว้ตรงนี้ครับว่า

การกำหนดจิต หมายถึงความสนใจของจิตขณะนั้นๆ ว่าอยู่ที่ไหน
เราสามารถกำหนดจิตได้ทั้งรูป(ภายนอกและภายในกาย) และ นาม(ธรรมารมณ์ต่างๆ)
ถ้าเราสนใจในวัตถุภายนอกที่ไม่เกี่ยวกับร่างกายเราเช่น รถ คน ต้นไม้
ก็เรียกว่ากำหนดจิตไปที่รูปภายนอก
ถ้าเราสนใจในร่างกายของเราเองเช่น มือ แขน ลิ้น ...
ก็เรียกว่ากำหนดจิตไปที่รูปภายใน
ถ้าเราสนใจในธรรมารมณ์ต่างๆเช่น ความคิด คำพูด ความสุข-ทุกข์ ภาพจินตนาการต่างๆ
ก็เรียกว่ากำหนดจิตไปที่นาม

ดังนั้นการดูจิตในชีวิตประจำวันนั้น การกำหนดจิตมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะเป็นดัชนี
ที่จะบอกว่าเราปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ ถ้ากำหนดจิตแบบหนึ่งก็จะได้ผลแบบหนึ่ง
กำหนดจิตอีกแบบหนึ่งก็จะได้ผลอีกแบบหนึ่งแต่ต่างกันไป

เราสามารถแบ่งการกำหนดจิตโดยแบ่งกลุ่มตามการปฏิบัติได้ดังนี้

1. การกำหนดจิตไว้กับวัตถุภายนอกกาย
อันนี้เป็นกำหนดจิตแบบคนทั่วไปที่ยังไม่มีความรู้ในการปฏิบัติ ลักษณะจิตแบบนี้
มีโมหะเต็มที่ มีการตอบสนองต่อรูปารมณ์ภายนอกอย่างเต็มที่ เป็นมนุษย์ผู้โง่เขลา
เต็มภูมิ

2. การกำหนดจิตไว้กับส่วนต่างๆ ของร่างกาย
อันนี้เป็นกันมากในหมู่นักปฏิบัติ เช่น การรับความรู้สึกที่ฝ่าเท้าเวลาเดินจงกรม
หรือ การรับความรู้สึกของลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก

3. การกำหนดจิตไว้กับนามธรรมคือ นิมิตคือ รูปจิตนาการต่างๆ
อันนี้ก็เช่นเดียวกันกับข้อ 2 แต่สิ่งที่สนใจเปลี่ยนเป็นนามธรรม
ทั้งข้อ 2 และ 3 จิตมีลักษณะเดียวกันคือ จดจ่อ สนใจอยู่ในอารมณ์ เดียวหรือที่
เราเรียกว่า สมถะกรรมฐาน

4. การกำหนดจิตให้รู้พร้อมทั่วทั้งตัว
อันนี้ขยับเข้ามาใกล้วิปัสนาแล้ว คือเรากำหนดจิตให้เห็นและรู้สึกทั่วทั้งตัว
มีความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ รู้สึกตัวเหมือนหุ่นยนต์เดินไปมา มีตาเหมือน
กล้องวีดีโอ :) การกำหนดจิตแบบนี้ทำให้ความรู้อย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือความรู้ว่า
กายกับจิตนั้นแยกจากกัน

5. การกำหนดจิตเพื่อรู้นามธรรมต่างๆ
อันนี้คืออันที่เราพูดถึงในการทู้เรื่องการเดินจงกรมคือ หลังจากกำหนดรู้ตัวพร้อม
จนใจสงบดีแล้วก็ทิ้งกายกลับมาดูเวทนา จิต และธรรม การกำหนดจิตแบบนี้ ก็เรียกได้ว่า
วิปัสนาเหมือนกันแต่ก็ไม่ค่อยถูกนักเพราะ เมื่อปฏิบัติไปนานๆ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกได้ว่า
จิตรวมศูนย์ สติมีความกล้าแข็งผิดปกติ อาจจะรู้สึกคล้ายกับว่าโลกทั้งโลกหายไป
เหลือแต่จิตผู้รู้อย่างเดียว

6. การกำหนดจิตเพื่อรู้พร้อมทั้งรูปและนาม
จากในข้อ 5 ที่เรารู้นามอย่างเดียว ทีนี้ลองรับรู้รูปไปด้วย (โดยไม่ทิ้งนาม) ความรู้สึก
ของสติที่แข็งเกินควรจะลดลง ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นและสัมผัสได้คือ
ความไม่แบ่งแยกเขาเรา เห็นคนอื่นเหมือนเห็นตัวเอง โดยไม่มีคำพูด หรือความคิดใดเอื้อนเอ่ย
สิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าก็คือ โลกแห่งความเป็นจริง ที่ไร้น้ำหนัก ในสภาพแห่งสุญญตา
คือปราศจากอุปทานใดๆ ทั้งปวง
(ในข้อนี้อาจจะสอดคล้องกับที่พี่สันตินันท์แนะนำให้น้องคนหนึ่ง ส่งจิตออกนอก
แต่เป็นการส่งออกนอกโดยไม่ทิ้งจิตที่เห็นจิตภายใน)

ที่กล่าวมานั้นพูดถึงการกำหนดจิตอย่างเดียวนะครับ มีอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้คำนึง เช่น
1. การเดินวิปัสนาอาจพลิกกลับไปอยู่ในภูมิสมถะได้ถ้า เราไม่ได้เฝ้ารู้อย่างเดียว
   แต่เผลอคิดไปด้วย
2. การเห็นไตรลักษณ์ของธรรมอันจะนำไปสู่การไถ่ถอนจากอุปทานทั้งปวง
   ถือว่าเป็นความรู้ (ปัญญา) อันหนึ่งที่เกิดขึ้นเอง (โดยไม่ต้องคิดนำ) เมื่อจิต
   เห็นโลกตามที่เป็นจริง
... ฯลฯ (ยังคิดไม่ออกครับ)
โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 12:03:00

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 13:07:24
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 13:12:26
4. การกำหนดจิตให้รู้พร้อมทั่วทั้งตัว

อันนี้ขยับเข้ามาใกล้วิปัสนาแล้ว คือเรากำหนดจิตให้เห็นและรู้สึกทั่วทั้งตัว
มีความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ รู้สึกตัวเหมือนหุ่นยนต์เดินไปมา
มีตาเหมือนกล้องวีดีโอ
การกำหนดจิตแบบนี้ทำให้ความรู้อย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือความรู้ว่า กายกับจิตนั้นแยกจากกัน


อันนี้ขอยืนยันครับ ว่าเป็นจริงเช่นนั้น
โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 13:12:26

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ สันตินันท์ วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 14:59:00
ต้องกล่าวอีกครั้งว่า
คุณมะขามป้อม ถอดหัวใจผมออกมาเขียนทีเดียว
เฉียบคมอย่างนี้ เป็นที่พึ่งของหมู่เพื่อนได้อย่างดีทีเดียว
สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

ขันธ์ 5 และสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้น โดยตัวมันเองปราศจากน้ำหนัก
แต่เพราะอุปาทาน หรือความยึดถือ มันจึงเกิดมีน้ำหนักขึ้น
เรียกว่า เป็นเครื่อง หนักอกหนักใจ
โดยคุณ สันตินันท์ วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 14:59:00

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 15:33:36
ที่จริงผมเริ่มเขียนเรื่องนี้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
เหตุเพราะว่าในวันพฤหัสนั้นเป็นวันที่ผมรูสึกหงุดหงิดโมโห(กับลูก ฮิ ฮิ)
ก็เลยใช้เวลาปฏิบัติในวันศุกร์มากหน่อย(อู้งาน)
เลยไปพบกับข้อแตกต่าง (ที่สังเกตยาก) อันหนึ่งของ
การกำหนดจิต และก็คิดว่าที่พูดในเรื่องการเดินจงกรมนั้นยังไม่สมบูรณ์นัก
เลยอยากนำมาเล่าสู่กันฟังใหม่ โดยจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้นครับ

ี่เห็นกระทู้เรื่องแนวทางปฏิบัติธรรม ของพี่สันตินันท์ กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วย
ก็แปลกใจเหมือนกันครับที่จิตนึกถึงเรื่องเดียวกันโดยบังเอิญเช่นนี้
โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 10 มกราคม 2543 15:33:36

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ นิดนึง วัน อังคาร ที่ 11 มกราคม 2543 09:23:49
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ มะเหมี่ยว วัน อังคาร ที่ 11 มกราคม 2543 17:35:42
ขอบคุณมากค่ะ คุณมะขามป้อม
ที่ช่วยแยกแยะการกำหนดจิต ให้เข้าใจชัดขึ้น
โดยคุณ มะเหมี่ยว วัน อังคาร ที่ 11 มกราคม 2543 17:35:42

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ กระต่าย วัน พุธ ที่ 12 มกราคม 2543 14:07:47
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ aek123 วัน พุธ ที่ 12 มกราคม 2543 18:37:31
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ โจ้ วัน พุธ ที่ 12 มกราคม 2543 20:22:56

ขอบพระคุณมากค่ะ
โดยคุณ โจ้ วัน พุธ ที่ 12 มกราคม 2543 20:22:56

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ แมวแก่ วัน เสาร์ ที่ 15 มกราคม 2543 00:24:48
ขอบพระคุณมากครับ คุณมะขามป้อม _/|\_
โดยคุณ แมวแก่ วัน เสาร์ ที่ 15 มกราคม 2543 00:24:48

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ lek วัน อังคาร ที่ 18 มกราคม 2543 14:55:32
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน ศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 16:29:22
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com