กลับสู่หน้าหลัก

ประสบการณ์:วิปัสนูปกิเลส

โดยคุณ มะขามป้อม วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 11:02:30

ผมได้แสดงความตั้งใจไปแล้วว่าจะไม่เขียนกระทู้ใดๆ ด้วยความสำนึกว่า
ธรรมของตนยังด้อยนัก

แต่เรื่องนี้มีความจำเป็นต้องเขียนเพื่อที่จะขอขมาต่อพระรัตนตรัย
และขออโหสิกรรม ต่อหมู่เพื่อน อีกอย่างหนึ่ง ก็เพื่อบอกเล่าประสบการณ์
ที่คิดว่าจะมีประโยชน์ กับผู้อื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิปัสนูปกิเลส
ผมคิดเสมอว่า มนุษย์เราเรียนรู้จากประสบการณ์ (ผิดเป็นครู)

อัปปนาสมาธิ
ในช่วงหนึ่งประมาณต้นปี 41 ผมมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
ครั้งใดที่เดินจงกรม หรือนั่งสมาธิ ถึงจุดหนึ่งวิตกวิจารณ์จะหายไป
ความฟุ้งซ่านต่างๆ หายไป เห็นจิตและอารมณ์ได้โดยง่าย โดยไม่มีความจงใจ
ถึงจุดหนึ่งจิตรวมดับวูปลงไป ถ้าหากกำลังปัญญาอ่อนก็คงจะตกภวังค์
แต่ในช่วงนั้นสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เต็มที่ จิตจึงถอนออกมาจากภวังค์
อย่างรวดเร็ว ปรากฏเป็นโอภาส (แสงสีขาว) และความปลอดโปร่ง
สบาย ของจิตอย่างที่ไม่เหมือนปกติ หลังจากนั้นไม่นาน วิตกวิจารณ์
ก็กลับมา ในความสงสัยและประหลาดใจ สังขารก็ฟุ้งขึ้นมา
(คล้ายๆ กับที่คุณวิชชาเล่าในลานธรรม)

ผมไม่ได้ปักใจลงไปว่านั่นคือ มรรคญาณ เพราะ
1 . ผมไม่เห็นว่าจิตเป็นอนัตตาอยู่ทุกขณะ อย่างที่เคยเล่าว่า ผมเคยโยนิโสมนสิการ
เห็นจิตเป็นอนัตตา ในสมาธิ หลังจากที่วิตก วิจารณ์ดับไป ซึ่งสำหรับ
ผมแล้วไม่ยากที่จะทำสมาธิถึงจุดนั้น แต่ถ้าในการดูจิตในชีวิตประจำวัน
ด้วยขณิกสมาธิ ผมกลับมองไม่เห็นว่าจิตเป็นอนัตตา

2. ผมอ่านประสบการณ์ของพระอริยะหลายท่าน พบว่ามรรคญาณ
มักจะเกิดขณะเจริญสติในชีวิตประจำวัน มากกว่าในขณะนั่งสมาธิ หรือ
เดินจงกรม

แต่ผมก็คิดว่าอาจจะใช่ เพราะเมื่อไปอ่านจากหลายๆ ที่ก็พบว่ามีส่วนคล้าย
(แต่ไม่เหมือน) แต่ด้วยความเป็นนักปฏิบัติที่ดี ทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องนี้
ก็ช่างมันๆ ตลอด เพราะเห็นว่าเป็นเพียงความฟุ้งซ่าน เท่านั้นเอง

พบครู (พี่) ปราโมทย์
(ขออนุญาตเรียกพี่เหมือนเดิมนะครับ เพราะชินเสียแล้ว)
จนกระทั้ง ทราบข่าวว่าพี่ปราโมทย์จะออกบวช ก็ชั่งใจอยู่นาน
เพราะกลัวจะตกขบวนรถไฟเหมือนกันตัดสินใจไปพบ

พี่ปราโมทย์ก็ให้ความเมตตา แนะนำวิธีดูจิตในชีวิตประจำวัน
ผมพบว่า การปฏิบัติของผมยังไม่ละเอียดพอ
กล่าวคือ หลังจากที่รู้ว่าเผลอหรือเพ่ง ก็มักจะเป็นความจงใจที่จะรู้
หรือทรงตัวรู้ ทำให้หลุดจากรู้ เผลอไปอีก
เมื่อพอจะทราบว่าตัวเองยังปฏิบัติไม่ถูกนัก ก็กลับมาเฝ้าสังเกต
และสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับตนเองว่า

อย่าพยายามทำให้ถูกเพราะนั่นเป็นการทำผิด
ขยายความก็คือ ความพยายามทรงตัวรู้
คือมีความจงใจ ที่จะรู้ ทำให้เราหลุดจากรู้ที่เป็นกลางในปัจจุบัน

แค่รู้ว่าผิดก็คือถูก
หมายความว่าจิตเริ่มแรก ที่ระลึกได้ว่าหลง
และตื่นขึ้นมาจากหลง คือสภาพรู้ที่เป็นกลางแล้ว
หลังจากนั้นก็ปล่อยไปสบายๆ และหมั่นระลึกอยู่เสมอ
หมายความว่า จิตผู้รู้ เป็นเพียงจุดๆ ในห่วงเวลา
ไม่ได้เป็นเส้นต่อเนื่อง แต่การที่เราหมั่นระลึกอยู่เสมอ
ก็จะทำให้จุด เหล่านี้ เกิดขึ้นถี่ๆ ขึ้น นั่นเอง

(ถ้าเป็นข้อสรุปที่ผิดก็ช่วยกันกระหนาบด้วยนะครับ
ยังต้องศึกษาอีกมาก)

ขอขมาต่อพระรัตนตรัย
ความคิด คำพูด การกระทำใด ในอดีตที่ข้าพเจ้า ทำให้พระสัทธรรม
ต้องแปดเปื้อน ข้าพเจ้าขอกราบขอขมา ต่อพระรัตนตรัย
ในความคิด คำพูด และการกระทำอันนั้น _/\_ _/\_ _/\_

กรรมอันน่าติเตียนอันใดที่ผมได้ กระทำต่อหมู่เพื่อน
โปรดอโหสิกรรมให้ผมด้วยครับ


โดยคุณ มะขามป้อม วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 11:02:30

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ นิพ วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 12:11:38
สาธุครับพี่มะขามป้อม _/I\_

เรื่องภาวะรู้นี่ ผมเองก็เพิ่งมาถึงบางอ้อครับ
คือไม่ต้องทำอะไรเลย คือรู้ก็รู้ครับ ถ้าเราไปแทรกแทรงมัน
เช่นจงใจ เพ่ง ตั้งใจเข้ามันก็ไม่ใช่รู้ ตราบเมื่อรู้ทันแหล่ะถึงรู้ (พูดเองเกือบจะงงซะเอง ^-^!)

อิ อิ เสียดายที่ ผมไปหลง ไปทำอะไรตั้งมากมาย ทั้งที่รู้ก็คือรู้ง่ายๆแค่เนี๊ยะ โห..ตอนนี้เลยรู้สึกว่าเหมือนต้องเริ่มต้นใหม่เลยครับ ^-^!
โดยคุณ นิพ วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 12:11:38

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ พัลวัน วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 12:46:01
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ ณรงค์ วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 13:04:54
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ listener วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 13:08:44
สาธุครับ
หวังว่าเมื่อถึงเวลาอันควร คงจะได้อ่านข้อเขียนคุณมะขามป้อมอีก ในลานธรรมนะครับ
โดยคุณ listener วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 13:08:44

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 13:53:26
ขออนุโมทนากับคุณมะขามป้อมด้วยครับที่คุณมะขามป้อมตัดสินใจไปพบครู
เพราะครูเคยปรารภให้ผมฟังช่วงที่คุณมะขามป้อมบอกจะเลิกเขียนกระทู้ว่า
คุณมะขามป้อมติดวิปัสสนูกิเลสอยู่ การที่ได้พบครูแล้วหลุดรอด
จากวิปัสสนูกิเลสออกมาได้ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีครับ
โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 13:53:26

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 17:56:25
เรื่องปรากฏการณ์ทางจิตเป็นเรื่องซับซ้อนและละเอียดอ่อนมากครับ
ลำพังคำพูดเรื่องการเจริญสติสัมปชัญญะ กระทั่งการรู้ปรมัตถ์
ก็เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาปริยัติหลายสำนักพูดถึงกันเสมอ
แต่เมื่อลงมือทำจริง กลับไม่ใช่สติสัมปชัญญะจริงๆ
เพราะมักจะเป็นการคิดบ้าง เพ่งบ้าง ตกแต่งจิตบ้าง
การหมั่นสังเกตตนเองให้มากๆ จึงมีประโยชน์มากครับ
(อันนี้พูดเป็นการทั่วไปครับ ไม่ใช่พูดถึงคุณมะขามป้อม)

สำหรับคุณมะขามป้อมนั้น ที่ปฏิบัติอยู่ก็เข้าขั้นดีครับ
เพียงแต่ยังไม่ถึงจิตถึงใจอย่างแจ่มแจ้งเท่านั้น
เรื่องอย่างนี้ผมก็ลำบากใจมาก ที่จะบอกกันตรงๆ
เพราะถ้าไม่เข้าใจ ก็จะกลายเป็นว่าผมลบหลู่ท่านผู้อื่น
แต่เมื่อได้พบตัวกัน ผมก็เบาใจว่า คุณมะขามป้อมเป็นผู้เคารพความจริง
การปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมการเจริญสติสัมปชัญญะ จึงทำได้ไม่ยากนัก

แต่ผมก็ไม่นึกว่าคุณมะขามป้อมจะนำเรื่องนี้มาเปิดเผย
เพราะเห็นว่าเลิกเขียนกระทู้ไปแล้ว
แต่แม้จะนำเรื่องนี้มาเปิดเผย ผมก็ไม่แปลกใจอะไร
เพราะในบรรดานักปฏิบัติด้วยกันนั้น
คุณมะขามป้อมมีจุดเด่นที่เด่นมาตลอดอย่างหนึ่ง
คือความรักธรรม มากกว่ารักหน้า
นี้เป็นจุดที่น่าเคารพและยึดถือเป็นแบบอย่างอย่างยิ่งครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน ศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2544 17:56:25

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ ธีรชัย วัน เสาร์ ที่ 13 มกราคม 2544 08:06:55
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ ณรงค์ วัน เสาร์ ที่ 13 มกราคม 2544 11:37:24
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ tung วัน อาทิตย์ ที่ 14 มกราคม 2544 23:27:19
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ สุกิจ วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 08:17:45
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 09:51:46
ไม่รักธรรม ก็รักกิเลส ต้องเลือกเอาครับ
อีกอย่างหนึ่งเวลาที่ได้ดัดหลังกิเลส แล้วรู้สึกฮึกเหิมดีครับ :)

ที่กลัวมากกว่านั้นคือลำพังตัวเองมีมิจฉาทิฏฐิไม่เป็นไร
แต่ถ้าหากไปทำให้คนอื่นมีมิจฉาทิฏฐิตามไปด้วย
ก็รู้สึกไม่สบายใจ และคงเป็นวิบากกรรมติดตัวไปอีกนาน
เลยจำเป็นต้องมีกระทู้นี้ ก็เพื่อให้ใจมันสบายพร้อมที่จะทำกิจต่อครับ

ตอนนี้ก็พยายามสังเกตความแตกต่างระหว่าง
รู้กับคิดให้ละเอียดขึ้นกว่าเดิมครับ

---------------------------------------------
ตอบคุณ listener
พระพุทธองค์ตรัสว่า

อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา
ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ
อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม . . . ฯ ๑๕๙ ฯ

สอนคนอื่นอย่างใด ควรทำตนอย่างนั้น
ฝึกตนเองได้แล้ว จึงควรฝึกคนอื่น
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก

สำหรับผม คงอีกนานครับคุณ listener
ผมอาจได้ฟังธรรมจากคุณ listener ก่อนก็เป็นได้ :)
โดยคุณ มะขามป้อม วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 09:51:46

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 10:03:32
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ ณรงค์ วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 10:19:21
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ พีทีคุง วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 10:23:42
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ พัลวัน วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 10:42:51
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ นิพ วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 10:45:55
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ จ้อม วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 12:21:49
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ หนึ่ง วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 13:16:49
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ เจื้อย วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 16:01:06
"หมายความว่า จิตผู้รู้ เป็นเพียงจุดๆ ในห่วงเวลา
ไม่ได้เป็นเส้นต่อเนื่อง แต่การที่เราหมั่นระลึกอยู่เสมอ
ก็จะทำให้จุด เหล่านี้ เกิดขึ้นถี่ๆ ขึ้น นั่นเอง"

สาธุกับคำกล่าวข้างต้นค่ะ เพราะรู้สึกเหมือนอย่างนี้มานานแล้ว แต่บอกออกมาไม่ถูก พอได้เห็นคำกล่าวนี้ เลยทำให้ความเข้าใจที่มีกระจ่างขึ้นมาค่ะ
โดยคุณ เจื้อย วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 16:01:06

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ โยคาวจร วัน จันทร์ ที่ 15 มกราคม 2544 16:22:12
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ tung วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 01:18:07
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ ดังตฤณ วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 07:34:58
โดยพฤติกรรมแล้ว สังคมของพวกเราจัดว่าเป็นสังคมอริยะ
ใครล้มแทนที่จะกระทืบซ้ำหรือก้าวข้ามเหมือนสังคมอื่น
ก็มีแต่ช่วยกันฉุด ช่วยกันพยุงขึ้นมา

อีกอย่างอยากให้มองว่าที่มะขามป้อมตั้งกระทู้แบบนี้
ไม่ใช่ใช้กำลังใจกันน้อยๆ เพราะคนเคยคิดว่าใช่แล้วมาบอกว่าไม่ใช่
ต้องสู้กับความรู้สึกอับอายขายหน้าขนาดไหน

อย่างนี้ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงเข้าไปเต็มทีแล้วครับ
โดยคุณ ดังตฤณ วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 07:34:58

ความเห็นที่ 23 โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 09:03:41
พี่มะขามป้อมสมกับเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใฝ่ธรรมอย่างแท้จริง คือผิดแล้วยอมรับผิด โดยยอมรับความจริง ยอมรับคำตักเตือนและชี้แนะจากผู้รู้ อีกทั้งกล้าที่จะเปิดเผย ที่ผมเขียนนี้มิได้ต้องการเยินยอแต่อย่างใด เพียงแต่อยากจะขอชื่นชมและอยากให้ผู้ใฝ่ธรรมท่านอื่นๆได้ดูการกระทำอันกล้าหาญของพี่มะขามป้อมในครั้งนี้เป็นตัวอย่างครับ

สำหรับผมแล้วรู้สึกว่า ความซื่อสัตย์ต่อธรรมและตนเองโดยไม่หลงนั้น เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ใฝ่ธรรมทุกท่าน คือ ปฏิบัติไม่ดีก็ยอมรับ ทำไม่เป็นก็ยอมรับ หลงผิดก็ยอมรับทำผิดวิธีก็ยอมรับ และยอมแก้ไขในสิ่งผิดนั้นๆ  คุณสมบัติเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ครูอาจารย์สบายใจเวลาชี้แนะ อีกทั้งย่อมได้ความก้าวหน้าที่ถูกต้องจากการชี้แนะของท่านด้วย  ผมว่าถ้าคนเราซื่อสัตย์ต่อธรรมและตัวเราแล้ว มีหรือเราจะไม่มีความก้าวหน้าในธรรมครับ
โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 09:03:41

ความเห็นที่ 24 โดยคุณ มะขามป้อม วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 10:17:05
พี่ดังตฤณ...
เราอยู่กันมานานแล้วครับ ไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติครับ
ไม่มีอะไรต้องอับอาย
ความเมตตาต่อกันทำให้สังคมเราน่าอยู่ครับ

นิพ...
ถ้าเราอยู่กับความจริงแล้ว ไม่ต้องใช้ความกล้าหาญอะไรเลยครับนิพ

ถ้าเราแสวงหาความจริง แล้วเราไม่ยอมรับความจริง ไม่กล้าเผชิญกับความจริง
โลกที่เราพบ ก็คงจะบิดๆ เบี้ยวๆ ไปตามกิเลสของเราเอง

เหมือนเราสร้างระบบหนึ่งขึ้นมา ป้อน Input เข้าไป แล้วก็ได้ Output ออกมา
ถ้าเราพบว่า Output ที่ได้ไม่ถูกต้อง ผิดจากที่มันควรจะเป็น สิ่งที่ต้องปรับคือระบบ
ไม่ใช้ การเอาสีข้างเข้าถูโดยบอกว่า Output นั้นถูกต้องแล้ว
(ถ้าใครจำได้เรื่องโรงแรมถล่มที่โคราช เป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียว)
วิทยาศาสตร์คือความจริง พุทธศาสน์ก็เช่นกันครับ

อย่ายกยอกันเลยครับ เอาความจริง (สมมุติสัจจะ) มาคุยกันดีกว่า  :)

ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจเขามาสาธุการกันครับ _/\_
ผมคงจะไม่เขียนกระทู้อีกนานทีเดียว
โดยคุณ มะขามป้อม วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 10:17:05

ความเห็นที่ 25 โดยคุณ มะขามป้อม วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 10:23:39
คุณเจื้อย..
เป็นเพียงข้อสังเกตในขณะนี้ครับ อาจไม่ใช่อย่างนี้ก็ได้

แต่ที่แน่ๆ พอคิดเสียอย่างนี้ ใจมันก็ไม่ไปกังวล ว่าจะทรงตัวรู้ให้ได้นานๆ
ปล่อยให้เป็นไปตามคุณภาพของจิตในขณะนั้นๆ ครับ
ถ้าจิตมีกำลังสมาธิมาก ตัวรู้ก็จะทรงอยู่นานเองไม่ต้องใช้ความพยายาม
ถ้าจิตฟุ้งซ่านมาก ก็จะหลุดบ่อย ก็เพียรตั้งสติเป็นครั้งๆ ไป
โดยคุณ มะขามป้อม วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 10:23:39

ความเห็นที่ 26 โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 14:31:05
:-) มายิ้มให้พี่เอ้ครับ 
โดยคุณ นิพ วัน อังคาร ที่ 16 มกราคม 2544 14:31:05

ความเห็นที่ 27 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 17 มกราคม 2544 08:15:51
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 28 โดยคุณ พีทีคุง วัน พุธ ที่ 17 มกราคม 2544 11:25:01
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 29 โดยคุณ กอบ วัน พุธ ที่ 17 มกราคม 2544 16:04:39
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 30 โดยคุณ มะเหมี่ยว วัน พุธ ที่ 17 มกราคม 2544 21:40:57
ขอบคุณคุณมะขามป้อม ที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ค่ะ  และขอให้มีกำลังใจต่อไป
โดยคุณ มะเหมี่ยว วัน พุธ ที่ 17 มกราคม 2544 21:40:57

ความเห็นที่ 35 โดยคุณ listener วัน พฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2544 10:26:36
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 36 โดยคุณ มะขามป้อม วัน พฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2544 14:27:16
ตกประเด็นสำคัญไปเรื่องหนึ่งครับ
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ ผมต้อง post กระทู้อันนี้ก็เพราะเห็นว่า
ไม่เพียงแต่ประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ก้าวหน้าเท่านั้นที่มีประโยชน์
ประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ผิดพลาดก็เป็นประโยชน์ควรกล่าวถึง
เพื่อบอกกล่าวกันให้ระมัดระวังกันต่อไป

สำหรับในกระทู้นี้ เหตุจริงๆ ที่ทำให้ผมเกิดลังเลสงสัยก็คือ
ผมไม่แน่ใจในความแต่ต่างระหว่างอัปปนาสมาธิ กับมรรคญาณ
จำได้ว่าอ่านจาก ธรรมของหลวงปู่เทสก์ (ถ้าจำผิดต้องกราบขออภัยด้วยครับ)
ว่าจิตรวมในอัปปนาสมาธิ (ที่เป็นสัมมาสมาธิ) ก็มีนิพพานเป็นอารมณ์
เช่นเดียวกับ มรรคญาณ (ตามความเข้าใจของผม)
อีกประการหนึ่งคือมีคำกล่าวว่า
การบรรลุโสดาบันคือการได้สัมผัสพระนิพพานเป็นครั้งแรก
ก็เลยค่อนข้างจะสับสนตรงจุดนี้
ความไม่แม่นยำในปริยัติเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดวิปัสสนูปกิเลส

ถึงตรงนี้มีข้อที่เป็นจุดสังเกตดังนี้ครับ
1. ก่อนจะตรวจสอบว่าการที่จิตรวมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอะไรกันแน่
ควรเอาความอยากบรรลุวางไว้ก่อน เพื่อไม่ให้มีการเอนเอียงใน
การตัดสิน
2. ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิ จะเกิดในขณะนั่งสมาธิ และเกิดได้บ่อยๆ
เมื่อผู้ปฏิบัติมีความชำนาญในการดำเนินจิต
เหมือนที่มีหลวงปู่ท่านหนึ่งกล่าวกับพี่ปราโมทย์ว่า
"นิพพานอะไรเข้าๆ ออกๆ"
3. ถ้าเป็นมรรคญาณ ต้องสำรวจเอาเองให้ถ้วนถี่ว่า
มีสังโยชน์ใดขาดไปจริงหรือเปล่า
4. วิธีที่แน่นอนที่สุดคือ ให้ผู้มีเจโตฯ ช่วยดูให้

คงมีเท่านี้ครับ ที่อยากจะบอกกล่าวกัน
ขอบคุณครับ _/\_
โดยคุณ มะขามป้อม วัน พฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2544 14:27:16

ความเห็นที่ 37 โดยคุณ นุดี วัน พฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2544 19:18:51
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 38 โดยคุณ tuli วัน ศุกร์ ที่ 19 มกราคม 2544 18:17:22
มีประโยชน์ในการปฏิบัติจริงๆ  สาธุ
โดนใจประโยคที่ว่าอย่าพยายามทำให้ถูกเพราะนั่นเป็นการทำผิด
ปัญหาของผมคือนั่งเพ่งทุกที  ไม่ว่าจะปฏิบัติ  เล่นกีฬา  อ่านหนังสือ
จะขอรับประโยคนี้เก็บไว้ในใจ
โดยคุณ tuli วัน ศุกร์ ที่ 19 มกราคม 2544 18:17:22

ความเห็นที่ 39 โดยคุณ tung วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544 03:21:42
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 40 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544 08:44:21
หลวงปู่เทสก์ท่านเป็นพระป่าที่สอนเน้นอยู่ 2 - 3 จุดเท่านั้นครับ
คือเรื่อง จิตกับใจ เรื่องหนึ่ง
และเรื่องมิจฉาสมาธิ กับสัมมาสมาธิ อีกเรื่องหนึ่ง

ท่านสอนว่า จิตเป็นธรรมชาติที่รู้และเสวยอารมณ์ด้วย
เมื่อเราปฏิบัติมากเข้า จิตรู้ความจริงแล้วก็ว่างอารมณ์
รวมเข้ามาเป็นใจ คือเป็นธรรมชาติรู้อารมณ์เฉยๆ

ท่านสอนว่ามิจฉาสมาธิเป็นความสงบเคลิบเคลิ้ม
เหมือนความสงบของเด็กไร้เดียงสา
ต่างจากสัมมาสมาธิที่เป็นความสงบแบบผู้ใหญ่
ที่ทำงานเสร็จแล้ว มาหยุดพักผ่อน

คือจิตที่เจริญวิปัสสนา รู้ความเกิดดับของรูปนามไปจนถึงจุดหนึ่ง
จิตจะตัดกระแสการเจริญวิปัสสนานั้น รวมสงบเข้ามาพักอยู่ภายใน
อาจจะพักในอุปจารสมาธิ หรืออัปนาสมาธิก็ได้
พอมีกำลังแล้วก็ออกไปทำงานใหม่
เมื่อเจริญวิปัสสนาพอสมควรแก่ธรรมแล้ว
คราวนี้จิตจะรวมเองเข้าถึงอัปปนาสมาธิ มีความสงบ รู้ อยู่ภายใน
แล้วเกิดมรรคญาณขึ้น ด้วยจิตที่ประกอบด้วยอัปปนาสมาธิชั้นใดชั้นหนึ่ง

มรรคญาณจะต้องประกอบด้วยอัปปนาสมาธิ
แต่ไม่ใช่อัปปนาสมาธิจะต้องประกอบด้วยมรรคญาณครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544 08:44:21

ความเห็นที่ 41 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544 08:45:58
มีคำผิดในสาระสำคัญ ขอแก้ไขครับ

ท่านสอนว่า จิตเป็นธรรมชาติที่รู้และเสวยอารมณ์ด้วย
เมื่อเราปฏิบัติมากเข้า จิตรู้ความจริงแล้วก็ วาง (ไม่ใช่ว่าง) อารมณ์
รวมเข้ามาเป็นใจ คือเป็นธรรมชาติรู้อารมณ์เฉยๆ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544 08:45:58

ความเห็นที่ 42 โดยคุณ นิดนึง วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544 19:38:25
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com