กลับสู่หน้าหลัก

ที่ใดมีสัมมาสมาธิ-ที่นั้นมีสติสัมปชัญญะ ที่ใดมีสติสัมปชัญญะ-ที่นั้นมีสัมมาสมาธิ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 18:36:12

เห็นข้อเขียนของ คุณพัลวัน อยู่แว้บๆ ว่า 
"ฝึกสติสัมปชัญญะ ยากกว่าฝึกสมาธิ" 
นับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ จึงนำมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ 

อันที่จริงการฝึกสติสัมปชัญญะนั้น ยากกว่าการฝึกสมาธิบางประเภท 
และเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับการฝึกสมาธิบางประเภท 

ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ ประเภทสงบแบบมีราคะและโมหะชุ่มแช่เอิบอาบนั้น 
ยอมรับครับว่า ทำได้ง่ายกว่าการฝึกสติสัมปชัญญะมาก 
เพราะการจมแช่กิเลส เป็นเรื่องที่จิตคุ้นเคยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว 
แม้ไม่มีพระพุทธเจ้า สภาวะอย่างนี้ก็มีเป็นสาธารณะ 
ส่วนการเจริญสติสัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่หากได้ยากในสังสารวัฏนี้ 
มีแต่ในยุคสมัยที่มีพระศาสนาเท่านั้น จึงจะมีคำสอนชนิดนี้ 
ดังนั้น ผู้ร่อนเร่ในสังสารวัฏ จึงมีโอกาสคุ้นกับมิจฉาสมาธิ 
ได้มากกว่าจะคุ้นกับสติสัมปชัญญะ 
ด้วยเหตุนี้ พอนั่งทำความเพียรไม่นาน 
ส่วนมากจิตก็จมแช่ลงในความซึมเซาหรือสุขสบาย 
แล้วก็ติดอยู่เพียงนั้นเอง 

ส่วนสัมมาสมาธินั้น เป็นเครื่องอบรมขัดเกลาส่งเสริมสติสัมปชัญญะ 
เพราะการเจริญสัมมาสมาธินั่นแหละ 
คือเครื่องทำสติสัมปชัญญะให้บริสุทธิ์หมดจด
ซึ่งเรื่องนี้พระศาสดาทรงสอนไว้ในเรื่องสัมมาสมาธิ
และผมเคยนำมาเขียนไว้หลายคราวแล้ว
สมาธิที่เกื้อกูลต่อสติสัมปชัญญะนี้เอง
คือสภาพที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่า สมาธิอบรมปัญญา
เพราะสัมปชัญญะนั้นเอง คือตัวปัญญาสัมมาทิฏฐิ
ดังนั้นจะกล่าวว่า ที่ใดมีสัมมาสมาธิ ที่นั้นมีสติสัมปชัญญะ ก็กล่าวได้

ทีนี้เมื่อมีสติสัมปชัญญะแล้ว 
สติสัมปชัญญะนั้นเอง ก็กลับมาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงสัมมาสมาธิ
ดังคำที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่า ปัญญาอบรมสมาธิ
เพราะสัมปชัญญะคือตัวปัญญานั่นเอง
จิตที่มีปัญญาเห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง ก็ย่อมง่ายที่จะตั้งมั่น
เพราะจิตไม่หลงใหลแส่ส่ายไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา
ดังนั้นจะกล่าวว่า ที่ใดมีสติสัมปชัญญะ ที่นั้นมีสัมมาสมาธิ ก็ได้เหมือนกัน

กระทู้นี้เขียนเพียงย่อๆ นะครับ
เพราะเดี๋ยวนี้พวกเรารู้เรื่องธรรมะกันมากอยู่แล้ว
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 18:36:12

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ ป๋อง วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 19:05:43
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ บิ๊ก วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 19:57:51
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ วีระวงศ์ วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 20:01:29
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ ธีรชัย วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 20:25:16
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ แมน วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 22:33:59
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ ไมค์ วัน เสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2543 22:53:48
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ พัลวัน วัน อาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม 2543 07:01:41
ครับ คำว่าสมาธิที่ผมกล่าวไว้ตรงนั้น หมายถึงสมาธิแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว แบบที่เคยฝึกฝนอยู่ในอดีตครับ ที่เรียกกันสั้นๆได้ว่า มิจฉาสมาธิ

เหตุที่รู้ว่าเป็น มิจฉาสมาธิ ก็เพราะสังเกตได้ง่ายๆครับว่า เป็นคนที่โกรธง่ายขึ้น และใจเป็นทุกข์มากขึ้น มีความเครียดมากขึ้น

แม้ว่าตอนนั้นผมฝึกโดยใช้คำภาวนาพุทโธก็ตาม แต่ก็เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะไม่รู้ว่าในขณะที่ฝึกสมาธินั้น ต้องให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ด้วย

โดยคุณ พัลวัน วัน อาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม 2543 07:01:41

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ นิดนึง วัน อาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม 2543 08:19:05
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ chim วัน อาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม 2543 10:14:23
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ หนุ่ย วัน จันทร์ ที่ 20 มีนาคม 2543 08:45:52
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 20 มีนาคม 2543 10:04:50
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ หนึ่ง วัน จันทร์ ที่ 20 มีนาคม 2543 13:14:16
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ กระต่าย วัน จันทร์ ที่ 20 มีนาคม 2543 13:46:02
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ โจโจ้ วัน จันทร์ ที่ 20 มีนาคม 2543 14:55:52
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน จันทร์ ที่ 20 มีนาคม 2543 16:27:28
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ Acura วัน อังคาร ที่ 21 มีนาคม 2543 03:45:14
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน อังคาร ที่ 21 มีนาคม 2543 08:53:08
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ อู๊ด วัน อังคาร ที่ 21 มีนาคม 2543 08:58:45
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ ชิ้ง วัน อังคาร ที่ 21 มีนาคม 2543 19:16:34
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ dolphin วัน พุธ ที่ 22 มีนาคม 2543 08:26:57
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ or44 วัน พฤหัสบดี ที่ 23 มีนาคม 2543 08:03:42
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ นกเอี้ยง วัน พฤหัสบดี ที่ 23 มีนาคม 2543 14:12:38
^-^ _/|\_
โดยคุณ นกเอี้ยง วัน พฤหัสบดี ที่ 23 มีนาคม 2543 14:12:38

ความเห็นที่ 23 โดยคุณ สายขิม วัน ศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2543 12:13:01
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 24 โดยคุณ ปิ่น วัน ศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2543 12:53:30
สาธุ ขอบคุณครับ _/|\_
โดยคุณ ปิ่น วัน ศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2543 12:53:30

ความเห็นที่ 25 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2543 14:11:26
วันนี้มีเมล์ฉบับหนึ่งเขียนมาคุยกับผม เพราะสงสัยว่า
จิตผู้รู้ ธรรมเอก เอโกทิภาวะ ความรู้ตัว สมาธิ นิวรณ์
มันเกี่ยวพันกันอย่างไร อะไรมาก่อนมาหลัง
ผู้ถามเป็นคนที่คุ้นเคยกันมานาน
สำนวนโวหารทั้งการถามและการตอบจึงดุเดือดอยู่สักหน่อย
นึกว่าฟังธรรมะอีกรสชาดหนึ่งก็แล้วกันครับ

***************************************

> อย่างงี้จ้ะพี่ ไพอ่านพระสูตรแล้วรู้สึกว่า
> พระพุทธเจ้าท่านจะอยู่ในอารมณ์สมาธิตลอด
> มักจะมีประโยคที่ว่า จิตตั้งมั่น ปราศจากกิเลส
> นุ่มนวล อ่อนโยน ควรแก่การงาน
> แล้วก็คำว่า ธรรมเอก ด้วย
> คือ..ไพเริ่มงง ว่า การที่มีตัวรู้ เพื่อให้เกิดธรรมเอก
> เกิดจิตตั้งมั่น หรือว่าจิตตั้งมั่นก่อน ถึงจะเกิดตัวรู้
> เวลาอ่านพระสูตรแล้ว เหมือนจะเข้าใจว่า
> ต้องมีอารมณ์ตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อน แล้วถึงจะสามารถ
> รู้ตัวว่าจิตเคลื่อนออก ถึงจะรู้เห็นกิเลส
> แต่ตอนโน้น..ที่พี่เคยพูดถึงเอโกทิภาวะว่าเกิดจาก
> ละนิวรณ์ก่อน ยังไงนะพี่ นี่ไพงงมากเลย เหมือนมัน
> สลับสับกันยังไงก็ไม่รู้

มันไม่สลับที่หรอกจ้ะน้องยุ่ง ในการทำจิตให้เป็นสัมมาสมาธินั้น
พระพุทธเจ้าท่านแนะให้รู้นิวรณ์เข้าไปเลย
เหมือนอย่างที่พี่บอกให้ไพรู้วิจิกิจฉาคือความลังเลสงสัยนั่นเอง
เมื่อรู้ไปจนนิวรณ์ไม่สามารถครอบงำจิตได้ หรือนิวรณ์ดับไปเลยก็ได้
ก็จะเหลือแต่จิตที่ปราศจากนิวรณ์ จิตก็เป็นสมาธิโดยอัตโนมัติ
เพราะจิตนั้นเดิมมันก็ผ่องใสดีอยู่แล้ว แต่มันเศร้าหมอง
มันขาดสมาธิก็เพราะกิเลสนิวรณ์มาหลอกให้มันแส่ส่าย
เช่นเกิดความสงสัยแล้วก็แส่ส่ายคิดไม่เลิก มันก็เลยไม่มีสมาธิ

เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์จิตก็สงบ
ถึงจุดนี้มีทางแยกคือถ้าแยกไปทางมิจฉาสมาธิ
ก็ปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มสบายไปเลย
แต่ถ้าจะทำสัมมาสมาธิ ถึงตรงนี้ให้สังเกตจิตตนเอง
จะเห็นว่าความสุขสงบที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้
เมื่อเห็นว่าอารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกรู้ เราก็จะรู้จักกับ"จิตผู้รู้"
หรือ"ธรรมเอก"  หรือ"เอโกทิภาวะ" ทั้ง 3 ชื่อนี้ก็คืออันเดียวกัน
มันจะเป็นจิตผู้รู้ เป็นจิตที่นุ่มนวล อ่อนโยน ตั้งมั่น ควรแก่การงาน

ทีนี้ถ้าเราชำนิชำนาญในการรู้ตัว
ก็คือการที่อารมณ์ไม่อาจครอบงำจิตผู้รู้ได้ พอรู้ตัวปุ๊บ
จิตผู้รู้หรือธรรมเอก ก็เด่นชัดในความรู้สึกอยู่แล้ว
เวลากิเลสอะไรผ่านมา จะเห็นมันเกิดดับไปได้อย่างชัดเจนทีเดียว
และจิตผู้รู้นี้ ควรทำให้มีขึ้นตลอดเวลาที่ตื่นอยู่
ท่านจึงกล่าวว่าจิตต้องมี(สัมมา)สมาธิอยู่ตลอดเวลา
ถ้ามีจิตผู้รู้ ก็คือมีสมาธินั่นเอง
เพราะจิตผู้รู้หรือธรรมเอกนั้น ท่านอธิบายไว้ชัดเจนว่า
คือจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ

ส่วนไพไม่ยอมมีจิตผู้รู้ มีแต่จิตผู้หลง
คือหลงตามนิวรณ์อันได้แก่ความลังเลสงสัยเรื่อยไป
รวมความแล้ว ไม่เคยทำอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเลย
คือท่านสอนให้รู้นิวรณ์เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ (ธรรมเอก/จิตผู้รู้)
เพื่อจะได้เห็นความเกิดดับของกิเลสอารมณ์อย่างชัดเจน
ไพกลับเชื่อนิวรณ์ พอสงสัยก็คิดค้นคว้าวุ่นวายไปเลย
แล้วอย่างนี้จะไปรู้จักจิตผู้รู้หรือธรรมเอกได้อย่างไร
แล้วก็เลยสงสัยว่า จิตจะเป็นสมาธิตลอดเวลา(ที่ตื่น)ได้อย่างไร

> คือไพก็มาดูตัวเองนะพี่ จิตไพไม่เคยอยู่นิ่งๆ
> ตั้งมั่นเลย
> เป็นเพราะเหตุนี้รึเปล่าที่ทำให้ไม่ทันกิเลส ฟุ้งตลอด
> ไพควรจะทำสมาธิให้ได้ก่อนมั้ยนะพี่ แต่ตรงนี้ก็ลำบากอีก
> ไพไม่เคยนั่งสมาธิให้อยู่นิ่งๆได้เกิน 3 นาทีเลย
> เอ๊อ..รู้สึกมันชักวุ่นวายไปหมด เอายังไงดีน้อ..

ก็ไม่ยอมเฝ้ารู้นิวรณ์ไปนี่นา เอาแต่คิด กิเลสก็เอาไปกินหมดสิ
แล้วพอย้อนมาดูจิตนิดๆ หน่อยๆ ก็มาสงสัยว่าทำไมมันวุ่นวายนัก
จะไม่ให้มันวุ่นวายได้อย่างไร ก็ในเมื่อสั่งสมความวุ่นวายเอาไว้มากมาย
พอปฏิบัตินิดเดียวไพจะให้มันสงบเลยเป็นไปไม่ได้หรอก
เหมือนน้ำในบ่อมันใสๆ ก็ลงไปเดินลุยเล่นจนขุ่นข้น
พอขึ้นจากบ่อก็หันไปบ่นว่า  เอ.. ทำไมน้ำ มันไม่ใสเสียที
ก็เฝ้าดูน้ำขุ่นเรื่อยๆ ไปสิ
แล้วคอยดูว่ามันจะใสได้ไหม ถ้าเราไม่ไปทำเหตุให้มันขุ่นขึ้นมาอีก
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2543 14:11:26

ความเห็นที่ 26 โดยคุณ นิดนึง วัน ศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2543 16:15:26
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 27 โดยคุณ naruntorn วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 01:11:58
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 28 โดยคุณ naruntorn วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 01:12:11
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 29 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 07:55:41
พี่ไพครับ ปกติคนที่ศึกษาตามระบบของเมืองไทยที่ผ่านมานะครับ มักจะถนัดในการคิดครับ และเราก็ห้ามคิดไม่ได้หรอกครับ แต่เราเอาความคิดมาเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดความรู้ตัวได้ครับ โดยการรู้ตามไปในความคิดครับ ความคิดเมื่อถูกรู้ ก็จะดูเหมือนว่าเราได้ยินเสียงของเราเองอยู่ในศีรษะครับ เสียงของความคิดก็เหมือนกับเวลาเราอ่านหนังสือในใจน่ะครับ เป็นเสียงอันเดียวกันครับ การตามรู้ไปอย่างนี้ บางทีเราก็จะเห็นว่ามันร้องเพลงบ้าง บ่นอะไรไปตามเรื่องบ้าง และหากตัวนี้มันปรุงแต่งใจได้มาก มันก็อาจจะทำให้เกิดความสุขบ้าง ความทุกข์บ้าง เกิดเป็นภาพเป็นเรื่องเป็นราวไปบ้าง หากในยามหลับก็เป็นความฝันไปเลยก็มีครับ (แต่เอ... พี่ไพจะเข้ามาอ่านตรงนี้หรือเปล่าหนอ...)

โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 07:55:41

ความเห็นที่ 30 โดยคุณ แมน วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 08:45:15
ไม่ขอออกความเห็นครับ แต่อ่านไปก็อดขำๆกับอาตุ้มไม่ได้ :)
โดยคุณ แมน วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 08:45:15

ความเห็นที่ 31 โดยคุณ ไพ วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 14:19:09
ไม่ออกความเห็น ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 32 โดยคุณ ไพ วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 14:24:52
ขอบคุณมากค่ะคุณน้องตึก(:-) ก็เรียกพี่ไพ เลยให้เป็นน้องตึกซะเลย)
จะลองทำตามที่คุณน้องตึกแนะนำนะ
(สงสัย..แมนขำอะไรเหรอ)
โดยคุณ ไพ วัน จันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2543 14:24:52

ความเห็นที่ 33 โดยคุณ ทองจันทร์ วัน พฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคม 2543 12:30:32
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 34 โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 7 มิถุนายน 2543 20:07:18
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com