กลับสู่หน้าหลัก

สมบัติที่เป็นเลิศกว่าสมบัติทั้งปวง

โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 07:46:48

วันก่อนได้มีโอกาสไปตอบกระทู้ในลานธรรมเสวนา เรื่องอธิษฐาน ก็เลยมีประเด็นถามตนเองว่า คนเราอธิษฐานไปเพื่ออะไร ก็ได้คำตอบว่า คงจะมีจุดประสงค์ที่พอจะแบ่งได้เป็น 3 ประการ คือ

1. อธิษฐานปราถนาพุทธภูมิ ของเหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
2. อธิษฐานปราถนานิพพาน
3. อธิษฐานปราถนาสวรรคสมบัติ และ/หรือ มนุษยสมบัติ

ใจก็นึกต่อไปว่า สวรรคสมบัติ / มนุษยสมบัติ เป็นสิ่งที่น่านึกปราถนาจนต้องอธิษฐานจิตหรือเปล่า คำถามนี้ใจก็ทบทวนกลับไปกลับมาก็หวนนึกไปถึงเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ศาลาลุงชินในขณะที่ฟังพระ(หลวงปู่เหรียญด้วย)ท่านให้พร ก็ทำให้นึกได้ว่า แท้จริงแล้ว สติ-สัมปชัญญะต่างหากที่เป็นเลิศกว่าสมบัติทั้งปวง อยู่เหนือมนุษยสมบัติ และสวรรคสมบัติ เหตุที่มีความเห็นเป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า ในขณะที่มี สติ-สัมปชัญญะ อยู่นั้น จิตผู้รู้มิได้มีการเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่รู้ๆไปเท่านั้นเอง จิตผู้รู้เป็นอิสระ สบาย ร่าเริง เป็นที่สุด จะหาความสุขที่ไหนมามากกว่านี้อีก มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ แม้ครอบครองอยู่ ต่างก็เป็นภาระที่ต้องให้บริหารอยู่ แต่สติ-สัมปชัญญะเมื่อครอบครองอยู่กลับไม่ต้องบริหารอะไรเลย ไม่เป็นภาระ และไม่เป็นโทษภัยใดๆ จิตในขณะนั้นเหมือนน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบัวจริงๆ โดยที่เหมือนใบบัวตรงที่ เมื่อไปรู้ในสิ่งใดก็ไม่เกาะเกี่ยวแปดเปื้อนด้วยอารมณ์นั้น เหมือนใบบัวที่ไม่เปื้อนน้ำที่กลิ้งอยู่ และในขณะเดียวกัน ก็ช่างมีอิสระและว่องไว เหมือนดั่งน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบัว ที่กลิ้งไปมาได้ว่องไว และไม่มีน้ำไปติดหรือเปียกใบบัวแม้แต่ส่วนใดๆ เหมือนกับอาการของจิตที่เมื่อละออกมาจากรู้แล้ว ก็วางไว้ไม่เอามาเป็นภาระอีกต่อไป ผมจึงมีความเห็น (ตามประสาคนธรรมดา) ว่า สติ-สัมปชัญญะ เป็นสมบัติที่เลิศกว่าสมบัติทั้งปวง
โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 07:46:48

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 08:07:52
เห็๋นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ผมว่าถ้าจะเปรียบแล้ว สติ-สัมปชัญญะ ก็คงเหมือนแก้วสารพัดนึก
คือถ้าผู้ใดมีและรักษาไว้ได้ หากจะอธิษฐานถึงสิ่งใด พุทธภูมิ, นิพพาน, สวรรค์ แล้ว
เขาย่อมสามารถเข้าถึงได้ดังใจปราถนา ที่พวกเรายังต้องวนไปวนในวัฎมาก็เพราะขาด
แก้วสารพัดนึกอันนี้แหล่ะครับ
โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 08:07:52

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 08:08:25
เห็๋นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ผมว่าถ้าจะเปรียบแล้ว สติ-สัมปชัญญะ ก็คงเหมือนแก้วสารพัดนึก
คือถ้าผู้ใดมีและรักษาไว้ได้ หากจะอธิษฐานถึงสิ่งใด พุทธภูมิ, นิพพาน, สวรรค์ แล้ว
เขาย่อมสามารถเข้าถึงได้ดังใจปราถนา ที่พวกเรายังต้องวนไปวนในวัฎมาก็เพราะขาด
แก้วสารพัดนึกอันนี้แหล่ะครับ
โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 08:08:25

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ ดังตฤณ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 08:15:53
พระพุทธองค์เปรียบสติเป็นรอยเท้าช้าง
ที่รอยเท้าสัตว์อื่นมารวมประชุมได้มากมาย
พูดง่ายๆว่าสัมมาสติเป็นเลิศสุดในฝ่ายกุศล
ผมมองว่าสติเป็นเครื่องรักษาสมบัติอันเปรียบดวงแก้ว
คือดวงจิตดวงใจอันเป็นมหากุศล
ดวงจิตดวงใจอันน้อมไปสู่พระนิพพานครับ
โดยคุณ ดังตฤณ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 08:15:53

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 08:35:25
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 09:29:18
สติสัมปชัญญะ เป็นธรรมมีอุปการะมาก
เพราะเป็นเครื่องมือ ให้ได้สมบัติในสุคติและ นิพพาน
เสียดายแต่ผู้ปฏิบัคิส่วนมาก ไม่มีสัมมาสติ
และไม่มีสัมปชัญญะคือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นตัวปัญญา
พูดง่ายๆ ก็คือขาดสติปัญญาในการปฏิบัติธรรม
จึงได้เพียงปฏิบัติตามๆ กันไป และไม่เห็นผลประจักษ์แก่ตนเอง
ว่าทุกข์น้อยลง และกิเลสตัณหาเบาบางลง
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 09:29:18

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ ปิ่น วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 18:39:44
สาธุครับ _/|\_
อย่างนี้เราปฏิบัติแล้วเห็นว่าจิตมีปิติ
ทุกข์น้อยลง กิเลสเริ่มเบาบาง  แม้ไม่เห็น
นิมิตอะไรเลย  ก็ถือว่าใช้ได้ใช่ไหมครับ?
โดยคุณ ปิ่น วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 18:39:44

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ หนึ่ง วัน จันทร์ ที่ 3 เมษายน 2543 21:51:48
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 08:17:57
เรียนถามพี่ปราโมทย์ครับว่า ที่พี่ว่า "ขาดสติปัญญาในการปฏิบัติธรรม"  นั้นหมายความว่ายังไงครับ
โดยคุณ ธาตุธรรม วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 08:17:57

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 16:06:27
ตอบคุณปิ่น
นิมิตไม่มีค่ามากไปกว่า รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยินครับ
คือเป็นแค่ส่ิงที่ถูกรู้เท่านั้น รู้แล้วไปหลงยินดียินร้ายก็เกิดโทษเสียอีก

เรียนคุณธาตุธรรม
เรื่องการขาดสติปัญญาในการปฏิบัติธรรมนั้น
ผมหมายถึงขาด(สัมมา)สติ และขาดปัญญาในการปฏิบัติธรรมครับ

เรื่องขาดสตินั้น จะเห็นได้ว่าผู้ปฏิบัติจำนวนมากนั้น
ปฏิบัติธรรมด้วยการเพ่งจ้องบังคับจิตและบังคับอารมณ์
บังคับจิต โดยมุ่งจะให้จิตสงบ ไม่ใช่เพื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง
บังคับอารมณ์คือจะขจัดอารมณ์ที่ไม่ดี จะเอา อารมณ์ที่ดี
จึงไม่ใช่การมีสติระลึกรู้อารมณ์อย่างเป็นกลาง เป็นปัจจุบัน ตามความเป็นจริง

ส่วนขาดปัญญานั้นมีหลายลักษณะ
เช่นขาดความเข้าใจในกฏของอริยสัจจ์
แทนที่จะรู้ทุกข์ และละสมุทัย(ตัณหา-ความอยาก)
กลับมีสมุทัย(อยาก) ที่จะละทุกข์
การปฏิบัติจึงไม่เคยเข้าข่าย รู้สักว่าถึงรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้เลย

อีกอย่างหนึ่งคือปฏิบัติไปทั้งที่จิตถูกครอบงำด้วยโมหะคือความหลง
อันนี้ก็เข้าข่ายว่าขาดปัญญาเหมือนกัน
เพราะกำลังหลงอยู่แท้ๆ กลับเข้าใจว่ากำลัง รู้ อยู่
ในพระไตรปิฎกท่านจึงจัดเอาความรู้ตัว หรืออสัมโมหะสัมปชัญญะ
ว่าเป็นตัวปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ

เรื่องการถูกโมหะครอบงำจนจิตไม่มีคุณภาพจริงนี้ เป็นเรื่องที่รู้ทันได้ยากครับ
ชาวลานธรรม/วิมุตติจำนวนมาก ก็ยังถูกเจ้าตัวนี้ครอบงำอยู่
ยังดีว่าหลายคนพอจะรู้ทัน เห็นถึงความหย่อนคุณภาพของจิต
ที่มัวๆ หม่นๆ ไม่รู้อารมณ์ด้วยความชัดเจนแจ่มใสจริง
ถ้ารู้ทันอย่างนี้ ก็พอจะหลุดพ้นจากโมหะได้ครับ
แต่ถ้ามองไม่ออก ก็ต้องถูกมันครอบงำเรื่อยไป

วันนี้มีเวลาจำกัด ตอบได้เท่านี้ก่อนนะครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 16:06:27

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 16:14:43
เพิ่มเติมอีกหน่อยครับ
ถึงไม่มีปีติก็ไม่เป็นไรนะครับคุณปิ่น
เอาเป็นว่า จิตมีปีติก็รู้ว่ามีปีติ จิตไม่มีปีติก็รู้ว่าไม่มีปีติ
ดีกว่าไปตั้งเกณฑ์ว่าจะต้องมีปีติ

ข้อความที่ตอบคุณธาตุธรรมมีคำผิดหน่อยหนึ่งครับ
ขอเปลี่ยน "การปฏิบัติจึงไม่เคยเข้าข่าย รู้สักว่าถึงรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้เลย"
เป็น "การปฏิบัติจึงไม่เคยเข้าข่าย รู้สักว่ารู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้เลย"
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 16:14:43

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ เจื้อย วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 17:57:06
_/i\_ สาธุค่ะ คุณอา

"อีกอย่างหนึ่งคือปฏิบัติไปทั้งที่จิตถูกครอบงำด้วยโมหะคือความหลง
อันนี้ก็เข้าข่ายว่าขาดปัญญาเหมือนกัน
เพราะกำลังหลงอยู่แท้ๆ กลับเข้าใจว่ากำลัง รู้ อยู่"

อันนี้หนูเป็นอยู่บ่อยๆ ชอบคิดว่าตัวเองรู้ แต่ไม่ได้รู้ตัวว่ากำลังคิด
แถมชอบลืมตัวเข้าไปบงการอยู่บ่อยๆ เช่นว่า
เอ๊ะ คิดแบบนี้เป็นอกุศล ไม่เอานะ อย่าไปคิด
และขณะคิดอย่างนั้น ก็ไม่ได้รู้ตัวว่ากำลังคิดง่ะ
หนูชอบถูกกิเลสหลอกเอาวันละหลายล้านรอบ
สงสัยยังต้องฝึกอีกนาน : )

โดยคุณ เจื้อย วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 17:57:06

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 21:59:29
คุณหนูเจื้อยครับ อย่าไปคิดเลยครับว่าต้องฝึกอีกนาน แต่ให้รู้ตัวตอนนี้เลยดีกว่าครับ ขณะที่อ่านนี่แหละ ซ้อมเว้นวรรคไว้ครับ
โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 4 เมษายน 2543 21:59:29

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ เจื้อย วัน พุธ ที่ 5 เมษายน 2543 10:28:56
_/I\_ ขอบพระคุณค่ะ คุณพัลวัน
ตอนนี้กำลังฟิตซ้อมอยู่ค่ะ  : )

สงสัยคงไม่ต้องฝึกอีกนานแล้วล่ะ อิอิ

โดยคุณ เจื้อย วัน พุธ ที่ 5 เมษายน 2543 10:28:56

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ ปิ่น วัน พุธ ที่ 5 เมษายน 2543 18:25:50
_/|\_ ขอบพระคุณพี่ปราโมทย์มากครับ
โดยคุณ ปิ่น วัน พุธ ที่ 5 เมษายน 2543 18:25:50

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ นกเอี้ยง วัน พฤหัสบดี ที่ 6 เมษายน 2543 15:17:47
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ ป๋อง วัน เสาร์ ที่ 8 เมษายน 2543 00:06:58
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ นิดนึง วัน จันทร์ ที่ 10 เมษายน 2543 09:12:04
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com