กลับสู่หน้าหลัก

สติอยู่ส่วนไหนในการปฏิบัติ

โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 10:41:24

สติคือความระลึกได้
สัมปชัญญะคือความรู้ตัวทั่วพร้อมหรือความตระหนักรู้
สติมักจะมาคู่กับสัมปชัญญะเสมอในพระสูตร
ในฐานะของธรรมที่มีอุปการะมาก แต่เรามักจะมองข้ามสติ
และจะกล่าวถึงสัมปชัญญะเสียมากกว่า
เพราะเหตุที่เราคิดว่าใครๆ ก็มีสติ
แต่สัมปชัญญะนี้เป็นเรื่องยากที่ใครจะรู้จัก

แต่ในการปฏิบัติจริง
ในขณะที่สัมปชัญญะเป็นเหมือนเครื่องมือในการตัดกิเลส
สติกลับเป็นเหมือนดำริที่จะหยิบจำเครื่องมือ
ิเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให้เราเจริญสัมปชัญญะ
ทำให้เราระลึกได้ คอยเตือนตัวเองให้เจริญสัมปชัญญะ

หรือเป็นเหมือนสิ่งที่คอยกระตุ้นเตือนในขณะเจริญสัมปชัญญะ
ให้เฉลียวใจ ตรวจดูว่ากำลังหลงอยู่หรือเปล่า

การกำหนดจิต หรือ การกำหนดรู้ คือสัมปชัญญะ
ความเฉลียวใจคือสติ เพราะความเฉลียวใจคือความระลึกได้
สติจึงเป็นธรรมที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสัมปชัญญะเลย
( สำหรับผู้ที่มาใหม่ หรือยังไม่ได้อ่าน...
เรื่องของการกำหนดจิตเคยพูดไว้ในกระทู้ที่ 31
ส่วนเรื่องของความเฉลียวใจผมเคยเขียนไว้แล้วในลานธรรมครับ
http://dharma.school.net.th/cgi-bin/kratoo.pl/000930.htm)

ที่จริงกระทู้นี้ก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ
เพียงแต่ผมไปอ่านนิยามความหมายของคำว่าสติ
และเปรียบเทียบว่าในการปฏิบัติจริงๆ นั้นสติอยู่ตรงไหน
และก็ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าสตินั้นมีอุปการมากจริงๆ
สมดังที่พระศาสดาตรัสคู่กับสัมปชัญญะเสมอ
แต่ผมเองไม่ค่อยได้พูดถึงเท่าไร (จริงๆ ก็ใช้มันอยู่บ่อยๆ)
โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 10:41:24

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ listener วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 12:32:45
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 12:36:07
สาธุครับ คุณมะขามป้อม

ขอเสริมนิดหนึ่งนะครับ ว่าเรื่องสติสัมปชัญญะนี้สำคัญมากจริงๆ
สติคือความระลึกได้นี้ หมายถึงการมีความรู้เท่าทันสิ่งที่กำลังปรากฏ
คือรู้เท่าทัน ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
เช่นหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ มีสุขก็รู้ มีทุกข์ก็รู้
มีโทสะก็รู้ มีราคะก็รู้ จิตยึดอารมณ์ก็รู้ ไม่ยึดก็รู้ เป็นต้น
(ไม่ใช่ระลึกได้ว่า เมื่อวานซืนได้ไปเที่ยวที่นั้นที่นี้ อันนั้นเป็นสัญญา ไม่ใช่สติ)

อันที่จริงผมเขียนบทความไว้เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องการพิจารณากาย
และพาดพิงไปถึงองค์ธรรม 3 ตัวคือสัมมาสมาธิหรืิอธรรมเอก
สัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิหรือสัมปชัญญะ
แต่ยังไม่ได้โพสต์ เพราะเห็นว่าหมู่นี้เขียนกระทู้มากเกินไป พรรคพวกจะรำคาญ
เอาไว้ว่างๆ แล้วจะนำมาโพสต์เพิ่มเติมนะครับ จะเสริมกับคุณมะขามป้อมได้พอดี
เพราะการทำความเข้าใจกับสติสัมปชัญญะ
เป็นสิ่งที่จำเป็นมากจริงๆ สำหรับผู้ปฏิบัติ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 12:36:07

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ พีทีคุง วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 13:22:42
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 17:36:31
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ นุดี วัน จันทร์ ที่ 2 ตุลาคม 2543 19:55:10
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 08:28:16
เอ.... คุณมะขามป้อมครับ ผมมีความเห็นที่แตกต่างออกไปหน่อยครับ คือ การเฉลียวใจ น่าจะทำให้เกิดสติได้มากกว่าที่จะเป็นตัวสติเอง เพียงแต่ว่าในทางปฎิบัติแล้ว เมื่อเฉลียวใจก็จะเห็นสติปรากฎอยู่แล้ว

และผมมีความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า การเฉลียวใจนี้เกิดได้เพราะ
1. เพราะเคยฝึกฝนสติมาก่อนเป็นพื้น หรือ
2. เพราะการ มนสิการ เอาไว้ เช่นการ มนสิการเอาไว้ว่า เราจะไม่เป็นผู้เผลอ เมื่อเผลอไปได้สักช่วงหนึ่ง จิตก็จะเฉลียวใจขึ้นมาว่าเราเผลอไปแล้ว จิตจึงกลับมาตั้งสติได้ต่อไป ผมมีความเห็นเป็นอย่างนี้นะครับ แต่ก็คิดๆอยู่ว่าอาจจะไม่ถูกสักเท่าไหร่ครับ เพราะผมก็เป็นมือใหม่ในการภาวนาอยู่เช่นกันครับ

โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 08:28:16

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ มะขามป้อม วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 09:48:55
ลองดูอีกทีนะครับ อธิบายละเอียดขึ้นหน่อย
ไม่รู้เข้าเค้าหรือเปล่า :)

สำหรับสัมปชัญญะใครที่ปฏิบัติคล่องแคล้วชำนาญ
ก็จะเห็นได้ชัดของอาการที่จิตตื่นเมื่อมีสัมปชัญญะ
กับอาการที่จิตหลงเมื่อขาดสัมปชัญญะ จิตนั้นต่างกันเห็นได้ชัดทีเดียว
การมีสัมปชัญญะคือการเฝ้ารู้อารมณ์ โดยมองออกจากจิต
การมีสัมปชัญญะจึงมีองค์ความรู้เกิดขึ้น ที่เราเรียกว่าปัญญา
เห็นธรรมตามที่เป็นจริง เพราะจิตไม่ทะยานออกไปตามอารมณ์

สติในชีวิตประจำวันคือการระลึกได้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
ไม่เผลอเช่น จะข้ามถนนก็รู้ว่ากำลังจะข้ามถนน
เวลาทำงานก็จดจ่ออยู่กับงาน เวลาคิดก็รู้ว่าคิดเรื่องอะไร

คนมีสติไม่จำเป็นต้องมีสัมปชัญญะ
คนมีสัมปชัญญะต้องมีสติควบคู่ไปด้วยเสมอ
แต่เวลาเราเผลอนั้นเราขาดทั้งสติทั้งสัมปชัญญะครับ

สติในการภาวนาก็เหมือนกับสติในชีวิตประจำวันครับ
คือความระลึกได้ว่าเรากำลังภาวนา เรากำลังดูจิต ดูอารมณ์อยู่
สติในการภาวนาจึงเป็นเหมือนจุด trig
ให้เราดูจิต เจริญสัมปชัญญะ
เท่าที่สังเกตดู ก็พบว่ามันมีหยาบละเอียดเหมือนกัน

อย่างหยาบคือสติเมื่อเริ่มแรกที่จะเจริญสัมปชัญญะ
คือความระลึกได้ว่าเราจะภาวนา โดยใจผัสสะต่างๆ เป็นเครื่องระลึก
หรือเป็นฐานของสติ
ร่วมทั้งการระลึกได้เป็นช่วงๆ ว่าเราหลงไปกับความคิดแล้ว
ในขณะภาวนา ที่เราเรียกกันว่าความเฉลียวใจ
เราอาจใช้ฐานเดิมเช่นลมหายใจเป็นเครื่องระลึกเช่น ลมหายใจ
หรือผู้ชำนาญแล้ว ก็จะระลึกได้เองโดยอัตโนมัติ

อย่างละเอียด ถ้าใครมีสมาธิดี มีกำลังดี จะพบว่าเราสามารถ
ดำรงสติให้ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
คือระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังเจริญสัมปชัญญะ
เฝ้ารู้จิตรู้อารมณ์อยู่ คล้ายๆ กับเราทำการเฉลียวใจ
ตรวจสอบตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้

ละเอียดสูงสุด คือเมื่อจิตผ่านอุปจาระสมาธิ
สติและสัมปชัญญะจะทรงตัวอยู่เองโดยไม่ต้องกำหนด

ที่กล่าวมานี่ พูดตามอาการที่เกิดกับตัวเองนะครับ
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจับเข้ากับบัญญัติต่างๆ ได้ถูกต้องหรือเปล่า
รอฟังพี่ปราโมทย์อีกทีครับ
โดยคุณ มะขามป้อม วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 09:48:55

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 10:52:47
ปัญหายุ่งยากของนักปฏิบัติ ก็อยู่ตรงการเทียบกับศัพท์บัญญัตินี่แหละครับ
เวลาพูดแล้วไม่เข้าใจกัน ก็วางศัพท์ไว้ก่อน แล้วเอาสภาวะจริงๆ มาคุยกัน
บางทีจะพบว่า คุยเรื่องเดียวกัน แต่คนละภาษาเท่านั้นเอง :)
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 10:52:47

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 21:57:22
ครูครับ

วางศัพท์บัญญัติแล้วก็ไม่มีอะไรจะคุยสิครับ :)

(แค่มองหน้ากันก็รู้กันแล้ว)
โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 3 ตุลาคม 2543 21:57:22

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 4 ตุลาคม 2543 07:44:55
:)
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 4 ตุลาคม 2543 07:44:55

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 4 ตุลาคม 2543 09:01:40
เอาใหม่ครับ เมื่อวานเปรียบเทียบไม่ค่อยตรงนัก
กลับไปเขียนใหม่แล้ว คิดว่าสอดคล้องกับที่คุณพัลวัน เห็นแน่ๆ
ตามไปดูที่นี่ครับ (เพราะอธิบายด้วย timing diagram
รู้สึกว่า font จะเล็กไปหน่อย ต้องขอโทษด้วยครับ)

http://www.thai.net/b-kernel/practice/sati2.pdf

พูดแล้วพูดอีกไม่เข้าเป้าซะที ก็อย่าถือสานะครับ
ยังเป็นนักศึกษาอยู่เหมือนกัน
แต่หวังว่าเที่ยวนี้น่าจะชัดเจนและสอดคล้องกับบัญญัติมากขึ้นครับ :)
โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 4 ตุลาคม 2543 09:01:40

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 4 ตุลาคม 2543 09:35:36
อธิบายผิดไปนิดนึงครับ ในรูปช่วง (1) ผมเขียนว่าเป็นอาการเผลอ
แต่ที่จริงควรเป็น อาการหลับหรือ ตกภวังค์ คือไปไม่มีสติและสัมปชัญญะครับ
_/\_
โดยคุณ มะขามป้อม วัน พุธ ที่ 4 ตุลาคม 2543 09:35:36

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com