กลับสู่หน้าหลัก

ข้อคิดแด่เพื่อชาวพุทธ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 11:45:18

ถ้าพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของพระพุทธศาสนาในยุคที่เริ่มตั้งตัวนั้น
จะพบปัจจัย(อย่างน้อย) 2 ประการ ที่ทำให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง
คือการได้รับการสนับสนุนและอารักขาจากอำนาจรัฐ
ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์ในยุคนั้น อย่างหนึ่ง
และการมีบุคลากรทางพระพุทธศาสนา เป็นปัญญาชนประเภทติดดิน อีกอย่างหนึ่ง

ความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย
เกิดจากอ่อนกำลังลงของอำนาจรัฐเนื่องจากการรุกรานของชนชาติอื่น
แม้พระสงฆ์จะยังเป็นปัญญาชน แต่ก็เป็นปัญญาชนประเภทนักปรัชญา
ห่างเหินจากประชาชน ไม่สามารถถ่ายทอดธรรมสู่ประชาชนได้จริง
เมื่อมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลาย ปัญญาชนในวงการพุทธศาสนาก็หมดไป
ชาวบ้าน ซึ่งห่างไกลธรรมะ ก็ไม่อาจทรงพระศาสนาไว้ได้

สำหรับพระพุทธศาสนาในบ้านเรา เดิมก็ได้รับการอารักขาจากพระมหากษัตริย์
ทั้งพระภิกษุก็คือกลุ่มชนที่ได้รับการศึกษาดีที่สุดในสังคม
แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์
แต่ไม่เคยใช้อำนาจนั้นในทางที่จะอารักขาพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
กลับปล่อยให้คณะสงฆ์ปกครองกันเอง ภายใต้ พ.ร.บ.เก่าแก่
ส่วนกฎหมายอาญาที่จะคุ้มครองพระศาสนา
ก็ไม่มีอะไรมากกว่าการห้ามแต่งกายเลียนแบบสงฆ์
หน่วยงานที่จะสนองงานของคณะสงฆ์  ก็เป็นหน่วยงานระดับกอง
ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการให้กับมหาเถรสมาคมเท่านั้น
แม้แต่การศึกษาศาสนา บางยุค รัฐบาลถึงกับยกเลิกหลักสูตรเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เพราะเห็นว่ารัฐไม่มีหน้าที่สอนศาสนา
โดยลืมไปว่าพระพุทธศาสนาคือรากฐานทางสัมคมและวัฒนธรรมไทย

เวลาเกิดปัญหาอลัชชีขึ้น รัฐก็ปัดว่าเป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ที่จะแก้ปัญหา
เพราะถ้าไม่เข้าข่ายแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ รัฐก็ทำอะไรไม่ได้
ส่วนทางคณะสงฆ์ก็แก้ปัญหาลำบาก
เพราะระบบการปกครองถูกกำหนดด้วยกฏหมายโบราณ
และขาดระบบงานและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมารองรับ
หากอลัชชีมีผิดเรื่องโกงเงินก็จัดการง่ายหน่อย
หากเป็นเรื่องเสพย์เมถุน ก็ยากจะหาพยานหลักฐานมาเล่นงานได้

เมื่อเกิดข่าวอลัชชี ชาวบ้านก็รู้เห็นกันทั่ว
ส่วนการสอบสวนลงโทษ กลับทำได้ยากลำบาก ใช้เวลามาก
เพราะกฏหมายและระบบงานไม่เอื้ออำนวย
เรื่องเหล่านี้จึงเป็นอาหารปากของคนที่ไม่เข้าใจระบบการปกครองคณะสงฆ์
แล้วส่งผลให้เกิดวิกฤตศรัทธาตามมา ระลอกแล้วระลอกเล่า

ในส่วนคุณภาพของพระภิกษุสามเณร ก็น่าเป็นห่วง
เพราะส่วนมากเป็นผู้มีการศึกษาน้อย เป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคม
ปัญญาชนในหมู่พระมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับปัญญาชนในฝ่ายฆราวาส
พระที่จะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณได้จริง ก็มีจำนวนน้อย
ส่วนมากก็จะบวชเพื่อรอโอกาสสึก
ถ้าไม่สึก ก็มักจะเป็นเพียงผู้ให้บริการในด้านพิธีกรรมเท่านั้น
ที่จะเป็นกำลังประกาศพระศาสนาอย่างพ่อแม่ครูอาจารย์
หรือมีความรอบรู้และความสามารถในการประกาศพระศาสนา
(ไม่ต้องนับระดับปราชญ์เช่นพระธรรมปิฎกหรอกครับ) หาได้ยากเต็มที

*************************************

การจะธำรงรักษาพระศาสนาไว้ จำเป็นต้องอาศัยพุทธบริษัททั้งปวง
จะไปหวังสิ่งใดจากรัฐ หรือไปทิ้งภาระให้คณะสงฆ์ฝ่ายเดียวไม่ได้

เราจำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพคือเป็นปัญญาชนให้กับพระพุทธศาสนา
ไม่ว่าจะอยู่ในสถาบันสงฆ์ หรือเป็นฆราวาสก็ตาม
และคนเหล่านี้ ต้องรู้จักการใช้สื่อใหม่ๆ เช่น INTERNET เพื่องานของพระศาสนา
เพราะจะไปเผยแผ่ศาสนาแบบตั้งรับ คือรอให้คนเข้าวัด ไม่ได้อีกแล้ว

ผมยังดีใจว่า ได้มีส่วนช่วยให้ปัญญาชนยุคใหม่ ที่จัดว่ามีกำลังในทางโลก
ได้มารวมตัวกันศึกษาปฏิบัติธรรมจนเป็นปึกแผ่นพอสมควร
ขอให้พวกเราตระหนักถึงภาระหน้าที่ของตนเองให้ชัดเจนเถิดครับ
ว่าอันที่จริง พวกเราคือกองหน้าของพุทธศาสนิกชน
ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาเข้าสู่สังคมยุคใหม่

เราไม่ใช่แค่นักท่อง NET อย่างไม่มีสาระแก่นสารไปวันหนึ่งๆ
และอย่าไปคิดว่า เราตัวแค่นี้ จะช่วยพระศาสนาได้อย่างไร

ถ้าวันนี้ ยังคิดไม่ออกว่าจะทำประโยชน์อย่างใดได้
ก็ขอให้ระลึกว่า หน้าที่ของเราในวันนี้
คือการศึกษาพระพุทธศาสนาให้ดี ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ
อย่างน้อยที่สุด เมื่อศึกษาดีแล้ว ก็จะช่วยลดมิจฉาทิฏฐิลงได้อีก 1 คน
แล้วขั้นต่อไปจึงค่อยคิดว่า จะสร้างผู้มีสัมมาทิฏฐิให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

ผมเห็นว่า การช่วยกันสร้างผู้มีสัมมาทิฏฐินี้แหละ
คือการธำรงรักษาพระศาสนาที่มั่นคงและตรงตามพระพุทธประสงค์มากที่สุด

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 11:45:18

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ หนึ่ง วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 13:56:07
สาธุครับ _/|\_
มาขอลงชื่อเข้ากองทัพด้วยคนครับ
โดยคุณ หนึ่ง วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 13:56:07

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 14:25:34
สาธุครับ

ผมขอลงชื่ออีกหนึ่งคนครับ
โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 14:25:34

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ พีทีคุง วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 14:41:59
สาธุครับอา

การก่อให้เกิดสัมมาทิฎฐิในคนๆหนึ่งนั้นยากจริงหนอฯ
โดยคุณ พีทีคุง วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 14:41:59

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ จ้อม วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 14:45:54
สาธุครับคุณอา เมื่อเร็วๆนี้ผมก็ได้ยินพระอาจารย์ตั๋นท่านก็เล่าถึงเรื่องน่าจะมีโทษทางอาญากับผู้ที่บวชแล้วกระทำตนเป็นอลัชชี เห็นด้วยครับที่ขอให้ทุกคนทำตนให้เป็นสัมมาทิฏฐิเพื่อสืบทอดพระศาสนาต่อไป
โดยคุณ จ้อม วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 14:45:54

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ listener วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 15:14:04
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ อู๊ด วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 16:00:32
สาธุครับ กำลังคิดอยู่เลยว่า จะทำนุบำรุงพระศาสนาได้อย่างไรครับ
โดยคุณ อู๊ด วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 16:00:32

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ ต๊าน วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 16:58:19
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ tana วัน จันทร์ ที่ 30 ตุลาคม 2543 22:00:17
ไม่ออกความเห็น ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ ธีรชัย วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 07:53:44
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 07:55:44
สิ่งแรกที่พระพุทธเจ้าท่านทรงทำในการวางรากฐานของพระศาสนา
ก็คือการสร้างคนที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ
สำหรับการปกครองคณะสงฆ์และพระวินัยมาเกิดทีหลัง
โดยท่านปกครองกันด้วยระบบอุปัชฌาย์อาจารย์
รวมทั้งใช้อำนาจสงฆ์ ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์จัดการไม่ไหว
ส่วนศาสนสถานต่างๆ ในชั้นแรกก็เป็นเพียงที่พักของสงฆ์
และอาคารสนทนาธรรม/แสดงธรรม
พระเจดีย์นั้นมีการสร้างตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อบรรจุอัฐิธาตุพระอรหันต์

มาถึงยุคนี้ระบบอุปัชฌาย์อาจารย์อ่อนแอลง
มีระบบการปกครองคณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคมขึ้นมาแทน
ซึ่งก็มีข้อจำกัดมากมาย แต่จะไปตำหนิพระเถระก็ไม่ถูก
เพราะท่านก็ต้องทำตามกฎหมายบ้านเมืองอีกทีหนึ่ง
ส่วนการก่อสร้างวัตถุมีมากขึ้น แต่การสร้างคนยังมีจุดอ่อนอยู่มาก

การศึกษาพระศาสนาก็ยังอ้อมค้อมอยู่มากเหลือเกิน
ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ เพราะเรียนกันนานๆ หลายๆ ปี
แต่ที่จะเข้าถึงอริยสัจจ์ในจิตซึ่งแก้ทุกข์ได้จริงๆ กลับน้อยเหลือเกิน
ธรรมที่ตรงไปตรงมาเพื่อการแก้ทุกข์ ไม่ค่อยมีการถ่ายทอดกัน
จุดนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วงมากครับ

ถ้าเราสามารถแนะนำให้เพื่อนร่วมโลก
ให้รู้ตรงเข้ามาแก้ทุกข์ในจิตใจได้ในเวลาอันสั้น
เขาจะเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา
แล้วตั้งใจศึกษา/รักษาสืบทอดพระศาสนาต่อไป

รีบศึกษาแก้ทุกข์ในใจตนเองกันเข้าเถอะครับ
เมื่อเห็นจริงแล้ว จะได้ช่วยกันประกาศธรรมเพื่อความพ้นทุกข์กันต่อไป
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 07:55:44

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 14:53:27
ผมฝากข้อคิดเกี่ยวกับการรักษาพระศาสนาไว้แล้วว่า
เราต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีสัมมาทิฏฐิ และคนแรกที่ต้องพัฒนาคือตัวเราเอง
ต่อไปนี้ผมจะกล่าวถึงข้อคิดประการที่สองที่อยากฝากให้พวกเราพิจารณาต่อไป

การที่เราจะพัฒนาตนเองให้มีสัมมาทิฏฐินั้น ไม่ใช่งานง่ายๆ เลย
เหมือนกับการจะพัฒนาคนยากคนจน ให้เป็นคนพอมีพอกิน
เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งระยะเวลาและความอดทนสูง
จะทำแบบสมัครเล่น หรือทำเป็นแฟชั่นไม่ได้


ทุกวันนี้สังคมของเราเป็นสังคมที่เน้นการบริโภค
ผู้ผลิตสินค้าและบริการ เขาย่อมใช้ทุกวิธีการที่จะให้คนซื้อสินค้าและบริการของเขา
แม้แต่การหลอกล่อจูงใจด้วยความโกหกมดเท็จต่างๆ
ส่วนผู้บริโภคเอง ก็พยายามบริโภคให้มากที่สุดตามค่านิยมหรือวัฒนธรรมที่เน้นวัตถุ
แม้จะต้องหาเงินด้วยวิธีการสกปรกอย่างไรก็ไม่เป็นไร
ขอให้มีเงินเพื่อจะบริโภคก็แล้วกัน

โรคระบาดชนิดนี้กำลังระบาดหนักในสังคมของเรา
ตั้งแต่ระดับเด็กอนุบาล จนถึงระดับชาติ
เช่นการเมืองขณะนี้ก็กำลังเห่อสินค้าใหม่ทางการเมือง
ซึ่งความจริงใหม่แต่กล่อง แต่เนื้อในก็คือสินค้าเก่าๆ ค้างสต๊อกจากที่อื่นๆ นั่นเอง

สังคมที่ฉาบฉวย ก็สร้างคนที่ฉาบฉวย
คนที่ฉาบฉวย ก็สร้างสังคมที่ฉาบฉวย
แต่ธรรมะจะฉาบฉวยไม่ได้
เพราะธรรมะเป็นของจริง ไม่ใช่ของฉาบฉวย


ธรรมะเป็นสิ่งที่เอาเงินซื้อไม่ได้ ดังนั้นจะรวยหรือจน
จะมีการศึกษาทางโลกมากหรือน้อย
จะมีชื่อเสียงในสังคมมากน้อยเพียงใด
ก็ต้องแสวงหาธรรมะบนฐานอันเดียวกัน
เหมือนเช่นที่พระราชามหากษัตริย์ หรือกระยาจกจัณฑาล
เมื่อเข้ามาสู่พระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว ก็มีสถานะเสมอกันหมด
พระศาสดาไม่ทรงเอาใจสาวกระดับกษัตริย์ มากกว่าสาวกที่เป็นขอทานโรคเรื้อน
เพราะดวงใจที่ใฝ่ธรรม ย่อมมีค่าเสมอเหมือนกันหมด

เมื่อรักธรรม ก็ต้องสละอหังการในทางโลกเสีย
แล้วปฏิบัติธรรมด้วยความนอบน้อมต่อธรรม ซื่อสัตย์จริงใจต่อธรรม
ซึ่งความจริงก็คือความซื่อสัตย์ต่อตนเองนั่นเอง
คือจะต้องเรียนรู้ตนเองตามความเป็นจริงให้ได้
เช่นจิตมีความชั่ว ต้องรู้ว่ายังชั่วอยู่
อย่าปฏิบัติธรรมเพื่อโอ้อวด
อย่าปฏิบัติธรรมเพื่อได้รับการยอมรับจากหมู่เพื่อน
ประการสำคัญ อย่าเอานิสัยฉาบฉวยทางโลก มาใช้ในการปฏิบัติธรรม
เพราะการปฏิบัติธรรม ต้องการความต่อเนื่องเป็นอย่างมาก
คือจะต้องปฏิบัติด้วยความจริงใจจนตลอดชีวิต


ที่ผมกล่าวว่าอย่าปฏิบัติธรรมแบบฉาบฉวย
ไม่ได้หมายความว่า จะต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อการปฏิบัติแบบนักบวช
แต่หมายความว่า อย่าหยุดนิ่งในการพัฒนาตนเอง
เดินวันละก้าวแต่ไม่หยุด ดีกว่าวิ่งไปกิโลเมตรหนึ่งแล้วลงนอนหลับไปเป็นปีๆ

ที่ผมกล่าวว่าอย่าปฏิบัติธรรมแบบฉาบฉวย
ไม่ได้หมายความว่า ให้เราเดินคนเดียว ไม่มีหมู่พวก
แต่หมายถึงให้เราพากเพียรปฏิบัติเอา
ใครจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ช่างเขา ให้เราปฏิบัติก็แล้วกัน
ไม่ใช่รวมกลุ่มเฮฮาปาตี้ เข้าสำนักนั้น ออกสำนักนี้
หรือเที่ยวหาอุบายแปลกใหม่ในการปฏิบัติเรื่อยไป
แทนที่จะหยุดการแสวงหา
แล้วลงมือเจริญสติสัมปชัญญะไปอย่างเรียบง่ายและซื่อตรง


ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ก็มีสาเหตุครับ
คือผมเห็นเด็กรุ่นน้องรุ่นหลาน ซึ่งเติบโตมาในสังคมที่เน้นการบริโภคแล้ว
รู้สึกเห็นใจและเป็นห่วงเสียจริงๆ
กลัวว่าจะเอานิสัยฉาบฉวยมาใช้ในการปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติธรรมตามแฟชั่น
แล้วจะไม่ได้รับผลของการปฏิบัติเท่าที่ควรจะได้ ทั้งที่ได้พบพระศาสนาแล้ว
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 14:53:27

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 15:43:34
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ นิดนึง วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 16:33:44
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ tana วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 19:13:51
เขียนไม่เก่ง  พูดไม่เป็น  มุ่งแต่...ทำ
โดยคุณ tana วัน อังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2543 19:13:51

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ วิทวัส วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 02:27:59
เห็นด้วยกับพี่ครับ

การสร้างรากฐานพระพุทธศาสนา ต้องเริ่มจากสร้างคนก่อน แม้พระผู้มีพระภาค สมัยเริ่มประกาศศาสนา พระองค์ยังต้องเลือกคนที่เข้าใจธรรมของพระองค์ได้ก่อน ซึ่งก็เป็นเหตุให้พระองค์เดินทางไปโปรดปัญจวัคคีย์

หากเราสร้างตัวเราเองให้มั่นคงในพระศาสนา คือพร้อมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ แล้วขยายต่อไปยังคนรอบข้าง ก็จะสามารถสร้างสังคมที่มั่นคงในพระพุทธศาสนาขึ้นมาได้

ขอลงชื่อว่าจะเป็นอีกคนครับ ที่จะก้าวทุกวัน แม้ว่าบางวันจะก้าวได้แค่คืบ หรือแค่กระเบียดนิ้ว ก็จะก้าวทุกวัน จะไม่ยอมหยุดเดินเด็ดขาดครับ

ขอถามอีกสักประเด็นครับ เพราะพี่พูดถึงไว้ คือเรื่องอุบาย ทำอย่างไรเราจึงจะรู้ได้ครับว่าอุบายที่เราขุดมาใช้เรื่อยๆนั้น ไม่ใช่อุบายที่กิเลสหลอกให้เราขุดขึ้นมา
โดยคุณ วิทวัส วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 02:27:59

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ วิทวัส วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 02:39:29
พอดีย้อนกลับไปดูกระทู้เก่า ก็เลยได้คำตอบแล้วครับ คืออุบายใดก็ตามใช้แล้วจากที่ไม่เคยมีสติก็มีสติ จากที่ไม่เคยมีสัมปชัญญะ ก็มีสัมปชัญญะ อุบายนั้นใช้ได้

อุบายใดๆก็ตามที่ใช้แล้ว สติที่ไม่มีก็ยังคงไม่มี อย่าให้ต้องกล่าวถึงสัมปชัญญะ อุบายนั้นใช้ไม่ได้ แปลว่าตัวที่ผลิตอุบายคงเป็นกิเลส ไม่ใช่ปัญญา

ต้องขอโทษด้วยครับที่รบกวนถามคำถามที่มีคำตอบอยู่แล้ว
โดยคุณ วิทวัส วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 02:39:29

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 08:30:25
ข้อคิดประการที่ 3 ที่อยากฝากไว้แก่หมู่เพื่อนก็คือ
เมื่อเรามุ่งจะพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง ไม่ฉาบฉวยตามแฟชั่นแล้ว
การปฏิบัติของเราควรจะเรียบง่าย ตรงไปตรงมา อย่าอ้อมค้อม


การปฏิบัติที่ตรงไปตรงมา
ก็คือการเจริญสติสัมปชัญญะให้ถูกต้อง
สิ่งใดจะเกิดขึ้นกับกายและจิต
ก็ให้รู้เท่าทันเรื่อยไปตามธรรมชาติธรรมดานี้แหละ

อย่าไปหลงเสียเวลา กับการแสวงหารูปแบบการปฏิบัติที่เหมาะสม
เช่นไม่ต้องสนใจหรอกว่า เราควรทำอานาปานสติ หรือกายคตาสติ
ควรเดินจงกรม หรือขยับมือ หรือเคาะนิ้ว  ในจังหวะนั้นจังหวะนี้
ดูรู้เวทนา หรือรู้จิตสังขาร หรือควรจะรู้กลไกการทำงานของจิตตามหลักอริยสัจจ์

บางคนเข้าสำนักนั้น ออกสำนักนี้ หรือเที่ยวพลิกแพลงการปฏิบัติมากมาย
เพื่อจะหารูปแบบการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง
นั่นเป็นการหลงกลอุบายของกิเลสเท่านั้นเอง
แทนที่จะใช้พฤติกรรมแบบคนตาบอดคลำทาง
ซึ่งส่วนมากจะคลำไม่เจอจนตลอดชีวิต กลายเป็นนักปฏิบัติที่จับจดเอาดีไม่ได้
ก็ควรมาหัดเจริญสติสัมปชัญญะ มาฝึกความรู้ตัวไว้ในทุกสถานการณ์

เมื่อฝึกความรู้ตัว ไม่เผลอ ไม่เพ่ง อ่านจิตใจตนเองออกแล้ว
ไม่นานก็จะพบเองว่า
ตนเองมีจริตนิสัยเหมาะกับการใช้กรรมฐานอย่างใดเป็นเครื่องอยู่
คือมีความถนัด หรืออยู่กับกรรมฐานนั้นแล้ว สติสัมปชัญญะเจริญยิ่งขึ้น


แทนที่จะไปหารู้แบบการปฏิบัติที่เหมาะสมมาให้จิตใช้ทำกรรมฐาน
กลับจะเป็นการให้จิตเขาค้นพบรูปแบบที่เหมาะสมของเขาเอง
เพราะจะได้รูปแบบที่เหมาะสมเฉพาะตัว
ไม่ใช่ได้รูปแบบการปฏิบัติที่เป็นสินค้าโหล และไม่เหมาะกับตนเอง

นอกจากการเจริญสติสัมปชัญญะให้ถูกแล้ว
ผมไม่ชอบที่จะเคี่ยวเข็นให้พวกเราปฏิบัติธรรมด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด
ผู้ที่ศึกษาธรรมจากผม จึงมีตั้งแต่ผู้เจริญกายานุปัสสนาที่หลากหลายกันไป
จนถึงผู้เจริญธัมมานุปัสสนาที่แตกต่างกันไปเฉพาะบุคคล
สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกัน ฝึกเหมือนกัน คือสติและสัมปชัญญะเท่านั้น

แนวทางการปฏิบัติเช่นนี้ผมได้มาจากพ่อแม่ครูอาจารย์ คือหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
ท่านสอนเน้นเรื่องจิตก็จริง แต่ศิษย์ของท่านที่ประสบความสำเร็จ
มีตั้งแต่ผู้พิจารณากาย จนถึงผู้ที่เจริญปัญญาที่ประณีตที่สุด
ทั้งนี้เพราะจริตนิสัยของแต่ละคนต่างกัน จะเอารูปแบบสำเร็จรูปมาใช้ไม่ได้

ดังนั้น จับหลักปฏิบัติให้แม่น ก็จะพบรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเอง
ดีกว่าเที่ยวแสวงหารูปแบบ โดยจับแก่นสารในหลักการเจริญสติสัมปชัญญะไม่ได้


สำหรับอุบายแก้อาการของจิต ซึ่งเป็นเรื่องในรายละเอียดยิ่งกว่าเรื่องรูปแบบของการปฏิบัติ
ต้องค่อยไปพลิกแพลงเอาเอง เหมือนนักมวยที่ต้องไปแก้ทางมวยเอาเมื่อเผชิญคู่ต่อสู่บนเวที
เพราะไม่มีอุบายสำเร็จรูป ที่จะต่อสู้กับกิเลสได้เสมอไป
อย่าว่าแต่การลอกเลียนอุบายของผู้อื่นเลย
แม้อุบายที่เราเองเคยใช้ได้ผลในวาระหนึ่ง
จะนำกลับมาใช้ในอีกวาระหนึ่ง ก็เป็นที่หัวเราะเยาะของกิเลสแล้ว
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 08:30:25

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 08:44:04
ขอ สาุธการ อีกครั้งครับ
โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 08:44:04

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 08:56:57
สาธุ!!! สาธุ!!! สาธุ!!!

โดนใจเข้าเต็มที่เลยครับ
โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 08:56:57

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ โยคาวจร วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 09:39:50
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ นิดนึง วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 10:17:54
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ สายขิม วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 12:28:22
_/\_ สาธุค่ะครู
โดยคุณ สายขิม วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 12:28:22

ความเห็นที่ 23 โดยคุณ นุดี วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 13:05:12
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 24 โดยคุณ พีทีคุง วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 13:16:34
_/|\_ _/|\_ _/|\_
โดยคุณ พีทีคุง วัน พุธ ที่ 1 พฤศจิกายน 2543 13:16:34

ความเห็นที่ 25 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 07:48:58
เราคุยกันมีหลายประเด็นแล้ว เริ่มจากการรักษาพระศาสนา
ซึ่งผมเห็นว่า จุดสำคัญที่สุดคือการสร้างคนที่เป็นสัมมาทิฎฐิ
และคนแรกที่เราจะต้องสร้างก่อนเพื่อน ก็คือตัวเราเอง
ซึ่งงานพัฒนาตนเอง เป็นเรื่องจริงจัง จะทำฉาบฉวยตามแฟชั่นไม่ได้
และวิธีการสร้างก็คือการเจริญสติสัมปชัญญะอย่างตรงไปตรงมา

ข้อคิดประการที่ 4 ที่อยากจะฝากไว้ให้พวกเราพิจารณาก็คือ
ในระหว่างที่เจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น
อย่าทำสิ่งใดอันเป็นการเพิ่มภาระของจิต


ผู้ปฏิบัติจำนวนมากชอบสร้างภาระให้จิต
เพราะให้ปฏิบัติตรงไปตรงมาแล้วอึดอัดใจ กลัวจะไม่มีความรู้บ้าง
กลัวว่าถ้าไม่มีอะไรให้ทำมากๆ  จะกลายเป็นว่าตนไม่ได้ปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง
ทั้งนี้เพราะพื้นฐานความเชื่อดั้งเดิม
ที่เชื่อว่าการปฏิบัติธรรมคืออะไรบางอย่างที่ลึกลับและยุ่งยาก
พอพบกับการเจริญสติสัมปชัญญะที่เรียบง่าย คือ รู้ โดยไม่แต่งเติมอะไร
ก็เริ่มกังวลใจกลัวว่าจะไม่ได้ปฏิบัติธรรม
ลืมนึกไปว่า ผู้ที่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้ามักจะอุทานว่า
แจ่มแจ้งนักพระเจ้าข้า เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย
เหมือนให้แสงสว่างแก่คนตาดี ฯลฯ

หลวงปู่ดูลย์นั้น ท่านไม่นิยมสิ่งใดที่เป็นความยืดยาดเยิ่นเย้อโดยสิ้นเชิง
ลูกศิษย์คนไหนสนใจการเข้าฌาน ท่านก็ไม่สอนเรื่องฌาน (แต่สอนให้กับศิษย์ที่ไม่สนใจ)
ลูกศิษย์เล่าเรื่องนิมิต กระทั่งความรอบรู้ใดๆ ท่านกลับสอนให้ย้อนมาดูจิต
ลูกศิษย์กังวลเรื่องการสร้างวัดวาอารามเพราะจะต้องไปเป็นเจ้าอาวาส
ท่านกลับสั่งให้ปฏิบัติอย่างเดียว ส่วนวัดวาอารามนั้น ให้ญาติโยมเขาสร้างกันเอง
กระทั่งการสวดมนต์ ท่านไม่นิยมให้สวดมากๆ
มีพระรูปหนึ่งชอบแอบสวดมนต์อยู่ในกุฏิหลังวัด แบบไม่เลือกเวลา
ท่านยังสั่งพระอีกรูปหนึ่งให้ไปเตือนว่า
ให้ลดการสวดมนต์ลง แล้วดูจิตให้มากขึ้น

เราปฏิบัติก็เพื่อลดภาระเครื่องรุงรังในจิตใจ
ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อเพิ่มการแบกหามสิ่งหนึ่งสิ่งใด
จึงควรปฏิบัติจากความมี(สิ่งรกรุงรังในจิต)มาก ไปสู่ความมีน้อย
ปฏิบัติจากความมีน้อย ไปสู่ความไม่มีอะไร
และปฏิบัติจากความไม่มีอะไร
ไปสู่ความไม่ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งสักอย่างเดียว


ความสุขของพระพุทธศาสนา อยู่ตรงที่จิตไม่ยึดถืออะไรเลยนี้แหละ
มันสุดขั้วตรงข้ามกับความสุขในทางโลก ที่ต้องมีอะไรๆ ให้มากเข้าไว้

ผู้ใดค้นพบความสุขที่ไม่อิงอาศัยสิ่งใดในโลก
ก็คือผู้เข้าถึงแก่นกลางของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
ความสุขชนิดนี้มีอยู่ หนทางก็มีอยู่ ผู้ที่เป็นแบบฉบับก็ยังมีอยู่(บ้าง)
พวกเราแม้ยังทำได้ไม่ถึงอย่างนี้  ก็ไม่เป็นไร
พยายามฝึกฝนตนเองเข้าไว้
ถ้าเห็นว่า จิตไม่ใช่เรา เมื่อใด
ก็พอจะเข้าใจถึงความสุขชนิดนี้ สามารถเป็นพยานของพระพุทธศาสนา
และเป็นผู้ประกาศพระศาสนาด้วยความมั่นใจได้แล้ว


ขอให้เพื่อนผู้ตั้งใจจะเป็นกองหน้า ที่จะนำพาพระพุทธศาสนาเข้าสู่สังคมยุคใหม่
หมั่นตรวจสอบจิตใจตนเองให้มากๆ นะครับ ว่าแต่ละเดือน แต่ละปีที่ผ่านไป
เราได้พัฒนาตนเองให้เข้าใกล้เป้าหมายของพระพุทธศาสนามากขึ้นหรือเปล่า
ถ้าเข้าใกล้มากขึ้น เราก็จะเป็นผู้พิทักษ์พระศาสนาได้มากขึ้น
เพราะพระสัทธรรมนั้น จะประดิษฐานอย่างไม่ฟั่นเฟือนได้
ก็เฉพาะในจิตของผู้ถึงธรรมเท่านั้น
ดังนั้น หากต้องการให้พระศาสนามั่นคง
ก็ต้องพัฒนาจิตตนเองให้ถึงธรรมให้ได้

ขอให้พวกเราตระหนักเถิดว่า
การปฏิบัติธรรมของเรา ไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะตัวเราคนเดียว
แต่ยังเชื่อมโยงโดยตรงถึงการรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ในโลกด้วย

นี้เป็นข้อคิดประการที่ 5 ที่ขอฝากไว้ให้พวกเราพิจารณาครับ

จบแล้วครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 07:48:58

ความเห็นที่ 26 โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 07:59:35
สาธุ สาธุ สาธุ
น้อมรับครับ
โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 07:59:35

ความเห็นที่ 27 โดยคุณ ศุภสิทธิ์ วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 08:28:10
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 28 โดยคุณ กระต่าย วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 15:45:29
สาธุ สาธุ สาธุ
กระทบจิตกระทบใจเต็มๆเลยค่ะ
โดยคุณ กระต่าย วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 15:45:29

ความเห็นที่ 29 โดยคุณ มะเหมี่ยว วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 18:35:45
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 30 โดยคุณ นิดนึง วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 19:41:08
_/|\_  _/|\_  _/|\_
โดยคุณ นิดนึง วัน พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2543 19:41:08

ความเห็นที่ 31 โดยคุณ dawn วัน ศุกร์ ที่ 3 พฤศจิกายน 2543 12:28:27
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 32 โดยคุณ อาจ วัน ศุกร์ ที่ 3 พฤศจิกายน 2543 18:34:59
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 33 โดยคุณ tuli วัน เสาร์ ที่ 4 พฤศจิกายน 2543 16:16:28
สาธุครับ
เดี๋ยวนี้ผมไม่เคยแสวงหาการปฏิบัติแบบอื่นใดอีกเลยครับ  พบหนทางที่เหมาะแก่ตนเองอย่างแท้จริงแล้ว
ความเหลวแหลกในวงการสงฆ์ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้ทำให้ใจของผมหวั่นไหวแม้แต่น้อยนิด
ตอนนี้ก็พยายามกระตุ้นคนใกล้ชิดเข้ามาปฏิบัติได้มากแล้วครับ  ทั้งภรรยาที่อยากรู้จักจิตผู้รู้แล้ว   ฯลฯ
โดยคุณ tuli วัน เสาร์ ที่ 4 พฤศจิกายน 2543 16:16:28

ความเห็นที่ 34 โดยคุณ กอบ วัน เสาร์ ที่ 4 พฤศจิกายน 2543 20:19:06
สาธุครับครู

ขอลงชื่อเข้ากองทัพด้วยคนครับ
โดยคุณ กอบ วัน เสาร์ ที่ 4 พฤศจิกายน 2543 20:19:06

ความเห็นที่ 35 โดยคุณ sarot วัน จันทร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2543 00:19:31
เห็นด้วย ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 36 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2543 08:13:12
สาธุครับคุณหมอธุลี
ความจริงผู้ใดอ่านจิตอ่านใจตนเองได้ รู้จักพระศาสนาภายในแล้ว
จะไม่มีความหวั่นไหว และศรัทธาไม่คลอนแคลน
เพราะข่าวความเสียหายของพระศาสนาภายนอก
แม้ความพยายามธำรงรักษาพระศาสนาไว้ ก็เพื่อประโยชน์ของคนอื่นทั้งสิ้น
ทั้งยังเป็นการแทนคุณพระศาสดาที่ท่านลำบากยากแค้นอย่างยาวนาน
กว่าจะค้นพบพระสัทธรรมแล้วทรงนำมาประกาศ จนเราได้รับประโยชน์แล้ว
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2543 08:13:12

ความเห็นที่ 37 โดยคุณ นกเอี้ยง วัน จันทร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2543 14:31:27
^-^ _/|\_
โดยคุณ นกเอี้ยง วัน จันทร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2543 14:31:27

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com