กลับสู่หน้าหลัก

คำถามเรื่อง โอภาสที่เป็นวิปัสนูปกิเลส

โดยคุณ ธีรชัย วัน เสาร์ ที่ 6 มกราคม 2544 09:01:49

หลังปีใหม่มานี้ ยังไม่ได้ฟังธรรมจากครูเลย
ทำให้รู้สึกว่าขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง เมื่อเข้ามาในเน็ต
ครูบอกว่า จะไม่โพสท์กระทู้ แต่จะตอบคำถาม

เมื่อวาน ได้เข้าไปลานธรรม เห็นกระทู้ๆนึงที่พูดเกี่ยวกับ
โอภาสที่เป็นวิปัสนูปกิเลสตอนหนึ่งที่บอกว่า
หากความสว่างเป็นสีขาวล่ะก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้าเป็นสีม่วง,ฯลฯ ก็จะเข้าข่ายเป็นวิปัสนูปกิเลส
ผมไม่เข้าใจตรงนี้แหละครับ เพราะผมเห็นไม่ว่าจะสีม่วง
หรือ สีขาว ก็อารมณ์ใกล้เคียงกัน
แต่ไม่ได้สนใจอะไร แล้วมันจะเป็นวิปัสนูปกิเลส
อย่างไรครับ

โดยคุณ ธีรชัย วัน เสาร์ ที่ 6 มกราคม 2544 09:01:49

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน เสาร์ ที่ 6 มกราคม 2544 19:05:42
ถ้าไม่หลงผิด จะเห็นสีสันอะไรก็ไม่มีความหมายหรอกครับ

ผมก็เห็นที่คุณรูปนามหนึ่งเขียนไว้ในลานธรรม
ว่าโอภาสของสมาธิเป็นสีขาวหรือแสงสว่าง
ส่วนโอภาสของวิปัสสนูปกิเลสเป็นสีอื่นๆ
แต่ผมไม่ได้วิจารณ์เรื่องนี้ด้วยเหตุ 3 ประการคือ

1. ผมรู้จักแต่โอภาสของสมาธิ ซึ่งเป็นแสงสว่าง
ไม่เคยเจอวิปัสสนูปกิเลสที่เป็นแสงสีต่างๆ
จึงไม่มีความรู้ที่จะวิจารณ์ได้ว่าจริงหรือไม่

2. คุณรูปนามหนึ่งเขียนไว้ชัดจนดีแล้วว่า
เมื่อเห็นแสงสีอะไรก็ตามเถิด ให้รู้มันไปด้วยความมีสติสัมปชัญญะ
ตรงนี้แหละครับที่ผมอนุโมทนาให้เขา
เพราะนั่นเป็นหลักปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว
ไม่ว่าจะเกิดแสงสว่าง หรือสีสันใดๆ
ในที่สุดมันก็มีค่าแค่สิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น
ถ้าวิธีปฏิบัติถูกต้องแล้ว เรื่องอะไรจะต้องเสียเวลาไปคิดเรื่องว่ามันเป็นสีอะไร
เพราะมีแต่จะพาให้เสียเวลาปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

3. ผมไม่เห็นประโยชน์อะไร ที่จะต้องไปสนใจเรื่องอย่างนี้
สิ่งที่น่าสนใจกว่านี้ยังมีอยู่
เช่นเรื่อง ทุกข์ให้กำหนดรู้นั้น ควรจะรู้แค่ไหนจึงจะพอ เป็นต้น
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน เสาร์ ที่ 6 มกราคม 2544 19:05:42

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ ฐิติมา วัน เสาร์ ที่ 6 มกราคม 2544 21:41:41
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อาทิตย์ ที่ 7 มกราคม 2544 16:40:39
ไหนๆ คุณเก๋ก็บ่นว่าอยากฟังธรรมแล้ว
วันนี้ว่างๆ เลยแถมธรรมให้หน่อยหนึ่งครับ

******************************************

ควรจะรู้ทุกข์ ไปถึงไหน

พวกเราผู้ปฏิบัติ ล้วนเคยได้ยินเรื่องกิจของอริยสัจจ์จนชินหูว่า
ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธทำให้แจ้ง มรรคให้เจริญ
และทราบว่าอริยสัจจ์นี้ จะต้องทำไปจนถึงที่สุดแห่งทุกข์
ดังนั้น การรู้ทุกข์ จึงต้องรู้ไปจนกระทั่งพ้นทุกข์
และเมื่อขันธ์ 5 คือก้อนทุกข์
ดังนั้นจึงต้องรู้ขันธ์ไปจนกว่าจิตจะปล่อยวางขันธ์

การสรุปใจความอย่างนี้ถูกต้องแล้ว
แต่การลงมือรู้ทุกข์จริงๆ กลับมีศิลปะในการรู้
เพื่อความไม่เนิ่นช้าในการทำนิโรธให้แจ่งแจ้ง

ผมขอยกตัวอย่างเช่น ท่านผู้หนึ่งปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญอานาปานสติ
หรือด้วยการรู้อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
ท่านก็พากเพียรรู้ลมหายใจ หรือรู้อิริยาบถด้วยจิตที่เป็นกลางเรื่อยไป
ในทางทฤษฎี ท่านอาจจะบรรลุพระอรหัตตผลได้
แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว เมื่อจิตทิ้งรูปขันธ์เข้าไปรู้อยู่ที่จิตแล้ว
หากผู้ปฏิบัติจะเอาสติกำหนดกลับเข้าไปที่รูปขันธ์เช่นลมหายใจใหม่
นั่นคือการทำความเนิ่นช้าในการปฏิบัติ

แม้การรู้เวทนา หรือจิตสังขาร ก็เช่นเดียวกัน
เมื่อจิตรู้ไปจนมีกำลังทวนกระแสเข้าถึงจิตแล้ว
หากผู้ปฏิบัติจงใจกำหนดสติกลับเข้าไปรู้เวทนา หรือจิตสังขารอีก
นั่นคือการทำความเนิ่นช้าในการปฏิบัติเช่นกัน

หรือแม้แต่การมีสติรู้ธรรม
เช่นการรู้ทันความเกิดดับของตัณหาอุปาทานและความทุกข์ก็เช่นกัน
ถ้าจิตรู้จนวางธรรม แล้วทวนกระแสเข้ามาหยุด รู้ อยู่ที่จิตแล้ว
ก็ควรปล่อยให้หยุด รู้ อยู่ที่จิตนั่นเอง
ไม่ควรจงใจย้อนกลับไปมีสติรู้ธรรมนั้นอีก

ทั้งนี้ก็เพราะการกำหนดรู้กาย เวทนา จิตสังขาร และธรรม
ล้วนกระทำไปเพื่อส่งทอดสติสัมปชัญญะเข้ามาประชุมลงที่จิตผู้รู้
เพื่อจะได้เรียนรู้อริยสัจจ์แห่งจิตในขั้นละเอียดต่อไป

ในขณะที่จิตมาหยุด รู้ มีสติสัมปชัญญะรู้อยู่ที่จิตด้วยความเป็นกลางนั้น
ตัวจิตผู้รู้นั่นแหละ คือ ทุกขสัจจ์ ชั้นในสุด
การหยุด รู้ อยู่ที่จิตผู้รู้ จึงเป็นการเจริญกิจของอริยสัจจ์เช่นกัน
คือการปฏิบัติธรรมแล้ว ไม่ใช่ไม่ได้ปฏิบัติอะไร

หากผู้ปฏิบัติถูกกิเลสคืออวิชชาหลอกล่อ
ให้เกิดความกังวลใจกลัวว่าการรู้อยู่ที่จิต
จะทำให้ไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น
แล้วย้อนสติกลับไปเจริญสติปัฏฐานในขั้นหยาบๆ อีก
นั่นก็คือการทิ้งรังโจร ทั้งที่อุตส่าห์ฝ่าฟันเข้ามาถึงแล้ว
เพราะหลงวิ่งตามสมุนโจรออกไปอีก

ผู้ปฏิบัติจึงควรรู้ อยู่ที่จิต ด้วยความเป็นกลางและนิ่งสนิทจริงๆ
อย่าหลงกลอวิชชา โดยส่งจิตออกนอก
หรือทะยานออกไปปฏิบัติธรรมภายนอกอีก
เพราะนั่นคือการยอมตามตัณหา หรือการไม่ละสมุทัยเสียแล้ว
ผมเคยได้ยินครูอาจารย์ท่านปรารภด้วยความเสียดายถึงนักปฏิบัติบางคน
ที่ทวนกระแสเข้าถึงจิตแล้ว แต่กลับย้อนไปกำหนดลมหายใจใหม่
เป็นการยืดสังสารวัฏให้กลับยาวออกไปอีก

แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่จิตกระเพื่อมถอยออกจากจิตผู้รู้ไปเอง
ซึ่งถึงจุดนั้น ผู้ปฏิบัติก็ต้องรู้ด้วยความเป็นกลางว่า
จิตถอยออกมาภายนอกแล้ว
อย่าอยากที่จะทรงสติผู้กับจิตผู้รู้
เพราะกิเลสจะสร้างผู้รู้เทียมๆ ขึ้นมาหลอกทันที

การรู้ทุกข์ คือรู้จิตผู้รู้ และไม่ส่งจิตออกนอกอันเป็นการละสมุทัย
จะทำให้จิตใกล้ต่อนิโรธ มากที่สุด เพราะทวนกระแสกิเลสเข้ามาถึงที่แล้ว
การปฏิบัติในช่วงนี้ไม่มีอะไรมาก
มีแต่ทรงอยู่อย่างนี้ให้มาก คือการทำมรรคให้เจริญ
จนถึงจุดที่จิตปล่อยวางจิต

ผมเองกำลังปฏิบัติอยู่อย่างนี้
จึงเล่าฝากไว้ให้เพื่อนๆ ได้ทราบไว้ครับ
เผื่อมีใครจะเดินตามกันไปบ้าง
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อาทิตย์ ที่ 7 มกราคม 2544 16:40:39

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ พีทีคุง วัน อาทิตย์ ที่ 7 มกราคม 2544 19:04:54
เข้ามาบ่น สักเล็กน้อยครับ ตามประสาคนยังโง่
รู้มาอยู่ที่จิต ก็สบายแล้ว แต่ก็ยังมีสังขารละเอียด
ให้ฟุ้งซ่านรำคาญใจน้อยๆอยู่...
โดยคุณ พีทีคุง วัน อาทิตย์ ที่ 7 มกราคม 2544 19:04:54

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ ธีรชัย วัน อาทิตย์ ที่ 7 มกราคม 2544 20:23:25
สาธุครับ
_/\_


สารภาพบาป
ครั้งแรกเข้ามาอ่านตอนประมาณบ่าย 4 ของวันอาทิตย์
เห็นครูตอบอยู่ในคำตอบแรก จิตหมองทันทีเลยครับ
เพราะอย่างที่เขียนไว้ตอนแรก คือ อยากฟังธรรม
ที่จริงเรื่องวิปัสนูปกิเลสเป็นเรื่องรองของจุดประสงค์หลัก
ดังนั้น เมื่อได้เห็นคำตอบที่สั้นมาก จึงรู้สึกผิดหวัง
จิตหมองอย่างหนัก และเมื่อได้เข้ามาครั้งนี้ ได้อ่านข้อธรรม
จิตใจผมมันเลยรู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันทีและรู้สึกผิด
จึงกราบขอขมาครู ในกรณีที่ผมได้ทำให้ธรรมของครู
หมองลงในจิตของผม แต่ตอนนี้หายไปหมดแล้วครับ

ในเรื่องหลังที่ครูได้กรุณาอธิบายว่า ควรจะรู้ทุกข์ไปถึงใหนนั้น
ตรงนี้ค่อนข้างจะตรงเวลากับความต้องการของผมพอดี
โดยที่ผมนึกปัญหานี้ไม่ถึง ด้วยสาเหตุเพราะผมไม่สามารถเรียบเรียง
ออกมาเป็นถ้อยคำได้ดีนัก แต่เมื่อได้เห็นธรรมที่ครูได้แสดง
จึงคิดว่าน่าจะสามารถอธิบายออกมาได้ อีกทั้งอาจจะมีหรือเป็นปัญหา
ที่ทำให้การปฏิบัติของผมล่าช้าไปได้เช่นกัน

คือเมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านกระทู้ของคุณสุรวัฒน์
แล้วบังเกิดความฮึกเหิมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกิดสะกิดใจว่า
เรื่องสตินี้ เรารู้มาตั้งนานแล้ว แต่เรามาผิดพลาดเอง
โดยความผิดพลาดนี้ เกิดมาจากความต้องการที่จะหาหนทาง
ปฏิบัติ จนมากเกินไป จนลืมอุปนิสัยที่ติดตัวมาแต่เดิม
คือ ก่อนหน้าที่จะเริ่มปฏิบัติธรรมนั้น(ยังไม่ได้สนใจเรื่องศาสนาเลยแม้แต่น้อย)
ผมเองถูกสอนให้มีสติ"รู้ตัว"มานานแล้ว และมาผิดพลาดออกไปจากหนทางเดิม
ค่อนข้างมาก ได้มาย้อนกลับทางเดิมได้ก็เพราะครูนี่แหละครับ_/\_ _/\_ _/\_

ตลอดช่วงบ่ายของวันนั้น ใจเลยรู้สึกสดชื่น ร่าเริงอย่างมาก
จนกระทั่งจนช่วงเย็น ก่อนจะอาบน้ำ ก็ได้นั่งพักสบายๆ
พร้อมกับมีสติรู้ตัวได้อย่างเหนียวแน่น จึงได้เห็นจิตที่ทะยาน
ออกไปสู่โลกภายนอก และยังไม่ทันได้ก่อตัวเป็นความอยาก
แต่ก็ได้เห็นว่าเมื่อทันทีที่จิตทะยานออก ความหมองก็เข้ามาคลุมจิตใจ
ทันที เมื่อเห็นดังนี้ จึงไม่ทำอะไรอีก นั่งรู้อยู่อย่างนั้นแหละ
จนกระทั่งเห็นความคิดถึงอดีตของเราที่มีความอยากได้ดิบได้ดี
จากการปฏิบัติจนลืมสิ่งที่คุ้นเคยมา ตอนนั้นเห็นภาวะตรงนี้เป็นภพของ
นักปฏิบัติ และเมื่อเห็นอย่างนี้ จิตก็หมองอีกเช่นกัน ก็ตัดทิ้ง
สภาพนั้นไปได้ และเมื่อตัดทิ้งสภาพตรงนั้นไปแล้ว ผมก็ตัดพ้อ
(กับอะไรก็ไม่รู้) ว่าทำไมไม่ออกมาบอกกันบ้างน๊อว่า
การปฏิบัติมันก็เรื่องของสติที่คุ้นเคยมาแล้ว ปล่อยให้หลงวน
ไปใหนต่อใหนก็ไม่รู้ เมื่อตัดพ้อถึงตรงนี้ ก็เห็นว่า มีอะไรบางอย่าง
ขึ้นมาเป็นผู้รับฟังคำตัดพ้อนี้ แต่เขาก็ไม่ได้แสดงอาการ หรือ
โต้ตอบอะไรเลยแม้แต่น้อย เอาแต่ยิ้มแบบสบายๆ จะทำอย่างไร
จะคิด หรือกำหนดอย่างไร ก็อยู่แต่ในสภาพนั้นคือ ยิ้มอย่างเดียว
ก็เลยไม่ทำอะไรต่อแล้วทีนี้  ก็เลยนั่งรู้ต่อไป
จนกระทั่งถึงเวลาที่ต้องไปอาบน้ำ สภาพของตรงนั้น ก็ยังอยู่ แต่
ดูเหมือนว่า มีหมอกควันค่อยๆเข้ามาปิดบัง จนหมด มอง(รู้สึก)
ไม่เห็นสิ่งที่สงบ-เย็นแบบนั้นอีก

หลังจาก ตรงนั้นแล้ว ปรากฏว่า การทำสมาธิ มันสะดวกขึ้นมาก
แต่ทำแล้วมันก็เข้ามาถึงตรงที่ครูได้กรุณาแสดงธรรมไว้ในกระทู้นี้
คือมีความรู้สึกว่า ควรจะรู้ไปถึงใหน แต่ก็ไม่กล้าถาม เพราะตรงนี้
อาจจะเป็นว่า ผมโดนกิเลสหลอกทั้งหมดเลยก็ได้ ความไม่ไว้เนื้อ
เชื่อใจกิเลส ก็บอกในใจว่า "ทำไปเถอะ" จะมึน จะงงอย่างไร
ก็รู้ไปเถอะ จนอยากที่จะไปหาครูโดยเร็ว แต่ก็ยังติดภาระอยู่
จึงยังไม่สามารถไปพบครูได้เสียที

โดยในขณะนี้ จะว่าไปแล้ว หลังจากที่ใจเป็นสมาธิดีแล้ว
ก็จะได้แต่นั่งนิ่งๆ รู้อยู่อย่างนั้น ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าจะรู้อะไร
ในทำนองที่ว่า นั่งนิ่งเหมือนก้อนหิน(แต่สดชื่นดี : ) )
การปฏิบัติของผมช่วงนี้ จึงได้แต่นั่งนิ่งๆ รู้ใจตัวเองเฉยๆ
จะมีสิ่งที่สังเกตุเห็นได้ก็ตอนก่อนที่จะออกจากสมาธิ จะเห็นจิตทะยาน
ไปหาวัตถุประสงค์ของการออกจากสมาธิ ก็เห็นว่าจิตหมองลง

ที่นั่งนิ่งเฉยๆก็เนื่องมาจาก หากคิดเมื่อใด ก็เป็นอันว่า หมอง
ไม่ว่าจะลองย้อนออกมา พิจารณากาย ก็ไม่ได้อะไรนอกจากรู้เพียงอย่างเดียว
ไม่มีปัญญาอะไร เพราะรู้ว่ากายนี้ถูกรู้ เห็นว่ามีสิ่งยึดโยง จิตกับกายนี้
ก็ไม่ได้ทำอะไร เพราะเห็นตรงนี้แล้วมันก็วางมันเสียเฉยๆ
จิตไม่ยอมพิจารณาอะไรอีก เลยต้องย้อนกลับมารู้เฉยๆเหมือนเดิม

ยิ่งพอย้อนออกมาอย่างที่ครูบอกในกระทู้นี้ว่าไม่ควรเช่นย้อนออกมากำหนด
คำบริกรรมใหม่ ยิ่งหนักใหญ่เลย ทั้งกายทั้งจิต หนักอึ้งไปหมด
จะหยุดบริกรรมก็ไม่ไช่เรื่องง่ายๆ เพราะทันที่ที่เริ่มย้อนออกมากำหนด
ลมหายใจ ทีนี้หายใจจะสั้น จะยาว บังคับก็ยากแล้ว จิตก็หมองอีกด้วย
เลยไม่เอาเลย ไม่ย้อนออกมาบริกรรมอีก(จะรู้สึกเหนื่อย หายใจไม่ทันครับ)

ก็เลยสรุปว่า ตอนนี้ นั่งนิ่งเป็นก้อนหินทำอะไรไม่ถูกครับ
นอกจากรู้เท่านั้น เลยถือโอกาสนี้เรียนถามเลยว่า
ผมควรจะพิจารณา หรือทำอย่างไร ต่อไปครับ

ขอบพระคุณครับ
_/\_
โดยคุณ ธีรชัย วัน อาทิตย์ ที่ 7 มกราคม 2544 20:23:25

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 08:20:39
_/|\_ สาธุครับครู
_/|\_ สาธุครับครู
_/|\_ สาธุครับครู

พอดีมีปัญหาอยู่พอดีเลยครับ ก็ได้ครับคำตอบมาจากครูพอดีเลย
โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 08:20:39

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ สุกิจ วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 08:34:31
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 08:36:42
ที่จริงปัญหาของผมจริงๆ ไม่ได้ปรากฎอยู่อย่างโต้งๆหรอกครับ แต่เป็นการสังเกตของผมเองว่า หลังจากที่พ้นจากเผลอมารู้ บ้างก็รู้อารมณ์ภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส บ้างก็รู้อารมณ์ภายใน เช่น ความสบายใจ ความเศร้าใจ ความทุกข์ หรือแม้แต่ความมัวซัวทั้งหลาย อะไรทำนองนี้

ปัญหาของผมก็คือ เมื่อรู้ตัวและในขณะนั้นกำลังรู้อารมณ์ภายนอก ก็เกิดการเพ่งบังคับจิตให้กลับมารู้อารมณ์ภายใน หรือเมื่อรู้ตัวกำลังรู้อยู่กับอารมณ์ภายใน ก็เกิดการเพ่งบังคับจิตให้มารู้อารมณ์ภายนอก ซึ่งทั้งสองลักษณะได้สังเกตเห็นผลอยู่ 2 ประการคือ

1. เกิดอาการลักษณะ "ควานหา" ของจิต
2. เกิดอาการเพ่ง เป็น ก้อน จุก แข็ง กลางอก

ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ว่า จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ คือ กำลังรู้อะไรอยู่ ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเขา ไม่ว่าสิ่งที่กำลังรู้อยู่นั้น เป็นอารมณ์ภายนอก หรือเป็นอารมณ์ภายใน

ผมกำลังทดสอบสมมุติฐานนี้อยู่ครับ ว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ก็พอดีได้เห็นกระทู้นี้ในเช้าวันนี้พอดีเลยครับ

ผมรู้อยู่ว่า กรณีที่กำลังรู้อารมณ์ภายนอกแล้วบังคับจิตให้มารู้อารมณ์ภายใน เป็นเพราะว่ามีความกังวลว่าจะไม่ได้ดูจิต ส่วนกรณีที่กำลังรู้อารมณ์ภายในแล้วบังคับจิตให้มารู้อารมณ์ภายนอก เป็นเพราะเห็นว่า การู้อารมณ์ภายในไม่ชัดเจน จึงขยับออกมารู้อารมณ์ภายนอก ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เห็นจิตได้ชัดเจนนั่นเอง

แต่หลังจากที่ผมพิจารณาว่าจะลองตามวิธีที่อธิบายข้างต้นแล้ว ผมพบว่า ไม่ว่าจะรู้อยู่กับอารมณ์ภายใน หรือรู้อยู่กับอารมณ์ภายนอก หากเราไม่บังคับหรือฝืนเขาก็ตาม เขาก็จะย้อนกลับมารู้ที่อารมณ์ภายในเอง และสักระยะเวลาหนึ่งสั้นๆ เขาก็กลับออกไปรู้อารมณ์ภายนอกอีก เข้าใจว่า เป็นธรรมดของเขาอย่างนั้น

โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 08:36:42

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ คิดเอาเอง วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 09:21:49
สาธุ และรอฟังธรรมจากอาจารย์เหมือนกันครับ
โดยคุณ คิดเอาเอง วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 09:21:49

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 09:42:45
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ ณรงค์ วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 09:48:10
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 09:54:45
ที่แมนเล่าว่า "รู้มาอยู่ที่จิต ก็สบายแล้ว
แต่ก็ยังมีสังขารละเอียด ให้ฟุ้งซ่านรำคาญใจน้อยๆอยู่..."
อันนี้ดีแล้วครับ ที่แมนเห็นสังขารละเอียด
เพราะในขั้นนี้มันมีแน่ ถ้าไม่เห็น ก็จัดว่าเป็นปัญหาทีเดียว

ส่วนที่เก๋บอกว่า รู้อยู่ที่รู้นั้น ว่างๆ ไปพบผมสักครั้ง
เพราะธรรมตรงจุดนี้ละเอียดครับ
อาจจะเป็นรู้ที่รู้ หรือหลงอยู่ที่รู้ก็ได้
หรืออาจจะไปรู้ที่รู้ปลอมๆ ก็ได้อีกเช่นกันครับ
เรื่องของกิเลสนั้น จะวางใจเสียทีเดียวไม่ได้หรอกครับ

สำหรับตึกที่เห็นความจงใจจะรู้ที่จิตบ้าง ที่อารมณ์บ้าง
เพราะกลัวไม่เจริญในธรรมนั้น.. ดีแล้วครับที่รู้ทัน
ปัญหาของตึกช่วงที่ลาพุทธภูมิก็คือ เกิดความเร่าร้อนใจที่จะเร่งปฏิบัติ
ซึ่งตัวนี้แหละคือปัญหาที่สำคัญมาก
ทำให้เกิดความจงใจรู้ ไม่ใช่การรู้ตามธรรมชาติ
และเกิดความสนใจในเรื่องการเจริญปัญญามาก จนกลายเป็นภาระของจิต
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 09:54:45

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ listener วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 10:53:59
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 11:45:20
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน จันทร์ ที่ 8 มกราคม 2544 14:15:46
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ ธีรชัย วัน อังคาร ที่ 9 มกราคม 2544 09:05:39
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ tung วัน พฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2544 03:01:26
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ จ้อม วัน พฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2544 13:03:14
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ Tuledin วัน พฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2544 15:48:08
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ นิดนึง วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544 19:21:18
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com