กลับสู่หน้าหลัก

เพ่ง --> เผลอ

โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 12:05:31

เรื่องของจิตคงเป็นเรื่องเดียวที่ผมพูดแล้วค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ผิดแน่ๆ  :)
เพราะไม่ต้องใช้สมมุติบัญญัติมากมาย มีแต่อาการของจิตเท่านั้น
ถ้าเห็นผมพูดแต่เรื่องจิต ก็อย่างเพิ่งเบื่อนะครับ

หัวข้อของกระทู้นี้ผมแอบเอาสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อันหนึ่งมาใส่ไว้คือ
--> (imply) หมายความว่า ถ้าเพ่งแล้วก็คือเผลอ แต่ในทางกลับกันไม่จริง
คือ ถ้าเผลอแล้วไม่จำเป็นต้องหมายถึงเพ่ง

เรื่องของมิจฉาสติคงไม่มีอะไรมากไปกว่า เผลอกับเพ่ง
อาการเผลอคิดว่าทุกคนคงคุ้นเคย กันดี เรียกว่า ฟุ้งซ่านไปเรื่อยตามอารมณ์
ที่เข้ามา มีแต่โลกรอบๆ ไม่มีความรู้สึกตัว เช่น
พูดอยู่ ก็ไม่รู้สึกถึงธรรมชาติ คือร่างกาย ที่เปล่งเสียง ออกมา
เดินอยู่ ก็ไม่ได้ให้ความสนใจ กับร่างกายที่กำลังเดิน
เมื่อโกรธ ก็เหมือนมีแรงระเบิดจากภายในอยากจะทำลายคนอื่นให้สิ้นซาก
ไม่เห็นตัวความโกรธเอง
สรุปแล้วก็คือ จิตไหลเลื่อนไปตามอารมณ์โดยไม่รู้ตัว ไม่เห็นจิตไม่เห็นอารมณ์

อาการเพ่งนั้นถ้าสังเกตให้ดี ก็เหมือนกับเผลอ
คือจิตไหลไปตามอารมณ์และไม่เห็นจิต ไม่เห็นอารมณ์เหมือนกัน
แต่อารมณ์ที่จิตหลงไปในการเพ่งนั้นละเอียดกว่า คือเป็นตัวความคิดที่จะดูจิต
เมื่อจับหลักตรงนี้ได้แล้วลองสังเกตดูให้ดี
ก็จะเห็นการไหวตัวของความคิดและความทรงจำ
จากการเฝ้ารู้อารมณ์เฉย มีความทรงจำเปรียบเทียบ
และ/หรือมีความคิดที่จะเพ่งดูจิตเกิด
จิตจะหลุดจากการเฝ้ารู้ ไหลไปตามความคิดที่จะเพ่งดูจิต
เมื่อนั้นเองเราก็ไม่เห็นทั้งจิตและอารมณ์
แต่ถ้าเรารู้ทันพอความคิดก็รู้ว่าความคิดเกิด
ถ้าจิตไม่ไหลไปกับความคิดนั้น
ความคิดนั้นมันก็ย่อมดับลงไปเองในที่สุด

ถึงแม้ว่าจะดับลงด้วยเจตนาที่จะรู้ก็ตาม
แต่เจตนาที่จะรู้นั้น แฝงเอาปัญญาที่มองเห็นไตรลักษณ์
ของอารมณ์อยู่ด้วย

หมั่นพิจารณาในความคิดด้วยวิธีนี้
ในที่สุดย่อมเห็นความว่างเปล่าของความคิดและความทรงจำ
ดังที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบว่าความคิดเป็นดังต้นกล้วย
ความทรงจำเหมือนดังพยับแดดที่ไร้แก่นสาร
ถึงจุดหนึ่งจิตก็คงจะสลัดสิ่งที่มันยึดมานานคืนสู่ธรรมชาติไป

********************
หมายเหตุ(เขียนทิ้งไว้สำหรับผู้มาทีหลังครับ)
มีเทคนิคที่ทำให้เจตนานี้เบาบางลง
โดยการโยนิโสมนสิการ ว่าจิตเป็นอนัตตา
(แต่ต้องรู้จักจิตก่อนนะครับ)

โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 12:05:31

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 13:22:57
อาการเผลอสติ ผมเองจริงๆแล้วจะเห็นอาการอยู่ 2 แบบ ครับ คือ เพ่งอารมณ์ นั้นอย่างหนึ่ง ส่วนอีกอย่างหนึ่งนั้นก็คือ เพลินอารมณ์ ครับ

เวลาเพ่ง เรามักจะคิดว่ารู้ตัว แต่ที่จริงไม่รู้ตัวว่าเพ่งอยู่ ส่วนเวลาเพลินนั้นไม่ต้องบรรยายครับ หายไปหมดเลยจริงๆ
โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 13:22:57

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:20:40
ผมจำแนก เผลอ กับ เพ่ง ได้ 3 ลักษณะดังนี้ครับ

เผลอเพ่ง (เพ่งโดยไม่รู้ตัว)
เพ่งแล้วเผลอ (ก่อนเพ่งรู้ตัวอยู่ แต่เพ่งๆไปแล้วไม่รู้ตัว)
เพ่งแต่ไม่เผลอ (ทั้งก่อนเพ่ง กำลังเพ่ง และเลิกเพ่ง ก็มีความรู้ตัวอยู่)
โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:20:40

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:36:55
สาธุครับ คุณมะขามป้อม คุณพัลวัน
น่ายินดีจริงๆ ที่ในหมู่พวกเรา
มีคนที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ชัดเจนกันหลายท่านทีเดียว
ถึงต่อไปผมไม่อยู่ ก็ยังมีผู้ที่จะเป็นที่พึ่งอาศัย
ของหมู่เพื่อนรุ่นหลังๆ ได้ต่อไปอีกไม่ขาดสาย

อย่างเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
คุณหมอ Lee อุตส่าห์ลงมาจากเชียงใหม่เพื่อส่งรายงานการปฏิบัติ
ผมก็ได้อาศัยคุณหมอ
ช่วยอธิบายถึงการดำเนินจิตให้เด็กใหม่ที่มาขอเรียนกรรมฐานฟัง
เพราะคุณหมอเป็นหนึ่งในบุคคลที่อึดมากในการลองผิดลองถูก
คือทำผิดแล้วผิดอีก แต่ไม่เคยท้อถอย
พอเกิดความรู้ความเข้าใจแล้ว
ก็เลยมีความสามารถพิเศษในการจำแนกแยกแยะผิดถูก
คุณหมอช่วยสอนเด็กคนหนึ่งอยู่ไม่นาน
เด็กคนนั้นเกิดง่วงขึ้นมา อ้าปากหาวทีเดียว
ก็สามารถแยกกายที่หาว กับจิตที่รู้กายออกจากกันได้เลย
วันนั้นผมกำลังยุ่งกับหมู่เพื่อนหลายคน
เลยขอมาแสดงความชื่นชมกับคุณหมอในที่นี้แทน

หมู่เพื่อนที่ปฏิบัติดีๆ ก็ยังมีหลายท่าน
ขอให้ช่วยๆ กันประกาศธรรมแห่งการเจริญสติสัมปชัญญะบ้างนะครับ
คนที่มาทีหลัง หรือน้องๆ หลานๆ ที่อินทรีย์ยังอ่อน
จะได้ไม่ว้าเหว่เกินไป
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:36:55

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:45:57
สาธุครับ คุณสุรวัฒน์
นี่ก็คืออีกท่านหนึ่ง ที่จะเป็นที่พึ่งของหมู่เพื่อนครับ :)
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:45:57

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:52:38
น่าฟังจริงหนอ น่าฟังจริงหนอ :)
อยากฟังธรรมจากคุณหมอ Lee กับคุณสุรวัฒน์บ้าง
คงให้โอกาสผมบ้านนะครับ _/\_
โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 14:52:38

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 16:03:44
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ พีทีคุง วัน พุธ ที่ 30 สิงหาคม 2543 19:34:47
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ ดังตฤณ วัน พฤหัสบดี ที่ 31 สิงหาคม 2543 00:13:03
ยอดเลยครับมะขามป้อม
โดยคุณ ดังตฤณ วัน พฤหัสบดี ที่ 31 สิงหาคม 2543 00:13:03

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ Lee วัน พฤหัสบดี ที่ 31 สิงหาคม 2543 21:15:17
ผมไม่กล้ารับคำชมหรอกครับ  ไม่กล้าสอนด้วยซ้ำไป เพราะยังเผลอมาก  ที่รับสอนเพราะเห็นพี่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ
คงไม่ปล่อยผมพาน้องเข้าป่าไป 
:-)

และที่น้องเขารู้ไว ก็เขาปฏิบัติมาตั้ง 6 ปี ฐานดีแล้ว เพียงแต่ยังวางตัวรู้ไม่เป็น เท่านั้นเอง

จริงๆแล้ว วันนั้น หลังจากนั้นผมเองก็นั่งมั่วเหมือนกัน หลังจากโดนคุณดังตฤณต้อนหน้า ต้อนหลังสักพัก  จนถึงวันนี้ยังกระเจิดกระเจิงไม่หายเลย 

โดยคุณ Lee วัน พฤหัสบดี ที่ 31 สิงหาคม 2543 21:15:17

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 1 กันยายน 2543 07:47:16
คุณหมอก็ต้อนตนเองสิครับ อย่าไปให้คนอื่นต้อนให้ :)
เพราะการถูกต้อนนั้น ถ้าถูกต้อนเร็วเกินไป ละเอียดเกินไป
ผู้ถูกต้อนจะยิ่งงงหนักกว่าเก่าเสียอีก
ยิ่งงงก็ยิ่งพยายาม ยิ่งพยายามก็ยิ่งผิด
ยิ่งผิดก็ยิ่งถูกต้อน เป็นวงจรที่ย่ำแย่ไปเลย
แต่ถ้าสังเกตจิตใจตนเองไปตามลำดับ
หรือถูกต้อนเพียงนิดๆ หน่อยๆ พอกระตุ้นให้เกิดความสังเกตมากขึ้น
จึงจะเป็นประโยชน์ในการเกิดความเฉลียวใจ แล้วไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 1 กันยายน 2543 07:47:16

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ นุดี วัน พุธ ที่ 6 กันยายน 2543 17:32:36
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com