กลับสู่หน้าหลัก

รสธรรม รสอุเบกขา

โดยคุณ พีทีคุง วัน อังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 23:27:52

ค่ำนี้เจอ Big ทาง icq สนทนาธรรมสั้นๆ ตามโอกาส
จิตก็ร่าเริงในธรรม โมหะหยาบก็แยกออก จิตวางเป็นอุเบกขาตัวตื่นขึ้นมา

ภาวนาๆไป ศึกษาจิตไปๆ ดูเหมือน ยิ่งภาวนายิ่งโง่ ยังโง่อยู่อีกมาก
โง่หลงไปในสัญญาเสียไกล
กว่าจะกลับมาเต็มตื่น เห็นเต็มตา ด้วยจิตที่มีอุเบกขานั้น (ตามความโง่)
จึงย้อนมาเห็นความเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องชัดเจน
เห็นตนๆ ๆ ที่เกิดดับเป็นคราวๆ

ทำให้นึกถึงคำถามที่คุณอนัตตาถามเรื่องการพิจารณาเรื่องอนัตตา
_/|\_ ขอฟังธรรมจากคุณอาด้วยครับ
โดยคุณ พีทีคุง วัน อังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 23:27:52

กลุ่มวิมุตติ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะ ห้าม ไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้ใน webboard หรือ กระดานข่าวอื่นโดยมิได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ จากทางกลุ่มวิมุตติในทุกกรณี

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ พีทีคุง วัน อังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 23:34:09
แก้ครับ
จิตวางเป็นอุเบกขาตัวตื่นขึ้นมา
เป็น จิตวางตัวเป็นอุเบกขา จิตก็ตื่นขึ้นมา
โดยคุณ พีทีคุง วัน อังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 23:34:09

ความเห็นที่ 2 โดยคุณ นิพ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 08:47:37
สาธุในความก้าวหน้าของ แมนครับ และมารอฟังธรรม
จากคุณอาด้วยครับ :-)
โดยคุณ นิพ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 08:47:37

ความเห็นที่ 3 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 10:32:58
อาเห็น แมน ตั้งกระทู้นี้ก็ดีใจว่าจะได้อ่านธรรมะ
แต่กลับกลายเป็นการขอฟังธรรมจากอา
ซึ่งอาก็ยังไม่ทราบว่าจะแสดงธรรมเรื่องอะไร
เพราะการที่แมนเห็นความเกิดดับ ก็เป็นธรรมภายใน ที่แสดงตัวอยู่แล้ว
ยังจะมีธรรมภายนอกเรื่องอะไรที่จะน่าฟังกว่านั้นอีก

ธรรมที่แสดงตัวในจุดนั้น ครอบคลุมหลักธรรมสำคัญไว้หมดแล้ว
ทั้งอกุศล กุศล และธรรมที่เป็นกลาง
ทั้งรูป ทั้งนาม
ทั้งจิต ทั้งเจตสิก ทั้งรูป
ทั้งไตรลักษณ์ ทั้งอริยสัจจ์ ทั้งปฏิจสมุปบาท ฯลฯ

ผู้ใดมีสติ ระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏ
มีจิตตั้งมั่น ไม่เผลอ ไม่เพ่ง
มีปัญญา รอบรู้ถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสภาวธรรม
ผู้นั้นย่อมได้รับรู้รสธรรม รสอุเบกขา
เป็นต้นทางของทางสายสั้นๆ ที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน
อาไม่เห็นมีธรรมอะไรที่ควรแสดงมากกว่านี้ ให้เป็นภาระเครื่องรุงรังของจิต

อีกอย่างหนึ่ง อานึกไม่ออกว่า
คุณอนัตตาถามเรื่องการพิจารณาอนัตตาไว้อย่างไร
ก็เลยตอบไม่ถูกครับ

จุดสำคัญที่แมนควรทำให้มากก็คือ
การตื่น ที่เป็นธรรมชาติธรรมดาที่สุด
เพราะที่ผ่านมา แมน ส่งจิตเข้าในมานานแล้ว
หากรู้จัก การตื่น แล้ว เส้นชัยก็อยู่ไม่ห่างเกินไปครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 10:32:58

ความเห็นที่ 4 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 11:06:04
บรรดาการปฏิบัติ ด้วยอุบาย รูปแบบ
หรือวิธีการปฏิบัติธรรม(ที่ถูกต้อง) ทั้งหลายนั้น
เราทำไปก็เพื่อปลุกจิตให้ตื่นขึ้นมา
จะได้รู้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง อย่างเต็มตานั่นเอง

เพื่อที่เราจะรู้รูปด้วยตา และมีปัญญาหยั่งรู้ว่า
รูป(ปรมัตถ์)ก็คือแสงสีที่ตาเห็นเท่านั้น
ความเห็นว่าเป็นรูปคน รูปสัตว์ รูปเรา รูปเขา
เป็นความปรุงแต่งที่จิตสร้างขึ้นมาภายหลัง

เพื่อที่เราจะรู้เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตามสิ่งที่มากระทบจริงๆ
และมีปัญญาหยั่งรู้ว่า สิ่งที่มากระทบจริงๆ นั้นอย่างหนึ่ง
ส่วนความเป็นตัวตน บุคคล สัตว์ เรา เขา
ซึ่งจิตปรุงแต่งขึ้นมา เป็นอีกสิ่งหนึ่ง

อุบายหรือวิธีการปฏิบัติใด ทำให้จิตตื่นขึ้นมารู้ความจริงเหล่านี้ได้
จัดเป็นอุบายหรือวิธีปฏิบัติที่ดี (สำหรับเรา)
แต่ผู้ใดหลงติดยึดในอุบาย หรือวิธีการปฏิบัติ จนลืมวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ
(เช่นเคาะนิ้ว เดินจงกรม กำหนดลม เพื่อความสงบ ความเคลิบเคลิ้ม)
ก็เหมือนคนที่กินเหยื่อที่ใช้ตกปลาเสียเอง
แล้วไม่ได้ปลา คือจิตที่ รู้ ตื่น และเบิกบาน

บรรดาปรมัตถธรรมแท้ๆ ที่จิตไปรู้ สักว่ารู้ เข้านั้น
ตัวมันเองไม่มีน้ำหนักใดๆ ในขณะที่รับรู้นั้นเลย
คือเมื่อตาเห็นรูป รูปก็ว่างเปล่า และจิตก็ว่างเปล่า ปราศจากน้ำหนัก
ต่อเมื่อเกิดความคิดนึกปรุงแต่งเกี่ยวกับรูปนั้นขึ้นมาแล้ว
และจิตหลงตามความปรุงแต่งนั้นแล้ว นั่นแหละ
ความทุกข์ ความหนัก ความร้อน ความเป็นตัวตน จึงเกิดขึ้นกับจิต
แม้เมื่อหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง
หรือใจรับรู้ธัมมารมณ์ใดๆ ก็ตาม
ปรมัตถธรรมเหล่านั้นก็ล้วนว่างเปล่า
จิตก็ว่างเปล่าปราศจากน้ำหนักแห่งความเป็นตัวตนของตนเช่นกัน

เราปฏิบัติธรรม โดยรู้สภาวะหรือปรมัตถธรรมตามความเป็นจริง
เมื่อรู้ สักว่ารู้ มากเข้าๆ
ในที่สุดก็จะรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจจ์ได้
เพราะรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
ไม่มีสิ่งใดจะทำให้จิตเป็นทุกข์ได้เลย
นอกจากความไม่รู้ตามความเป็นจริง ของจิตเอง
จิตจึงหลงเข้าไปอยาก เข้าไปยึดถือ ในสิ่งที่จิตไปรู้เข้า แม้กระทั่งตัวจิตเอง
แล้วเกิดน้ำหนักแห่งความเป็นตัวตนขึ้นในจิต
เพื่อเป็นภาชนะรองรับความทุกข์ทั้งหลายนั่นเอง

ถ้าปราศจากความเป็นตัวตนของจิตเสียอย่างเดียว
ก็ไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องแบกรับความทุกข์อีกต่อไป
โลกหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ก็จะเหลือเพียงสภาพแห่งธรรมล้วนๆ
ตาก็ยังรู้รูป หูก็ยังได้ยินเสียง .. ใจก็ยังกระทบธัมมารมณ์
สัญญาก็ยังทำงาน สังขารก็ยังปรุงแต่งไปตามหน้าที่
แต่ไม่ส่งผลสะเทือนเข้าถึงจิตใจ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่งเหมือนกัน

นี่คือการสลัดคืนสิ่งทั้งปวง ทั้งรูปและนาม
เพราะจิตปราศจากความอาลัย ด้วยกำลังของปัญญาที่แก่รอบแล้ว
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 11:06:04

ความเห็นที่ 5 โดยคุณ สุรวัฒน์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 11:37:08
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 6 โดยคุณ นิพ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 11:40:22
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 7 โดยคุณ ณรงค์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 13:02:43
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 8 โดยคุณ พัลวัน วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 13:12:01
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 9 โดยคุณ คิดเอาเอง วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 14:43:32
พี่ปราโมทย์ครับ ธรรมะที่พี่แสดงให้ฟัง
แม้ในรายละเอียดจะแตกต่างกันตามวาระ และผู้ฟัง
แต่เนื้อความของธรรมในแต่ละครั้งนั้น
แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย

แต่ก็แปลกที่ผมก็ยังชอบที่จะฟัง(อ่าน)
เหมือนฟังเพลงที่ชอบ
ฟังซ้ำ ๆ อยู่อย่างนั้นไม่รู้สึกเบื่อ
หรือเมื่อฟังจนพอใจแล้วก็เลิกฟังไปช่วงเวลาหนึ่ง
นาน ๆ กลับมาฟังอีกก็ยังรู้สึกเพราะอยู่เหมือนเดิม

และเมื่อนึกได้ว่าพี่ใกล้จะจากไปปฏิบัติกิจตามที่ต้องการแล้ว
ต่อไปคงต้องไปเก็บข้อความที่พี่เคยกล่าวไว้แล้ว
มาอ่านใหม่ เพราะพี่ไม่อยู่แสดงธรรมให้ฟังอีก
แต่ตั้งใจไว้ว่าสักวันจะต้องหาโอกาสไปฟังธรรมจากพี่อีก

ครั้งนี้ผมขอถามคำถามสักหน่อยนะครับ(เดี๋ยวไม่มีใครให้ถามแล้ว)
การรู้เข้าไปภายในหรือภายนอกอย่างเดียว คือการเพ่งใช่ไหมครับ
การนึกคิดที่ไม่มีความรู้ตัว คือการเผลอใช่ไหมครับ
การรู้ทั้งภายในและภายนอกไปพร้อมกัน คือการรู้ที่ไม่เพ่งและไม่เผลอใช่ไหมครับ

ความรู้สึกก่อนที่จะเป็นบัญญัติไม่ว่าจะเป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง สุข ทุกข์ ความเจ็บปวด ฯลฯ
ความรู้สึกตรงนั้นเรียกว่าปรมัตถ์ใช่ไหมครับ

ในเมื่อยังมีรูปก็ยังมีผัสสะอยู่และผัสสะก็เกิดขึ้นตลอดเวลา
เมื่อมีผัสสะก็มีความรู้สึกตลอดเวลา
ทีนี้เวลาสังเกตความรู้สึกเราควรสังเกตอย่างไรครับ
อย่างเช่นขณะนี้เรารู้สึกเย็น ในขณะที่ความรู้สึกเย็นยังปรากฎอยู่
เกิดมียุงมากัดเรา เรารู้สึกเจ็บ ความรู้สึกเจ็บก็เกิดขึ้นด้วย
ในขณะนั้นเราควรสังเกตความรู้สึกไปทีละอย่างว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้ว
หรือว่าสังเกตไปพร้อม ๆ กันทั้งสองความรู้สึก(ซึ่งจริง ๆ แล้วในขณะหนึ่ง
อาจจะเกิดหลาย ๆ ความรู้สึกคือมากกว่าสองความรู้สึก)

กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ด้วยจิตคารวะ - นพชัย
โดยคุณ คิดเอาเอง วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 14:43:32

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ คิดเอาเอง วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 14:43:33
พี่ปราโมทย์ครับ ธรรมะที่พี่แสดงให้ฟัง
แม้ในรายละเอียดจะแตกต่างกันตามวาระ และผู้ฟัง
แต่เนื้อความของธรรมในแต่ละครั้งนั้น
แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย

แต่ก็แปลกที่ผมก็ยังชอบที่จะฟัง(อ่าน)
เหมือนฟังเพลงที่ชอบ
ฟังซ้ำ ๆ อยู่อย่างนั้นไม่รู้สึกเบื่อ
หรือเมื่อฟังจนพอใจแล้วก็เลิกฟังไปช่วงเวลาหนึ่ง
นาน ๆ กลับมาฟังอีกก็ยังรู้สึกเพราะอยู่เหมือนเดิม

และเมื่อนึกได้ว่าพี่ใกล้จะจากไปปฏิบัติกิจตามที่ต้องการแล้ว
ต่อไปคงต้องไปเก็บข้อความที่พี่เคยกล่าวไว้แล้ว
มาอ่านใหม่ เพราะพี่ไม่อยู่แสดงธรรมให้ฟังอีก
แต่ตั้งใจไว้ว่าสักวันจะต้องหาโอกาสไปฟังธรรมจากพี่อีก

ครั้งนี้ผมขอถามคำถามสักหน่อยนะครับ(เดี๋ยวไม่มีใครให้ถามแล้ว)
การรู้เข้าไปภายในหรือภายนอกอย่างเดียว คือการเพ่งใช่ไหมครับ
การนึกคิดที่ไม่มีความรู้ตัว คือการเผลอใช่ไหมครับ
การรู้ทั้งภายในและภายนอกไปพร้อมกัน คือการรู้ที่ไม่เพ่งและไม่เผลอใช่ไหมครับ

ความรู้สึกก่อนที่จะเป็นบัญญัติไม่ว่าจะเป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง สุข ทุกข์ ความเจ็บปวด ฯลฯ
ความรู้สึกตรงนั้นเรียกว่าปรมัตถ์ใช่ไหมครับ

ในเมื่อยังมีรูปก็ยังมีผัสสะอยู่และผัสสะก็เกิดขึ้นตลอดเวลา
เมื่อมีผัสสะก็มีความรู้สึกตลอดเวลา
ทีนี้เวลาสังเกตความรู้สึกเราควรสังเกตอย่างไรครับ
อย่างเช่นขณะนี้เรารู้สึกเย็น ในขณะที่ความรู้สึกเย็นยังปรากฎอยู่
เกิดมียุงมากัดเรา เรารู้สึกเจ็บ ความรู้สึกเจ็บก็เกิดขึ้นด้วย
ในขณะนั้นเราควรสังเกตความรู้สึกไปทีละอย่างว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้ว
หรือว่าสังเกตไปพร้อม ๆ กันทั้งสองความรู้สึก(ซึ่งจริง ๆ แล้วในขณะหนึ่ง
อาจจะเกิดหลาย ๆ ความรู้สึกคือมากกว่าสองความรู้สึก)

กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ด้วยจิตคารวะ - นพชัย
โดยคุณ คิดเอาเอง วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 14:43:33

ความเห็นที่ 11 โดยคุณ คิดเอาเอง วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 14:47:33
ขออภัยครับ
ส่งข้อความครั้งแรกหน้าจอเป็น error
เลยคิดว่าส่งไม่เข้าก็เลยส่งใหม่อีก
โดยคุณ คิดเอาเอง วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 14:47:33

ความเห็นที่ 12 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 15:26:24
คุณนพชัย เป็นคนที่ไม่ค่อยถามในเรื่องการปฏิบัติ
พอตั้งหลักถาม ก็ถามหลายข้อเลยทีเดียว
ผมขอเรียนให้ทราบดังนี้ครับ

1. การรู้เข้าไปภายในหรือภายนอกอย่างเดียว คือการเพ่งใช่ไหมครับ?

ไม่ใช่ครับ ธรรมชาติจิตย่อมรู้อารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้น
แต่รู้แล้วจะเพ่งหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สภาวะของการเพ่งนั้น จิตจะไม่ทรงความรู้ตัวอยู่
แต่จะหลง/เผลอ ถลำเข้าไปยึดเกาะอารมณ์นั้นอยู่
เหมือนคนที่กระโดดลงไปเกาะขอนไม้ที่ลอยน้ำมา
แทนที่จะยืนอยู่บนบกอย่างสบายๆ แล้วดูขอนไม้ลอยมา แล้วก็ลอยไป

2. การนึกคิดที่ไม่มีความรู้ตัว คือการเผลอใช่ไหมครับ?

ใช่ครับ แต่ใช่เพียงส่วนหนึ่ง
ที่จริงแล้ว เราเผลอได้ 6 ทาง คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เช่นเห็นสาวๆ เดินมา ก็มองเขาด้วยความเพลิดเพลินไปทางตา จนลืมตัวเอง
ได้ยินเสียงเพลงเพราะๆ ก็เกิดราคะเพลิดเพลินไปกับเสียงเพลง จนลืมตัวเอง
ได้กลิ่นเหม็นๆ ก็สะอิดสะเอียดไปกับกลิ่นเหม็น จนลืมตัวเอง
หรือแม้ไม่มีการสัมผัสทางกาย
ก็ยังอุตส่าห์หลงเข้าไปในโลกของความคิด ความฝัน จินตนาการ
ซึ่งเป็นความหลง ความเผลอทางหนึ่ง ดังที่คุณนพชัยกล่าวถึงนั่นเอง

3. การรู้ทั้งภายในและภายนอกไปพร้อมกัน
คือการรู้ที่ไม่เพ่งและไม่เผลอใช่ไหมครับ

ไม่ใช่ครับ เพราะจิตย่อมรู้อารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้น
ตรงจุดที่คุณนพชัยเผลออยู่ แล้วเกิดมีสติรู้ทันว่าเผลอ
หรือเพ่งอยู่ แล้วมีสติรู้ทันว่าเพ่ง
หรือมีราคะ โทสะ โมหะ แล้วมีสติรู้ทัน
จุดที่สติรู้ทันกับอารมณ์จริงๆ นั่นแหละครับ  คือจุดแห่งความรู้ตัว

4.  ความรู้สึกก่อนที่จะเป็นบัญญัติไม่ว่าจะเป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง
สุข ทุกข์ ความเจ็บปวด ฯลฯ  ความรู้สึกตรงนั้นเรียกว่าปรมัตถ์ใช่ไหมครับ

ใช่ครับ

5. ในเมื่อยังมีรูปก็ยังมีผัสสะอยู่และผัสสะก็เกิดขึ้นตลอดเวลา
 เมื่อมีผัสสะก็มีความรู้สึกตลอดเวลา 
ทีนี้เวลาสังเกตความรู้สึกเราควรสังเกตอย่างไรครับ
อย่างเช่นขณะนี้เรารู้สึกเย็น ในขณะที่ความรู้สึกเย็นยังปรากฎอยู่
เกิดมียุงมากัดเรา เรารู้สึกเจ็บ ความรู้สึกเจ็บก็เกิดขึ้นด้วย
ในขณะนั้นเราควรสังเกตความรู้สึกไปทีละอย่างว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้ว
หรือว่าสังเกตไปพร้อม ๆ กันทั้งสองความรู้สึก(ซึ่งจริง ๆ แล้วในขณะหนึ่ง
อาจจะเกิดหลาย ๆ ความรู้สึกคือมากกว่าสองความรู้สึก)?

จิตเขาสนใจจะรู้อารมณ์ใด หรือรู้อารมณ์ใดชัด ก็รู้อารมณ์นั้นแหละครับ
เช่นรู้สึกถึงความเย็นอยู่ แล้วยุงกัด
ความเจ็บเป็นอารมณ์ใหม่ที่รุนแรง และดึงดูดความสนใจของจิต
ก็รู้ความเจ็บนั้นไปครับ
เมื่อความเจ็บดับไปแล้ว หรือจิตหมดความสนใจแล้ว
ก็กลับมารู้อารมณ์ที่เป็นฐานเดิมหรือวิหารธรรมของเรา
เช่นกลับมารู้ความเย็นอันเป็นปรมัตถ์ของธาตุไฟต่อไป
(ถ้าใช้ความเย็นเป็นวิหารธรรม)

ถ้าเราเดินจงกรมอยู่ และรู้ความรู้สึกที่เท้ากระทบพื้นไปเรื่อยๆ
ต่อมาลมพัดมาวูบหนึ่งรู้สึกเย็น จิตไปสนใจรู้ความเย็น ก็รู้ความเย็น
ระหว่างนั้นยุงเกิดกัดจมูกเข้าให้ 
จิตลืมความเย็นมาสนใจเรื่องยุงกัดเจ็บ ก็รู้เรื่องยุงกัดเจ็บนั้นไป
ทีนี้พอเจ็บแล้วโกรธยุง ก็มีรู้ความโกรธต่อไป
พอหายโกรธแล้ว ก็กลับมารู้เท่ากระทบพื้นต่อไปอีกครับ

โดยความถนัดของผม ถ้ารู้กาย แล้วเกิดเวทนา
จิตผมจะรู้เวทนา เพราะเข้าใกล้จิตมากขึ้น
ถ้ารู้เวทนา แล้วเห็นจิตสังขาร เช่นกุศลและอกุศล
จิตผมจะรู้จิตสังขาร เพราะเข้าใกล้จิตมากขึ้น
ถ้ารู้จิตสังขาร แล้วเห็นตัณหา
จิตผมจะรู้ตัณหา เพราะเข้าใกล้จิตมากขึ้น
เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม
ล้วนเป็นเหมือนเครื่องส่งทอดสติปัญญาเข้ามาศึกษาที่จิต

แต่ผมก็ไม่ยืนยันที่จะยอมรับ หรือปฏิเสธ
หากจิตของใครจะเลือกรู้ในทางที่กลับข้างกัน
เพราะผมเองรู้การปฏิบัติเพียงด้านเดียวที่ตนทำมา
ไม่ได้ฉลาดรอบรู้ไปทุกเรื่องหรอกครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 15:26:24

ความเห็นที่ 13 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 15:32:40
บอกกล่าวครับว่า ผมจะไม่อยู่กรุงเทพ 4 วันนับจากพรุ่งนี้ไป
ถ้าเพื่อนคนใดมาตั้งกระทู้ถาม ก็ช่วยกันตอบหน่อยนะครับ
สำหรับผม ถึงจะไม่ตอบ เพื่อนๆ ก็คาดได้ว่า
คำตอบของผมหนีไม่พ้นจากเรื่องการเจริญสติสัมปชัญญะเท่านั้น
จะตอบกี่เรื่องกี่คำถาม ก็ตอบอย่างเดียวกันนี้ทั้งสิ้น
เพราะผมไม่เห็นแนวทางการปฏิบัติสายอื่น
นอกจากทางสายเดียวคือการเจริญสติปัฏฐานครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 15:32:40

ความเห็นที่ 14 โดยคุณ ไพ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 15:45:08
สาธุ
แค่ลืมตาต่อจิตหนึ่งจริงๆ
ขออนุญาตพี่คุยกะคุณคิดเอาเองนิดนึง....
ถึงแม้คำตอบของพี่จะชัดเจนแค่ไหน
แต่ถ้าคุณคิดเอาเองไม่ดูลงไปที่ความสงสัย
คำตอบที่ได้รับก็เป็นแค่ความเข้าใจ
ไม่ใช่ความชัดแจ้งเลย
ความเข้าใจกับความชัดแจ้งมันต่างกันมากจริงๆ
โดยคุณ ไพ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 15:45:08

ความเห็นที่ 15 โดยคุณ สุกิจ วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 16:42:33
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 16 โดยคุณ พีทีคุง วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 22:58:29
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 17 โดยคุณ คิดเอาเอง วัน ศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 10:47:12
กราบขอบพระคุณพี่ปราโมทย์อย่างสูงครับ

ผมจะพยายามจดจำ (เพราะเป็นคนจำไม่ค่อยเก่งน่ะครับ คงเป็นเพราะตอนเด็ก ๆ
มีบ้านอยู่แถวโรงเรื่อย ขี้เรื่อยเข้าไปในหัวตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้) คำตอบของพี่ไว้
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

คิดถึงพี่ครั้งใดก็อดที่จะคิดถึงบุญคุณของหลวงพ่อพุธท่านไม่ได้
(ทั้งที่ไม่เคยได้พบองค์จริงของท่านเลย)
หากท่านไม่ได้สั่งให้พี่เขียนเล่าประสบการณ์ไว้ผมและเพื่อน ๆ
ก็คงไม่มีโอกาสได้รู้จักกับพี่ ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นบุคคลที่ผมรอคอยมานาน
(คือไม่รู้จะไปถามใครถึงเรื่องที่ติดอยู่ในใจมานานแล้ว)

สาเหตุที่ผมไม่ค่อยได้ถามการปฏิบัติจากพี่ก็เพราะสาเหตุ(ที่นึกออก)อยู่ 2 ข้อคือ
1. ผมปฏิบัติไปแบบเรื่อย ๆ เหนื่อยก็พัก (พักบ่อยซะด้วยสิครับ) ทำให้อายที่จะไปถามพี่
เพราะยังปฏิบัติไม่เต็มที่เลย
2. ผมยังไม่เคยได้เห็นของจริงอย่างแจ่มแจ้ง(อย่างที่คุณไพแนะนำ)เลย ก็เลยทำให้ไม่เกิดปัญหา
ที่จะไปถามพี่ได้

แต่สรุปแล้วผมก็ดีใจครับที่ได้มารู้จักกับพี่เหมือนกับที่คนโบราณเค้าชอบพูดกันว่า
“เหมือนพระมาโปรด” ยังไงยังงั้นเลยครับ

นิสัย(ถาวร) ผมเป็นคนชอบพูดไร้สาระ(พูดเล่น) น่ะครับ
หากเป็นการล่วงเกินพี่ก็ต้องขออภัยด้วยครับ
แต่ในจิตใจของผมแล้วรู้สึกเคารพบูชาพี่อยู่มากครับ

สำหรับคำแนะนำของคุณไพ ผมขอขอบคุณอย่างสูงครับ
ความหวังดีที่มีให้กันทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันเลย เป็นความรู้สึกที่ดีมากครับ
และผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ ในที่นี้ก็เป็นอย่างนี้ทั้งนั้นเลย

กราบขอบพระคุณพี่ปราโมทย์ด้วยจิตคารวะ - นพชัย
โดยคุณ คิดเอาเอง วัน ศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 10:47:12

ความเห็นที่ 18 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 09:41:05
สาธุกับความเห็นที่ 14 ครับ
โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 09:41:05

ความเห็นที่ 19 โดยคุณ จ้อม วัน จันทร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 12:54:23
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 20 โดยคุณ tung วัน อังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 01:38:17
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 21 โดยคุณ กอบ วัน อังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 08:21:48
สาธุ ครับ / ค่ะ

ความเห็นที่ 22 โดยคุณ ปิ่น วัน อังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 14:57:57
สาธุ ครับ / ค่ะ

ติดต่อกลุ่มวิมุตติได้ที่ wimutti@hotmail.com