กลับสู่หน้าหลัก

ปัญหาใหญ่ของนักปฏิบัติ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 10:50:28

นักปฏิบัติผู้หวังมรรคผลนิพพานนั้น มีโรคประจำตัวอยู่อย่างหนึ่ง
คือเมื่อปฏิบัติอย่างเต็มที่ สามารถทำความรู้ตัว รู้กายรู้ใจชัดเจนดีแล้ว
ก็อยากจะให้ภาวะจิตที่ทรงธรรมอันดีนี้คงอยู่นานๆ
ครั้นต่อมาไม่นาน จิตที่เคยรู้ชัดก็เริ่มเสื่อมโทรมลง
สติไม่ไว ความสงสัย หรือความเบื่อหน่ายเข้ามาแทรก
เช่นรู้สึกว่า เอ มันยังไงกันนะ เคยปฏิบัติดีคิดว่าเข้าใจแล้ว
แต่อยู่มาเดี๋ยวนี้ ทำไมเหมือนคนปฏิบัติไม่เป็นเสียแล้ว
ไม่ทราบว่าจะดูอะไร จะกำหนดอะไร จะวางจิตใจอย่างไร
ดูมันมืดตื้อสบสนไปหมด (เพราะลืมดูความลังเลสงสัย)

บางคนสับสนแล้วก็ยังทนทำต่อไปแบบมวยวัด
คือหลับหูหลับตาชกกับกิเลสต่อไป
แต่บางคนท้อใจ เลิกปฏิบัติไปชั่วคราวก็มี
น้อยคนที่จะเฉลียวใจว่า อ้อ.. จิตแสดงไตรลักษณ์
ซึ่งพอรู้ทันเท่านี้ จิตที่เสื่อมอยู่ก็จะกลับเจริญในทันที

ความจริงพระธรรมท่านแสดงตัวให้เราเห็น แต่เราไม่เห็นเอง
คือท่านเทศน์เรื่องพระไตรลักษณ์ของจิตให้เราดู
แสดงอย่างโจ่งแจ้งอยู่ว่า จิตนี้ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ 
เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ
เพราะเห็นความจริงอยู่อย่างนี้แหละ 
ถึงจุดหนึ่งจิตจึงได้ข้อยุติที่แน่นอนใจว่า
จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาหรือจิตไม่ใช่เรา

หากผู้ใดปฏิบัติแล้วดีตลอด ไม่เห็นความเสื่อมเลย
ผู้นั้นอาการสาหัสทีเดียว เพราะมองไม่เห็นความจริง
หากใครปฏิบัติแล้วเห็นแต่ความเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญของจิต
แต่ก็ปฏิบัติต่อไปอย่างไม่ท้อถอยด้วยความมีสติปัญญา
ผู้นั้น นับว่าเป็นผู้ใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน

แต่ความเสื่อมนั้น ต้องเสื่อมทั้งที่พยายามปฏิบัติอย่างเต็มที่แล้ว
ไม่ใช่เสื่อมเพราะเกียจคร้าน 
แล้วหลอกตนเองว่า จิตกำลังแสดงไตรลักษณ์
เพราะอย่างหลังนี้ 
กิเลสได้หลอกล่อผู้ปฏิบัติให้ล่มจมเรียบร้อยไปแล้ว
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 10:50:28

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ ดังตฤณ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 12:05:44
ตอนนี้เห็นความเสื่อมของจิตเป็นเพื่อนยากแล้วครับ
มาเมื่อไหร่ รู้เมื่อนั้น
สบายดี ไม่ต้องดิ้นรน
โดยคุณ ดังตฤณ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 12:05:44

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 13:16:47
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 13:55:59
....หลับหูหลับตาชกกับกิเลส....
อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยากเลยครับ
ทุกวันนี้ ผมเองก็ยังเผลอไปชกด้วยรูปมวยของกิเลสตัณหาอยู่บ่อยๆ
หมายถึง  ยังถูกกิเลสบงการท่าชกอยู่ครับ
เพราะเมื่อถึงคราวที่จิตเสื่อม ก็มักรู้ไม่ทันว่า  จิตแสดงไตรลักษณ์
ก็เลยถูกกิเลสบงการให้เกิดความอยากที่จะแก้ไขจิต
อยากให้มีความรู้ชัดอยู่ตลอดเวลา  ก็เลยชกด้วยความอยาก
ผลก็คือ ถูกชกนับครั้งไม่ถ้วน

นี่กระมังครับที่เปรียบเหมือนกับ
เราชกกับกิเลสด้วยท่าทางของกิเลส
มันก็รู้รูปมวยเราหมด  มันก็เลยดักชกเอาชกเอา
เราก็เลยถูกชกอยู่ร่ำไป
กว่าจะเฉลียวใจได้อย่างที่ครูว่า  ก็คงโดนไปอีกหลายหมัด

ความเฉลียวใจได้ก็เหมือนเราตั้งหลักได้
แล้วชกด้วยรูปมวยที่มีสติสัมปชัญญะพร้อม
แต่ตราบใดที่เรายังไม่ชนะอย่างเด็ดขาด
เราว่าเราตั้งรูปมวยหันหน้าเข้าหาคู่ชกดีแล้ว
ก็ยังถูกคู่ชกส่งพรรคพวกมาชกเราข้างหลังอีกจนได้

ยังไงซะ  หากยังมุ่งมั่นที่จะชกอย่างคนเป็นมวย
สักวันก็คงจะชกชนะกิเลสมันได้อย่างเด็ดขาด
อ้อ...แล้วอย่าลืมแวะไปฝึกเชิงมวยกับครูบ่อยๆนะครับ

โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 13:55:59

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 14:13:43
สาธุครับ นับว่าแปลกมากครับ หลายครั้งที่ผมติดอะไรหรือมีปัญหาตรงไหนอยู่ พอมา
เข้าวิมุตติก็จะเจอคุณอาตั้งกระทู้ที่ไขข้อข้องใจนั้นๆเป็นส่วนมาก นับว่าเป็นโชควาสนา
ของผมจริงๆครับ :-)
โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 14:13:43

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ พีทีคุง วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 14:24:10
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 15:08:59
ความจริงถ้ารู้สึกว่าจิตเสื่อมลง ทั้งที่พยายามปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้ว
ก็ให้ทราบ(ว่ามันเสื่อมลง) ด้วยจิตที่เป็นกลาง
ถ้ากลุ้มใจเพราะจิตเสื่อม ก็ให้รู้ว่ากลุ้มใจ
ถ้าสับสน ก็ให้รู้ว่าสับสน
ถ้าอยากให้จิตเจริญ ก็ให้รู้ว่าอยาก

หลักของการ รู้ (รู้สิ่งที่กำลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง) นั้น เป็นอาวุธสำคัญ
กิเลสตัณหาจะกลัวมาก จึงพยายามชักนำให้ เลิก "รู้" แล้วหันไป "คิด" แทน
ผมเองสมัยที่ปฏิบัติใหม่ๆ ทั้งที่เข้าถึงจิตถึงใจตนเองแล้ว
แต่บางครั้งก็เกิดความอึดอัดกลัดกลุ้ม อยากให้จิตพ้นทุกข์เร็วๆ
เพราะกิเลสตัณหาหลอกเอาเหมือนกัน
ผมถึงกับเขียนป้ายเอาไว้โตๆ ด้วยคาถาสำคัญว่า
อย่ายึดจิต

เวลาปฏิบัติแล้วชุลมุนวุ่นวาย หันมาเห็นเข้า
จิตก็รู้เท่าทันกิเลสตัณหาที่กำลังหลอกอยู่
คือเรายึดจิตเป็นเรานั่นเอง จึงอยากให้จิตดีๆ ให้จิตหลุดพ้น
พอรู้ทัน ความฟุ้งซ่านรำคาญใจเพราะจิตเสื่อมก็หมดไป
หันมารู้ทันว่า จิตกำลังฟุ้งซ่านสับสน
เพียงเท่านี้ ความฟุ้งซ่านก็อยู่ส่วนความฟุ้งซ่าน จิตก็ส่วนจิต
พ้นความสับสนวุ่นวายไปได้เกือบทุกที
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 15:08:59

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ กระต่าย วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 15:56:58
สาธุ กราบขอบพระคุณค่ะคุณอา

เมื่อก่อนที่หลับหูหลับตาปฏิบัติแบบมั่วๆมา
แรงผลักดันที่สุดๆ เห็นจะเป็นเพราะอยากหนีทุกข์
แต่ก็กลับทำให้ทุกข์หนักมโหฬารเข้าไปอีก
คราวนี้ พอตั้งหลักเป็นผู้เป็นคนกับเค้าได้บ้าง
พยายามปฏิบัติ ทำความเพียรให้สม่ำเสมอ
สิ่งที่เข้ามาหลอกหลอนตัวต่อไปก็คือ กลัวเสื่อม กลัวตก
เพราะจากที่เคยตกเคยเสื่อมมา มันทรมาณสาหัสจริงๆ
อีกตัวที่เห็นอยู่บ่อยๆเลยก็คือ กลัว หรือ เกลียดเจ้าความเผลอ
ถ้าวันไหนเห็นว่าตัวเองชักเผลอบ่อย
เอาละ ความไม่สบายใจเริ่มเข้าครอบงำ
กิเลสนี่มันฉลาดจริงๆ อย่างที่คุณอาว่าเลยค่ะ
ต้องถูกน๊อคไม่หมัดใดก็หมัดนึงของมันเสมอๆ

กราบขอบพระคุณคุณอาอีกครั้งค่ะ _/I\_
โดยคุณ กระต่าย วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 15:56:58

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ tana วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 16:01:12
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ หนุ่ย วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 17:52:58
สาธุค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ _/|\_
โดยคุณ หนุ่ย วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 17:52:58

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ kittipan วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 21:44:27
บางที่ภาวนาอย่างไม่ตั้งใจทำเท่าไหร่แต่กลับมีสติดี อย่างคาดไม่ถึง บางทีขยันแล้ว ขยันอีก ก็ยังภาวนาไม่ดีเท่าไหร่ แบบนี้ใช่รึป่าวครับที่ว่าจิตไม่เที่ยง ขึ้นๆลงๆ
โดยคุณ kittipan วัน อังคาร ที่ 4 กรกฎาคม 2543 21:44:27

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 07:43:57
ทำนองนั้นครับ คุณ kittipan

ตั้งใจปฏิบัติให้ต่อเนื่อง เป็นเรื่องดีและจำเป็นครับ
แต่ระหว่างปฏิบัติ อย่าจงใจ รู้ให้มากเกินไป
เพราะปฏิบัติด้วยความอยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ อยากละ อยากพ้น
เมื่อรู้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่จงใจ ไม่อยาก
สติสัมปชัญญะก็ดี รู้ตัวชัดเจน
แต่ถ้าอยากมาก จงใจมาก ก็ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร
นอกจากจะเกิดทุกข์มากขึ้น

แต่ทั้งที่ปฏิบัติถูกต้องดี คือมีความเพียร เฝ้ารู้ โดยไม่จงใจ ไม่อยาก นั่นแหละ
บางครั้งบางคราว จิตมันก็ยังหมองลงนิดหน่อย

ถ้าไม่เพียรแล้วจิตหมอง อันนี้เรายอมรับได้
แต่ทั้งที่เพียร ก็ยังหมอง อันนี้แหละครับที่ยอมรับกันไม่ค่อยได้
แล้วเกิดความสับสน หรือท้อแท้กันมามากต่อมากแล้ว
นี่คือที่มาของกระทู้นี้ครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 07:43:57

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ ธีรชัย วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 08:14:20
_/\_
ขอบพระคุณครับ
โดยคุณ ธีรชัย วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 08:14:20

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ บุษกริน วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 09:41:47
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 10:43:42
สาธุ และขออนุญาตเรียนถามครูหรือผู้รู้ท่านอื่นนะครับ ว่าที่ผมบอกตัวเองในใจอย่างนี้จะถูกหรือไม่
คือเวลากำหนดรู้ จะใส่ความอยากรู้อยากเห็น ว่ามันจะเป็นของมันอย่างไรต่อไป ผมบอกตัวเอง ว่าเหมือนผมแอบไปดูลูกเล่นกับเพื่อนที่โรงเรียน อยากรู้ว่าเค้าจะทำอะไรบ้าง ซึ่งต่างกับ การกำหนดรู้แบบอยากให้ถูกต้อง เหมือนกับเวลาตรวจเอกสาร ก่อนนำส่งเจ้านาย ซึ่งต้องดูให้ละเอียด และถูกต้อง

เอ
โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 10:43:42

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 12:59:42
กำหนดรู้ ใส่ความอยากรู้ ก็ผิดแล้ว

กำหนดรู้ หากว่าด้วยภาษาเราๆ ก็ต้องว่า สังเกตตัวเอง หรือ เรียกว่ารู้ตัว หรือ รู้สึกตัว

สังเกตตัวเอง ว่ากำลังทำอะไร กำลังดูอะไร กำลังฟังอะไร กำลังคิดอะไร หรือ รู้สึกอย่างไร ในขณะนี้ ในปัจจุบันนี้ เอาแค่นี้ก่อน

หากว่า พอรู้ตัว หรือรู้สึกตัวแล้ว มีความอยากรู้ ก็รู้ว่ามีความอยากรู้ ทำแค่นี้ก่อนครับ

โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 12:59:42

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 16:12:57
ขอบคุณครับ คุณพัลวัน

เอ
โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 16:12:57

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ thesky วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 17:50:42
ขอบคุณมากค่ะ
สาธุ  _/|\_
โดยคุณ thesky วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 17:50:42

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ ฐิติมา วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 20:10:54
อนุโมทนาสาธุ _/|\_  คะคุณอา :)
โดยคุณ ฐิติมา วัน พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2543 20:10:54

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 08:11:47
สาธุครับ คุณพัลวัน

อันที่จริงการดูจิตก็คล้ายๆ การเลี้ยงเด็กเหมือนกัน
พ่อแม่ที่ฉลาดจะไม่เข้าไปควบคุมเด็กอย่างเข้มงวดจนกระดิกตัวไม่ได้
เพราะเด็กจะเตรียด และขาดพัฒนาการ
(เหมือนการเพ่งจ้อง กดข่ม ควบคุมจิตจนกระดิกไม่ได้
จิตจะเครียดและเจริญปัญญาไม่ได้)

พ่อแม่ต้องไม่ปล่อยปละละเลยให้เด็กห่างหูห่างตา
เพราะเด็กอาจจะได้รับอันตรายต่างๆ เพราะความไร้เดียงสา
(เหมือนการหลง ปล่อยจิตร่อนเร่ไปตามยถากรรม
ซึ่งจิตมักจะวิ่งไปทำบาปอกุศล แล้วเดือดร้อนในภายหลัง)

พ่อแม่ควรทำกิจปกติในชีวิตประจำวันของตนไป
แล้วคอยชำเลืองดูลูกอยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกลเกินไปนัก
เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่เขาไปพบเห็นด้วยตัวของเขาเอง
(ให้จิตรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ)
และคอยตักเตือนหากจะทำอะไรที่ผิดพลาด
(เช่นไม่ให้ทำผิดศีล)
คอยแนะนำปลุกปลอบใจให้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์
(เช่นให้รู้จักทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา)

คำว่าพ่อแม่นี้ ก็คือสติปัญญา หรือสติสัมปชัญญะ(สัมปชัญญะคือตัวปัญญา) นั่นเอง
เราเพียงมีสติสัมปชัญญะ รู้จิตรู้ใจไปตามธรรมชาติธรรมดา
รู้ไปในชีวิตประจำวัน โดยประสานการปฏิบัติเข้ากับการดำรงชีวิตปกติ
จะอาบน้ำ ทานข้าว นั่งรถ ลงเรือ เคลื่อนไหว ฯลฯ ก็คอยรู้จิตใจไปอย่างสบายๆ
(เหมือนที่คุณสุรวัฒน์ฯ ทำแล้วมาเล่าในกระทู้ 102)
ไม่นานจิตใจก็พัฒนาไปเองแหละครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 08:11:47

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ บัวใต้น้ำ วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 08:26:15
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 08:35:13
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ กระต่าย วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 09:29:45
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 23 โดยคุณ listener วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 10:09:27
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 24 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 10:16:08
   ...จิตใจก็พัฒนาไปเอง...
คำกล่าวประโยคนี้ของครู เป็นคำที่ผู้ปฏิบัติ
ควรที่จะเฝ้าสังเกตดู  เพื่อให้จิตเห็นจริงตามนั้น
เพราะปัญหาใหญ่ที่ครูกล่าวถึงไว้นั้น  มีเหตุประกอบด้วยอย่างหนึ่ง
ซึ่งก็คือ ความที่เรายังไม่รู้ไม่เห็น และจิตเองยังไม่ยอมรับอย่างหมดจดว่า
   ...จิตใจสามารถพัฒนาไปได้เอง  เพียงแค่การเจริญสติสัมปชัญญะ
ให้รู้สิ่งที่ปรากฏด้วยจิตเป็นกลาง...
   เมื่อใดที่จิตพอจะเริ่มเห็นและเริ่มยอมรับได้แล้ว
ปัญหาใหญ่ที่ครูกล่าวไว้  ก็พอจะผ่อนคลายลงไปได้บ้างครับ

   ยิ่งปฏิบัติไปนานเข้า  ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า
แต่ละประโยคคำของครู  เต็มเปี่ยมไปด้วยแก่นธรรมจริงๆครับ
โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 10:16:08

ความเห็นที่ 25 โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 11:18:30
สาธุครับ

ประเด็นของคุณสุรวัฒน์แนะนำมา ทำให้ผมนึกถึงคำว่า สัมมาปฎิปทา ที่หลวงปู่ชาท่านสอนสั่งเอาไว้ คือการทำให้ "สม่ำเสมอ" ซึ่งก็ต้องใช้ความเพียรเช่นกันครับ

โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กรกฎาคม 2543 11:18:30

ความเห็นที่ 26 โดยคุณ บอย วัน พุธ ที่ 12 กรกฎาคม 2543 22:00:53
เห็นด้วย ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 27 โดยคุณ บอย วัน พุธ ที่ 12 กรกฎาคม 2543 22:02:41
เห็นด้วย ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com