กลับสู่หน้าหลัก

เรียนถามคุณอา+พี่ตุลย์เกี่ยวกับมรณานุสติและการเจริญสติบ่อยๆครับ

โดยคุณ นิพ วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 09:15:26

ที่จริงอยากจะถามเป็นการส่วนตัว ผ่าน ICQ แต่เห็นว่า
เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ ก็เลยถามในวิมุตติดีกว่าครับ

เมื่อคืนผมเดินจงกรมอยู่ ก็เกิดความคิดกลัวตายขึ้นมา แล้วก็เกิดความคิดต่อไปว่าเพราะสมัยนี้มีเหตุให้ถึงตายเยอะเหลือเกิน เช่นโรคต่างๆอุบัติเหตุ โจรผู้ร้าย(ยิ่งเรื่องโจรพม่ายิ่งทำให้น่ากลัว) หรือถึงเวลาตายเอง ก็กลัว เสียดายที่ชาตินี้ได้พบพระศาสนา ได้เกิดเป็นคน ได้มีร่างกาย+จิตใจสมบูรณ์(คิดว่าใช่นะครับ ^-^!) ได้เกิดมานับถือพุทธและมีสัมมาทิฐิในขั้นต้น ได้พบครูอาจารย์ดี
แนวการปฏิบัติที่ถูกจริตและถูกทาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมถือว่า
โชคดีกว่าเกิดเป็นมหาจักรพรรดิเสียอีก ดังนั้นเลยยิ่งกลัวถ้าพลาดชาตินี้ก็ไม่รู้ อีกเมื่อไหร่จะเกิดมหาโชคมหาศาลเช่นนี้อีก

เกิดความเสียดาย(ผมก็พยายามรู้เวลาเกิดอารมณ์ต่างๆครับ)ก้เลยนึกต่อถึงการปฏิบัติ กลัวจะไม่ถึงธรรม(สารพัดอารมณ์ที่เกิดขึ้นครับ )
ก็เลยนึกถึงคุณที่คุณอาเคยพูดถึงวาระสุดท้ายของนักปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติถูกมาตลอดจิตจะดำเนินการของเขาเอง(ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) หรือที่พี่ตุลย์เคยบอกว่า ในขณะตายจิตจะแยกเวทนามาพิจารณาเองครับ

ผมก็คิดได้ว่าควรจะมีสติให้อยู่กับเรามากที่สุด พยายามไม่ให้จิตส่งออกนอก ถ้าไม่ถึงธรรมตอนมีชีวิต อย่างน้อยเสี้ยววินาทีที่จะตาย ก็อยากให้มีเฮือกสุดท้ายของนักปฏิบัติครับ

แหะๆเขียนมาซะยาว ก็เพื่ออยากจะเรียนถามคุณอา+คุณพี่ในเรื่องนี้ครับ ถ้าเราพยายามเจริญสติตลอดเวลาแล้วในวาระสุดท้ายมันจะช่วยได้จริงๆหรือเปล่าครับ แล้วจำเป็นไหมครับถ้าเกิดที่ผ่านมายังมีสติไม่ถูก(เพ่งหรือเผลอเป็นส่วนมาก) แต่ในวินาทีสุดท้าย มาเข้าใจรู้ตัวแบบไม่เพ่งไม่เผลอได้จะเกิดเฮือกสุดท้ายของจิตไหมครับ
หรือว่าแม้เจริญสติมาโดยตลอด แต่สุดท้ายขณะจะตายก็ต้องขึ้นกับโชคหรือกรรมเก่าด้วยครับ

แหะๆตอนนี้กลัวครับกลัวตายขึ้นสมองครับ เสียดายที่เกิดมาโชคดีมากๆๆตามที่เรียนไว้ข้างต้น ก็เลยขอถามครับ เพื่อจะได้เตรียมใจเตรียมตัวตาย และอยากได้คำชี้แนะจากครูอาจารย์ รวมทั้งคำยืนยันว่าสติสัมปัชชัญญะเป็นเพื่อนแท้เวลาตายจริงๆครับ เพื่อสร้างกำลังใจในการปฏิบัติครับ

ขอบพระคุณคุณอาและพี่ตุลย์ครับ _/I\_
โดยคุณ นิพ วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 09:15:26

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ นิพ วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 09:23:57
แหะๆ ตอนนี้นึกถึงคุณอา+บวกพี่ตุลย์ทีไร มันไม่ได้เป็นนึกถึงรู้ครับ แต่มันนึกถึงความกลัวตาย เพราะเสียดายที่ได้เกิดมาพบครูอาจารย์ดีๆหน่ะครับ ^-^!
โดยคุณ นิพ วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 09:23:57

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 17:07:34
ครูไม่อยู่ครับ กลับมาอีกทีก็วันอังคารครับ

ตอบตามที่เคยอ่านมา ผสมกับความคิดนิดหน่อย ผิดถูกไม่รับรองครับ

เมื่อขณะจะตาย จิตจะสร้างกรรม (ปกติก็สร้างเป็นนิตย์อยู่แล้วครับ เพราะเจตนาเป็นตัวกรรม) ที่เรียกว่า อาสัณกรรม หรือกรรมที่ทำตอนตาย ซึ่งจำไม่ผิด ท่านได้แบ่งไว้ 4 ประการ ครับ แต่ที่จำได้จริงๆมี 2 อย่างครับ (จิตเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง)

1. บาปหนัก เช่น ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ หรือบุญมหาศาลก็ได้ เช่นทำสังฆทาน
2. กรรมที่ทำจนติดเป็นนิสัย
อีก 2 อย่าง จำไม่ได้ครับ

ไม่ว่าจะเป็นกรรมใดใน 4 อย่างนี้ จะเป็นตัวพาไปยังภพชาติที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น หากเป็นคนมีอาชีพฆ่าหมู เมื่อขณะตายจะเห็นหมูร้อง หมูถูกเชือด เห็นอาวุธ หรือแม้บางครั้งจะเห็นเป็นเปลวเพลิง จากนั้นจิตจะลงไปเกิดในนรกทันที (ที่จริงก็คือ จิตก็สร้างภพนรกขึ้นมา แล้วจิตก็ยึดเอาภพนรกเป็นแดนเกิด ตรงนี้อย่างเชื่อผมนะครับ ข้อความในวงเล็บ ผมสันนิษฐานเอาครับ)

ทีนี้หากว่าเราเป็นผู้เจริญสติเป็นส่วนมาก ทำเป็นประจำวัน ทุกเมื่อเชื่อวัน เมื่อตาย จิตก็ย่อมเจริญสติเป็นอัตโนมัติครับ หากไม่ชื่อลองสังเกตสิครับ ว่าเวลามีอะไรมากระทบให้ตกใจ ก่อนที่เราจะหัดเจริญสติ กับหลังจากที่เราเจริญสติเป็นแล้ว พฤติกรรมของจิตต่างกันหรือไม่ อย่างไร

เมื่อตอบตรงนี้ไปแล้ว อยากจะแนะนำเพิ่มเติมครับว่า กิเลสนั้นมีอุบายร้อยแปดที่จะพา หรือชักนำให้เราออกห่างสติ ยกตัวอย่างเช่น การกลัวตาย หากเราไม่พิจารณาว่า ในปัจจุบันนี้เป็นโชคมหาศาล จนทำให้เกิดความโลภ อยากจะรักษาภพนี้ ชาตินี้ เอาไว้ ก็คงไม่เกิดความกลัวตายเป็นแน่เชียวครับ (เป็นความคิดเห็นของผมนะครับ)

โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 17:07:34

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ ดังตฤณ วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 21:14:51
ตอนเด็กผมมักเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งบ่อยๆ
คือเกิดมาชาตินี้เราโชคดี ตอนนั้นไม่เข้าใจเหมือนกันว่าโชคดีอย่างไร

ตอนโตขึ้น เจอกิเลส เจอปัญหา เจอความทุกข์เหมือนกับทุกคนในโลก
ชะตากรรมโหดๆชนิดที่ทำให้คนทั่วไปอยากฆ่าตัวตายก็เจออยู่สองสามหน
ช่วงที่ทุกข์มากๆก็เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในวาสนา
รู้สึกว่าเรานี้บุญน้อย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ให้ความช่วยเหลือเลย
ลืมไปสนิทเกี่ยวกับความรู้สึกสมัยเด็กที่นึกว่าตัวเราเกิดมานี้โชคดีนักหนา

ตอนนี้ทั้งทุกข์มากและสุขมากเหมือนผ่านๆไปแล้ว
เหมือนที่เขาชอบเรียกกันว่าแล้วๆกันไปนั่นแหละ
มาถึงจุดที่จิตรู้จักธรรมชาติของตัวเอง
รู้จักธรรมชาติของกายที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกกับจิต
รู้จักและเห็นตามจริงว่ากรรมวิบากมี ภพชาติมี
สิ่งที่ลืมไปแล้วไม่ได้หมดสูญ แต่แปรเป็นอื่น คลี่คลายมาสู่ความเป็นอย่างนี้

เมื่อมองย้อนกลับไปอีกทีนับแต่ต้นชีวิต ถึงเห็นภาพอีกอย่าง
ภาพที่จิตรู้อยู่ว่าสั่งสมสัญญาณนำร่องมาดีแล้ว
แม้ตกทุกข์ได้ยากอย่างไร เจอวิบากกรรมทำร้ายแค่ไหน
ก็จะไม่มีวันโต้ตอบด้วยการละเมิดศีล 5 แบบหนักๆ
(ทั้งที่เกิดมาเป็นตัวเป็นตนไม่เคยคิดถือศีล 5 แม้แต่วันเดียว
แต่ใจก็เหมือนขลาดกลัวกับการลงมือทำบาปใหญ่
อย่างมากได้แต่คิด แต่กายใจไม่เอาด้วยกับความคิดหรือแรงผลักดันไหนๆ)

เมื่อค้นรู้ลงไปในจิต ก็ได้ความรู้ว่า "ความไม่เอาบาป" นั้น
ใช่ว่าอยู่ๆเกิดขึ้นเองลอยๆ หรือเป็นกรรมพันธุ์ หรือเพราะได้พ่อแม่เลี้ยงดี
แต่เป็นเรื่องที่เราเคยอธิษฐานไว้แล้ว
คือในกาลก่อนๆเมื่อตกลงใจรักษาศีล รักษาความดีใดๆ
ก็กำหนดแน่วแน่ว่าจะรักษาไว้ตลอดชีวิต
และขอให้เป็นสัญญาณนำร่องติดจิตติดวิญญาณไปตราบเท่าถึงนิพพาน

อันนี้ก็ได้ผลเหมือนกัน แต่ตัวตนในชาตินี้มันลืมไปแล้ว
ตอนเกิดมาแรกๆแค่รู้สึกเท่านั้นว่าเราโชคดี
(ความจริงมีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมา
แต่ขอเล่าเฉพาะที่เป็นประโยชน์เอาไปใช้ได้จริงนะครับ)

เท่าที่เห็นกับตาในชาตินี้ก็มีคุณตึก (พัลวัน) คนหนึ่งล่ะ
ที่คิดเองแบบเดียวกัน และมาเล่าให้ผมฟังทาง ICQ
ผมได้ยินแล้วก็อนุโมทนาสาธุ จำไม่ได้ว่ากล่าวอย่างไรตอบกลับไป
รู้แต่ว่าในใจนึกๆคืออย่างนี้ถึงเป็นพวกเดียวกันได้
เพราะอยู่ในร่องกระแสเจตนาคล้ายคลึงกัน
มีความโน้มเอียงไปทางทิศเดียวกัน

นั่นว่าเฉพาะในระดับของศีล ที่เป็นประกันให้เราอุ่นใจ
ว่าถ้าพลาดจากมรรคผลไป ก็พอหมดห่วงกับตนเองว่าต่อไปคงไม่เคราะห์ร้ายนัก
ถ้าจะต้องถูกแรงวิบากซัดเหวี่ยงไปเผชิญทุกข์แบบไหนๆ
ก็คงไม่ยอมกายถวายหัวให้กิเลสสั่งโน่นสั่งนี่ถนัดนัก

ในระดับของปัญญาก็เช่นกัน
ถ้านิพเห็นว่าตนเองยึดมั่นในพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอย่างบริสุทธิ์
ปักใจแน่วแน่กับการบำเพ็ญเพียรเพื่อทำทุกข์ให้ถึงที่สุด
และลงมือทำจริงวันต่อวัน ไม่ย่อท้อ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
หากจะอธิษฐานว่าพลาดมรรคผลในชาตินี้ฉันใด
ก็ขอให้เกิดคราวหน้าได้พบครูบาอาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิอีก
และมีกำลังใจที่จะปฏิบัติถูกปฏิบัติตรงจนกว่าจะพ้นทุกข์เด็ดขาดเยี่ยงนี้อีก


อธิษฐานไว้ให้สบายใจอย่างนี้แล้วก็เลิกคิดเสีย
มุ่งบำเพ็ญภาวนาอย่างเดียว ถ้ากลัวตาย ก็ตัดใจตาย ยอมตาย
หากนิวเคลียร์มันจะลงก่อนตื่น ก็ให้มันตายๆไป
หากออกจากบ้านเกิดอะไรขึ้นก่อนมีโอกาสได้กลับมาปฏิบัติอีกก็เชิญ
เพราะตอนมีโอกาส ตอนมีลมหายใจ เราทำดีที่สุดแล้วได้แค่นี้
อย่าห่วงเกี่ยวกับเรื่องคติข้างหน้า เพราะห่วงชนิดนั้นไม่ใช่เหตุแห่งคติอันดี
เหตุแห่งคติอันดีคือกรรมที่เป็นกุศล และจิตที่ปลอดโปร่งสบายอยู่เป็นนิตย์ต่างหาก

เมื่อทำมรณสติจนเกิดความกลัวตาย
ความกลัวตรงนั้นเป็นของดี อย่างน้อยก็ดีกว่าความกำหนัดถึงเพศตรงข้าม
ดีกว่าความพยาบาทถึงศัตรู
เราเอาความกลัวตรงนั้นมาเร่งความเพียรด้วยความไม่ประมาทได้
และตัวความกลัว ณ จุดนั้นเอง หากรู้เข้าไปตรงๆ รู้เข้าไปดีๆ
ก็สามารถเห็นว่าเป็นของครอบงำจิต ของอื่นต่างหากจากรู้ได้เช่นกัน
ไม่ต่างกับเจตสิกอื่นๆ ความรู้สึกนึกคิดต่างๆเลย
(ความกลัวเป็นโทสะ ฉะนั้น โทสะเกิดขึ้นที่จิตก็สักแต่รู้ว่านี่โทสะ
เห็นเป็นภาวะหนึ่ง เห็นว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป)

หากอยู่ในภาวะพร้อมรู้ ก็รู้เข้าไปเลยตรงๆ
แต่ถ้าหากจิตกำลังตก กำลังมีความฟุ้งซ่าน หรือไม่สามารถตั้งรู้ได้อย่างเป็นกลาง
หลังๆเห็นอุบายอย่างหนึ่งที่ใช้ได้ผลกับหลายคน
นั่นคือพอเกิดภาวะใดขึ้นในจิต ก็เลี้ยงภาวะนั้นไว้ด้วยการเคาะมือ
หากใครฝึกเคาะมือมาจนชำนาญ จะรู้ว่าเราเคาะเพื่อให้เกิดสติ
เพื่อเลี้ยงอาการรู้ไว้ไม่ล้ม
อันนี้เอามาต่อยอดนิดหนึ่ง คือเลี้ยงอาการรู้ภาวะหนึ่งๆไว้
ตัวอย่างเช่นเกิดความกลัวตาย
ก็เลี้ยงความกลัวตายไว้ด้วยการเคาะ
เคาะในแบบของตัวเอง ที่สัมพันธ์กันกับตัวเห็นความกลัว
เมื่อเห็นความกลัวโดยไม่ตั้งใจเพ่งเห็น และไม่ปล่อยปละสติสัมปชัญญะ
ผลที่เกิดคือความประจักษ์แจ้งจากกำลังรู้ กำลังสติ
ว่าความกลัวนั้นเป็นแค่อะไรแปลกปลอมครอบงำจิตอยู่
เมื่อกำลังสติเข้มแข็งขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
สิ่งแปลกปลอมนั้นก็หมดภาวะ ครอบงำจิต
แต่กลายเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ว่าประกอบกับจิตอยู่
เมื่อเคาะไปเรื่อยรักษาอาการรู้นั้นดีๆ
สิ่งที่ถูกเห็นว่าประกอบจิตก็แสดงอนิจจังของมันเอง
สลายตัวไปในกระแสความรู้อย่างเป็นกลางนั้นในที่สุด

มาตรวัดว่าปฏิบัติได้ถูกหรือไม่
คือเมื่อของอะไรหายไปแล้วจากใจ
ใจต้องไม่หวงไว้ ไม่ออกอาการหน่วงไว้ ไม่มีความหวงแหนไว้
เหมือนว่าวหลุดมือแล้วไม่มีการวิ่งตามยื้อ
กลับมาทรงอยู่กับรู้อย่างเป็นกลาง
ไม่มีการรอของใหม่ แต่เมื่อของใหม่จรเข้ามา
ก็ตั้งรู้อยู่อีก เห็นเป็นของจรเข้ามาอีก และเห็นเป็นของจรออกไปอีก
ทำไปเรื่อยๆจนมันอยู่ของมันเองอย่างนั้น

สำคัญคืออย่างที่หลวงพ่อมนตรีสอน
ทำได้ทำถูกนั้นก็ดี แต่จะดีขึ้น หรือดีที่สุด ถ้าทำให้ต่อเนื่อง
โดยคุณ ดังตฤณ วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 21:14:51

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ listener วัน พุธ ที่ 6 ธันวาคม 2543 21:52:07
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ นิพ วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2543 08:53:31
สาธุกับพี่ตุลย์และพี่ตึกเขียนถึงใจดีจริงๆครับ _/I\_

คุณอากลับอังคารหน้า งั้นผมรอฟังคุณอาอีกหนึ่งคำตอบด้วยดีกว่าครับ
โดยคุณ นิพ วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2543 08:53:31

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2543 09:12:37
สาธุ สาธุ สาธุ


ปักใจแน่วแน่กับการบำเพ็ญเพียรเพื่อทำทุกข์ให้ถึงที่สุด และลงมือทำจริงวันต่อวัน ไม่ย่อท้อ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง หากจะอธิษฐานว่าพลาดมรรคผลในชาตินี้ฉันใด ก็ขอให้เกิดคราวหน้าได้พบครูบาอาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิอีก และมีกำลังใจที่จะปฏิบัติถูกปฏิบัติตรงจนกว่าจะพ้นทุกข์ เด็ดขาดเยี่ยงนี้อีก


ใครว่า ปฎิบัติธรรม ไม่ต้องอธิษฐาน แต่แท้จริงแล้ว อธิษฐานมุ่งมรรคผลอย่างไม่พร่ำเพรื่อต่างหาก
ใครว่า ปฎิบัติธรรม ไม่ต้องหวังผล แต่แท้จริงแล้ว ไม่หวังผลอย่างไม่ลงมือทำต่างหาก
ใครว่า ปฎิบัติธรรม ต้องวางทุกสิ่ง แต่แท้ที่จริง วางความหวั่นไหวต่อโลกธรรมต่างหาก
ใครว่า ปฎิบัติธรรม ต้องเพิกเฉยทุกสิ่ง แต่แท้ที่จริง เพิกเฉยต่อความอยากของเราต่างหาก
ใครว่า ปฎิบัติธรรม แล้วไม่กลัวตาย แต่แท้ที่จริงเราเผชิญกับ ความกลัาตายอย่างอาจหาญ เริงร่า ด้วยปัญญาต่างหาก
โดยคุณ พัลวัน วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2543 09:12:37

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ นิพ วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2543 09:42:27
โห สาธุ x 10 กับพี่ตึกครับเป็นวาทะที่ ถึงใจมากๆครับ
อ่านแล้วฮึกเหิมครับ >:-)
โดยคุณ นิพ วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2543 09:42:27

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ กอบ วัน พฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2543 12:25:37
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ tung วัน ศุกร์ ที่ 8 ธันวาคม 2543 01:51:32
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ ธีรชัย วัน ศุกร์ ที่ 8 ธันวาคม 2543 07:43:34
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ ณรงค์ วัน ศุกร์ ที่ 8 ธันวาคม 2543 11:16:22
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ ณรงค์ วัน ศุกร์ ที่ 8 ธันวาคม 2543 11:16:28
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ นิดนึง วัน เสาร์ ที่ 9 ธันวาคม 2543 14:54:01
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ ป๋อง วัน เสาร์ ที่ 9 ธันวาคม 2543 22:32:12
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ ต๊าน วัน อาทิตย์ ที่ 10 ธันวาคม 2543 00:08:52
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ tuli วัน อาทิตย์ ที่ 10 ธันวาคม 2543 05:16:27
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 08:17:03
"อยากจะเรียนถามคุณอา+คุณพี่ในเรื่องนี้ครับ
ถ้าเราพยายามเจริญสติตลอดเวลาแล้วในวาระสุดท้ายมันจะช่วยได้จริงๆหรือเปล่าครับ
แล้วจำเป็นไหมครับถ้าเกิดที่ผ่านมายังมีสติไม่ถูก(เพ่งหรือเผลอเป็นส่วนมาก)
แต่ในวินาทีสุดท้าย
มาเข้าใจรู้ตัวแบบไม่เพ่งไม่เผลอได้จะเกิดเฮือกสุดท้ายของจิตไหมครับ
หรือว่าแม้เจริญสติมาโดยตลอด
แต่สุดท้ายขณะจะตายก็ต้องขึ้นกับโชคหรือกรรมเก่าด้วยครับ"

อาจะตอบตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตอบเพื่อปลอบใจกันนะครับ
ว่าคนที่ปลอดภัยแล้ว คือคนที่ถึงธรรมแล้วเท่านั้น
ส่วนคนที่ยังไม่ถึงธรรม การทำทาน รักษาศีล ทำสมาธิ เจริญปัญญาจนเป็นนิสัย
เป็นเพียงช่วยลดความเสี่ยงที่จะพลาดพลั้งในขณะสุดท้ายเท่านั้น

อาเคยเลี้ยงสุนัขตัวหนึ่ง เมื่อชาติก่อนเธอทำทาน ถือศีล เจริญสติอยู่สม่ำเสมอ
แต่ขณะตายพลาดพลั้ง อกุศลวิบากให้ผล ต้องมาเกิดเป็นสุนัข
ด้วยอุปนิสัยเดิม เธอเป็นสุนัขที่มีทาน มีศีล และขณะที่จะตายก็ตายอย่างมีสติ
แล้วไปสู่ภพภูมิที่สมควรกับเธอได้

อาเองก็เคยบวชมาหลายภพหลายชาติ
แต่แม้กระนั้นเมื่อไม่ถึงธรรม ก็ยังเคยพลาดไปเป็นสัตว์เหมือนกัน
เพียงแต่อุปนิสัยเดิมที่อบรมมาจะคอยเตือนให้คิดถึงการปฏิบัติเสมอๆ
แล้วก็ได้พบครูบาอาจารย์ที่สอนได้ถูกจริต

ดังนั้น อย่าเสียเวลากับการตั้งคำถามเพื่อหาคำปลอบใจเลยครับ
และเมื่อกลัว ก็รู้ว่ากลัว และกลัวไม่ใช่จิต
ให้พากเพียรฝึกอบรมตนเองอยู่ทุกขณะที่รู้สึกตัว
ถ้ากำลังพอก็รอดไปเลย ถ้าไม่พอก็เป็นอุปนิสัยไว้
แม้จะพลาด ก็พลาดไม่มากครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 08:17:03

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 08:58:28
_/I\_ ขอบพระคุณคุณอาครับ
ผมจะขอพากเพียรตามที่คุณอาสอนสั่งครับ
โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 08:58:28

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ listener วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 09:39:08
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 10:12:59
สาธุ ครับครู

อันที่จริงแล้ว ไม่อยากจะบอกเลยครับ ว่าแม้พากเพียรปฎิบัติธรรมเพียงใด หากไม่มีธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นที่เกาะแล้ว ย่อมมีโอกาสพลัดตกลงสู่อบาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นสัตว์นรก เป็นอสุรกาย เพราะเหตุว่าจะทำให้หลายคนหมดกำลังใจไปเสียก่อน แต่เมื่อครูบอกเล่าให้ฟังแล้วก็ดีครับ เพราะจะได้ไม่ประมาทเช่นกัน

จากที่ครูเล่าให้ฟังตรงนี้ หากมีผู้ใดสังเกตเห็น จะทราบว่า ครูได้แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าการไปเกิดใหม่ในภพภูมิต่างๆนั้น เราจะเลือกไม่ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราเลือกได้ นั่นก็คือ การทำให้เป็นนิสัย ครับ หากเราหมั่นเจริญสติ จนทำให้การเจริญสตินั้นเป็นนิสัย เป็นประจำ เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันไป ผูกพันอยู่กับการเจริญสติอย่างนั้น แม้ว่าหากต้องตกพลัดลงไปในอบายภูมิ ไม่ว่าจะภูมิใดก็ตาม นิสัยนี้จะไม่มีทางเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อพ้นจากวิบากกรรมที่ชักพาให้ลงสู่อบายภูมิแล้ว ชดใช้อกุศลกรรมวิบากหมดแล้ว ก็สามารถที่จะเดินหน้า เพื่อถอดถอนความผูกพันในสังสารวัฎฎ์ต่อไปได้ครับ

ขอเพียงแค่ให้มีนิสัยเจริญสติ-สัมปชัญญะแล้ว มรรค ผล นิพพาน เป็นอันหวังได้ แม้ในกาลนั้นจะไม่มีพุทธศาสนาตั้งอยู่ แต่นิสัยเช่นนี้ก็จะทำให้หลีกเลี่ยงทำกรรมใหม่อันเป็นอกุศลไปได้มากแล้วครับ ส่วนเคราะห์กรรมเก่าๆที่เคยทำไว้อันเป็นอกุศล จะตามมาส่งผลในกาลนั้นๆ ก็จงรับผลของกรรมอย่างมีสติ-สัมปชัญญะกันเถิดครับ

โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 10:12:59

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ โยคาวจร วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 10:18:16
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 10:21:06
เพิ่มเติมอีกนิดครับ หากใครได้อ่านประวัติของหลวงพ่อทูล ในตอนท้ายๆ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า ในชาติหนึ่งท่านกระทำผิดศีลข้อ 3 โดยเอาน้องภรรยามาเป็นภรรยาน้อย บาปกรรมนั้นชักนำให้ท่านต้องไปลงนรกขุมหนึ่ง เมื่อท่านพ้นจากนรกขุมนั้น ท่านได้รู้ว่าเคราะห์กรรมใดชักนำพามา ท่านก็ตั้งจิตอธิษฐานไว้เลย ว่าจะไม่ทำผิดเช่นนั้นอีก และท่านก็ปลอดภัยมาจนถึงชาติสุดท้ายนี้ ไม่เคยต้องตกนรกเพราะไปก่อกรรมอย่างนั้นอีกเลย

หากเราฝึกฝนสติ-สัมปชัญญะจนเป็นนิสัย และทำให้เจริญยิ่งๆขึ้นไปแล้ว มิใช่ว่าจะมีเพียงสัมมาสติเท่านั้นที่จะเจริญขึ้นไป แต่มรรคทั้ง 8 องค์ ก็จะเจริญตามไปเรื่อยๆ ก็จะชักนำไปให้ใกล้ มรรค ผล นิพพาน มากขึ้นเรื่อยๆครับ และแม้ว่ายังจะไม่ได้ มรรค ผล นิพพาน ก็ตาม แต่กำลังของ มรรค อันมีองค์ 8 ก็กล้าแข็งขึ้นครับ และเมื่อกล้าแข็งขึ้นแล้ว ก็สามารถที่จะแสดงเจตนาอย่างแรงกล้า (หรือจะเรียกว่า อธิษฐาน ก็ได้ แล้วแต่ถนัด) ว่าตนเองจะไม่ละเมิดศีลอีกได้ และด้วยกำลังของการเจริญใน มรรค 8 นี้ ก็สามารถประคับประคองให้ไม่สามารถกระทำผิดศีลได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นเวลานานพอควร หรือหากต้องการกำลังหนุนที่มากขึ้นและยาวนานขึ้นก็สามารถทำได้อีกครับ ด้วยการทำสังฆทาน สนับสนุนการอธิษฐานไปได้ทุกครั้งครับ

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น กรรมใดที่เราทำไปแล้วในอดีต เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องรับกรรมนั้นๆได้ครับ เว้นแต่ว่า เรามีกรรมเป็นที่พึ่ง เรามีกรรมเป็นที่เกาะ อย่างแท้จริงครับ

โดยคุณ พัลวัน วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 10:21:06

ความเห็นที่ 23 โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 10:42:46
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 24 โดยคุณ นุดี วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 12:34:46
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 25 โดยคุณ หนึ่ง วัน อังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2543 13:56:32
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 26 โดยคุณ ธาตุธรรม วัน ศุกร์ ที่ 15 ธันวาคม 2543 20:32:48
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 27 โดยคุณ tung วัน อังคาร ที่ 19 ธันวาคม 2543 00:28:42
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 28 โดยคุณ ปิ่น วัน อังคาร ที่ 19 ธันวาคม 2543 16:56:43
_/|\_
โดยคุณ ปิ่น วัน อังคาร ที่ 19 ธันวาคม 2543 16:56:43

ความเห็นที่ 29 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 20 ธันวาคม 2543 11:31:19
ผมไปช่วยคุณ deedi ตอบกระทู้ในกระดานข่าวของเธอ
เลยเก็บข้อความมาฝากพวกเราที่นี่ด้วย
*********************************************************
ข้อความ : 
     เรื่องของสมถะกับวิปัสสนานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดี
     เพราะถ้าเข้าใจคลาดเคลื่อนตรงจุดนี้ เราอาจจะเสียเวลาทั้งชีวิต
     ไปกับการทำสมถะ แต่คิดว่ากำลังทำวิปัสสนา หรือเจริญสติปัฏฐานอยู่

     สมถะนั้นมีเป้าหมายเพื่อให้จิตสงบ
     มีวิธีการปฏิบัติคือการเอาสติเพ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
     มีศิลปะในการทำสมถะ คืออย่าอยากให้สงบ
     ให้รู้อารมณ์อันเดียวไปอย่างสบายๆ จิตจะรวมเข้ามาสงบเอง

     อารมณ์ของสมถะนั้น หาง่ายครับ
     กรรมฐานทั้งหลายที่ทำกันส่วนมาก เป็นสมถะทั้งนั้น เช่น
     1. การบริกรรม (คิดซ้ำๆ เช่นพุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ)
     2. การคิด (คิดเป็นเรื่องราว เช่นการพิจารณาร่างกายเป็นไตรลักษณ์ เป็นอสุภะ
     คิดเรื่องความเป็นปฏิกูลของอาหาร ฯลฯ)
     3. การเพ่ง (เช่นเพ่งกสิณ เพ่งลูกแก้ว เพ่งพระพุทธรูป เพ่งอรูป
     เพ่งการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่นท้อง มือ เท้า ลมหายใจฯลฯ)
     4. การแผ่ (เช่นแผ่เมตตา กรุณา ฯลฯ)

     ส่วนวิปัสสนามีเป้าหมายเพื่อให้จิตยอมรับความจริง แล้วปล่อยวางความถือมั่น
     มีวิธีการปฏิบัติ คือการรู้สภาวะหรือปรมัตถธรรม ที่กำลังปรากฏ ด้วยจิตที่เป็นกลาง
     และมีศิลปะคือ ให้ "รู้" ตามที่เป็นจริง
     อย่าเอา "การบริกรรม" "การคิด" "การเพ่ง" "การแผ่" เข้าไปเจือปน
     สรุปง่ายๆ ก็คือ อย่าทำอะไรมากกว่า
     (1) รู้ (2) สภาวะหรือปรมัตถธรรม (3) อย่างเป็นปัจจุบัน
     (4) ตามความเป็นจริง (ไม่ใช่ตามที่อยากจะให้เป็น)

     ความพลาดของผู้ปฏิบัติส่วนมาก อยู่ตรงที่
     ไม่ได้ รู้ ให้ถูกต้อง แต่เอาแต่คิดหรือเพ่งเอา
     และส่งที่ถูกรู้ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีสภาวะหรือปรมัตถธรรม
     แต่ไปหลงรู้สิ่งที่เป็นสมมุติบัญญัติเข้า

     เช่นเมื่อเกิดโทสะขึ้นในจิตใจ
     ผู้ปฏิบัติจำนวนมากก็เอาสติเพ่งจ้องโทสะ หรือพยายามดับโทสะ
     หรือมัวคิดว่า อันนี้เรียกว่าโทสะ และตอนนี้เรากำลังโกรธ
     โดยไม่ได้รู้สภาวะหรือปรมัตถธรรมของโทสะ ที่ผุดพุ่งขึ้นในจิตของตน
     การเพ่งและการคิดนั้น อาจจะทำให้โทสะสลายตัวไปได้
     เพราะจิตไม่ไปสนใจคนที่ทำให้เราโกรธ
     ผลก็คือจิตใจจะสงบลง แต่ไม่เกิดปัญญาจริง
     เพราะไม่ได้เห็นตัวจริงของโทสะ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วก็ดับไป

     สรุปแล้ว วิปัสสนาจะต้องรู้ ไม่ใช่คิดครับ
     กระทั่งการคิดพิจารณากาย ว่าร่างกายเรานี้ไม่เที่ยง
     ตอนเด็กเป็นอย่างหนึ่ง โตขึ้นเป็นอย่างหนึ่ง ต่อไปแก่แล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง
     ต่อไปก็ตาย ตายแล้วเน่าเหม็น ต่อไปก็เหลือแต่กระดูก แล้วกระดูกก็สลายไป ฯลฯ
     อันนี้เป็นแค่อุบายเพื่อให้จิตสงบเท่านั้นเองครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 20 ธันวาคม 2543 11:31:19

ความเห็นที่ 30 โดยคุณ สุกิจ วัน อังคาร ที่ 26 ธันวาคม 2543 09:03:28
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com