กลับสู่หน้าหลัก

คำสอนหลวงปู่ดูลย์(ต่อจากคำสอนฮวงโป)

โดยคุณ ไพ วัน พฤหัสบดี ที่ 6 เมษายน 2543 21:12:45

ปล. เห็นคุณธีรชัยลงคำสอนของฮวงโป
     ก็เลยลงคำสอนของหลวงปู่ดูลย์จากหนังสือ จิตคือพุทธะ
     ซึ่งช่วงแรกจะเหมือนคำสอนของฮวงโป จึงไม่ได้ลงไว้
     ลงช่วงที่เป็นของหลวงปู่ดูลย์เองเลยค่ะ
    .............................................................................
   จิต คือ พุทธ (สิ่งสูงสุด)  มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด
นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง  ลงไปจนกระทั่ง
สัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด  ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอก และแมลงต่างๆ
เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ  สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็น พุทธ เท่ากัน
หมด และทุกสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธ อยู่ตลอดเวลา

   ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ
แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้น  เท่านั้นมัน
ก็จะเป็นที่แน่นอนว่าไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

    จิต ของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการนึกคิด
ซึ้งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏ
ออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่
อะไรๆที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่
หรือไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึก
ไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์
หรือเป็นกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย

     ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆนั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมา
เป็นปรากฏการณ์ต่างๆเพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัว สติ ปัญญา
แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือ ไม่ได้เป็นตัวสติ ปัญญา
ที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติ
ว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่

     ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนอง
ต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทาง
อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวารอยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้
เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดิน
อยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญ จิต ให้หยุด
อยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น

     มูลธาตุทั้ง 5 ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญานนั้น มันเป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุ
ทั้ง 4 ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น
ไม่มีรูปร่างและไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้น เป็นสิ่งๆหนึ่ง
ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด
และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆในส่วนลึกจริงๆของมันทั้งหมด

     จิต ของเรากับสิ่งต่างๆซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆเดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจ
ได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้ง เห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเรา
เป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้ที่อยู่เหนือโลก เราไม่มีการ
โน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจาก
ความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งๆเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้บรรลุถึงภาวะ
แห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐาน
อยู่ในที่นี้
     สัมมาสัมโพธิ  เป็นชื่อของการเห็นชัดแจังว่า ไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ
ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา

      ปรัชญา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป
ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือ จิตและวัตถุ
เป็นของสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันนั้นแหละจะนำเราไปสู่ความเข้าใจลึกซึ้งและลึกลับ
เหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจจธรรมที่แทัจริง
โดยตัวเราเอง

      สัจจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิด
ด้วยอวิชชาและไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามี การตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่ง
ภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฎฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง
เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่างๆที่จิตของเรา
ได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่าง
นั้นได้อย่างไร

       โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆแห่งการกินเนื้อที่
คือ ปราศ่จากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฎฐิ
พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้วไม่มีอะไรเลย
ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มี พุทธ ทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่
แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่ง
การกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงาม
ที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น
มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วย
วิชชา มรรค จิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด

         สิ่งมีชีวิตและไม่มีขีวิต ในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้วมีรูปกับนาม
สองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิดตัวอวิชขา
เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิด
ปฎิกิริยาให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูด
ซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหวและหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหว
ได้ต้องมีนาม ความว่างกั้นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้

         เมื่อสภาวะธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้อง
เปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิดดับ สืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็น
ปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวง
แล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีขีวิตเปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต
จากรูปนามที่มีชีวิตมาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มี จิตวิญญาณ แล้ว จิตวิญญาณ
ก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูปนี้เป็นจุดสุดยอด
ของการหลอกลวงของรูปนาม

          ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่างๆตลอดทั้งดวงดาว
นับไม่ถ้วนเพราะไมมีที่สิ้นสุด รูป นาม พิภพต่างๆเป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืช
เป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนาม
จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิด
ปฏิกิริยาอยู่ในตัวให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และมีการเปลี่ยนแปลง เรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น
จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้น
ชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม

          สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และมีความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ-ปัจจัย
ภายนอก ภายใน ที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดงมีตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 อย่าง ไปกระทบกับ
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 อย่าง แล้วก็มาประทับบรรจุ บันทึกถ่ายภาพติดอยู่กับ รูปปรมาณู
ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ที่แฝงอยู่ในความว่าง
ระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น

           เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์เกิดอีก
เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่ม
หนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณ ด้วยเพศผู้ เพศเมีย เป็นสุขุมรูปติดอยู่ใน 5 กองนี้เป็นทวีคูณ
จนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป 5 กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น
รูปปรมาณู กลมคงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง ไม่หยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่
ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น
ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณจึงมีชีวิตคงทนอยู่
นานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุน คงรูปอยู่ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้
นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย

            ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูปมี รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 กอง
นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมีสำนักงานของ จิต ติดอยู่ในวิญญาณ 5 กองรวมกัน เป็นที่ทำงาน
ของจิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของ จิต ดังนั้น
จิตกับวิญญาณจึงไม่เหมือนกัน จิต เป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วน วิญญาณ เป็นคูหาให้จิตได้
อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆก็ได้ เป็นผู้รักษารูปสุขุม
(รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย) อยู่ในวิญญาณไว้ได้
เป็นเหตุเกิดสืบภพ ต่อชาติ

             เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิ ชาตินั้นๆก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกาย
หยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณูวิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิด
ตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วยชีวิตแท้ รูปถอด หริอ
วิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิด-ดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายใน
ที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้เป็นทุนเหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า
กรรมชั่วเหตุเกิดจะหมดไป ชีวิต รูปถอด หรือ วิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม "รูปวิญญาณ"
ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่วสืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิดก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้
มันก็กระจายไป

              ส่วนกืจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับ วิญญาณ มันก็กระจายไปกับ รูปปรมาณู คงเหลือ
แต่ความว่างที่คั่นของช่วงว่างของรูปปรมาณูทุกๆช่อง ฉะนั้นโดยปราศจากรูปปรมาณู
ความว่างนั้นจึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่างบริสุทธิ์สว่างของจักรวาลเดิม
เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่า นิพพาน

              เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสร้างชีวิตพุทธศาสนาให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่าง
บริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงละ วิภวตัณหา นั้น เสด็จสู่ อนุปาทิเสส
นิพพาน คือ เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่ง อนุปาทิเสสนิพพาน
ของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรกก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ
หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาณ ในวาระแรกนั้นพระองค์ยังไม่ได้ทรงดับขันธ์
ต่างๆให้สิ้นสนืทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน
หรือนิโรธเป็นครั้งสุดท้ายแห่งชาติ พูดง่ายๆก็คือ สู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียร
ก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได
้ทรงยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดาผู้มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่ามันเป็นทุกข์

              นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตนให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น เป็นกระบวนการท
ี่พระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าพระผู้เป็นยอดแห่งศาสนาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย
แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้น คือ ปฐมฌาน
แล้วจึงตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์
แห่งขีวิตและร่างกายนั้น ได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะสู่ ปฐมฌาน นานแล้ว เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือ
สังขารธรรม ขั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์ จึงได้ดับ ดังนั้นจึงไม่มีเชื้อใดเหลือ
อยู่แห่ง วิญญาณขันธ์ ที่หยาบนั้น

               พระองค์ทรงเริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ
วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนเข้า
สู่ ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่
จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชาติ นั้นแลคือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้น
ไม่เหลือ

               เมื่อพระองค์ทรงดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ
เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก
จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆของพระองค์เสียลงเพียงนั้น
นี้พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆอยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่พระนิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก
เมื่อพระองค์ออกจาก จตุตถฌาน แล้ว จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือพระองค์ทรงดับ
เวทนาขันธ์ ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปรกติของมนุษย์ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใด
ที่มาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์

              เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆจริงๆได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์หมดสิ้นแล้ว
ซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆในพระองค์ท่านไม่มีเหลือ
คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิต หากสิ้นนามเสียแล้วคือ แท่ง
คือก้อนวัตถุหนึ่งเท่านั้นเอง นั่นแล คือ ลำดับฌานที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดูเป็นวิธ
ีการดับโดยแท้ ดับโดยจริง โดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย
โดยคุณ ไพ วัน พฤหัสบดี ที่ 6 เมษายน 2543 21:12:45

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ พัลวัน วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 06:52:53
สาธุครับ

ดีใจที่เห็นคุณพี่หมอไพตั้งหัวข้อสนทนาเองครับ หวังใจว่าคุณพี่หมดไพจะหาสิ่งที่เป็นประโยชน์มากๆเช่นนี้ มาฝากวิมุตติอีกนะครับ
โดยคุณ พัลวัน วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 06:52:53

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ ดังตฤณ วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 08:00:06
ตอนอ่านเรื่องจิตคือพุทธะ (ซึ่งก็คงจะเป็น source เดียวกับคุณหมอไพ)
ความรู้สึกเหมือนความหวังสูงสุดอยู่ใกล้แค่เอื้อม
เป็นทางลัดที่เทียบได้กับเราพยายามปฏิบัติ เดินจงกรมนั่งสมาธิเอง
พิจารณาธรรมอยู่นานจนกระทั่งจิตรวมลงในอาการเห็นขันธ์และปล่อยวางขันธ์

นำมาโพสต์แบบนี้นับว่ามีคุณูปการสูงครับ
ขอให้หมอไพเข้าใจธรรมอันลึกซึ้งนี้ประจักษ์แจ้งกับจิตตนโดยเร็ว
โดยคุณ ดังตฤณ วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 08:00:06

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ นิพ วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 08:20:09
สาธุครับ _/I\_
ที่ผ่านมาผมแสวงหาธรรมมาโดยตลอดอ่านหนังสือธรรมมากมายพอสมควรแต่ก็มีความรู้สึก
ที่เติมไม่เต็มซักที พอเจอหนังสือเขียนเกี่ยวกับจิตก็ชอบอ่าน แต่ก็เหมือนยังไม่ใช่ ท้ายสุด
มาเจอธรรมของหลวงปู่ดูลย์และได้มาศึกษาธรรมกับคุณอาปราโมทย์แล้วรู้สึกว่าพบแล้ว
เกือบจะพอแล้วและก็ไม่สนใจสายอื่นอีกแล้ว สำหรับเรื่องจิตคือพุทธะนี้ ยิ่งอ่านยิ่งชอบ
ยิ่งอ่านยิ่งได้อะไรใหม่ขึ้นมา และเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกว่าการเดินทางแสวงหาอันยาวนาน
เกือบมาจบที่ตรงนี้แล้วจริงๆครับ
โดยคุณ นิพ วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 08:20:09

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 13:24:42
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 17:51:57
สิ่งที่ประไพนำมาพิมพ์ไว้นั้น
ตอนต้นๆ ก็ยังเป็นคำสอนของท่านฮวงโปนั่นเอง
จนกระท่ังถึงย่อหน้านี้ครับ
โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆแห่งการกินเนื้อที่
คือ ปราศ่จากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฎฐิ
และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น
มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ


ส่วนคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ที่ท่านสอนเพิ่มเติมเริ่มจาก
เราต้องแยกรูปถอดด้วยวิชชา มรรคจิต
เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด


คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ที่ประไพยกมานั้น ท่านไม่ได่สอนเป็นการทั่วไป
เพราะเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะเข้าใจได้
ประไพก็เคยนำมาถามความหมายจากผมคราวหนึ่งแล้ว
แต่ผมก็แนะนำว่า ให้ปฏิบัติไป
ดีกว่าจะพยายามทำความเข้าใจด้วยการคิดหรือการฟัง
เพราะไม่มีทางจะเข้าใจได้เลยครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2543 17:51:57

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ นิดนึง วัน จันทร์ ที่ 10 เมษายน 2543 09:42:27
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ กอบ วัน จันทร์ ที่ 15 พฤษภาคม 2543 21:03:33
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com