กลับสู่หน้าหลัก

เรียนถามพี่สันตินันท์ เรื่องกิเลส-การกำหนดอิริยาบทที่สงสัยครับ

โดยคุณ มวยวัด วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 08:05:10

สงสัยมาหลายทีแล้ว พอสงสัยก็รู้ความสงสัยความสงสัยก็เลยหายไป ทีนี้เรื่องที่ยังสงสัยมันไม่ได้หายตามไปด้วยน่ะครับ : )

คือในเวลาที่เราอยู่ในชีวิตปกติเช่นทำงาน ,นั่งอ่านหนังสือ, ฯลฯ บางคราวก็สังเกตุพบว่าในอิริยาบทบางอย่าง โมหะจะเยอะ ในอิริยาบทบางอย่างราคะจะมาก ทีนี้พอรู้ว่าอย่างนั้นปุ๊บ ผมก็เปลี่ยนอิริยาบททันทีเช่น การนั่งอ่านหนังสือ ถ้านั่งงอหลัง โมหะก็จะเยอะเป็นพิเศษ(ไม่รู้คนอื่นเป็นเหมือนกันหรือเปล่า) ผมก็เลยเปลี่ยนเป็นนั่งหลังตรง โมหะก็คลายตัวลงไป หรืออีกหลายๆอิริยาบท
ทีนี้ก็เลยสงสัยว่า นี่เป็นการปฏิเสธอารมณ์หรือเปล่าน่ะครับ เพราะเกรงว่าถ้าตัวนี้หายปุ๊บกิเลสอีกตัวจะมาแทนโดยที่เราไม่รู้ตัวน่ะครับ(นานเข้าเดี๋ยวจะคิดเป็นว่ากิเลสนี่เป็นของง่ายแค่เปลี่ยนอิริยาบท กิเลสนั้นก็หายกลายเป็นว่าจะส่งเสริมอัตตาอีกน่ะครับ)
โดยคุณ มวยวัด วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 08:05:10

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ สันตินันท์ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 11:27:33
เรื่องอิริยาบถกับกิเลสมันก็สัมพันธ์กันจริงๆ ครับ
แล้วบางทีก็เป็นเหตุเป็นผลที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดเอาเอง
เช่นนั่งหลังงอแล้วโมหะมาก (เพราะเริ่มนั่งด้วยความเกียจคร้าน นั่งไปแล้วโมหะครอบง่าย)
หรือโมหะมากเลยนั่งหลังงอ (เพราะใจห่อเหี่ยว หลังก็เลยงอไปด้วย)
นั่งหลังตรงแล้วโมหะคลาย (เพราะฮึดสู้ ไม่ยอมจมอยู่กับความหดหู่ซึมเซา)
หรือรู้ว่ามีโมหะ โมหะจึงคลายแล้วนั่งหลังตรง

บางอิริยาบถเช่นการเดินจงกรม พอจิตเป็นสมาธิ จะตั้งมั่นได้นาน
บางอิริยาบถเจริญสติยาก เช่นอิริยาบถนอน
ท่านจึงสอนเรื่องเนสัชชิก คือการไม่นอน
โดยไม่เคยสอนเรื่องการไม่ยืน ไม่เดิน ไม่นั่ง

ดังนั้น อิริยาบถ อย่างไรก็เกี่ยวข้องกับจิตใจและกิเลสเหมือนกัน

คราวนี้มาถึงปัญหาโลกแตกที่ คุณมวยวัด ถาม
คือเมื่อรู้ว่ามีโมหะ(สังขาร)แล้วควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือไม่
หรือจะสู้ตายจนชนะอยู่ในอิริยาบถเดิม
คำถามนี้คล้ายๆ กับคำถามของผู้ที่นั่งภาวนานานๆ จนปวดขา
แล้วสงสัยว่า ควรนั่งดูความเจ็บปวด(เวทนา) หรือควรเปลี่ยนอิริยาบถ

คำตอบก็คือทำได้ทั้งสองอย่างครับ
จะเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดสังขารที่ไม่ดี หรือลดเวทนาที่เป็นทุกข์
หรือจะอดทนจนชนะ ก็แล้วแต่ถนัดครับ
แต่ถ้าทนแล้วไม่ชนะ(โมหะ) มีแต่จะถูกครอบงำหนักขึ้นเรื่อยๆ
การถอยเสียหน่อย โดยเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้จิตมีกำลังต่อสู้ใหม่
ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรือเสียศักดิ์ศรีของนักปฏิบัติหรอกครับ
ที่สำคัญคือ ให้มีสติตามรู้โมหะหรือทุกขเวทนานั้น
อยู่ตลอดเวลาในขณะที่เปลี่ยนอิริยาบถ
โดยคุณ สันตินันท์ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 11:27:33

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ สันตินันท์ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 11:39:08
ฝากข่าวถึง คุณดังตฤณ หน่อยครับ
ดีแล้วครับ ที่ไม่เสียเวลาไปถกเถียงกับคุณคาวี ฯลฯ ในลานธรรม
เพราะเรื่องพระพุทธเจ้าจะเข้าสมาบัติกี่แสนโกฏิขณะเพื่อปรินิพพาน
ตามที่อ้างอิงตำราชั้นหลังๆ นั้น
ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
และหาข้อพิสูจน์อะไรไม่ได้เลย

ลานธรรมเป็นลานกว้างเหมือนลานวัดครับ
ใครๆ ก็ผ่านไปผ่านมา
จะให้สงบสบายเหมือนห้องกรรมฐานอย่างวิมุตตินี่คงไม่มีทางสำเร็จ
มาถึงจุดนี้ ก็อดจะอนุโมทนากับคุณพัลวันกับป๋องอีกครั้งไม่ได้
ที่ช่วยกันซุ่มสร้างที่สงบๆ นี้ ไว้ให้เราได้คุยกัน
โดยคุณ สันตินันท์ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 11:39:08

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ นิดนึง วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 11:46:40
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ ทรายแก้ว วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 12:27:59
สาธุค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
โดยคุณ ทรายแก้ว วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 12:27:59

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ dolphin วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 12:40:30
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ ชิม วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 13:47:04
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ บัวใต้น้ำ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 14:21:21
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 14:21:42
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ ดังตฤณ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 18:45:31
พี่สันตินันท์ไม่ได้ฝากข้อความถึงผมหรอก
เพราะเพิ่งกินข้าวกันวันนี้เอง
แต่คงฝากถึงพวกเราทุกคนมากกว่า

อย่าไปยุ่งกับคนพาลเลยครับ

แสนโกฏินั้น ผมค้นดูทั่วแล้ว
เป็นสำนวนแน่นอน ไม่ใช่การระบุจำนวน
โดยคุณ ดังตฤณ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 18:45:31

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ มวยวัด วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 19:59:06
_/\_
ขอบพระคุณครับ

น้อมรับนำไปปฏิบัติต่อไปครับ
และอย่างที่อยากรู้คือจะไม่กลายเป็นส่งเสริมอัตตาหรือครับถ้าเราใช้วิธีเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ
โดยคุณ มวยวัด วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 19:59:06

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 20:08:48
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ แมวแก่ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 22:07:25
มาน้อมรับคำเตือนครับคุณอาและพี่ดังตฤณ _/|\_
ต่อไปนี้จะไม่ไปวิวาทกับเขาแล้วครับ :-)
โดยคุณ แมวแก่ วัน อังคาร ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 22:07:25

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ สันตินันท์ วัน พุธ ที่ 1 มีนาคม 2543 09:09:44
ตอบคุณมวยวัด
ถ้าเฝ้ารู้ทันใจตนเองอยู่ มันไม่เป็นอัตตาขึ้นมาหรอกครับ
แต่ถ้าเผลอเมื่อไร ทำอะไรก็เกิดอัตตาครับ

********************************
โวหารในพระไตรปิฎกนั้น ถ้าน้อย ท่านมักใช้ว่า 3 บ้าง 7 บ้าง
ถ้ามาก ท่านนิยมใช้เลข 500
ส่วนแสนโกฏิหมายถึงมากไม่มีประมาณ เช่น
      [๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดีย-
รัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณา
ได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคล
ภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า


ส่วนเรื่องสติปัฏฐานนั้นปรากฏในตำราทุกชั้นครับ
ลองไปอ่านจาก โฮมเพจของคุณผู้คัดลอก ได้ครับ น่าอ่านดีมาก
จะเริ่มด้วยการยกพระสูตรและอรรถกถาฉบับมหามกุฏฯ ขึ้นมาแสดงไว้
ถัดจากนั้น ก็ต่อท้ายว่า เรื่องนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง
อ่านจากพระสูตรและอรรถกถาจะไม่เข้าใจ
จำเป็นจะต้องอ่านจากอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 9
เมื่ออ่านจากอภิธัมมัตถสังคหะแล้ว ก็ยังยากไปอีก
ต้องอ่านคำบรรยายของอาจารย์ในยุคนี้อีก 3 ประเด็น
คือเรื่องพื้นฐาน เรื่องรูป และเรื่องนาม
สุดท้ายก็มาลงที่คำสอนของอาจารย์นี่แหละครับ

การตีกรอบให้เอาพระไตรปิฎกขึ้นหิ้ง เพราะเป็นเรื่องเกินปัญญามนุษย์
แล้วให้ฟังคำสอนของอาจารย์นั้น
เป็นวิธีคิดที่ธรรมดาอย่างนี้เหมือนกันทุกสำนักเรียน(เท่าที่ผมทราบ)
แล้วพฤติกรรมของศิษย์ที่หล่อหลอมออกมาก็จะคล้ายคลึงกัน
อย่างที่เราเห็นหมุนเวียนกันเข้ามาในลานธรรมเสมอๆ นั่นเอง

ถึงขนาดท่านเจ้าคุณระแบบ ซึ่งท่านเป็นพระนักการศึกษาที่เชี่ยวชาญมากองค์หนึ่ง
ท่านเคยพูดไว้หลายครั้งว่า
ผู้ศึกษาแนวนี้มักจะมี อหังการ เพราะกระทั่งตำราเรียนของเขา
ยังมักจะเริ่มต้นด้วยการประนามผู้อื่นว่าด้อยปัญญา
พอเรียนมากๆ ก็เลยเคลิ้มตาม
ท่านเจ้าคุณแสดงความเห็นต่อไปว่า
การเรียนพระไตรปิฎกนั้น ท่านวางหลักสูตรไว้ดีแล้วว่า
ให้เริ่มศึกษาจากพระวินัย เพื่อดำรงตนให้ดีงามเสียก่อน
แล้วศึกษาพระสูตร คือพระธรรมคำสอนตรงของพระศาสดา
ส่วนอภิธรรมนั้น แท้จริงคือคำอธิบายธรรม (เหมือนอย่างอภิวินัยคือคำอธิบายวินัย)
ถ้าจะเรียนก็ควรเรียนหลังสุด เพราะเป็นปิฎกสุดท้าย
แต่แล้วสิ่งที่เรียนกัน ก็ยังไม่ใช่พระอภิธรรมปิฎกเสียอีก

แต่เขาจะผิดจะถูกอะไรมันก็เรื่องของเขา
เราศึกษาหาความรู้ส่วนที่ดีมาขัดเกลาตนเองเป็นดีที่สุด
เพราะถ้าจะหาเรื่องไปแย้งกันนั้น แย้งกันไม่จบหรอกครับ
กิเลสที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิด ที่เกิดแล้ว ก็จะเฟื่องฟูขึ้น
เสียเวลาเปล่าๆ ครับ
โดยคุณ สันตินันท์ วัน พุธ ที่ 1 มีนาคม 2543 09:09:44

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน พุธ ที่ 1 มีนาคม 2543 12:44:18
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ มวยวัด วัน พฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม 2543 07:46:40
_/\_
ขอบพระคุณครับ
โดยคุณ มวยวัด วัน พฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม 2543 07:46:40

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ Lee วัน เสาร์ ที่ 4 มีนาคม 2543 17:25:52
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ Acura วัน พฤหัสบดี ที่ 23 มีนาคม 2543 06:12:40
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com